ชยมงฺคโล โพธิสัตว์โต
#คำอธิษฐานพุทธภูมิหลวงป๋า
บุญบารมี๑๐ ประการนั้นมี
ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมะบารมี ปัญญาบารมี
วิริยะบารมี ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี
เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี
เมื่อบารมีเต็ม ก็ขอให้ถึงความตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า และประกอบด้วยทศพลญาณ๑๐ ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศ พระศานาได้มั่นคง คือ
๑. ฐานาฐานญาณ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฎธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขึ้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลและกฎเกณฑ์ทางจริยธรรม เกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่าง ๆ กัน
๒. กรรมวิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน
๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั่งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือปรมัตถะ คือรู้ว่า เมื่อปรารถนาจะข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร
๔. นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลก อันประกอบด้วยธาตุต่าง ๆ เป็น อเนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่าง ๆ ของชีวิตสภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิ การปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่าง ๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านี้
๕. นานาธมุตติกญาณ ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้นของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่าง ๆ กัน
๖. อินทริยปโรปริยัตติญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้น ๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด กิเลสน้อย มิอินทรีย์อ่อนหรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่ตรัสรู้หรือไม่
๗. ณานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว การออกแห่งณาน วิโมกข์ สมาธิและสมาธิทั้งหลาย
๘. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้
๙. จุตูปปาตณาณ ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นไปตามกรรม
๑๐. กาสวักขยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
ขอกุศลผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ประกอบบำเพ็ญไว้ด้วยดีแล้ว มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล
และการอุทิศแผ่ส่วนกุศลนั้น แก่สรรพสัตว์โลกทั้งหลายเป็นต้นนี้ ตั้งแต่อดีต จนตราบเท่าถึงปัจจุบัน
จงเป็นตบะ เดชะ พลวปัจจัย
ให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปราศจากกิเลสนิวรณ์ และวิปัสสนูปกิเลสทั้งหลาย ให้เป็นผู้มีปัญญาอันเห็นชอบในพระอริยสัจทั้ง ๔ และได้ดวงตาเห็นธรรม
ขอให้สิ้นอาสวกิเลส ตัณหา อุปาทาน
และได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ฝ่ายสัมมาทิฏฐิแต่ส่วนเดียว
และขอจงเป็นพลวปัจจัยเกื้อหนุน
๑.ให้แตกฉานในพระไตรปิฎก
มีพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก
๒.ให้ถึงพร้อมด้วยจรณะ ๑๕ ธรรมเครื่องยังให้เกิดและเจริญ โพธิปักขิยธรรม องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ ๓๗ ประการ อันประกอบด้วย ทิพพจักขุ ทิพพโสต สมันตจักขุ ปัญญาจักขุ ธรรมจักขุ และพุทธจักขุ อันบริสุทธิ์
พร้อมด้วยวิชชา ๓ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ และจตุปฏิสัมภิทาญาณ(สำหรับผู้ปรารถนา พุทธภูมิ พึงอธิษฐานเพิ่มว่า …..ให้เจริญด้วย ทศพลญาณ๑๐ ประการ คือ ฐานาฐานญาณ กรรมวิปากญาณ สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
นานาธาตุญาณ นานาธิมุตติกญาณ
อินทริยปโรปริยัตตญาณ ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ
๓.ให้ได้เข้าถึง ได้รู้ เห็น และเป็นพระธรรมกายมรรค ผล และพระนิพพานธาตุ
คือ ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
ทำให้แจ้งทั้งพระนิพพานถอดกาย และทั้งพระนิพพานเป็น โดยพลัน ให้ได้ตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้ ทั้งสังขตธาตุสังขตธรรม และอสังขตธาตุอสังขตธรรมทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง ให้สามารถละธรรมที่ควรละ ให้สามารถเจริญในธรรมที่ควรเจริญ มุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง
๔.ขอให้ได้บุญศักดิ์สิทธิ์ บารมี รัศมี กำลัง ฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ เฉียบขาด เป็นทับทวี
ตามศักดิ์แห่งบารมี และหน้าที่ทนายแห่งพระพุทธศาสนา
๕.ขอให้ข้าพเจ้าได้ชนะศัตรู คือ กิเลสมาร ขันธมาร มัจจุมาร เทวปุตตมาร และอุปาทานในอภิสังขารมาร อันเกิดแต่ตัณหาและทิฏฐิ คือ ความหลงผิด ด้วยบุญศักดิ์สิทธิ์ บารมี รัศมีกำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ เฉียบขาด และขอให้พญามารทั้งหลายพร้อมทั้งบริวาร จงอย่าได้ช่องเข้าครอบงำ ขัดขวาง และทำลายการบำเพ็ญบารมีแห่งข้าพเจ้า ตลอดทั้งเพื่อนผู้ร่วมบำเพ็ญบารมีทั้งหลายของข้าพเจ้าได้
๖.ให้ได้รู้ถูก เห็นถูก ในธรรมที่ควรรู้และควรเห็น
ให้เป็นผู้คิดถูก พูดถูก กระทำถูก นำผู้อื่นถูก
และทรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาของพระบรมศาสดาตลอดไป ในกาลทุกเมื่อ
๗.ขอให้เป็นผู้ฉลาดในอุบาย แห่งความเจริญและความเสื่อม เป็นผู้เฉียบแหลมในอรรถ และ ในธรรม
๘.ขอให้สุข สมบูรณ์ บริบูรณ์ ด้วยปัจจัย ๔ สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลาย
มียวดยานพาหนะ และเครื่องใช้สอยต่างๆ เป็นต้น
ขึ้นชื่อว่าความขาดแคลนในสิ่งเหล่านี้ อย่าได้มี
๙.แม้ว่าข้าพเจ้าจะยังอาภัพอยู่ ยังจะต้องท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร
ก็ขอให้ได้เกิดในฤกษ์สร้างบารมี บริบูรณ์ด้วยสมบัติ ๖ ประการ คือ
กาลสมบัติ ชาติสมบัติ ตระกูลสมบัติ ประเทศสมบัติ ทิฏฐิสมบัติ และอุปธิสมบัติ
ให้ได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา
และขอให้ข้าพเจ้าเป็นเหมือนพระโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้
ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่กระทำอกุศลกรรมอันจะนำไปสู่อบายภูมิอีก
และถ้าหากยังมีเศษกรรมเหลืออยู่ ก็ขออย่าได้ถึงฐานะแห่งความอาภัพต่างๆ
๑๐.เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็ขอให้ได้เพศบริสุทธิ์ เป็นชาย ให้ได้บรรพชาอุปสมบท เป็นผู้มีอายุยืนกว่าอายุขัยของมนุษย์ในกาลนั้นตามปรารถนาและแม้ว่าจะผ่านวัยกลางคน ก็ขอให้มีพลานามัยแข็งแรง อายตนะภายในดีเลิศ และสุขภาพจิตใจดีเลิศ
๑๑.ขอให้ข้าพเจ้าไม่พึงคบมิตรชั่ว ให้พึงคบแต่บัณฑิตในกาลทุกเมื่อ
และขอให้ข้าพเจ้าเป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดี คือ
เป็นผู้มีศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ ประกอบด้วยความเพียรและขันติพึงเว้นจากเวรทั้ง ๕ ไม่เกาะเกี่ยวในกามคุณทั้ง ๕ พึงเว้นจากเปือกตม คือ กาม
พึงยินดีในการรักษาศีล เจริญสมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ โดยสัมมาทิฏฐิแต่ส่วนเดียว
ขอกุศลผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้ประกอบบำเพ็ญไว้ด้วยดีแล้ว มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล
และการอุทิศแผ่ส่วนกุศลนั้น แก่สรรพสัตว์โลกทั้งหลายเป็นต้นนี้ ตั้งแต่อดีต จนตราบเท่าถึงปัจจุบัน
จงเป็นตบะ เดชะ พลวปัจจัย
ให้ข้าพเจ้าเป็นผู้ปราศจากกิเลสนิวรณ์ และวิปัสสนูปกิเลสทั้งหลาย ให้เป็นผู้มีปัญญาอันเห็นชอบในพระอริยสัจทั้ง ๔ และได้ดวงตาเห็นธรรม
ขอให้สิ้นอาสวกิเลส ตัณหา อุปาทาน
และได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ฝ่ายสัมมาทิฏฐิแต่ส่วนเดียว
และขอจงเป็นพลวปัจจัยเกื้อหนุน
๑.ให้แตกฉานในพระไตรปิฎก
มีพระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก
๒.ให้ถึงพร้อมด้วยจรณะ ๑๕ ธรรมเครื่องยังให้เกิดและเจริญ โพธิปักขิยธรรม องค์ธรรมเครื่องตรัสรู้ ๓๗ ประการ อันประกอบด้วย ทิพพจักขุ ทิพพโสต สมันตจักขุ ปัญญาจักขุ ธรรมจักขุ และพุทธจักขุ อันบริสุทธิ์
พร้อมด้วยวิชชา ๓ วิชชา ๘ อภิญญา ๖ และจตุปฏิสัมภิทาญาณ(สำหรับผู้ปรารถนา พุทธภูมิ พึงอธิษฐานเพิ่มว่า …..ให้เจริญด้วย ทศพลญาณ๑๐ ประการ คือ ฐานาฐานญาณ กรรมวิปากญาณ สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
นานาธาตุญาณ นานาธิมุตติกญาณ
อินทริยปโรปริยัตตญาณ ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ จุตูปปาตญาณ และอาสวักขยญาณ
๓.ให้ได้เข้าถึง ได้รู้ เห็น และเป็นพระธรรมกายมรรค ผล และพระนิพพานธาตุ
คือ ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว
ทำให้แจ้งทั้งพระนิพพานถอดกาย และทั้งพระนิพพานเป็น โดยพลัน ให้ได้ตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้ ทั้งสังขตธาตุสังขตธรรม และอสังขตธาตุอสังขตธรรมทั้งหลาย ตามที่เป็นจริง ให้สามารถละธรรมที่ควรละ ให้สามารถเจริญในธรรมที่ควรเจริญ มุ่งตรงต่อมรรคผลนิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง
๔.ขอให้ได้บุญศักดิ์สิทธิ์ บารมี รัศมี กำลัง ฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ เฉียบขาด เป็นทับทวี
ตามศักดิ์แห่งบารมี และหน้าที่ทนายแห่งพระพุทธศาสนา
๕.ขอให้ข้าพเจ้าได้ชนะศัตรู คือ กิเลสมาร ขันธมาร มัจจุมาร เทวปุตตมาร และอุปาทานในอภิสังขารมาร อันเกิดแต่ตัณหาและทิฏฐิ คือ ความหลงผิด ด้วยบุญศักดิ์สิทธิ์ บารมี รัศมีกำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ เฉียบขาด และขอให้พญามารทั้งหลายพร้อมทั้งบริวาร จงอย่าได้ช่องเข้าครอบงำ ขัดขวาง และทำลายการบำเพ็ญบารมีแห่งข้าพเจ้า ตลอดทั้งเพื่อนผู้ร่วมบำเพ็ญบารมีทั้งหลายของข้าพเจ้าได้
๖.ให้ได้รู้ถูก เห็นถูก ในธรรมที่ควรรู้และควรเห็น
ให้เป็นผู้คิดถูก พูดถูก กระทำถูก นำผู้อื่นถูก
และทรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาของพระบรมศาสดาตลอดไป ในกาลทุกเมื่อ
๗.ขอให้เป็นผู้ฉลาดในอุบาย แห่งความเจริญและความเสื่อม เป็นผู้เฉียบแหลมในอรรถ และ ในธรรม
๘.ขอให้สุข สมบูรณ์ บริบูรณ์ ด้วยปัจจัย ๔ สิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหลาย
มียวดยานพาหนะ และเครื่องใช้สอยต่างๆ เป็นต้น
ขึ้นชื่อว่าความขาดแคลนในสิ่งเหล่านี้ อย่าได้มี
๙.แม้ว่าข้าพเจ้าจะยังอาภัพอยู่ ยังจะต้องท่องเที่ยวไปในวัฏฏสงสาร
ก็ขอให้ได้เกิดในฤกษ์สร้างบารมี บริบูรณ์ด้วยสมบัติ ๖ ประการ คือ
กาลสมบัติ ชาติสมบัติ ตระกูลสมบัติ ประเทศสมบัติ ทิฏฐิสมบัติ และอุปธิสมบัติ
ให้ได้มีโอกาสศึกษาและปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ตามแนวทางพระพุทธศาสนา
และขอให้ข้าพเจ้าเป็นเหมือนพระโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้
ได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่กระทำอกุศลกรรมอันจะนำไปสู่อบายภูมิอีก
และถ้าหากยังมีเศษกรรมเหลืออยู่ ก็ขออย่าได้ถึงฐานะแห่งความอาภัพต่างๆ
๑๐.เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ก็ขอให้ได้เพศบริสุทธิ์ เป็นชาย ให้ได้บรรพชาอุปสมบท เป็นผู้มีอายุยืนกว่าอายุขัยของมนุษย์ในกาลนั้นตามปรารถนาและแม้ว่าจะผ่านวัยกลางคน ก็ขอให้มีพลานามัยแข็งแรง อายตนะภายในดีเลิศ และสุขภาพจิตใจดีเลิศ
๑๑.ขอให้ข้าพเจ้าไม่พึงคบมิตรชั่ว ให้พึงคบแต่บัณฑิตในกาลทุกเมื่อ
และขอให้ข้าพเจ้าเป็นบ่อเกิดแห่งคุณความดี คือ
เป็นผู้มีศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ ประกอบด้วยความเพียรและขันติพึงเว้นจากเวรทั้ง ๕ ไม่เกาะเกี่ยวในกามคุณทั้ง ๕ พึงเว้นจากเปือกตม คือ กาม
พึงยินดีในการรักษาศีล เจริญสมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ โดยสัมมาทิฏฐิแต่ส่วนเดียว
คำอธิษฐาน๑๑ประการนี้
เรียบเรียงและปรับปรุงแก้ไขโดย
พระเดชพระคุณ พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล (หลวงป๋า)
เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
เจ้าสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดราชบุรีแห่งที่๑ (โดยมติของมหาเถรสมาคม)
วันพฤหัสบดีที่๑ มีนาคม๒๕๖๑
(ตรงกับวันมาฆบูชา ขึ้น๑๕ค่ำ เดือน๔ ปีจอ)