เมื่อนึกเห็นศูนย์กลางองค์พระใจจะหยุดนิ่ง
แล้วเราก็นึกทำความรู้สึกเป็นองค์พระ
เรื่องนี้เป็นเรื่องสําคัญไม่ใช่มองดูเฉย ๆ ถ้ามองดูเฉย ๆ มองไปอย่างไรก็ไม่ก้าวหน้า
ต้องนึกเข้าไปเห็น และเข้าไปเป็น
ถ้าเห็นเพียงดวงก็นึกเข้าไปเห็น ณ ภายใน
ทิ้งความรู้สึกภายนอกของเรา เข้าไปเห็นภายใน เหมือนกับมีกายอีกกายหนึ่งของเรา เข้าไปเห็นข้างในทำอย่างนี้จะก้าวหน้าได้
ถ้าเห็นกายแล้วก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด
คือสวมความรู้สึกเข้าไปเป็นกายละเอียดนั้นเลย
ทิ้งความรู้สึกอันเนื่องอยู่กับกายเนื้อของเรา
กายละเอียดปรากฏขึ้นมาเมื่อไร ก็ดับหยาบไปหาละเอียดเข้าเป็นกายละเอียดนั้น แล้วใจมันจะตกศูนย์เอง เพราะว่าใจของกายละเอียดนั้น จะทำหน้าที่เองโดยวิธีดังนี้ ใจของกายละเอียดจะทำหน้าที่เจริญภาวนาต่อ
หยุดนิ่งเข้าไปจนถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ อันเป็นเจตสิกธรรมที่สุดละเอียดของใจของกายนั้น แล้วก็จะถึงธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้คือ“ ใจ” ของอีกกายหนึ่งที่ละเอียด ๆ ต่อไปเหมือนกับการ ถ่ายทอดถึงซึ่งกันและกัน
เข้าไปจนสุดละเอียดที่กล่าวมานี้นั้นก็เป็นอุบายวิธีในการเจริญจิตภาวนาให้ได้ผลดี ซึ่งพอจะสรุปหลักย่อ ๆ ได้ ๔ ประการคือ
๑. เห็นดวงให้เดินดวง คือนึกเข้าไปเห็นจุดเล็กใสศูนย์กลางดวง ให้ใจหยุดในหยุดกลางของหยุด
กลางของกลางดวง ให้เห็นใสละเอียดไปจนสุดละเอียด
๒. เห็นกาย ให้เดินกายคือดับหยาบไปหาละเอียดคือนักเข้าไปเห็นจุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางกายละเอียดที่ปรากฏขึ้นใหม่ ให้ใจของกายละเอียดนั้นเจริญภาวนาหยุดในหยุดกลางของหยุด ให้เห็นใสละเอียดทั้งดวงทั้งกายทั้งองค์ฌาน
๓. โดยวิธีเหลือบตากลับนิด ๆ (ไม่ต้องลืมตา) ขณะเจริญภาวนาจะป้องกันมิให้สายตาเนื้อไปแย่งงานจิตภาวนา ของตาใน และจะช่วยให้ใจหยุดนิ่งกลางของหยุด ณ ศูนย์กลางกายศูนย์กลางกายได้ดี
๔. เข้ากลางทำให้ขาวคือให้นึกเข้าไปหยุดในหยุดกลางของหยุด ณ ศูนย์กลางดวง หรือธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ของกายที่ใส ละเอียดที่สุดไว้เสมอ
หลวงป๋า