อมตะธรรมหลวงตา
ศรัทธาการศึกษาสัมมาปฏิบัติถึงธรรมกายและพระนิพพานของพระพุทธเจ้า
ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้ทำงานอยู่สำนักข่าวสารอเมริกัน (US.Information Service, American Embassy กรุงเทพฯ) ข้าพเจ้าได้มีเพื่อนร่วมงาน
อยู่ในแผนกศิลป์และนิทรรศการ (Arts & Exhibits)
ผู้สนใจในพระพุทธศาสนาหลายคน ได้แก่
คุณประเสริฐ เกตุทัต
(หัวหน้าแผนก–ถึงแก่กรรมแล้ว)
คุณประยุทธ เงากระจ่าง (ผู้สร้างหนังการ์ตูนคนแรกของไทย–ถึงแก่กรรมแล้ว) คุณสะอาด ถนอมวงค์ คุณบุญชัย เมธางกูรและคุณนพรัตน์ ลีวศิริ พอเลิกงานตอนเที่ยง รับประทานอาหาร เที่ยงแล้ว ต่างก็กลับมาชุมนุมสนทนาธรรมกันเป็นประจำ ข้าพเจ้าก็ได้ไปร่วมวงสนทนากับเขาด้วยเสมอ หลังจากที่ได้สนทนากันถึงปฏิปทาแนวทางปฏิบัติธรรม ของหลายสำนัก ได้แก่
สำนัก พอง–ยุบ สายวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์
สำนัก “สัมมาอะระหัง (ธรรมกาย)” สายวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
สำนัก “พุทโธ” สายพระอาจารย์ (หลวงปู่) มั่น ภูริทตฺโต
และสำนักอานาปานสติ สายสวนโมกข์ (หลวงพ่อพุทธทาส)
ด้วยวิญญาณของนักวิจัยจึงได้ผลสรุปเพื่อตัดสินใจเลือกแนวทาง ปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย และพระนิพพานของพระพุทธเจ้าของสำนัก “สัมมาอะระหัง” โดยพระเดชพระคุณ
หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ปฏิบัติได้ผลดี คือถึงธรรมกายและพระนิพพาน เป็นที่ประจักษ์แล้วจึงสอนผู้อื่นซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าท่านสอนตรงตามหลักไตรสิกขาคือการศึกษาอบรมกาย–วาจา (ด้วยเจตนาความคิดอ่านที่ดี)
โดยทางศีล และการศึกษาอบรมจิต โดยทางสมาธิ เรียกว่า “สมถภาวนา” และอบรมปัญญา โดยทางวิปัสสนาภาวนา รวมเรียกว่า “สมถวิปัสสนาภาวนา หรือกัมมัฏฐาน ซึ่งเป็นการศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา”คือ มรรคมีองค์ ๘ ที่สมบูรณ์และชัดเจนทุกขั้นตอนในกุฏิ ซึ่งเป็นห้องแคบๆ ท่านห้ามแล้วก็ยังฝืนทำ
มีวันหนึ่ง ท่านเห็นด้วยญาณทัศนะว่าพระภิกษุรูปนั้น ให้ผู้หญิงคนนั้นเข้าไปคุย ด้วยในห้องอีกแล้ว ท่านได้ใช้ให้ศิษย์คนหนึ่งไปดูให้เห็นประจักษ์ ด้วยตา แล้วกลับมารายงานท่าน หลวงพ่อท่านก็ได้ลงโทษให้ขับ ออกไปเสียจากวัด ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง ก่อนพระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ จะมรณภาพ ท่านไม่ทราบว่าวัดมีเงินเท่าใด แต่ท่านปรารภกับ ผู้ใกล้ชิดว่า อยากได้พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มีผู้ขุดเจาะเจดีย์ทุ่งลอ (อยู่จังหวัดพะเยา) แล้วได้นำมาจะถวายแถมขายให้ท่านๆ ก็ถาม ผู้ใกล้ชิดว่า เดี๋ยวนี้มีเงินไหม? ถ้ามีจะได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ นั้นไว้ แล้วให้สร้างเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุนั้น ตรงบริเวณหน้าหอฉัน แต่ทราบจากผู้ใกล้ชิดว่าเงินไม่มี (หรือมีไม่พอ ก็ไม่ทราบ) ในระยะเวลานั้น พระเดชพระคุณหลวงพ่อฯ ท่านจึง ยังไม่ได้พระบรมสารีริกธาตุนั้น ต่อมาภายหลังที่ท่านได้มรณภาพแล้ว มีคฤหบดีได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้ แล้วนำมาถวายไว้ที่ วัดปากน้ำฯ และที่เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายในปัจจุบัน และ พระเดชพระคุณพระราชพรหมเถร รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา ก็ได้เมตตาแบ่งมาให้ไว้ที่ข้าพเจ้าส่วนหนึ่ง เพื่อบรรจุในพระมหาเจดีย์สมเด็จฯ ที่กำลังสร้างอยู่ในขณะนี้ด้วย ก็เป็นที่น่าอนุโมทนาในปฏิปทาและวัตรปฏิบัติของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ยิ่งนัก ที่เคร่งครัดสำรวมในศีลและพระปาฏิโมกข์ โดยไม่จับ ไม่เก็บเงินทองด้วยตัวท่านเองเลย
ต่อมา เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ก็ได้สร้างพระมหาเจดีย์ สำเร็จ และเข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ ทั้งที่มีในครั้งนั้น และที่ได้มีเพิ่มเติมในภายหลัง บรรจุประดิษฐานไว้เป็นที่เคารพสักการะ ณ ภายในพระมหาเจดีย์– รัชมงคลที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้างสำเร็จแล้วนั้นเป็นที่ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งนับเป็นปูชนียวัตถุที่เคารพสักการะสูงสุด ของพุทธศาสนิกชน มาตราบเท่าทุกวันนี้ในส่วนของการศึกษาสัมมาปฏิบัติ สมาธิและปัญญา ชื่อว่าสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้น ในขั้นการเจริญภาวนาสมาธิ
คือ การอบรมจิตให้เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงนั้น ข้าพเจ้าได้ยินว่า พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำฯ ท่านได้อาศัยวิธีการ เพ่งแสงสว่าง ชื่อว่า “อาโลกกสิณ” เอาผลของการเพ่งกสิณแสงสว่าง
จนสามารถถือเอาบริกรรมนิมิต–อุคคหนิมิต–ปฏิภาคนิมิต ซึ่งปรากฏเป็นดวงใสสว่าง ที่มีอานุภาพให้ได้สมาธิ ตั้งแต่ขั้น “ขณิกสมาธิ–อุปจารสมาธิ” และถึง “อัปปนาสมาธิ” ให้เป็นสมาธิแนบแน่นมั่นคงถึงขั้นเป็นฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไปได้นั้น มาใช้ดวงแก้วกลมใส (เช่น ดวงแก้วหินผลึก) เป็นบริกรรมนิมิต เป็นอุบายวิธีใช้สอนศิษยานุศิษย์ให้เจริญภาวนาสมาธิ โดยให้ นึกเห็นดวงกลมใส ใจอยู่ในกลางของกลางดวงกลมใส ประกอบการ
บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆๆๆ” ประกอบกัน ให้ใจสงบ ตรงศูนย์กลางกาย แล้วจะเห็นดวงใสสว่าง คือ “ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์” ในระดับมนุษยธรรม ที่ทำให้มาเกิด–ไปเกิด เป็นมนุษย์….ฯลฯ
และพรรคพวกได้เล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อวัดปากน้ำ”ท่านได้ดวงใสสว่างที่ศูนย์กลางกาย ซึ่งสามารถนึกขยายให้โต(จากวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ถึงคลองเตย (ห่างจากที่ทำงานที่อยู่ ถนนสาธรใต้ประมาณ ๒ กม.) ก็ได้เพื่อนๆ ร่วมสนทนาเขาว่า
อย่างนั้น ทำให้รู้สึกสนใจ อยากลองไปเข้าศึกษาและปฏิบัติดู เพื่อนๆ ก็แนะนำให้ไปที่ “บ้านธรรมประสิทธิ์” (เป็นที่ตั้งมูลนิธิ ธรรมประสิทธิ์ ในครั้งนั้น) อยู่ภายในเขตวัดปากน้ำ ว่าเขาเปิดสอน
ทุกวันอาทิตย์ จึงพาลูกๆ (ลูกสาววัย ๑๔–๑๓–๑๒ ขวบ) ผลัดกันไปเรียน–ฝึกปฏิบัติภาวนาด้วย ในไม่ช้าลูกสาวทั้ง ๓ คน ก็ปฏิบัติได้ถึง “ธรรมกาย” ด้วยอุบายวิธีเบื้องต้นดังที่กล่าวมาแล้วเมื่อญาณทัสสนะของลูกๆ แก่กล้าพอสมควร ทิพย์จักษุ เจริญขึ้น อาจารย์ในครั้งนั้น คือท่านพระอาจารย์ไชยบูลย์ ธมฺมชโย(วิสุทธิผล) คือ พระเทพญาณมหามุนี เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
ในปัจจุบันกับ คุณยายจันทร์ ขนนกยูง เจ้าสำนักปฏิบัติธรรม “บ้านธรรมประสิทธิ์” ได้สอนวิธีเจริญฌานสมาบัติ ชำระธาตุธรรม และจิตใจ/ญาณทัสสนะ ให้บริสุทธิ์ผ่องใส แล้วตรวจภพ–จักรวาล
ดู “ปู่” คือบิดาของข้าพเจ้า ที่ล่วงลับไปก่อนหน้านี้นานแล้ว (ประมาณ ๓๐ กว่าปี) โดยไม่มีรูปถ่ายของท่านไว้เป็นที่ระลึกด้วย
ปรากฏว่าลูกๆ ทั้ง ๓ เห็น “ปู่” กำลังเสวยวิบากกรรม (ได้รับ ผลกรรม) อยู่ในนรก เพราะเวรสุรา (ยาเสพติด–คือ ดื่มสุรา ทีละก๊งสองก๊ง เวลามีก็ดื่ม ไม่มีก็ไม่ดื่ม คือไม่ได้ถึงกับติด จนงอมแงม) แล้วอาจารย์ก็สอนวิธีช่วยคุณปู่ โดยให้ท่านรับศีล ๕
แล้วให้ท่านอนุโมทนาส่วนบุญที่ลูกหลานได้มาเข้าศึกษา– ปฏิบัติภาวนาธรรม และบริจาคทาน ฯลฯ “ปู่” (คือบิดาของข้าพเจ้า) จึงเปลี่ยนภพภูมิเกิดเป็นเทพบุตร (ด้วยกำเนิดโอปปาติกะ)ไปทันที
ณ บัดนั้นเองทำให้ข้าพเจ้าเชื่อถือและศรัทธาในการศึกษาสัมมาปฏิบัติ ตามแนวนี้ อันมีรายละเอียดอยู่ในอริยมรรคมีองค์ ๘ และก็รวมลงในสติปัฏฐาน ๔ ข้อ “มีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม” คือ นิวรณ์ ๕ ตลอดถึงอริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง และวิธีนี้ยังเป็นวิธีการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งรู้–ทั้งเห็น สภาวะธรรม ตลอดถึงอริยสัจธรรม คือ ทุกขสัจจ์ สมุทัยสัจจ์ นิโรธสัจจ์ และมรรคสัจจ์ ตามความเป็นจริงชัดเจน และยิ่งลูกๆ ปฏิบัติได้ถึงอายตนนิพพาน ตามพระพุทธ ดำรัสในนิพพานสูตรว่า “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ….ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะ (คือพระนิพพาน) นั้นมีอยู่…ฯลฯ” ก็จะ
ยิ่งช่วยให้เจริญปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้เห็นบรรดาสังขารธรรมทั้งปวงที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งได้แก่
มีธาตุ–ขันธ์–กรรม–กิเลส และแม้บุญ ปรุงแต่ง
ย่อมตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ “อนิจฺจํ” เป็นของไม่เที่ยง“ทุกฺขํ” เป็นทุกข์ คือทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้นานตลอดไป ผู้ใดยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ (ความเห็นผิด) แล้วย่อมเป็นทุกข์ และสุดท้ายก็แตกสลายหมดสภาพเดิมของมันไป เป็น “อนตฺตา” กล่าวโดยสรุป อุปาทานในขันธ์ ๕ (รูป–เวทนา–สัญญา– สังขาร และวิญญาณ) เป็นทุกข์ ดังพระบาลีว่า
สงฺขิตฺเตน
ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา
และยิ่งได้เห็นว่า ในอายตนนิพพาน (อายตน หมายความว่า บ่อเกิด ที่อยู่ (วาสฏฺฐาน) ซึ่งเป็นที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุที่เห็นด้วยญาณรัตนะ ของพระธรรมกาย ว่าคือธรรมกายตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวก ผู้ดับขันธ์ปรินิพพาน ด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” (พระนิพพานธาตุที่ไม่มีเบญจขันธ์ครอง หรือเหลืออยู่) นี้เอง ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อก่อนแต่จะตรัสรู้ยังเป็นพระมหาโพธิสัตว์อยู่
ได้แสวงหา “โมกขธรรม” เพื่อความหลุดพ้นจากสภาวธรรมที่เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เพื่อความเข้าถึง ได้รู้–เห็น และเป็น “อมตธรรม”คือ ธรรมที่ไม่ตาย เป็นสภาวะที่เที่ยง(นิจจํ) เป็นสุข (สุขํ) และเป็น
อตฺตา ที่วิมุตติหลุดพ้นจากสังขารธรรม อันมีกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเครื่องปรุงแต่งทั้งปวง ดังที่
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา “อนัตตลักขณสูตร” เปรียบเทียบคุณลักษณะของ “อัตตา” อันเป็นคุณลักษณะของพระนิพพานธรรม กับ สามัญญลักษณะ
(อนิจฺจํ–ทุกฺขํ–อนตฺตา) ของสังขารธรรม มีเบญจขันธ์ (ได้แก่รูป–เวทนา–สัญญา–สังขาร–วิญญาณ เป็นต้น) ให้พระปัญจวัคคีย์ผู้ได้บรรลุคุณธรรมเป็นพระโสดาบัน และตกกระแสพระนิพพานหมดทั้ง ๕ องค์แล้ว ว่า
“ถ้ารูป…ฯลฯ “จักได้เป็นอัตตาแล้วไซร้
รูป…ฯลฯ นั้น ก็ไม่พึ่งเป็นไปเพื่ออาพาธซิ….แต่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เพราะรูปเป็น “อนัตตา” รูป…ฯลฯ จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
พระพุทธองค์ได้ตรัสอีกว่าอสังขธรรม มีอยู่
การสลัดออก ซึ่งสังขตธรรม (มีเบญจขันธ์ เป็นต้น) จึงปรากฏดังพระพุทธดำรัส มีมาในปาฏิคามิวรรค อุทาน ว่า
อตฺถิ ภิกฺขเว อชาตํ อภูตํ อกตํ
อสงฺขตํ, โน เจ ตํ ภิกฺขเว อภวิสฺส อชาตํ
อภูตํ อกตํ อสงฺขตํ, นยิธ ชาตสฺส ภูตสฺส
กตสฺส สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญาเยถ,
ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว อตฺถิ อชาตํ อภูตํ
อกตํ อสงฺขตํ ตสฺมา ชาตสฺส ภูตสฺส กตสฺส
สงฺขตสฺส นิสฺสรณํ ปญฺญายติ.
แปลความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ
อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัย
กระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติ
อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัย
กระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่ง ไม่ได้แล้ว
จักไม่ได้ มีแล้วไซร้ การสลัดออก
ซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัย
กระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏ
ในโลกนี้เลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็แลเพราะ
ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้วไม่เป็นแล้ว
อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้วปรุงแต่งไม่ได้แล้ว
มีอยู่ฉะนั้นการสลัดออกซึ่งธรรมชาติ
ที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัย กระทำแล้ว
ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ.
หลวงพ่อวัดปากน้ำพระมงคลเทพมุนี
(สด จนฺทสโร)
ท่านปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ได้ถึงธรรมกาย และอายตนนิพพานท่านจึงกล่าวเสมอว่า พระพุทธองค์เมื่อก่อนแต่จะตรัสรู้ ได้ทรงแสวงหาโมกขธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากธรรมที่เป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ
อนตฺตา ที่ต้องตาย ( คือ มตธรรม) และเพื่อความบรรลุถึงธรรมที่ไม่ตาย คือ ธรรมที่ทรงสภาวะ นิจฺจํ สุขํ และ อตฺตา นั่นเอง
อนึ่ง ในวิปัสสนากถา ปัญญาวรรคนี้ คุณลักษณะของพระนิพพานธรรม ที่เป็นตรงกันข้ามกับ “อนัตตา” ท่านกล่าวว่า“ปรมตฺถํ” (มีประโยชน์สูงสุดยิ่ง) แม้นั้นก็ตาม ก็เป็นคุณลักษณะร่วมในคุณลักษณะ ๔๐ ข้อ ที่ท่านแสดงไว้ในวิปัสสนากถานี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นคุณลักษณะร่วมกับ
อสังขตธรรมด้วยกันนั่นเอง ดังเช่นว่า
ปญฺจกฺขนฺเธ สงฺขตโต ปสฺสนฺโต อนุโลมิกํ ขนฺตึ ปฏิลภิ.ปญฺจนฺนํ ขนฺธานํ นิโรโธ อสงฺขตํ นิพฺพานนฺติ ปสฺสนฺโต สมฺมตฺตนิยามํโอกฺกมติ
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ
อันปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ย่อมหยั่งลงสู่สัมมัตตนิยาม ๓
(อธิบายว่า เที่ยงต่อการบรรลุมรรคผล ได้แก่
หยั่งลงในขณะมรรคญาณ และผลญาณ)
แล้วปรากฏในพระพุทธดำรัส แสดงคุณลักษณะ เป็นเช่นเดียวกับ “อัตตลักษณะ” ว่า
น อุปฺปาโท ปญฺญายติไม่ปรากฏความเกิด ๑
(คือ “ไม่เกิดใหม่อีก”)
น วโย ปญญายติ ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย ๑
(คือ “ไม่ตาย”)
น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ
เมื่อตั้งอยู่ ไม่ปรากฏความแปรปรวน (เป็นอื่น) ๑
(คือ “เที่ยง”)
ซึ่งเป็นสภาวะที่ตรงกันข้ามกับ “สังขตธรรม”๕
(มีเบญจขันธ์ เป็นต้น)
อุปฺปาโท ปญฺญายติ ปรากฏความเกิด ๑
วโย ปญญายติปรากฏความเสื่อมสลาย ๑
(คือ “ตาย”)
ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ เมื่อตั้งอยู่ ปรากฏความแปรปรวน (เป็นอื่น) ๑ (คือ “ไม่เที่ยง”)
สมเด็จพระสังฆราชแพ (ติสฺสเทวมหาเถร)
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร ท่านแสดงไว้ว่า ความรู้ที่เกิดปัญญาของเราจริงๆ นั้น ควรต้องรู้ทั้ง ๒ อย่าง คือ รู้ฝ่ายรับและฝ่ายปัด รู้ทั้งของแท้และของเทียม จึงจัดเป็นความรู้จริง ฉะนั้นฉันใด คนที่ไม่รู้จักอัตตาแล้ว จะรู้จักว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา
นั้นไม่ได้ ถึงเห็นและพูดอยู่ก็เห็นและพูดตามสัญญาเท่านั้นไม่ใช่ความรู้ความเห็นตนเอง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และอริยชนพุทธสาวกของพระองค์ ผู้มีญาณจักษุอันเสร็จมา
แต่พระอริยมรรคท่านเห็นว่า ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน
เพราะท่านได้ธรรมอย่างอื่น คือ พระนิพพานเป็นอัตตาแล้ว
ความรู้ของท่านเป็นความรู้จริงแท้ เพราะฉะนั้นแล พระองค์จึง
ตรัสกับพระพวกเบญจวัคคีย์ว่า อมตธรรมเราได้แล้ว ครั้นต่อมา
พระองค์ก็ทรงแสดงขันธ์ ๕ เหล่านั้นว่าเป็นอนัตตา ให้พระ
พวกเบญจวัคคีย์ฟัง เช่นนี้ พิจารณาดูเถอะ คนที่ไม่ได้อัตตาจะพูดว่า
ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาอย่างไรได้ ๖
หลวงปู่มั่น (พระอาจารย์) ภูริทตฺตมหาเถร
ได้แสดงโวหารธรรม ว่า
“ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่า
ได้ตน เพราะตัวตน เป็นที่เกิดแห่ง
สมบัติทั้งปวง”
และพระเดชพระคุณท่านได้แสดงโวหารธรรมอัน
เกี่ยวเนื่องกับสภาวะพระนิพพานธรรม ว่า
“พระขีณาสพเจ้าทั้งหลายดับโลก ๓
รุ่งโรจน์อยู่ คือ ทำการพิจารณา และบำเพ็ญเพียร
เป็น ภาวิโต พหุลีกโต คือทำให้มาก เจริญให้มาก
จนจิตมีกำลังสามารถพิจารณาสมมติทั้งหลาย
ทำลายสมมติทั้งหลายลงไปได้ จนเป็นอกิริยา
ก็ย่อมดับโลก ๓ ได้ การดับโลก ๓ นั้นท่าน
พระขีณาสพเจ้าทั้งหลายมิได้เหาะขึ้นไป
ในกามโลกรูปโลกอรูปโลกเลยทีเดียวคงอยู่
กับที่นั่นเอง แม้พระบรมศาสดาของเราก็
เช่นเดียวกัน พระองค์ประทับนั่งอยู่ ณ ควงไม้–
โพธิพฤกษ์แห่งเดียว เมื่อจะดับโลก ๓ ก็มิได้
เหาะขึ้นไปในโลก ๓ คงดับ อยู่ที่จิต จิตนั่นเอง
เป็นโลก ๓ ฉะนั้น ท่านผู้ต้องการดับโลก ๓
พึงดับที่จิตของตนๆจนทำลายกิริยา คือ
ตัวสมมติหมดสิ้นจากจิตยังเหลือแต่อกิริยา
(คือนิโรธธาตุ/พระนิพพานธาตุ) เป็นฐิติจิต
ฐิติธรรม อันไม่รู้จักตาย (อมตธรรม) ฉะนั้น
จึงยิ่งทำให้เห็นพระอริยสัจจธรรม
คือ ทุกขสัจจ์–สมุทัยสัจจ์–นิโรธสัจจ์
(สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุปัจจัยดับ) และมรรคสัจจ์ (หนทางปฏิบัติให้ถึงความพ้นทุกข์ และถึงความ เจริญสันติสุข) คือ โมกขธรรม ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เป็นทางให้บรรลุคุณธรรม ถึงอริยมรรค/ผล ได้ ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพสูง
ก็ยิ่งมีศรัทธาปสาทะ ในการศึกษาสัมมาปฏิบัติตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ถึงธรรมกาย และพระนิพพานของพระพุทธเจ้าที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านปฏิบัติได้เข้าถึง–ได้รู้–ได้เห็น–ได้เป็น–อย่างมั่นคง–ไม่คลอนแคลนแม้ตัวข้าพเจ้าเองนั้น การศึกษาสัมมาปฏิบัติธรรมก็ยังไม่ได้เจริญเท่าที่ควรเหมือนลูกๆ จึงต้องพยายามต่อไปและต่อๆ มาจนปัจจุบัน แต่ก็ได้อาศัยข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Source)ที่เชื่อถือได้ จากลูกๆ ที่มิได้มีมายาสาไถย และที่ถูกต้องตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และที่สมบูรณ์ดีขึ้นเป็นลำดับ ก่อให้เกิดศรัทธา–วิริยะ–สติ–สมาธิ–ปัญญา ดีขึ้น และค่อยๆ แก่กล้าเป็น “พละ คือ พลัง” อันได้แก่ ศรัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ และปัญญาพละ สูงๆ ขึ้น ต่อมาเป็นลำดับแต่ก็ยังไม่ถึงกับก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชน (โดยความบรรลุมรรคผล) เป็นพระอริยบุคคลได้ ด้วยยังมีเหตุปัจจัยหลักๆ ของผู้ปรารถนา
พุทธภูมิ ที่จักต้องบำเพ็ญต่อๆ ไปอีกนาน ทั้งด้วยศรัทธาและปัญญาตามรอยพระศรัทธา–ปัญญาธิกโพธิสัตว์ ที่มีมาแต่อดีตจนได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามานับไม่ถ้วน จนกว่า
บุญบารมีจะเต็มบริบูรณ์ ให้สามารถบำเพ็ญสมณธรรมถึงความตรัสรู้พระอริยสัจจธรรมกล่าวคือ “โมกขธรรม” ตามรอยบาท
พระพุทธองค์ ด้วยตนเองได้
หลวงป๋า