หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ (พระครูปราสาทพรหมคุณ) สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญหลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ
(พระครูปราสาทพรหมคุณ)
สุสานทุ่งมน (วัดเพชรบุรี) อ.ปราสาท จ.สุรินทร์

ประวัติหลวงปู่หงษ์
เด็กชายสุวรรณหงษ์ จะมัวดี เป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียร มีความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา ได้ช่วยกิจการงานทุกอย่าง ทำนา หว่านกล้า เก็บเกี่ยวข้าว ด้วยความวิริยะอดทน จนอายุได้ 18 ปี มารดาขอร้องให้บวชเณร สุดท้ายเห็นแก่มารดาจึงตัดสินใจบวชให้แค่เพียง 7 วัน ครั้นบรรพชาแล้วพระอุปัชฌาย์ได้ตั้งนามให้ใหม่ว่า “สามเณรพรหมศร” ลุมาได้ 3 วัน ขณะนั่งบนแคร่ไม้ใต้โคนต้นมะขามใหญ่ได้มีบุรุษหญิงชายแปลกหน้า ทั้งมีอายุแก่ และหนุ่ม แต่งกายแบบชาวบ้านมาขอร้องให้เทศน์โปรดทีเถิด สามเณรพรหมศรกล่าวว่า “ฉันพึ่งบวชได้ไม่ถึงวันยังเทศน์ไม่เป็นหรอก” ชายหญิงผู้แปลกหน้าทั้งหลายต่างให้ข้อแนะนำว่า  “ท่านเจ้าคะท่านเทศน์ไม่เป็นก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ท่านทดลอง ว่านะโม 3 จบ ประเดี๋ยวท่านก็จะเทศน์ได้เองนั่นแหละ” สามเณรพรหมศรนั่งนิ่งแลสงสัยว่า บุคคลทั้งหลายเหล่านี้เป็นใคร? มาจากไหน?  อยู่ๆก็มาขอร้องให้หลวงพ่อเทศน์ แต่เมื่อลองคิดแล้วเขาบอกให้ว่านะโม 3 จบ จากนั้นก็เป็นเรื่องที่ปากพูดไปได้เองเป็นเรื่องเป็นราว ชายหญิง ทั้งหลายต่างนั่งพนมมือ อมยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ ครั้นเทศน์จบก็กราบขอบคุณขอลากลับ หันไปอีกทาง ปรากฏว่าหายไปทางไหนก็ไม่รู้ ผู้เขียนกราบเรียนถามหลวงปู่ว่าทำไมสามเณรพรหมศรจึงเทศน์ได้ ท่านกล่าวว่า มันเป็นของเก่าหรือที่เรียกว่า “ธรรมบันดาล” ที่พาให้พูดกล่าวไปได้เอง  ความตั้งใจที่จะบวชเพียง 7 วัน ก็อยู่เลยเรื่อยมาจนอายุครบ 20 ปี พระอุปัชฌาย์จึงอุปสมบทให้ ณ วัดเพชรบุรี ต.ทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ โดยตั้งนามฉายาให้ใหม่ว่า  “พรหมปัญโญ” แปลว่า ผู้มีปัญญาดุจพรหมเมื่ออุปสมบทแล้ว  หลวงปู่เป็นผู้มีความวิริยะสูง จดท่องจำแม่นยำยิ่งนัก ทั้งฝักใฝ่หาความรู้ เพียรหาครูบาอาจารย์อย่างไม่ลดละแม้จะไกลไปยากก็อุตส่าห์ดั้นด้นเดินทางไป เพื่อให้ได้ความรู้กลับคืนมาเป็นรางวัลด้วยปณิธานมั่นที่จะโปรดลูกหลานญาติโยมภายหน้า สืบไป

หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ
ครั้นอุปสมบทได้แล้ว 3 พรรษา จึงกราบลาพระอุปัชฌาย์จาริกธุดงควัตรตามแบบฉบับแห่งพระบรมครู อาศัยอยู่ตามโคนไม้ นุ่งห่มใช้ผ้าเพียงสามผืน ทั้งถือที่สงบสัปปายะ เช่น ป่าช้าเป็นที่เจริญภาวนาเช้าค่ำ ขบฉันภัตตราหารเพียงมื้อเดียว ได้ท่องเที่ยวสู่เมืองขุขัน จ.ศรีสะเกษ เพราะเป็นเขตแห่งสรรพศาสตร์มนตรา จึงได้เข้าขอศึกษากับครูอาจารย์ที่เป็นทั้งฆราวาสก็ดีเป็นผู้ทรงศีลสมณะก็ตาม จนเป็นที่พอใจแล้ว จึงขออนุญาตลากลับเพื่อจาริกธุดงค์สู่พรมเปญ กัมพูชาสืบไป

หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ


เมื่อธุดงค์ข้ามเขาเข้าเขตกัมพูชาคงเป็นด้วยบุญบารมีเก่าหนุนนำ พาให้ได้พบกับครูบาอาจารย์เก่า เมื่อพบเห็นแล้วทุกครูอาจารย์ ต่างพึงพอใจในพระภิกษุหงษ์ พรหมปัญโญ ผู้สันโดษอ่อนน้อมถ่อมตนยิ่งนักได้บังเกิดความเมตตาประสิทธิประสาทสรรพวิชา จนลุเลยข้ามดงสู่จังหวัดสารพัดไต่เขาและภูผา อาศัยหุบเขาข้างห้วยเอนกายาตกค่ำภาวนาตลอดไปยามสองจิตผ่องใส บังเกิดธรรมบันดาลพาพบไปกับพระอาจารย์ใหญ่องค์เทพเทวาได้ประสิทธิ์ประสาทวิชากว่าพันประการ ประทานเสร็จสอนจบครบตำรา พระพรหมปัญโญ ให้ปิติทั้งศรัทธา ตั้งจิตกราบครูบาแล้วเงยหน้าขอชมบารมี ทันทีที่ลืมตารูปท่านอาจารย์ใหญ่ก็จางหายทันที พระพรหมปัญโญ สุดที่จะเสียดายเพราะมิได้กล่าวคำว่าขอบคุณ แก่ท่านผู้กรุณาประสาทวิชา ครั้นล่องไพรในพนากลางป่าใหญ่ อัศจรรย์ใจเป็นนักหนาเห็นเด็กร่างดำใหญ่ดุจศิลา พลางผลักทักทายมาแต่ใด กุมารดินล้มหงายหลัง แล้วตั้งตรงทดลองใหม่ ทดลองถึงสองครั้งให้ระอาจึงแสดงกายาสูงใหญ่ได้ห้าเมตร แสดงเสร็จให้เกิดศรัทธาแล้วสั่งสอนถึงวิธีการสร้างกุมารทองให้ถูกต้องตาม ตำรับฉบับครู ครั้นธุดงค์อยู่ได้เกือบขวบปี แวะผ่านที่หมู่บ้านชื่อ “บ้านกรู” ณ หมู่บ้านนี้เองที่ชาวบ้านต่างกล่าวขานคุณงามความดีในวีรกรรมหลายๆสิ่งที่ไม่ อาจลืมเลือนได้จากหัวใจของทุกคน

ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมชาวบ้านเขาจึงพร้อมใจกันยอมนอนคว่ำให้หลวงปู่ ท่านเดินบนหลังของพวกเขาชาวบ้านทุกคนเคารพรักหลวงปู่เสมือนเป็นเทพของพวกเขาทีเดียว เพราะมิใช่ว่าหลวงปู่ จะป้องกันภัยให้พวกเขาได้อย่างเดียว แต่หลวงปู่ได้แผ่เมตตาปล่อยสัตว์ ขุดบ่อ ขุดสระ สร้างฝายน้ำล้น ปลูกป่า ปล่อยช้าง วัว ควาย เต่า งู ตะขาบ สัตว์ทุกชนิดและสั่งห้ามมิให้ชาวบ้านทำลายป่าไม้ โดยอบรมสั่งสอนให้เห็นคุณและโทษของการไม่มีป่าไม้ไม่มีน้ำ จะเกิดความเดือนร้อนนานาประการ พร้อมทั้งสอนให้ชาวบ้านทุกคนถือศีลห้า ห้ามดื่มเหล้าเมายา แล้วครูอาจารย์ของหลวงปู่ท่านจะคุ้มครอง ทุกคนเคารพศรัทธาในหลวงปู่ได้ประพฤติปฏิบัติตาม จึงมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข

หลวงปู่หงษ์ เป็นพระธุดงค์ ถือสันโดษ โปรดสัตว์ จึงไม่ติดกับที่อยู่ หรืออมิสลาภ จึงได้ลาญาติโยม เพื่อจาริกแสวงบุญต่อเรื่อยมา

ที่มา :  http://www.surachate.com , http://www.homeamulet.com ,www.amulet24.com/เกจิสายภาคอีสาน/ประวัติหลวงปู่หงษ์.html

 

แชร์เลย

Comments

comments

Share: