พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)
เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
การถ่ายทอดวิชชาธรรมกาย…ที่สืบทอดต่อกันมานั้น มีข้อสังเกตว่า
๑. ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอด มีภูมิธรรมภูมิปัญญา…ไม่เท่ากัน
การรับ……จึงไม่เท่ากัน
๒. วาระของการสอนออกไป
แม้บางคนจะมีภูมิธรรมภูมิปัญญาสูง บางทีมาในขณะในสมัยที่กำลังแสดงธรรมนั้น บางทีก็ไม่ได้มา
และบางคนที่มีภูมิธรรมปานกลางก็มา ในส่วนที่กำลังแสดงที่สำคัญบ้าง ไม่สำคัญบ้าง
สรุปง่ายๆว่า แต่ละคนมีโอกาสเข้ามารับฟัง มาเรียนรู้ธรรมปฏิบัติ
โดยเข้ามาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน….จึงได้ธรรมะไปก็ไม่เท่ากันอยู่ดี
๓. ธาตุธรรมแก่กล้าไม่เท่ากัน
อันนี้เป็นพื้นของเก่า หรือจะกล่าวว่ามี “บุพเพกตปุญญตา” ไม่เท่ากัน
แล้วแต่ใครสร้างบารมีมาแบบไหน
บางคนสร้างบารมีมาเพื่อเป็น “ปกติสาวก” เขาก็รับช่วงหนึ่งสมบูรณ์
บางคนสร้างบารมีมาในระดับสูงกว่านั้น คือ
ระดับ “พุทธอุปัฏฐาก” หรือว่า “อัครสาวก” หรือ “อสีติมหาสาวก” เขาก็รับได้มากกว่า
บางคนก็ตั้งจิตอธิษฐานเข้าสู่ “พุทธภูมิ” ท่านเหล่านี้ก็ได้รับมาก
มันจึงเป็นไปตามธาตุธรรมที่แก่กล้าไม่เท่ากัน
และในแต่ละระดับที่ต่างกันนี้ บางทีผู้ที่ปรารถนาต่ำแต่บารมีเต็ม…กลับรับได้ชัดเจน
เหมือนวิทยุเครื่องเล็กจิ๋ว…แต่ว่ารับได้ดี
บางคนแม้จะสร้างบารมีมาในระดับปานกลาง อธิษฐานมาในระดับกลาง ระดับสูง
อาจจะรับได้ดีหรือไม่ได้ดี…เท่าคนที่อธิษฐานบารมีน้อยๆก็ได้
เพราะบารมียังไม่เต็มธาตุธรรม ยังไม่แก่
สรุปใน ๓ เหตุ ๓ ปัจจัยนี้
ทำให้ผู้รับการถ่ายทอด…ได้รับไปสมบูรณ์ไม่เท่ากัน
เพราะฉะนั้นผลก็ออกไปตามส่วนอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
และ หลวงพ่อพระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) มีความรู้สึกว่า
“วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์ และสมบูรณ์ถูกต้อง” … สมควรที่จะได้รับการถ่ายทอดให้กว้างขวางขึ้น
เผยแพร่ให้มากขึ้น และทำให้เป็นหลักเป็นฐาน
เพื่อให้เป็นเอกสาร และพยานบุคคลอ้างอิงได้ต่อไปในอนาคต
เพราะมิฉะนั้นแล้ว
วิชชาธรรมกายอาจจะถูกบุคคล หรือ ศิษยานุศิษย์ที่รับไปไม่เท่ากัน
หรือ บกพร่อง เข้าใจไม่เท่าเทียมกัน หรือ เข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง
นำออกไปปฏิบัติไปถ่ายทอด ที่ไขว้เขวออกไปนอกลู่นอกทางของแนววิชชาธรรมกาย (ซึ่งมีอยู่ตรงกับพระไตรปิฎก) ทำให้เป็นที่เสื่อมศรัทธาของบุคคลได้
*เรียบเรียงจาก
นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๒ ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๙
การรับ……จึงไม่เท่ากัน
๒. วาระของการสอนออกไป
แม้บางคนจะมีภูมิธรรมภูมิปัญญาสูง บางทีมาในขณะในสมัยที่กำลังแสดงธรรมนั้น บางทีก็ไม่ได้มา
และบางคนที่มีภูมิธรรมปานกลางก็มา ในส่วนที่กำลังแสดงที่สำคัญบ้าง ไม่สำคัญบ้าง
สรุปง่ายๆว่า แต่ละคนมีโอกาสเข้ามารับฟัง มาเรียนรู้ธรรมปฏิบัติ
โดยเข้ามาไม่เหมือนกัน ไม่เท่ากัน….จึงได้ธรรมะไปก็ไม่เท่ากันอยู่ดี
๓. ธาตุธรรมแก่กล้าไม่เท่ากัน
อันนี้เป็นพื้นของเก่า หรือจะกล่าวว่ามี “บุพเพกตปุญญตา” ไม่เท่ากัน
แล้วแต่ใครสร้างบารมีมาแบบไหน
บางคนสร้างบารมีมาเพื่อเป็น “ปกติสาวก” เขาก็รับช่วงหนึ่งสมบูรณ์
บางคนสร้างบารมีมาในระดับสูงกว่านั้น คือ
ระดับ “พุทธอุปัฏฐาก” หรือว่า “อัครสาวก” หรือ “อสีติมหาสาวก” เขาก็รับได้มากกว่า
บางคนก็ตั้งจิตอธิษฐานเข้าสู่ “พุทธภูมิ” ท่านเหล่านี้ก็ได้รับมาก
มันจึงเป็นไปตามธาตุธรรมที่แก่กล้าไม่เท่ากัน
และในแต่ละระดับที่ต่างกันนี้ บางทีผู้ที่ปรารถนาต่ำแต่บารมีเต็ม…กลับรับได้ชัดเจน
เหมือนวิทยุเครื่องเล็กจิ๋ว…แต่ว่ารับได้ดี
บางคนแม้จะสร้างบารมีมาในระดับปานกลาง อธิษฐานมาในระดับกลาง ระดับสูง
อาจจะรับได้ดีหรือไม่ได้ดี…เท่าคนที่อธิษฐานบารมีน้อยๆก็ได้
เพราะบารมียังไม่เต็มธาตุธรรม ยังไม่แก่
สรุปใน ๓ เหตุ ๓ ปัจจัยนี้
ทำให้ผู้รับการถ่ายทอด…ได้รับไปสมบูรณ์ไม่เท่ากัน
เพราะฉะนั้นผลก็ออกไปตามส่วนอย่างนี้
เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ หลวงพ่อพระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺตโม)
และ หลวงพ่อพระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล) มีความรู้สึกว่า
“วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์ และสมบูรณ์ถูกต้อง” … สมควรที่จะได้รับการถ่ายทอดให้กว้างขวางขึ้น
เผยแพร่ให้มากขึ้น และทำให้เป็นหลักเป็นฐาน
เพื่อให้เป็นเอกสาร และพยานบุคคลอ้างอิงได้ต่อไปในอนาคต
เพราะมิฉะนั้นแล้ว
วิชชาธรรมกายอาจจะถูกบุคคล หรือ ศิษยานุศิษย์ที่รับไปไม่เท่ากัน
หรือ บกพร่อง เข้าใจไม่เท่าเทียมกัน หรือ เข้าใจผิดบ้างถูกบ้าง
นำออกไปปฏิบัติไปถ่ายทอด ที่ไขว้เขวออกไปนอกลู่นอกทางของแนววิชชาธรรมกาย (ซึ่งมีอยู่ตรงกับพระไตรปิฎก) ทำให้เป็นที่เสื่อมศรัทธาของบุคคลได้
*เรียบเรียงจาก
นิตยสารธรรมกาย ฉบับที่ ๒ ตุลาคม – ธันวาคม พ.ศ.๒๕๒๙