คำสอนหลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ เรื่อง อริยสัจ ๔

ที่มา : หลวงปู่ทองทิพย์ฯ สอนเรื่องนี้ให้กับพระสุวิทยา จันตะธัมโม(สมัยก่อนบวช)และเป็นผู้บันทึกเสียง

เอาร่างกายของเขานั้นให้เป็นมูลค่า บิดาของเราได้สร้างขึ้นมาเป็นต้นทุน ที่จะให้หัดเป็นมูลในก่อเกิด ทำเป็นเครื่องประดับ เอาศีลธรรมประดับเข้า เพื่อชดเชยและใช้หนี้ บุญคุณของท่านผู้มีคุณนั้น บิดามารดา หรือปู่ย่าตายายหรือท่านผู้มีคุณ นั้นๆ ให้อัตภาพของเรามา เป็นอย่างดี ไม่ใช่ว่าเป็นของที่เรา เป็นของเขา เราอาศัยเขานั้นๆ ทุกรายไป ทุกอย่างไป เขาอะไรก็ตาม หรือที่อาหารการอยู่การกินก็อาศัยเขา อาศัยเพื่อสัตว์ที่อยู่ หรือเป็นเพื่อนกันไป เป็นผู้ที่ให้ความสนับสนุนเกื้อกูลแก่กันและกัน เป็นภาคพื้นของนักปราชญ์ ผู้ดำริว่าเกิดมาจะเอาหมู่สัตว์ เพื่อนสัตว์นี้กระทำ หรือต่อไปไม่ให้เป็นพิษเป็นภัยแก่กันและกัน ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ที่จะเอาหน้าที่การงาน และผลงานของเรา ให้ประสพกับความสำเร็จ สิ่งใดที่เราปรารถนานั้น ถือว่าเป็นบ่อนที่เราจะ หนีจากกองทุกข์ และความทุกข์ในสังสารวัฏ หรือทุกข์อะไรก็ตามนั้น ทุกข์กายทุกข์จิตทุกข์ใจ ทุกข์เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ทุกข์ฮ้อนทุกข์หนาว ก็เป็นทุกข์ ทุกข์ อย่างนี้เป็นธรรมชาติ แต่พระอริยะผู้ไม่ประมาท พระองค์ท่านสอนว่า เราจะยึดบทพระนิพพาน หรือบทที่จะเอาคุณงามความดีให้รู้แจ้งเห็นจริงไป เอาพระธรรมให้มองไป ที่ในกิจการ หน้าที่การงานและหนทางนั้นดีชั่วประการใด เราจะทำให้จิตใจรู้เห็นเป็นพยานในกิจหน้าที่การงานนั้นๆ จะได้จะถึงหรือไม่ถึง ก็อาศัยว่าความพากเพียร และความรู้ดีที่เราปรารถนา เป็นดีนะ เป็นดีชาตินี้หรือชาติหน้า เพื่อพรหมจรรย์ หรือเพื่อนอริยะ นั้นๆ ท่านที่ผ่านพ้นไปแล้ว บุคคลผู้สำเร็จนักประพฤติและปฏิบัติธรรมจักไม่ย่อท้อ ต่อสิ่งนั้นๆ คือความตาย ความเจ็บ ความแก่ เจ็บก็ได้รู้สึกว่าเจ็บ แก่ก็ได้รู้สึกว่าแก่ เกิดมาโดน (แปลว่า นาน) ก็ต้องแก่ ปีเดือน เวลาหรือผ่านวันผ่านคืนไป ผ่านไปเรื่อยๆ เวลานั้นเราทำอะไรไว้ ทำดีแค่ไหน ทำชั่วแค่ไหน เราก็อาจจะสัมผัส นานาธรรม นานาธรรมที่จะทำให้เวลานั้นเสียหายไป มากเหมือนหมู่สัตว์และมนุษย์นี้ ถือว่ามีการที่ยุ่งในการสิ่งนั้นๆ ความอยากเพราะอยากได้นั้นๆ ลาภหนึ่ง ยศหนึ่งนี้ เขาเหล่านั้นก็อาจจะมา มีการยุ่งยาก เพราะความปรารถนาไม่สำเร็จ จะยากในความอยาก ความอยากนั้นอาจจะเป็นพื้นฐานหนึ่งว่าทำให้ไม่ใช่หนทาง อยากเฉยๆ แต่ว่าเราไม่ทำมา หรือพึ่งไม่มารู้เหตุผลนั้นๆ อยากอย่างนี้ก็ถือว่า เป็นอยากที่ไม่เป็นอันดี อยากได้ดีที่เราเอาสังขารร่างกายนี้ มอบหมายและบูชา พระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของพระศาสนา พระองค์นั้น ที่ปรินิพพานไปแล้ว อันใดที่พระธรรมท่าน พระจอมไตรได้วางไว้นั้น คือ พระสูตรก็ตาม พระวินัยก็ตาม พระวินัยคือศีล สมาธิ ปัญญา พระปรมัตถ์นั้น พูดถึงที่ว่าทุกขัง อนิจจัง อนัตตา กองใดธรรมธาตุโลกีย์ สร้างเป็นรูปมนุษย์ที่สมมติมาก่อน นั้นจัดเป็นปรมัตถ์ เราจะค้นคว้าปรมัตถ์นั้น อะไรเป็นอะไร ไตหรือปอดหรือ ไส้น้อยไส้ใหญ่ ที่รัดรึงตรึงกันไว้ ทั้งที่เส้นเอ็น นะหารู เอ็นนั้นๆ เราจะรู้ว่าเส้นเอ็นทำงานเพื่ออะไร เอ็นนั้นมาจากไหน เอ็นเส้นน้อยเส้นใหญ่ เส้นใหญ่นั้นจะไปรัดรึงตรึงอยู่ไว้ เช่นอัฐิ หรือกระดูกท่อนน้อย ท่อนใหญ่ เป็นที่พื้นฐานงานในธรรมธาตุโลกีย์ หรือส่วนหนึ่งของร่ายกาย ของบุคคล นั้นๆ คนหญิงคนชาย คนใครก็ตาม อาจจะรัดรึงไว้ เป็นจั่งซั่น (เป็นอย่างนั้น) แม้สัตว์เดรัจฉานก็อาจจะมีเอ็นและกระดูกเช่นกัน ติดต่อไว้เป็นรูปสัตว์เดรัจฉานนี้เราที่ไม่ใช่เดรัจฉาน เป็นพื้นฐานมนุษย์ผู้หนึ่งที่เขาสร้างหรือเขาที่กระทำมาให้เรา ที่จะได้มีความรู้สึกในฐานะว่าเป็นบุญหรือเป็นต้นทุน ของเขา จะเอาของเขาที่ประดับบูชา พระพุทธ พระธรรม พระอรหันต์ พระอริยสงฆ์นั้นๆ ที่ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะกิเลส ไม่ใช่ว่าเป็นปุถุชนคนเรา พระองค์นั้นๆ เกิดมา ณ ชาติไหน ทั้งพระปัจเจกโพธิญาณเจ้า พุทธเจ้าหรือ อรหันตเจ้า ล้วนแต่เป็นผู้สร้างบารมี เกิดมาไม่เป็นผู้ที่ให้เวลาหรือวันคืนเสียไป หรือไม่หลงใหล ในอยู่ ในโลกธรรม โลกธรรมนั้นที่เราผ่านพ้นมาทั้งอะไร แล้วก็ตาม โลกธรรมนั้นๆ ที่เรา ที่คลุมตัวของเราอยู่ ชื่อว่าโลกธรรม ๘ สรรเสริญหรือนินทา นั้นๆ อันที่มีมวลมนุษย์ หรือหมู่สัตว์ อาศัยอยู่พื้นปฐพีนี้ ถือถ้าเราทำดี หมู่สัตว์นั้นก็ว่าจะดี ถ้าเราชั่ว ทำชั่วหมู่สัตว์นั้นก็ว่าจะชั่วไป ถึงแม้ตัวของบุคคลผู้เป็นเจ้าสังขาร ธรรมสังขารสมมติ มาแล้วเป็นญาติหรือปัจจุบันเขาก็ว่าเราชั่ว ถึงฐานะเราไม่ดี ถ้าเราดีเขาก็ว่าเราดี อันนั้นถือว่าสรรเสริญ นินทา เป็นโลกธรรมส่วนหนึ่ง อันมนุษย์หรือสัตบุรุษ อันจะไม่พึงยินดีหรือปรารถนา ถึงว่าดีก็ตาม ถ้าเราไม่ทำความดี จะดียังไงได้ ถ้าเขาว่าชั่ว เราไม่ทำความชั่ว มันจะชั่วยังไงได้ เราจะคิดอุบาย ปัญหาอันนี้ ให้เสร็จสิ้นไป โลกธรรมเป็นส่วนหนึ่งที่หลอกลวงหมู่สัตว์นั้นให้หลงเชื่อ หลงใหล ไปตามอารมณ์นั้นๆ ไม่ใช่ว่าหนทาง และหนทางนั้น ที่หมายถึงว่าเราทำประพฤติพรหมจรรย์ แต่ไม่ได้ถือผ้ากาสาวพัตร์ มีสีขาวอันที่ จะพื้นขาวด้วยทวารสามคือ จักษุทวาร กายทวาร มโนทวาร จิตใจสะอาด ที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น ในสิ่งที่เป็นบาป นั้นๆ หรือกรรมนั้นๆ ถึงจะมีติดอยู่ในอุระ จิตใจแล้ว หรือกายแล้วตาม วาจาแล้วก็ตาม อันที่วาจาไม่เป็นสุภาษิต ไม่ใช่วาจาเป็นของบัณฑิต วาจานั้นๆ อาจจะเป็นที่รกชัฏหรือ คำหยาบ เสียมากไป เพ้อเจ้อ วาจาส่อเสียด เพราะยงให้เขาแตกร้าวจากกัน หรือว่าที่เท็จนั้นๆ อันที่เป็นโมหะ หรือโมฆะไป อันที่เป็นวาจาไม่จริงกับบุคคลผู้ที่ไม่มีศีลประจำ กับร่างกายสังขารนั้น ประพฤติที่พรหมจรรย์ให้เกิดขึ้น แล้วเป็นผู้ที่อยู่ในคลุกคลี หรือคลุกคลีด้วยหมู่และคณะ อันที่ไม่ห่างจากหมู่คณะ จะมาฝึกตัวหรือของตัวนั้นก็ไม่ได้ เพราะว่าสิ่งนั้นๆ แวดล้อมอยู่อันจะมีบุตรภรรยาหรือสามี พี่น้อง พ้องไพร หรือเพื่อนสัตว์นั้นๆ อันธุรกิจอันหมู่สัตว์ จะทำมาหาเลี้ยงชีพอยู่ตามปกติทุกวันไป สุดๆ ไป ก็มีทั้งได้และเสีย แม้ได้มาแล้วก็เสีย เสียไปแล้วก็ได้ เป็นอุบายของที่ว่าการหาเลี้ยงชีพ หาทรัพย์เป็นปัจจัย อันจะมาหนุนเกื้อกูลอัตภาพ สัตว์นั้นๆ อันจะตกอยู่ หลงอยู่ด้วยการที่เพราะว่าลาภเป็นปัจจัย สิ่งที่หนึ่งว่ากองกั้น ของภายนอกคือเงินทองกองแก้ว แหวน แสนสิ่ง รัตนะมณีจินดา นั้นๆ ไม่ใช่ว่าเป็นของจริง ไม่เหมือนกับว่า จริงอริยสัจ หรือจริงบัญญัติอริยสัจสี่ ตรัสรู้ได้ มีทุกข์ มีสมุทัย ทุกข์เป็นเหตุให้ทุกข์เกิด หรือสมุทัยเป็น ทุกข์คือเป็นเหตุให้เป็นทุกข์ สมุทัยเป็นเหตุให้พยุงให้ทุกข์เกิด คือเป็นใจเร่าร้อน ทำให้เป็นผลสมุทัย นิโรธนั้นเป็นเครื่องดับทุกข์ นิโรธนั้นเป็นสิ่งหนึ่งที่ไปทำให้จิต หรือสงบ ให้ร่างกายสงบลงไป นั้นจัดเป็นนิโรธ หรือเป็นสภาพ แต่ร่างกายไม่ตาย แต่ว่านิโรธเข้าไป จุนหรือไปเฉลี่ยอยู่ในส่วนหนึ่งของร่างกาย ร่างกาย ของมนุษย์หรือหญิงชาย บุคคลผู้ได้นิโรธ อันเป็นผลสมาบัติ ที่เข้าไปกำจัดกองทุกข์ได้ ทำให้หูดับหรือตาดับไป กายดับไป แต่กายไม่ดับ หูไม่ดับ แต่ว่าสถิตอยู่ คือเหมือนกับว่าสงบ คือการที่ไม่เกี่ยวข้องต่อสิ่งนั้นๆ ในการไม่ได้ยินได้ฟัง เสียงที่ดีหรือไม่ดีก็ตาม หูก็ดับ ตาก็ไม่มองเห็น ว่ารูปนั้นๆ สวยหรือไม่สวย ดังนี้ตาอาจจะเป็น เหมือนกับว่า อุเบกขาไปแล้ว ตานั้นจะอยู่ในนิโรธ แปลว่าดับ กายเหมือนกาย กายจะนิ่งอยู่ เหมือนกับว่า อากาศท่องเที่ยวอยู่ อัสสาสะ ปัสสาสะ หรือไม่ท่องเที่ยวก็ตาม ถือว่าอาจไม่ดับ เพราะว่า พระธรรมนั้นๆ เราได้แล้ว พระธรรมจะไปค้ำจุนหรือไปเกื้อกูลอุดหนุน สภาพร่างกายของเรา เป็นพื้นฐานว่า พระธรรมจะทำให้จิตของบุคคลนั้นสงบแล้ว ความรู้แห่งสุขหรือทุกข์นั้นๆ อาจจะพรรณนามิได้ รู้อดีต บุพเพกตปุญญตา รู้ชาติปัจจุบัน ที่เราจะระเหระหนไปที่ไหน รู้สภาพมนุษย์ หรือหมู่สัตว์ทั้งหลาย ด้านจิตใจหรือความชั่วความดี อันจะทำให้เป็นนิโรธ รู้ไปเช่นนี้ เป็นปัญญาส่วนหนึ่งของพระธรรม พระธรรมซึ่งเป็นคำสั่งสอนอันวิจิตร หรือประเสริฐ เลิศกว่าคำสอนใดๆ ที่ของเทวดา อินทร์ พรหม ผู้ที่รักษาคำสั่งสอนนั้น ก็อาจจะเอาบท คำสอนนั้นมามอบให้แก่กุลบุตร นั้นเป็นมรดกรู้เห็น เป็นเช่นนี้ อาจจะเป็นมนุษย์กายสิทธิ์ หรือเป็นมนุษย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่แล้งว่าเป็นมนุษย์ที่อัศจรรย์ ก็มนุษย์อัศจรรย์นั้นๆ จะเป็นผู้มีหน้าที่การงานประพฤติปฏิบัติธรรม คำสอนพระพุทธเจ้าได้ ในการที่ผลความเพียร พลังที่เพียรสัจ ที่จะให้เกิดไปแม้กายสังขารของเขาจะประสพความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าใดๆ ก็เขาจะมีขันติธรรม สร้างขันติธรรมคือความอดใจ ให้เป็นพื้นฐานไม่หวั่นไหวต่อสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น ทำให้ความเพียรแก่กล้าไปทุกวันทุกคืน และทุกเวลาไป ทุกปีทุกเดือนเป็นเช่นนี้ เปรียบประดุจว่า เหมือนกับว่าบุคคล ผู้ที่จะสร้างพลังกายสังขารของตนให้เป็นสังขารที่ มูลนิธิของพระอริยเจ้า พุทธเจ้า ผู้ที่ล่วงพ้นจากความทุกข์ไปแล้ว พระองค์นั้นก็เกิดมาอยู่ ณ สงสาร ทั้งพระอรหันต์แม้ยังไม่เป็นอรหันต์ จะเที่ยวเกิดเที่ยวตาย เป็นมนุษย์หรือบุคคล นั้นๆ ก็อาจจะเป็นผู้ที่กระทำบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา ให้แก่กล้า ไปเช่นนี้พระองค์จะอดกาย อดความเจ็บ อดความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า อดฮ้อน อดหนาว อดหิว อดกระหาย ลำบากกรากกรำ นั่งอยู่ในสัจจศีล หรือปัญจศีล ที่เอาศีลนั้นเข้าไปครอง ในสังขารร่างกายให้เป็นมูลค่า ศีลนั้นที่จะทำให้คมหรือแก่กล้าไปได้ เพราะความสัจแก่กล้าไปทุกที่ จนความดีที่อยู่ไม่ได้ เพราะความดีมูลของพระอริยะนั้นๆ เทวดา อินทร์พรหม หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ก็อาจจะมาประสิทธิ์ประสาทให้ หรือทำให้กระแสจิตของเรานั้นหมดมลทินไป นี้ถือว่าการบุคคลจะเดินหนีจากอกุศล เพราะผลความเพียรของตนไม่หยุดยั้ง หนีไปเรื่อยๆ หนีไปเรื่อยๆ ตามกำลังวันและคืน เป็นผู้ไม่ประมาท ในสังขารของเขา ยอมทำของเขาให้สะอาด หรือหมดจด หรือไป ถึงจะมีราคีมาแล้ว ทำไปอยู่อย่างนั้น อันนี้อาจจะเป็นว่า ปัญหาของพระธรรม หรือปัญหาของพระอริยะ พุทธองค์นั้นๆ แม้มีพระองค์ที่ สิ้นสุดไปแล้ว เป็นมนุษย์จริงหรือพระจริงไปแล้วออกจากกองทุกข์ ในวัฏฏะสงสารไปแล้ว พระองค์ก็จบคำรบไปสู่เมืองที่ผ่านไปสู่ที่เมืองแก้วแล้วด้วยคือพระปรินิพพาน ไม่มีชาติเกิด ไม่มีชาติแก่ ไม่มีชาติจะมา การเจ็บหรือความตาย ความทุกข์ความยาก ความสบายหรือไม่สบาย พระองค์ไม่มีแล้ว ภพใดๆ ภพน้อยภพใหญ่ ภพที่อยู่ในที่เป็นภพสาม ภพสี่ ภพยมโลก เทวโลก หรือพรหมโลก อรูป ๔ พระองค์ไม่อยู่แล้ว ไม่เกิดเป็นสัตว์ตัวใดหรือตัวหนึ่ง และตลอดหมู่สัตว์นั้นๆ จะเป็นสัตว์มดดำ มดแดง แมลงอะไรก็ตาม ที่เดียรัจฉานสัตว์ชั่วทั้งต่ำและสูง หรือปานกลางก็ ตาม พระองค์ที่ไม่เอา เป็นสัตว์ตัวยาวตัวสั้น ตัวรี ตัวพี มีกระดูก และไม่มีกระดูก พระองค์ไม่เอาอยู่ในภพนั้น ไม่ไปก่อเกิด หรือสี่เท้า สองเท้า ก็ตาม หรือเท้ามาก หรือไม่มีเท้าก็ตาม ดังนี้ถือว่าหมดในการที่ว่าอยู่ในสังสารวัฏ ในการที่บุคคลผู้ที่มีต้นทุนผู้ได้มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ยอมกระทำเอาคุณงามความดี สร้างบารมีของตนที่ เป็นพื้นฐานจะหนีความทุกข์ได้ ให้รู้จักว่าทุกข์อย่างนี้ นั้นเดินเราก็เหนื่อย แม้เมื่อยเราก็อาจจะต่อสู้ไป ดังนั้น หิวโหยเราก็จะมีความอดกลั้น ด้วยความพอดีในปัญญาธรรม ของเราหรือร้อนก็ดี หรือหนาวก็ดี และตลอดทุกสิ่งอย่างเราก็จะทนทานนะ มันจะเจ็บหรือเจ็บบั้นเอว หรือเจ็บกระดูก หรือร้อนแข้งขาหรือหูตาจะสุกใดๆ เราจะให้มีพละกำลังไม่หวั่นไหว ต่อสิ่งนั้นๆ หรือว่าการอันเป็นผู้บำเพ็ญศีล หรือบำเพ็ญธรรม ที่จะทำให้คุณธรรมแก่กล้า ผลขันติธรรมก็จะมีขันติใหญ่ๆ ขันติจนกว่าว่าเพื่อนมนุษย์สัตว์ บุคคลผู้ใดจะอดเอามาได้ อันนั้นเรียกการฝึกหัด แม้มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน หรือการเจ็บก็ดีเราก็อาจจะไม่พูดเจ็บอะไรก็ตามหรือว่าความผลการเจ็บแค่นี้ จะเอาความดีเข้าไปปะทับความเจ็บจนให้จนกว่าว่า หายความเจ็บไป จะดับความเจ็บความแก่ไป เพราะขันติ บารมีแห่งคุณธรรมของบุคคลผู้ประพฤติธรรมดังนี้ ถือว่าเป็นคนผู้มีปัญญาดี จะสร้างบารมีหรือคุณงามความดีให้ผลศีลยิ่งๆ เป็นเฉียบขาด หรือเป็นอำนาจในตัวของสังขารของเขาอันจะมีความดีนั้นดันไป หรือช้อนไป เพราะความดีอันจะแก้ไข ตัวหรือบุคคลผู้อื่นให้รู้เป็นพื้นฐานดังนี้ จัดว่าเป็นมนุษย์ที่ชอบ หรือมนุษย์ที่ศึกษาเป็นผู้ฝึกและหัด ในการที่การจะหัดในศีล หัดทำเพียรหัดเอาคุณงามความดี ฝึกดังนี้ จึงมีพระคาถาบาลีว่า ปุริสะธัมมะสาระถี สัตถา เทวะมนุสสานัง มนุษย์เทพยาดาเป็นผู้ฝึกตน เป็นสารถีผู้ฝึกตนไม่มีใครมาฝึกให้ คนจะดีจะชั่วนี้ก็ถือว่าตัวของตัวเองฝึกตน เมื่อตนเป็นยังไง ตนมีอะไรเป็นจริง สิ่งที่ว่าเกี่ยวข้อง ตนอาจจะฝึกตนให้หนี จากสิ่งนั้นๆ เพื่อให้เป็นระดับที่ว่า บรรยากาศมีคุณงามความดี ประทับอยู่ในสังขารร่างกายของเรา อันจะฝึกให้รู้ว่าเจ็บเช่นนี้ แก่เช่นนี้ ตายเช่นนี้ หรือยังไง ตายนอก ตายใน ที่ได้ส่วนหนึ่งของพระธรรม กายสังขารร่างกายที่ตายสงบอยู่ชั่วคราว หรือก็ตาม หรือดับเสียความร้อนชั่วคราว หรือความหนาวชั่วคราว ความหิวชั่วคราว การได้ยิน จะได้ยินเสียงที่ไม่ดีที่จะดับลงไป ได้ยินเสียงนั้นๆ ไม่เอา ขอให้เราให้ได้ยินเสียงธรรม เสียงคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค หรือของสัปปุริสาเจ้า พระอริยเจ้า โพธิสัตว์เจ้า ทั้งปวงนั้น เป็นเสียงยอดเป็นเสียงกายสิทธิ์ จะทำให้เสียงเพิ่มเสียงของเรามีเกียรติมีศักดิ์ศรี ถึงเอาคุณงามความดี เกิดขึ้นเป็นเช่นนี้ ขอให้เรานั้นศึกษาเอาไว้ เพื่อไม่ให้ย่อท้อ ต่อในการที่เราทำเพียรที่จะให้ความเพียรของเราเขยิบแก่กล้าต่อไป ที่จะประพฤติไปได้แค่นี้หนา…เอาแก่ไป ตามที่วิสัยเราจะสามารถทำได้ แปลว่าพื้นฐานผู้รักษา ประพฤติ และปฏิบัติธรรมจะทำให้ธรรมเกิดขึ้นในศาสนาของเรา รู้เห็นสิ่งนั้นๆ ไม่ผิดวิปริตไปนี้ อาจจะผ่านไปแห่งภัยหรืออันตรายนั้นๆ หรืออันตรายอุปกิเลสจะมาสร้างความเหน็ดเหนื่อย เขามีหน้าที่สร้างความเหน็ดเหนื่อยหรือเมื่อยล้า สร้างความหิวสร้างความกระหาย สร้างความอยากทุกสิ่งทุกอย่าง อันนั้นมีหน้าที่อย่างนั้น เราจะเอาคุณพระอริยะพุทธองค์นั้น ตั้งอยู่ในขันติธรรม สร้างขันติธรรม สร้างสัจจะธรรม สร้างการอดทนต่อไป ในสิ่งนั้นๆ ให้มีเกียรติในสังขารร่างกาย นี้เรียกว่าสร้างธรรมหรือบำเพ็ญธรรม อันเราจะหนีไม่พ้นในการรู้พระธรรม เพราะฉะนั้น ก็ขอ ณ วันนี้ เพื่อมาให้โอวาทลูกนี้ เพื่อให้ได้คุณงามความดี เสริมศรัทธาให้แก่กล้า เสริมปัญญาให้ว่องไว เสริมจิตใจให้สะอาด ขออำนาจแห่งพระรัตนตรัย พุทธองค์ผู้ปรินิพพานไป แม้พระองค์ คุณพระองค์คือคำสั่งสอนเป็นตัวแทน ก็พระธรรมนั้นเป็นประเสริฐอันที่พระธรรมอะไรที่เป็นพระธรรมที่ส่วนเลิศ จนเข้าสังขาร ร่างกายจิตวิญญาณให้สะอาดคือจักษุหนึ่ง จักษุทวาร กายทวาร มโนทวาร ให้แจ่มใสเพราะฉะนั้น ที่จะเป็นพระรัตนตรัย อริยสงฆ์ ของพุทธองค์ตราบพระปรินิพพานไปแล้ว นานหลายชั่วนิรันดร พระองค์นั้นๆ มากกว่าเม็ดหินเม็ดทราย พร้อมทั้งพระโพธิ์บรมโพธิสัตว์ ผู้มีบารมีอันยิ่งใหญ่ พระองค์นั้นที่อยู่สถิตย์ ไหนก็ตาม พระศรีอาริยเมตไตรย์ ที่จะเอาลูกหลานไปถึงสถานที่พ้นจากทุกข์ในโลกีย์ ที่จะเห็นคุณงามความดี ของพระอริยะที่ท่านประทานมาอยู่ฟากฟ้าแดนดิน บนสวรรค์ที่ในแม่น้ำ ห้วยหนองคลองบึง ทั่วไป และอริยะโพธิสัตว์นั้นๆ เพรียงกันบรมโพธิสัตว์ทั้ง ๑๐ พระองค์ ที่จะมาช่วยเหลือ ลูกเหลนหลานที่ทำให้การอยู่ดีกินดี สบายดี พ้นภัยเวรและกรรม ถึงที่จตุพรสี่ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกทิพาราตรี

บทคำสอนที่แกะจากเทปบันทึกเสียงหลวงปู่ทองคำศรี รัตนโคตร (หลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ โพธิสัตโต)
อัดเสียงโดย พระสุวิทยา จันตะธัมโม (สมัยเป็นฆราวาส)
แกะเป็นอักษรโดย Sriram (อดีตพระพรหมปัญโญ)

แชร์เลย

Comments

comments

Share: