ประวัติความเป็นมาของพระคาถามหาโภคทรัพย์

@@@ ประวัติความเป็นมาของพระคาถามหาโภคทรัพย์ @@@

พระครูอาทรปริยัติสุธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และพระธรรมทูตสายต่างประเทศรุ่นที่ ๒๗ ได้เริ่มเรียนพระคาถามหาโภคทรัพย์แผ่เมตตานี้กับพระเดชพระคุณพระเทพญาณมงคล วิ.(เสริมชัย ชยมงฺคโล) พระวิปัสสนาจารย์ ปฐมเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และอดีตประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดแห่งประเทศไทย (ศปท.) ประมาณ ๑๕๐๐ สำนัก ทั้งธรรมยุต และมหานิกาย ตั้งแต่เมื่อปี ๒๕๕๒ (อายุวัฒนมงคล ๘๐ ปี ๖ มีนาคม ๒๕๕๒ ) ต่อมาได้ขออนุญาตหลวงป๋า จัดสร้างของขวัญ ตระกูลวัดหลวงพ่อสดฯ คือ พระผงและเหรียญรูปเหมือนหลวงป๋ารุ่นเอก (รุ่น ๑) เพื่อเป็นบริกรรมนิมิตในการเจริญจิตตภาวนา จึงอัญเชิญพระคาถามหาโภคทรัพย์เขียนเป็นยันต์มหาโภคทรัพย์ไว้ด้านหลัง โดยหลวงป๋าได้จับมือพระครูอาทรปริยัติสุธี เขียนแผ่นยันต์ต้นแบบปฐมฤกษ์นี้ และเมื่อมีโครงการจัดสร้างพระพุทธบรมจักรพรรดิชัยมงคล หน้าตัก ๑๐๘ นิ้ว สำเร็จด้วยเหล็กไหล “ฉกษัตริย์จักรพรรดิราชา “ ประกอบด้วย ๑.เหล็กไหลวัชรธาตุ ๒.เหล็กไหลช่อทิพย์เงินยวง ๓.เหล็กไหลเปียก ๔.เหล็กไหลหยาดน้ำทิพย์เทวราชา ๕.เหล็กไหลสุวรรณจักรพรรดิราชา ๖.เหล็กไหลสุริยันจักรพรรดิราชา พระประธานประจำพระเจดีย์ศรีชัยมงคล วัดศิลาอาสน์ อำเภอศรีบุญเรืองจังหวัดหนองบัวลำภู บ้านเกิดของข้าพเจ้า (พระครูอาทรปริยัติสุธี) ได้เริ่มเผยแผ่พระคาถานี้ สู่พุทธศาสนิกชน โดยขออาราธนาบารมีพระโพธิญาณเข้าพระนิพพานเป็น และกฤษฎาภินิหาริย์ของพระโพธิสัตว์ พระมงคลเทพมุนี หลวงปู่วัดปากน้ำ (สด จนฺทสโร) หลวงปู่พระราชพรหมเถระ (วีระ คณุตฺตโม) หลวงปู่พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล) หลวงป๋า และพระบูรพาจารย์ ครบถ้วน ๑๐ ปี ๒๕๕๒-๒๕๖๒ เริ่มประกาศเผยแผ่พระคาถามหาโภคทรัพย์แผ่เมตตา ให้พุทธศาสนิกชนได้สาธยาย/สวดบริกรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม เจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานให้ได้สำเร็จอธิษฐานบารมีและถึงพระธรรมกายโดยเร็วพลัน เป็น”สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา” แปลว่า ปฏิบัติสบายๆ แต่ตรัสรู้ได้อย่างรวดเร็ว เริ่มตั้งแต่ พรรษาปี ๒๕๖๓ ณ พระเจดีย์ศรีชัยมงคล วัดศิลาอาสน์ อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จึงบันทึกไว้ในธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ตลอดไป พระครูอาทรปริยัติสุธี President and Meditation Master International Buddhist Center of Basel Switzerland

แชร์เลย

Comments

comments

Share: