สุวรรณสิรสาชาดก

หาหา ตาต ปิยปุตฺตาติ อิมํ ธมฺมเทสนํ สตฺถา สาวตฺถิยํ วีหรนฺโต อตฺตโน ปาฏิหาริยํ อารพฺภ กเถสิ

สตฺถา สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ เมืองสาวัตถี ทรงพระปรารภซึ่งพระปาฏิหาริย์ของพระองค์ให้เป็นเหตุ จึงตรัสเทศนาสุวรรณสิรชาดกนี้ มีบทแห่งคาถา เบื้องต้นว่า หาหา ตาต ปิยปตฺต เป็นอาทิดังนี้

หิ ดังจะกล่าวโดยพิสดาร ณ เพลาการวันหนึ่งพระภิกษุทั้งหลายมาประชุมพร้อมกันในโรงธรรมสภา นั่งพรรณนาคุณสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมเด็จพระศาสดาเจ้าของเราเมื่อทรงกระทำปฏิการฉลองพระคุณพระพุทธบิดา ก็ทรงทำยมกปาฏิหาริย์และทรงกระทำปฏิการแก่พระพุทธมารดา สมเด็จพระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับ พระภิกษุทั้งหลายนั่งเจรจาด้วยทิพย์โสตญาณ จึงเสด็จอุฏฐาการจากอาสนะมาประทับที่ธรรมาสน์ มีพุทธฎีกาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมสนทนาเรื่องราวอะไรกัน ครั้นพระภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ทำปฏิการต่อพระมารดาแต่ในปัจจุบันนี้หามิได้ ชาติก่อนเราก็ประพฤติประโยชน์ต่อพระมารดา ตรัสดังนี้แล้วก็ทรงดุษณีภาพ พระภิกษุทั้งหลายจะใคร่ทราบจึงกราบทูลอาราธนา สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเทศนาดังต่อไปนี้

อตีเต ภิกฺขเว พาราณสิยํ พฺรหฺมทตฺโต นาม ราชา รชฺ กาเรสิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาลที่ล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินทรงพระนามว่าพรหมทัต ได้ทรงราชย์ในเมืองพาราณสี คราวนั้นมีผัวเมียสองคนชื่อจัณฑาลบัณฑิต เป็นคนอนาถาทุคคตเข็ญใจ อาศัยอยู่ในบ้านจัณฑาลภายนอกพระนคร ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าได้เกิดเป็นเทวบุตร ​เสวยสมบัติทิพย์อยู่ในดาวดึงส์พิภพ ถ้วนคำรบถึงอายุขัย จึงจุติลงมาถือปฏิสนธิในครรภ์นางจัณฑาลบัณฑิต เมื่อเวลาพระโพธิสัตว์เสด็จลงถือปฏิสนธินางจัณฑาลบัณฑิตฝันเห็นไปว่า กบน้อยตัวหนึ่งเหาะขึ้นไปบนอากาศกลืนกินซึ่งดวงจันทร์แล้วลงมาถูกต้องนาภีของนาง นางจัณฑาลบัณฑิตตื่นตกใจกลัวมีกายสั่นระรัวแล้วคิดว่า ฝันนั้นจะให้ผลอย่างไรเราจักต้องไปถามหมอดูให้รู้ว่าดีหรือร้าย เมื่อนางคิดแล้วก็ออกจากเรือนเดินไปตามทาง พบชายเกะกะคนหนึ่งที่กลางทาง ชายผู้นั้นถามว่า เจ้าจะไปไหน นางบอกว่า ข้าจะไปหาหมอทายความฝัน ชายผู้นั้นถามว่าไปหาหมอไหน นางตอบว่า จะไปหาหมอเถ้าถามเขาดู ชายนั้นถามว่า เจ้าฝันอย่างไร นางจึงเล่าความตามที่ตนฝันเห็น ชายผู้นั้นใคร่ครวญดูความฝันแล้วจึงพยากรณ์ว่า ฝันของเจ้าประเสริฐเลิศ เจ้าจะได้บุตรมีบุญและมีปัญญามากไม่มีกายมีแต่ศีรษะ

เมื่อนางได้ฟังคำทำนายของชายผู้นั้นก็สนเท่ห์สงสัย จึงเลยไปหาพวกหมอดู ศรั้นถึงจึงนั่งลงยกมือไหว้ ตาพราหมณ์เถ้าหมอดูจึงถามว่า เจ้ามาธุระอะไร ครั้นนางบอกว่ามาขอให้ทำนายฝัน จึงถามต่อไปว่าเจ้าฝันอย่างไร นางจึงเล่าให้ฟังว่า ข้าฝันเห็นไปว่า กบน้อยตัวหนึ่งโดดขึ้นไปในอากาศกลืนกินซึ่งดวงจันทร์ แล้วตกลงมาถูกนาภีของข้า ตาหมอเถ้าใคร่ครวญดูความฝันแล้วทำนายว่า บุตรของเจ้าจะเป็นผู้มีบุญญานุภาพมาก ไม่มีตัวมีแต่หัว จะเป็นที่พึ่งของเจ้า

นางได้ฟังคำทำนายแล้วจึงอำลาตาพราหมณ์เถ้ากลับมาเรือน เมื่อนางมีครรภ์ได้ห้าเดือนผัวก็ตาย พอถ้วนสิบเดือนนางก็คลอดบุตร เมื่อเวลาจะคลอดพระโพธิสัตว์ทรงตรึกว่า ถ้าเราจะคลอดจากท้องออกไปให้เหมือนทารกเขาคนอื่น มารดาของเราเป็นคนอนาถาฯก็จักลำบาก ด้วยต้องต้มน้ำร้อนให้อาบ ด้วยต้องหาน้ำเย็นมาให้ เพราะฉะนั้นเราจะซ่อนกายเสีย ให้เห็นปรากฏแต่หัวออกจากท้องมารดา คิดแล้วจึงทรงอธิษฐานว่า ด้วยกุศลที่ได้สั่งสมมานี้ก็ดี ด้วยอธิษฐานบารมีและสัจจบารมีนี้ก็ดี ขอให้กายเข้าไปปรากฏอยู่ในหัวของเรา อย่าให้ออกมาปรากฏอยู่ภายนอก ในลำดับอธิษฐานสรีรร่างกายอันงามดุจดังสีทองปรากฏอยู่ในท้องมารดาก็หายเข้าไปอยู่ในศีรษะอันงามดุจดังว่าสีทอง จริงอยู่ความประสงค์ของพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จได้โดยหมาย เมื่อพระโพธิสัตว์อธิษฐานให้กายเข้าไปอยู่ในหัวแล้วก็คลอดจากครรภ์มารดา นางมารดาเห็นลูกมีแต่หัวก็ละอายแก่มหาชนที่มีลูกผัวเสมอกัน จึงซ่อนเลี้ยงหัวนั้นไว้แต่ในห้องมิให้ชนทั้งหลายเห็น นางมารดานั้นมีโคกระบืออยู่บ้าง พอเวลาเช้านางบริโภคอาหารแล้วจึงอาบน้ำให้ลูกรัก ​วางศีรษะไว้ในห้องหนึ่งแล้วก็ปล่อยโคกระบือให้ไปกินหญ้า ตนก็ต้องตามไปเลี้ยงรักษาด้วย เวลาเย็นก็ไล่ต้อนกลับมาเข้าคอกตรวจตรานับเสร็จแล้วก็ขึ้นเรือน วางย่ามผ้าไว้แล้วก็อาบนํ้ำกินข้าว เอาน้ำรดศีรษะลูกรักแล้วจุมพิตเชยชม เอนกายลงนอน วางศีรษะลูกไว้ที่อก แล้วก็พิลาปคร่ำครวญเป็นคาถาว่า

หาหา ตาต ปิยปุตฺตหาหา ตาต เอกายน
ปิตา ตว กาลกโตตฺวํ อนาโถ เอกโก วสิ
อนาถาหํ นิาติกาวนํ คนฺตฺวา โครกฺขณตฺถาย
อารกฺขสิ ตํ เอกิกํปหาย คจฺฉามิ วนํ
เกน ปาเปน นิกาโยน หตฺถปาโท สีโสว
โก ปฏิสรโณ มมเอกาว อนาถา ชาตา

แปลว่า หาหา พ่อลูกรัก หาหา พ่ออยู่คนเดียว พ่อของเจ้าตายเสียแล้ว เจ้าต้องอยู่คนเดียวอนาถา แม่กเป็นคนอนาถาหาญาติมิได้ต้องไปเลี้ยงโคในปา เจ้ารักษาตัวเจ้าคนเดียว แม่ทิ้งเจ้าไปป่าบาปกรรมอะไรเจ้าจึงไม่มีกายไม่มีมือเท้ามีแต่หัว ครจะเป็นที่พึ่งของแม่ แม่เป็นคนอนาถาอยู่คนเดียว นางรำพันฉะนี้แล้วก็เคลิ้มหลับไป

ปุนทิวเส ครั้นวันรุ่งขึ้น นางมารดาบริโภคอาหารแล้วก็ให้ลูกกินนมอาบน้ำจูบศีรษะแล้วก็แบกย่ามขึ้นบ่า ปล่อยโคกระบือแล้วก็ตามไปเลี้ยงในที่ซึ่งบริบูรณ์ด้วยหญ้า ส่วนพระโพธิสัตว์ออกจากสุวรรณศีรษะ กวาดเรือนหุงข้าวต้มแกงตักน้ำไว้คอยท่ามารดา แล้วกลับเข้าไปในศีรษะดังเก่า เวลาเย็นนางมารดาต้อนโคมาเข้าคอกแล้วก็ขึ้นเรือน ปลดย่ามลงจากบ่าเห็นข้าวแกงน้ำท่าบริบูรณ์ก็พิศวงในใจว่า น่าอัศจรรย์หนอ สิ่งที่ไม่เคยมีก็มามีขึ้น ใครหนอมาจัดแจงตกแต่งไว้ให้เรา คิดแล้วก็นั่งกินข้าวเสร็จแล้วเข้าไปในห้อง นั่งลงเหนือที่นอนแล้วก็ยกศีรษะบุตรขึ้นวางไว้บนตัก กล่าวคำเป็นที่รักถามปิยบุตรว่า พ่อลูกรักใครหนอมาจัดแจงตกแต่งอาหารไว้ให้แม่เจ้ารู้หรือไม่ พระโพธิสัตว์ฟังมารดาถามจึงตอบว่า ไม่มีใครคนอื่นมาจัดแจงตกแต่งอาหารไว้ให้แม่ ลูกได้จัดแจงไว้ให้แม่เอง นางมารดาได้ฟังก็ดีใจจึงปลอบถามว่า พ่อลูกรัก เจ้าไม่มีกายมีแต่หัวเท่านั้น มือเท้าก็ไม่มี ไฉนเจ้าจึงจัดแจงตกแต่งอาหารได้ ครั้นพระโพธิสัตว์ตอบว่า แม่จะต้องประสงค์กายไปทำอะไร นางก็พูดเล่นหัวกับบุตรแล้วก็นอนหลับไป

ปุนทิวเส ครั้นวันรุ่งขึ้นอีก พระโพธิสัตว์จึงบอกแก่มารดาว่า ข้าแต่แม่ลูกได้เห็นแม่ได้รับทุกข์ลำบากนัก ลูกจะไปเลี้ยงโคให้แต่เช้า แม่จงอยู่บ้านเถิด ครั้นแม่ถามว่าลูกรัก เจ้าไม่มีกายมีแต่ศีรษะจะไปเลี้ยงโคอย่างไรได้ จึงตอบว่า ถ้าแม่ยอมก็จงเอาลูกวางลงในถาดไม้พาลูกไปวางไว้ตามโคนไม้ที่มีหญ้าเถิด นางแม่เชื่ออานุภาพของพระโพธิสัตว์ จึงรับคำว่าดีแล้ว พระโพธิสัตว์ทราบว่าแม่ยอมก็ดีใจ จึงบอกว่า เพลาเช้าแม่จงพาเอาลูกไปวางไว้ที่โคนไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ถึงเพลาเย็นแม่จึงค่อยออกจากบ้านไปพาลูกมา เมื่อนางแม่ยกศีรษะพระโพธิสัตว์วางลงบนถาดไม้พาไปสู่ที่มีหญ้าวางไว้ที่โคนไม้ต้นหนึ่งแล้วกลับมาบ้าน พระโพธิสัตว์ก็อยู่องค์เดียว ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์ถาดไม้ที่รองพระเศียรนั้นก็กลับเป็นทองควรค่าถึงแสนหนึ่ง อนึ่งฝูงโคกระบือก็เที่ยวกินใบไม้ใบหญ้าอยู่ข้าง ๆ ไม่ไปที่อื่น อนึ่งปริมณฑลเงาไม้ก็ตั้งอยู่โดยปรกติ เวลาตะวันเที่ยงอย่างไรเวลาเย็นก็อย่างนั้นมิได้เปลี่ยนคล้อยไป เวลาเย็นมารดาพระโพธิสัตว์ก็ออกจากบ้าน พาพระโพธิสัตว์กลับเรือน ให้บริโภคอาหารอาบน้ำเสร็จแล้วก็อุ้มพาเข้าไปในห้องแล้วก็นอนหลับไป

อยู่จำเนียรกาลนานมาในเบื้องหน้า พระโพธิสัตว์เจริญขึ้นอายุได้ ๗ ขวบ คืนวันหนึ่งจวนใกล้รุ่งเมื่อตื่นนอนจึงดำริว่า เรามาเกิดในตระกูลคนเข็ญใจ มารดาเราก็อนาถา เยียวยารักษาชีวิตโดยฝืดเคือง การทำนาก็ลำบาก จำเราจักทำการค้าขายเลี้ยงมารดาเถิด คิดแล้วพอเช้าก็บอกแก่มารดาว่า แม่ ลูกจะไปทำการค้าขายมาเลี้ยงแม่ มารดาถามว่า ลูกจะทำการค้าขายอย่างไร คราวนั้นมีพวกพ่อค้าเรือห้าร้อยสนทนากัน จักแต่งเรือไปค้าขายเมืองสุวรรณภูมิ พระมหาสัตว์ได้ฟังข่าวจึงถามมารดาว่า แม่ ในบ้านเรามีหลักทรัพย์อะไรอยู่บ้าง ครั้นมารดาตอบว่าไม่มี จึงบอกว่า แม่ วันนี้แม่จงไปหานายบ้าน ยืมทองห้าร้อยบาทมาให้ลูก ลูกจะไปทำทุนค้าขาย นางจัณฑาลบัณฑิตจึงกล่าวว่า ลูกจะไปทำการค้าขายอย่างไรได้ แล้วกล่าวต่อไปว่า ดูก่อนลูกรัก เราเป็นคนอนาถาทุคคตเข็ญใจไร้ญาติ จะไปยืมทองเขาอย่างไรได้ ทำอย่างไรเจ้าของทองเขาจักเชื่อเรา พระโพธิสัตว์ตอบว่า แม่ไปเถิดนายบ้านเห็นหน้าก็จักกรุณาให้ยืม ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์ นางมารดาก็ขัดขืนอยู่ไม่ได้ จึงไปหานายบ้านยืนยกมือไหว้ นายบ้านเห็นแล้ว ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์ก็เกิดจิตเมตตาทักทายปราศรัยว่า เจ้ามาหาเราทำไม นางจึงบอกว่า นายลูกของฉันใช้ให้มายืมทองห้าร้อยบาทเพื่อไปค้าขาย เมื่อได้กำไรมากแล้วจักนำมาใช้ให้ ด้วยบุญญานุภาพของพระโพธิสัตว์นายบ้านก็เกิดความโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง พอนางออกปากคำเดียวก็หยิบทอง​ห้าร้อยลิ่มส่งให้ นางรับเอาทองลิ่มกลับมาถึงเรือนแล้วก็เล่าให้ลูกฟังว่า ลูกรักนายบ้านอุดหนุนเรามาก พอออกปากคำเดียวก็ส่งให้ พระโพธิสัตว์ได้ฟังเรื่องดังนั้นก็ดีใจ ตั้งความกตัญญูไว้เป็นเบื้องหน้า สรรเสริญบุญคุณนายบ้านให้สาธุการแล้วบอกแก่แม่ว่า ลูกจะไปค้าขายกับพวกพ่อค้าเรือ นางมารดาไม่อยากให้ลูกไปค้าขายจึงห้ามปรามว่า ลูกเอ๋ย ในชาตินี้เจ้าเกิดมาร่างกายก็ไม่สมบูรณ์ไม่มีกายไม่มีมือเท้ามีแต่หัวเท่านั้นเจ้าจะไปค้าขายอย่างไรได้ อนึ่งเล่าพระมหาสมุทรก็กว้างใหญ่ไม่มีประมาณ ไม่มีสิทธิ์ที่จะข้ามได้ มีอันตรายมากเกลื่อนกลุ้มด้วยเต่าปลา ฟังคำแม่เถิดเจ้าอย่าไปเลย พระโพธิสัตว์จึงตอบว่า แม่ได้พูดกับนายบ้านเขาแล้วว่าลูกจะไปค้าขาย เดี๋ยวนี้กลับมาห้ามไม่ให้ลูกไปก็จะเกิดข้อติฉินนินทาแก่ลูก เพราะเหตุนั้นลูกจักต้องไปให้ได้ นางมารดาจึงกล่าวว่า พ่อลูกรักเจ้าเคยพูดเล่นเจรจากับแม่เดี๋ยวนี้ทุกข์เกิดขึ้นแก่แม่แล้ว ถ้าพ่อไปค้าเสียใครจะช่วยบรรเทาความเปลี่ยวเปล่าเศร้าใจให้แม่เล่า เจ้าทำทุกข์ให้เกิดแก่แม่เป็นอันมาก นางกล่าวเช่นนี้แล้วก็วิลาปคร่ำครวญร้องไห้ กอดลูกรักไว้แล้วจูบกระหม่อมจอมเกล้า

ครั้นวันที่เจ็ด พวกพ่อค้าห้าร้อยก็ตระเตรียมสินค้าพากันลงเรือ เพราะฉะนั้นพระโพธิสัตว์จึงอ้อนวอนมารดาว่า แม่จงพาลูกไปหาพวกพ่อค้า เอาลูกกับทองมอบให้เขาเถิด นางมารดาไม่สามารถห้ามได้ก็ไปหาพวกพ่อค้าทั้งหลาย ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์พอพวกพ่อค้าเห็นหน้ามารดาพระโพธิสัตว์ก็เกิดความโสมนัสอย่างยิ่ง มีความปีติปราโมทย์ดุจดังเห็นญาติของตนที่พลัดพรากจากกันไปนาน จึงไต่ถามว่าแม่มาแต่ที่ไหน ครั้นนางบอกว่ามาจากบ้านโน้นแล้วจึงถามต่อไปว่า แม่มาธุระอะไร นางบอกว่าลูกเขาใช้ให้มา พวกพ่อค้าจึงถามว่าลูกเขาใช้ให้มาทำไม นางจึงบอกว่า ลูกของข้าอยากจะไปค้ากับด้วยท่านทั้งหลาย พวกพ่อค้าถามว่าลูกของแม่อายุเท่าใด ครั้นนางบอกว่า ๓ ปีจึงทักท้วงว่าแม่มหาจำเริญ ลูกของแม่ยังเด็กนักยังขลาดมาก ไปเห็นเต่าปลาตัวใหญ่ ๆ ในทะเลเข้าก็จักตกใจร้องไห้ แท้จริงมหาสมุทรนั้นกว้างใหญ่ น่ากลัวแลไม่เห็นฝั่ง นางมารดาพระโพธิสัตว์ก็วิงวอนไปถึงสองสามครั้ง ครั้นพวกพ่อค้าถามถึงชื่อลูก นางก็กล่าวว่าลูกของข้าไม่มีกายมีแต่หัว เพราะฉะนั้นก็ต้องชื่อว่า สุวรรณสิรสา พวกพ่อค้าได้ฟังดังนั้นก็ตบมือหัวเราะเยาะเย้ยแล้วกล่าวว่า ลูกของแม่ไม่มีกายมีแต่หัวจักไปค้าขายอย่างไรได้ นางได้ฟังแล้วก็เสียใจยืนร้องไห้อยู่ พวกพ่อค้าเห็นนางร้องไห้ก็มีความกรุณาจึงกล่าวว่า แม่จงกลับไปเรือนไปพาลูกมาเถิด จะยอมให้ไปค้าขายด้วย นางได้ฟังแล้วก็ชื่นชมโสมนัส จึงลาพวกพ่อค้ากลับมาเรือน เล่าให้​พระโพธิสัตว์ฟัง พระโพธิสัตว์จึงได้นามว่าสุงรรณสิรสาแต่นั้นมา นางมารดาจึงบรรจุขนมและข้าวสัตตูอันคลุกเคล้าด้วยน้ำอ้อยน้ำผึ้งลงในถุงย่าม บรรจุทองห้าร้อยลิ่มลงอีกถุงหนึ่ง แล้วบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า นี่หอขนมของเจ้านี่ห่อทอง

ลำดับนั้นพวกพ่อค้าก็ลำดับสิ่งของเครื่องสินค้าลงในเรือเสร็จแล้วก็ถอยเรือมาเทียบท่า พระมหาสัตว์ทราบว่าถอยเรือมาแล้วจึงบอกแก่มารดาว่า แม่จงนำของเคี้ยวของกินไปให้แก่พวกพ่อค้าแล้วจงกลับมาพาลูกไป นางแม่ก็ทำตาม ครั้นนางกลับมาแล้วจึงพาลูกรักกับถุงทองถุงของกินลงไปมอบให้แก่นายเรือ พวกพ่อค้าทั้งหลายเห็นพระโพธิสัตว์มีแต่เศียรงามดุจหน่อทองก็เลื่อมใสโสมนัส ให้สาธุการว่าเจ้าสุวรรณสิรสางามนักหนอ พระโพธิสัตว์จึงอำสามารดา กล่าวคาถานมัสการว่า

นโม เม ตฺยตฺถุ มาตุโนสุขี ภวานนฺตรายา
มา โน ตฺวํ จินฺตยิ อมฺมโวหาราหํ คมิสฺสามิ

แปลว่า ลูกขอนอบน้อมแก่แม่ แม่จงเป็นสุขอย่ามีอันตราย แม่อย่าคิดวุ่นวายไปเลยลูกจะไปค้าขาย

นางมารดาได้ฟังคำพระโพธิสัตว์แล้ว ไม่อาจทรงตนอยู่ได้มีหทัยอันหวั่นไหว น้ำตาอาบหน้า นางจึงกล่าวคาถาว่า

หาหา ปุตฺต นิวตฺตสฺสุมา มํ อนาถํ กโรตุ
รตฺติยํ ปุตฺตํ นาทฺทสฺสํหทยํ เม ผลิสฺสติ

แปลว่า หาหา ลูกจงกลับมาเถิด อย่าทำให้แม่อนาถาเลย แม่ไม่แลเห็นเจ้าในราตรี น่าที่หทัยจักแตกตาย

เมื่อนางกล่าวคาถานี้แล้วจึงดำรงสติไว้ แล้วให้โอวาทสอนพระโพธิสัตว์ว่า พ่อลูกรัก เจ้าอย่าประมาทเลย จงสวัสดีมีชัยได้ลาภมากและมีความสุขเถิด พระโพธิสัตว์รับพรมารดาแล้ว นายสำเภาก็ให้พระสุวรรณสิรสาโพธิสัตว์อยู่รวมกับถุงทอง ถอยเรือออกจากท่าบ่ายหน้าไปยังมหาสมุทร

นางจัณฑาลบัณฑิตมีน้ำตาโซมหน้าทุกข์โทมนัสร้องไห้กลับมาสู่เรือนตน ระลึกถึงลูกรักแล้วก็บ่นเพ้อรำพันเป็นคาถาว่า

มม นฏฺา ปุตฺตวินาชีวิตํ โน น เหสฺสติ
มเ เหสฺสามิ ชีวิตํปิยปุตฺตา วินา มม
มม หทยปูรํ โสกํโก มํ วิเนสฺสติ ทุกฺขา
โก มยา ปิยวจนํเกนาหํ สมุลฺลปิสุสามิ

แปลว่า ความพินาศจักมีแก่เราเพราะจากลูก ชีวิตของเราจักไม่มีเป็นแท้ เราสำคัญมั่นหมายว่าจักถึงชีวิต เพราะพลัดพรากจากลูกของเรา หัวจเราเต็มไปด้วยความโศกเศร้า ใครจักนำเราให้พ้นจากทุกข์ได้ ใครจักพูดเล่นเจรจาถ้อยคำเป็นที่รักกับเรา และเราจักพูดจากับผู้ใด นางครั้งครวญดังนี้แล้วก็นอนหลับไป

สตฺตเม ทิวเส สำเภาแล่นไปได้ ๗ วัน ก็บรรลุถึงเกาะวาลุกทวีป (เกาะดินปนทราย) พระสุวรรณสิรสาโพธิสัตว์แลเห็นทรายงามดังสีทองก็ประสงค์จะใคร่อยู่ จึงบอกแก่นายสำเภาว่า พ่อ ฉันใคร่จะอยู่ที่เกาะนี้ พ่อจงอนุเคราะห์พาฉันไปไว้ที่เกาะทรายนี้เถิด พวกพ่อค้าจึงว่า พ่อเอ๋ย พวกเราเขาเรียกกันว่าพ่อค้า ที่ไหนมีคนมากก็พากันไปที่นั้น ไฉนเจ้าจะมาอยู่คนเดียวเล่า อนึ่งแม่ของเจ้าก็ได้ว่ากล่าวสั่งสอนไว้ฉะนั้นเจ้าอย่าอยู่ที่เกาะนี้เลย พระโพธิสัตว์ก็กล่าวคำยืนยันจะขออยู่ให้ได้ นายสำเภาได้ฟังดังนั้นจึงห้ามปรามว่า พ่อเอ๋ย เจ้าไม่มีกายไม่มีมือเท้ามีแต่หัวเท่านั้น ใครจักทำเรือนให้เจ้าอยู่ ใครจักหาข้าวให้เจ้ากิน เจ้าจะต้องรับทุกขเวทนาตากแตดตากลมเป็นอันมาก พระโพธิสัตว์ก็ยังยืนยันว่าจักอยู่ให้ได้ นายสำเภาจึงว่า ถ้าฉะนั้นก็ตามใจเจ้าเถิด พระมหาสัตว์ได้ฟังก็ชื่นชมโสมนัสกล่าววาจาว่า ท่านทั้งหลายอย่าโกรธข้าพเจ้าเลยขอให้พาข้าพเจ้าไปส่งที่นั้นเถิดนายสำเภาก็สั่งพวกพ่อค้าว่า ท่านทั้งหลายจงพาสุวรรณสิรสากับถุงทองไปวางไว้ที่เกาะนั้นเถิด พวกพ่อค้าทั้งหลายก็ไปสู่สำนักกุมารโพธิสัตว์แล้วบ่นรำพันว่า พ่อเด็กน้อย แต่นี้ไปพวกเราจะไม่เห็นเจ้า จักมิได้เจรจาเล่นหัวกับเจ้าเพราะต้องพรากจากกัน การเจรจาครั้งนี้เป็นครั้งที่สุดเจ้าจักอยู่คนเดียวอย่างไรได้ รำพันแล้วก็อวยพรว่า พ่อเด็กน้อย ขอให้เจ้าอย่ามีโรคภัยมีอายุยืนยาวเถิด พระโพธิสัตว์จึงเล้าโลมมหาชนด้วยธรรมเทศนาว่า ท่านทั้งหลายอย่ารำพันวิตกวิจารไปเลย สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแต่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาหาแก่นสารมิได้ ย่อมจักถึงซึ่งวิโยคพลัดพรากจากกันเสมอ ท่านทั้งหลายพาเราไปส่งไว้ที่เกาะเถิด พวกพาณิชเหล่านั้นจึงพาสุวรรณสิรสาโพธิสัตว์กับถุงทองและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ลงเรือเล็กไปที่เกาะนั้น ทำที่อยู่ให้วางพระโพธิสัตว์ลงไว้แล้วก็ลากลับมาเรือ

​ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เมื่อพวกพ่อค้าเอาไปวางไว้ที่เกาะแล้วก็อยู่เป็นสุขสบาย ออกจากเศียรของพระองค์แล้วเอาพืชพันธุ์เหล่านั้นเพาะลงในที่ต่าง ๆ ด้วยอานุภาพบุญของพระโพธิสัตว์พืชเหล่านั้นก็งอกงามเจริญผลิดอกออกผล

ครั้งนั้นยังมีธิดาพญานาค ๒ นาง ชื่อนางปัญจปาปี ๑ นางปทาริกา ๑ อำลามารดาบิดาออกจากนาคพิภพ ขึ้นมาที่เกาะนั้น นางนาคทั้งสองเห็นฟักแฟงแตงน้ำเต้า ก็เข้าเก็บหักเล่นตามอัธยาศัย พระมหาสัตว์ได้ยินเสียง ก็ออกมาจากศีรษะเข้าไปถามนางนาคทั้ง ๒ ว่า ไฉนเจ้าจึงมาหักทำลายพืชพันธุ์ของเรา นางนาคได้ยินถามก็ตกใจกลัว จึงตอบว่า พี่ชาย ข้าไม่รู้ว่าเป็นของเจ้าจึงหักทำลาย เพราะแต่ก่อนข้ามาที่นี่ก็ไม่เห็นเจ้า พึ่งมาเห็นวันนี้ ข้าขอถามเจ้า เจ้าเป็นพระอินทร์หรือพระพรหม พระโพธิสัตว์ดำริว่า ถ้าเราจะตอบว่าเป็นพระอินทร์ เป็นเทวดาที่มีศักดิ์ใหญ่หรือเป็นท้าวมหาพรหมนางก็จักเชื่อ แต่ว่าคำจริงเป็นคำอุดมเลิศประเสริฐสุด คิดแล้วจึงตอบว่า น้องรักพี่ไม่ใช่เทวินทร์อินทร์พรหม พี่เป็นลูกคนจัณฑาลอยู่บ้านจันฑาลคามมาเห็นเกาะน่ารื่นรมย์จึงได้มาพักอยู่ตามความสบาย นางนาคทั้งสองได้ฟังคำพระโพธิสัตว์แล้วจึงกล่าวว่า พี่อย่าโกรธข้าเลย ข้าจะให้เงินทองตอบแทน ครั้นพระโพธิสัตว์ตอบอนุญาตแล้ว นางนาคทั้งสองก็อำลากลับนาคพิภพ ถึงสำนักบิดากราบไหว้แล้ว เมื่อจะขอเงินทองจึงกล่าวว่า ข้าแต่บิดา ข้าพเจ้าลาบิดาขึ้นไปที่เกาะทราย ไปพบฟักแฟงแตงน้ำเต้าของสุวรรณสิรสา ข้าพเจ้าก็หักเล่นโดยมิรู้ว่าเป็นคุณและโทษ พระยานาคได้ฟังธิดาบอกจึงกล่าวว่า ถ้าเจ้าทั้งสองจะไม่ให้อะไรตอบแทนเจ้าจะต้องรับโทษใหญ่ จะต้องไปเกิดเป็นทาสเขา เพราะเหตุนั้นเจ้าจงขนเอาแก้วเจ็ดประการและเงินทองร้อยแปดโกฏิไปให้ตอบแทนเขาเสีย ลำดับนั้น นางนาคทั้ง ๒ จึงไปหามารดาเล่าให้ฟังเหมือนหนหลัง นางนาคมารดาได้ฟังแล้วจึงกล่าวว่า เจ้าทั้ง ๒ อย่าชักช้า จงขนเอาแก้วเจ็ดประการไปใช้เขา ถ้าเจ้าไม่ใช้จะต้องไปเป็นทาสอยู่ปฏิบัติเขาจึงจะพ้นจากเวรลำดับนั้นนางนาคธิดาทั้ง ๒ ครั้นได้รับอนุญาตจากมารดาบิดาแล้ว จึงขนเอาทรัพย์สองร้อยสิบหกโกฏิออกจากนาคพิภพมายังเกาะทราย เข้าไปหาเจ้าสุวรรณสิรสาททักทายปราศรัยว่า พี่มาทำไมที่นี่ มาด้วยเหตุอะไร มาอยู่คนเดียวหรือว่ามีคนอื่นมาอยู่ด้วย พระโพธิสัตว์ได้ฟังแล้วจึงกล่าวคาถาว่า

พาราณสิอาคโตสฺมิวาณิชตฺถายิธ ปตฺโต
อิธ มโนรมฺมาหํ ทกฺขึเอกโกว อวสึ าเน
นาวา คจฺฉนฺตา สพฺเพอฺสฺสึ าเน วิกิณฺณาย

​แปลว่า ข้ามาแต่เมืองพาราณสีเพื่อจะค้าขาย มาถึงเกาะนี้แลเห็นน่ารื่นรมย์ข้าจึงอยู่ที่นี้แต่คนเดียว พวกเรืที่มาด้วยกันเขาไปค้าที่อื่นหมด

พระโพธิสัตว์กล่าวดังนี้แล้วจึงบอกนางนาคทั้ง ๒ ว่า เจ้าจงเลือกเก็บผลาผลที่สุกห่ามกินตามอัธยาศัย ครั้นนางนาคตอบว่า พี่ พวกฉันไม่กินผลาผลไม้ กินแต่อาหารทิพย์ พระโพธิสัตว์ก็พูดจาปราศรัยตามส่วนที่ควรระลึกถึงกันสิ้นกาลนาน นางนาคธิดาทั้ง ๒ มอบทองคำผลาผลไม้ให้พระโพธิสัตว์แล้วก็ลากลับไปนาคพิภพ

อปรภาเค ครั้นอยู่จำเนียรกาลนานมา พวกพาณิชทั้งหลายพากันไปถึงเมืองหนึ่งในสุรรรณภูมิประเทศ จำหน่ายสินค้าหมด รวบรวมเงินและทองผ้าผ่อนเป็นต้น ได้แล้วก็นำลงบรรทุกเรือแล่นออกจากท่ามาโดยลำดับตราบเท่าบรรลุถึงที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ ขณะนั้นนายสำเภาก็คิดขึ้นมาถึงพระโพธิสัตว์ว่า เจ้าสุวรรณสิรสากุมารเห็นจักตายเสียแล้วโดยไม่ต้องสงสัย เพราะเหตุต้องตากแดดตากลมและอดอาหาร จึงแลขึ้นไปดูบนเกาะ เห็นพืชพันธุ์ทั้งหลายมีสีเขียวชะอุ่ม จึงพูดกับพวกเรือว่า ท่านทั้งหลายจงสังเกตดูเกาะนี้มีสีชะอุ่มยิ่งนัก ขณะนั้นพระโพธิสัตว์พอแลเห็นเรือก็หายกายเข้าไปในศีรษะ พอเรือมาถึงเกาะนั้น นายสำเภาก็ลุกจากอาสนะลงจากเรือ เมื่อจะไปหาพระโพธิสัตว์ จึงชวนพ่อค้าเป็นอันมากเข้าไปหา เมื่อจะกระทำปฏิสันฐารจึงกล่าวคาถาว่า

สุวณฺณสิรสากุมารอโรโค นิรุปทฺทโว
นิภโย สุขิโต ภวอิห อุฺฉาจริยาย
โกจิ ตํ ปฏิชคฺคติโกจิ ตวาหารํ เทติ
โก อุทกฺจ กฏฺฺจอาหริสฺสติ อคฺคิฺจ

แปลว่า ดูกรเจ้าสุวรรณสิรสากุมาร เจ้าไม่มีโรคไม่มีภัยไม่มีอะไรเบียดเบียน อยู่เป็นสุขสบายในที่นี้ ด้วยวิธีหาเช้ากินค่ำหรืออย่างไรครปฏิบัติเจ้า ใครหาข้าวให้เจ้ากิน ใครหาน้ำท่าฟืนไฟให้เจ้า

เมื่อพระโพธิสัตว์จะตอบ จึงกล่าวคาถาว่า

ตาต นาวิกาหํ เอโกอโรโค นิรุปทฺทโว
นิภโย สุขิโต เจวอตฺตํ ปาเลมิ ปุฺาย

แปลว่า ข้าแต่นายสำเภา ข้าพเจ้าอยู่คนเดียวปราศจากโรคภัยอุปัทวะ เป็นสุขสบาย เลี้ยงตนได้ด้วยบุญ

​พระโพธิสัตว์กล่างดังนี้แล้วจึงถามว่า ท่านทั้งหลายขายหมดแล้วหรือ นายสำเภาตอบว่า สินค้าที่บรรทุกมาเราขายหมดแล้ว เดี๋ยวนี้จะกลับไปบ้านเมืองของเรา เจ้าจะไปกับข้าหรือจะไม่ไป พระโพธิสัตว์ตอบว่า ข้าพเจ้าก็คิดถึงแม่ อยากจะกลับไป ท่านทั้งหลายจงกรุณาสั่งพวกพ่อค้าให้ขนทรัพย์สมบัติทั้งปวงลงเรือไป นายสำเภาถามว่า เจ้าได้ทรัพย์สมบัติเหล่านี้มาจากไหน ครั้นพระโพธิสัตว์ตอบว่า นางนาคขนมาให้ จึงสั่งพวกพ่อค้าทั้งปวงว่า ท่านทั้งหลายช่วยขนเงินทองแก้วแหวนทั้งปวงนี้และพากุมารลงเร็วด้วย พ่อค้าทั้งหลายก็ทำตามคำนายสำเภาสั่ง พระโพธิสัตว์จึงบอกว่าฟักแฟงแตงน้ำเต้าเหล่านี้ข้าปลูกไว้ ขอให้ท่านทั้งหลายเลือกเก็บเอาไปเถิด พวกพ่อค้าทั้งหลายก็พากันเก็บขนลงเรือ

ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา เมื่อสมเด็จพระศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

สุวณฺณสิรสาโรหํนาวาย์ อุปคจฺฉามิ
สทฺธึ วาณิชตฺถาย อคฺคมิวาลุกทีเป โอหิยิ

แปลว่า เราเกิดเป็นสุวรรณสิรสา ได้ลงเรือสำเภาไปค้าขายกับพ่อค้าทั้งปวง แล้วไปอาศัยเกาะเนินทรายอยู่

เมื่อเรือมาถึงท่าบ้าน พระสุวรรณสิรสาโพธิสัตว์จึงพูดกับนายสำเภาว่า พ่อ ขอท่านได้เมตตาสั่งพวกพ่อค้าที่จะไปบ้านให้ช่วยบอกมารดาข้าพเจ้าด้วย นายสำเภาก็ทำตามร้องขอ พวกพ่อค้าสองสามคนก็ไปยังสำนักมารดาพระโพธิสัตว์ ถึงเรือนแล้วจึงเข้าไปบอกข่าวที่สุวรรณสิรสากุมารกลับมา นางจัณฑาลบัณฑิตเห็นพวกพาณิชมาก็ชื่นชมโสมนัส จึงเชื้อเชิญพวกพาณิชให้นั่งบนอาสนะแล้วก็เลี้ยงข้าวปลาอาหาร แล้วก็ออกจากบ้านมากับพวกพาณิชทั้งหลาย เดินมาโดยลำดับ พอถึงท่าก็ขึ้นไปบนเรือ กอดลูกชายไว้แล้วก็รำพันพิลาปต่าง ๆ นานา ร้องไห้ฟายน้ำตาพาลูกรักมาสู่เรือน ส่วนนายสำเภาก็ใช้ให้ทาสกรรมกรของตนขนแก้วแหวนเงินทองสองร้อยสิบหกโกฏิ กับทองคำห้าร้อยบาท ไม่มีตกหล่นส่งไปให้พระโพธิสัตว์

ตมตฺถ ปกาเสนฺโต สตฺถา เมื่อสมเด็จพระศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

โสหํ สุวณฺณสิรโสชาติยา อฏฺสฺสิโก
ปริปุณฺณสงฺกปฺโปมาตุ ปจฺจุปการโก
รตนสุวณฺเณน วากตฺูปรมาย จ

แปลว่า เราเกิดเป็นสุวรรณสิรสากุมาร นับแต่เกิดมีอายุได้ ขวบ มีความดำรเต็มบริบูรณ์ ได้ทำอุปการะตอบแทนมารดาด้วยแก้วและทอง และด้วยความกตัญญูเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อนางจัณฑาลบัณฑิตไปสู่ท่าเรือ รับพระโพธิสัตว์มาเรือนแล้วจึงให้อาบน้ำหอมให้บริโภคอาหารอันโอชารสต่าง ๆ แล้วพาเข้าห้องวางไว้บนที่นอนแล้วถามว่า พ่อลูกรัก เจ้าไปได้เงินทองเป็นต้นเหล่านี้มาจากไหน ครั้นพระโพธิสัตว์บอกว่านางนาคให้ นางจึงถามว่าได้ด้วยอานิสงส์อะไร พระโพธิสัตว์ก็แถลงไปโดยทางบุญฤทธิ์ว่า แม่ เมื่อเวลาข้าไปเรือกับพวกพ่อค้า ไปถึงเกาะทรายเกาะหนึ่งข้าอยากอยู่ที่เกาะนั้นจึงขอให้พวกพ่อค้าเขาช่วยส่งขึ้นเกาะ เมื่อข้าอยู่ที่เกาะนั้นจึงปลูกซึ่งพืชต่างๆ ลงไว้เป็นอันมาก ยังมีธิดานาค ๒ นาง ยื่อนางปัญจปาปี ๑ นางปทาริกา ๑ มาแต่นาคพิภพ เที่ยวเลือกเก็บทำลายฟักแฟงแตงน้ำเต้าของข้า ข้าแลเห็นเข้าจึงทักท้วงว่ากล่าวว่าทำไมจึงเที่ยวทำลายพืชพันธุ์ นางนาคทั้ง ๒ นั้นจึงกล่าวว่า ถ้าข้าไม่โกรธเขาจะเอาแก้วแหวนเงินทองมาใช้ตอบแทนให้ แล้วนางก็กลับไปยังนาคพิภพ ขนเอาแก้วแหวนเงินทองมาให้ขอโทษภัยแก่ข้า พระโพธิสัตว์เล่าให้มารดาฟังแต่ต้นจนอวสาน นางจัณฑาลบัณฑิตจึงเอาทองห้าร้อยบาทไปคืนให้แก่นายบ้าน ครั้นอยู่จำเนียรกาลนานมา พระโพธิสัตว์มีชันษาได้ ๑๖ ปี ก็บังเกิดกามรดีประสงค์จะใคร่ได้พระราชธิดาเป็นภรรยา

ในกาลนั้น มีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง ได้ครองเมืองพาราณสี ประสงค์จะอภิเษกพรหมทัตกุมารราชบุตร จึงให้ไปขอราชธิดาพระยามัทราฐ มีนามชื่อว่าพิมพา เชิญมาอภิเษกกับพรหมทัตกุมาร มอบราชสมบัติให้ ตั้งนางพิมพาให้เป็นอัครมเหสีเป็นใหญ่กว่านางนักสนมทั้งปวง

นางพิมพาอยู่ร่วมกับพระราชสามี เกิดพระราชบุตรี ๓ นาง ชื่อ สุวรรณเทวีนาง ๑ สุวรรณจันทานาง ๑ สุวรรณคันธานาง ๑ ราชธิดาทั้ง ๓ นั้น มีชันษาเรียงปีกัน คือ สิบสี่ สิบห้า สิบหก ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์นอนหลับลงไปก่อนจนเที่ยงคืนจึงตื่นขึ้น นอนตรึก​ไปว่า ทำไฉนหนอเราจักได้นางกุมารีที่มีบุญมาก อุดมด้วยรูป บริบูรณ์ด้วยลักษณะ ๖๔ ประการ ประดับด้วยเบญจกัลยาณี เมื่อตริตรึกเช่นนี้ พอรุ่งเช้าก็เข้าไปอ้อนวอนมารดาว่า แม่ ลูกอยากได้นางกุมารีที่มีบุญ มารดาก็ห้ามว่าลูกรัก เราเป็นคนอนาถาทุคคตเข็ญใจ จะหานางกุมารีที่มีบุญมากที่ไหน อนึ่งเล่าเจ้าก็ไม่มีกายมีแต่ศีรษะ จักทำอะไรกับภริยาได้ เมื่อนางห้ามปรามอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ก็เฝ้าวิงวอนอยู่ร่ำไป ในสมัยนั้นพระโพธิสัตว์ได้ฟังคำเขาเล่ากันต่อๆ มาว่า บรรดาราชธิดาของพระเจ้าพรหมทัตทั้ง ๓ นางนั้น นางสุวรรณคันธาน้องเล็กมีรูปทรงงดงามน่าเลื่อมใส ประกอบด้วยเบญจกัลยาณีมีสรีรอินทรีย์ดังนางเทพอัปสร พระโพธิสัตว์ไม่สามารถกลั้นความสิเนหาได้จึงอ้อนวอนมารดาว่า แม่ ลูกได้ยินเขาสรรเสริญว่านางสุวรรณคันธาประกอบด้วยเบญจกัลยาณี ลูกอยากได้มาเป็นภริยา แม่จงไปหาข้าราชการมีเสนาบดีเป็นต้น วานให้เขาขอให้แก่ลูก ถ้าลูกได้ก็จักคงมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่ได้ก็จักตาย นางมารดาก็ห้ามอีกว่า ลูกรักเจ้าเกิดในตระกูลทุคคตเข็ญใจ อนึ่งก็ไม่มีกายมีแต่ศีรษะ เจ้าจะเอื้อมขอนางกุมาริกาที่เกิดในตระกูลสูง ประกอบด้วยลักษณะและรูปทรงอันงามอย่างไรได้ นางคงไม่ยินดีด้วยเจ้าอันหาร่างกายมิได้ ธรรมดานางกุมารีย่อมรักใคร่บุรุษก็ด้วยอาศัยโลกธรรม เจ้าจักเสพย์โลกธรรมอย่างไรได้ ฟังคำแม่เถิด อย่าไปหวังนางสุวรรณคันธาเลย ห้ามปรามแล้วจึงกล่าวเป็นอุปมาว่า บุรุษอันธพาลแลเห็นพระจันทร์อันแวดล้อมไปด้วยดวงดาวในอากาศประสงค์อยากได้ ร้องไห้อ้อนวอนมารดาว่า ข้าอยากได้พระจันทร์พร้อมทั้งหมู่ดาว แม่จงเอามาให้ข้า ฉันใดก็เหมือนตัวเจ้ามาปรารถนานางกุมารีที่ควรจะได้ แม่จักทำอย่างไรให้เจ้าได้เมื่อมารดาห้ามดังนี้ พระโพธิสัตว์ก็นิ่งอยู่

ครั้งนั้นนางจัณฑาลบัณฑิต สังเกตกิริยาแห่งลูกชายเห็นไม่สบายจึงคิดว่า เจ้าสุวรรณสิรสากุมารนี้เห็นจะน้อยใจโทมนัสโกรธด้วยเราว่ากระทบ ถ้าเราไม่นำนางสุวรรณคันธามาให้น่ากลัวหทัยจะแตกตาย จำเราจะปลอบแล้วไปพยายามดู คิดแล้วจึงปลอบว่า ลูกรัก เจ้าอย่าเศร้าโศกเสียใจไปเลย แม่จะไปหามหาอำมาตย์ให้เขาช่วยทูลพระเจ้าแผ่นดินดู พระโพธิสัตว์ดีใจตอบว่าดีแล้วแม่ นางก็เล้าโลมว่า ความปรารถนาของเจ้าจักสำเร็จคราวนี้ ว่าแล้วนางก็จูบพระโพธิสัตว์ออกจากเรือนไปยังเมืองพาราณสี เข้าไปภายในพระนครแล้วก็เข้าไปหามหาอำมาตย์ในเรือนทำความเคารพแล้วก็ยืนอยู่

ตมตฺถ ปกาเสนฺโต สตฺถา สมเด็จพระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

อามนฺตยิตฺวาน ปุตฺตํมหามจุจสฺส สนฺติกํ
อุปสงฺกมิตฺวาน สากถยนฺตามจฺจํ อิติ
นโม ตฺยตฺถุ ภทฺทนฺเตมม กรุณาย ยาจสฺสุ
ราชธีตรํ มํ ปุตฺตสฺส 

แปลว่า นางจัณฑาลบัณฑิตเรียกบุตรมาแล้ว ก็ไปหามหาอำมาตย์ พูดว่า ข้าพเจ้าขอนมัสการท่าน ความงามความดีจงมีแก่ท่านเถิด ท่านจงกรุณาข้าพเจ้าช่วยทูลขอราชธิดาห้ลูกข้าพเจ้าเถิด

มหาอำมาตย์จึงตอบว่า แม่มหาจำเริญ ข้าเกรงพระราชอาญาไม่สามารถจะขอราชธิดาให้ลูกเจ้าได้ เมื่อนางอ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ ก็ห้ามเสียไม่ยอมทูลขอให้ นางก็ไปหาเสนาบดีอื่นวิงวอนเช่นนั้นอีกว่า ข้าแต่ท่านมหาอำมาตย์ ข้าพเจ้าตั้งหน้ามาหาท่าน ขอท่านได้กรุณาช่วยเข้าไปทูลขอราชธิดาให้ลูกชายข้าพเจ้าเถิด อำมาตย์นั้นก็ห้ามอีกว่า ข้าเกรงพระราชอาญาไม่กล้าทูลขอราชธิดาได้ เมื่อนางอ้อนวอนแล้วๆ เล่าๆ ก็มิได้รับ นางจึงไปหาเสนาบดีคนอื่นอีกวิงวอนว่า ท่านเสนาบดีผู้เจริญ ขอท่านได้กรุณาทูลขอราชธิดาให้ลูกข้าพเจ้าเถิด ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์ อำมาตย์ผู้นั้นก็รับรองแล้วก็เข้าไปในพระราชนิเวศน์ถวายบังคม ครั้นได้พระราชทานโอกาสจึงทูลขอพระราชทานอภัยแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า มีหญิงทุคคตะคนหนึ่งเป็นแม่เด็กสุวรรณสิรสา วานให้ข้าพระองค์มาทูลขอพระสุวรรณคันธาราชธิดา พระองค์จงทรงทราบ พระเจ้าพาราณสีได้ทรงฟังก็ทรงพระพิโรธหน่อยหนึ่งแล้วทรงดำริว่า เด็กชื่อสุวรรณสิรสานี้เป็นลูกหญิงเข็ญใจชาติทุคคตะ ไฉนจึงให้มาขอราชธิดาของเรา ถ้าไม่มีเดชมีบุญก็จักให้ฆ่าเสีย ถ้ามีบุญก็จักให้ ดำริแล้วจึงตรัสแก่เสนาบดีว่า ถ้าเด็กสุวรรณสิรสามีบุญมีฤทธิ์สามารถสร้างสะพานเงินสะพานทองตั้งแต่เรือนตนมาถึงพระราชนิเวศน์ได้ เราจักให้ธิดา ถ้าไม่สามารถจักไม่ให้และจะให้ราชอาญาแทน เจ้าจงรู้อย่างนี้ เสนาบดีได้ฟังตรัสถวายบังคมลากลับมาเรือน เรียกนางจัณฑาลบัณฑิตมาแล้วจึงเล่าให้ฟังตามเรื่องที่พระเจ้าพาราณสีดำรัส นางจึงลาเสนาบดีกลับมาเรือนเล่าให้พระโพธิสัตว์ฟัง พระโพธิสัตว์ได้ฟังแล้วก็ดีใจนอนคิดว่า ความปรารถนาของเราจักสำเร็จที่สุดในครั้งนี้ และนอนพิจารณาต่อไปว่า พระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายในปางก่อนถ้าแลเห็นกิจการของตนยังไม่สำเร็จก็ย่อมทำให้สำเร็จได้ด้วยบารมี เพราะเหตุนั้น จำเราจะทำอธิษฐานบารมีบ้าง คิดแล้วก็กล่าวคาถาว่า

เยน สจฺเจน จ อหํพุทฺธภาวฺจ ปตฺเถมิ
เตน เสตุโน ปชฺชตุรชตสุวณฺณมยา
อิโต จ มม เคหโตยาว ปาสาทํ รฺโปิ
เยน สจฺเจน มาตรํกตฺุสุมึ ฐิโต อหํ
อุชุจิตฺเตน ปฏิชคฺคึเตน เสตุโน ปชฺชตุ
อิโต จ มม เคหโตยาว ปาสาทํ รฺโ จ
เยน สจฺเจน ปูเรนฺโตทานาทีนิ ปารมิโย
ปุพฺเพ จาหํ สมตึสเตน เสตุโน ปชฺชตุ
อิโต จ มม เคหโตยาว ปาสาทํ รฺโ จ

แปลว่า เราปรารถนาพระพุทธเจ้าโดยสัจ ขอให้สะพานเงินสะพานทองจงเกิดมีตั้งแต่เรือนของเราถึงปราสาทของพระเจ้าแผ่นดิน เรามีกตัญญูต่อมารดาปฏิบัติโดยซื่อตรงโดยสัจ ขอให้สะพานเงินสะพานทองจงเกิดมีตั้งแต่เรือนของเราถึงปราสาทพระเจ้าแผ่นดิน เราบำเพ็ญบารมีสามสิบทัศมีทานบารมีเป็นต้นโดยสัจ ขอให้สะพานเงินสะพานทองจงเกิดมีแต่เรือนของเราจนถึงปราสาทของพระเจ้าแผ่นดิน

ด้วยอานุภาพของพระโพธิสัตว์ ก็ร้อนขึ้นไปถึงพิภพแห่งสมเด็จอมรินทร์ ท้าวสักกเทวราชพิจารณาดูรู้เหตุนั้นแล้ว จึงเรียกวิสสุกรรมเทวบุตรมาสั่งบังคับว่า ท่านวิสสุกรรม บัดนี้สุวรรณสิรสากุมารหน่อเนื้อพระพุทธเจ้าปรารถนาราชธิดา ต้องการจะสร้างสะพานเงินสะพานทองตั้งแต่เรือนของตนจนถึงปราสาทราชนิเวศน์ เหตุนั้นท่านจงไปสู่มนุษย์โลกนิรมิตให้สมปรารถนา พระวิสสุกรรมรับเทพบัญชาว่าสาธุแล้วก็ลงมายังมนุษย์โลก นิรมิตสะพานเงินสะพานทองเสร็จแล้วก็กลับไปยังที่อยู่ของตน

พอเพลารุ่งเช้าพระเจ้าพรหมทัตเผยสิงหบัญชรทอดพระเนตรไปภายนอก เห็นสะพานเงินสะพานทองก็ทรงพระโสมนัสทรงพระดำริว่า สุวรรณสิรสากุมารนี้มีบุญหนักหนาหนอ สะพานเงินสะพานทองปรากฏขึ้นแล้ว ทรงพระดำริแล้วรับสั่งให้หามหาอำมาตย์และเสนาบดีเป็นต้น พร้อมทั้งพระพิมพาเทวีอัครมเหสีมาทรงปรึกษาว่า ท่านทั้งหลายจงฟังคำเรา เราได้พูดคำใดไว้คำนั้นต้องเป็นจริงไม่เหลาะแหละ ยั่งยืนไม่แปรปรวน คำที่เราพูดไว้แล้วต้องเป็นเหมือนงาช้างที่งอกออกไปแล้วไม่กลับหด เพราะเหตุนั้นเราจักต้องให้ราชธิดา​ที่ควรให้แก่สุวรรณสิรสากุมาร ตรัสแล้วจึงไปเรียกราชธิดาทั้งสามเข้ามาปรึกษาว่า เจ้าทั้งสามผู้ใดอยากได้สุวรรณสิรสาเป็นสามีเราจะอภิเษกให้ นางทั้งสามทรงเคารพในพระบิดาก็มิได้กราบทูลประการใด พระเจ้าพรหมทัตจึงตรัสว่า เจ้าสุวรรณาเป็นพี่ใหญ่เราจะอภิเษกก่อน นางสุวรรณาไม่อยากได้พระโพธิสัตว์จึงทูลว่า ขอพระราชทานหม่อมฉันไม่ต้องประสงค์คนที่มีอินทรีย์ไม่เต็ม มีอาการไม่ครบสามสิบสอง กายและมือเท้าของกุมารนั้นไม่มี พระบิดาจะอภิเษกอย่างไร พระเจ้าพรหมหัตได้ทรงฟังจึงตรัสถามนางสุวรรณจันทาว่า ดูกรลูกรัก พ่อจะอภิเษกเจ้ากับสุวรรณสิรสาเจ้าต้องการหรือไม่ ครั้นนางทูลว่าไม่ปรารถนา จึงตรัสถามนางสุวรรณคันธาน้องน้อยว่า ดูกรลูกรัก เจ้ารักใคร่หรือไม่ นางสุวรรณคันธาถวายบังคมแล้วทูลว่า ขอพระราชทาน หม่อมฉันเกิดจากพระอุระของพระองค์ พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ธรรมดาบิดาย่อมประกอบประโยชน์แก่บุตร ไม่ประกอบสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เพราะเหตุนั้นถ้าบิดาจักตรัสสั่งบังคับให้หม่อมฉันทำการสิ่งใด ๆ ดีหรือชั่วก็ตาม หม่อมฉันจักทำตามทั้งสิ้น พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงฟังก็ทรงพระโสมนัส ตรัสให้ประชุมอำมาตย์ราชเสนา นางพระสนมทั้งพระพิมพาอัครมเหสีให้ประดับประดาเครื่องอลังการ ส่วนพระองค์ก็ทรงเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เสวยพระยาหารแล้วมีหมู่มหาชนและนางนักสนมแวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จออกจากราชนิเวศน์ทรงพระดำเนินไปโดยสะพานเงินสะพานทอง จนถึงเรียนแห่งนางจัณฑาลบัณฑิต เสด็จประทับบนราชอาสน์ ฝ่ายนางจัณฑาลบัณฑิตเห็นพระเจ้าพรหมทัตเสด็จมากับหมู่อำมาตย์ทั้งพระราชเทวีและนางนักสนม นางจึงเข้าไปถวายบังคมแล้วก็ทูลถามว่าขอเดชะ พระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ราชบริพารนางนักสนมและพระมเหสี มีพระธุระสิ่งใดจึงเสด็จมาถึงเรือนข้าพระบาท พระเจ้าพรหมทัตจึงตรัสว่า ที่เราออกมาครั้งนี้ประสงค์จะรับสุวรรณสิรสากุมารบุตรของเจ้าไปอภิเษกกับนางสุวรรณคันธาธิดาของเรา นางจัณฑาลบัณฑิตทูลว่า หม่อมฉันไม่กล้าจะถวายบุตรซึ่งปราศจากอาการสามสิบสองไม่มีรูปกายมีแต่ศีรษะให้ทอดพระเนตร ครั้นพระเจ้าพรหมทัตตรัสว่า ข้ารู้แล้วข้าไห้อภัย นางจึงนำพระโพธิสัตว์ออกถวายให้ทอดพระเนตร พระเจ้าพรหมหัตได้ทอดพระเนตรเห็นสุวรรณสิรสา กุมารมีแต่ศีรษะงามปานดังผอบทองคำชมพูนุช ก็ทรงพระโสมนัส เกิดความสิเนหาดังพระราชบุตรอันเกิดแต่พระอุทร จึงให้เอาภาชนะทองเข้ารองรับเศียรพระโพธิสัตว์กลับคืนเข้าพระราชนิเวศน์

ตมตฺถํ ปกาเสนฺโต สตฺถา สมเด็จพระศาสตาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสเป็นพระคาถาว่า

ตํ อาทายปิ ส ราชานิเวสนํ นิวตฺติตวา
ปาสาทํ อภิรุยฺหติอาณาปยิ พหูมจฺเจ
ภวนฺตา ตุมฺเห กโรถอภิเสกราชมาฬํ
รชตสุวณฺเณปิ จรตเนหิ ราสิเหตฺถ
ตํ วิวิธาลงฺกาเรหิปฏิมณฺฑิตํ สพฺพมฺปิ
เหมสาณิปากาเรหิสุวณฺณรชตฉตฺตํ
ธชปฏากํ อุสฺสาปยิวิตาลฺจ วิตฺถาเรติ
จนฺทตารกวิจิตฺตํอคฺคเรติจิตฺตรณํ
รชตสุวณฺณราสีรตนมราสี จ การาปยิ

แปลว่า พระเจ้าพรหมหัตพาพระโพธิสัตว์กลับไปสู่พระราชนิเวศน์ เสด็จขึ้นปราสาทแล้ว จึงตรัสสังบังคับอำมาตย์ทั้งหลายให้ทำโรงราชมาลกสำหรับอภิเษก ตั้งไว้ซึ่งกองเงินกองแก้วกององ ประดับประดาด้วยเครื่องอลังการต่าง ๆ แวดวงล้อมม่านองยกขึ้นซึ่งฉัตร์เงินฉัตร์ทองธงชัยงปาก าดเพานด้วยาวเงินดาวอง ห้กระทำกองเงินกองทองกองแก้วที่จะเชิญขึ้นนั่งบนนั้น ครั้นเสด็จแล้วพระเจ้าพรหมหัตก็ให้ประดับพระราชธิดาห้วิจิตรด้วยเครื่องลังการต่างๆ นาๆ พระงค์เสด็จไปสู่โรงราชมาลกประดับเป็นประธาน ส่วนพระางพิมพาเวีก็ประดับพระราชธิดาด้วยเครื่องอลัการ พาดอกไปประทับอยู่บนอาสน์อันสมควร ส่วนอำมาตย์ มีเสนาบดีเป็นต้นก็นังอยู่ทางหนึ่ง พวกพราหมณ์มีปุโรหิตเป็นต้นนั่งอยู่ทางหนึ่ง พวกคหบดีมีเศรษฐีเป็นต้นก็นั่งอยู่ทางหนึ่ง สนมนางในมีพระมเหสีเป็นต้นก็นังอยู่ทางหนึ่ง นางนักสนมทั้งหลายก็ขับร้องประโคมมโหรี พอถึงฤกษ์งามยามดีมีศุภมงคลพร้อมทั้งขณะพราหมณ์ปุโรหิตก็เชิญน้สังข์มาตั้งไว้ เชิญภาชนะรองศียรพระโพธิสัตว์ห้ประดิษฐานอยู่บนกองเงินกองทอง นางพิมพาเทวีก็จูงกรราชธิห้นั่งเหนือกองแก้วกองทอง พระเจ้าพรหมหัตจึงทรงประคอสังข์อภิเษกพระเจ้ามันาตุ หลั่งน้ำลงภิเกทั้งสองคือให้พระโพธิสัตว์เป็นสามีราชธิดาแล้ว สั่งอำมาตย์ราชบริพารให้ชำระปราสาท​อันสมควรประทานให้เป็นที่อยู่แห่งชนทั้งสอง นทั้งสองก็สนทนาปราศรัยด้วยถ้อยคำอันเป็นที่รักแห่งกันและกัน อยู่สมัครสโมสรปราศจากโรคภัย เป็นสุขสบายไม่มีความเดือดร้อน

อถ โข พฺรหฺมทตฺโต ราชา ต่อมาในกาลภายหลังพระเจ้าพรหมทัตมีพระประสงค์จะใคร่ประพาสสวนอุทยาน จึงรับสั่งให้หาพนักงานรักษาสวนมาตรัสสั่งว่า เราจักใคร่ไปเที่ยวเล่นในสวนอุทยาน เจ้าจงชำระแผ้วถางตกแต่งให้งดงาม พนักงานเฝ้าสวนรับพระราชบัญชาแล้วก็ถวายบังคมลากลับมายังลานหลวง ชำระแผ้วถางตกแต่งเสร็จก็กลับเข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ พระเจ้าพรหมทัตจึงรับสั่งให้หาเสนาบดีมาโดยพระประสงค์ จะตระเตรียมโดยเร็วพลันให้ทันการ จึงมีพระราชบรรหารเป็นคาถาว่า

โยชยนฺตุ อสฺเส รเถคจฺฉ นาเค นิพนฺธถ
อุหริยนฺตุกา สงฺขปณฺฑาวานทนฺตุ เอกโปกฺขรา
นทนฺตุ เภริสนฺนทฺธาวคฺคู นทนฺตุ ทุนฺทุภิ
เนคมา จ มํ อนฺเวนฺตุอุยฺยานกีฬํ คจฺฉามิ
โอโรธา จ กุมารา จเวสิยานา จ พฺรหฺมณา
ขิปฺปํ ยานานิ โยเชนฺตุอุยฺยานกีฬํ คจฺฉามิ
หตฺถาโรหา อนีกฏฺารถิกา ปตฺติการกา
ขิปฺปํ ยานานิ โยเชนฺตุอุยฺยานกีฬํ คจฺฉามิ
สมาคตา ชานปทาเนคมา จ สมาคตา
ขิปฺปํ ยานานิ โยเชนฺตุอุยฺยานกีฬํ คจฺฉามิ

แปลว่า าวเจ้าทั้งหลายจงจัดม้าจัดรถผูกช้าง ประโคมสังข์และบัณเฑาะว์ บันลือพิณและกลองหนังทั้งตะโพนซึ่งมีเสียงอันไพเราะ าวนิคมทั้งหลายจงตามเราไปเล่นสวนอุทยาน นักสนมและมหาดเล็กพ่อค้าและพราหมณ์ทั้งหลายจงเตรียมยานพาหนะโดยเร็วพลัน เราจะไปเล่นสวนอุทยาน อนึ่งพลช้างพลม้าพลรถพลบทจรเดินเท้า ทั้งเหล่าชาวนิคมนบทจงมาพร้อมตระเตรียมพาหนะ เราจะไปเที่ยวเล่นสวนอุทยาน

เมื่อพระเจ้าพรหมทัตตรัสสั่งบังคับดังนี้ พวกสารถีก็เตรียมรถเตรียมม้า นายหัตถาจารย์ก็ผูกช้างเทียบแทนราชทวารแล้วก็นำความกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตให้ทรงทราบ

ตมตฺถ ปกาเสนฺโต สตฺถา สมเด็จพระศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสว่า

อสฺเส จ สารถิยุตฺเตสนฺธเว สีฆพาหเน
ราชทฺวารํ อุปาคฺฉุํยุตฺตา เทว หตฺถิอสฺสา

แปลว่า เมื่อสารถีเทียมม้าสินธพอันเป็นพาหนะว่องไว แล้วก็เข้าไปกราบทูลพระเจ้าพรหมทัตว่า ขอพระราชทานช้างม้าเตรียมไว้พร้อมแล้วพระเจ้าข้า

ระหว่างที่เกณฑ์คนทั้งสี่เหล่า และเตรียมเสนาสิบแปดเหล่าอยู่นี้เวลาล่วงไปได้ ๓ วัน

ตมตุถ ปกาเสนฺโต สตฺถา สมเด็จพระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า

ตโต ราชา ตํ สุตฺวาโสยุตฺตมารุยฺห สินฺธวํ
อิตฺถาคารปริวุโตสพฺพาว อนุยายนฺติ
พาลวิชนิอุณฺหิสํขคฺคํ ฉตฺตฺจ ปณฺฑุรํ
อุปาหนา จ ธารยสุวณฺเณหิ อลงฺกตา
สิริยา ชลนฺโต โสขตฺตสงฺฆปริพฺยุฬฺโห
สกฺโก ยถา อจฺฉราหิเทเวหิ จ ปริวุโต

แปลว่า พระเจ้าพรหมทัตรั้นได้ฟังกราบทูลว่า เตรียมพร้อมแล้ว ก็เสด็จขึ้นทรงม้าสินธพ มีหมู่พระสนมกำนัลในพระราชฐานห้อมล้อมตามไปทั้งหมด พร้อมด้วยเครื่องประดับพระราชอิสริยยศ คือพัดวาลวิชนี พระมหามงกุฎ พระขรรค์ เศวตฉัตร์ ฉลองพระบาททอง มีหมู่กษัตริย์แวดล้อม รุ่งเรืองไปด้วยพระสริดุจดังสมเด็จอมรินทร์อันมีหมู่นางเทพอัปสรและทวยเทพแวดล้อมเป็นบริวาร พระเจ้าพรหมหัตเสด็จทรงม้ามงคลสินธพ เสด็จไปตามราชวิถีด้วยพระยศอันยิ่งใหญ่ งามด้วยพระสิริวิลาสอันไพศาล เสด็จเข้าสู่สวนอุทยาน ทรงประพาสและมีมหรสพอย่างสนุกสนาน

ส่วนพระโพธิสัตว์กับนางสุวรรณคันธามิได้ตามเสด็จเหลืออยู่ปราสาทแต่สองคน นางสุวรรณคันธาก็นั่งร้องไห้รำพันบ่นว่า พระราชบิดาเสด็จไปชมสวนด้วยประชาชนและ​ราชวงศ์นักสนมมิได้เหลือใครไว้ เสด็จไปทรงประพาสสำราญ เหลือเราผู้เดียวมิได้ไปเที่ยวสวนอุทยาน เพราะอายเพื่อนฝูงด้วยมีผัวมิได้มีรูปกาย ถ้าผัวเรามีอินทรีย์บริบูรณ์ มีรูปกายเต็มก็จะได้ตามเสด็จพระราชบิดาด้วยยานม้า ส่วนเราก็จะได้ตามเสด็จพระบิดาด้วยเหล่านางกุลกุมารีที่เป็นบริวารเดี๋ยวนี้หมดทางที่จะได้ไป พระโพธิสัตว์เห็นนางร้องไห้จึงถามว่าเจ้าร้องไห้ทำไม นางก็เล่าให้ฟังตามความคิด ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า ถ้าน้องเจ้าจะใคร่เห็นร่างกายของพี่ เจ้าจงไปหาม้าสินธพที่มีกำลังอาจขับขี่ได้รวดเร็วมาให้ เจ้าจะได้เห็นพี่ขี่ม้าตามเสด็จพระราชบิดา แต่ว่าเจ้าเห็นแล้วอย่าได้บอกแก่ใคร ๆ เพราะพี่นี้มิใช่คนพอดีพอร้าย พี่จุติจากดาวดึงสเทวโลกลงมาเกิดในที่นี้ นางสุวรรณคันธาเทวีได้ฟังก็ชื่นชมโสมนัส กราบพระโพธิสัตว์แล้วจึงไปนำม้าสินธพซึ่งนายสารถีฝึกหัดไว้เป็นอันดี มาผูกไว้ที่ประตูปราสาทแล้วเข้ามาบอกพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ก็ออกจากศีรษะมีพระกายงามดังสีทองเต็มทั้งองค์น่าเลื่อมใส บริบูรณ์ด้วยพระลักษณะน้อยใหญ่มิได้บกพร่อง งามด้วยสีริวิลาสดังสมเด็จอมรินทร์เทวราช พระองค์จึงประดับพระกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงแล้วจึงสั่งกำชับแก่นางสุวรรณคันธาว่า น้องรักเจ้าอย่าได้บอกกล่าวแก่ใครเลย สั่งแล้วก็ขึ้นสู่หลังม้า ขับมุ่งตรงไปยังสวนอุทยาน พระโพธิสัตว์ขับไปโดยเร็วก็ไปถึงก่อนพระเจ้าพรหมทัต พอถึงก็ลงจากหลังม้า ขึ้นไปนั่งอยู่บนแผ่นศิลาอันเป็นราชบัลลังก์ ลำดับนั้นพระเจ้าพรหมทัตเสด็จไปโดยราชวิถี ทอดพระเนตรเข้าไปภายในสวนเห็นสุวรรณสิรสากุมารแล้ว ทรงสำคัญว่าเป็นเทวดารักษาสวนหรือท้าวสักกเทวราช พระองค์ก็ก้มพระเศียรลงประคองอัญชลีเสด็จเข้าไปใกล้ออกพระวาจาว่า ข้าแต่ท่านเทวราช ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการ ไฉนท่านจึงมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี่ พระโพธิสัตว์ได้ฟังแล้วจึงทูลว่า ดูกรพระองค์ผู้เป็นมหาราช เรามาแต่เทวโลกประสงค์จะเที่ยวชมสวนกับด้วยพระองค์ กล่าวแล้วก็เที่ยวชมสวนอยู่จนเวลาพระอาทิตย์อัสดงค์ พอเวลาเย็นพระเจ้าพรหมทัตมีมหาชนเป็นบริวารก็เสด็จกลับเข้าสู่พระนคร เสด็จขึ้นพระราชนิเวศน์ เสวยพระกระยาหารแล้วก็บรรทมบนพระที่ ส่วนพระมหาสัตว์เมื่อมหาชนตามเสด็จพระเจ้าพรหมทัตกลับไปแล้ว ก็ขึ้นสู่หลังอาชาเหาะขึ้นสู่อากาศมาลงที่ปราสาท เข้าสู่ห้องแล้วก็หายกายเข้าไปในศีรษะ

ทุติยทิวเส ครั้นรุ่งขึ้นวันที่สอง พระเจ้าพรหมทัตเสวยและชำระพระองค์แล้ว จึงเสด็จออกประทับ ณ ท้องพระโรง พร้อมด้วยหมู่อำมาตย์ราชบริพาร ครั้งนั้นมีเสนาบดีคนหนึ่งชื่อนนท์ เข้าไปเฝ้าพระเจ้าพรหมทัตถวายบังคมประนมกรทูลว่า ขอพระราชทาน​สุวรรณสิรสาซึ่งเป็นสามีนางสุวรรณคันธานั้น มิได้สมควรแก่ชาวพระนครทั้งหลาย ทำให้พระองค์ขายพระพักตร์ ข้าพระองค์จักยกโทษเรื่องไม่ตามเสด็จไปสวนอุทยานพาลฆ่าหรือขับเสีย ความละอายขายพระพักตร์ก็จักไม่มีแก่พระองค์ พระเจ้าพรหมทัตก็ทรงเชื่อคำนนทเสนาบดี จึงรับสั่งให้หาพระราชธิดาแล้วตรัสว่า เจ้าสุวรรณคันธา นนทเสนาบดีเขามาพูดกับพ่อว่า สุวรรณสิรสากุมารสามีของเจ้ามิได้ตามเสด็จสวนอุทยานต้องโทษหนัก ควรประหารชีวิตหรือขับเสีย เจ้าอย่าน้อยใจอย่าสิเนหาเลย พ่อจักหาราชกุมารอื่นที่มีรูปโฉมงดงาม เกิดในขัติยตระกูลเสมอกันให้เป็นสามีเจ้าใหม่ นางสุวรรณได้ฟังตรัสก็มีกายสั่นหวั่นไหวมีหทัยดังจะแตก โทมนัสร้องไห้แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นมหาราช เมื่อพระองค์ทรงเห็นสามีของข้าพระบาทประกอบด้วยโทษลามกแล้ว ไฉนจึงพระราชทานข้าพระบาทให้เป็นบาทบริจาริกาเล่าหรือว่าอีกอย่างหนึ่งพระองค์พระราชทานข้าพระบาทแก่เขาอภิเษกให้เป็นสามีข้าพระบาทแล้ว ภายหลังให้ประหารชีวิตหรือขับไล่ก็ตามที การกระทำอย่างนี้จะไม่เป็นธรรมก็ยกไว้ สามีของข้าพระบาทควรที่ข้าพระบาทจะทำความเคารพนับถือ ควรบูชาควรสิเนหา ไม่ควรจะให้ประหารชีวิต นางสุวรรณคันธาทูลแล้วถวายบังคมลา ลุกจากอาสน์กลับไปยังปราสาทเล่าให้พระโพธิสัตว์ฟังแล้วก็ร้องไห้ พระโพธิสัตว์ได้ฟังนางเล่าจึงเล้าโลมว่า น้องรัก น้องอย่าคิดกลัวและเศร้าโศกไปเลย พี่มาแต่ดาวดึงสพิภพ มิใช่คนพอดีพอร้าย เล้าโลมแล้วต่างคนก็นิ่งไป

ตสฺม ขเณ ในขณะนั้นก็ร้อนขึ้นไปถึงพิภพแห่งสมเด็จอมรินทราธิราช ท้าวสักกเทวราชพิจารณาด้วยทิพจักษุว่า บุคคลผู้ใดหนอบำเพ็ญกองการกุศลแล้วและถึงที่ซึ่งทุกข์ยาก จึงบันดาลให้เราเร่าร้อนต้องเคลื่อนจากที่ ก็แลเห็นเหตุว่า บัดนี้พระเจ้าพรหมทัตจักให้ประหารชีวิตสุวรรณสิรสากุมารผู้เป็นหน่อเนื้อพระพุทธเจ้า การตายของคนที่เป็นหน่อเนื้อพระพุทธเจ้านั้นไม่ควรจะเป็นด้วยพยายามของคนอื่น เพราะเหตุนั้นควรเราจะไปยังมนุษย์โลกให้ชีวิตแก่สุวรรณสิรสากุมารเถิด พอเพลาราตรีก็ลงจากเทวโลกมาสู่มนุษย์ยืนอยู่บนอากาศ เมื่อจะถามปัญหาสี่ข้อจึงตรัสว่า ดูกรพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าคน เราจักถามปัญหาสี่ข้อพระองค์จงวิสัชนา ถ้าวิสัชนาไม่ได้เราจักตีศีรษะให้แตกตาย ตรัสดังนี้แล้วจึงถามปัญหาสี่ข้อ ข้อ ๑ ว่าสิ่งหนึ่งไม่แก่ไม่ตาย เป็นหนุ่มอยู่เสมอ จะได้แก่สิ่งอะไร ข้อ ๒ ว่าคนที่เรียกกันว่าเป็นพระราชานั้นเพราะธรรมสิ่งใด ข้อ ๓ ว่า ที่เรียกกันว่ารถนั้นได้แก่สิ่งอะไร สิ่งอะไรที่รุ่งเรืองอยู่ในโลกนี้และโลกอื่น

​เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงแก้ไม่ได้ ท้าวสักกะจึงสำทับว่า ดูกรพระราชาผู้เป็นใหญ่กว่าชน พระองค์จงทรงคิดพิจารณาสอบค้นให้ได้ภายใน ๗ วัน วันที่ ๗ เราจะกลับมา ถ้าพระองค์ทรงแก้ได้ก็เป็นการดี ถ้าแก้ไม่ได้ เราจักทำลายพระเศียรพระองค์ให้แตกด้วยค้อนเหล็กอันลุกเป็นเปลวไฟนี้ ทรงคุกคามแล้วจึงตรัสต่อไปว่า ถ้าท่านเป็นนักปราชญ์ท่านจงขึ้นไปในอากาศแล้วจงแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อแก้แล้วจะได้เล่นคลีด้วยกัน ท้าวสักกะตรัสเท่านั้นแล้วก็อัตรธานหายไปจากมนุษย์โลก

ตมตฺถ ปกาเสนฺโต สตฺถา เมื่อสมเด็จพระศาสดาจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสคากาว่า

อิติ วตฺวาน มฆวาเทวราชา สุชมฺปติ
ราชานํ สนฺตชฺเชตฺวาสคฺคกายํ อปกฺกมิ

แปลว่า ท้าวมัฆวานเทวราชผู้เป็นสามีนางนาฏสุาดาตรัสเช่นนี้ และขู่สำทับพระเจ้าพรหมทัตแล้ว ก็หลีกกลับปสู่หมู่แมนเมืองสวรรค์

ปุนทิวเส ครั้นวันรุ่งเช้าพระเจ้าพรหมทัตจึงให้ประชุมผู้มีศักดิ์สูง มีพระมหาอุปราชและเสนาบดีเป็นต้น ทั้งนักปราชญ์ราชบัณฑิตมีพราหมณ์ปุโรหิตเป็นต้น ณ ท้องพระโรงหลวง แล้วดำรัสถามปัญหาสี่ข้อ ว่าท่านทั้งหลายใครรู้อธิบายปัญหาเหล่านี้บ้าง มหาชนทั้งหลายได้ฟังรับสั่งก็พิศวงหลงใหลจึงกราบทูลว่า ข้าพระบาททั้งหลายมิได้ทราบ พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงฟังก็ยิ่งสะดุ้งตกพระทัย ทรงรำพันว่าชีวิตของเราไม่มีสืบไปอีกแล้ว ครั้นชนทั้งหลายมีปุโรหิตเป็นต้นทูลความว่า ไฉนจึงตรัสดังนั้น พระองค์ก็ทรงเล่าเรื่องตามที่เป็นมาแล้วตรัสว่าเมื่อเราทั้งหลายไม่รู้อธิบายของปัญหาเหล่านี้แล้วแว่นแคว้นของเราก็จะพินาศ ตรัสแล้วจึงทรงประกาศต่อไป ว่าดูกรท่านทั้งหลาย ภายใน ๗ วันนี้ถ้าคนพวกใดไม่รู้เนื้อความของปัญหาเหล่านี้ ชนพวกนั้นจะไม่รอดชีวิต ชนทั้งหลายที่เฝ้าอยู่ได้ฟังพระราชดำรัสต่างก็กลัวตาย คนใดคนหนึ่งก็ไม่กล้าปริปาก ต่างก้มหน้านิ่งอยู่ ปุโรหิตจึงกราบทูลว่า ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นมหาราช ขอให้ชนทั้งหมดนี้รับพิจารณาคนละปัญหา ครั้นพระเจ้าพรหมทัตตรัสตอบชอบจึงพากันนั่งคิดอธิบายมิได้แลเห็นจนถึงเวลาอัศดงคตก็ไม่มีใครกล้าจะลุกจากที่นั่งพิจารณาอยู่โดยขะมักเขม้น พอล่วงปฐมยามพระเจ้าพรหมทัตก็ทรงพระแสงขรรค์เสด็จออกมาตรัสถามว่า ท่านทั้งหลายใครคิดอธิบายปัญหาอะไรได้บ้าง ครั้นได้ทรงฟังว่ายังไม่มีใครคิดได้ ​พระองค์ก็ทรงขู่คาดโทษว่า ถ้าท่านทั้งหลายคิดไม่ได้เราจะตัดศีรษะด้วยพระขรรค์ ชนทั้งหลายก็ยกมือประนมเหนือเศียรแล้วก็พากันนั่งนิ่งอยู่ พระเจ้าพรหมทัตก็เสด็จกลับเข้าข้างใน พอล่วงมัชฌิมยามและปัจฌิมยามก็เสด็จออกมาตรัสถามเช่นนั้นอีก แต่ทำอยู่อย่างนี้ตั้งแต่วันที่สองจนถึงวันที่ห้า ก็ยังไม่มีใครรู้เห็น พอล่วงไปห้าวันถึงวันที่หก เพลาเช้าพระเจ้าพรหมทัตเสด็จประทับบนสีหาส์นหมู่อำมาตย์เสนาบดีปุโรหิตพราหมณ์เป็นประมุขหมอบเฝ้าอยู่พร้อมพรั่ง จึงมีพระราชดำรัสว่า ดูกรท่านทั้งหลาย อย่าได้ประมาทเลย รุ่งพรุ่งนี้แว่นแคว้นก็จักพินาศ เราจะทำลายศีรษะให้ถึงแก่ความตาย หมู่อำมาตย์ราชปุโรหิตและนางนักสนมทั้งหลายได้ฟังตรัสก็พากันร้องไห้เสียงระเบ็งเซ็งแซ่ไป พระเจ้าพรหมหัตทรงเห็นการปริเทวนาการวิปริตดังนั้นก็ลุกจากราชอาสน์ เสด็จเข้าสู่ปราสาทรับสั่งให้พานางพิมพาเทวีมาแล้วจึงตรัสว่า, ดูกรนางผู้เจริญ อำมาตย์ราชปุโรหิตเป็นต้นสักคนหนึ่ง ก็ไม่มีใครคิดอธิบายปัญหาเหล่านี้ได้ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงที่จะมายืนแก้ไขในอากาศที่พึ่งอื่นของเราไม่มีแล้ว ในคลังของเรายังมีเงินและทองเป็นต้นอยู่มาก เราจักให้ทานเพราะทานเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในอนาคต เราบริจาคทานแล้วพรุ่งนี้ก็จักตาย นางพิมพาเทวีได้ฟังพระราชสามีตรัสก็บังเกิดความโศกเข้าครอบงำทรงรำพันปริเทวนาการครั้นค่อยได้สติแล้วจึงทูลว่าขอเดชะ พระองค์ผู้เป็นสมมติเทวดา สุวรรณสิรสากุมารสามีของเจ้าสุวรรณคันธาเป็นคนมีบุญมากอยู่ เห็นจะฉลาดสามารถทราบอธิบายปัญหานี้ได้ ถ้ามีปัญญาน้อยไฉนจักสร้างสะพานเงินสะพานทองได้ ควรพระองค์จะรับสั่งให้หามาถามดู พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงฟังก็ค่อยได้พระสติทรงระบายลมอัสสาสะปัสสาสะคล่องขึ้น ครั้นรุ่งเช้าจึงสั่งนางสาวใช้ให้ไปตามสุวรรณสิรสากุมารมา ณ บัดนี้นางสาวใช้รับสั่งแล้ว ก็ถวายบังคมลามายังปราสาทนางสุวรรณคันธาทำความเคารพแล้วก็เล่าเหตุทั้งปวงให้ฟัง พระโพธิสัตว์ได้ฟังแล้วก็บอกนางสุวรรณคันธาว่า น้องรักพระบิดารับสั่งให้หาพี่ เจ้าจงเอาพี่ใส่ในภาชนะทองพาพี่ไปเฝ้า นางสุวรรณคันธาก็พาพระโพธิสัตว์ขึ้นไปบนพระราชมณเฑียร ถวายบังคมแล้วก็วางภาชนะไว้ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเห็นแล้วทรงทักทายปราศรัย แล้วตรัสว่า พ่อสุวรรณสิรสา บิดามีความเดือดร้อนหาความสุขสบายมิได้ คือเดี๋ยวนี้ท้าวสักกเทวราชมาถามปัญหาสี่ข้อแก่บิดา และคำชับสั่งว่า ผู้ใดมีปัญญาสามารถจักแก้ปัญหาได้ ให้ผู้นั้นเหาะขึ้นไปยืนแก้ปัญหาบนอากาศ เมื่อแก้ปัญหาเสร็จแล้วให้เล่นคลีกันบนอากาศ เจ้าสุวรรณสิรสา ถ้าเจ้าสามารถจะแก้ปัญหาและสามารถเหาะขึ้นไปยังอากาศเล่นคลีบน​อากาศได้ เจ้าจงให้ชีวิตแก่บิดาเถิด พระโพธิสัตว์จึงทูลว่า ขอเดชะพระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงกลัวทรงพระวิตกอย่าทรงเศร้าโศก ข้าพระบาทจะตอบแทนคุณพระองค์ จักเหาะขึ้นไป ณ อากาศแก้ปัญหาและเล่นคลีกับท้าวเทวราช พระองค์จงให้ประชุมสันนิบาตชาวพระนครและทรงทราบไว้เถิด พระเจ้าพรหมหัตจึงตรัสว่า ถ้าเจ้าสามารถทำได้ดังว่า พ่อจะยกราชสมบัติให้ทั้งหมด ตรัสแล้วจึงสั่งให้ประชุมชาวพระนคร เมื่อชาวพระนครมาประชุมกันพร้อมแล้ว พระโพธิสัตว์จึงเปล่งวาจากล้าหาญว่า ดูก่อนชาวพระนครทั้งปวง เรามีนามชื่อว่าสุวรรณสิรสา จะทำอุปการะต่อพระสัสสุรราช เราจะเหาะขึ้นไปในอากาศ จะกล่าวแก้ปัญหาและเล่นคลีกับท้าวสักกเทวราช ท่านทั้งหลายจงดูรู้ไว้เถิด

ตสฺม ขเณ ขณะนั้นท้าวสักกเทวราชก็พาพวกเทพบริษัทจากดาวดึงส์พิภพมายืนอยู่ในอากาศ พระเจ้าพรหมหัตและมหาชนก็พากันร้องอึกทึกครึกโครมว่า ท้าวสักกะมาแล้วท้าวสักกะมาแล้ว เสียงอื้ออึงโกลาหล ครั้งนั้นพระมหาสัตว์ก็สั่งให้นางสุวรรณคันธาถือภาชนะทองกลับมาสู่ปราสาทถอดรูปกายออกจากเศียร แล้วก็เหาะขึ้นไปในอากาศ ไปเฝ้าสมเด็จอมรินทร์ถวายบังคมแล้วจึงทูลว่า ข้าแต่ท้าวเทวราช พระองค์ต้องประสงค์ถามปัญหาอะไรก็จงถามเถิด เมื่อท้าวสักกเทวราชจะถามปัญหา ๔ ข้อ จึงกล่าวคาถาว่า

โก อชรามโร ตรุโณ นิจฺจํ

โก เกนตฺเถน ราชาติ สมฺมตา

โก เกน รโถติ วุจฺจติ โลเก

โก จ อิธ โชติ ปรสฺมึ โชตโก

แปลว่า สิ่งอะไรที่ไม่แก่ไม่ตาย เป็นหนุ่มอยู่เป็นนิจ สิ่งอะไรที่สมมติว่าเป็นพระราชาเพราะเหตุอะไร สิ่งอะไรที่เรียกว่ารถ เพราะเหตุอะไร สิ่งะไรที่รุ่งเรืองในโลกนี้และส่องสว่างในโลกอื่น

เนื้อความของปัญหาเหล่านี้ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์เหมือนพระจันทร์เต็มดวงในพื้นท้องฟ้า ลำดับนั้นพระมหาสัตว์เมื่อจะวิสัชนาปัญหาข้อแรก จึงกล่าวเป็นคาถาว่า

ตณฺหา อชราธมฺมมฺปตฺโตตํมูลโก นนฺทิราโค
อนวยฺโย จ โลภาทิมจฺฉรีปิ จ น มรณํ

แปลว่า ตัณหาและนันทิราคะซึ่งมีตัณหานั้นเป็นมูล ย่อมถึงแล้วซึ่งความไม่แก่ กิเลศมีโลภเป็นต้นก็ไม่รู้จักเสื่อม อนึ่งความตระหนีก็ไม่รู้จักตาย

​ท้าวสักกเทวราชได้ฟังคำแก้ปัญหาก็ปรบหัตถ์ให้สาธุการ มหาชนก็พากันร้องสาธุการเป็นอันมาก ส่วนพระโพธิสัตว์เมื่อจะวิสัชนาปัญหาข้อที่สองจึงกล่าวคาถาว่า

โย จ โลเกน สมฺมตาราชาติ วิคหิเตน
จตุสงฺคหวตฺถูหิทสราชธมฺเมหิ จ

แปลว่า ผู้ดที่โลกสมมติแล้วว่าเป็นพระราชา ก็เพราะทรงถือเอาโดยวิเศษด้วยสังคหวัตถุ และราชธรรม ๑๐ ประการ

โดยอธิบายว่า พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดย่อมทำให้มหาชนยินดีด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ คือด้วยการบำรุงกสิกรรม ด้วยการเลี้ยงคนตามคุณวุฒิ ด้วยการไห้กู้ยืมพระราชหทรัพย์คิดดอกเบี้ยพอควรเอาไปลงทุนหากำไรได้ ด้วยตรัสอ่อนหวาน พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นเรียกว่าเป็นพระราชา

อนึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดย่อมทำมหาชนให้ยินดีด้วยราชธรรม ๑๐ ประการ คือด้วยบำเพ็ญทานเป็นปรกติ ด้วยทรงดำรงอยู่ในศีล ด้วยบริจาคช่วยเหลือในกาลใหญ่ๆ ด้วยความซื่อตรง ด้วยความค่อนโยน ด้วยคอยกำจัดความชั่วในพระองค์ ด้วยทรงพระพิโรธน้อย ด้วยไม่ผิดราชประเพณี พระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นเรียกว่าเป็นพระราชา

อนึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใดย่อมยินดีด้วยราชสมบัติของพระองค์ พระเจ้าแผ่นดินนั้นเรียกว่าพระราชา ท้าวสักกเทวราชก็ให้สาธุการ และโปรยปรายซึ่งดอกไม้ทิพย์ทำสักการบูชา มหาชนก็ให้สาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว

ส่วนพระโพธิสัตว์เมื่อจะวิสัชนาปัญหาที่สาม จึงกล่าวคาถาว่า

สเนมิจกฺกา อกฺขา จสนาภิอีสายุตฺตา เจว
สรสฺมิ จ รถปฺชโรเอกโต รโถติ วุจฺจติ
เนมิ จ เอโก อาทิปิน จ รโถติ วุจฺจติ
สมฺภาเรหิ จ สมุโหปฺชโร รโถติ วุจฺจติ

แปลว่า เรือนรถที่มีกงมีล้อมีเพลา ประกอบด้วยดุมและงอนและเชือกเข้าด้วยกันจึงกล่าวว่ารถ ถ้ามอย่างเดียวเป็นต้นว่ากง จะได้เรียกว่า รถหามิได้ ต่อเรือนรถที่ประชุมด้วยสัมภาระครบจึงเรียกว่ารถ

​โดยอธิบายว่าเหมือนกายสัตว์ทั้งหลายประชุมด้วยอาการสามสิบสอง

เป็นอย่างยิ่งจึงเรียกว่ากายรถ

เทวดาทั้งหลายมีท้าวสักกะเป็นต้นก็ให้สาธุการโปรยปรายดอกไม้ทิพย์ทำสักการะบูชา มหาชนทั้งหลายก็ให้สาธุการอีกเป็นอันมาก

ส่วนพระโพธิสัตว์เมื่อจะวิสัชนาปัญหาที่สี่ จึงกล่าวคาถาว่า

เย อฑฺฒกุเล ชาตาปิสทฺธาย ทานํ ททนฺติ
สีลํ รกฺขนฺติ ภาวนํปฺจเวรํ ปชหนฺติ
เต คจฺฉนฺติ สคฺคโลกํโชติ ปรสฺมินฺติ วุจฺจติ

แปลว่า ชนพวกดเกิดแล้วนตระกูอันมั่งคั่งและให้ทานด้วยศรัทธา รักษาศีลเจริญภาวนาละเสียซึ่งเวรทั้งห้า ชนทั้งหลายนั้นเรียกว่ารุ่งเรืองในโลกหน้า

เมื่อพระโพธิสัตว์วิสัชนาปัญหาสี่ข้อจบลงแล้ว เทพยดาทั้งหลายมีท้าวสักกะเป็นประธาน ก็โปรยปรายทิพย์รัตนบุปผาทำสักการบูชาและให้สาธุการ มหาชนทั้งหลาย มีพราหมณ์คฤหบดีและอำมาตย์เป็นต้นก็บูชาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง และทำสาธุการด้วยเสียงสนั่นหวั่นไหว ท้าวสหัสนัยนุจึงโยนลูกคลีตีไปในอากาศพระโพธิสัตว์ก็รับตีตอบมา ท้าวสักกะก็ตีตอบไปอีก พระโพธิสัตว์ก็ตีตอบมา เล่นอยู่สักครู่หนึ่ง สมเด็จท้าวสักกะก็อันตรธานหายไป พระโพธิสัตว์ก็กลับลงมาจากอากาศเข้าไปนั่งอยู่ใกล้ราชอาสน์พระเจ้าพรหมทัต พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเห็นสุวรรณสิรสากุมารมีรูปกายผ่องใสดังเนื้อทอง ก็ทรงเลื่อมใสโสมนัส เสด็จลุกจากอาสน์สวมกอดพระโพธิสัตว์จูบเศียรให้นั่งบนบัลลังก์ ทรงจับพระเต้าทอง ทรงหลั่งน้ำบนหัตถ์พระโพธิสัตว์เจ้าแล้วพระราชทานราชสมบัติทั้งสิ้น ทรงอภิเษกพระโพธิสัตว์กับนางสุวรรณคันธาในราชสมบัติ ตั้งให้นางสุวรรณคันธาเป็นใหญ่กว่านางนักสนมนาฏกิตถีทั้งหลาย พระโพธิสัตว์ก็ได้พระนามว่าสุวรรณสิรสาบรมกษัตริย์ ปรากฏพระนามทั่วไปในชมพูทวีป จำเดิมแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ก็ให้ตั้งศาลาโรงทาน ๖ แห่ง พระราชทานแก่ยาจกวณิพกคนกำพร้าอนาถา ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น สิ้นพระชนม์แล้วก็ไปเกิดในดุสิตเทวโลก

สตฺถา อิม ธมฺมเทสน อาหริตฺวา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายเราจะได้เป็นมนุษย์อัศจรรย์แต่ในชาตินี้หามิได้ ถึงในชาติก่อนก็เป็นมนุษย์อัศจรรย์มาแล้ว ตรัสแล้วจึงทรงประกาศอริยสัจ ๔ ประการ จบแล้วจึงประชุมชาดกว่า พระเจ้าพรหมทัตกลับชาติมาคือ พระสารีบุตร นนทเสนาบดีคือพระโมคคัลลาน์ ท้าวสักกะคือพระอนุรุธ บิดามารดาคือมหาราชตระกูล นายสำเภาคือพระอานนท์ พญานาคคือพระกัสสป นางปัญจปาปีนาคคือนางวิสาขา นางปทาริกาคือนางเขมา นางพิมพาเทวีคือนางโคตมี นางสุวรรณาคือนางอุบลวรรณาภิกษุณี นางสุรรรณจันทาคือนางชนบทกัลยาณี นางสุวรรณคันธาคือมารดาราหุล พระเจ้าสุวรรณสิรสาคือ เราผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล

จบสุวรรณสิรสาชาดก

แชร์เลย

Comments

comments

Share: