ภัยพิบัติอยู่ 10 ประการ บนโลก

ป้องกันภัย10ประการ

พระรัตนจักรพระอาจารย์เสน​ เตชธัมโม(พระอาจารย์เต)​เป็นอาจารย์องค์แรกที่นำแนวทางการบำเพ็ญพระรัตนจักรมาสอนหลวงปู่ชื้นนั่งสอนประมาณ1เดือนจนหลวงปู่ชื้นท่านเกิดนิมิตรเป็นพระ3องค์มีกงจักรหมุนอยู่ตรงกลาง​ หลวงปู่ชื้นท่านอยากรู้อะไรก็รู้อยากเห็นอะไรก็เห็น​ พบกับธรรมะสูงสุด​ หลวงปู่ชื้นจึงใด้นำมาสอนลูกศิษย์ให้เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย​ ทาน​ ศีล​ ภาวนา​ เป็นทางที่จะทำให้ทุกคนหลุดพ้นจากวัตตสงสาร​ การเวียนว่ายตายเกิด​ ตามแนวทางสูงสุดของพระพุทธเจ้า
แต่ในยุคกึ่งพุทกาลตามพุทธทำนายจะมีภัย10ประการในยุคกึ่งพุทธกาลนี้​ พระเดชพระคุณหลวงปู่ชื้นท่านจึงสร้างพระเครื่องที่มีสัญลักษณ์เป็นพระรัตนจักร​เพื่อป้องกันภัย10ประการ​ และที่สำคัญท่านเน้นย้ำเรื่อง​ #นิวเคลียร์​ ซึ่งท่านเน้นย้ำเสมอว่าพระรัตนจักรของท่านกันนิวเคลียร์ใด้​ ซึ่งท่านพระอาจารย์เตท่านสร้างขึ้นครั้งแรกแต่สร้างเพียงธงผ้ากาเสาว์พัตรเพียงอย่างเดียวแต่มายุคของพระเดชพระคุณหลวงปู่ชื้นท่านสร้างหลายรูปแบบ​ เพื่อให้ลูกศิษย์ใด้ใช้ป้องกันภัย10ประการและภัยนิวเคลียร์

ธงพระรัตนนจักร ธงผ้ากาสาวพัตร

ป้องกันภัย10ประการ ป้องกันภัยภัยกาลียุค
ช่วงปี 2500 หลังจากที่หลวงปู่ชื้นท่านใด้สำเร็จ ตามคำสอนของพระอาจารย์เสน เตชธัมโม (อาจารย์เต)หลวงปู่ท่านใด้พระรัตนจักรมาในนิมิตรท่าน หลวงปู่ชื้นกับพระอาจารย์เตท่านสร้างผ้ายันต์ธงชัยพระอรหันต์ โดยใช้ผ้าขาว หรือผ้าจีวร มาตัดและเขียนธรรมะท่ี่ท่านใด้บ้างหรือปั้มจักรลงบนผ้าเป็นรูปจักร ภายในจักรมีอักขระขอม ชัยยะมังฆะรัง พุทธังฤทธิ ธัมมังฤทธิ สังฆังฤทธิ
พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอย่างสูงสุด พ้นภัยใด้จริง เชื่อถือจริงจะใด้เห็นจริง ป้องกันภัย 10 ประการ หลังจากที่ท่านอธิฐานจิตแล้วท่านก็แจกจ่ายให้ลูกศิษย์ มาเรื่อยๆ ยันปัจจุบัน หลวงปู่ชื้นท่านเคยเล่าให้ผมฟังว่า ให้เอาผ้ายันต์นี้ปิดที่หน้าบ้าน 1 แผ่น หลังบ้าน 1 แผ่น และพกติดตัว 1 แผ่น ในยุคกึ่งพุทธกาล(พศ2500 เป็นต้นไป) ตามพุทธทำนาย ในโลกมนุษย์จะเริ่มมีเหตุการณ์ต่างๆที่เป็นภัยพิบัติ 10 ประการเกิดขึ้น หลวงปู่ชื้น และพระอาจารย์เต ท่านจึงสร้างผ้ายันต์นี้มาป้องกัน มอบให้แก่ลูกศิษย์ และหลวงปู่ชื้นท่านทำแจก ในปัจจุบันพระอาจารย์สุขัย ท่านก็ยังทำแจกโดยใช้ ตัวพิมพ์ตัวเดิม

ภัยพิบัติอยู่ 10 ประการ บนโลก

  1. ราชภัย ภัยทางราชการลงโทษ
  2. โจรภัย ภัยเกิดแต่โจรผู้ร้าย
  3. อัคคีภัย ภัยเกิดแต่ไฟ
  4. วาตภัย ภัยเกิดแต่ลม
  5. อุทกภัย ภัยเกิดแต่น้ำ
  6. วิวาทภัย ภัยเกิดแต่การทะเลาะวิวาท
  7. โรคภัย ภัยเกิดแต่โรค
  8. อุปัตติภัย ภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า
  9. ทุพภิกขภัย ภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง (ค่าครองชีพสูง)
    10.วินาศภัย ภัยที่ให้ความพินาศอย่างใหญ่หลวง
  10. ราชภัย
    ภัยจากทางราชการ เช่น ถูกจับกุมไปดำเนินคดีในโรงศาล ถูกตัดสินจำคุกบ้าง ปรับให้เสียเงินบ้าง สั่งประหารชีวิตบ้าง ลดตำแหน่งบ้าง ให้ออกจากงานราชการบ้าง เป็นต้น
  11. โจรภัย
    ภัยจากโจรผู้ร้าย เป็นอทินนาทาน มี 3 ลักษณะ คือ
  12. โจรกรรมทรัพย์สมบัติ
  13. อนุโลมโจรกรรม
  14. ฉายาโจรกรรม

ลักษณะโจรกรรมทรัพย์สมบัติ 14 อย่าง คือ :- ขึ้นบน

ก. ลัก คือ ถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น ในเมื่อเจ้าของเขาไม่อยู่ เขาไม่รู้ไม่เห็น เช่น ในเวลาเจ้าของทรัพย์ไม่อยู่บ้าน หรือเวลาเจ้าของทรัพย์นอนหลับอยู่ เป็นต้น เรียกว่า “ลัก”

ข. ฉก คือ แย่งชิงเอาทรัพย์ของผู้อื่น ในเมื่อเจ้าของทรัพย์ประมาทเลินเล่อเผลอตัว ยืนอยู่ก็ตาม เดินอยู่ก็ตาม หรือนอนอยู่ก็ตาม ที่อยู่ในลักษณะเผลอ เรียกว่า “ฉก”

ค. กรรโชก คือ แสดงอำนาจที่มีในตน เช่น อำนาจยศ ตำแหน่งงาน เป็นต้น หรืออ้างอำนาจของผู้อื่นที่เหนือตนขึ้นไป หรืออ้างอำนาจกฎระเบียบต่าง ๆ หรืออ้างสิ่งที่คนส่วนมากยอมรับนับถือ มีอ้างวัดวาอาราม เจดีย์วิหาร ประเพณีที่คนส่วนมากยอมรับ เป็นต้น ยกขึ้นมาเป็นอำนาจขู่ตะคอกเพื่อให้เจ้าของทรัพย์กลัว แล้วเขาจะยินยอมให้ทรัพย์แก่ตนโดยง่าย เรียกว่า “กรรโชก”

ฆ. ปล้น คือ ยกพวกไปพร้อมอาวุธครบมือ โดยใช้กำลังเข้าจับตัวเจ้าของทรัพย์ควบคุมไว้ หรือใช้อาวุธตีให้เจ็บ จากนั้นก็เก็บกวาดเอาทรัพย์ของเขาไปตามความพอใจของตน เรียกว่า “ปล้น”

ง. ตู่ คือ หาเรื่องใส่ความผู้อื่นด้วยความไม่จริง หรือสร้างสถานการณ์ขึ้นเป็นข้ออ้าง แล้วจึงทำการฟ้องร้องเอาทรัพย์สินของเขา ตามที่ตนได้วางแผนไว้แล้วนั้น เรียกว่า “ตู่”

จ. ฉ้อ คือ ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่น ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ผู้อื่นฝากมาและก็อยู่ในกำมือของตนแล้ว เพื่อนำไปให้กับอีกคนหนึ่งนั้น แต่ยึดเอาเป็นของตนเสีย เรียกว่า “ฉ้อ”

ฉ. หลอก คือ ไปพูดกับคนหนึ่งว่า มีคนชื่อโน้น…ให้ข้าพเจ้ามาเอาทรัพย์กับท่านเท่านั้นเท่านี้บาท (ระบุจำนวน) เพื่อนำไปให้เขาดังนี้ เป็นต้น ครั้นได้แล้วก็ริบเอาเป็นของตนเสีย เรียกว่า “หลอก”

ช. ลวง คือ ถือเอาทรัพย์สินของผู้อื่น ด้วยการทำให้เขาเข้าใจผิดคิดว่าเป็นจริง เช่น ชั่งของขายไม่เต็มพิกัด โดยแสดงการลวงเขาว่าพอดีแล้ว เป็นต้น เรียกว่า “ลวง ”

ซ. ปลอม คือ ทำของไม่แท้ให้เขาหลงผิดคิดว่าเป็นของแท้ เช่น ทำธนบัตรปลอม ทำทองคำปลอม ทำน้ำผึ้งปลอม ขี้ผึ้งปนแป้ง น้ำนมโคปนน้ำข้าว เป็นต้น เรียกว่า “ปลอม” ขึ้นบน

ฌ. ตระบัด หรือตระบัดสัตย์ คือ ยืมทรัพย์สินของเขาไปโดยสัญญาด้วยวาจา หรือเขียนเป็นเอกสารว่า จะส่งคืนตามวัน เดือน ปี ที่นัดไว้ แต่เมื่อได้ทรัพย์ไปแล้วไม่ยอมส่งคืนตามนัดเขา กลับริบเอาเป็นของตนเสีย เรียกว่า “ตระบัด”

ญ. เบียดบัง คือ ถือเอาเศษจากรายได้ต่าง ๆ โดยไม่ให้ต้นสังกัดรู้เห็นการกระทำของตน เช่น เศษค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าอาหารกลางวันหรือค่านมนักเรียน ค่าภาษีรายได้ ค่าวัสดุก่อสร้าง กฐิน ผ้าป่า ค่าเปอร์เซ็นต์ในการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น เรียกว่า “เบียดบัง”

ฎ. สับเปลี่ยน คือ ถือเอาสิ่งของของตนที่มีคุณภาพไม่ดี นำไปเปลี่ยนไว้แทนสิ่งของของผู้อื่นที่มีคุณภาพดี ๆ มาใช้ส่วนตัว เป็นต้น เรียกว่า “สับเปลี่ยน”

ฏ. ลักลอบ คือ ลักลอบนำเอาสิ่งของที่ทางการห้ามไว้เข้ามาในบ้านหรือในราชอาณาจักร โดย ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบอยู่นั้น หรือเป็นของอนุญาตแล้วแต่ไม่เสียค่านำมาตามกฎ เกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือลักลอบทำในสิ่งที่ทางการห้ามไว้หรือผู้ปกครองห้ามไว้ เช่น ห้ามสูบบุหรี่ในที่ทำงาน ห้ามดื่มสุราในวันสำคัญ เป็นต้น เรียกว่า “ลักลอบ”

ฐ. ยักยอก คือ ตนมีส่วนแบ่งในสิ่งของเงินทองนั้นอยู่แล้ว (กิจการหุ้นส่วนกัน) แต่เมื่อตนได้รับเลือกให้เป็นกรรมการแบ่งปัน และเมื่อมีการแบ่งส่วนกันจริง ๆ แล้วตนกลับยักยอกเอาส่วนของผู้อื่นไว้เพื่อนำไปเพิ่มเติมเข้ากับส่วนของตน เป็นต้น
เรียกว่า “ยักยอก”

ลักษณะ อนุโลมโจรกรรม 3 อย่าง คือ

ก. สมคบโจร คือ อุดหนุนหรืออุปการะบุคคลผู้เป็นโจร บ้างก็รับซื้อสิ่งของที่โจรกรรมมา บ้างก็ให้ที่พักอาศัยเพื่อความปลอดภัย บ้างก็ให้อาหารเป็นเครื่องยังชีพ บ้างก็ให้พาหนะไปทำโจรกรรม

บ้างก็ให้ทรัพย์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนกิจการของโจร เป็นต้น เรียกว่า “สมคบโจร”

ข. ปอกลอก คือ คบค้าสมาคมหรือสนิทสนมกับผู้อื่นโดยไม่จริงใจ แต่แกล้งทำเป็นรักนับถือจริง ๆ ที่ทำเช่นนั้นก็เพื่อให้เขาตายใจว่าตนรักนับถือจริง ๆ แต่เมื่อเขาหลงผิดคิดว่าเรารักนับถือจริง ๆ แล้วก็เรียกร้องสิ่งของเงินทอง หรือคะแนนนิยม เป็นต้น เมื่อได้สมหวังดังที่ตนตั้งใจไว้แต่แรกแล้วก็เหินห่างจากไปไม่มาแวะเวียนให้เห็นหน้าอีก
เรียกว่าปอกลอก”

ค. รับสินบน คือ ผู้มีอำนาจปกครองหมู่ในสังคมนั้น ๆ แต่ชอบใช้อำนาจผิดกฎกติกาหรือระเบียบแบบแผนที่วางไว้ให้ปฏิบัติ ด้วยวิธีช่วยเหลือคนประพฤติผิดกฎ ผิดระเบียบ โดยเรียกร้อง เงินทองหรือของมีค่าจากเขา เพื่อทำคดีความที่เขาทำผิดให้พ้นจากความผิด หรือทำความผิดมาก ๆ ให้เหลือน้อย เป็นต้น เรียกว่า “รับสินบน”

ลักษณะฉายาโจรกรรม 2 อย่าง คือ
ก. ผลาญ คือ โกรธให้เขาแล้วจองล้างจองผลาญ เพื่อจะหาวิธีการทำให้เขาเจ็บใจ เช่น ไปทำสัตว์เลี้ยงหรือทำสิ่งของของเขาให้เสียหาย บ้างก็ลอบตัดขาโคเขา บ้างก็ลอบตีหัวหมูเขาให้แตก บ้างก็ลอบเผาห้างนาเขา บ้างก็ลอบเผาบ้านเรือนเขา เป็นต้น โดยหวังว่าจะให้กระทบไปถึงเจ้าของเขาเราก็จะหายโกรธแค้นเสียที เรียกว่า “ผลาญ”

ข. หยิบฉวย คือ ไปถือเอาวัสดุสิ่งของของผู้อื่นด้วยความมักง่าย ซึ่งเป็นความสะเพร่าอย่างหนึ่ง โดยไม่ตรวจสอบให้แน่ชัดแล้วหยิบฉวยเอาไป ด้วยคิดว่าเป็นของของตน ดังนี้ เป็นต้น เรียกว่า “หยิบฉวย”ขึ้นบน

  1. อัคคีภัย
    อัคคีภัย ภัยที่เกิดแต่ไฟนั้น บ้างก็เป็นภัยภายนอก บ้างก็เป็นไฟภายใน ไฟภายนอก เช่น บ้างก็ไฟป่า บ้างก็ไฟฟ้า บ้างก็ไฟเตา บ้างก็ไฟธูปเทียน หรือบ้างก็ไฟที่โจรนำมาเผาบ้าน เป็นต้น ส่วนไฟภายในนั้น คือ บ้างก็เป็นไฟราคะหรือโลภะ บ้างก็เป็นไฟโทสะหรือโกธะ บ้างก็เป็นไฟโมหะ
  2. วาตภัย
    ภัยที่เกิดแต่ลม บ้างก็เป็นลมภายนอก บ้างก็เป็นลมภายใน
    ลมภายนอกเช่น บ้างก็เป็นลมใต้ฝุ่น บ้างก็เป็นลมที่มากับฝนอย่างรุนแรง เป็นต้น
    ส่วนลมภายในนั้น เช่น ลมปากของคนอื่นที่ใช้วาทศิลป์กล่อมให้เราเชื่อจนเสียทรัพย์ไป เป็นต้น
  3. อุทกภัย
    ภัยที่เกิดแต่น้ำ บ้างก็เป็นน้ำภายนอก บ้างก็เป็นน้ำภายใน
    น้ำภายนอก เช่น บ้างก็เป็นน้ำป่าไหลหลากมา บ้างก็เป็นน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างแรง บ้างก็เป็นน้ำหนอง บ้างก็เป็นคลอง เป็นต้น
    น้ำภายใน เช่น บ้างก็เป็นกาโมฆะ (น้ำคือความอยากในกามคุณ) บ้างก็เป็นภโวฆะ (น้ำคือความอยากมีอยากเป็นต่างๆ) บ้างก็เป็นทิฏโฐฆะ ( น้ำคือความรู้ที่ไม่ใช่ความรู้) ถ้าน้ำเหล่านี้เกิดท่วมจิตใจที่เป็นกุศลจิตแล้ว ก็ย่อมรับโทษเป็นช่วง ๆ ไป
  4. วิวาทภัย
    ภัยที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท
    การทะเลาะวิวาท เกิดจากต่างคนต่างก็มีอารมณ์เสียด้วยกัน ความเห็นขัดแย้งกัน ผลประโยชน์ขัดกัน เป็นต้น ก็เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น บ้างก็เป็นการทะเลาะวิวาทนิดหน่อย บ้างก็ทะเลาะวิวาทพอประมาณ บ้างก็ทะเลาะวิวาทอย่างรุนแรง และอาจจะยืดเยื้อไปถึงขั้นแตกหัก ฆ่ารันฟันแทงถึงตายได้ เป็นต้น
  5. โรคภัย
    ภัยที่เกิดจากโรค คือ สิ่งเสียดแทงทางกาย ให้เร่าร้อน มีอยู่ 3 กลุ่ม
  6. การไม่มีโรคทางกาย เป็นลาภปรกติธรรมดา
  7. การไม่มีโรคทางจิตใจ เป็นลาภดีกว่าไม่มีโรคทางกาย
  8. การไม่มีโรคมิจฉาทิฏฐิเจตสิก เป็นลาภอย่างยิ่ง ประเสริฐที่สุด
    แต่ถ้าเกิดมีโรคทางกายด้วย โรคทางจิตด้วบ โรคทางมิจฉาทิฏฐิเจตสิกด้วยก็หมายถึงประสบ โรคภัยอย่างร้ายแรง
  9. อุปัตติภัย
    อุปัตติภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าปัจจุบันทันด่วน เช่น อุปัตติภัยในท้องถนนมีรถชน เป็นต้น อุปัตติภัยในอากาศ มีเรือบินระเบิด เป็นต้น อุปัตติภัยในน้ำเช่นเรือล่มจมน้ำ เป็นต้น ถูกไฟคลอกในอาคารที่ถูกไฟไหม้ เป็นต้น ถูกฆาตกรรมด้วยอาวุธต่างๆ เสียชีวิตทันที ทำอัตวินิบาตกรรมด้วยตนของตนเอง ในรูปแบบ นอนหลับใหลเสียชีวิต เป็นต้น เหล่านี้เรียกว่าอุปัตติภัย ภาษาพระเรียกว่า ถูกแผ่นดินสูบ เนื่องจากทำอกุศลกรรมอันหนักเป็นครุกรรมมา คือ อนันตริยกรรม 5 อย่าง มีฆ่าแม่ ฆ่าพ่อ เป็นต้น
  10. ทุพภิกขภัย
    ทุพภิกขภัย คือภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง หมายถึง สิ่งของที่เราบริโภคประจำวันนั้นมีราคาแพงมาก รายได้น้อยแต่รายจ่ายสูง โจรผู้ร้ายชุกชุม เป็นต้น
  11. วินาศภัย
    วินาศภัย คือ ภัยอันทำให้พินาศฉิบหายอย่างใหญ่หลวง เสียหายมาก เช่น พินาศเพราะฝนแล้งบ้าง เพราะน้ำท่วมบ้าง เพราะไฟไหม้บ้าง เพราะสิ่งเสพติดให้โทษแพร่ระบาดในสังคมของตนบ้าง ภัยสงครามบ้าง ภัยจากโรคระบาดแพร่เชื้อเข้าไปในชุมชนหลายพื้นที่ เป็นต้น

ด้วยเหตุปัจจบันของโลกมีเหตุภัย 10ประการ อย่างชัดเจนรวมทั้งในประเทศไทยด้วย

แชร์เลย

Comments

comments

Share: