คือ…ต้องทำใจให้หยุด
หน้าที่ของเรา เมื่อรู้เช่นนั้นแล้ว จึงมีหน้าที่อยู่ว่า “กำจัดธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ”
แต่วิธีกำจัด กำจัดอย่างไร ?
วิธีกำจัดต้องกำจัดด้วย เบื้องต้น รักษากาย วาจา ใจ ของเราให้เรียบร้อยเีไม่มีโทษ ด้วยการรักษาศีล และด้วยการประพฤติปฏิบัติกุศลกรรมบททั้ง 10 เว้นอกุศลกรรมบท นี้เป็นสำคัญ ให้กาย ให้วาจา ของเราสงบเสียก่อน
ทีนี้ ไอ้ชีวิตที่เราผ่านมา เราทำคละเคล้าปนกันไปหมดทั้งบุญ ทั้งบาป ไอ้ส่วนบุญเราบำเพ็ญบารมีมาเท่าไหร่ก็ตาม แต่เมื่อมีบาปอกุศลเข้ามาสอดมาแทรก มาปิดมาบัง ทำให้เราเข้าถึงธรรมภาคขาวได้ด้วยยาก ด้วยยาก
เพราะฉะนั้น อุบายวิธีที่จะเอาชนะได้เร็ว อย่างมีประสิทธิภาพ เรารู้จุดอ่อนของธาตุธรรมภาคดำอยู่อย่างหนึ่ง จุดอ่อนนั้นก็คือว่า ธาตุธรรมภาคดำนี่ เค้าจะมีโอกาสดลจิตดลใจสัตว์ได้ต่อเมื่อ สัตว์นั้นส่งจิตใจออกนอกตัว ไปรับไปสัมผัสอารมณ์ภายนอก แล้วก็ไปยึดไปติด ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยตัณหา และทิฐิ คือ ความหลวงผิด กิเลสก็สอดแทรกเข้ามา ให้คิดผิด รู้ผิด เห็นผิด ทำผิด อย่างนั้น แล้วก็ส่งผลทับทวีกันอยู่อย่างนั้น
เพราะฉะนั้น
เคล็ดลับสำคัญของเราคือ#ต้องทำใจให้หยุด
หยุดเพื่ออะไร หยุดตั้งแต่กิเลสหยาบ หยุดทำความชั่ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ไปจนถึงหยุดที่ใจ หยุดที่ใจ พอใจเราหยุดปุ้บ ถูกศูนย์ถูกส่วนเข้าเมื่อไหร่ หมายความว่า ใจเราไม่ออกนอกตัว ใจเราไม่ออกนอกตัวมันก็ไม่สังขาร ไม่ปรุงแต่ง เมื่อมันไม่สังขาร มันไม่ปรุงแต่ง อวิชชาก็ทำอะไรไม่ได้
เสมือนหนึ่งว่า โจรมันมี มันอยู่รอบบ้านเรา มันมีอยู่รอบๆบ้านเราแหละ แต่เราอยู่กลางบ้าน มันก็เลยไม่เข้ามา มันยังเข้ามาไม่ได้ ในขณะที่มันเข้ามาไม่ได้นี่ เราเร่งทำกุศล คุณควมดียิ่งๆขึ้นไป คือ เมื่อเราใจเราหยุดกิเลสทำอะไรเราไม่ได้ เราก็ถูกตัวบุญ
คือ 1. กิเลสนิวรณ์หมดไป เป็นเบื้องต้น เมื่อกิเลสนิวรณ์หมดไปเพียงใดแล้ว เราก็ถึงธาตุธรรมที่สะอาดบริสุทธิ์ ที่เป็นธรรมฝ่ายขาว อันนี้เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานน่ะ ถ้าจะกล่าวรวบยอด เบื้องต้น ท่านให้พิจารณากิเลสนิวนณ์ในใจของเราเสียก่อน ให้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ 5 แล้วกำจัดกิเลสนิวรณ์เสียก่อน
เมื่อกิเลสนิวรณ์หมดไปแล้ว กิเลสอื่นๆซึ่งเป็นธรรมภาคดำ เมื่อเราเข้าไปถึงธรรมขาวด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนหยาบและส่วนละเอียด คือ ใจ เข้าไปละเอียดเพียงใด เราก็ถึงธรรมขาวมากขึ้นเพียงนั้น
หมดทั้งพระไตรปิฎก ที่เราจะศึกษาเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ประชุมรวมกันอยู่ธาตุธรรม 3 ฝ่าย ว่าเราจะต้องเรียนรู้ธรรมดำ เรียนรู้ธรรมขาว เรียนรู้ที่มาของธรรมดำ และ ธรรมขาว
แล้วพึงมีสติสัมปชัญญะ ทำใจให้หยุดให้นิ่งเพื่อกำจัดธรรมดำ เพื่อเข้าถึงธรรมขาวให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
การเข้าถึงด้วยใจ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจว่า การเข้าถึงด้วยใจ เมื่อใจหยุดใจนิ่ง เบื้องต้นกิเลสนิวรณ์หมดไป เพราฉะนั้น ตรงนี้ที่ธรรมะจะเป็นหรือไม่ ให้พึงเข้าใจว่า กิเลสนิวรณ์นี้ มีธรรมภาคขาวซึ่งเป็นธรรมแข่งกันอยู่ เป็นธรรมคู่แข่งนะ อันนี้ก็จึงเป็นเคล็ดลับในการที่จะทำธรรมะให้เป็น ว่านอกจากบุญกุศลที่เราได้เคยสร้างสมอบรมมาแล้ว ประการสำคัญที่สุดเราต้องรู้จักธรรมคู่แข่งของธรรมดำ โดยธรรมขาว
ธรรมดำที่เรียกว่ากิเลสนิวรณ์ที่สำคัญที่สุดคือ ฟุ้งซ่านแห่งจิตใจ แล้วก็ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่าแห่งจิต ความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรม ความหงุดหงิด ความโกรธ ความพยาบาท ไปจนถึงความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เศร้าใจ โทมนัสทั้งหลาย นี่ก็เป็นธรรมภาคดำ เป็นกิเลสนิวรณ์
และประการสำคัญที่สุดคือ ความยินดี พอใจ ยึดติด ในกามคุณทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย
แต่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี่มันจะเกิดขึ้น เรารู้ช่องโหว่ของธรรมดำ คือ ใจอย่าออกนอกตัว นี่ประการที่ 1 ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอก
ประการที่ 2 เราต้องทำธรรมชาติเป็นคู่แข่งกัน เพื่อมาประหารกิเลสนิวรณ์นี้ให้จงได้
คู่แข่งกันมีอะไรจำไว้นะ นี่แหละเป็นเครื่องช่วย ต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิตให้ได้ ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางดวงที่ใสให้ได้ พยายามเข้า
แต่ความพยายามนี้ อย่าบังคับใจนะ ใจบังคับไม่ได้ ยิ่งบังคับล่ะยิ่งไปใหญ่ ยิ่งหงุดหงิดยิ่งไม่ได้ ยิ่งเสียใจ ยิ่งไม่สบายใจ ยิ่งไปกันใหญ่
เพราะฉะนั้นเคล็ดลับมันมีอยู่ว่า ทำใจสบายๆ นึกให้ถึงบุญกุศลที่เราได้สร้างสมอบรมมา ด้วยทานกุศลก็ดี ศีลกุศลก็ดี ภาวนากุศลก็ดี นี้ก็เป็นธรรมในธรรม เราพิจารณาแล้ว อ้อ! เราทำแล้ว เราสบายใจ เรากำลังจะทำ เราสบายใจ นี้อันหนึ่ง เมื่อความสบายใจเกิดขึ้น ใจมันเริ่มสงบ เราก็นึกให้เห็นโดยยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ให้ได้ ด้วยการนึกให้เห็นนิมิตดวงแก้วกลมใสก่อน
ดวงแก้วกลมใสนี่เป็นผลของอาโลกกสิณนะ อาโลกกสิณ กสิณแสงสว่าง แล้วก็เป็นทางนำให้เกิดอุคคหนิมิต ไปจนถึงปฏิภาคนิมิต ใจจะได้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้ดี
แต่ส่วนที่จะถึงอุคคหนิมิตนั่นน่ะ มันต้องเป็นบริกรรมนิมิตก่อน คือ นึกให้เห็นด้วยใจ จำไว้อย่าใช้สายตาเนื้อ ข้อนี้สำคัญ อย่าใช้สายตาเนื้อ วิธีไม่ใช้สายตาเนื้อ และวิธีทำให้จิตใจไม่ออกนอกตัวทำอย่างไร เหลือบตากลับนิดๆ ไอ้นี่ก็เป็นเคล็ดลับเหมือนกัน
เราเหลือบตากลับนิดๆในขณะที่เราหลับตาลง แต่อย่าลืมตานะมันดูไม่สวย อันนี้ก็เป็นธรรมชาติของสัตว์โลกเวลาจะเกิด จะดับ คือตาย จะหลับ จะตื่น จิตมันจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ด้วยอาการอย่างใหม่จะปรากฏลอยขึ้นมา มีการเกิดดับเกิดดับแห่งจิตอยู่อย่างนั้น แต่ว่าจิตดวงเดิมน่ะมันยังอยู่ ไม่ได้ดับไปไหน ถ้าดับก็ต้องตายแน่ แต่อาการของจิตมันแสดงอย่างนั้น ด้วยความปรุงแต่งด้วยผลบุญ หรือ ผลบาป นี่ มันเป็นอย่างนี้
ทีนี้ เมื่อเราเหลือบตากลับนิดๆนี่ สายตาเนื้อมันไม่ทำงาน มันไม่ไปแย่งงานตาใน ทีนี้เมื่อเรารวมใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย โดยตำแหน่งให้อยู่ตรงนั้นนะ ให้หยุดตรงนั้นนะ มันถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม นั่นแหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมตรงนั้น สติปัฏฐาน 4 อยู่ตรงนั้น ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆไปเลย จนถึงนิพพานโน่นน่ะ ตรงนั้นแหละ
เพราะเมื่อใจหยุดตรงนั้นได้ มันจะถูกธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และก็กลางของกลางธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์น่ะ เมื่อเราหยุดนิ่งเข้าไปตรงนั้นแล้วนี่ มันจะถึงคุณธรรมขั้นที่ 2 เป็นความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งเราเรียกว่า ศีลบริสุทธิ์
ศีลบริสุทธิ์นี่ ความจริงถ้าพูดกันธรรมดาเปลือกนอก มันหมายเอาการสำรวมระวังกาย วาจา แต่เมื่อละเอียดเข้าไปแล้ว เราหมายถึง “ใจที่บริสุทธิ์” ด้วยเจตนาความคิดอ่าน
ทีนี้ เมื่อใจมันหยุดนิ่ง กิเลสนิวรณ์หมดไป ใจมันก็บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เมื่อใจบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น กาย วาจา ของกายตั้งแต่มนุษย์หยาบ ไปจนถึงมนุษย์ละเอียด มันก็บริสุทธิ์ ศีลก็บริสุทธิ์ด้วยอาการอย่างนั้น นี่ก็เป็นธัมมานัปัสสนาสติปัฏฐาน
และผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว อาจจะพิจารณาและควรจะมีสติพิจารณาศีลของเราในแต่ละวันละวัน และแต่ละครั้งละครั้ง ก็ดูที่ดวงศีลนี่แหละ แต่ว่าพึงดูเขาเราเป็นสำคัญ ของคนอื่นอย่าไปสน อย่าไปสนใจ ดูตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราเผลอสติไป แล้วคราวหลังนึกได้ เรามาตรวจดู อ้อ! ศีลเราไม่บริสุทธิ์ ใจมันไม่บริสุทธิ์ มันอยู่ตรงนั้น ดูกันตรงนั้น นี่ ศีล ศีลบริสุทธิ์
ถ้าเราประคองดวงศีลนี้ไว้ กาย วาจา และใจ เป็นอันบริสุทธิ์ นี่ เป็นคุณธรรมภายใน ที่เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นธรรมฝ่ายขาว ซึ่งมีสภาวะที่เป็นเครื่องกำจัดธาตุธรรมฝ่ายดำ เข้าใจนะ…..
(หลวงป๋า
เคล็ดลับที่จะเอาชนะธาตุธรรมภาคดำได้เร็ว
คือ…ต้องทำใจให้หยุด
หน้าที่ของเรา เมื่อรู้เช่นนั้นแล้ว จึงมีหน้าที่อยู่ว่า “กำจัดธรรมดำ ยังธรรมขาวให้เจริญ”
แต่วิธีกำจัด กำจัดอย่างไร ?
วิธีกำจัดต้องกำจัดด้วย เบื้องต้น รักษากาย วาจา ใจ ของเราให้เรียบร้อยเีไม่มีโทษ ด้วยการรักษาศีล และด้วยการประพฤติปฏิบัติกุศลกรรมบททั้ง 10 เว้นอกุศลกรรมบท นี้เป็นสำคัญ ให้กาย ให้วาจา ของเราสงบเสียก่อน
ทีนี้ ไอ้ชีวิตที่เราผ่านมา เราทำคละเคล้าปนกันไปหมดทั้งบุญ ทั้งบาป ไอ้ส่วนบุญเราบำเพ็ญบารมีมาเท่าไหร่ก็ตาม แต่เมื่อมีบาปอกุศลเข้ามาสอดมาแทรก มาปิดมาบัง ทำให้เราเข้าถึงธรรมภาคขาวได้ด้วยยาก ด้วยยาก
เพราะฉะนั้น อุบายวิธีที่จะเอาชนะได้เร็ว อย่างมีประสิทธิภาพ เรารู้จุดอ่อนของธาตุธรรมภาคดำอยู่อย่างหนึ่ง จุดอ่อนนั้นก็คือว่า ธาตุธรรมภาคดำนี่ เค้าจะมีโอกาสดลจิตดลใจสัตว์ได้ต่อเมื่อ สัตว์นั้นส่งจิตใจออกนอกตัว ไปรับไปสัมผัสอารมณ์ภายนอก แล้วก็ไปยึดไปติด ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยตัณหา และทิฐิ คือ ความหลวงผิด กิเลสก็สอดแทรกเข้ามา ให้คิดผิด รู้ผิด เห็นผิด ทำผิด อย่างนั้น แล้วก็ส่งผลทับทวีกันอยู่อย่างนั้น
เพราะฉะนั้น
เคล็ดลับสำคัญของเราคือ ต้องทำใจให้หยุด
หยุดเพื่ออะไร หยุดตั้งแต่กิเลสหยาบ หยุดทำความชั่ว ด้วยกาย ด้วยวาจา ไปจนถึงหยุดที่ใจ หยุดที่ใจ พอใจเราหยุดปุ้บ ถูกศูนย์ถูกส่วนเข้าเมื่อไหร่ หมายความว่า ใจเราไม่ออกนอกตัว ใจเราไม่ออกนอกตัวมันก็ไม่สังขาร ไม่ปรุงแต่ง เมื่อมันไม่สังขาร มันไม่ปรุงแต่ง อวิชชาก็ทำอะไรไม่ได้
เสมือนหนึ่งว่า โจรมันมี มันอยู่รอบบ้านเรา มันมีอยู่รอบๆบ้านเราแหละ แต่เราอยู่กลางบ้าน มันก็เลยไม่เข้ามา มันยังเข้ามาไม่ได้ ในขณะที่มันเข้ามาไม่ได้นี่ เราเร่งทำกุศล คุณควมดียิ่งๆขึ้นไป คือ เมื่อเราใจเราหยุดกิเลสทำอะไรเราไม่ได้ เราก็ถูกตัวบุญ
คือ 1. กิเลสนิวรณ์หมดไป เป็นเบื้องต้น เมื่อกิเลสนิวรณ์หมดไปเพียงใดแล้ว เราก็ถึงธาตุธรรมที่สะอาดบริสุทธิ์ ที่เป็นธรรมฝ่ายขาว อันนี้เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานน่ะ ถ้าจะกล่าวรวบยอด เบื้องต้น ท่านให้พิจารณากิเลสนิวนณ์ในใจของเราเสียก่อน ให้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ 5 แล้วกำจัดกิเลสนิวรณ์เสียก่อน
เมื่อกิเลสนิวรณ์หมดไปแล้ว กิเลสอื่นๆซึ่งเป็นธรรมภาคดำ เมื่อเราเข้าไปถึงธรรมขาวด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ส่วนหยาบและส่วนละเอียด คือ ใจ เข้าไปละเอียดเพียงใด เราก็ถึงธรรมขาวมากขึ้นเพียงนั้น
หมดทั้งพระไตรปิฎก ที่เราจะศึกษาเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ประชุมรวมกันอยู่ธาตุธรรม 3 ฝ่าย ว่าเราจะต้องเรียนรู้ธรรมดำ เรียนรู้ธรรมขาว เรียนรู้ที่มาของธรรมดำ และ ธรรมขาว
แล้วพึงมีสติสัมปชัญญะ ทำใจให้หยุดให้นิ่งเพื่อกำจัดธรรมดำ เพื่อเข้าถึงธรรมขาวให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
การเข้าถึงด้วยใจ เธอทั้งหลายพึงเข้าใจว่า การเข้าถึงด้วยใจ เมื่อใจหยุดใจนิ่ง เบื้องต้นกิเลสนิวรณ์หมดไป เพราฉะนั้น ตรงนี้ที่ธรรมะจะเป็นหรือไม่ ให้พึงเข้าใจว่า กิเลสนิวรณ์นี้ มีธรรมภาคขาวซึ่งเป็นธรรมแข่งกันอยู่ เป็นธรรมคู่แข่งนะ อันนี้ก็จึงเป็นเคล็ดลับในการที่จะทำธรรมะให้เป็น ว่านอกจากบุญกุศลที่เราได้เคยสร้างสมอบรมมาแล้ว ประการสำคัญที่สุดเราต้องรู้จักธรรมคู่แข่งของธรรมดำ โดยธรรมขาว
ธรรมดำที่เรียกว่ากิเลสนิวรณ์ที่สำคัญที่สุดคือ ฟุ้งซ่านแห่งจิตใจ แล้วก็ความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่าแห่งจิต ความลังเลสงสัยในการปฏิบัติธรรม ความหงุดหงิด ความโกรธ ความพยาบาท ไปจนถึงความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ เศร้าใจ โทมนัสทั้งหลาย นี่ก็เป็นธรรมภาคดำ เป็นกิเลสนิวรณ์
และประการสำคัญที่สุดคือ ความยินดี พอใจ ยึดติด ในกามคุณทั้ง 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย
แต่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงนี่มันจะเกิดขึ้น เรารู้ช่องโหว่ของธรรมดำ คือ ใจอย่าออกนอกตัว นี่ประการที่ 1 ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอก
ประการที่ 2 เราต้องทำธรรมชาติเป็นคู่แข่งกัน เพื่อมาประหารกิเลสนิวรณ์นี้ให้จงได้
คู่แข่งกันมีอะไรจำไว้นะ นี่แหละเป็นเครื่องช่วย ต้องยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ตรึกตรองประคองนิมิตให้ได้ ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางดวงที่ใสให้ได้ พยายามเข้า
แต่ความพยายามนี้ #อย่าบังคับใจนะ ใจบังคับไม่ได้ ยิ่งบังคับล่ะยิ่งไปใหญ่ ยิ่งหงุดหงิดยิ่งไม่ได้ ยิ่งเสียใจ ยิ่งไม่สบายใจ ยิ่งไปกันใหญ่
เพราะฉะนั้นเคล็ดลับมันมีอยู่ว่า ทำใจสบายๆ นึกให้ถึงบุญกุศลที่เราได้สร้างสมอบรมมา ด้วยทานกุศลก็ดี ศีลกุศลก็ดี ภาวนากุศลก็ดี นี้ก็เป็นธรรมในธรรม เราพิจารณาแล้ว อ้อ! เราทำแล้ว เราสบายใจ เรากำลังจะทำ เราสบายใจ นี้อันหนึ่ง เมื่อความสบายใจเกิดขึ้น ใจมันเริ่มสงบ เราก็นึกให้เห็นโดยยกอารมณ์ขึ้นสู่วิตก วิจาร ให้ได้ ด้วยการนึกให้เห็นนิมิตดวงแก้วกลมใสก่อน
ดวงแก้วกลมใสนี่เป็นผลของอาโลกกสิณนะ อาโลกกสิณ กสิณแสงสว่าง แล้วก็เป็นทางนำให้เกิดอุคคหนิมิต ไปจนถึงปฏิภาคนิมิต ใจจะได้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันได้ดี
แต่ส่วนที่จะถึงอุคคหนิมิตนั่นน่ะ มันต้องเป็นบริกรรมนิมิตก่อน คือ นึกให้เห็นด้วยใจ จำไว้อย่าใช้สายตาเนื้อ ข้อนี้สำคัญ อย่าใช้สายตาเนื้อ วิธีไม่ใช้สายตาเนื้อ และวิธีทำให้จิตใจไม่ออกนอกตัวทำอย่างไร เหลือบตากลับนิดๆ ไอ้นี่ก็เป็นเคล็ดลับเหมือนกัน
เราเหลือบตากลับนิดๆในขณะที่เราหลับตาลง แต่อย่าลืมตานะมันดูไม่สวย อันนี้ก็เป็นธรรมชาติของสัตว์โลกเวลาจะเกิด จะดับ คือตาย จะหลับ จะตื่น จิตมันจะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ด้วยอาการอย่างใหม่จะปรากฏลอยขึ้นมา มีการเกิดดับเกิดดับแห่งจิตอยู่อย่างนั้น แต่ว่าจิตดวงเดิมน่ะมันยังอยู่ ไม่ได้ดับไปไหน ถ้าดับก็ต้องตายแน่ แต่อาการของจิตมันแสดงอย่างนั้น ด้วยความปรุงแต่งด้วยผลบุญ หรือ ผลบาป นี่ มันเป็นอย่างนี้
ทีนี้ เมื่อเราเหลือบตากลับนิดๆนี่ สายตาเนื้อมันไม่ทำงาน มันไม่ไปแย่งงานตาใน ทีนี้เมื่อเรารวมใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกาย โดยตำแหน่งให้อยู่ตรงนั้นนะ ให้หยุดตรงนั้นนะ มันถูกกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม นั่นแหละ เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมตรงนั้น สติปัฏฐาน 4 อยู่ตรงนั้น ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆไปเลย จนถึงนิพพานโน่นน่ะ ตรงนั้นแหละ
เพราะเมื่อใจหยุดตรงนั้นได้ มันจะถูกธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ และก็กลางของกลางธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์น่ะ เมื่อเราหยุดนิ่งเข้าไปตรงนั้นแล้วนี่ มันจะถึงคุณธรรมขั้นที่ 2 เป็นความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งเราเรียกว่า ศีลบริสุทธิ์
ศีลบริสุทธิ์นี่ ความจริงถ้าพูดกันธรรมดาเปลือกนอก มันหมายเอาการสำรวมระวังกาย วาจา แต่เมื่อละเอียดเข้าไปแล้ว เราหมายถึง “ใจที่บริสุทธิ์” ด้วยเจตนาความคิดอ่าน
ทีนี้ เมื่อใจมันหยุดนิ่ง กิเลสนิวรณ์หมดไป ใจมันก็บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เมื่อใจบริสุทธิ์ยิ่งขึ้น กาย วาจา ของกายตั้งแต่มนุษย์หยาบ ไปจนถึงมนุษย์ละเอียด มันก็บริสุทธิ์ ศีลก็บริสุทธิ์ด้วยอาการอย่างนั้น นี่ก็เป็นธัมมานัปัสสนาสติปัฏฐาน
และผู้ที่ปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว อาจจะพิจารณาและควรจะมีสติพิจารณาศีลของเราในแต่ละวันละวัน และแต่ละครั้งละครั้ง ก็ดูที่ดวงศีลนี่แหละ แต่ว่าพึงดูเขาเราเป็นสำคัญ ของคนอื่นอย่าไปสน อย่าไปสนใจ ดูตัวเรา ถ้าเมื่อไหร่เราเผลอสติไป แล้วคราวหลังนึกได้ เรามาตรวจดู อ้อ! ศีลเราไม่บริสุทธิ์ ใจมันไม่บริสุทธิ์ มันอยู่ตรงนั้น ดูกันตรงนั้น นี่ ศีล ศีลบริสุทธิ์
ถ้าเราประคองดวงศีลนี้ไว้ กาย วาจา และใจ เป็นอันบริสุทธิ์ นี่ เป็นคุณธรรมภายใน ที่เรียกว่า ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นธรรมฝ่ายขาว ซึ่งมีสภาวะที่เป็นเครื่องกำจัดธาตุธรรมฝ่ายดำ เข้าใจนะ…..
หลวงป๋า