จดหมายเหตุ วัดปากน้ําญี่ปุ่น พ.ศ. ๒๕๔๘

หลวงพ่อภาวณา
หลวงพ่อภาวณา

พ.ศ. ๒๔๙๗ นับเป็นปีที่สําคัญอีกปีหนึ่งแห่งสัมพันธภาพทาง พระพุทธศาสนาของไทยและญี่ปุ่น เมื่อนายคูนิโอ คาวาคิตะ หรือที่มีชื่อไทยว่า วีระ อุตตรนที ซึ่งมีบิดาเป็นชาวญี่ปุ่น มารดาเป็นชาวไทย ได้อุปสมบท ณ วัดปากน้ํา ธนบุรี ปัจจุบันอยู่ในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ในปีเดียวกันพระสังฆราชคาตาชินา แห่งนิกายโซโต พร้อมคณะสมณทูตได้มาเยือนวัดปากน้ํา และถวายความเคารพพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ํา

๓ ปีต่อมา การอุปสมบทพระภิกษุญี่ปุ่น ณ วัดปากน้ํา ได้เริ่มขึ้น พุทธศาสนสัมพันธ์ของประเทศทั้งสองก็ทอแสงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดเล็กๆ ในคลองบางหลวง หรือ คลองบางกอกใหญ่ ฝั่งธนบุรี อันมีนามที่รู้จักกันมาหลายร้อยปีว่า “วัดปากน้ํา” ได้กลายเป็นประดุจสถานที่แสวงบุญของพระญี่ปุ่นที่ใฝ่ในการศึกษา ทั้งนี้เนื่องด้วยความสนใจในธรรมปฏิบัติของพระมงคลเทพมุนี หลวงพ่อวัดปากน้ํานั่นเอง

ในส่วนซีกโลกตะวันออก ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เข้มแข็งและเป็นแนวหน้าของการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ การเผยแพร่ธรรมของหลวงพ่อได้จุดประกายขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เมื่อหนุ่มไทยเชื้อสายญี่ปุ่น นายคูนิโอ คาวาคิตะ หรือที่มีชื่อไทยว่า วีระ อุตตรนที ซึ่งมาศึกษาและปฏิบัติธรรมกับหลวงพ่อตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้ตัดสินใจเข้าบรรพชา อุปสมบท ณ วัดปากน้ํา โดยหลวงพ่อเป็นพระอุปัชฌาย์ ในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๔๙๗ ได้รับฉายาในพระพุทธศาสนาว่า “คณุตฺตโม”

สองสัปดาห์ต่อมา (๒๓ พฤษภาคม) หลวงพ่อได้ปรารถถึงการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นว่า “บุญที่ส่งมาคราวนี้แหละ จะได้เป็นกําลังของพระบวชใหม่ ให้ประกาศศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ให้ญี่ปุ่นเขาเคารพนบนอบหมดทั้งประเทศ”

๒๔ วันต่อมา คือ วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๙๗ คณะพระญี่ปุ่น นําโดยพระสังฆราช ตาคาชินา แห่งนิกาย โซโต ได้มาเยี่ยมวัดปากน้ํา และถวายความเคารพหลวงพ่อวัดปากน้ํา โดยการแนะนําของ นายเอี่ยม สังขวาสี อุปนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย การมาเยือนวัดปากน้ําวันนั้นสร้างความประทับใจแก่พระสังฆราชตาคาชินา และท่านมี ความประสงค์จะนําแนวทางการปฏิบัติของหลวงพ่อไปเผยแผ่ในประเทศญี่ปุ่น จึงได้เกิดการสนทนาธรรมกันในวันรุ่งขึ้น โดยพระกาชิยูอิไซ (Kashuisai) ชาวญี่ปุ่น ที่เดินทางมากับคณะดังกล่าวได้อาราธนา พระวีระ คณุตฺตโม ไปสนทนาธรรม เพื่อหาความรู้เพิ่มเติม ณ โรงแรมชิโตเซะ ถนนนเรศ โดยได้รับอนุญาตและความเห็นชอบจากหลวงพ่อวัดปากน้ํา

มาในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ พระเดชพระคุณหลวงพ่อ ได้แสดงความมุ่งมั่นในการเผยแผ่ธรรมในประเทศญี่ปุ่นกับคณะศิษย์ว่า “ต่อแต่นี้ ไม่ช้าเท่าใด จะส่งไปญี่ปุ่นอีกองค์หนึ่ง มีวิชาแบบเดียวกัน จะส่งไปญี่ปุ่นอีกองค์หนึ่ง ให้ประกาศพุทธศาสนาแบบเดียวกัน ในประเทศไทย นี่ มากองค์ บ้านของใครจะประกาศอย่างไร ให้ประกาศออกไป อย่านิ่งเสียอุตส่าห์เอาใจใส่พระพุทธศาสนา เมื่ออยู่วัดไหนจะได้รุ่งโรจน์โชตนาการ พวกชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย อุบาสกอุบาสิกาจะได้รู้จักพุทธศาสนาจริง”

ความที่พระญี่ปุ่นบรรลุธรรมกายนี้ หลวงพ่อพระราชพรหมเถร ได้เล่าไว้ในหนังสือนวกะอนุสรณ์ ๒๔๙๗ ดังนี้ (ตามภาพ)

พระราชพรหมเถร-วีระ-คณุตฺตโม
พระราชพรหมเถร-วีระ-คณุตฺตโม
พระราชพรหมเถร-วีระ-คณุตฺตโม
พระราชพรหมเถร-วีระ-คณุตฺตโม

บทความด้านล่างคัดลอกมาจากอีกแหล่งนะครับ

เมื่อภิกษุญี่ปุ่นบรรลุธรรม

ท่านเจ้าคุณราชพรหมเถร(วีระ อุตตรนที)*** ครั้งยังเป็นพระวีระ ได้เขียนเล่าเรื่องเมื่อภิกษุญี่ปุ่นบรรลุธรรมไว้ว่า

ครั้งคณะสมณทูตญี่ปุ่นมาแวะเยี่ยมสำนักวัดปากน้ำ เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๗ หลังจากที่ได้เดินทางกลับจากประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์ ณ ประเทศอินเดีย กับดูการสังคายนา ณ ประเทศพม่า

ในวันรุ่งขึ้น วันที่ ๑๗ มิถุนายน ท่านได้เข้าพบพระสังฆราช นิกายโซโต แห่งประเทศญี่ปุ่น สนทนากันเกี่ยวกับการเจริญสมถวิปัสสนา ท่านวีระได้อธิบายวิธีการนั่งภาวนาวิชชาธรรมกาย ท่านสังฆราชญี่ปุ่นสนใจมาก ถึงกับกล่าวว่า

วิธีของสำนักวัดปากน้ำนี้ดีมาก และจะได้นำกลับไปใช้ต่อไป แต่เดิมนั้นนิกายโซโตกำหนดที่ตั้งของจิตไว้ที่บริเวณหน้าผากหรือดั้งจมูก

มีพระภิกษุรูปหนึ่งในคณะสมณทูตนี้ ชื่อพระกาชิยูอิไช ใคร่จะทราบว่า บิดาของท่านซึ่งถึงแก่กรรมไปนานแล้วนั้น บัดนี้อยู่ ณ ที่ใด

ท่านวีระจึงชักชวนให้คณะสมณทูตทั้งคณะทดลองเจริญสมถวิปัสสนา ทั้งคณะยินดีปฏิบัติ สำหรับพระกาชิยูอิไชนั้น ท่านวีระได้บอกวิธีสืบเสาะหาที่อยู่ของบิดาของท่านให้ทราบโดยละเอียดเป็นพิเศษ

การนั่งภาวนาดำเนินไปจนถึงขึ้นสุดท้าย พระกาชิยูอิไช ลืมตาขึ้น เบ้าตาสองข้างเต็มเปี่ยมไปด้วยอสุชล ท่านพึมพำด้วยความตื้นตันใจว่า

“…ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดมาจนบัดนี้ ไม่เคยได้พบความสุขอันใด จะยิ่งไปกว่าที่ได้เข้าถึงพระนิพพาน ท่ามกลางพุทธสาวก ดังที่ได้ประสบมาเมื่อสักครู่นี้แล้วนั้นเลย”

*เผยแพร่โดยเพจ บารมีธรรมหลวงพ่อวัดปากน้ำ
**จากหนังสือบารมีธรรมหลวงพ่อวัดปากน้ำ
***อดีตพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ

แชร์เลย

Comments

comments

Share: