พระของขวัญรุ่นสมบัติสุข

Surasit Jaisai

  · 3 กรกฎาคม เวลา 20:56 น. 

· #พระต้นธาตุกายมนุษย์พระผงของขวัญรุ่นสุดท้ายคุณยายครูฉลวย สมบัติสุข*#ด้านหน้า : รูปหลวงพ่อวัดปากน้ำยืน ล้อมด้วยคาถาบารมี ๓๐ ทัศ ฝังแผ่นเหล็กไหลวัชรธาตุ (เหล็กไหลนิพพาน) #ด้านหลัง : ปราสาททำวิชชา สัมมาอะระหัง ฝังเม็ดเหล็กไหลวัชรธาตุหลอมรวมกับเหล็กไหลช่อทิพย์เงินยวง และโรยรัตนชาติที่หลวงป๋าทำวิชชา#พิธีพุทธาภิเษก วันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๙ #ราชาฤกษ์ เวลา ๑๗.๔๙-๑๙.๑๐ น. พระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า) เป็นประธาน และหลวงพ่อสุพจน์ วัดศรีทรงธรรม จ.นครสวรรค์ นั่งปรกอธิษฐานช่วงกลางวันพิธีเดียวกับเหรียญพระปฐมบรมศาสดา วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี และพระต้นธาตุลอยองค์ ที่จัดสร้างโดยกลุ่มศิษย์พระต้นธาตุ ณ ปราสาททำวิชชา (วิหารกลางน้ำ) วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี#รุ่นสุดท้ายที่คุณยายอนุญาตพระของขวัญรุ่นสมบัติสุข สำหรับแจกในงานหรือผู้ร่วมบุญที่เนื่องด้วยคุณยายครูฉลวย สมบัติสุข เดิมทีทางคณะศิษย์ตั้งใจจะมอบให้คุณยายแจกในงานอายุวัฒนมงคล ๙๓ ปี (๒๒ กันยายน ๒๕๕๙) แต่คุณยายได้ละสังขารก่อน จึงแจกในโอกาสทำบุญสตมวาร (๑๐๐ วัน) ตรงกับวันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ และโอกาสต่างๆ เป็นต้นลิงค์การขออนุญาตคุณยายhttps://m.facebook.com/…/a.13936126…/547452708791372/…*คุณยายครูฉลวย สมบัติสุข คือ อดีตหัวหน้าเวรโรงงานทำวิชชา วัดปากน้ำ ผู้รวบรวมและจดบันทึกวิชชาในโรงงานทำวิชชา คณะผู้เรียบเรียงจัดทำหนังสือคู่มือสมภาร

Loader Loading…
EAD Logo Taking too long?

Reload Reload document
| Open Open in new tab

คุณยายฉลวย สมบัติสุข : บุคคลยุคต้นวิชชาธรรมกาย วิรสันต์ วิรุฬห์สกุลภิบาล

คุณยายฉลวยกับข้าพเจ้าและแม่ของข้าพเจ้า เมื่องานกฐินที่คุณยายฉลวยเป็นประธานกฐิน วัดแสนฝาง ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

คุณครูฉลวย สมบัติสุข เป็นคนเชียงใหม่โดยกำเนิดบิดาชื่อ หงส์ ( ต่อมาภายหลัง หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “โฆษิต” )มารดาชื่อ เหรียญคุณครูฉลวยเป็นบุตรีคนโต ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ๙ คน เป็นชาย ๕ หญิง ๔ เกิดเมื่อวันที่ ๒๒ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๖ ณ บ้านที่อยู่ปัจจุบันนี้ ถ.ราชวงศ์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่หลังจากที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.๒๔๘๑ ปีถัดมาก็เข้ารับหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือ ที่โรงเรียนเทศบาล ๕ เชียงใหม่

ปีพ.ศ.๒๔๘๓ พระยาอมรฤทธิธำรง ข้าหลวงเชียงใหม่ในสมัยนั้น ได้นิมนต์พระภิกษุจากวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ๒ รูป คือพระอาจารย์สุมน ซึ่งแตกฉานทาง “คันถธุระ”และ พระอาจารย์สมจิต ซึ่งเชี่ยวชาญทาง “วิปัสสนาธุระ” ไปสั่งสอนพระสัทธรรมแก่ชาวเชียงใหม่ ที่วัดอุปคุต ซึ่งตั้งอยูในอำเภอเมืองเชียงใหม่ ปรากฏว่ามีสาธุชนผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ไปรับการฝึกเจริญภาวนาธรรมกันมากมาย จนล้นออกมานอกพระวิหารวัดอุปคุต แม้กระทั่งกุฏิพระก็มีผู้ไปนั่งปฏิบัติภาวนากันจนเต็ม …. เป็นปกติเช่นนี้ประจำทุกคืน

เวลานั้น บิดาของคุณครูฉลวยมีโรคประจำตัวเบียดเบียนอยู่ คือ โรคเก๊าท์ หรือ รูมาติซั่ม เยียวยารักษาแล้วก็ยังไม่หายขาด ท่านข้าหลวงเชียงใหม่จึงได้มาชักชวนว่า พระอาจารย์สมจิตที่มาสอนพระกัมมัฏฐานอยู่นี้ ท่านสามารถรักษาโรคได้

บิดาท่านจึงได้ไปทดลองฝึกปฏิบัติภาวนาที่วัดอุปคุต ด้วยหวังว่าโรคเก๊าท์ที่เบียดเบียนท่านอยู่นั้น จะได้รับการรักษาให้หายขาด เมื่อได้ไปทดลองปฏิบัติก็ปรากฏว่า ท่านได้ “เห็นธรรมะ” จึงบังเกิดศรัทธาปสาทะในการฝึกภาวนาธรรม และเห็นว่าการปฏิบัติวิชชาธรรมกายนี้ดี จึงพยายามชักชวนบรรดาสมาชิกในครอบครัวให้ไปลองฝึกกันบ้าง

ราวเดือนกันยายน พ.ศ.๒๔๘๓ ก็มีสมาชิกในครอบครัวไปฝึกกันหลายคน ตัวคุณครูแลวยเองนั้นเมื่อไปฝึกใหม่ๆ ก็พอจะได้เห็นนิมิตเป็นดวงบ้าง แต่ก็เป็นไปในลักษณะ เห็นๆหายๆ ไม่มั่นคง เมื่อเวลาพระอาจารย์ท่านบอกให้ตรึกนึกถึงนิมิตเป็นดวง ไปตามฐานที่ตั้งต่างๆนั้น ก็พยายามตรึกตามไปจนถึงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ … ดวงนั้นก็หายไป

ต่อมาในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น คุณครูฉลวยได้ลงมาที่กรุงเทพ เพื่อเข้าไปฝึกเจริญภาวนาธรรมต่อที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ แลได้ “อาจารย์แม่ชี ทองสุข สำแดงปั้น” ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้บวชเป็นชี…เป็นครูผู้สอน คุณครูฉลวยได้เพียรฝึกปฏิบัติจนได้ถึง “ธรรมกาย” ได้เห็นธรรมะสมความมุ่งมาดปรารถนาแล้ว ก็อำลาวัดปากน้ำกลับสู่ถิ่นฐานของท่าน และเจริญภาวนาธรรมตามที่ได้ร่ำเรียนมาต่อไปจนมั่นคงดีแล้ว 

จวบจนเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๘๔ ได้โอกาสเข้ามาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ อีกครั้ง คราวนี้ “หลวงพ่อวัดปากน้ำ” ท่านให้คุณครูฉลวยเข้าไปปฏิบัติภาวนาธรรมในพระวิหารและได้ “อาจารย์แม่ชี ญาณี ศิริโวหาร” … เป็นผู้สอน คุณครูฉลวยได้รับการ “ต่อวิชชา” ลึกซึ้งยิ่งขึ้น…จนได้รู้ได้เห็น “วิชชาธรรมกายชั้นสูง” หลายๆอย่าง 

ทำให้มีความศรัทธาแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปอีก จึงเขียนจดหมายไปขออนุญาตต่อบิดามารดา เพื่อขออยู่ปฏิบัติภาวนาที่วัดปากน้ำและได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อ ให้เข้าเจริญวิชชาใน “โรงงาน” โดยอยู่กะเดียวกับ “อาจารย์แม่ชี ปุก มุ้ยประเสริฐ”

ประมาณกลางเดือน ๙ ปี พ.ศ.๒๔๘๔ คุณครูฉลวยได้บวชชีอยู่ราว ๔ พรรษา จนถึงปี พ.ศ.๒๔๘๗ จึงสึกจากชี แต่ยังคงถือเพศพรหมจรรย์ อยู่ปฏิบัติหน้าที่เจริญวิชชาชั้นสูงในโรงงานต่อไป 

จนกระทั่งเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๑ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อกำลังอาพาธ ท่านได้รับคำสั่งจากหลวงพ่อให้กลับสู่บ้านเกิดของท่าน ด้วยอาจเห็นว่าบ้านอยู่ไกล และยังมีภาระทางบ้านผูกพันอยู่ด้วยเมื่อคุณครูกลับไปเชียงใหม่ได้ไม่นานนัก หลวงพ่อก็มรณภาพในเดือนกุมภาพันธ์ปีถัดมา

ภายหลังจากที่หลวงพ่อมรณภาพแล้ว คุณครูฉลวยก็ได้กลับมาเจริญภาวนาธรรมในโรงงานที่วัดปากน้ำ เพื่อสนองพระคุณหลวงพ่ออีก ๑ ปี จึงได้กลับสู่เชียงใหม่ รวมเวลาที่เจริญวิชชาชั้นสูงที่วัดปากน้ำ เป็นเวลาทั้งสิ้น ๑๗ ปี

ในสมัยช่วงแรกที่คุณครูได้เจริญวิชชาในโรงงานนั้น เป็นระยะที่ประเทศไทยเข้าสู่ภาวะสงคราม พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้จัดให้มี “การเข้าเวรทำวิชชา” ๒ ชุด แบ่งเป็น ๔ ผลัด ผลัดละ ๖ ชั่วโมง

กะแรก เข้าเวรประมาณ ๖ โมงเช้า และออกประมาณเที่ยงวันกะที่สองจะเข้ารับเวรต่อ แล้วกะแรกจะกลับมารับเวรผลัดต่อไปในเวลา ๖ โมงเย็นและจะส่งเวรให้กะที่สอง ในผลัดต่อไปในเวลาเที่ยงคืนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเช่นนี้ ตลอด ๒๔ ชั่วโมงมิได้ขาด

เมื่อสงครามสงบลง พระเดชพระคุณหลวงพ่อจึงให้เปลี่ยนแปลง “การเข้าเวร” ในโรงงานเป็น ๓ ชุด ผลัดละ ๔ ชั่วโมงส่วนการสอนธรรมะนั้น หลวงพ่อท่านจะกำหนดตัวบุคคลผู้ว่างจากเวรทำวิชชาในโรงงาน…เป็นผู้สอน ในระหว่างสงครามจะทำการสอนภาวนาที่บ้าน “น้าสาย” ซึ่งอยู่ใกล้ๆพระวิหารนั้น ในตอนค่ำจะมีผู้สนใจมาฝึกเจริญภาวนาธรรมกันที่นั่นเป็นประจำ เมื่อสงครามสิ้นสุดลงแล้ว ก็ได้เปลี่ยนนเวลาสอนเป็นช่วงบ่าย ประมาณบ่าย ๒ โมงโดยเปิดสอนที่วิหาร

“โรงงานทำวิชชา” ในสมัยนั้น ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง พระอุโบสถ กับ วิหาร ใกล้หอไตร เป็นเรือนไม้ ๒ ชั้น ภายในระหว่างชั้นบนกับชั้นล่างมีท่อต่อถึงกัน…สำหรับ “หลวงพ่อ” ใช้ “สั่งวิชชา” ลงมาทางท่อนี้ ซึ่งผู้อยู่เวรก็จะได้ยินโดยทั่วกัน และจะเจริญวิชชาตามคำสั่งนั้นๆ มีผู้อยู่เวรทำวิชชา…กะละประมาณ ๑๐ คน  ตัวเรือนโรงงานทำวิชชานี้มีขนาดไม่กว้างใหญ่นัก ชั้นล่างตั้งเตียงเป็น ๒ แถว ซ้าย – ขวา ข้างละ ๖ เตียง ตรงกลางเว้นเป็นทาง พอให้เดินได้สะดวก

ชั้นล่าง สำหรับฝ่ายแม่ชีและอุบาสิกาให้นั่ง “เจริญวิชชา” พร้อมทั้งเป็นที่พักอาศัยด้วย จะมีผู้อยู่เวรที่ไม่ได้พักอาศัยในโรงงานบ้างก็เพียงไม่กี่คน

ระหว่างชั้นบนกับชั้นล่าง ไม่มีบันไดเชื่อมต่อกัน และทางเข้าออกก็แยกกันคนละทาง ชั้นบนมีทางเข้าต่างหาก ใช้เป็นที่ “เจริญวิชชา” … สำหรับ “หลวงพ่อ” และพระสงฆ์สามเณรที่อยู่เวรทำวิชชา

ต่อมาภายหลัง ได้มีโรงงานทำวิชชาเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่ง เป็นห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างยาวพอสมควร ตรงกลางมีฝากั้น แบ่งเป็น ๒ ห้องแยกขาดจากกัน โดยมีประตูเข้าออกคนละทาง

ส่วนหน้า เป็นที่สำหรับแม่ชีและอุบาสิกา

ส่วนหลัง เป็นที่สำหรับหลวงพ่อและพระสงฆ์สามเณร

เวลา “สั่งวิชชา” …. หลวงพ่อท่านจะพูดผ่านฝากั้นห้องนี้ ทั้งสองฝ่ายจึงเพียงแต่ได้ยินเสียงซึ่งกันและกันเท่านั้น

“การทำวิชชา” ระยะนั้นพอจะสรุปได้ว่า …. เป็นการเจริญภาวนาธรรมโดยอาราธนาบารมีของพระพุทธเจ้าองค์ต้นๆ เป็นที่พึ่งในการช่วยขจัดปัดเป่าภัยพิบัติของมวลมนุษย์ อันเกิดแต่สงครามโลกในครั้งนั้น ….. ให้บรรเทาเบาบางลง 

ผู้อยู่เวรทำวิชชาในโรงงาน แทบจะไม่มีเวลาเป็นของตัวเองเท่าใดนัก ตลอดเวลาที่คุณครูอยู่ในวัดปากน้ำ ๑๗ ปี ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ใน “โรงงานทำวิชชา” 

โดยเฉพาะพระเดชพระคุณหลวงพ่อนั้น ในยามที่มีภัยสงครามมาเบียดเบียนประเทศชาติบ้านเมืองของเราเช่นนั้น หลวงพ่อจะมีเวลาจำวัดน้อยมาก เพราะท่านห่วงใยในสวัสดิภาพของประเทศชาติมากนัก และท่านจะคอย “สั่งวิชชา” และควบคุมให้ถูกต้องตามประสงค์อยู่ตลอดเวลา…แทบไม่ได้พักผ่อน

“วิชชาที่หลวงพ่อสั่ง” ในแต่ละวันนั้น ได้มีการจดบันทึกไว้ในสมุดปกแข็ง รวม ๓ เล่มเล่มที่ ๒ มีผู้ยืมไป และมิได้นำส่งคืนคงเหลือแต่ เล่ม ๑ และ เล่ม ๓

ซึ่งคุณครูฉลวยได้ถวายแด่ท่านเจ้าคุณ “พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)”ด้วยได้เห็นว่า “พระอาจารย์วีระ” ท่านมีปฏิปทาอย่างมั่นคงที่จะถือเพศบรรพชิต และมุ่งมั่นในการเจริญภาวนาธรรมตามรอยของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ควรที่ท่านจะได้เก็บรักษา “วิชชาของหลวงพ่อ” ที่ได้บันทึกไว้นี้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบไป

จริยาวัตรของหลวงพ่อ…อันเป็นที่ประทับใจของคุณครูก็คือ หลวงพ่อท่านรู้ใจคน หยั่งรู้ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนพฤติกรรมของบรรดาลูกศิษย์ที่อยู่ในความปกครองของท่าน และพูดได้ตรงใจของแต่ละคน

แม้กระทั่งเวลาแสดง “พระธรรมเทศนา” ก็มักปรากฏเสมอว่า ผู้ที่ได้เข้าฟังธรรมนั้นจะมาเล่าสู่กันฟังว่า หลวงพ่อท่านเทศน์ตรงกับเรื่องตัวเองแท้ๆ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกประหนึ่งว่า หลวงพ่อกำลังเทศน์สั่งสอนบุคคลผู้นั้นโดยเฉพาะเจาะจง

หรือแม้ในยามที่หลวงพ่ออาพาธ ไม่อาจจะลุกขึ้นสอดส่องดูแลกิจการทั้งปวง ดังเช่นที่เคยปฏิบัติเป็นปกติวิสัยก็ตาม ถึงกระนั้นหลวงพ่อก็ยังคงทราบความเป็นไปของผู้ใต้ปกครองทั้งหมดได้ โดยรู้ว่าใครไปทำอะไรมา หรือคิดอ่านประการใด โดยมิต้องมีผู้หนึ่งผู้ใดไปเรียนให้ท่านทราบ ซึ่งหลวงพ่อจะพูดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ประหนึ่งว่าได้เห็นมากับตาทีเดียว ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่ทราบโดยทั่วกันในหมู่ศิษยานุศิษย์ของหลวงพ่อ

“พระของขวัญ” ที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อสร้างขึ้นนั้น เป็น “ของศักดิ์สิทธิ์”และไม่ได้มีการปลุกเสกอย่างแบบทั่วไป หากแต่ใช้วิธี “เจริญวิชชาชั้นสูงที่บริสุทธิ์” และความศักดิ์สิทธิ์ของพระของขวัญนี้ ก็มีประจักษ์พยานรู้เห็นกันเป็นจำนวนมาก

ส่วน ”การทำวิชชาแก้ไขโรคภัยไข้เจ็บ” ให้แก่ผู้มาขอพึ่งบารมีของพระคุณท่านนั้นเมื่อเวลาลงฉันภัตตาหารเพล จะมีผู้ที่ออกเวรจาก “การทำวิชชาในโรงงาน” …. คอยติดตามอยู่ใกล้ๆหลวงพ่อ เพื่อรับมอบหมายจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ให้ความช่วยเหลือแก่บุคคลเหล่านั้นตามคำสั่งต่อไป 

และหลวงพ่อจะเตือนสติอยู่เสมอว่า …“ให้ทำของตัวเองให้ใสสะอาดก่อน แล้วจึงช่วยสัตว์โลกให้พ้นจากวิชาของมาร ที่ส่งมาบังคับให้เป็นไปต่างๆ”

ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ คุณครูฉลวย สมบัติสุข ได้เดินทางกลับไปอยู่บ้านเกิดที่ จ. เชียงใหม่ และได้เข้าปฏิบัติงานประจำอยู่ที่ธนาคารไทยพัฒนา (ในสมัยนั้น) และเนื่องจากภาระการงานที่รัดตัวอยู่ คุณครูฉลวยจึงมีเวลาแต่เฉพาะปฏิบัติภาวนาธรรมเองที่บ้านเป็นประจำทุกวัน และในบางครั้งมีผู้สงสัยข้อปฏิบัติบางประการมาขอความกระจ่างจากท่าน ก็จะได้รับการชี้แนะจากท่านเป็นรายๆไป

ข้อมูลดีๆจาก http://www.center.dhammakaya.biz/index.php/dhammakaya/content/397-dhammakaya.html 

อ่านหนังสือ “คู่มือสมภาร” ที่คุณยายเขียนได้ที่ http://www.crystalmind.org/library/old-somphan/index.htm

ชมภาพงานกฐินได้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.306593202775786.55341.205953199506454&type=1

แชร์เลย

Comments

comments

Share: