เรื่องเล่าจาก

เรื่องเล่าจาก ‘คุณครูตรีธา เนียมขำ’

เรื่องเล่าจาก ‘พระอาจารย์สุวิชา เปสโล คณะเนกขัมม์ วัดปากน้ำ’
เรื่องเล่าจาก ‘ลุงประคอง ทับจ้อย’
เรื่องเล่าจาก ‘แม่ชีรัมภา โพธิ์คำฉาย’
เรื่องเล่าจาก ‘ป้าฉลวย สมบัติสุข’
‘ตาทิพย์ เห็นพระพุทธรูปใต้ดิน
‘ลูกเอ็งจะแจวเรือผ่านมานะ’
มะรืนนี้พ่อเอ็งก็จะมา
ยิ่งกว่าตาเห็น
ที่สุดแห่งชีวิต
อาพาธ – มรณภาพ
ความเจริญในด้านสมณศักดิ์

อุปสมบท
การอาชีพ
การศึกษาเมื่อเยาว์วัย
ชาติภูมิหลวงพ่อวัดปากน้ำ

เรื่องเล่าจาก ‘คุณครูตรีธา เนียมขำ’

การเผยแผ่วิชชาธรรมกายของหลวงพ่อในสมัยก่อนนั้น ท่านถูกคัดค้านต่อต้านมากมายเพราะในสมัยนั้นไม่มีผู้ใดสั่งสอนการปฏิบัติแบบ นี้ การส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ก็เน้นในก้านปริยัติเพียงด้านเดียว พระที่สนใจการปฏิบัติก็มักจะหลีกเร้นไปแสวงหาที่สงบสงัดเพื่อบำเพ็ญเพียรตาม ป่าเขาลำเนาไพร หลวงพ่อของเราจึงเป็นพระสงฆ์องค์แรกที่กล้าสอนการปฏิบัติธรรมอย่างเปิดเผย ท่านจึงเป็นที่เพ่งเล็งและเป็นเป้าให้คนโจมตี ผู้ที่คัดค้านการปฏิบัติของท่านนั้นมีทั้งฆราวาสและพระภิกษุ แต่หลวงพ่อท่านก็มิได้ครั่นคร้าม หรือย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ ท่านยึดถือพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นแบบอย่างและเดินตามรอยบาทของพระ พุทธองค์อย่างไม่ย่อท้อ ท่านจึงพยายามฟันฝ่าอุปสรรคอย่างองอาจกล้าหาญ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้รู้แจ้งในหลักการของพระพุทธศาสนา ท่านต้องการเชิดชูธงธรรมกายของท่านให้ปลิวไสวไปทั่วทุกพื้นปฐพีหลวงพ่อท่าน มีคติพจน์ของท่านว่า

“ดอกไม้ที่หอมไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรมก็หอมเอง ใครจะห้ามไม่ได้ ซากศพไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ซากศพก็ต้องแสดงกลิ่นศพให้ปรากฏ ปิดกันไม่ได้”

เรื่องเล่าจาก ‘พระอาจารย์สุวิชา เปสโล คณะเนกขัมม์ วัดปากน้ำ’

หลวงพ่อมีลูกศิษย์ลูกหาอยู่ทั่วประเทศ สมัยนั้นพระเณรหลวงพ่อไม่ให้มีวิทยุ โทรทัศน์ ไม่ให้จับเงิน จับทอง แต่ก่อนพระเณรที่มาอยู่กับหลวงพ่อให้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ไม่ต้องห่วงเรื่องอาหาร หลวงพ่อมีโรงครัวเลี้ยง มีพระจบเปรียญกันมากมายจากวัดปากน้ำ หลวงพ่อสด ท่านสอนว่าใครจะโจมตีเรายังไงก็แล้วแต่ ท่านให้เราเป็นเสาหิน เรียกว่าจะมีพายุทั้ง ๔ ด้านมาเราก็เฉย มีครั้งหนึ่งมีคนมาด่าหลวงพ่อที่หน้าโบสถ์ ขณะหลวงพ่อกำลังเทศน์อยู่ หรือมีคนเอาปืนมาลอบยิงท่าน ท่านก็ไม่ว่าอะไร อยากจะทำก็ทำไป เพราะเขาอิจฉาหลวงพ่อ หลวงพ่อท่านบอกว่า

“เราหยุด หยุดเป็นพระ ชนะเป็นมาร เราไม่หนี เราไม่สู้ แต่เราปฏิบัติ เราก็ทำความดีของเราเรื่อย เดี๋ยวไอ้พวกมาร พวกอิจฉาก็หายไปเอง เรานั่งเฉย ไม่ต้องไปโต้ตอบอะไร เขาด่าเราภายใน ๗ วัน เหนื่อยมันก็หยุดไปเอง ไม่โต้ตอบ ชนะด้วยความดี”

ในการมาเรียนพระปริยัติธรรม แต่ก่อนมีพระเณรมาเรียนกันมาก มีถึง ๖๐๐ กว่าองค์ หลวงพ่อบอกว่าเลี้ยงไหว ท่านบอกว่าเมื่อจั้งใจมาเรียนแล้ว แม้จะคับที่ก็ขอให้อยู่ได้ อัศจรรย์อย่างหนึ่ง คือหลวงพ่อเลี้ยงอาหารไหวตลอด เดี๋ยวก็มีคนเอาข้าว เอาอะไรต่ออะไรมาถวายทีหนึ่งก็เป็นลำเรือ
เรื่องเล่าจาก ‘ลุงประคอง ทับจ้อย’

วิชชาของหลวงพ่อวัดปากน้ำนี่ท่านดีจริง ถ้าวิชชาของหลวงพ่อไม่แน่ ตอนนี้วัดปากน้ำเหลือแต่ดุ้นฟืน เพราะตามหลักจริงๆ แล้ววัดปากน้ำเป็นจุดระเบิด ที่ระเบิดลงเลยแหละ ธรรมดาตามหลักประตูน้ำ บางคลองนี้ไม่มีเหลือ ตั้งแต่ประตูน้ำบางนกแสก ประตูน้ำอ่างทอง ประตูบางยาง เหลือแต่ประตูน้ำภาษีเจริญที่ไม่เป็นอะไรเลย ไปถามเลยวัดวาอารามอยู่ที่ไหนไม่มีเหลือ ถูกทิ้งระเบิดหมดเลย ช่วงนั้นหลวงพ่ออยู่ในโบสถ์ ไม่ออกจากโบสถ์เลย นั่งทำวิชชาของท่านอย่างเดียว นั่งปัดลูกระเบิดอย่างเดียว แล้วบางคนก็จะวิ่งมาอยู่ที่วัดปากน้ำ เพราะมั่นใจว่ายังไงก็ปลอดภัยที่สุด สงครามเกิดขึ้นปี ๒๔๘๕ (สงครามโลกครั้งที่ ๒)
เรื่องเล่าจาก ‘แม่ชีรัมภา โพธิ์คำฉาย’

วิชชาในโรงงาน หลวงพ่อจะเป็นคนสั่งวิชชา พูดผ่านฝากระดานที่กั้นไว้ ชีแถบหนึ่ง พระอยู่อีกแถบหนึ่ง มีที่กั้นแยกกันชัดเจน หลวงพ่อสอนทุกๆ คนเหมือนกัน ไม่มีใครพิเศษกว่าใคร มีครั้งหนึ่งตอนท่านป่วยหนักเป็นปีที่ ๑๓ ที่ฉันมาอยู่กับหลวงพ่อ วันนั้นท่านให้คนมาเรียก ท่านถามว่า
“เอ้าสั่นหายหรือยัง”

สั่นก็คือไม่สบาย ฉันก็ตอบว่าค่อยยังชั่วแล้ว ท่านบอกว่า
“ทำวิชชาไว้นะ ทำได้เป็นของเรา ถ้าเราไม่ทำ เราจะไม่ได้”

สั่งคำนี้ ท่านสั่งไว้ ชีวิตจิตใจของหลวงพ่อไม่มีอะไรมากไปกว่าวิชชา ๒๔ ชั่วโมง หลวงพ่อไม่เคยห่าง ทำวิชชาตลอด หลวงพ่อจะทดลองวิชชาอยู่เรื่อย มีครั้งหนึ่งมีญาติโยมมานั่งกันเต็ม ช่วงกลางคืน คืนนั้นดาวเต็มท้องฟ้า ท่านก็ให้เณรที่อยู่ใกล้ๆ ท่าน(หลวงพ่อเล็ก) ดับดาวบนท้องฟ้า จะเห็นดาวดับเป็นแถบๆ เลย เพื่อให้รู้ว่าวิชชาธรรมกายสามารถทำได้ ไม่ใช่เพื่อเหตุผลอย่างอื่น
เรื่องเล่าจาก ‘ป้าฉลวย สมบัติสุข’

หลวงพ่อท่านบอกว่าต้องการช่วยคนให้พ้นทุกข์ทำได้เท่า ไหร่ก็เท่านั้น หลวงพ่อวัดปากน้ำจะว่าใจดีก็ใจดี จะว่าดุก็ดุและท่านเป็นคนตรง ถ้าเห็นว่าเป็นอย่างนี้ก็ต้องเป็นอย่างนี้ ขนาดสมเด็จวัดโพธิ์เป็นหลานของท่าน ท่านบอก

“เฮ้ย ของเรามันถูกอยู่แล้วแน่นอนอยู่แล้วจะไปกลัวอะไร”

อย่างท่านบอกว่าสมเด็จวัดโพธิ์จะได้เป็นสังฆราช ไม่น่าเชื่อไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นจริง เพราะว่าคนที่รอจะขึ้นเป็นสังฆราชมีอยู่อีกองค์คือพระพิมลธรรม วัดมหาธาตุ ถ้าสังฆราชองค์เก่าสิ้น พระวัดมหาธาตุต้องได้ขึ้นแน่นอนแต่พอดีมีเรื่องเกิดขึ้น ก็มาเป็นวัดโพธิ์ ท่านจะพูดเฉพาะเรื่องที่จำเป็น คิดไม่ถึง ถึงเวลาจริงๆ คาดไม่ถึงว่าจะเป็นไปได้

สมัยตอนหลวงพ่อมาอยู่วัดปากน้ำแรกๆ หลวงพ่อมาอยู้ท่านก็ทำตามความถูกต้อง ไม่มีอะไรกับใคร แต่คนที่มาอยู่รุ่นเก่า ที่เขาอยู่แถวนั้นก็มีบารมีเป็นที่นับถือ อาจจะไม่ชอบใจ เวลาหลวงพ่อท่านทำอะไรลงไปก็จะเป็นข่าวโจมตี แต่ยิ่งว่าไม่ดียิ่งดัง ของเรามันดีอยู่แล้วไม่ได้ไปทำความเสียหายอะไร คล้ายๆ กลองยิ่งตีมันยิ่งดัง แทนที่คนเขาว่าจะทำให้เสื่อมเสียหาย แต่กลับเป็นตรงกันข้าม
‘ตาทิพย์ เห็นพระพุทธรูปใต้ดิน

อาตมา (พระครูปรีชาปริยัติกิจ พระมหาเฉลียว กัลยาโน) อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

แต่เดิมมีหลวงพ่อองค์หนึ่ง ชื่อหลวงพ่อโพธิ์ (ปัจจุบันมรณภาพไปแล้ว อายุ 90 กว่า ๆ)

ท่านเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หลวงพ่อโพธิ์ท่านเคยเจอหลวงพ่อสด(วัดปากน้ำ) ตอนมาสอนภาวนาที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ช่วงแรกที่หลวงพ่อสดมา ท่านเห็นเด็กเอาวัวมาเลี้ยงที่บริเวณวัด ซึ่งใต้พื้นดินนั้น หลวงพ่อสดเห็นมีพระพุทธรูปอยู่ จึงบอกเด็ก ๆ ว่า

‘อย่าเอาวัวไปเลี้ยงตรงนั้น เพราะมีพระพุทธรูปอยู่เดี๋ยวจะเป็นบาป’

คนแถวนั้นไม่เชื่อ พอขุดลงไปเจอพระพุทธรูปจริง ๆ จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อสดเป็นอันมาก

ช่วงที่กำลังมีสงคราม เวลามีเครื่องบินมาทิ้งระเบิดก็จะเห็นเครื่องบิน บินอยู่เต็มท้องฟ้า

ผู้คนหลบมาพึ่งบารมีของหลวงพ่อเต็มวัดปากน้ำ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืน คนจะหลบภัยกันมาก หลวงพ่อบอกว่า

‘ระเบิดไม่ลงหรอกที่นี่ ไม่ทิ้งหรอก ระเบิดจะไปทิ้งที่ฝั่งพระนคร’

มี 2 ครั้ง ที่ระเบิดสะเทือนมาถึงวัดปากน้ำ คืนตอนที่เครื่องบินทิ้งระเบิดที่วัดประยูร
และทิ้งแถวตลาดพลู แต่วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) ไม่มีอะไรเสียหาย


พระครูปรีชาปริยัติกิจ
พระมหาเฉลียว กัลยาโณ ป.ธ.4
‘ลูกเอ็งจะแจวเรือผ่านมานะ’

มีแม่ชีที่อยู่วัดปากน้ำคนหนึ่ง ลูกชายจะไปฆ่าเขา หลวงพ่อรู้ว่า ถ้าคนนี้เราไม่โปรด
มันจะติดคุกติดตะราง ตกนรกหมกไหม้

หลวงพ่อวัดปากน้ำเรียกแม่ชีคนนี้มา แล้วบอกว่า ‘ลูกเอ็งจะแจวเรือผ่านมานะ
ผ่านมา…เอ็งเรียกขึ้นมาหาหลวงพ่อหน่อย’

แม่ชีก็นั่งคอย ลูกผ่านมาจริง ๆ ก็เลยเรียกลูกว่า ‘ลูก… เอ็งผ่านมา หลวงพ่อท่านสั่งไว้ให้ขึ้นไปหาหน่อย หลวงพ่อท่านบอกว่าไอ้ที่คิดไว้เลิกล้มเสียนะ เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร การฆ่าเป็นบาปติดไปหลายชาติ จะตกนรกหมกไหม้’

มันบอกว่าหลวงพ่อทำไมรู้ มันเตรียมปืนใส่ท้องเรือไว้แล้ว มันโกงไร่ โกงนา โกงสวน เอาไว้ไม่ได้

แต่พอหลวงพ่อทัก ต้องเลิกล้มเลย ถ้าหลวงพ่อไม่โปรด มันต้องติดคุกติดตะราง


พระครูภาวนากิตติคุณ
วัดเกษมจิตตาราม
จ.อุตรดิตถ์
มะรืนนี้พ่อเอ็งก็จะมา

เมื่อข้าพเจ้า (คุณครูตรีธา เนียมขำ) มีอายุประมาณ 15-16 คิดถึงบ้าน คิดถึงพ่อแม่พี่น้องมากอยากขออนุญาตหลวงพ่อขอกลับไปเยี่ยมบ้าน แต่หลวงพ่อท่าน ไม่ให้ไป
ท่านบอกว่า ‘มะรืนนี้พ่อเอ็งก็จะมา’

ข้าพเจ้าไม่แน่ใจ คิดว่าหลวงพ่อท่านต้องหลอกข้าพเจ้าแน่ ๆ จึงย้อนถามท่านเพื่อความแน่ใจ
ว่าหลวงพ่อพูดเอาเองหรือพ่อข้าพเจ้าได้กราบเรียนท่านไว้แล้ว
‘พ่อบอกหลวงพ่อไว้หรือเจ้าคะว่าพ่อจะมามะรืนนี้’

หลวงพ่อท่านตอบว่า ‘พ่อเอ็งไม่ได้บอกหรอก แต่เอ็งคอยดูซีน่า มะรืนนี้พ่อเอ็งต้องมา’

ตอนนั้นด้วยความเป็นเด็กยังไม่มีความคิด ข้าพเจ้าก็คิดว่าถ้ามะรืนนี้พ่อไม่มาจะต้องต่อว่าหลวงพ่อ

แต่พอถึงวันนั้น พ่อข้าพเจ้าก็มาเยี่ยมจริง ๆ ข้าพเจ้ารีบถามพ่อว่า

‘พ่อได้บอกหลวงพ่อไว้หรือเปล่าว่าพ่อจะมาในวันนี้’
พ่อข้าพเจ้าตอบว่า ‘เปล่า’

คุณครูตรีธา เนียมขำ
ยิ่งกว่าตาเห็น

หลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) มีวาทะตรงกับใจ
เมื่อจะพูดอะไรก็พูดโดยไม่สะทกสะท้านและไม่กลัวคำติเตียนด้วย เช่นครั้งหนึ่ง อาตมา(สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ปุ่น ปุณฺณสิริ) เองนี้ได้มาฉันเพลที่วัดปากน้ำ วันนั้นมีประชาชนมาก ร่วมใจบริจาคทานแก่ภิกษุสามเณรทั้งวัดเป็นกรณีพิเศษ

เมื่อทายกประเคนอาหารเรียบร้อยแล้ว มีพ่อค้าตลาดสำเพ็ง ผู้มั่งคั่งคนหนึ่งไปกราบและถมหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) ว่า
‘หลวงพ่อขอรับวันนี้จะมีผู้บริจาคสร้างกุฏิเพื่อเจริญพระกัมมัฏฐานบ้างไหม’

ชาวบ้านไม่น้อยกว่า 20 คน ที่นั่งใกล้ ๆ
ได้ยินคำถามนั้นคิดว่าคงตั้งใจฟังคำตอบของหลวงพ่อต่างทอดสายตามามองหลวงพ่อเพื่อฟังคำตอบ

เวลานั้นอาตมามีทั้งโกรธผู้ถาม ทั้งหนักใจแทนหลวงพ่อ และได้มองดูหน้าผู้ตอบ

หลวงพ่อมีดวงหน้ายิ้มแย้งแจ่มใส หลับตาสัก 5 นาที ครั้นแล้วตอบทันทีว่า ‘มี’

ผู้ถามได้ถามย้ำต่อไปว่ากี่หลัง หลวงพ่อวัดปากน้ำตอบว่า 2-3 หลัง และย้ำอีกว่าต้องได้แน่

เวลานั้นอาตมาฉันภัตตาหารไม่มีรสโกรธผู้ถามว่าช่างไม่มีอัธยาศัย คำถามเช่นนั้นเท่ากับเอาโคลนมาสาดรดหลวงพ่อ เมื่อต้องการทราบ ควรถามเฉพาะสองต่อสอง และโกรธหลวงพ่อว่า ช่างไม่มีปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
คิดว่าทำไมนะหลวงพ่อจึงไม่พูดว่า เวลานี้ยังไม่เป็นโอกาสที่จะพยากรณ์คำถามนั้น
ที่ตอบออกไปว่าจะมีผู้บริจาค 2-3 หลังนั้น หมิ่นต่ออันตรายมากนัก อาจเป็นคำพูดที่ฆ่าตนเองด้วยดาบของตนฆ่าตนเอง
เวลานั้นก็เอาใจช่วยหลวงพ่อขอให้มีผู้บริจาคจริง ๆ เถิด เสร็จการฉันของหวานแล้ว
คำพยากรณ์ของหลวงพ่อก็ยังไม่ปรากฏเป็นความจริงขึ้น อาตมานั่งอยู่ด้วยความอึดอัดใจ นึกตำหนิท่านว่าไม่รอบครอบพอ
ได้เวลาอนุโมทนา มีคณะอุบาสกอุบาสิกากลุ่มหนึ่งเข้ามากราบหลวงพ่อ บอกว่าศรัทธาจะสร้างกุฏิเล็ก ๆ
อย่างที่หลวงพ่อสร้างไว้แล้วสัก 2-3 หลัง ประมาณราคา 3-4 ร้อยบาทต่อหนึ่งหลังขอให้หลวงพ่อช่วยจัดการให้ด้วย
ตอนนี้หลวงพ่อไม่หัวเราะ ยิ้มน้อย ๆ พอสมควรแก่กาละ ครั้นแล้วหลวงพ่อเรียกตัวผู้ถามมาบอกว่า
‘ได้แล้วกุฏิกัมมัฏฐาน 3 หลัง เจ้าของนั่งอยู่นี่’
แล้วท่านชี้มือไปยังเจ้าภาพผู้บริจาค
ผู้ถามได้กระโดยเข้าไปกราบที่ตักหลวงพ่อพูดว่า ‘ยิ่งกว่าตาเห็น’

อาตมาดีใจจนเหงื่อตก ที่ความจริงมากู้เกียรติของหลวงพ่อไว้ได้ เกรงจะเป็นลูกไม้
จึงหาโอกาสสนทนากับผู้บริจาคว่า นัดกับหลวงพ่อวัดปากน้ำไว้หรือว่าจะสร้างกุฏิถวาย ได้รับคำตอบว่า
พึ่งคิดเมื่อมาทำบุญวันนี้เอง เดินมาเห็นกุฏิเล็ก ๆ สวยดีอยากจะสร้างบ้าง แต่ทุนไม่พอ
จึงปรึกษากับพวกพ้องที่บังเอิญมาพบกันวันนี้เห็นดีร่วมกัน จึงได้มอบเงินแก่หลวงพ่อให้จัดการสร้างต่อไป นี่เป็นเรื่องก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ร่วมหลายสิบปีมาแล้ว


สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
(ปุ่น ปุณณสิริ) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ที่สุดแห่งชีวิต

เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี ชาตะ พ.ศ.๒๔๒๗ มรณภาพ พ.ศ.๒๕๐๒ อายุ ๗๕ โดยปี บวชอยู่ ๕๓ พรรษา สำนักที่หลวงพ่อเคยอยู่คือ :-

๑. วัดสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
๒. วัดพระเชตุพน พระนคร
๓. วัดชัยพฤกษมาลา ธนบุรี
๔. วัดโบสถ์ นนทบุรี
๕. วัดปากน้ำ อำเภอภาษีเจริญ ธนบุรี

ชีวิตของเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี มีที่สุดของชาตินี้อันถึงแล้ว รูปธรรม นามธรรม ของพระคุณท่าน แสดงเป็นความจริงดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสว่า:-

รูปํ ชีรติ มจฺจานํ นามโคตฺตํ น ชีรติ
อาพาธ – มรณภาพ

เมื่อได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระมงคลราชมุนีแล้ว ต่อมาท่านได้อาพาธเกี่ยวแก่ความดันโลหิตสูง เริ่มแต่เดือนมีนาคม ๒๔๙๙ เป็นต้นมา มีอาการขึ้น ๆ ลง ๆ พลเรือจัตวา เรียง วิภัตติภูมิประเทศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารเรือ แพทย์ประจำ ได้มาเยี่ยมอาการทุกเช้าเย็นและทำการพยาบาลด้วยตนเอง เมื่อเวลามาเยี่ยมตรวจอาการของโรคใดที่แพทย์สงสัย ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขามาตรวจรักษา เช่น นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางปอด ทางหัวใจ เป็นต้น โดยที่สุดได้เชิญ คุณพระอัพภันตริกาพาธ ผู้เชี่ยวชาญชั้นเยี่ยมของประเทศไทยมาตรวจและแนะนำ เพราะท่านผู้นี้เป็นอาจารย์ของนายแพทย์ทั้งหมดด้วย โรคนั้นมีแต่ทรงกับทรุด บางคราวก็ทำให้มีความหวังบ้าง

การได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระมงคลเทพมุนี ก็อยู่ในระหว่างอาพาธ อาการของโรคเริ่มจะแสดงว่าหมดหวัง แต่กำลังใจของท่านยังแข็งแกร่ง พอเข้าวังรับพระราชทานสัญญาบัตรได้ คณะวัดปากน้ำก็มีหวังอยู่ว่าคงจะหายจากโรคสักวันหนึ่งนั้นเป็นแต่เพียงความ หวัง ตั้งแต่เริ่มอาพาธจนถึงมรณภาพเป็นเวลา ๒ ปีเศษ หลวงพ่อไม่ได้แสดงอาการรันทดใจใด ๆ เลย ต้อนรับแขกด้วยอาการยิ้มแย้มเสมอ เวลาจะลุกจะนั่งไม่พอใจให้ใครไปช่วยเหลือ ท่านพอใจทำเอง ผู้อื่นคอยตามเพื่อช่วยเหลือเวลาท่านเซไปเท่านั้น

นอกจากโรคดังกล่าวแล้ว ยังมีโรคไส้เลื่อนกำเริบขึ้นอีก ถึงกับต้องไปทำการผ่าตัดที่โรงพยาบาลศิริราชในระหว่างพรรษา แม้กระนั้นท่านก็ไม่ยอมขาดพรรษา ดิ้นรนมารับอรุณที่วัดปากน้ำจนได้ และได้มาอยู่โรงพยาบาลสงฆ์ ๒ ครั้ง ได้รับการพยาบาลเป็นอย่างดีทุกแห่ง

เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ อาการของโรคกำเริบมากขึ้น ท่านก็คาดว่าจะมรณภาพ จึงได้จัดการฌาปณกิจศพโยมหญิงของท่าน เพื่อสนองคุณมารดาในอวสาน เวลานั้นอาการก็หนักมากอยู่แล้ว แต่ด้วยกำลังใจอันเข้มแข็ง จึงพยายามมาบำเพ็ญกุศลได้จนตลอดพิธี

เมื่ออาพาธครอบงำท่านได้ ๑ ปีเศษแล้ว วันหนึ่งท่านพูดกับผู้เขียนเรื่องนี้ว่า เจ็บคราวนี้ไม่หาย ไม่มียารักษา เพราะยาที่ฉันมีอยู่นั้นมันไม่ถึงโรค ท่านเปรียบว่ายาที่ฉันนั้นเหมือนมีแผ่นหินมารองรับกั้นไว้ ไม่ให้ยาซึมไปกำจัดโรคได้ ท่านบอกว่ากรรมมันบังไว้ เป็นเรื่องแก้ไม่ได้ ท่านพูดแล้วก็ยิ้มด้วยอารมณ์เย็น

รุ่งขึ้นวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ เวลา ๑๒.๐๐ น. โทรศัพท์มาจากวัดปากน้ำแจ้งว่าหลวงพ่ออาการหนักแล้ว ขอให้รีบไปวัดปากน้ำด่วน

ถึงวัดปากน้ำเวลา ๑๓.๐๐ น.เศษ ได้เข้านมัสการ หลวงพ่อมีอาการหอบ ทางวัดปากน้ำได้ตามหมอที่เคยประจำก็ไม่พบ หลวงพ่อหมดความรู้สึก มีแต่อาการหอบอย่างเดียว คุณหญิงชลขันธพินิจ มาเยี่ยมทนดูไม่ได้ ต้องไปตามหมออื่นมา หมอบอกว่าหมดความรู้สึก เส้นโลหิตสมองแตกแล้วหมดความหวัง หมอไม่ยอมทำอะไรเพียงแต่แนะนำว่าให้เอาน้ำแข็งห่อผ้าวางไว้บนศีรษะ เวลานั้นภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาแน่นห้อง ต่างมองดูหลวงพ่อด้วยน้ำตา หน้าสลดหมดความหวัง หมอพยากรณ์ไว้ว่าภายใน ๒๔ ชั่วโมงจะอยู่ได้เป็นอย่างดี หมอกลับไปแล้ว พวกศิษย์ก็ยังห้อมล้อมหลวงพ่ออยู่ เข้าใจว่าหลวงพ่อไม่รู้สึกเลยหลวงพ่อหลับตา หอบถี่ ๆ หนักขึ้นแล้วก็ค่อย ๆ น้อยลง ๆ วิญญาณของหลวงพ่อได้ทิ้งร่างกายอันทุพพลภาพนั้นไปด้วยอาการอันสงบ และสงบอย่างสมภูมิของนักปฏิบัติ เวลา ๑๕.๐๕ น. ของวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒
ความเจริญในด้านสมณศักดิ์

เมื่อสมเด็จพระวันรัต ติสฺสทตฺตเถร อาพาธเป็นอวสานแห่งชีวิต หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ปฏิการะเป็นอย่างดี โดยจัดอาหารและรังนกจากวัดปากน้ำมาถวายทุกวัน ท่านตั้งงบประมาณไว้วันละ ๔๐ บาท พอได้เวลา ๐๔.๐๐ น. ให้คนลงเรือจ้างขึ้นปากคลองตลาด พอถึงวัดพระเชตุพนได้อรุณพอดี สมัยนั้น สะพานพุทธฯ ชำรุดเพราะภัยสงคราม ถนนฝั่งธนบุรีถึงตลาดพลูยังไม่เรียบร้อย รถโดยสารยังไม่มี การคมนาคมต้องใช้เรือจ้าง หลวงพ่อเพียรปฏิบัติฉลองพระคุณดังนี้เป็นเวลาหลายเดือน เมื่อผู้นำอาหารมาถวายกลับไปแล้วต้องรายงานให้หลวงพ่อทราบทุกวัน

การทำคิลานุปัฏฐากเป็นอวสานปฏิการะนี้ น่าจะให้ผลแก่หลวงพ่อมากอยู่ เมื่อเจ้าคุณพระพิมลธรรม ฐานทตฺต วัดมหาธาตุ หมั่นมาเยี่ยมสมเด็จพระวันรัต ติสฺสทตฺตเถร ผู้กำลังอาพาธหนัก วันหนึ่งเป็นเวลาค่ำแล้ว เจ้าคุณสมเด็จพระวันรัต ได้ขอร้องให้ช่วยแต่งตั้งพระครูสมณธรรมสมาทานวัดปากน้ำเป็นอุปัชฌายะด้วย เจ้าคุณพระพิมลธรรมยินดีและรับรองว่าจะจัดการให้ตามประสงค์ และต่อมาไม่ช้าตราตั้งเป็นอุปัชฌายะ ก็ตกถึงพระครูสมณธรรมสมาทาน คือหลวงพ่อวัดปากน้ำ เมื่อได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌายะแล้ว คณะวัดปากน้ำชื่นชมยินดี กุลบุตรพากันมาบรรพชาอุปสมบทในสำนักวัดปากน้ำทวีขึ้น

อันเจ้าคุณพิมลธรรม ฐานทตฺต นั้น ท่านชอบพอกันมานานในส่วนตัว และพอใจในการปฏิบัติด้วย ท่านเคยพูดว่าท่านพระครูวัดปากน้ำ ถึงมีข่าวอกุศลอย่างไรก็ยังดีมีคนมาขอปฏิบัติธรรมเจริญพระกัมมัฏฐาน ทุกวัดน่าจะทำตามบ้าง

หลวงพ่อวัดปากน้ำได้รับสมณสักดิ์เป็นพระครูสมณธรรมสมาทานแต่ พ.ศ.๒๔๖๔ นับแต่นั้นมาเป็นเวลา ๒๘ ปี จึงได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระภาวนาโกศลเถระ ถือพัดยอดพื้นขาวอันเป็นตำแหน่งวิปัสสนาธุระ พ.ศ. ๒๔๙๒ การได้สมณศักดิ์ครั้งนี้ นัยว่าเป็นด้วยคณะสังฆมนตรีได้ทราบเกียรติคุณของท่านอยู่บ้าง จึงได้รับคะแนนส่งเสริมเป็นอันดียิ่ง พระพิมลธรรม (อาสภเถร) วัดมหาธาตุด้วยแล้วส่งเสริมเต็มที่ และได้พยายามส่งเสริมมาทุกระยะกาล เพราะพระพิมลธรรมพอใจในสุปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ


พ.ศ.๒๔๙๔ ได้รับพระราชทานพัดยศเทียบเปรียญ
พ.ศ.๒๔๙๘ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นราชาคณะชั้นราช มีราชทินนามว่า “พระมงคลราชมุนี”
พ.ศ.๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ มีพระราชทินนามว่า “พระมงคลเทพมุนี”

อุปสมบท
เดือนกรกฎาคม ๒๔๔๙ ต้นเดือน ๘ ท่านได้อุปสมบท เวลานั้นอายุย่างเข้า ๒๒ ปี บวช ณ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร

พระอาจารย์ดี วัดประตูศาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

คู่สวด อยู่วัดเดียวกัน คือวัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา ปวารณาพรรษาแล้ว เดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพน กรุงเทพฯ เพื่อเล่าเรียนพระธรรมวินัยต่อไป

การศึกษาของภิกษุสามเณรสมัยนั้น การเรียนบาลีต้องท่องสูตรก่อน เมื่อท่องจบสูตรเบื้องต้นแล้ว จึงเริ่มจับเรียนมูล เริ่มแต่เรียนสนธิขึ้นไป หลวงพ่อวัดปากน้ำเริ่มต้นโดยวิธีนี้แล้ว เรียน นาม สมาส ตัทธิต อาขยาต กิตก์ แล้วเริ่มขึ้นคัมภีร์ จับแต่พระธรรมบทไป ท่านเรียนธรรมบทจบทั้ง ๒ บั้น เมื่อจบ ๒ บั้นแล้วกลับขึ้นต้นใหม่ เรียนมงคลทีปนีและสารสังคหะคามความนิยมของสมัย จนชำนาญและเข้าใจและสอนผู้อื่นได้

เมื่อกำลังเรียนอยู่นั้น ท่านต้องพบกับความลำบากมาก สมัยนั้นเรียนกันตามกุฏิ ต้องเดินไปศึกษากับอาจารย์ตามวัดต่าง ๆ เมื่อฉันเช้าแล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณราชวราราม กลับมาฉันเพลที่วัด เพลแล้วไปเรียนวัดมหาธาตุ ตอนเย็น ไปเรียนที่วัดสุทัศน์บ้าง วัดสามปลื้มบ้าง กลางคืนเรียนที่วัดพระเชตุพน แต่ไม่ได้ไปติด ๆ กันทุกวัน มีเว้นบ้าง สลับกันไป

สมัยที่ท่านศึกษาอยู่นั้น กำลังนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน และนักเรียนที่ไปขอศึกษากับอาจารย์นั้น บทเรียนไม่เสมอกันต่างคนต่างเรียนตามสมัครใจ กล่าวคือบางองค์เรียนธรรมบทบั้นต้น บางองค์เรียนบั้นปลาย ยิ่งนักเรียนมาก หนังสือที่เอาไปโรงเรียนก็เพิ่มจำนวนขึ้น เช่นนักเรียน ๑๐ คน เรียนหนังสือกันคนละผูก นักเรียนที่ไปเรียนนั้นก็ต้องจัดหนังสือติดตัวไปครบจำนวนนักเรียน เป็นทั้งนี้ก็เพราะนอกจากเรียนตามบทเรียนของตนแล้วเอาหนังสือไปฟังบทเรียน ของคนอื่นด้วย ช่วยให้ตนมีความรู้กว้างขวางขึ้น ฉะนั้นปรากฏว่านักเรียนต้องแบกหนังสือไปคนละหลายผูก แบกจนไหล่ลู่ คือว่าหนังสือเต็มบ่า

หลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นนักเรียนประเภทดังกล่าว ท่านพยายามไม่ขาดเรียน แบกหนังสือข้ามฟากลงท่าประตูนกยูงวัดพระเชตุพนไปขึ้นท่าวัดอรุณฯ เข้าศึกษาในสำนักนั้น ท่านเล่าให้ฟังว่าลำบากอยู่หลายปี ความเพียรของท่านจนชาวประตูนกยูงเกิดความเลื่อมใสได้ปวารณาเรื่องภัตตาหาร คืออาราธนาท่านรับบิณฑบาตเป็นประจำและขาดสิ่งใดขอปวารณา ระยะนี้ท่านเริ่มมีความสุขขึ้น เรื่องภัตตาหารมีแม่ค้าขายข้าวแกงคนหนึ่งจัดอาหารเพลถวายเป็นประจำ แม่ค้าคนนี้ชื่อนวม เมื่อหลวงพ่อย้ายมาวัดปากน้ำ แม่ค้าผู้นี้ทุพพลภาพลงเพราะความชราขาดผู้อุปการะ ท่านได้รับตัวมาอยู่วัดปากน้ำได้อุปการะทุกวิถีทาง เมื่อสิ้นชีวิตก็ได้จัดการฌาปนกิจศพให้ หลวงพ่อว่าเป็นมหากุศล เมื่อเราอดอยาก อุบาสิกานวมได้อุปการะเรา ครั้นอุบาสิกานวมยากจน เราได้ช่วยอุปถัมภ์ ที่สุดต่อที่สุดมาพบกันจึงเป็นมหากุศลอันยากที่จะหาได้ง่าย ๆ

ท่านเดินทางไปศึกษาในสำนักต่าง ๆ อยู่หลายปี ครั้นต่อมามีผู้เลื่อมใสในตัวท่านมากขึ้น พวกข้าหลวงในวังกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ซึ่งชาวบ้านใกล้เคียงเรียกว่า วังพระองค์เพ็ญ เลื่อมใสในท่าน เวลาเพลช่วยกันจัดสำรับคาวหวานมาถวายทุกวัน นับว่าเป็นกำลังส่งเสริมให้สะดวกแก่การศึกษาเป็นอย่างดี เมื่อได้กำลังในด้านส่งเสริมเช่นนี้ หลวงพ่อจึงจัดการตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดพระเชตุพน โดยใช้กุฏิของท่านเป็นโรงเรียน สมัยนั้นโรงเรียนวัดพระเชตุพนมีหลายแห่ง ใครมีความสามารถก็ตั้งได้ หลวงพ่อวัดปากน้ำสมัยนั้น ท่านได้พระมหาปี วสุตตมะ เปรียญ ๕ ประโยคเป็นครูสอน โดยท่านจัดหานิตยภัตถวายเอง มหาปี วสุตตมะ ผู้นี้มาจากวัดมหาธาตุ จังหวัดพระนคร ติดตามพระสมเด็จพุฒาจารย์ (เข้ม ธมฺมสโร) มา เมื่อคราวสมเด็จฯ จากวัดมหาธาตุมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพน ท่านตั้งโรงเรียนเองและเข้าศึกษาด้วยตนเอง ด้วยเรียนขึ้นธรรมบทใหม่ ท่านว่าฟื้นความจำทบทวนให้ดีขึ้น มีภิกษุสามเณรเข้าศึกษา ๑๐ กว่ารูป

ต่อมาการศึกษาทางบาลีเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยนิยม ทางคณะสงฆ์จัดหลักสูตรการศึกษา เริ่มให้เรียนไวยากรณ์ วัดพระเชตุพนดำเนินตามแนวนั้น และได้รวมการศึกษาเป็นกลุ่มเดียวกัน การศึกษาตามแบบเก่าต้องยุบตัวเองเพื่อให้เข้ายุคไวยากรณ์ โรงเรียนที่กล่าวถึงนี้ก็ระงับไป

หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ตั้งใจศึกษาจนเข้าใจตามหลักสูตรนั้น ๆ แต่ไม่ได้แปลในสนามหลวง แม้การสอบเปลี่ยนจากแปลด้วยปากมาเป็นสอบด้วยการเขียนตอบ ท่านก็ไม่ได้สอบ เพราะการเขียนของท่านไม่ถนัดมากนักและอีกประการหนึ่งท่านไม่ปราถนาด้วย แต่สำหรับผู้อื่นแล้วท่านส่งเสริมและให้กำลังใจ โดยพูดเสมอว่าการศึกษานั้นเปลี่ยนชีวิตผู้ศึกษาให้สูงกว่าพื้นเดิม คนที่มีการศึกษาดีจะได้อะไรก็ดีกว่า ประณีตกว่าผู้อื่น คนมีวิชาเท่ากับได้สมบัติจักรพรรดิ ใช้ไม่หมด

ต่อจากนั้นท่านก็มุ่งธรรมปฏิบัติ เบื้องต้นอ่านตำราก่อน โดยมากใช้วิสุทธิมรรค ท่านศึกษาตามแบบแผนเพื่อจับเอาหลักให้ได้ก่อน ประกอบกับนักศึกษาทางปฏิบัติกับอาจารย์ท่านได้ผ่านอาจารย์มามาก เช่นเจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (มุ้ย) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิ พระครูญาณวิรัต (โป๊) วัดพระเชตุพน พระอาจารย์สิงห์ วัดละครทำ จังหวัดธนบุรี พระอาจารย์ปลื้ม วัดเขาใหญ่ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ใครว่าดีที่ไหนท่านพยายามเข้าศึกษา เมื่อมีความรู้พอสมควร ได้ออกจากวัดพระเชตุพนไปจำพรรษาต่างจังหวัดเพื่อเผยแพร่ธรรมวินัยตาม อัธยาศัยของท่าน แต่ส่วนมากแนะนำทางปฏิบัติการเทศนาท่านใช้ปฏิภาณ

ในพรรษาที่ 12 แต่พอได้กึ่งพรรษาก็มาหวนระลึกขึ้นว่า ในเมื่อเราตั้งใจจริงๆในการบวชจำเดิมอายุสิบเก้าเราได้ปฏิญาณตนบวชจนตายขอ อย่าให้ตายในระหว่างก่อนบวช บัดนี้ก็ได้บอกลามาถึง 15 พรรษา ย่างเข้าพรรษานี้แล้ว ก็พอแก่ความประสงค์ของเราแล้ว บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าท่านรู้ท่านเห็น เราก็ยังไม่ได้บรรลุยังไม่รู้ไม่เห็นสมควรแล้วที่จะต้องกระทำอย่างจริงจัง เมื่อตกลงใจ ได้ดังนี้แล้ว วันนั้นเป็นวันกลางเดือน 10 ก็เริ่มเข้าโรงอุโบสถแต่เวลาเย็น ตั้งสัจจาธิษฐานแน่นอนลงไปว่า ถ้าเรานั่งลงไปครั้งนี้ไม่เห็นธรรมที่พระพุทธเจ้าต้องการเป็นอันไม่ลุกจาก ที่นี้จนหมดชีวิต เมื่อตั้งจิตมั่งลงไป แล้วก็เริ่มปรารถนั่ง จึงได้แสดงความอ้อนวอนแด่พระพุทธเจ้าว่า ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดข้าพระพุทธเจ้าทรงประทานธรรมที่พระองค์ได้ทรง ตรัสรู้อย่างน้อยที่สุด แลง่ายที่สุดที่พระองค์ได้ทรงรู้แล้วแด่ข้าพระพุทธเจ้า ถ้าข้าพระพุทธเจ้ารู้ธรรมของพระองค์แล้วเป็นโทษแก่ศาสนาของพระองค์แล้วขอ พระองค์อย่าทรงพระราชทานเลย ถ้าเป็นคุณแก่ศาสนาของพระองค์แล้ว ขอพระองค์ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานแด่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์รับเป็นทนายศาสนาในศาสนาของพระองค์ตลอดชีวิต แต่พออ้อนวอนเสร็จแล้ว ก็เริ่มปรารถเข้าที่นั่งสมาธิต่อไป มานึกถึง มดคี่ ที่ตามช่องของแผ่นหินที่ยาวๆ แลบนแผ่นหินบ้าง ไต่ไปมาอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก จึงหยิบเอาขวดน้ำมันก๊าดมา เอานิ้วจุกเข้าที่ปากขวด แล้วตะแคงขวดให้เปียกนิ้วเข้า แล้วเอามาลากเป็นทางให้รอบตัวจะได้กันไม่ให้มาทำอันตรายในเวลานั่งลงไปแล้ว แต่พอทางนิ้วที่เปียกน้ำมันนั้นไม่ทันถึงครึ่งของวงตัวที่นั่ง ความคิดอันหนึ่งเกิดขึ้นว่าชีวิตสละได้ แต่ทำไมยังกลัว มดคี่ อยู่เล่า ก็นึกอายตัวเองขึ้นมาเลย วางขวดน้ำมันเข้าที่เลยในเดี่ยวนั้น

ประมาณครึ่งหรือค่อนคืนไม่มีนาฬิกาไม่แน่ ก็เห็นผังของจริงของพระพุทธเจ้า (ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ใน หนังสือธรรมกายที่คุณพระทิพย์ปริญญา เรียบเรียงพิมพ์แจกไปแล้ว) ในขณะนั้นก็มาปริวิตกว่า คัมภีร์โรจายังธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความตรึก นึก คิด ถ้ายังตรึก นึก คิด อยู่ก็เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าถึงต้องทำให้รู้ตรึก นึกรู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้วก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด ตรองดูเถิด ท่านทั้งหลายนี้เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้ก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด

วิตกอยู่ดังนี้สักครู่ใหญ่ๆก็กลัวว่า ความมีความเป็นนั้นจะเลือนไปเสีย จึงเข้าที่ต่อไปใหม่ราวสักสามสิบนาที ก็เห็น วัดบางปลา ปรากฏเหมือนตัวเองไปอยู่ที่วัดนั้นแต่พอชัดดีก็รู้สึกตัวขึ้นมา จึงมีความรู้สึกขึ้นมาว่าจะมีผู้รู้ผู้เห็นได้ยากนั้น ในวัดบางปลา นี้จะต้องมีผู้รู้ผู้เห็นได้แน่นอน จึงมาปรากฏขึ้นบัดนี้ ต่อแต่นั้นมาก็คำนึงที่จะไปสอนที่วัดนั้นอยู่เรื่อยๆมาจนถึงออกพรรษารับกฐิน แล้ว ก็ลาสมภารวัดบางคูเวียง ไปสอนที่วัดบางปลาราวสี่เดือน มีพระทำเป็นสามรูป คฤหัสถ์สี่คน นี้เริ่มต้นแผ่ธรรมกายของจริง ที่แสวงหาได้มาจริงปรากฏอยู่จนบัดนี้

แหล่งสุดท้ายได้ไปอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี คราวหนึ่ง โดยเห็นว่าวัดนั้นเป็นที่สงัดสงบเหมาะสมแก่ผู้ที่ต้องการความเพียรทางใจ ไกลจากหมู่บ้านเป็นวัดโบราณมีลักษณะกึ่งวัดร้างอยู่แล้ว พระพุทธรูปศิลาองค์ใหญ่น้อยนับจำนวนร้อย ถูกทำร้ายเพราะอันธพาลบ้าง เพราะความเก่าคร่ำคร่าบ้าง พระเศียรหัก แขนหัก ดูเกลื่อนกล่นไปหมด ท่านเกิดความสังเวชในใจ ใช้วิชาพระกรรมฐานแนะนำประชาชน แนะนำผู้มีศรัทธาให้ช่วยปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปเหล่านั้น พรรณนาอานิสงส์แห่งการเสียสละ พระพุทธรูปได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นบ้าง แต่เพราะมิใช่น้อยจึงต้องใช้เวลานาน การซ่อมนั้นยังไม่ทันสมความมุ่งหมาย ประชาชนได้เข้าปฏิบัติธรรมกันมาก

สมัยนั้น การปกครองประเทศจัดเป็นมณฑล เจ้าเมืองสุพรรณบุรีและสมุหเทศาภิบาลเกรงว่าเป็นการมั่วสุมประชาชน วันหนึ่ง สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครชัยศรี ได้พบกับสมเด็จพระวันรัต (ติสฺสทตฺตเถร) วัดพระเชตุพน เวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาษีเจริญ ได้ปรารภถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำ ไปทำพระกรรมฐานที่นั่นจะเป็นการไม่เหมาะสมแก่ฐานะ ขอให้ทางคณะสงฆ์พิจารณาเรียกกลับ หลวงพ่อวัดปากน้ำจึงจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุมาด้วยความเคารพในการปกครอง แล้วมาอยู่วัดสองพี่น้อง จังหวัดเดียวกัน

วัดสองพี่น้อง พระเถระในวัดนั้นไม่เห็นความสำคัญในการศึกษา มีบางท่านสนใจแต่ไม่สามารถจะจัดการไปได้ เพราะพระเถระส่วนใหญ่ไม่ส่งเสริม ผู้สนใจก็ส่งภิกษุสามเณรผู้ใคร่ต่อการศึกษามาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ หลวงพ่อวัดปากน้ำมาอยู่วัดสองพี่น้อง ได้เป็นกำลังตั้งโรงเรียนนักธรรมขึ้นโดยไม่ครั่นคร้ามต่ออุปสรรคใด ๆ ได้ผลสืบต่อมาจนทุกวันนี้ และท่านได้ชักชวนตั้งมูลนิธิเพื่อการศึกษาขึ้น โดยมีคณะกรรมการมูลนิธินั้นได้เป็นทุนการศึกษามาจนทุกวันนี้ นับว่าท่านได้ทำความดีไว้แก่วัดสองพี่น้องเป็นเดิมมา

สมเด็จพระวันรัต (ติสฺสทตฺตเถร) วัดพระเชตุพน ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี ในยุคนั้นวัดปากน้ำเป็นพระอารามหลวงวัดหนึ่งในอำเภอนั้นว่างเจ้าอาวาสลง พระคุณท่านหวังจะอนุเคราะห์หลวงพ่อวัดปากน้ำให้มีที่อยู่เป็นหลักฐาน หวังเอาตำแหน่งเจ้าอาวาสผูกหลวงพ่อไว้วัดปากน้ำ เพื่อไม่ให้เร่ร่อนไปโดยไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ครั้งแรกท่านได้พยายามปัดไม่ยอมรับหน้าที่ แต่ครั้นแล้วก็จำต้องยอมรับด้วยเหตุผล ก่อนจะส่งไปนั้น สมเด็จพระวันรัตตั้งข้อแม้ให้หลายข้อ เช่นห้ามแสดงอภินิหารและทำการเกินหน้าพระคณาธิการวัดใกล้เคียง ให้เคารพการปกครองตามลำดับ ให้อดทนเพื่อความสงบและไม่ให้ใช้อำนาจอย่างรุนแรง

สภาพของวัดปากน้ำสมัยนั้นทุกอย่างไม่เรียบร้อย มีสภาพกึ่งวัดร้าง เป็นที่ควรแก้ไขให้เป็นวัดสมสภาพ งานเบื้องต้น หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ประชุมพระภิกษุสามเณรที่อยู่เดิมและมาใหม่ ท่านให้โอวาทปรับความเข้าใจแก่กันว่า

“เจ้าคณะอำเภอส่งมาเพื่อให้รักษาวัด และปกครองตักเตือนว่ากล่าวผู้อยู่วัดโดยพระธรรมวินัย อันจะให้วัดเจริญได้ต้องอาศัยความพร้อมเพรียงและเห็นอกเห็นใจกันจึงจะทำความ เจริญได้ ถิ่นนี้ไม่คุ้นเคยกับใครเลย มาอยู่นี้เท่ากับถูกปล่อยโดยไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปพึ่งใคร เพราะต่างไม่รู้จักกัน

แต่ก็มั่นใจว่าธรรมที่พวกเราปฏิบัติตรงต่อพระพุทธโอวาทจะประกาศความราบรื่น และรุ่งเรืองให้แก่ผู้มีความประพฤติเป็นสัมมาปฏิบัติ ธรรมวินัยเหล่านั้นจะกำจัดอธรรมให้สูญสิ้นไป พวกเราบวชกันมาคนละมาก ๆ ปี ปฏิบัติธรรมเข้าขั้นไหน มีพระปาฏิโมกข์เรียบร้อยอย่างไร ทุกคนทราบความจริงของตนได้ ถ้าเป็นไปตามแนวพระธรรมวินัยก็น่าสรรเสริญ ถ้าผิดพระธรรมวินัยก็น่าเศร้าใจ เพราะตนเองก็ติเตียนตนเอง

ได้เคยพบมาบ้าง แม้บวชตั้งนานนับเป็นสิบ ๆ ปี ก็ไม่มีภูมิจะสอนผู้อื่น จะเป็นที่พึ่งของศาสนาก็ไม่ได้ ได้แต่อาศัยศาสนาอย่างเดียวไม่ทำประโยชน์ให้เกิดแก่ตนและแก่ท่านซ้ำร้ายยัง ทำให้พระศาสนาเศร้าหมองอีกด้วย บวชอยู่อย่างนี้เหมือนตัวเสฉวน (เรื่องเสฉวนนี้หลวงพ่อท่านชอบพูดบ่อย ๆ ต่อมาก็หายไป) จะได้ประโยชน์อะไรในการบวช ในการอยู่วัด

ฉันมาอยู่วัดปากน้ำ จะพยายามตั้งใจประพฤติให้เป็นไปตามแนวพระธรรมวินัย พวกพระเก่า ๆ จะร่วมกันก็ได้ หรือจะไม่ร่วมด้วยก็แล้วแต่อัธยาศัย ฉันไม่รบกวนด้วยอาการใด ๆ เพราะถือว่าทุกคนรู้สึกผิดชอบด้วยตนเองดีแล้ว ถ้าไม่ร่วมใจก็ขออย่าขัดขวาง ฉันก็จะไม่ขัดขวางผู้ไม่ร่วมมือเหมือนกัน ต่างคนต่างอยู่ แต่ต้องช่วยกันรักษาระเบียบของวัด คนจะเข้าออกต้องบอกให้รู้ ที่แล้วมาไม่เกี่ยวข้อง เพราะยังไม่อยู่ในหน้าที่ จะพยายามรักษาเมื่ออยู่ในหน้าที่” นี้เป็นโอวาทที่หลวงพ่อให้แก่ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา เมื่อไปปกครองวัดนั้นผู้เขียนได้ร่วมประชุมอยู่ด้วย”

ต่อจากนั้นได้เริ่มจัดการศึกษานักธรรมและบาลีประจำสำนัก ครั้งแรกนักเรียนบาลีไปเรียนต่างวัด เช่น วัดอนงค์ วัดกัลยาณมิตร วัดประยุรวงศ์ วัดมหาธาตุ วัดพระเชตุพนจังหวัดพระนคร ตามแต่นักเรียนจะสมัครใจสำนักไหน

สมัยนั้น การคมนาคมใช้เรือจ้างและเรือยนต์ จังหวัดธนบุรียังไม่มีถนน สะพานพุทธยอดฟ้าฯ ยังไม่ได้สร้าง นักเรียนต้องลำบากด้วยการเดินทาง แต่สำเร็จด้วยการพยายามของนักเรียน วัดเพียงแต่ส่งเสริมและอุปการะ มีนักธรรมและเปรียญประจำสำนักขึ้นและเป็นมาด้วยการลำบาก

การอบรมจิตใจดำเนินคู่กันมา ใครต้องการเรียนปริยัติเรียน ใครต้องการปฏิบัติธรรมปฏิบัติ ย่อมศึกษาได้ตามอัธยาศัย ไม่ได้อย่างเดียวคือไม่ยอมให้อยู่เปล่า ไม่ศึกษาไม่ปฏิบัติก็ทำหน้าที่การบริหารไป กิจการของท่านอยู่ในความเพ่งเล็งของประชาชน โดยวิธีนี้ย่อมเป็นที่ภาคภูมิใจของท่านนัก ท่านพูดว่า ดอกไม้ที่หอมไม่ต้องเอาน้ำหอมมาพรมก็หอมเอง ใครจะห้ามไปได้ ซากศพไม่ต้องเอาของเหม็นมาละเลงใส่ ซากศพก็ต้องแสดงกลิ่นศพให้ปรากฏ ปิดกันไม่ได้ เพราะการขาดแคลนเรื่องอาหารการบริโภคมีอยู่เป็นประจำ หลวงพ่อวัดปากน้ำคิดแก้ไขด้วยวิธีเลี้ยงภิกษุสามเณรทั้งวัด โดยท่านรับภาระทั้งสิ้น ท่านเคยพูดว่ากินคนเดียวไม่พอกิน กินมากคนกินไม่หมด พวกแกคอยดู สำเร็จซีน่า อันความจริงส่วนตัว ท่านพอมีแก่สภาพแต่อัธยาศัยที่ทนอยู่ไม่ได้ จึงตั้งโรงครัวขึ้น เพื่ออุปการะแก่ผู้ปฏิบัติธรรมและนักศึกษาปริยัติ ท่านได้ปฏิบัติการเลี้ยงพระมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๙ จนถึง พ.ศ.๒๕๐๒ เมื่อท่านมรณภาพแล้ว การเลี้ยงพระก็คงมีอยู่จนทุกวันนี้ นับเป็นเวลา ๔๔ ปี เริ่มต้นจนถึงวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๒ อันเป็นวันมรณภาพ เริ่มแต่จำนวนภิกษุสามเณร ๒๐-๓๐ รูป จนถึง ๕๐๐ รูปเศษ

การอบรมภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ บรรพชิตนั้น ถือเป็นกิจสำคัญของหลวงพ่อวัดปากน้ำ เมื่อ พ.ศ. อะไรผู้เขียนจำไม่ได้ เกิดเรื่องอาชญากรรมขึ้นในวัด วันนั้น พระกมล ศิษย์ที่ถูกใจของท่านในด้านเทศนาใช้ปฏิภาณและด้านปฏิบัติชั้นดี ได้เทศนาหัวข้อธรรมเกี่ยวแก่พระกรรมฐานอยู่ หลวงพ่อฟังอยู่ด้วย (ต่อมา หลวงพ่อได้ส่งพระกมล นี้ไปอยู่จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเผยแพร่ธรรม ทำงานอยู่ ๓-๔ ปี ก็ถึงมรณภาพ) เมื่อเสร็จการอบรมแล้วประมาณเวลา ๒๐.๐๐ น. ต่างกลับยังที่พักของตน มีผู้ลอบสังหารหลวงพ่อวัดปากน้ำที่หน้าศาลาการเปรียญ ขณะที่ท่านออกมาจากศาลาจะกลับกุฏิ ผู้ร้ายใช้ปืนยิงท่านถูกจีวรท่านทะลุ ๒ รู ยิงนายพร้อม อุปัฏฐากผู้ติดตามหลัง ถูกที่ปากทะลุแก้มเป็นบาดแผลสาหัส แต่ไม่ถึงแก่กรรม ท่านรอดมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ น่าจักเป็นเทวดาผู้รักษาวัดปากน้ำยังต้องการท่านอยู่จึงให้แคล้วคลาดอันตราย แห่งชีวิตอย่างหวุดหวิด ถ้าท่านสิ้นชีวิตในขณะนั้น วัดปากน้ำก็น่าจักไม่มีความหมายอะไรสำหรับท่านและคนทั่วไป

ระยะนี้ความตึงเครียดกับเจ้าคณะอำเภอภาษีเจริญทวีขึ้นอีก เข้ากันไม่ติดดุจขมิ้นกับปูน ทางเจ้าคณะอำเภอว่าวัดปากน้ำผิดสัญญาต่อกันไม่ทำตามโอวาท ทางวัดปากน้ำก็ว่า จะให้งอมืองอเท้าเท่านั้นไม่ได้ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ชีวิตเป็นหมัน ท่านพูดแข็งแรงมาก ฟังท่านแล้วก็หนักใจ แล้วท่านก็ดำเนินปฏิปทารุดหน้าต่อไป คำว่าถอยหลังท่านไม่เคยใช้

สมัยกำลังตั้งเนื้อตั้งตัว ท่านคิดก้าวหน้าไปไกลมาก กล่าวคือมีความตั้งใจมั่นในการศึกษา พูดมาไม่น้อยกว่า ๒๐ ปี ว่าจะสร้างโรงเรียนถาวรขนาด ๓ ชั้น จุนักเรียนได้ ๑,๐๐๐ คน ๒ ชั้นล่างให้เรียนปริยัติ ชั้นที่ ๓ จะให้เรียนปฏิบัติธรรม ถ้าหลังเดียวไม่พอจะสร้างขึ้นอีก ๑ หลัง ขนาดเดียวกัน ได้ฟังท่านสร้างวิมานบนอากาศมานาน ฟังแล้วก็ไม่ได้ใส่ใจ เพราะเกิดความคิดเห็นว่าย่อมเป็นไปไม่ได้ และปรารภต่อไปว่า เมื่อสร้างโรงเรียนเสร็จแล้วจะจัดการฉลอง มีแจง ๕๐๐ โดยหาเจ้าภาพจัดสำรับคาวหวานองค์ละคู่ สมณบริขารพร้อม รวม ๕๐๐ ชุด เท่าจำนวนพระ ถ้าการเนิ่นช้าถึง พ.ศ. ๒๕๐๐ จะจัดการฉลองโดยอาราธนาพระจำนวน ๒,๕๐๐ รูป พร้อมด้วยสมณบริขารดังกล่าวแล้วครบชุด เมื่อเสร็จแล้วสำรับคาวหวานขอถวายไว้สำหรับวัด วัดปากน้ำก็จะสมบูรณ์ด้วยเครื่องใช้เป็นประโยชน์แก่วัดต่อไป และพูดแถมท้ายว่า
“แกคอยดู จะสนุกกันใหญ่”

เป็นความตั้งใจของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ดังนั้น ท่านชอบพูดเรื่องนี้แก่ผู้เขียน และท่านก็รู้ว่าผู้เขียนไม่ได้เลื่อมใสอะไรในท่านมากนัก แต่ชอบพูดฝากไว้

หลวงพ่อวัดปากน้ำอยู่ในลักษณะพูดจริงทำจริง และไม่ใคร่ฟังเสียงใครคัดค้าน เมื่อท่านมองเห็นช่องจะสำเร็จ ฉะนั้น โรงเรียนทันสมัยหลังหนึ่งจึงเกิดขึ้นในวัดปากน้ำ เป็นตึก ๓ ชั้น จริงดังพูด พร้อมด้วยเครื่องประดับตกแต่งอย่างดียิ่ง และทันสมัย มีห้องเรียน ห้องน้ำ ห้องส้วมประจำชั้น มีเครื่องอุปกรณ์การศึกษาชั้นหนึ่งครบบริบูรณ์ สมแก่นักเรียนจำนวนไม่น้อยกว่าที่ได้ดำริไว้ ชั้นบนเปิดเป็นห้องโถง เพื่อปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน สมจริงดังปณิธานที่ได้ตั้งไว้ เป็นโรงเรียนตึกคอนกรีตเสริมเหล็กสูง ๓ ชั้น ยาว ๒๙ วา ๒ ศอก กว้าง ๕ วา ๑ ศอก ค่าก่อสร้าง ๒,๕๙๘,๑๑๐.๓๙ บาท (สองล้านห้าแสนเก้าหมื่นแปดพันหนึ่งร้อยสิบบาท สามสิบเก้าสตางค์) ติดไฟฟ้าและพัดลมทันสมัย โรงเรียนหลังนี้เป็นพยานแห่งความฝันของหลวงพ่อวัดปากน้ำ “มิใช่ดีแต่พูด ย่อมทำดีตามพูดด้วย” จึงควรแก่คำสรรเสริญยิ่งนัก แต่การฉลองนั้นท่านรอ ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อใกล้ ๒๕ พุทธศตวรรษ ท่านอาพาธ ไม่สามารถจะดำเนินงานตามเจตนาได้ โรงเรียนหลังนี้เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์มาก เพราะเมื่อก่อนนั้น การสอบนักธรรมหมุนเวียนไปวัดโน้นบ้าง วัดนั้นบ้าง แล้วแต่เจ้าคณะอำเภอจะสั่งไป ได้รับความขัดข้องประการต่าง ๆ บางแห่งก็ใกล้ บางแห่งก็ไกล ไม่สะดวกด้วยสถานที่สอบ

เมื่อโรงเรียนวัดปากน้าสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ทางคณะสงฆ์ได้ย้ายการสอบจากที่อื่นมาเปิดสนามสอบที่วัดปากน้ำ รวมสอบแห่งเดียวในอำเภอภาษีเจริญ ธนบุรี เป็นการสะดวกแก่นักเรียนทุกประการ บางวันก็มาฉันเพลที่วัดปากน้ำเสียทีเดียว เป็นสถานที่สอบประจำทุกปีมา

การปฏิบัติธรรมด้านพระกัมมัฏฐาน ถือว่าเป็นงานใหญ่ในชีวิตของท่าน ด้านคันถธุระมอบให้ศิษย์ที่เป็นเปรียญดำเนินงานไป นักปริยัตินักปฏิบัติเพิ่มจำนวนยิ่งขึ้น เพราะท่านมีความปรารถนาไว้ตั้งแต่มาครองวัดปากน้ำ และได้ปฏิญาณในพระอุโบสถว่า “บรรพชิตที่ยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข” ฉะนั้น ใครจะบ่ายหน้ามาพึ่งท่าน จึงไม่ได้รับคำปฏิเสธกลับไป ใครพูดถึงจำนวนภิกษุสามเณรว่ามากเกินไป ท่านดีใจกลับหัวเราะพูดว่า “เห็นคุณพระพุทธศาสนาไหมล่ะ” ถ้าพูดถึงเรื่องนี้เป็นถูกอารมณ์มากทีเดียว ท่านไม่พูดว่าเลี้ยงไม่ไหว มีแต่พูดว่า “ไหวซิน่า” แล้วก็หัวเราะ คิดว่าท่านคงปลื้มใจที่ความคิดความฝันของท่านเป็นผลสำเร็จขึ้น

การบำเพ็ญสมณธรรม ด้วยการเจริญพระกัมมัฏฐาน กำลังแผ่รัศมีไปไกล ประชาชนต้อนรับการปฏิบัติ ภิกษุสามเณรต่างจังหวัดมากขึ้น เกียรติคุณก็แพร่หลาย วันธรรมสวนะจะเห็นคนลงเรือจ้างจากปากคลองตลาดมาวัดปากน้ำไม่ขาดสาย จนพวกเรือจ้างดีใจไปตาม ๆ กัน เพราะเพิ่มรายได้แก่ผู้มีอาชีพทางนั้น วันพฤหัสบดีเป็นวันเรียนและเริ่มปฏิบัติ วันนี้ก็มีคนมาก วันละหลาย ๆ สิบคนก็มี ยิ่งทางรถสะดวกคนยิ่งมากขึ้น

ผู้ปฏิบัติคนใดเห็นธรรมด้วยปัญญาของตน ท่านบอกว่าได้ธรรมกาย อันคำว่าธรรมกายนั้น เป็นคำที่แปลกหูคนเอามาก ๆ เพราะเป็นชื่อที่ไม่มีใครสนใจ ผู้ไม่ทันคิดก็เหมาเอาว่า หลวงพ่อวัดปากน้ำอุตริบัญญัติขึ้นใช้เฉพาะวิธีการของท่าน คำว่าธรรมกาย เป็นที่เย้ยหยันของผู้ไม่ปรารถนาดีต่อใคร บางคนก็ว่าอวดอุตริมนุสฺสธรรม พูดเหยียดหยามว่าใครอยากเป็นอสุรกายจงไปเรียนธรรมกายวัดปากน้ำ ข่าวนี้ก็ทราบถึงหลวงพ่อวัดปากน้ำเหมือนกัน ท่านยิ้มรับถ้อยคำเช่นนั้น ไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ แสดงให้เห็น หลวงพ่อพูดว่าน่าสงสาร พูดไปอย่างไร้ภูมิ ไม่มีที่มาเขาจะบัญญัติขึ้นได้อย่างไร เป็นถ้อยคำของคนเซอะ ท่านว่าอย่างนั้น

เมื่อมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์คำว่า “ธรรมกาย” เช่นนั้น และพูดไปในแนวที่ทำลายท่าน นิสัยที่ไม่ยอมแพ้ใครอันมีมาแต่กำเนิด หลวงพ่อวัดปากน้ำใช้คำว่า “ธรรมกาย” เป็นสัญญลักษณ์ของสำนักกัมมัฏฐานวัดปากน้ำทีเดียว เอาคำว่าธรรมกายขึ้นเชิดชู ศิษยานุศิษย์รับเอาไปเผยแพร่ทั่วทิศ และอิทธิพลของคำว่า “ธรรมกาย” นั้นไปแสดงความอัศจรรย์ถึงทวีปยุโรป ถึงกับศาสตราจารย์วิลเลียม ต้องเหาะมาศึกษาและอุปสมบท ณ วัดปากน้ำ เป็นคนแรกที่ชาวยุโรปมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในประเทศไทย นายวิลเลียมนี้เป็นชาวอังกฤษ

คำว่า “ธรรมกาย” เป็นคำที่ระคายหูของคนบางพวก จึงยกเอาคำนั้นมาเสียดสี เพื่อให้รัศมีวัดปากน้ำเสื่อมคุณภาพ หลวงพ่อวัดปากน้ำพูดว่า เรื่องตื้น ๆ ไม่น่าตกใจอะไร ธรรมกายเป็นของจริง ของจริงนี้จะส่งเสริมให้วัดปากน้ำเด่นขึ้นไม่น้อยหน้าใคร พวกแกคอยดูไปเถิด ดูเหมือนว่าไม่มีใครช่วยแก้แทนท่าน

แต่คำว่า “ธรรมกาย” นั้น ย่อมซาบซึ้งกันแจ่มแจ้ง เมื่อหลวงพ่อวัดปากน้ำได้มรณภาพแล้ว กล่าวคือ เมื่อทำบุญ ๕๐ วัน ศพของพระคุณท่าน คณะเจ้าภาพได้อาราธนาเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร วัดชนะสงครามมาแสดงธรรม เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธรได้ชี้แจงว่า คำว่า “ธรรมกาย” นั้น มีมาในพระสุตตันตปิฎก ท่านอ้างบาลีว่า ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐา เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ ซึ่งพอจะแปลความได้ว่า
“ธรรมกายนี้เป็นชื่อของตถาคต ดูกร วาเสฏฐะ”
ทำให้ผู้ฟังเทศน์เวลานั้นหลายร้อยคนชื่นอกชื่นใจเป็นอย่างยิ่ง ทุกคนกราบสาธุการแด่เจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร และประหลาดใจว่า ทำไมเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร จึงทราบประวัติและการปฏิบัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำได้ถูกต้อง

ผู้เขียนเรื่องนี้ก็แปลกใจมาก เมื่อแสดงธรรมจบ ลงจากธรรมาสน์แล้ว จึงถามว่าผู้แสดงธรรมว่า คุ้นเคยกับหลวงพ่อวัดปากน้ำหรือ จึงแสดงธรรมได้ถูกต้องตามเป็นจริง

พระธรรมทัศนาธรตอบว่า
“อ้าว ไม่รู้หรือ ผมติดต่อกับท่านมานานแล้ว หลวงพ่อวัดปากน้ำข้ามฟากไปฝั่งพระนครแทบทุกคราวไปหาผมที่วัดชนะสงคราม และผมก็หมั่นข้ามมาสนทนากับเจ้าคุณวัดปากน้ำ การที่หมั่นมานั้น เพราะได้ยินเกียรติคุณว่ามีพระเณรมาก แม้ตั้ง ๔ – ๕ ร้อยรูป ก็ไม่ต้องบิณฑบาตฉัน วัดรับเลี้ยงหมด อยากทราบว่าท่านมีวิธีการอย่างไรจึงสามารถถึงเพียงนี้ และก็เลยถูกอัธยาศัยกับท่านตลอดมา” เมื่อทราบความจริงเช่นนั้น ทุกคนก็หายข้องใจ ผู้เขียนก็เคยแปลกใจ โดยท่านเจ้าคุณมงคลเทพมุนี เคยพูดถึงเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธรเสมอว่า องค์นี้ใช้ได้ ๆ โดยที่ไม่ทราบว่าท่านหมายความว่าอย่างไร
การอาชีพ
ชาติภูมิเดิมเป็นพ่อค้า เข้าตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่บ้านหมู่เหนือของวัดสองพี่น้องคือทิศใต้ของวัดแต่ ต่างฝั่งกับวัด วัดอยู่ตะวันออกเฉียงเหนือ บ้านอยู่ตะวันตกเฉียงใต้ มีคลองกั้นเป็นระหว่างวัดกับบ้าน ค้าขายมาตั้งแต่อายุ14ปีเศษๆนับตั้งแต่บิดาล่วงไปก็เป็นพ่อค้าแทนบิดาจนถึง อายุ19ปี ตรงนี้ได้ปฏิญาณตัวบวชจนตาย ด้วยมามีอุปสรรคเกิดขึ้นในระหว่างขายข้าวแล้วนำเรือเปล่ากลับบ้าน เข้าลัดที่คลองบางอีแท่น เหนือตลาดใหม่ แม่น้ำนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ในลัดนี้ไม่สู้ไกลนัก แต่พวกโจรชุกชุม แต่พอเข้าลัดไปเล็กน้อย ก็มาคิดแต่ในใจของตัวว่า คลองก็เล็กโจรก็ร้าย ท้ายเรือเข้าก็ไล่เลี่ยกับฝั่ง ไม่ต่ำไม่สูงกว่ากันเท่าไหร่นัก น่าหวาดเสียวอันตราย เมื่อโจรมาก็ต้องยิงเรือหรือทำร้ายคนท้ายก่อน ถ้าเขาทำเราเสียได้ก่อนก็ไม่มีทางที่จะสู้เขาถ้าเราเอาอาวุธปืนแปดนัดไว้ทาง หัวเรือ แล้วเราไปถ่อเรือทางลูกจ้างเสีย เมื่อโจรมาทำร้ายเราก็จะมีทางสู้ได้บ้าง คิดดังนี้แล้วก็เรียกลูกจ้างเสียเมื่อโจรมาทำร้ายเราก็จะมีทางสู้ได้บ้าง คิดดังนี้แล้วก็เรียกลูกจ้างที่ถ่อเรือแถบทรายมาถือท้าย เราออกไปถ่อแทน ถ่อเรือไปก็คิดไป เรือก็เดินไปหาที่เปลี่ยวหนักขึ้นทุกที ความคิดก็ถี่ขึ้นว่า ลูกจ้างที่เราจ้างมานี้ คนหนึ่งก็ไม่กี่บาท เพียง 11 บาท หรือ 12 บาทเท่านั้น ส่วนตัวเราเป็นเจ้าของทั้งทรัพย์ทั้งเรือหมด ส่วนตายจะให้ลูกจ้างตายก่อนไม่ถูก เอาเปรียบลูกจ้างมากเกินไปไม่สมควร ถ่อไปก็คิดไปดังนี้และคิดถี่หนักเข้าก็ตัดสินใจเด็ดขาดออกไป เราเป็นเจ้าของให้เราตายก่อนดีกว่าจึงจะสมควร คิดตกลงแล้วก็เรียกลูกจ้างให้มาถ่อตัว ก็หยิบปืนแปดนัดที่เอาไว้ข้างหัวเรือมาไว้ใกล้ตัว ข้างท้ายเรือก็ถือท้ายเรื่อยไปใกล้ออกจากลัดเต็มที น้ำก็ขึ้นเรือข้าวที่หนักก็ตามหัวน้ำขึ้นสวนเข้ามาประดังกันแน่น จีนก็ส่งเสียงแต่ว่า ตู้อ่าๆ ประดังกันแน่น ออกก็ไม่ได้ เข้าไปไม่ได้น้ำก็น้อย เลยต้องต่างฝ่ายต่างก็ปักหลักกรานหน้าจอดกันนิ่งอยู่ เราเป็นคนท้าย ผ่านพ้นอันตรายมาแล้วก็มาคิดว่า การหาเงินทองนี้ลำบาก จริงๆเจียวหนา บิดาของเราก็หามาดังนี้เราก็หาซ้ำรอยบิดาตามบิดาบ้าง เงินแลทองที่หากันทั้งหมดด้วยกันนี้ต่างคนก็ต่างหาไม่มีเวลาหยุดด้วยกันทั้ง นั้น ถ้าใครไม่เร่งรีบหาให้มั่งมีก็เป็นคนต่ำและเลวไม่มีใครนับถือแลคบหาเข้าหมู่ เขาก็อายเขา เพราะเป็นคนจนกว่าเขาไม่เทียบหน้าเทียมบ่าเทียมไหล่กับเขา

ท่านเป็นคนมีนิสสัยชอบก้าวหน้า มุ่งไปสู่ความเจริญ ท่านพบกับญาติหรือคนชอบพอแล้วถามถึงการประกอบอาชีพ ถ้าทราบว่าผู้ใดเจริญขึ้นก็แสดงมุทิตาจิต เมื่อทราบว่าทรงตัวอยู่หรือทรุดลงท่านก็จะพูดว่า หากินอย่างไก่ หาได้ไม่มีเก็บ อย่างนี้ต้องจนตาย ควรหาอุบายใหม่

เมื่ออายุ ๑๙ ปี ระหว่างที่ทำการค้าอยู่นั้น ความคิดอันประกอบด้วยความเบื่อหน่ายเกิดแก่ท่าน เป็นทั้งนี้ก็น่าจะลำบากใจอันเกี่ยวแก่อาชีพ เพราะต้องเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงทำงานเลี้ยงมารดา และรับผิดชอบในกิจการต่าง ๆ โดยเกิดธรรมสังเวชขึ้นในใจว่า “การหาเงินเลี้ยงชีพนั้นลำบาก บิดาของเราก็หามาอย่างนี้ ต่างไม่มีเวลาว่างกันทั้งนั้น ถ้าใครไม่รีบหาให้มั่งมีก็เป็นคนชั้นต่ำ ไม่มีใครนับหน้าถือตา เข้าหมู่เพื่อนบ้านก็อับอายไม่เทียมหน้าเขา บุรพชนต้นสกุลก็ทำมาอย่างนี้เหมือนกัน จนถึงบิดาเราและตัวเราในบัดนี้ ก็คงทำอยู่อย่างนี้ ก็บัดนี้บุรพชนทั้งหลายได้ตายไปหมดแล้ว แม้เราก็จักตายเหมือนกัน เราจะมัวแสวงหาทรัพย์อยู่ทำไม ตายแล้วเอาไปไม่ได้ บวชดีกว่า” เมื่อได้โอกาสท่านได้จุดธูปเทียนบูชาพระ อธิษฐานว่า “ขอเราอย่าได้ตายเสียก่อนเลย ขอให้ได้บวชเสียก่อน เมื่อบวชแล้วจะไม่ลาสิกขา ขอบวชไปจนตลอดชีวิต” นี้ท่านบอกว่าเริ่มอธิษฐานมาตั้งแต่อายุ ๑๙ ปี

หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านเล่าต่อไปว่า เมื่อตกลงใจบวชไม่สึกแล้ว จิตคิดเป็นห่วงมารดาเกิดขึ้น จึงขะมักเขม้นทำงานสะสมทรัพย์เพื่อให้มารดาเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิต เมื่อจะเทียบราคาเงินในบัดนี้กับสมัยก่อน ๕๐ ปีที่ล่วงมานั้น ไกลกันมาก เพราะเมื่อก่อน ๕๐ ปี กล้วยน้ำว้า ๑๐๐ หวี เป็นราคา ๕๐ สตางค์ สมัยก่อนใช้อัฐ เรียกว่า ๑๐๐ ละ ๒ สลึง บางคราว ๑๐๐ เครือ ต่อเงิน ๒.๕๐ บาท เพราะเงินจำนวนชั่งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำหาให้มารดานั้น ก็ย่อมมีราคาสูงสุดในสมัยนั้น และย่อมเป็นน้ำเงินที่อาจเลี้ยงชีวิตจนตายได้จริง ถ้าหากน้ำเงินไม่มีราคาต่ำลงเช่นปัจจุบันนี้ แต่ก็ประหลาดที่มารดาของท่านมีอายุยืนมาจนถึงยุคกล้วยน้ำว้าหวีละบาทกว่า
การศึกษาเมื่อเยาว์วัย
เรียนหนังสือวัดกับพระภิกษุน้าชายของท่าน ณ วัดสองพี่น้อง เมื่อพระภิกษุน้าชายลาสิกขาบทแล้ว ได้มาศึกษาอักขรสมัย ณ วัดบางปลา อ.บางเลน จ.นครปฐม ในปกครองของพระอาจารย์ทรัพย์ เพราะชาติภูมิของบิดาอยู่ที่บางปลา ปรากฏว่าหลวงพ่อเรียนได้ดีสมสมัย และการศึกษาขั้นสุดท้ายของเด็กวัดในสมัยนั้น ก็คือเขียนอ่านหนังสือขอมได้คล่องแคล่ว อ่านหนังสือพระมาลัยซึ่งเขียนเป็นอักษรขอมเป็นบทเรียนขั้นสุดท้าย อ่านกันไปคนละหลาย ๆ จบ จนกว่าจะออกจากวัด ซึ่งจะเรียกกันสมัยนี้ว่าจบหลักสูตรการศึกษาก็ได้ การศึกษาของหลวงพ่อวัดปากน้ำอยู่ในลักษณะนี้ ท่านมีนิสัยจริงมาแต่เล็ก ๆ คือตั้งใจเรียนจริง ๆ ไม่ยอมอยู่หลังใคร
ชาติภูมิหลวงพ่อวัดปากน้ำ
เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (สด) ท่านเกิดวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๒๗ ตรงกับวันศุกร์ แรม ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีวอก ฉศก จุลศักราช ๑๒๔๖ ณ บ้านสองพี่น้อง ตำบลสองพี่น้อง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี บ้านตำบลนี้อยู่ฝั่งใต้ ตรงกันข้ามกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตรนายเงิน นางสุดใจ มีแก้วน้อย สกุลของท่านทำการค้าขาย มีพี่น้องร่วมมารดาบิดา ๕ คน คือ:-

๑. นางดา เจริญเรือง
๒. เจ้าคุณพระมงคลเทพมุนี (สด มีแก้วน้อย)
๓. นายใส มีแก้วน้อย
๔. นายผูก มีแก้วน้อย
๕. นายสำรวย มีแก้วน้อย

ญาติพี่น้องของหลวงพ่อวัดปากน้าแทบทุกคนนั้น คนสุดท้องตายก่อนแล้วเลื่อนมาตามลำดับชั้น คนโตหัวปีตายทีหลังแทบทุกคน เช่นพี่น้องหลวงพ่อวัดปากน้ำคนที่ ๕ ตายก่อนแล้วถึงคนที่ ๔ คนที่ ๓ แล้วตัวหลวงพ่อ อันดับที่ ๓ นั้นเพิ่งตายก่อนหลวงพ่อไม่ถึงเดือน คล้ายกับว่าจะรักษาระเบียบแห่งการตายไว้ มัจจุราชไม่ยอมให้ลักลั่นเป็นการผิดระเบียบ จนบัดนี้เหลือแต่คนที่ ๑

อุปสมบท
เดือนกรกฎาคม ๒๔๔๙ ต้นเดือน ๘ ท่านได้อุปสมบท เวลานั้นอายุย่างเข้า ๒๒ ปี บวช ณ วัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีฉายาว่า จนฺทสโร

พระอาจารย์ดี วัดประตูศาล อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์

พระครูวินยานุโยค (เหนี่ยง อินฺทโชโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์

พระอาจารย์โหน่ง อินฺทสุวณฺโณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

คู่สวด อยู่วัดเดียวกัน คือวัดสองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่วัดสองพี่น้อง ๑ พรรษา ปวารณาพรรษาแล้ว เดินทางมาจำพรรษา ณ วัดพระเชตุพน กรุงเทพฯ เพื่อเล่าเรียนพระธรรมวินัยต่อไป

การศึกษาของภิกษุสามเณรสมัยนั้น การเรียนบาลีต้องท่องสูตรก่อน เมื่อท่องจบสูตรเบื้องต้นแล้ว จึงเริ่มจับเรียนมูล เริ่มแต่เรียนสนธิขึ้นไป หลวงพ่อวัดปากน้ำเริ่มต้นโดยวิธีนี้แล้ว เรียน นาม สมาส ตัทธิต อาขยาต กิตก์ แล้วเริ่มขึ้นคัมภีร์ จับแต่พระธรรมบทไป ท่านเรียนธรรมบทจบทั้ง ๒ บั้น เมื่อจบ ๒ บั้นแล้วกลับขึ้นต้นใหม่ เรียนมงคลทีปนีและสารสังคหะคามความนิยมของสมัย จนชำนาญและเข้าใจและสอนผู้อื่นได้

เมื่อกำลังเรียนอยู่นั้น ท่านต้องพบกับความลำบากมาก สมัยนั้นเรียนกันตามกุฏิ ต้องเดินไปศึกษากับอาจารย์ตามวัดต่าง ๆ เมื่อฉันเช้าแล้วข้ามฟากไปเรียนที่วัดอรุณราชวราราม กลับมาฉันเพลที่วัด เพลแล้วไปเรียนวัดมหาธาตุ ตอนเย็น ไปเรียนที่วัดสุทัศน์บ้าง วัดสามปลื้มบ้าง กลางคืนเรียนที่วัดพระเชตุพน แต่ไม่ได้ไปติด ๆ กันทุกวัน มีเว้นบ้าง สลับกันไป

สมัยที่ท่านศึกษาอยู่นั้น กำลังนิยมใช้หนังสือขอมที่จารลงในใบลาน และนักเรียนที่ไปขอศึกษากับอาจารย์นั้น บทเรียนไม่เสมอกันต่างคนต่างเรียนตามสมัครใจ กล่าวคือบางองค์เรียนธรรมบทบั้นต้น บางองค์เรียนบั้นปลาย ยิ่งนักเรียนมาก หนังสือที่เอาไปโรงเรียนก็เพิ่มจำนวนขึ้น เช่นนักเรียน ๑๐ คน เรียนหนังสือกันคนละผูก นักเรียนที่ไปเรียนนั้นก็ต้องจัดหนังสือติดตัวไปครบจำนวนนักเรียน เป็นทั้งนี้ก็เพราะนอกจากเรียนตามบทเรียนของตนแล้วเอาหนังสือไปฟังบทเรียน ของคนอื่นด้วย ช่วยให้ตนมีความรู้กว้างขวางขึ้น ฉะนั้นปรากฏว่านักเรียนต้องแบกหนังสือไปคนละหลายผูก แบกจนไหล่ลู่ คือว่าหนังสือเต็มบ่า

หลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นนักเรียนประเภทดังกล่าว ท่านพยายามไม่ขาดเรียน แบกหนังสือข้ามฟากลงท่าประตูนกยูงวัดพระเชตุพนไปขึ้นท่าวัดอรุณฯ เข้าศึกษาในสำนักนั้น ท่านเล่าให้ฟังว่าลำบากอยู่หลายปี ความเพียรของท่านจนชาวประตูนกยูงเกิดความเลื่อมใสได้ปวารณาเรื่องภัตตาหาร คืออาราธนาท่านรับบิณฑบาตเป็นประจำและขาดสิ่งใดขอปวารณา ระยะนี้ท่านเริ่มมีความสุขขึ้น เรื่องภัตตาหารมีแม่ค้าขายข้าวแกงคนหนึ่งจัดอาหารเพลถวายเป็นประจำ แม่ค้าคนนี้ชื่อนวม เมื่อหลวงพ่อย้ายมาวัดปากน้ำ แม่ค้าผู้นี้ทุพพลภาพลงเพราะความชราขาดผู้อุปการะ ท่านได้รับตัวมาอยู่วัดปากน้ำได้อุปการะทุกวิถีทาง เมื่อสิ้นชีวิตก็ได้จัดการฌาปนกิจศพให้ หลวงพ่อว่าเป็นมหากุศล เมื่อเราอดอยาก อุบาสิกานวมได้อุปการะเรา ครั้นอุบาสิกานวมยากจน เราได้ช่วยอุปถัมภ์ ที่สุดต่อที่สุดมาพบกันจึงเป็นมหากุศลอันยากที่จะหาได้ง่าย ๆ

ท่านเดินทางไปศึกษาในสำนักต่าง ๆ อยู่หลายปี ครั้นต่อมามีผู้เลื่อมใสในตัวท่านมากขึ้น พวกข้าหลวงในวังกรมหมื่นพิชัยมหินทโรดม ซึ่งชาวบ้านใกล้เคียงเรียกว่า วังพระองค์เพ็ญ เลื่อมใสในท่าน เวลาเพลช่วยกันจัดสำรับคาวหวานมาถวายทุกวัน นับว่าเป็นกำลังส่งเสริมให้สะดวกแก่การศึกษาเป็นอย่างดี เมื่อได้กำลังในด้านส่งเสริมเช่นนี้ หลวงพ่อจึงจัดการตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดพระเชตุพน โดยใช้กุฏิของท่านเป็นโรงเรียน สมัยนั้นโรงเรียนวัดพระเชตุพนมีหลายแห่ง ใครมีความสามารถก็ตั้งได้ หลวงพ่อวัดปากน้ำสมัยนั้น ท่านได้พระมหาปี วสุตตมะ เปรียญ ๕ ประโยคเป็นครูสอน โดยท่านจัด

แชร์เลย

Comments

comments

Share: