พระพญาเหล็กยุคแรก ของหลวงป๋า จะไม่มียันต์พุฒซ้อน

พระพญาเหล็กยุคแรก ของหลวงป๋า จะไม่มียันต์พุฒซ้อนครับ ซึ่งทำให้แยกยากมาก ระหว่างของหลวงป๋า และของหลวงพ่อหวลวัดพุไธสวรรค์ ปี43หลวงป๋าให้พระพญาเหล็กประจำตัว กับพระเณรในวัดไว้ใช้ ก็ไม่มียันต์พุฒซ้อน ส่วนองค์นี้ข้าพเจ้าได้มาจากป้าตุ้ม(ป้าข้าพเจ้าเอง) ในสมัยนั้น ท่านทำบุญไปหมื่นห้า หลวงป๋าจึงให้พระขรรค์เงินยวง พระนางพญาเงินยวง และพระชัยวรมันแก่ป้าข้าพเจ้า

วิมังสา อิสะวาสุ ถูกตามนั้นครับ ยุคแรกๆพระพญาเหล็กที่หลวงป๋าอัญเชิญผ่านพิธีการหุงขี้ผึ้งนั้น…ไม่มีการจารอักขระหรือยันต์ใดๆ เพราะฉะนั้น ในระยะเวลาเช่นนั้น พระพญาเหล็กบางแบบจึงดูละม้ายคล้ายกัน ระหว่างของหลวงพ่อหวล ภูริภมฺโท วัดพุทไธศวรรย์ กับของหลวงป๋า วัดหลวงพ่อสด…ซึ่งทั้งสองต่างได้สืบวิชามาจากท่านอาจารย์ปู่สุทัศน์ คนเดียวกันครับ

ธัชชัย ศรีอาจผู้เขียน วิมังสา อิสะวาสุ พิมพ์แรกที่อันเชิญผ่านพิธีเข้าหุ่นเทียนขี้ผึ้ง เชิญครั้งแรกในวัดเลยครับ น่าจะเป็นพิมพ์ น้ำเต้าครับ สมัยก่อนตอนผมเป็นเณร หลวงป๋าจะให้ช่วยกันทำที่กุฏิ๙ ตรงชั้นล่างครับ จำความได้วันนั้นมีเณรมาช่วยกัน 3รูป มีเณรโก๊ะ(นที รอดรัศมี) มีเณรป๋อง(ลูกหมอประธาน วรรณเกษม) และกระผมเอง พระเณรท่านอื่น ก็แวะมาชมนะ แต่ก็ไม่ช่วยตลอด จนเสร็จ108ลูก ใช้วิธีแกะหุ่นเทียน เป็นรูปน้ำเต้า ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเหล็ก น่าจะสิบเท่าครับ คือสมัยก่อนใช้เทียนขี้ผึ้งเยอะมาก เณรโก๊ะกับเณรป๋องแต่งพิมพ์ ส่วนตัวผมใช้ไดร์เป่าผม เป่าผิวให้หุ่นเทียนเรียบ และทิ้งลงในกระมังที่มีน้ำครับ

วิมังสา อิสะวาสุธัชชัย ศรีอาจ ผมอาจจะเคยเห็นท่านเณรนะ แต่คงจำไม่ได้ละ มันนานมาก…ผมช่วยงานหลวงป๋าด้านการประชาสัมพันธ์และการทำนิตยสารธรรมกายครับ พอนึกออกบ้างไหม…แรกเลยครั้งที่ท่านเรียกเอง โดยไม่มีอาจารย์ปู่ช่วยนั้น เข้าใจว่าหลวงป๋าท่านให้มีขนาดหุ่นขี้ผึ้งยังไม่สัมพันธ์กับกระแสจิต เลยออกมาได้เล็กนิดเดียว(ชิ้นนันผมยังมีอยู่ ให้ภรรยาใช้เป็นจี้ห้อยคอ) แต่ต่อมาท่านเข้าใจ จึงบอกว่า ต้องมีหุ่นใหญ่กว่าขนาดจริงที่ต้องการ 8 เท่า…ต่อมาท่านชำนาญมากแล้ว หุ่นขนาดใดก็ได้ทั้งนั้น ท่านสั่งกำหนดจิตเอง

แชร์เลย

Comments

comments

Share: