ตัณหานั่นเอง
ได้แก่ กามตัณหา ความ ทะยานอยากเกี่ยวด้วยอารมณ์ 5 มีรูปเป็นต้น ภวตัณหา ความทะยานอยากเป็นไป ในอารมณ์ 5 ประกอบด้วย
สัสสตทิฏฐิ ถือว่าเที่ยงถาวร วิภวตัณหา ความทะยาน อยากเป็นไปในอารมณ์ 5 ประกอบด้วย อุจเฉททิฏฐิ ถือว่าขาดสูญ
เมื่อละตัณหาได้ อุปาทานก็ไม่มี
ดังจะยกอุทาหรณ์เทียบเคียงให้เห็น
ดังเช่นสามีภรรยาที่หย่าขาดจากกัน
เมื่อเขายังไม่หย่ากัน สามีไปทำอะไรเข้า
ภรรยาก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย
หรือเมื่อฝ่ายภรรยาไปทำอะไรเข้า ฝ่ายสามีก็เก็บเอามาเป็นทุกข์เป็นร้อนด้วย ถ้าเขาหย่าขาดกันแล้ว
มิไยที่ฝ่ายใดจะไปก่อกรรมทำเข็ญขึ้น อีกฝ่ายหนึ่งจะไม่มีทุกข์ไม่มีร้อนด้วยเลย ทั้งนี้เพราะอะไร
ก็เพราะเขาต่างหมดความยึดถือ (อุปาทาน) ว่าเขาเป็นสามีภรรยากันแล้ว นี่ฉันใดก็ฉันนั้น นี่จะเห็นชัดในข้อว่า ทุกข์เกิดจาก อุปาทานอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวดูดดึงเข้ามา แต่ลำพังขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวทุกข์ ได้ในคำ ว่า ปญฺจุปาทานกุขนฺธา ทุกขา รวมความก็ว่า ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เป็นทุกข์ ปล่อย ได้ หมดทุกข์
ถอดกายทิพย์ออกเสียจากมนุษย์ กายมนุษย์ก็ไม่มีเรื่อง จะมีใครเป็นทุกข์ และ ในที่สุดจะต้องปล่อยอุปาทานให้หมดทั้งในกายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม คง แต่ธรรมกายเด่นอยู่
เหตุใดพระองค์จึงเน้นสอนหนักไปในทาง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่อใคร่ครวญ โดยสุขุมแล้ว จะมองเห็นว่า พระองค์สอนดังนั้นเพื่อตะล่อมให้คนที่มีความคิดใช้วิจารณ ปัญญา สอดส่องเห็นได้เอง เช่น พระองค์ตรัสถึง อนิจจัง ก็เพื่อให้ค้นคิดหา นิจจัง ตรัสถึง ทุกขัง ก็เพื่อให้ค้นคิดหา สุขัง
ตรัสถึง อนัตตา ก็เพื่อให้คิดหา อัตตา
คนที่มี ปัญญาเฉลียวฉลาด ประกอบด้วยความเพียรพินิจพิจารณา ย่อมจะมองเห็นแนวพระโอวาทของพระองค์ จะเทียบให้เห็น เช่นมีคน ๒ คนยืนอยู่ คนหนึ่งสูง คนหนึ่งต่ำ เรารู้จักคนสูง ใครมาถามเราว่า คน ๒ คนนั้นรู้จักไหม เราตอบว่าคนสูงเรารู้จัก เมื่อ คนอื่นได้ยินคำตอบเช่นนั้น แม้ตาของเขาไม่แลเห็นคน ๒ คนนั้นเลย เขาย่อมจะรู้ว่า
คนที่เราไม่รู้จักนั้นต่ำกว่าคนที่เรารู้จัก โดยเราไม่จำเป็นจะต้องพูดว่าคนต่ำเราไม่รู้จัก
นี่ ฉันใด อนิจจังบอกนิจจัง ทุกขังบอกสุขัง อนัตตาบอกอัตตา ฉันนั้น อะไรเล่าเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา ก็คือธรรมกายนี้เอง เป็นตัวนิจจัง สุขัง อัตตา
ติด หลุด เป็นหัวข้อสำหรับผู้ปฏิบัติ ปล่อยอุปาทานไม่ได้ เรียกว่าติด
ปล่อยได้ เรียกว่าหลุด
ติด คือติดอยู่ในโลก หลุดคือพ้นจากโลก
เรียกว่า โลกุตระ เข้าแดน พระนิพพาน ต้องปล่อยอุปาทานทั้งในกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูป พรหม ต้องพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงแห่งเบญจขันธ์ดังกล่าวมานั้นด้วยตาธรรมกาย จึงเป็นวิปัสสนาวิชชา อันจะเป็นทางให้หลุดได้
หลวงพ่อสด จนฺทสโร