วัดเชิงท่า และ วัดท้ายอ่าว เป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก วัดท้ายอ่าว ชาวบ้านมักนิยมเรียกกันว่า วัดหน้าโบสถ์บ้าง วัดหลวงพ่อเสือบ้าง มีถาวรวัตถุโดยเฉพาะอุโบสถเก่า ซึ่งมีร่องรอยจิตรกรรมฝาผนังด้วย ภายในอุโบสถมีพระประธานที่ชาวบ้านเรียกว่า “ หลวงพ่อโต ” ที่คงสภาพสมบูรณ์ ส่วนวัดเชิงท่า มีที่ธรณีสงฆ์ วัดริมท่า และ วัดคาโมค เป็นที่ตั้ง มีเจดีย์และอุโบสถเก่า ที่คงสภาพสมบูรณ์เช่นกัน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนประกาศเป็นโบราณสถานวัดเชิงท่า กับ วัดหน้าโบสถ์ ไม่ปรากฏหลักฐานในการสร้างที่ชัดเจน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลางพร้อมกับวัดเชิงเลน (โดยในประวัติของวัดเชิงเลนได้ระบุว่า วัดเชิงเลน ได้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนกลาง พร้อมกับวัดเชิงท่า) สันนิษฐานว่า พญาเจ่ง เจ้าพระยามหาโยธา เป็นผู้สร้างขึ้น เจ้าพระยามหาโยธา นามเดิมว่า เจ่ง แปลว่าช้าง เป็นมอญนอก เดิมทำราชการอยู่กับพม่า ได้เป็นเจ้าเมืองเชียงแสนอยู่คราวหนึ่ง มีเชื้อสายสืบกันมาอยู่ในเมืองนครลำปาง แล้วจึงย้ายไปอยู่เมืองเตริน (อังกฤษเรียกว่า อัตรัน) อันเป็นเมืองข้างตอนใต้ ครั้งเมื่อสมัยกรุงธนบุรี พวกมอญนอกถูกพม่ากดขี่เหลือทนเกิดเป็นกบฏขึ้น พญาเจ่ง เป็นหัวหน้าของพวกมอญกบฏคนหนึ่ง รวมกำลังยกขึ้นไปตีเมืองร่างกุ้ง สู้พม่าไม่ได้ก็พากันอพยพครอบครัวเข้ามาพึ่งไทย ในครั้งกรุงธนบุรีจะมีบรรดาศักดิ์อย่างใดไม่ทราบ เมื่อถึงรัชการที่ ๑ ทรงตั้งให้เป็น เจ้าพระยามหาโยธา จางวางกองมอญ ต่อมาได้รบพุ่งพม่ามีความชอบมาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้เลื่อนเป็น เจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ เป็นผู้สร้างวัดเกาะพญาเจ่ง ซึ่งในประวัติวัดเกาะพญาเจ่ง พญาเจ่งเจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ ได้นิพนธ์เป็นคำกลอนไว้ว่า เสร็จศึก สร้างวัด สลัดบาป แสวงบุญ คือวัดเชิงท่า บางตลาด วัดเกาะบางพูดนุสสรณ์บุญ ”“ นำพล ๓,๐๐๐ จากรัฐมอญมาพึ่งพระบารมี เมื่อปี ๒๓๑๘ โปรดให้อยู่ที่ปากเกร็ด สามโคก เป็นนายทัพรบศึก ชราสร้างวัดเชิงท่าก่อนวัดเกาะ มตะปี ๒๓๖๕ อายุ ๘๓ ปี จึงสันนิษฐานได้ว่า พญาเจ่ง เจ้าพระยามหาโยธานราธิบดีศรีพิชัยณรงค์ เป็นผู้สร้างวัดเชิงท่า ส่วนวัดหน้าโบสถ์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง สันนิษฐานว่า สร้างในเวลาที่ใกล้เคียงกันกับวัดเชิงท่าต่อมา พ.ศ.๒๔๙๖ กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนเจ้าพระยาขึ้น เพื่อประโยชน์ในการกสิกรรมและการคมนาคมทางน้ำ การก่อสร้างเขื่อนใหญ่แห่งนี้ ใช้ที่บริเวณอำเภอเมือง และอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท เป็นสถานที่ก่อสร้าง และจำเป็นต้องมีการตระเตรียมงานต่าง ๆ เช่น โรงงานที่จะผลิตซ่อมบำรุงเครื่องมือ เครื่องจักร อู่เรือ ที่พักช่าง พนักงาน และคนงาน ตลอดจนคลังพัสดุเพื่อเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้างอีกแห่งหนึ่ง ด้วย รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินบริเวณตำบลบางตลาด อำเภอปากเกร็ด ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.๒๔๙๖ เพื่อเวนคืนที่ดินให้แก่กรมชลประทาน การเวนคืนที่ดินบริเวณดังกล่าว ได้ถูกที่ธรณีสงฆ์ของ วัดเชิงท่าและวัดหน้าโบสถ์สร้างวัดใหม่เพื่อให้พระภิกษุสามเณรจากวัดเชิงท่าและวัดหน้าโบสถ์หม่อม หลวงชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในขณะนั้น จึงได้นำความกราบเรียนสังฆมนตรี เพื่อพิจารณาถึงความจำเป็นและขอความเห็นชอบ คณะสังฆมนตรี เห็นความจำเป็นของกรมชลประทานที่จะขยายงานให้ได้ประโยชน์แก่ประเทศชาติอัน เป็นส่วนรวม จึงเห็นชอบให้โอนที่ วัดเชิงท่าและวัดหน้าโบสถ์ ให้แก่กรมชลประทาน โดยให้กรมชลประทานจัดสร้างวัดขึ้นใหม่วัดหนึ่ง เพื่อให้พระภิกษุสามเณรทั้งสองวัดไปจำพรรษารวมกัน ซึ่งการดำเนินการให้เป็นหน้าที่ของกรมชลประทานทั้งหมด สาเหตุก็โดยที่กรมชลประทานมีที่ดินด้านทิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา มีวัดเชิงท่ากับวัดหน้าโบสถ์ ขวางอยู่ ทำให้ขยายสถานที่สร้างท่าเรือไม่สะดวก จึงได้แลกเปลี่ยนและย้ายวัดทั้งสองมาสร้างขึ้นใหม่ทางทิศตะวันออก ถนนติวานนท์ที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน การย้ายวัดเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๒ จึงเสร็จเรียบร้อย พระภิกษุสงฆ์เข้าจำพรรษาได้ กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศรวมวัดทั้งสองเป็นวัดเดียวกัน เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๐๓ โดยวัดที่สร้างขึ้นใหม่นี้ แม้กาลต่อไปภายหน้าก็จะต้องอยู่ในความอุปการะของกรมชลประทาน หม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในขณะนั้น จึงได้กราบทูล สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) วัดสระเกศ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เพื่อพิจารณาตั้งชื่อวัดขึ้นใหม่ จึงได้นามวัดใหม่ว่า “ วัดชลประทานรังสฤษฏ์ ” แปลว่า วัดที่กรมชลประทานสร้างดังนั้น วัดชลประทานรังสฤษฏ์ จึงเป็นการสร้างขึ้นโดยการรวมเอา วัดเชิงท่ากับวัดหน้าโบสถ์ เข้าเป็นวัดเดียวกัน