ดร.บาร์ตัน เซนเซนิก

ดร.บาร์ตัน เซนเซนิก
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ  
เคยมาบรรพชาอุปสมบทที่วัดหลวงพ่อสดฯ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
จะมาทำงานที่ประเทศไทย เพื่อมีเวลาปฏิบัติภาวนาให้มากขึ้น

https://www.youtube.com/watch?v=3qtz3DoIPE0&list=PLlfUHYUUs5nrpUgAGn-KB6E2osG_J77IR


๑. โปรดแนะนำตัว.

ผมเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่ “แปลก/ไกล” (far-out) ที่สุด ที่วัดหลวงพ่อสดฯ.    ทุกๆ ปี ผมจะมาอบรมพระกัมมัฏฐานอย่างน้อย ๑ ครั้ง จากอีกซีกหนึ่งของโลก คือจากเมืองโปโตแมค, แมรี่แลนด์, สหรัฐอเมริกา, อยู่ห่างจากวอชิงตัน ดี.ซี.ไปหน่อย.

ผมเป็นนักวิจัย (Researcher),   ผมได้ค้นหา (Searching) และค้นหาใหม่ (Re-searching) ถึง “ความจริง/สัจจธรรม” มาตลอดชีวิตของผม.  

ผมจบการศึกษาด้าน ฟิสิคส์, วิศวกรรมไฟฟ้า และรัฐศาสตร์ ที่ MIT (สถาบันเทคโนโลยีแห่งเมสซาชูเซตส์),   แล้วก็ สังคมศาสตร์ และจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยคอร์เนล.

ผมยังเป็น “ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ” ด้วย.   อาชีพของผมมุ่งเป้าไปที่การช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนทั่วโลก  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแอฟริกา.   ตอนนี้ผมอายุ ๖๕ ปี, กำลังอยู่ในขั้นตอนที่จะลดปริมาณการงานด้านพัฒนา เพื่อที่จะมุ่งมายังด้านปฏิบัติภาวนาให้มากขึ้น.


๒. คุณรู้จักวัดนี้ได้อย่างไร ?

ในปี พ.ศ.๒๕๐๓  ผมได้ทำงานกับหลวงป๋าในสำนักงานวิจัยของ USIS (สำนักข่าวสารอเมริกัน), ในกรุงเทพฯ.   เราได้เป็นเพื่อนสนิทกันมานานก่อนที่ทั้งผมและหลวงป๋า [ตอนที่เป็นคฤหัสถ์] จะเริ่มฝึกภาวนา.    หลายปีที่ผ่านมา, ผมจะมาเยี่ยมหลวงป๋าทุกครั้งที่ผมมาเมืองไทย.   ดังนั้นผมจึงได้รู้เกี่ยวกับวัดหลวงพ่อสดฯ จากหลวงป๋าโดยตรง.   ผมรู้สึกเหมือนได้รับพรอย่างพิเศษและโชคดีอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้เรียนรู้และฝึกวิชชาธรรมกาย.

๓. คุณฝึกภาวนามานานเท่าไรแล้ว ?

ผมสนใจในพระพุทธศาสนาเมื่อ ๔๐ ปีก่อน และได้ฝึกภาวนามาตั้งแต่ ๒๐ ปีที่แล้ว.

๔. คุณคิดว่าวิธีใดดีที่สุดในการเรียนรู้การปฏิบัติภาวนา ?

ผมพบว่า การอบรมกัมมัฏฐานประจำปี ณ วัดหลวงพ่อสดฯ เป็นวิธีที่ดีมากที่สุดที่จะเรียนรู้การฝึกภาวนา.   เมื่อผมกลับไปที่สหรัฐอเมริกา, ผมนำเทปคัสเซทสอนภาวนาของหลวงป๋าไปด้วยหลายม้วน และฝึกจากเทปเหล่านั้น. ผมยังเข้าฝึกภาวนาที่วัดใกล้บ้านของผม คือวัดไทย ดี.ซี. สัปดาห์ละ ๓ ครั้ง.   โดยปกติ  ผมฝึกภาวนาที่บ้านทุกวัน.

๕. คุณมีคำแนะนำอย่างไรสำหรับคนอื่นๆ ที่ต้องการศึกษายิ่งขึ้นไปเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา ?

ผมสนับสนุนเต็มที่ให้มาฝึกภาวนาที่วัดหลวงพ่อสดฯ.   ที่นี่มีการอบรมปีละ ๒ ครั้ง คือ รุ่น ๑-๑๔ พฤษภาคม และรุ่น ๑-๑๔ ธันวาคม.

ผมพบว่าการเดินทางมาวัดหลวงพ่อสดฯ มีความอ่อนเพลียหลังจากเปลี่ยนเขตเวลา [Jet lag – เช่น ความอ่อนเพลียที่เกิดจากโดยสารเครื่องบินข้ามเขตเวลา] จากกรุงเทพฯ เท่าๆ กับที่มาจากสหรัฐอเมริกา.    ผมต้องใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์เพื่อพากเพียรปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบของวัด ที่จะทำใจให้สงบลง จนถึงจุดที่การปฏิบัติภาวนาได้ผลดีจริงๆ.

๖. “การฝึกภาวนาเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการทำให้คุณมีสมาธิกับทุกสิ่ง” จากประสบการณ์ของคุณ, โปรดยกตัวอย่างที่จะพิสูจน์คำพูดนี้.

นักศึกษามหาวิทยาลัยทุกคนรู้ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของของการใช้สมาธิเพื่อรวบรวมความคิดอย่างเงียบๆ ในการคิดแก้ไขปัญหาต่างๆ.    นี้เป็นวิธีการที่ได้รับการพิสูจน์แล้วสำหรับพัฒนาความสามารถในการมองให้ทะลุปัญหา และแก้ไขปัญหาที่ยากได้.    ถ้าผมกำลังพยายามฝึกสมาธิอยู่, แต่ใจหมกมุ่นด้วยปัญหาจากการงาน, ผมจะปล่อยใจให้มุ่งไปที่ปัญหานั้นๆ.   เมื่อถึงช่วงท้ายของการนั่งสมาธิ, ผมมักจะได้คำตอบพอดี.

๗. “การฝึกภาวนาเป็นวิธีที่ดีมากในการสร้างบุญกุศล” คุณเห็นด้วยหรือไม่ ?

เรามักจะแปลคำว่า “ทำบุญ — Earning merit” ว่า “ทำดี — Doing good” (ตัวอย่างเช่น รักษาศีล), แต่อริยมรรคมีองค์ ๘ มีส่วนประกอบ ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา.    การฝึกภาวนาเป็นทั้งวิธีพัฒนาสมาธิและปัญญา.    ดังนั้น มันจึงสำคัญมากที่จะ “ทำบุญ” ในความหมายที่กว้างขึ้น ให้ดำเนินไปในหนทางแห่งการตรัสรู้.

๘. ขอความเห็นสำหรับชาวต่างประเทศที่จะมาฝึกภาวนาในประเทศไทย.

ติดต่อ พระใบฎีกาวอลเทอร์ อุตฺตมปญฺโญ .    ในวัดหลวงพ่อสดฯ หลวงป๋าและพระใบฎีกาวอลเทอร์ ใช้ภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่วที่สุด.   พระใบฎีกาวอลเทอร์ จะให้ข้อมูลได้มากกว่านี้ หรือช่วยคุณวางกำหนดการมาเยี่ยมหรือพักที่วัดได้.

๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔

ดร.บาร์ตัน เซนเซนิก
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระหว่างประเทศ

1. Introduce yourself:
I am “the most far-out” meditator at Wat Luang Phor Sodh. Every year I come to at least one meditation retreat from the other side of the world — Potomac, Maryland, USA, just outside Washington DC. I am a researcher – I have been searching and re-searching all my life for the “Truth”. I studied Physics, Electrical Engineering and Political Science at M.I.T., and then Sociology and Pyschology at Cornell University. Now I am on the right path, studying meditation at Wat Luang Phor Sodh. I am also an “International Development Specialist.” My career has focused on helping needy people around the world – especially in Africa. At age 65, I am now in the process of cutting back on development work to focus on meditation.


2. How did you come to know about this temple?
In the 1960s, I worked with Luang Pa in the Research Office of the U.S. Information Service (U.S.I.S.) in Bangkok. We were personal friends long before either he or I started meditating. Over the years, I would visit him whenever I was in Thailand. Thus, I learned directly from Luang Pa about Wat Luang Phor Sodh. I feel uniquely blessed and extremely fortunate to have the opportunity to learn about and practice Wicha Dhammakaya.

3. How long have you been practicing meditation?
I first became interested in Buddhism about 40 years ago and have been practicing meditation for about 20 years.

4. What is the good way for you to learn how to meditate?
I find the meditation retreats at Wat Luang Phor Sodh to be by far the best way to learn to meditate. When I go back to the United States, I take cassette tapes of Luang Pa teaching meditation and practice with them. I also attend meditation classes at my local wat, Wat Thai DC, three times a week. Naturally, I also practice daily at home.

5. What is your recommendation for others who wish to learn more about meditation?
I highly recommend the meditation retreats at Wat Luang Phor Sodh. There are two retreats per year -May 1-14 and December 1-14. [For more information, see www.concentration.org (English)  I find that there is just as much “jet lag” in coming from Bangkok as in coming from the United States. It takes about a week of diligent practice in the tranquil surroundings of the wat to calm the mind down to where the meditation practice becomes really good.

6. “Meditation is one of the best ways to make your mind concentrate on everything.” – From your experiences, please give some samples that prove that statement.
Every university student knows the necessity and benefit of concentrating quietly on a problem. This is a proven procedure for developing new insights and solving difficult questions. If I am trying to meditate, but my mind is absorbed with a problem from work, I allow the mind to focus on the problem. By the end of the meditation session, I usually have the solution.

7. “Meditation is a very good way for earning merit.” Do you agree?
We usually interpret “earning merit” as “doing good” (e.g. upholding precepts), but the Noble Eightfold Path has three components – morality (upholding precepts), concentration and developing wisdom. Meditation is both the way to improve concentration and the way to develop wisdom. It is, thus, extremely important for earning merit in the broader sense of progressing along the path to enlightenment.

8. Any ideas for foreigners to come to learn in Thailand?
Contact Phra Walter at www.concentration.org (English). He and the Abbot are the monks at Wat Luang Phor Sodh who are most fluent in English. Phra Walter can provide you with further information or help you to schedule a visit to the wat.

แชร์เลย

Comments

comments

Share: