สิรสาชาดก

ตาต ปิยปุตฺตกา จาติ อิทํ สตฺถา เวฬุวเน วิหรนฺโต สุคตโทสกรณ เทวทตฺตํ อารพฺ กเถสิ

สตฺถา สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ เมื่อพระองค์ทรงสำราญพระอิริยาบถอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร ทรงพระปรารภพระเทวทัตผู้มุ่งร้ายหมายล้างพระองค์เป็นต้นเหตุ แล้วตรัสเทศนาสิรสาชาดกนี้ให้เป็นผล มีคำเริ่มต้นว่า ตาต ปิยปุตฺตกา จ เป็นอาทิ

เนื้อเรื่องแห่งชาดกนี้ มีอยู่ในเรื่องสังฆเภทที่กล่าวถึงพระเทวทัตหาอุบายให้สงฆ์แตกกัน มีใจความที่ท่านพรรณนาไว้ดังที่สาธกยกมาแสดงให้แจ้งต่อไปนี้ คือเรื่องที่พระเทวทัตเริ่มแต่ท่านได้บรรพชาในพระพุทธศาสนา จนถึงพระเจ้าพิมพิสารสวรรคต ขอให้ปราชญ์ดูตามที่กล่าวไว้ในเรื่องนั้น

เรื่องในหนังสือนี้ว่า ครั้นพระเทวทัตทูลยุยงให้พระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารแล้วท่านเข้าไปเฝ้าอีก ถวายพระพรว่า มหาบพิตร พระประสงค์ของพระองค์สำเร็จแล้ว ส่วนความประสงค์ของอาตมภาพจักสำเร็จได้ต่อเมื่อปลงพระชนม์พระทศพลแล้ว อาตมภาพจักเป็นพระพุทธเจ้า แน่นอน ตรัสถามว่า จะให้โยมทำอย่างไรในเรื่องนี้ ขอถวายพระพร ขอได้โปรดให้ประชุมพวกแม่นธนู พระราชาตรัสสั่งให้หาพวกแม่นธนู ๑๐๐ ตระกูล มีนายขมังธนู เป็นต้น มาประชุมกันแล้วตรัสว่า พวกเจ้าจงทำตามถ้อยคำของพระเถระ รับสั่งเท่านี้ แล้วก็ทรงส่งไปสู่สำนักของพระเทวทัต

พระเทวทัตใช้ให้ไปพยายามปลงพระชนม์ชีพพระตถาคตเจ้า ครั้นพวกนายขมังธนูไปถึงสำนักของพระพุทธองค์ ก็ไม่อาจเพื่อจะทำร้ายพระพุทธองค์ได้ กลับเลื่อมใสในพระพุทธ​ศาสนา ยอมตนบรรพชาแล้วสำเร็จพระอรหันต์ เรื่องนี้ได้ปรากฏรู้กันทั่วไปในเหล่าภิกษุสงฆ์ พระภิกษุทั้งหลายจึงสนทนากันในธรรมสภาว่า ท่านทั้งหลายได้ทราบว่าพระเทวทัตได้พยายามเพื่อจะปลงพระชนม์ชีพพระตถาคตเจ้าด้วยจิตริษยาในพระตถาคตเจ้า แต่ไม่สามารถทำไห้สำเร็จได้สมประสงค์ ตัวเองกลับได้รับความเสื่อมเสีย

ครั้งนั้นแล สมเด็จพระศาสดาเสด็จออกจากสีหไสยาสน์ ได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลายที่สนทนากันด้วยทิพย์โสตธาตุ จึงเสด็จไปสู่ธรรมสภา ประทับนั่งแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสนทนาเรื่องอะไรกัน เมื่อเหล่าภิกษุทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่เดี๋ยวนี้เท่านั้น ถึงเมื่อก่อนพระเทวทัตก็ได้พยายามเพื่อจะฆ่าเราเหมือนกัน แต่ไม่สำเร็จ ตรัสดังนี้ แล้วทรงนิ่งเสีย หมู่ภิกษุทูลขอให้ทรงแสดงเรื่องนั้น จึงทรงยกเรื่องล่วงแล้วมาแสดงดังต่อไปนี้

มีใจความพิสดารว่า ในอดีตกาล มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระเจ้าวัสสวดี ได้เถลิงราชย์อยู่ในปุบผวดีนคร พระอัครมเหสีของท้าวเธอทรงพระนามว่าพระนางสุรสี เป็นใหญ่กว่าพระสนมนารีทั้งมวล พระนางมีพระโอรส ๗ พระองค์ องค์แรกพระนามว่า สุนักขัดตะ ที่ ๒ พระนามว่า จันทะ ที่ ๓ พระนามว่า สุริยะ ที่ ๔ พระนามว่า สุธนะ ที่ ๕ พระนามว่า สิงหเทพ ที่ ๖ พระนามว่า กามเทพ ที่ ๗ เป็นพระโพธิสัตว์

ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิ พระมารดาทรงสุบินว่า ยังมีมหาบุรุษผู้หนึ่งซึ่งสมบูรณ์ด้วยรูปลักษณะ มียศศักดิ์เดชานุภาพ ลงมาจากสวรรค์ชั้นดุสิตสถิต ณ อากาศ กล่าวถ้อยคำอันไพเราะว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า หม่อมฉันไม่ใช่คนต่ำช้าสามัญ หม่อมฉันเป็นผู้ปราศจากมลทิน หมดจดผ่องแผ้ว เป็นผู้ที่เลิศแล้วไม่มีใครเสมอ ครั้นมหาบุรุษนั้นกล่าวดังนี้แล้วก็เลื่อนลดลงมา ณ พระนาภีเสด็จเข้าไปในพระนาภีของพระนาง ๆ ตื่นบรรทม แล้วทรงใคร่ครวญพระสุบิน ทราบแน่ว่าจักได้พระโอรสที่มีเดชานุภาพมากกอร์ปด้วยพระปรีชา เปรียบปานพระเจ้าจักรพรรดิ์ ถ้าเป็นพระราชธิดาก็จักเป็นรัตนนารีอัครมเหสีของพระจักรพรรดิราช

พอรุ่งเช้า พระนางเจ้าได้เสด็จไปเฝ้าพระราชาผู้พระสวามี ทูลแถลงพระสุบินให้ทรงทราบ พระราชาโปรดให้หาโหรสำหรับทำนายสุบินเข้ามาเฝ้า แล้วตรัสเล่าพระสุบินตามที่พระนางทูลไว้ให้โหรฟัง

​โหรพิจารณาดูพระสุบินนั้นแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ ตามพระสุบินนี้พระราชเทวีจักทรงพระครรภ์ เวลาประสูติพระราชโอรสจักเสด็จออกทางพระโอษฐ์ เพราะตามพระสุบินว่า พระราชกุมารยืนกล่าวในอากาศ และพระราชโอรสที่จักประสูตินั้นไม่ใช่คนต่ำช้า ไม่ใช่คนพาล เป็นพหุสูต เป็นธรรมกถึก เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นหน่อพระพุทธเจ้า ครั้นโหรทูลพยากรณ์ดังนี้แล้วก็ทูลถวายชัยมงคล

พระราชาทรงสดับคำพยากรณ์นั้นแล้ว ก็ทรงพระโสมนัสยิ่งนัก โปรดให้มีการพิทักษ์พระครรภ์อย่างกวดขัน เมื่อถ้วนทศมาส พระนางเจ้าจะประสูติพระโอรสก็เกิดลมป่วนปั่นในพระครรภ์ มีอาการคล้ายกับจะสำรอก จึงตรัสเรียกพวกสาวใช้ว่า จงนำผ้าทุกุลพัสตร์เนื้อละเอียดราคาแสนตำลึง มาคอยรับสิ่งที่เราจะสำรอก พวกสาวใช้ได้นำผ้าทุกุลพัสตร์มาคอยรับตามรับสั่ง เมื่อพระนางเจ้าทรงสำรอกก็ทำให้พระราชบุตรผู้บริสุทธิ์เสด็จออกทางพระโอษฐ์ แต่พระนางเจ้ากับเหล่าสาวใช้หาได้รู้สึกไม่เลย เพราะฉะนั้นสาวใช้ทั้งหลาย จึงม้วนผ้านั้นไปเก็บเสียในที่ลับ สมเด็จพระนางเจ้าได้พระสติขึ้นมาทรงเห็นพระอุทรเล็กลง จึงทรงลูบพระนาภีแล้วตรัสถามว่า บุตรของเราคลอดเมื่อไร พวกเจ้าซักผ้าผืนที่เปื้อนเสมหะ ที่สำรอกแล้วหรือ ทูลว่า ยังพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูบุตรของเราที พวกสาวใช้คลี่ผ้าผืนนั้นออกดูได้เห็นพระราชโอรส ซึ่งมีพระฉวีผุดผ่องคล้ายกับทองคำ จึงอุ้มไปถวายพระนางเจ้า ทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระลูกเจ้าประสูติแล้วพระเจ้าข้า พระนางเจ้าทรงโสมนัสอย่างยิ่ง ทรงสรงพระโอรสด้วยสุคนธาารี แล้วโปรดให้บรรทมบนบัลลังก์ทอง นักสนมทั้งหลายได้นำความไปกราบทูลพระราชาผู้เป็นพระชนก พระราชาทรงสดับแล้วทรงพระดำริว่า โอรสของเรามีบุญมากทีเดียว แล้วตรัสสั่งเสนาคุตตมหาอำมาตย์ว่า เธอจงเลือกแม่นมให้ได้ ๗๐๐ สำหรับโอรสของเรา

เสนาคุตตมหาอำมาตย์จัดสรรแม่นมครบ ๗๐๐ ล้วนแต่แม่หญิงที่มีถันไม่หย่อนยาน มีรสถันดี เว้นหญิงประเภทที่ต่ำเกินไปเป็นต้น นำไปถวายให้บำรุงเลี้ยงพระราชโอรส ฝ่ายพระราชาก็ทรงเลือกเจ้าหญิงได้ ๗๐๐ สำหรับบำเรอพระลูกเจ้า หญิงเหล่านั้นก็ตั้งใจเลี้ยงบำรุงพระกุมารมิได้ประมาท ในเวลาควรเสวยนม หญิงเหล่านั้นได้น้อมถันถวาย แต่พระราชกุมารไม่เสวย เพราะฉะนั้นพระนางสุรสีเทวีเจ้าจึงจำเป็นให้เสวยพระถัญญธาราหลงพระองค์เอง พระราชาโปรดให้จัดสรรเด็ก ๆ ลูกอำมาตย์ ๑๐๐๐ คนมาพระราชทานให้เป็นบริวารของพระราชโอรส

​ในวันถวายพระนาม ที่ประชุมมีพระราชาเป็นต้นทำพิธีมงคล แล้วถวายพระนามว่าสิรสากุมาร เพราะเหตุที่พระกุมารประสูติทางพระโอษฐ์ ถ้าเหล่าแม่นมเชิญบรรทม ณ ผ้าลาดมีเนื้อหยาบ พระกุมารไม่ทรงถูกต้องผ้านั้นเลย ได้แต่ทรงกรรแสงคร่ำครวญ เพราะฉะนั้นพระมารดาจึงโปรดให้บรรทมเหนือผ้าเนื้อละเอียดราคาตั้งแสน พระกุมารได้บรรทมสบายไม่ทรงกรรแสง ทรงนิ่งไม่มีพระสุรเสียงเลย พระกุมารบรรทมหลับไปเองอย่างสบาย แต่ตามปรกติทรงพิจารณาศีลเสียก่อนจึงหลับ

ครั้นต่อมาถึงวันอุโบสถ พระกุมารเสวยพระกระยาหารและทรงดื่มถัญญรสเพียงหนเดียวเฉพาะในวันนั้น แล้วทรงสมาทานศีล ๘ ประการ ทรงตรวจดูศีลที่ทรงสมาทานนั้นเห็นว่าบริสุทธิ์ก็เกิดพระปรีดาปราโมทย์ เมื่อประสูติแล้วได้ ๙ เดือนในวันอุโบสถวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์บรรทมในปฐมยาม ครั้นถึงมัชฌิมยามตื่นบรรทม ได้ทรงคำนึงถึงศีล ๘ ของพระองค์ และทรงรำพึงต่อไปว่า พระชนกชนนีของเราจะรักเราหรือไม่ เราจักทดลองพระหฤทัยของท่านดู เมื่อทรงดำริอย่างนี้แล้วทอดพระเนตรข้างโน้นข้างนี้ ทรงเห็นหีบแก้วใบหนึ่งอยู่ในที่ใกล้ จึงทรงอธิษฐานว่า ด้วยอำนาจศีลอันไม่ด่างพร้อยของเรานี้ ขอให้อัตตภาพของเราเข้าไปซ่อนอยู่ในหีบนี้เถิด ครั้นทรงอธิษฐานอย่างนี้แล้วพระกุมารก็เสด็จเข้าไปซ่อนอยู่ในหีบนั้น

พวกพระพี่เลี้ยงและพระนมตื่นนอนไม่เห็นพระกุมาร จึงถามกันว่าพระกุมารไปไหน ได้แยกกันเที่ยวหา ครั้นไม่เห็นก็พากันร้องไห้ วิ่งกระเสือกกระสนไปทางโน้นทางนี้ ครั้นค้นหาทั่วหุกแห่งแล้วเมื่อไม่เห็น ต่างก็มีความเดือดร้อนอย่างยิ่ง พร้อมกันไปกราบทูลพระราชเทวีว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระลูกเจ้าหายไปโดยไม่มีร่องรอยเลย

พระราชเทวีเจ้าทรงสดับแล้วรู้สึกเสียพระทัยแทบลมจับ ทรงพิลาปคร่ำครวญใหญ่ พลางรับสั่งว่า พวกเจ้าจงรีบค้นให้ทั่วพระราชวัง เมื่อคนทั้งหลายทูลรับสั่งว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักช่วยกันค้น ส่วนพระนางเจ้าทรงพระโทมนัสอย่างยิ่ง ทรงพิลาปรำพันว่า

ตาต มน สิสปุตฺตตาต หทยปุตฺตก
ผลิตํ ว มม หทยํน ปสฺสามิ มริสฺสามิ
นวมาสิกาหํ โปเสอตฺรชมฺเม กุหึ วเส
เยน นิหโต มโตทุมโน กึ กุโธ หม
ถถํ สิรสา ม ทิสฺสติยทิ ยกฺโข ปิสาโจ จ
ตํ อาทาย กุหึ คโตอุทาหุ สกฺโก วีมํสติ

พ่อทูลหัวของแม่เอย พ่อดวงใจของแม่เอย

หัวใจของแม่จักทำลายเป็นแน่แล้ว ถ้าแม่ไม่เห็นเจ้า แม่จักตรอมใจตาย

แม่ได้เลี้ยงเจ้าเพียง ๙ เดือน พ่อยอดรักของแม่เอย เจ้าไปอยู่ที่ไหน

ใครนำเจ้าไปล้างชีพเสียแล้ว หรือเจ้าน้อยใจโกรธแม่หนีไปเสียเอง

โฉนพ่อสิรสาจึงไม่ปรากฏ ยักษ์และปีศาจลักเจ้าไปไว้แห่งใด หรือท้าวไทยเทวราชทรงนำไป

ครั้นพระนางเจ้าทรงเพ้อด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็เสด็จไปสู่ที่เฝ้าพระราชสวามี กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ได้เสด็จไปสู่ปราสาทของพระราชโอรส แล้วนำมาซ่อนไว้ในที่กำบังหรืออย่างไร พระราชาตรัสถามว่า ทำไมเจ้าจึงกล่าวอย่างนี้เล่าเธอเอ๋ย เมื่อพระนางทูลว่า เดี๋ยวนี้พระลูกเจ้าหายไป พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้ว ก็ทรงสะดุ้งพระองค์ มีพระหฤทัยงวยงงไปหมด โปรดให้ค้นหาตลอดราตรีก็มิได้พบ

เพราะฉะนั้น ครั้นพระนางเจ้าทอดพระเนตรหีบแก้วจึงตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเปิดหีบใบที่ปิดอยู่นี้ดู พวกพี่เลี้ยงทูลว่าข้าแต่พระแม่เจ้าหม่อมฉันทั้งหลายไม่สามารถเปิดได้ พระนางเจ้าโปรดให้นำหีบใบนั้นออกมาแล้วเสด็จไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระลูกเจ้าเข้าไปอยู่ในหีบนี้กระมัง ขอได้โปรดเปิดดู พระราชาตรัสสั่งให้หาพนักงานคลังมาเฝ้าแล้วตรัสว่า พวกเจ้าจงเปิดหีบนี้ดู พนักงานคลังนำกุญแจมาเปิดหีบออก ได้เห็นพระราชโอรสบรรทมอยู่ภายใน รู้สึกดีใจมาก ได้ยกหีบนั้นไปถวายให้พระราชาทอดพระเนตร พระนางสุรสีเทวีครั้นทอดพระเนตรเห็นพระโอรสไม่สามารถยั้งพระองค์อยู่ได้ รีบเสด็จไปรับด้วยพระหัตถ์ของนาง ทรงคุ้มและจุมพิตพระเศียรแล้วให้ดื่มพระถัญญรส พลางตรัสว่า ลูกรักของแม่เอ๋ย ไฉนพ่อจึงทำให้แม่อนาถา แอบหนีเข้าไปอยู่ในหีบได้ ตรัสแล้วก็ทรงอุ้มพระโอรส เสด็จกลับไปยังปราสาทของพระนาง ให้พระเจ้าลูกเสวยพระกระยาหารแล้วให้บรรทมเหนือแห่นทอง แล้วตรัสสั่งพวกพี่เลี้ยงว่า พวกเจ้าอย่าเผลออีกเป็นอันขาด

​จำเดิมแต่นั้นมา พระพี่เลี้ยงและพระสนมทั้งหลายมิได้ละเมิน ผลัดกันคอยดูแลห้อมล้อมในทิศทั้ง ๔ เหมือนดาวล้อมเดือนหรือนางกุญชรล้อมพระยาฉัททันต์ฉะนั้น

ก็ในสมัยนั้นมีพราหมณ์ใจบาปคนหนึ่งชื่อว่ามัชชหายกะได้รับตำแหน่งเป็นเสนาบดี เป็นผู้สั่งสอนอรรถธรรมแก่พระราชา ได้เบียดเบียนมหาชนด้วยอาการต่าง ๆ มีการข่มขู่เป็นต้น เมื่อจะวินิจฉัยคดี รับสินบนแล้วไปถึงศาลวินิจฉัยปลูกพยานเท็จ ทำให้ผู้ควรชนะกลับเป็นแพ้ มหาชนพากันน้อยใจมาก พระราชาทรงตั้งพราหมณ์นั้นไว้ในตำแหน่งผู้พิพากษา ประหนึ่งว่าจะทำลายความดีของมหาชนทั่วไป มหาชนเกิดความเดือดร้อนเพราะพยานเท็จเป็นนิตย์

เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้นจึงคิดว่า สิรสากุมารเป็นผู้มีบุญมาก เมื่อจะประสูติก็ประสูติทางปาก พอประสูติแล้วได้ ๙ เดือนก็เข้าไปซ่อนพระมารดาบิดาอยู่ในหีบแก้วได้อย่างพิศวง ในเวลาเจริญวัย มหาชนจักยกโทษเรา จักถอดเราออกจากตำแหน่ง เพราะฉะนั้น เราจักรีบฆ่าเขาเสีย ครั้นพราหมณ์นั้นคิดแล้วรุ่งเช้าก็อาบน้ำชำระตัวแล้วไปเฝ้าพระราชา พอได้โอกาสก็กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า สิรสากุมาร พระโอรสของพระองค์เป็นคนกาลกรรณีทีเดียว ความวิบัติจักเกิดมีแต่พระองค์แน่ เพราะตามธรรมดาโลก สัตว์บุคคลทั้งหมดมีมดดำมดแดงหรือปลวกเป็นต้น ย่อมคลอดออกทางทวารล่าง อย่างไรสิรสากุมารนี้จึงประสูติทางทวารบน เมื่อยังทรงพระเยาว์ก็เสด็จเข้าไปซ่อนพระองค์เสียในหีบแก้วที่ลั่นกุญแจไว้ พระกุมารนี้ชะรอยจะเป็นยักษ์รากษสหรือปีศาจ จึงสามารถทำตัวให้เล็กได้ ธรรมดามนุษย์ย่อมไม่อาจ ข้าพระพุทธเจ้าเหตุอันนี้จึงขอกราบทูลว่า พระราชกุมารนี้เป็นคนกาลกรรณี จะทำให้เกิดอุปัททวันตราย ถ้าพระองค์ยังทรงถือว่าเป็นพระโอรสของพระองค์อยู่ จักเกิดอันตราย ๓ อย่าง คือ อย่าง ๑ ความฉิบหายจักเกิดมีแก่มหาชน อีกอย่าง ๑ พระองค์หรือประเทศจักล่มจม อีกอย่าง ๑ พระมเหสีหรือพระประยูรญาติจักเป็นอันตรายถึงชีวิตักษัย

พระราชาทรงสดับแล้วมีพระหฤทัยพรั่นพรึง จึงตรัสถามว่า ท่านเสนาบดี นี่เราจะทำอย่างไร ทูลว่า ขอได้โปรดให้นำพระราชกุมารรลงเรือออกไปทิ้งเสียในมหาสมุทร ตรัสตอบว่า ท่านฆ่าเสียเองเถอะ ทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า โลหิตของพระกุมารนี้ตกในที่ใด จักเกิดไฟไหม้ในที่นั้น ตรัสว่าถ้าอย่างนั้นท่านจงไปเฝ้าพระเทวี ทูลให้ทรงทราบเรื่องนี้ ท่านเสนาบดีไปเฝ้าพระราชเทวี ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า พระโอรสของพระแม่เจ้าเป็นคนกาลกรรณี พระเจ้าอยู่หัวตรัสสั่งให้นำพระราชกุมารนี้ลงเรือออกไปทิ้งน้ำมหาสมุทรในวันนี้พระพุทธเจ้าข้า

​เมื่อพระนางเจ้าทรงสดับเรื่องนี้แล้วให้มีพระหฤทัยเศร้าโศกเร่าร้อน ปิ่มประหนึ่งว่าจะมีดวงหทัยทำลายออก ๗ ภาค มีพระหฤทัยไหวหวาดปานดังบุคคลตกจากยอดเขาอันสูงชันไม่สามารถกลั้นพระโศกไว้ได้ ก็ทรงพระกรรแสงพลางทางกอดพระลูกเจ้าเข้าไว้กับพระทรวง ตรัสว่า พระลูกเอย ไฉนพระบิดาของเจ้าจึงโปรดให้นำเจ้าลงเรือออกไปทิ้งเสียในทะเลหลวง พระนางทรงรำพันอย่างนี้แล้วก็เสด็จไปเฝ้าพระราชสวามีทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ไฉนพระองค์จึงโปรดให้เนรเทศพระราชโอรสเสียเล่า เมื่อตรัสตอบว่า เสนาบดีเขาบอกว่าโอรสของเราเป็นคนกาลกรรณี จึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้าโอรสของหม่อมฉันเป็นผู้มีบุญมาก เวลาประสูติได้เสด็จออกทางพระโอษฐ์ ไฉนเสนาบดีจึงกล่ากว่าเป็นคนกาลกรรณี ขอพระองค์อย่าทรงเชื่อถือถ้อยคำของเสนาบดี ๆ นี้เป็นคนมีสันดานริษยา ครั้นฆ่าโอรสของหม่อมฉันแล้วภายหลังจักปลงพระชนม์ชีพของพระองค์ แล้วจักชิงราชสมบัติ พระพุทธเจ้าข้า

พระราชาตรัสตอบว่า เสนาบดีเขากล่าวล้วนแต่เป็นคำอันแท้จริง โอรสของเราคนนี้เป็นคนกาลกรรณี เพราะฉะนั้น ขอเจ้าอย่าเสียดายเลย ตัวเจ้าและพี่จักฉิบหายเพราะโอรสคนนี้ เมื่อพระนางเจ้าทูลขอต่อไป จึงตรัสพระคาถาว่า

มา โข โน ปุตฺตํ อวธิมชฺชหายกสฺส เทหิ
โส ทาสํ เปสิก กาสิหตฺถิอสฺเส จ ปาเสหิ
มา โข โน ปุตฺตํ อวธินิคฺคลนฺทิกาหิ พนฺเธ
หตฺถิอสฺเส ปาลเยหิทาสกมฺมการํ การ
มา โข โน ปุตฺตํ อวธินิคฺคลนฺทิกาหิ พนฺเธ
มชฺชหายกสฺส เทหิภิกฺขาจริยํ จราเปสิ
มา โข โน ปุตุตํ อวธินิคฺคลนฺทิกาหิ พนฺเธ
อสฺสฉกนานิ อุขฺเขหิหตฺถิฉกนานิ อุชฺเชหิ
มา โข โน ปุตฺตํ อวธิมชฺชหายกสฺส เหหิ
มา ปพฺพาเชหิ จ รฏฺาทาสกมฺมํ กริสฺสหิ

แปลว่า ขออย่าปลงพระชนม์พระโอรสเสียเลย จพระราชทานให้แก่มัชชหายกเสนาบดีเถิด เขาจักได้ทำให้เป็นทาสและคนช่วงใช้ เขาจักได้ให้เลี้ยงช้างม้าของเขา ขออย่าปลงพระชนม์พระโอรสเสียเลย โปรดให้ใส่ห่วงคอ มอบตัวให้แก่ท่านมัชหายกะ ให้เขาบังคับให้เที่ยวขอทานเถิด /*505ขออย่าปลงพระชนม์พระโอรสเสียเลย โปรดให้ใส่ห่วงคอติดตัวไปให้เป็นคนสำหรับเมูลช้างมูลม้าเถิด ขออย่าปลงพระชนม์พระโอรสเสียเลย จงพระราชทานให้แก่ท่านมัชหายกะ อย่าเนรเทศจากแว่นแคว้น จงให้เป็นคนทำงานตามประสาทาสเถิด

พระนางเจ้ากราบทูลอ้อนวอนพระราชสวามีดังนี้ แล้วก็ทรงคร่ำครวญกลิ้งเกลือกไปมา พระราชาผู้พระสวามีทรงสดับคำพิลาปของพระเทวีมีประการต่าง ๆ ให้เป็นประหนึ่งว่าดวงพระหฤทัยจักทำลาย มีพระนัยน์เนตรทั้งสองนองไปด้วยพระอัสสุชลธารา ได้เสด็จเข้าที่บรรทม

สนมกำนัลในทั้งหมดเมื่อได้เห็นพระราชาทรงพระกรรแสงเช่นนั้น ต่างก็ไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้ พร้อมกันร้องไห้กลิ้งเกลือกเป็นระนาวไป คล้ายกับป่ารังอันลมเพ็ดชะหึงพัดย่ำยีฉะนั้น

ครั้งนั้น พระนางเจ้าทรงอุ้มพระโอรสขึ้นจุมพิตพระเศียร พลางทางเสด็จลงจากปราสาท ตรัสบริภาษมัชชหายกะพราหมณ์ว่า เฮ้ย มัชชหายกะผู้ชั่วร้าย ไฉนเองจึงไม่นำบุตรธิดาของเองไปทิ้งน้ำเสียเล่า ดังนี้เป็นต้น แล้วก็ทรงคร่ำครวญต่อไป

บรรดาข้าราชบริพารทั้งหลาย คือพระพี่เลี้ยงนางสนมทาสทาสีได้ฟังเรื่องอันเผ็ดร้อนเช่นนั้นก็พากันร้องไห้กลิ้งเกลือกระทวยไป

ในคราวนั้น ฝ่ายว่ามัชชหายกเสนาบดี จัดแจงเรือตั้งมณฑปอันหนึ่งไว้เพื่อพระโพธิสัตว์ราชกุมารแล้ว บังคับพราหมณ์ ๗ คนว่า พวกท่านจงไปปราสาทของพระเทวีทูลพระนางเจ้าว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้มัชชหายกเสนาบดีบังคับให้พวกข้าพระพุทธเจ้ามานำพระราชโอรสไป

พราหมณ์ทั้ง ๗ นั้นรับคำของเสนาบดีนั้นแล้วก็ไปเฝ้าพระราชเทวี กราบทูลตามที่ได้รับคำสั่งไป พระนางเจ้าก็ตรัสบริภาษพราหมณ์เหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วก็ไม่ยอมพระราชทานพระโอรส พวกพราหมณ์ได้พากันกลับไปแจ้งแก่มัชชหายกเสนาบดี ๆ จึงบังคับว่า พวกท่านอย่าเชื่อฟังคำของพระราชเทวี จงไปนำพระราชกุมารมาให้ได้ พราหมณ์เหล่านั้นก็กลับไปกราบทูลพระนางเจ้าอีก พระนางเจ้าไม่ยอมพระราชทาน พวกพราหมณ์ได้กราบทูลขอถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ทรงยอม มัชชหายกะจึงสั่งเป็นคำขาดว่า พวกเจ้าจงแย่งเอามา​ให้ได้ อย่าได้เกรงกลัว แล้วส่วนตนก็ไปเฝ้ากราบทูลเรื่องนั้นแต่พระราชา ฝ่ายพราหมณ์เหล่านั้นได้พร้อมกันกลับไปกราบทูลพระนางเจ้าว่า บัดนี้ท่านมัชชหายกะโกรธมาก สั่งให้พวกข้าพระพุทธเจ้าชิงเอาพระโอรสไปให้ได้ กราบทูลอย่างนี้แล้วก็เอื้อมมือไปเพื่อจะจับพระราชกุมาร ด้วยบุญญานุภาพของพระราชกุมารบันดาลให้มือของพวกพราหมณ์ขาดกระเด็นไปประจักษ์ตา พราหมณ์เหล่านั้นก็กลับไปหามัชชหายกเสนาบดีทั้งมือกำลังมีโลหิตไหลโทรม แล้วได้เล่าความเป็นไปให้ทราบ ท่านมัชชหายกะก็สั่งให้คนอื่นไปอีก พวกนั้นรับคำสั่งแล้วก็เวียนไปเวียนมาเพื่อทูลขอพระราชกุมารกะพระนางเจ้าถึง ๗ ครั้ง พระนางเจ้าตรัสว่า แน่ะพ่อทั้งหลาย พระราชบุตรทั้งหลายของเราก็ยังไม่รู้เรื่องนี้เลย เราจักต้องบอกให้รู้ทั่วกันก่อน แล้วพระนางเจ้าก็ตรัสใช้ให้พวกสาวใช้ไปทูลพระราชโอรสทั้งหลายทุกองค์

เหล่าสาวใช้ได้พากันไปยังปราสาทของพระราชกุมารทั้งหลายแล้วทูลว่า บัดนี้พระราชมารดามีพระเสาวนีย์สั่งให้เชิญเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าข้า

ครั้นเมื่อพระราชกุมารเหล่านั้นยังไม่เสด็จ กามเทพราชกุมารเสด็จก่อน ครั้นทรงสดับพฤติการในสำนักพระมารดาแล้วได้เสด็จไปเฝ้าพระบิดา ถวายบังคมแล้วประทับนั่งในที่สมควร จึงกราบทูลถามว่า พระพุทธเจ้าข้า พระองค์โปรดให้เนรเทศพระเจ้าน้องของข้าพระบาทจริงหรือพระพุทธเจ้าข้า ตรัสตอบว่า จริงลูกเอ๋ย เพราะสิรสากุมารน้องชายของเจ้าเป็นกาลกรรณี เจ้าอย่ามัวหลงรักเลย

กามเทพกุมารทรงสดับพระราชดำรัสแล้วก็ทรงพระกรรแสงคร่ำครวญ ได้ตรัสพระคาถาว่า

มา โน ตวํ กนิฏฺํ อวธิวิฺเต อมฺเห ปสฺเสสิ
หตฺถิคเต อสฺสคเตยุทฺเธ ยุชฺชมาเน ปสฺส
ปจฺจนฺตาฏวีกปฺปิเตอมฺหาทิเส นิโยเชนฺติ
อการณา ปพฺพาชิตฺถอฏฺานํ ปิยปุตฺตํ หฺา
ปุตฺตปิยา สกุณิกาตีณิ ฆรานิ กตฺวาน
ปุตฺตนิวาสิโน อทากสฺมา ปิยปุตฺตํ อฆา
มชฺชหายกวจนํมา สทฺทเหยฺยาถ ตุเมฺห
อกตฺุปุริโส จอิจฺฉาปกโต จ วเท
มา โข ตฺวํ กนิฏฺํ อวธิทาเส ทาหิ มชฺชหายสฺส
ภิกฺข จริยํ ชีวิสฺสามอสฺสฉกเน อุชฺเชม

แปลว่า ขอได้โปรดไว้ชีวิตพระเจ้าน้ององข้าพระพุทธเจ้าสักครั้งเถิด พระองค์จะได้ทอดพระเนตรชมพวกข้าพระพุทธเจ้าซึ่งเจริญวัยขึ้น พระองค์จะได้ทอดพระเนตรพวกข้าพระพุทธเจ้าซึ่งฝึกวิชาช้างวิชาม้าในท้องสนาม เมื่อายแดนพระราชอาณาเขตเกิดกำเริบขึ้น จะได้ทรงใช้ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายต่างพระองค์ พระองค์โปรดให้เนรเทศพระเจ้าน้องโดยไม่จำเป็น พระองค์โปรดให้ปลงพระชนม์พระปิยบุตรโดยไม่สมควร หมู่นกซึ่งรักลูก ยังรู้จักทำเรือนรังให้ลูกอยู่ ฉนเล่า พระองค์จึงจะฆ่าพระลูกเจ้าอันเป็นที่รักเสีย ขอพระองค์อย่าทรงเชื่อถือถ้อยคำของมัชหายกะเลย เพราะเขาเป็นคนอกตัญญู มีแต่ความริษยาประจำใจ ขออย่าได้ฆ่าพระเจ้าน้องของข้าพระบาทเลย จงพระราชทานให้เป็นทาสของมัชหายกะเถิด ข้าพระบาททั้งหลายจะขอเลี้ยงชีพ จะรับธุระเป็นคนเทมูลช้างม้าตามประสายาก

พระราชาทรงสดับคำรำพันของพระกุมารเช่นนั้น เล่ห์ประหนึ่งว่าพระหฤทัยจะทำลาย มีพระเนตรทั้งสองฟูมฟองด้วยพระอัสสุชล ทรงสวมกอดพระเจ้าลูกแล้วปลอบประโลมว่า พ่อผู้เป็นบุตรสุดที่รัก ขอเจ้าอย่าทุกข์โศกไปเลย น้องของเจ้าเป็นคนกาลกรรณี เมื่อเขาเติบโตขึ้น เขาจักฆ่าพ่อและมารดาของเจ้าทั้งตัวเจ้าด้วย โดยเหตุนี้บิดาจึงให้กำจัดเสียจากพระนคร

พระกุมารทรงสดับพระดำรัสของพระบิดาฉะนี้แล้ว หมดหนทางที่จะกราบทูลอ้อนวอนต่อไป จึงทูลลากลับไปเฝ้าพระชนนี ฝ่ายว่าพระกุมารทั้ง ๒ องค์ต่างก็ทรงกรรแสงพิลาปขัดแค้นพระทัย ทรงเพ้อไปด้วยประการต่าง ๆ

เหล่าพราหมณ์ที่รับบัญชาของมัชชหายกะก็พร้อมกันมาถึงพอดี กำลังจะเปิดพระทวารปราสาทเข้าไป ครั้งนั้นกามเทพราชกุมารทรงแลเห็น ก็มีพระทัยกริ้วกราด จึงฉวยชักพระขรรค์ปราดไป ปรารภจะล้างเหล่าทุจริต พวกพราหมณ์ได้แลเห็นจึงรีบหลบเสียแล้วทูลว่า ขอฝ่าพระบาทอย่าฆ่าพวกข้าพเจ้าผู้เป็นพราหมณ์เลย เพราะฝ่าพระบาทจะได้รับพระราชอาญา

​ครั้งนั้น พระราชกุมารทั้ง ๒ องค์ก็พร้อมกันตรงไปสู่ที่เฝ้าพระราชบิดา ถวายบังคมแล้วทรงพิลาปคร่ำครวญพลางกราบทูลขอชีวิตพระเจ้าน้องด้วยคำอันเป็นคาถาว่า

อมฺเห ปมํ ฆาเฏหิมา เม หทยํ ผาเลหิ
ปุตฺโต ตว สุขุมาโลสุนฺทโร อลงฺกโตว
มา จ ตํ ปพฺพาเชยฺยาสิมม หทยํ ผาเลสฺสติ
ยนฺนูน มยํ ชาเนยฺยุํรถการกุเลสุ วา
ปุกกุสกุเลสุ วาเวสุเสสุ วา ชาเตยฺยุํ
น ราชกุเล ชาเตยฺยุํน หิ ตํ ราชวโย

เนื้อความว่า ขอพระองค์จงฆ่าข้าพระบาทเสียก่อน อย่าเพ่อด่วนทำลายดวงใจข้าพระบาทเลย พระเจ้าลูกของพระองค์ยังทรงพระเยาว์นัก ทั้งมีพระโฉมอันงดงาม ขอพระองค์อย่าโปรดให้กำจัดเสียเลย หัวใจขอข้าพระบาททั้งหลายจักทำลาย ถ้าข้าพระบาททั้งหลายรู้เรื่องเช่นนี้ จะขอเกิดในตระกูลช่างรถตระกูลคนรับจ้าง หรือตระกูลพ่อค้า คงไม่มาเกิดในตระกูลเจ้า และคงไม่ได้รับความเดือดร้อนเช่นนี้ ครั้นพระกุมารทั้งหลายกราบทูลดังนี้แล้วไม่สมพระประสงค์ก็พร้อมกันกลับไปเฝ้าพระมารดา ตรัสเรียกพราหมณ์เหล่านั้นไปเฝ้า รับสั่งว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราผู้เป็นพี่ทั้ง คน จะขอมพระกายกันปานประหนึ่งว่าท่อนทองแห่งพระเจ้าน้องของเรา ขออย่านำพระเจ้าน้องของเราไปเลย จงยกให้พวกเราเถิด พวกพราหมณ์ก็ไม่ยินยอม จึงตรัสอ้อนวอนว่า พวกเราจักให้ทอง แสน ร้อย พร้อมทั้งช้างม้ารถโคผู้แม่โคาสทาสีแก่ท่านทั้งหลาย พวกพราหมณ์ก็ไม่ยอมรับ จึงตรัสว่า พวกเราจะให้ทองคำแก่ท่านทั้งหลายคนละ ๑ แสน พวกพราหมณ์ก็ไม่ยอมรับ จึงตรัสอ้างความจริงว่า ท่านทั้งหลาย ถ้าพระเจ้าน้องของพวกเราทรงพระเจริญวัย จะเป็นคนกาลกรรณี และพระบิดาของพวกเราก็มีพระหฤทัยประทุษร้ายแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงตัดมือ เท้า และปากขงพวกเรา ๆ ให้ปฏิญาณแก่ท่านทั้งหลายอย่างนี้ พราหมณ์เหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่

​พระราชเทวีจึงตรัสกับพระราชโอรสทั้ง ๖ พระองค์ว่า ขอเจ้าทั้งหลายอย่าทุกข์ร้อนไปเลย อีกอย่างหนึ่ง เจ้าทั้งหลายอย่าน้อยใจ ธรรมดามีอยู่ว่า มารดาย่อมรักลูกไม่เสมอกัน พ่อสิรสาน้องของพวกเจ้านี้ ยังไม่ละนม เพราะฉะนั้นมารดาจะต้องไปกับเขา พ่อกามเทพนี่เล่าก็ยังเล็กอยู่ จงฝากตัวอยู่กับพระราชบิดา ระวังตัวให้จงดี ดูสิ่งที่เป็นคุณและโทษ พระนางตรัสดังนี้แล้วเข้าสวมกอดพระกามเทพราชโอรส ทรงจุมพิตกระหม่อมจอมเกศ พลางทางทรงละห้อยหวน

พระราชโอรสทั้ง ๖ มีสุนักขัตตราชกุมารเป็นประธานได้สดับพระดำรัสสั่งของพระชนนี ต่างก็หมอบลงแทบพระบาทพระมารดา ทรงพระกรรแสงไห้สะอื้น ส่งพระสุรสำเนียงระงมไป กลิ้งเกลือกระทดระทวยไม่เป็นสมปฤดี พลางรำพันว่า เกล้ากระหม่อมฉันทั้งหลายได้ทำบาปไว้ในปางก่อนอย่างไรหนอ จึงมาได้พลัดพรากพระชนนีทั้งพระเจ้าน้องอันแสนที่จะรัก ถึงซึ่งความพินาศบัดนี้

บรรดาเหล่าราชบริพารทั่วทั้งพระบรมมหาราชวัง คือพระพี่เลี้ยงนางนมสาวใช้บ่าวไพร่ทั้งชายหญิง มิได้มีผู้ใดสามารถกลั้นความโศกไว้ได้ พากันปริเทวนากระสับกระส่ายบ่นพร่ำเพ้อไปต่างๆ สุดที่จะพรรณนา

ฝ่ายพระราชเทวีเจ้ารับสั่งให้พี่เลี้ยงทั้งหลายจัดเอาแก้วอันมีค่าคู่หนึ่ง ผ้าราคาแสนคู่หนึ่ง เครื่องเล่นของพระราชกุมาร มีรูปช้างม้าเป็นต้น อันสำเร็จด้วยทองและเงินบรรจุหีบใบหนึ่ง ให้เหล่าสาวใช้ถือตามเสด็จ ส่วนพระนางเจ้าอุ้มพระโอรสเสด็จลงจากปราสาท ประทานพรพระโอวาทแก่ราชบริพาร มีสนมกำนัลในเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลาย ขออย่าส่อเสียดยุยงกันด้วยอำนาจอคติ ๔ ประการ คือความรัก ความเกลียด ความโง่ ความกลัว อย่าเมามัวหมิ่นประมาท จงปราศจากทุกข์ มีแต่ความสุขทุกเมื่อเถิด เราจักขอลาท่านทั้งหลายไปตามยถากรรม ครั้นทรงพร่ำสอนอย่างนี้แล้วก็เสด็จไปเฝ้าพระราชสวามี ถวายบังคมและกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ขอพระองค์จงทรงสำราญทุกพระอิริยาบถเถิด หม่อมฉันจักกราบถวายบังคมลาไปรับทุกข์และจักถึงซึ่งที่สุดชีพในวันนี้ บัดนี้หม่อมฉันขอถวายบังคมลาเป็นครั้งที่สุด ขอเฝ้ากราบทูลลาเป็นครั้งที่สุดแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ขอพระจอมเกศจงทรงสำราญ หม่อมฉันผู้ตกยากจักถวายบังคมลา เมื่อพระนางเจ้ากราบทูลฉะนี้แล้วก็ทรงอุ้มพระราชกุมารเสด็จออกจากที่เฝ้า บ่ายพระพักตร์ออกจากพระราชวัง

​เหล่าชาววังและทวยนาคร อำมาตย์ พลโยธาเป็นต้น ต่างก็เอามือกุมอกร้องไห้ตามส่งเสด็จ พระนางเจ้าเสด็จถึงท่านที ทอดพระเนตรเห็นมหาชนและพระราชโอรสกำลังปริเทวนาการ ก็ประทานพระโอวาทว่า ขอท่านทั้งหลายอย่าร่ำร้องไปเลย อย่าเสียใจไปเลย เราทำกรรมไว้อย่างไร ก็จักต้องได้รับผลอย่างนั้น

ปวงชนได้สดับพระโอวาทอย่างนั้น ก็พากันสลดใจละห้อยไห้ พลางทางกล่าวคาถาว่า

อยฺยา มยฺหํ อิธ วสนฺตีสาลีนโมทนํ ภุฺชิ
สุจิมํสูปเสจนํโลณปาณเมว อตฺถิ
รุกฺขผลานิ อลทฺธากถํ กาหนฺติ อยฺยา จ
ตปลฺลสุวณฺเณ จรชตสตราชิเก
ภาชเน หิตฺวาน อมฺมารุกฺขปตตานิ คณฺหนฺตา
กถํ ภุฺชนฺติ ขตฺติยากูฏาคาเร สยิตฺวา
นิวาเต ผุสฺสิตคฺคเลนาวายนฺทานิ สยนฺตา
วาตาตปผุสิตาวกถํ กาหนฺติ ขตฺติยา
ปลฺลงเกสุ สยิตฺวานโคณเก จิตฺรสณฺเต
นาวายนฺทานิ ผลเกกถํ สยนฺติ ขตฺติยา
ตครจนฺทเนน ปิคนฺธเกน วิลิมฺปิตฺวา
รโชชลฺลานิ ธาเรนฺโตกถํ กาหนฺติ ขตฺติยา
จามรีโมรหตฺเถหิชีวิตงฺคา สุเข ิตา
ผุฏฺา ฑํเสหิ มกเสหิกถํ กาหนฺติ ขตฺติยา

ความในคาถานี้ว่า เมื่อพระแม่อยู่หัวเจ้าประทับอยู่ในพระราชวัง เสวยแต่พระกระยาหารล้วนมีรสอันเอมโอช จะไปเสวยผลไม้ต่างพระสุทธาโภชน์ได้อย่างไร จะทรงละภาชนะองและเงินใช้ใบไม้รองเสวยได้อย่างไร เคยบรรทมในปราสาทอันแสนประเสริฐหาช่องมมิได้ บัดนี้จะบรรทมในเรือนอันไม่มีเครื่องกั้นมและแดดอย่างไรหนอ เมื่อก่อนเคยบรรมบนบัลลัก์อันปูลาดด้วยผ้าขนอันอ่อนละมุน บัดนี้จะบรรทมบนแผ่นกระดานในเรือดูอนาถ เคยทรงลูบไล้ด้วยกฤษณาจุณจันทน์ สระสรง/*511ล้วนน้ำหอมอันวิเศษ บัดนี้จะทรงพระเสโทต่างคันโธกดูยากใจ ยามจะบรรทมมีพนักงานคอยโบกด้วยพัดหางมยุรา จะปบรรทมเป็นภักษาเหลือบยุงดูแสนเข็

เมื่อทวยราษฎร์ทั้งหลายพร่ำรำพันอย่างแสดงมา เหล่าพราหมณ์ที่ชั่วช้าก็อัญเชิญพระนางเจ้าและพระโอรสลงประทับในเรือใหญ่ แล้วเอาเรือนำส่งออกไปได้สามคาพยุตจึงปล่อยเรือนั้นแล้วพากันกลับ เรือนั้นก็ลอยไปในท้องมหาสมุทรแต่มีผู้รักษากำกับไปเป็นต้นว่านางมณีเมลาซึ่งมีหน้าที่คอยดูแลมหาสมุทร

ชาวพระนครพากันตามส่งเสด็จจนกระทั่งฝั่งมหาสมุทร สุดสามารถที่จะตามเสด็จได้แล้วก็พร้อมกันร่ำไห้อยู่ที่ฝั่งมหาสมุทรนั้นเอง หมู่นกได้ยินเสียงชาวพระนครร้องไห้ ต่างก็โผผินบินขึ้นสู่อากาศโดยความตกใจ มหาชนแลเห็นหมู่นกนั้นจึงร้องสั่งด้วยคาถาประพันธ์ว่า

สกุณี มํสมิจฺฉติอุยฺยสฺสุ สมุทฺทมชฺฌํ
รฺโ มเหสิ สปุตฺตํสมุทฺเท กาลกตํ
สกุโณ มํสมิจฺฉติอุยฺยสฺสุ สมุทฺทมชฺฌํ
รฺโ มเหสิ สปุตฺตํสมุทฺเท กาลกตํ

ดูก่อนนกทั้งหลาย ถ้าเจ้าทั้งหลายต้องการเนื้อ จงบินตามพระมเหสีและพระโอรสของพระราชาไปยังท่ามกลางมหาสมุทร เพราะกษัตริย์ทั้งสองพระองค์คงจะสวรรคตในมหาสมุทรเป็นแน่

มหาชนร้องสั่งหมู่นกอย่างยกมาแสดงนี้แล้ว ก็พากันร้องไห้ร่ำไร มีความเสียใจถึงกับเป็นลมล้มทั้งยืน มิได้มีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะสามารถตักน้ำมารดกันเพื่อให้ฟื้นสติ

คราวนั้น พิภพแห่งท้าวสักกเทวราชก็แสดงอาการเร่าร้อนด้วยอานุภาพเมตตา ที่มหาชนแผ่ไปในพระโพธิสัตว์ ทำให้ท้าวสักกเทวินทร์ทรงพระจินตนาว่า นี่จะมีเหตุอะไรหนอ ครั้นทรงทราบว่าบัดนี้มหาชนซึ่งมีเมตตาจิตแก่หน่อเนื้อพระชินสีห์ กำลังเพียบพร้อมด้วยความโศกถึงกับสิ้นสมปฤดี ควรเราจะบันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกต้องมหาชนในกาลบัดนี้ ครั้นทรงพระดำริอย่างนี้แล้วก็ทรงบันดาลให้ฝนชนิดนั้นตกทันที

​เมื่อมหาชนมีร่างกายอันชุ่มชื่นด้วยน้ำฝนก็ได้สติฟื้นขึ้นทุกคน แล้วพากันซร้องสรรเสริญพระคุณของพระโพธิสัตว์ มีใจโสมนัสปราโมทย์ บ่ายหน้ากลับยังที่อยู่ของตนโดยสวัสดิภาพ

จำเดิมแต่นั้นมา มหาชนชาวพระนครทั่วทั้งมวล มิได้มีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งจะเล่นมหรสพ เมื่อก่อนคนทั้งหลายได้พากันมีการเล่นสนุกสนานร่าเริงเป็นนิตย์ทุกวันคืน พระนครนั้นมิได้สงบด้วยเสียง ๑๐ ประการ คราวนั้นเย็นเงียบไม่มีเสียงแสดงความรื่นรมย์ คล้ายกับป่าช้า ชาวพระนครทุกหมู่ทุกเหล่ามีแต่ตั้งหน้าบำเพ็ญกุศล มีจำแนกทานเป็นต้นแล้ว ถวายส่วนกุศลแด่พระโพธิสัตว์ทั้งพระมารดา ด้วยคำว่า ขอบุญอันนี้จงถึงแก่กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ ขอเทพเจ้าทั้งปวงจงรับส่วนบุญนี้แล้วตามคุ้มครองกษัตวิย์ทั้งสองพระองค์เถิด

ครั้งนั้นเทพเจ้าและเหล่าอสุรกัญญาได้พร้อมกันเสด็จลงจากเทวโลกมาตามรักษากษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์ ประโลมให้คลายพระโศกด้วยบรรเลงดนตรีทิพย์ถวายเสียง เสียงดนตรีและขับร้องแห่งเทพเจ้าทั้งหลายนั้น ดังสนั่นได้ยินไปทั่วพระนคร ชาวพระนครได้ฟังเล่นเป็นสุขทุกคืน

พระโพธิสัตว์เสด็จประทับในเรืออันลอยไปในมหาสมุทร มีเทพบริวารคอยพิทักษ์อยู่ถึง ๔ เดือนไม่เคลื่อนคลาด คราวนั้นยังมีพราหมณ์คนหนึ่งชื่ออัยยกะ เป็นผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งเสนาบดีแห่งพระเจ้ามหาประถม ซึ่งเป็นพระชนกของพระเจ้าวัสสวดี เมื่อพระเจ้ามหาประถมเสด็จสวรรคตแล้ว อัยยกะเสนาบดีได้ยกราชสมบัติถวายวัสสวดีราชกุมาร แล้วยกตำแหน่งเสนาบดีให้แก่มัชชหายกะพราหมณ์ ส่วนตนทูลลาออกโดยอ้างว่าแก่แล้วจะขอไปอาศัยอยู่นอกพระนคร พระเจ้าวัสสวดีก็ทรงอนุญาต อัยยกะเสนาบดีนั้นก็ทูลลาไปจากพระนคร เดินทางไปได้สามโยชน์ บรรลุถึงบ้านใหญ่ตำบลหนึ่ง เลยสร้างเมืองอยู่ในที่นั้น และได้มาเฝ้าพระเจ้าวัสสวดีทุกปีมิได้ขาด

เพราะฉะนั้นในคราวนั้น อัยยกะเสนาบดีเมื่อถึงคราวเข้าไปเฝ้า ก็ไปตามเคย ครั้นไปถึงพระนครเห็นเงียบเหงาไม่เหมือนก่อน จึงคิดว่า เมื่อก่อนชาวเมืองพากันรื่นเริงเที่ยวกินเที่ยวเล่น ฟ้อนรำขับร้อง สนุกสนานครึกคริื้นไปด้วยเสียงฆ้องกลอง บัดนี้เป็นอย่างไรจึงเงียบหงอยกันหมด ครั้นไปถึงที่เฝ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควร

ก็และจำเดิมแต่วันที่พระอัครมเหสีกับพระราชโอรสเสด็จจากพระนครไปในเรืออันล่องลอยตามท้องทะเลหลวง ฝ่ายพระเจ้าวัสสวดีทรงพระดำริว่า โอรสและมเหสี​ของเราซึ่งไปสู่มหาสมุทรย่อมไม่สามารถกลับคืนมาได้ จักเป็นอันตรายแน่นอน ทรงพระดำริแล้วก็ทรงน้อยพระหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง แต่ยังไม่เคยมีพระอัสสุชลคลอพระเนตรเลยแม้แต่สักครั้งในชั่ว ๔ เดือนที่แล้วมา ท้าวเธอมีพระหฤทัยอันเหือดแห้ง พระเนตรทั้งสองไม่ผ่องใส พระพักตรเศร้าหมองผิดปรกติ พระองค์ทอดพระเนตรเห็นอัยยกะพราหมณ์แล้ว ทรงนิ่งอยู่มิได้ตรัสสนทนา อัยยกะพราหมณ์จึงคิดว่า เมื่อก่อนพระเจ้าอยู่หัวของเราทอดพระเนตรเห็นเราย่อมตรัสปราศรัย วันนี้ดูมีพระหฤทัยไม่สู้ดี จะเป็นเพราะอะไร เมื่อจะกราบทูลถามจึงกล่าวคาถาว่า

มมํ ทิสฺวาน อายนฺตํปุพฺเพ ปสนฺนํ ตว มุขํ
อิทานิปิ สาวํ ชาตํปทุมํ ยถา หตฺถคตํ
ปาณินา ปริมทฺทิตํมม ทิสฺวาน อีทิสํ

ความว่า มื่อก่อนพอพระองค์ทอดพระเนตรเห็นข้าพระพุทธเจ้าแล้วมีพระพักตรผ่องส มาบัดนี้กลายเป็นประหนึ่งว่า ปทุมชาติอันบุคคลขยำด้วยมือ ดังนี

ครั้นอัยยกะพราหมณ์กล่าวคาถานี้แล้วคิดว่า พระราชาคงจะทรงพิโรธผู้ใดผู้หนึ่งในจำพวกข้าราชสำนัก หรือคนอื่นนอกจากพระราชวัง เมื่อจะกราบทูลถามอีก จีงกล่าวคาถาอีกว่า

กจฺจิ นุ เตนาภิสฺสสิกจฺจิ เต อตฺถิ เวทนา
เยน สาวํ ตุยฺหํ มุขํมมํ ทิสฺวาน อาคตํ

ความว่า ผู้ใดผู้หนึ่งทำให้พระองค์ขัดเคืองพระหฤทัย หรือว่าทุกขเวทนามีแด่พระองค์ พระพักตร์ของพระองค์จึงไม่เบิกบาน ในเมื่อทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์มายังที่เฝ้าแล้ว

พระราชาทรงสดับแล้ว เมื่อจะตรัสบอกจึงตรัสพระคาถาว่า

วิโยคฺจ ปตฺโต อหํอิโต มาสํ อโธคโต
ทิวา รตฺติยํ วา เนวสุขเมนูปลพฺภติ
ปุตฺโต มม ชาโต มุเขนวมาสิเก โปเสมิ
เปลายํ ตตฺถ ปาวิสิตสฺมา ตํ กาลกิณิ
ตํํ สห มาตุยา นาวมฺหิปกฺขิปิตฺวาน สมุทฺเท
อุทกณฺเณว วุยฺหติตโตหํ ทุกฺขิโต โหมิ
ชานปทา จ เนคมานครวาสี มนุสฺสา
สพฺเพ จ พหุชนาปิโสกปีฬิตา ทุมนา
สุฺนครํ อมฺหากํ 

แปลว่า เราถึงซึ่งความพลัดพราก ไม่ได้ลงจากปราสาทตั้งเดือนแล้ว เราไม่มีสุขทั้งกลางวันกลางคืน บุตรของเราคลอดทางปาก พอคลอดแล้วได้ เดือน ก็เข้าไปซ่อนตัวอยู่ในหีบแก้ว เพราะฉะนั้น ปุโรหิตจึงบอกว่าเป็นคนกากิณี แล้วเราได้ให้เอาใส่เรือทั้งแม่และลูกออกไปปล่อยในะเล ให้เรือพาลอยไปตามกระแสน้ ต่อนั้นมาเราไม่สบายใจเลย ชาวชนบทนิคมและชาวเมืองต่างก็โศกเศร้าเสียใจกันหมด เมืองของเรจึงเงียบเหงาเช่นนี้

อัยยกะเสนาบดีสดับพระดำรัสแล้ว คิดว่าสิรสาราชกุมารไม่ใช่คนกาลกิณี เป็นผู้มีบุญมากทีเดียว หมู่สัตว์และบุคคลอื่นตั้งหมื่นแสนก็ไม่มีที่จะคลอดทางปาก อีกอย่างหนึ่ง บุคคลอื่น ๆ ที่เกิดได้ ๙ เดือนที่จะเข้าไปซ่อนตัวอยู่ในหีบโดยลำพังตนได้ไม่มี เพราะฉะนั้น สิรสากุมารจักต้องเป็นผู้มีบุญมากหีเดียว ครั้นคิดอย่างนี้แล้วจึงกราบทูลว่า มัชชหายกเสนาบดีเขาเป็นคนโกง ตัดสินความโดยปลูกพยานเท็จเสมอ เขารู้จักอานุภาพบุญบารมีของพระกุมารว่าจะมีมาก เกรงว่าต่อไปเมื่อพระกุมารทรงพระเจริญขึ้นจะเป็นผู้มีบุญมากมีพระปรีชามาก จะถอดเขาออกจากตำแหน่งเสนาบดีเสีย เขาจึงกราบทูลว่าพระราชกุมารเป็นคนกาลกิณี

เมื่ออัยยกะเสนาบดีกราบทูลอย่างนี้แล้วขอให้หาตัวมัชชหายกเสนาบดีและอำมาตย์อื่นๆ มาประชุม เมื่อประชุมพร้อมกันแล้วจะให้โอวาท จึงกล่าวคาถาหลายคาถาด้วยกันว่า

ราชกุลํ ปตฺโต โปโสคุเณน อฺาโต อโธ
สิริยสํ ลภนฺโต โสสุโร ทุเมธาปมตฺโต
อิเม จ น อุปาเทยฺยุํเจ อุปาเทยฺย สมฺมเณยฺย
ยถาสฺสสีลํ ปฺฺจโสเจยฺยฺจาทึ ชานาติ
ราชาวิสาสเก กเตเนว ตุยฺหฺจสฺส รกฺเข
ตุลา ยถา ปคฺคหิตาสมทณฺฑา สุธาริตา
อชฺฌิตฺโถ อกมฺเปยฺยสพฺพานิ อภิสมฺโภนฺโต
ทิวารตฺตึ ปณฺฑิโต จอชฺฌิตฺโถ ราชกิจฺเจสุ
สมฺโภนฺโต น วิกมฺเปยฺยโยปิ สุกโต ราชมตฺโต
รฺโ สุปฏิฺฺาทิโตน เตน วุตฺโต คจฺเฉยฺย
กุมคฺเคน คจฺเฉยฺย โสน รฺโ สหิสํ ภุฺเช
กามโภเค กุทาจนํน รฺโ สทิสํ วตฺถํ
น มาลํ น วิเลปนํอากปฺปํ สรกุตฺตึ วา
น รฺา สทิสมาจเรอฺํ กเรยฺย อากปฺปํ
ตาทิสสฺส ราชา กุทุธติ 
อนทโต อจปโลนิปโก สํวุตินฺทฺริโย
มโนปณิธิสมฺปนฺโนนทิสฺส ราชภริยา
นาฏกาหิ น กิเฬยฺยน มนฺเตยฺย รโหคโต
นาสฺสโถสาธนํ คณฺเหน มทาย สุรํ ปิเว
น นิทฺทํ พหุํ โอกเมนาสฺส ทาเย มิเค หฺเ
น ปิฏฺํ น ปลฺลงฺกฺจน โกจฺฉฺจ นาวารถํ
สมฺมโตมฺหีติ อารุฬฺเหนาติทูเร ภเช รฺโ
นาสนฺเน นุจฺโจ ติฏฺเยฺยนภคุโณ สทฺธึ ติฏฺเยฺย
น เม ราชา สขา โหติน ราชา โหติ าติโก
ขิปฺปํ กุชฺฌนฺติ ราชาโนสุกฺเกนคฺคีว ฆฏิตํ
น ปูชิโต มฺมาโนเมธาวี ปณฺฑิโต นโร
ผรุสํ ปฏิมนฺเตยฺยราชานํ ปริสํ คตํ
ปุตฺตํ วา ภาตรํสํ วาสมฺปคฺคยฺหาติ ขตฺติโย
คาเมหิ นิคเมหิ วารฏฺเหิ ชนปเทหิ
ตุณฺหิภูตา อุทิกฺเขยฺยน ภาเณ เฉกปาปกํ
หตฺถาโรเห อนีกฏฺเรถิเก ปตฺติการเก
ราชา วฑฺเฒติ เวตฺตนํน เตสํ อนฺตเร คจฺเฉ
ปาโปว โอนโต ธีโรวํโส วาปิ กปฺเปยฺย
ปฏิโลมํ น มนฺเตยฺยจาโปว นูทโร อสฺส
มจฺโฉวสฺส อชิวฺหตาอปฺปาสิ นิปโก สุโร
น พาฬฺหํ อิตฺถี คจฺเฉยฺยสมฺปสฺสํ เตชสงฺเขยฺยํ
กาสํ สาสํ ทรํ พาฬฺหํขีณเมธา นิคจฺฉติ
นาติเวลํ ปภาเสยฺยน คณฺหิ สพฺพทาสิยา
อวิกิณฺณํ มิตฺตวาจํปตฺเต กาเล อุทีริเย
อโกธโน อสงฺฆโนสจฺโจ สณฺโห อเปสุโณ
สมุผํ คิรํ น ภาเสยฺยกิเลสรติขีณปฺโ
มาตาเปติภโร อสฺสกุเลเชฏฺาปจายิโก
หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺโนวินีโต สิปฺปวาทนฺโต
กตตฺโต นิยโต มุทุอปฺปมตฺโต สุจิทกฺโข
นิวาตวุตฺติ วุฑฺเฒสุสปฺปติสฺโส สคารโว
สุรโต สุขวาโสอารกา ปริวชฺเชยฺย
สณฺหิตูปหิตํ ชนํภตฺตา รฺเ วทิกฺขย
น อฺสฺส จ ราชิโนรฺโ สนฺติกํ ตุยฺหํ รกฺเข
สมณพฺราหฺมเณวาปิสีลวนฺเต พหุสฺสุเต
สกฺกจฺจํ ปยิรุปาเสยฺยตปฺเปยฺย อนฺนปาเนน
อาสชฺชปฺหํ ปุจฺเฉยฺยอากงฺขํ วุฑฺฒิมตฺตโน
ทินฺนปุพฺพํ นหาเปยฺยทานํ สมณพฺราหฺมเณ
น จ กิฺจิ นิวาเรยฺยทานกาเล วนิพฺพเก
ปฺาวา วุฑฺฒิสมฺปนฺโนวิธานวิธิโกวิโท
กาลฺู จ สมยฺูอุฏฺานกมฺมเธยฺเยสุ
อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณสุสํวิหิตกมฺมนฺโต
ขลํ สาลิปํสุเขตฺตํคนฺตวา ปสฺส อภิกฺขณํ
มิตํ ธฺํ นิธาเปยฺยมิตฺจ ปาจเย ฆเร
ปุตฺตํ วา ภาตรํสํ วาสีเลสุ อสมาหิตํ
อนงฺควา หิเต พาลายถาเปโต ตเถว เต
โจฬฺจ เนสํ ปิณฺฑฺจอาสิ นานํ ปทาปเย
ทาเส กมฺมกเร ปาเลสีเลสุ สุสมาหิเต
ทุกฺเข อุฏฺานสมฺปนฺเนอาทิปจฺจสมึ าปเย
สีลวา จ อโลโภ จอนุวตฺโต จสฺส ราชิโน
อาวิรโห หิโต ตสฺสฉนฺทฺู ราชิโน จสฺส
จิตฺตตฺโถ จสฺส ราชิโนอสํกุสฺสกวุตฺติสฺส
อจฺฉาทเน นหาเปน จ 
โธเว ปาเท อโธสิรํอาหโตปิ น กุปฺเปยฺย

ราชเสวกประจำราชสำนัก อันพระเจ้าอยู่หัวยังไม่ทรงทราบความสามารถ ก็ยังไม่ได้รับพระราชทานยศศักดิ์อยู่เอง เป็นราชเสวกอย่ากล้าจนเกินพอดี อย่าขลาดจนเสียราชการ อย่าประมาท คอยระมัดระวังอยู่เสมอ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบคุณสมบัติทั้งศีล คือความประพฤติ ทั้งปัญญาความรอบรู้และความบริสุทธิ์ ย่อมทรงวางพระราชหฤทัยไม่รังเกียจ จนถึงความลับก็เผยได้ไม่ต้องระวัง

เมื่อราชเสวกอันพระเจ้าอยู่หัวตรัสใช้ในราชกิจ ไม่พึงลำเอียงด้วยอำนาจอคติ ๔ มีฉันทาคติเป็นต้น พึงปฏิบัติราชกิจให้สำเร็จโดยสุจริตเที่ยงธรรม ดุจตราชูที่บุคคลประคองให้มีคันสม่ำเสมอเที่ยงตรงดี ฉะนั้น เป็นราชเสวกพึงตั้งใจทำราชกิจทุกอย่าง ปฏิบัติราชกิจนั้น ๆ ให้เสมอต้นเสมอปลาย ดุจตราชูที่มีคันสม่ำเสมอเที่ยงตรงดีฉะนั้น

เป็นราชเสวกต้องฉลาดในราชกิจ เมื่อกิจราชการเกิดขึ้นไม่ว่าเวลาใด ตรัสใช้กลางวันหรือกลางคืนก็ตาม ไม่พึงหวั่นหวาด ปฏิบัติราชกิจนั้นให้สำเร็จตามพระประสงค์ เป็นราชเสวกต้องฉลาดในราชกิจ ตั้งใจทำราชกิจทุกอย่างในกลางวันหรือกลางคืน ให้สำเร็จโปโดยเรียบร้อย

ทางที่เขาตกแต่งไว้เป็นอันดี เพื่อเป็นมรรควิถีเสด็จพระราชดำเนิน เป็นราชเสวกแม้จะทรงอนุญาตก็ไม่ควรเดินโดยทางนั้น เป็นราชเสวกไม่พึงบริโภคสมบัติทัดเทียมพระเจ้าอยู่หัว เพราะว่าพระเจ้าอยู่หัวย่อมทรงพระพิโรธ ในบุคคลผู้ทำเช่นนั้น ควรเดินหลัง ปฏิบัติให้ต่ำกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในกาลทุกเมื่อ

เสื้อผ้า มาลาระเบียบดอกไม้ และเครื่องลูบไล้ของหอม ไม่ควรใช้สอยประดับทัดเทียมกับพระเจ้าอยู่หัว ทั้งไม่ควรใช้อากัปปกิริยาและพูดจาให้เทียมกับพระองค์ ควรทำให้ต่างอย่าให้เหมือนอย่างพระองค์ท่าน เพื่อเป็นการรักษาตนให้พันราคีกลีโทษ

เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเล่นอยู่กับหมู่อำมาตย์ มีพระสนมกำนัลในเฝ้าแหนอยู่ด้วย เป็นราชเสวกามาตย์ต้องฉลาด ไม่พึงแสดงอาการทอดสนิทในพระสนมกำนัลใน อย่าเป็นคนฟุ้งซ่านแสดงอาการของคนพอง อย่าคะนองกายวาจาให้เสียจริยาของข้าเฝ้า รู้จักรักษาตนไม่ให้เป็นคนเสียหาย เพราะเหตุนั้น จงระมัดระวังอินทรีย์อย่าให้เกิดราคีขึ้นได้ พร้อมทั้งอัธยาศัยใจจิตต้องสุจริตอย่าคิดพล่าน

เป็นราชเสวกอย่าเล่นหัวกับพระสนมกำนัลใน อย่าเจรจาปราศรัยในที่ลับ จะเป็นทางให้เกิดระแวงว่าผูกสมัครรักใคร่กันไม่บังควร อย่าลอบเอาพระราชทรัพย์จากคลังหลวง นี้เป็นการเสียสัตย์ตัดประโยชน์โทษมหันต์ เป็นราชเสวกอย่าเห็นแก่ความหลับนอนให้มากนัก จะชักให้เป็นคนเกียจคร้านและปล่อยหน้าที่ราชการให้เสียด้วย อย่าดื่มสุราจนเมามายทำให้ขายพระพักตรา อย่าฆ่ามฤคีที่พระราชทานอภัยให้เป็นที่ขุ่นเคืองพระราชหฤหทัย โดยฝืนพระราชอำนาจและขาดเคารพ

พระแท่นราชบัลลังก์ภัทรบิฐ เรือ รถพระที่นั่ง เป็นราชเสวกอย่าทะนงตนว่าเป็นคนโปรดปรานแล้วและขึ้นร่วม เป็นราชเสวก เสวกต้องเข้าใจในราชกิจ มีความไหวพริบในกิจอุปฐาก อย่าเฝ้าให้ไกลนักให้ใกล้นัก ควรยืนเฝ้าพอท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นถนัด และพอให้ยินพระราชดำรัสที่ตรัสใช้

เป็นราชเสวกอย่าชะล่าใจว่า พระเจ้าอยู่หัวเป็นเพื่อนของเราและเป็นคู่กันกับเรา อันพระราชาทั้งหลายย่อมทรงพระพิโรธไวดุจนัยน์ตาถูกผงกระทบฉะนั้น เป็นราชเสวกไม่พึงถือตัวว่าเป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต พระเจ้าอยู่หัวทรงนับถือบูชาแล้วชะล่าใจจ้วงจาบเพ็ดทูลถ้อยคำที่หยาบคายขณะที่เสด็จประทับ ณ ราชบริษัทสมาคมเป็นการทะนงอวดดีจะมีภัย

เป็นราชเสวก แม้ได้รับพระราชทานพระทวารเป็นพิเศษ เข้านอกออกในได้ไม่ว่าเวลาไร ก็อย่าวางใจในพระราชฐาน ในการไม่บังควร ต้องได้รับพระราชทานเสียก่อน เพราะว่าพระราชาเป็นดุจไฟ อย่าได้ประมาท ต้องมีสติดำรงตนให้เป็นคนที่รอบคอบ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงยกย่องพระราชโอรสหรือพระราชวงศ์ ด้วยบ้านก็ดี นิคมก็ดี แว่นแคว้นก็ดี เป็นราชเสวกควรนิ่งดูก่อน ไม่ควรด่วนเพ็ดทูลคุณหรือโทษ

ในกรมช้าง กรมราชองครักษ์ กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า ทุกหมู่เหล่า พระเจ้าอยู่หัวจะทรงปูนบำเหน็จรางวัลโดยความชอบในราชการของเขา เป็นราชเสวกพึงรอบคอบสอบสวนให้ถ้วนถี่ มีจิตใจอ่อนโยนโอนไปตามในการที่ควร ดุจคันธนูอันน้อมเข้าหากัน หรือไม้ไผ่อันโอนไปตามลมฉะนั้น ไม่ควรทูลทัดทานให้เสียราชการงานเมือง

เป็นราชเสวกพึงเป็นคนมีท้องน้อยดุจคันธนู คืออย่ามักใหญ่เห็นแต่ได้ฝ่ายเดียว พึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นดุจปลา คือไม่เจรจาหาเรื่องให้เคืองพระราชหฤหทัย พึงเป็นผู้มีอาหารน้อย คือไม่มักมากในลาภผลและใช้จ่ายให้ฟูมฟาย พึงสอดส่องรักษาราชกิจไม่ให้ผิดราชประเพณี พึงเป็นผู้กล้าพอที่จะฝ่าอุปสรรค เป็นราชเสวกไม่พึงมัวเมาสตรีนัก เพราะสัมผัสเป็นเหตุสิ้นไปแห่งเดช เมื่อสิ้นเดชอันเป็นเหตุต่อสู้กับความหลง ย่อมได้รับผลคือไอหอบกระวนกระวายและอ่อนกำลัง

เป็นราชเสวกอย่าพูดมากเกินประมาณ จะนิ่งเสียทีเดียวก็ไม่ควร เมื่อถึงคราวที่ต้องพูด ก็ควรพูดแต่พอประมาณ ไม่ให้พร่ำเพรื่อ เป็นราชเสวกต้องอดทน ไม่เป็นคนฉุนเฉียวโกรธง่าย อย่าพูดกระทบกระเทียบเปรียบเปรยท่านให้รำคาญโสต รักษาสัตย์ระวังถ้อยคำมิให้วิบัติจากความจริง เป็นคนละเอียดพูดถ้อยคำที่ละเอียดนุ่มนวล ควรดื่มไว้ในใจ ไม่เป็นคนส่อเสียดเดียดฉันท์ ก่อความบาดหมางแก่หมู่คณะ ไม่พูดเพ้อเจ้อทำตนให้เป็นคนเหลวไหล

เป็นราชเสวกต้องบำรุงเลี้ยงมารดาบิดาให้ผาสุกด้วย ผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุลควรเกื้อกูลนบนอบให้ชอบธรรม ควรมีหิริโอตัปปะ เป็นกัลยาณมิตร บำรุงจิตและความประพฤติให้ดีงาม เป็นราชเสวกควรมีอาจารสมบัติได้ฝึกหัดไว้เป็นอันดี มีศิลปได้ศึกษาพอสามารถในราชกิจ รู้จักข่มจิตไม่ทำตนให้วิปริตเพราะขาดสังวร มีตนได้ฝึกพร้อมทั้งวิทยาและจริยาสมบัติ เป็นผู้คงที่ไม่แปรผันทั้งในสมบัติและวิบัติ มีอัธยาศัยสมบัติอ่อนโยนไม่เหย่อหยิ่ง ไม่ประมาทเลินเล่อในราชกิจ มีความประพฤติเป็นสุจริตไม่มัวหมองและขยันไม่เกียจคร้านในอุปฐาก

เป็นราชเสวกควรประพฤติอ่อนน้อม มีความเคารพยำเกรงในผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นคนเรียบร้อยทั้งกายและวาจา ให้ผู้ที่ได้มาสมคบได้รับความสุขทั้งกายและใจ ทูตต่างประเทศที่เขาส่งมาด้วยเรื่องเนื่องด้วยความลับ เป็นราชเสวกควรเว้นให้ไกลอย่าใกล้เคียง พึงเอาใจใส่ดูแลแต่เจ้าของตน อย่าสำรวมด้วยคนของราชปรปักษ์

อีกประการหนึ่ง เป็นราชเสวกเมื่อหวังความเจริญแก่ตน แม้สมณพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหุสูต ก็พึงเข้าหาสมาคมโดยเคารพ ครั้นเข้าหาสมาคมสมณพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหุสูตแล้ว พึงสมาทานรักษาอุโบสถศีลโดยเคารพ พึงบำรุงเลี้ยงสมณพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหุสูตให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ และพึงเข้าไปไต่ถามบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์กับสมณพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหุสูตมีปัญญา

ทานบริจาค ที่เคยพระราชทานในสมณพราหมณ์มาเป็นอาจิณวัตร

เป็นราชเสวกก็ควรปฏิบัติให้คงที่มิให้เสื่อมทราม อนึ่งเห็นพวกวณิพกมาในเวลาพระราชทาน ไม่ควรห้ามเลยเป็นอันขาด ต้องเป็นผู้สอดส่องให้ตระหนักในราชกิจ มีความคิดสุขุมรอบคอบไม่บกพร่อง ฉลาดในวิธีจัดให้ราชกิจดำเนินไปโดยเรียบร้อย และรู้จักกาลรู้จักสมัยว่าควรปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติราชกิจให้สำเร็จโดยควรแก่กาลและสมัยนั้น ๆ เป็นราชเสวกพึงเป็นคนไม่ประมาทและสอดส่องในกิจการที่เป็นงานอันตนจะต้องจัดต้องทำ มีความเพียรความหมั่นไม่เกียจคร้าน จัดกิจราชการให้ลุล่วงไปได้เป็นอย่างดี

ลานข้าวสาลีปศุสัตว์และนา พึงนำพาไปตรวจตราดูแลเสมอๆ ข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในยุ้งฉาง ควรให้ตวงรู้จักประมาณไว้ ที่หุ้งต้มในเรือนก็ต้องให้ตวงให้รู้ไว้เหมือนกัน บุตรหรือพี่น้องวาศ์ญาติผู้ไม่ตั้งอยู่ในศีลาจารวัตร ไม่ควรยกย่องให้เป็นใหญ่ปกครองหมู่คณะ เพราะว่าเขาประพฤติตนเป็นคนพาล จัดว่าไม่ใช่คาพยพที่กล่าวกันว่าเป็นญาติ เพราะความเป็นคนพาลของเขา เป็นเหตุนั้นเขาย่อมเป็นเหมือนคนตายที่บุคคลทิ้งไว้ในป่าช้าฉะนั้น มีแต่จะผลาญทรัพย์ให้พินาศ ทั้งไม่อาจยังราชกิจให้บริบูรณ์ได้ คนผู้เช่นนี้จึงไม่ควรยกย่อง แต่ว่าเมื่อเขามาหาถึงสำนักก็ควรให้ผ้านุ่งห่มและอาหารพอเลี้ยงชีพ พวกทาสหรือกรรมกรผู้ตั้งมั่นในศีลในธรรม เป็นคนขยันถึงพร้อมด้วยความเพียรความหมั่น ควรยกย่องให้เป็นใหญ่ปกครองหมู่คณะได้

เป็นราชเสวก พึงประกอบด้วยศีลาจารวัตร มีสัตย์มีธรรม ไม่ละโมบ โลภมากเห็นแต่ได้เอาใจออกหาก พึงประพฤติตามเจ้าไม่เข้ากับตนผิด มีความจงรักภักดีคงที่ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นราชเสวกต้องรู้จักพระราชนิยม และปฏิบัติตามพระราชประสงค์ อย่าประพฤติให้ขัดต่อพระราชอัธยาศัย เวลผลัดพระภูษาและสรงสนาน ราชเสวกพึงก้มศีรษะลงชำระพระบาท แม้จะถูกกริ้วกราดต้องพระราชอาชญา ก็อย่าบีฑาโกรธตอบเป็นชอบธรรม

ครั้นอัยยกะพราหมณ์สอนราชเสวกทั้งหลายอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถาอีกต่อไป เพื่อจะข่มขี่คนเลวว่า

โย ทณฺเฑน อทณฺฑเสุอปฺปทุฏฺเสุ ทุสฺสติ
ทสนฺนมฺตรํ านํขิปฺปเมว นิคจฺฉติ
เวทนํ ผรุสํ ชานึสรีรสฺสปฺปเภทนํ
ครุกํ วาปิ อาพาธํจิตฺตกฺเขปฺจ ปาปุเณ
ราชโต ว อุปสคฺคํอพฺภกฺขานํ ว ทารุณํ
ปริกฺขยํ ว าตีนํโภคานํ ว ปภงฺคุนํ
ตสฺเสว อฆรานิ จอคฺคิ ฑหติ ปาวโก
กายสฺส เภทา ทุปฺปฺโนิรยํ โส อุปปชฺชติ

แปลว่า ผู้ใดประทุษร้ายต่อผู้ไม่มีโทษ ผู้ไม่ประทุษร้ายผู้อื่นด้วยอาชญา ผู้นั้นย่อมได้รับโทษ ๑๐ อย่าง ๆ ดอย่างหนึ่งโดยเร็ว คือทุกขเวทนา ความเสื่อมเสีย ถูกทำร้ายร่างกาย เจ็บหนัก เสียจริต ผิดต่อพระราชา ถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรง สิ้นญาติ สิ้นทรัพย์ ไฟไหม้เรือน (นี้เป็นโทษในปัจจุบัน ส่วนโทษในอนาคตคือ) ผู้นั้นตายแล้วย่อมเกิดในนรกดังนี้ (คาถานี้ท่านกล่าวไว้ในพระธรรมบว่าเป็นพระพุทธภาษิตด้วย)

เมื่ออัยยกะพราหมณ์ให้โอวาทอย่างนี้แล้วจะกราบถวายบังคมลา จึงทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าจักถวายบังคมลากลับยังบ้านเมืองของข้าพระพุทธเจ้า ถ้าสิรสากุมารเป็นคนมีบุญ จักต้องกลับมาด้วยอำนาจอธิษฐานของข้าพระพุทธเจ้า ถ้าเป็นคนกาลกิณี ก็จักตายอยู่ในมหาสมุทร ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้วถวายบังคมลาออกจากที่เฝ้า พร่ำสอนชาวพระนครว่า ขอท่านทั้งหลายอย่าเศร้าใจ อย่าร่ำร้อง พระสิรสากุมารพระองค์นั้นเป็นผู้มีบุญ ยังไม่สิ้นพระชนม์ จักเสด็จกลับด้วยอำนาจอธิษฐานของเรา ครั้นตักเตือนอย่างนี้แล้วก็กลับไปสู่อัยยกนคร

อัยยกะพราหมณ์นั้น บริโภคแล้วออกนั่ง ณ ท่ามกลางอำมาตย์ แล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย พระเจ้าวัสสวดีทรงพระชราแล้ว ในบัดนี้พระโอรสของพระองค์มีอยู่พระองค์หนึ่ง พระโอรสนั้นประสูติหางพระโอษฐ์ พออยู่มาได้ ๙ เดือนได้เสด็จเข้าไปทรงรักษาศีลอยู่ในหีบแก้วที่เขาลั่นกุญแจไว้ เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เพราะฉะนั้น มัชชหายกพราหมณ์จึงกราบทูลพระเจ้าแผ่นดินว่า พระราชกุมารเป็นกาลกิณี พระเจ้าแผ่นดินทรงเชื่อ โปรดให้เอาลงเรือไป​ปล่อยเสียในมหาสมุทร แน่ะ ท่านทั้งหลาย พวกเราพร้อมกันบูชาพระรัตนตรัยด้วยเครื่องสักการะประทีปธูปเทียน แล้วถวายส่วนกุศลแด่พระราชกุมารเถิด เพื่อขอให้เทพเจ้าคุ้มครองและนำเสด็จมาสู่บ้านเมืองของเรา ครั้นประกาศอย่างนี้แล้วสั่งให้ตีกลองร้องป่าวชาวพระนครว่า ท่านทั้งหลายจงช่วยกันตกแต่งนครให้เหมือนเทพนคร ประดับด้วยธงชายเป็นต้น แล้วสร้างปราสาทหลังหนึ่งไว้ริมฝั่งแม่น้ำ ปักธง ปลูกต้นกล้วย ต้นอ้อย ตั้งหม้อน้ำไว้สองข้าง เริ่มแต่นิเวศน์ไปกระทั่งริมน้ำ และจัดแจงทางเสด็จประดับด้วยพวงดอกไม้และของหอมธูปเทียน ให้แลสล้างทั้งสองข้างมรรคา คล้ายกับว่าทางเทพเจ้าไปสู่นันทอุทยานฉะนั้นด้วย

มหาชนทั้งหมดชวนกันบูชาพระรัตนตรัย แล้วอธิษฐานทุกๆวันว่า ด้วยผลบุญอันนี้ ขอให้เทพเจ้าทั้งหลายช่วยอภิบาลพระราชกุมารและนำเสด็จมาในพระนครนี้เถิด

คราวนั้น พระโพธิสัตว์อันเทพยดาและคุณแห่งพระรัตนตรัยคุ้มครองแล้ว ย่อมไม่ต้องอุปสรรคและอันตราย ทรงพระสำราญอยู่เป็นนิตย์ แต่เรือพาลอยไปในมหาสมุทรได้ ๕ เดือนโดยสวัสดิภาพ

ครั้งนั้นอัยยกะพราหมณ์ได้สร้างเสาธง ๗๐๐ ห้อยไปด้วยพวงกระดึงทำเป็นการบวงสรวงเทพเจ้า ยกหัตถ์ขึ้นถวายบังคมพระรัตนตรัยและเทพยดา มีเทพยดารักษามหาสมุทรเป็นต้น และได้เปล่งวาจานมัสการพระรัตนตรัยว่า นโม ตสฺส ภคโต อรหโต สมฺมาสมฺพทฺธสฺส ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า นโม ตสฺส สฺวากฺขาตสฺส ภควโต ธมฺมสฺส ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตรัสดีแล้ว นโม สุปฏิปนฺนสฺส ภควโต สาวกสงฺฆสฺส ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ปฏิบัติดีแล้ว เมื่อจะอธิษฐานได้กล่าวว่า ถ้าสิรสากุมารเป็นผู้มีบุญ เป็นหน่อพระพุทธเจ้า ขอจงมาสู่นครของข้าพเจ้าพร้อมทั้งพระราชมารดา ถ้าไม่ใช่ผู้มีบุญ เป็นคนเลว จงให้ตายอยู่ในมหาสมุทรเถิด แล้วต่อไปได้ทำสักการะใหญ่ทุกวัน

ฝ่ายเรือแห่งสิรสากุมารที่ลอยอยู่ในมหาสมุทร มีเทพดา ยักษ์ นาค ครุท กินรี ล้อมรักษา รื่นเริงไปด้วยเบญจางคิกดนตรี อยู่ในมหาสมุทร ๔ เดือนเป็นกำหนด

ด้วยกำลังอธิษฐานแห่งอัยยกะพราหมณ์ เรือนั้นได้ลอยทวนกระแสน้ำเข้าปากอ่าวโดยลำดับตราบเท่าถึงพระนครแห่งพระราชบิดา แต่ไม่มีใครเห็นเรือนั้นด้วย

​อานุภาพแห่งเทพยดา และเรือนั้นได้ลอยไปถึงนครแห่งอัยยกะพราหมณ์ โดยกำหนดกาลได้ ๘ วัน แล้วจอดเทียบท่าเป็นอันดีในเพลาราตรี

ในราตรีนั้นอัยยกะพราหมณ์ได้สุบินว่า มีบูรษคนหนึ่งนำเอาต้นไม้ต้นหนึ่ง มีลำต้นเป็นปัญญา มีกิ่งเป็นศีล มีรส ๕ รสล้อมด้วยช้าง ม้าเป็นขนัด มาตั้งไว้ในกลางพระนคร มหาชนได้พากันมาแต่ ๔ ทิศ พร้อมกันสักการบูชานอบน้อมต้นไม้นั้น

พออัยยกะพราหมณ์ตื่นขึ้น ตรึกตรองดูลักษณะความฝันก็เข้าใจได้ตระหนักว่า ต้นไม้ใหญ่นั้นต้องเป็นสิรสากุมารแน่นอน จักมีเทพบุตรนำพระกุมารผู้มีบุญมากมาถึงเมืองนี้ วันนี้เราจักได้เห็นพระกุมาร ครั้นตกลงแน่ใจอย่างนี้แล้วได้นั่งฟังเสียงดนตรีทิพย์อยู่บนบัลลังก์ ทราบได้ว่าเป็นเสียงดนตรีที่เทพยดาประโคม และพระสิรสากุมารจักมาถึงในไม่ช้า

ฝ่ายมหาชนเมื่อได้ยินเสียงประโคมแห่งดนตรีทิพย์ก็พากันลงไปที่ท่าน้ำ ได้เห็นเรืออันรุ่งเรืองประดับด้วยทองและรัตนะและมีมณฑปยอดตั้งอยู่ท่ามกลาง ต่างก็คิดว่า โอน่าอัศจรรย์ โอเรื่องเช่นนี้ไม่เคยมี คงจักเป็นเรือของพระลูกเจ้าแน่ แล้วได้นำความไปแจ้งแก่อำมาตย์

อำมาตย์นั้นรู้สึกดีใจมาก ได้ไปกราบเรียนอัยยกะพราหมณ์ ๆ ให้ชายาสนมนารีทั้งหลายถือเอาดอกไม้ต่าง ๆ มีดอกไม้แก้ว ทอง เงิน เป็นต้น ลงไปต้อนรับพระกุมารจนถึงท่าเรือ ได้แลเห็นสิรสากุมารกับพระมารดาประทับนั่งในมณฑป ก็พร้อมกันทั้งอำมาตย์ราชเสวกและชาวพระนครถวายบังคมแล้วยืนเฝ้าอยู่เป็นขนัด

ครั้งนั้น อัยยกะพราหมณ์ยกหัตถ์ทั้ง ๒ ขึ้นถวายบังคมแล้วทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ข้าพระบาทได้ทราบเรื่องของพระแม่เจ้าแล้ว มีความทุกข์โทมนัสมาก ได้พร้อมกับชาวเมืองกระทำการบูชาพระรัตนตรัย ถวายส่วนบุญแด่พระแม่เจ้า แล้วอ้อนวอนให้บุญช่วยนำพระแม่เจ้ามาสู่พระนครนี้ ข้าแต่พระแม่เจ้า บัดนี้ทูลกระหม่อมทั้ง ๒ ได้เสด็จมาถึงที่นี้แล้ว ขอเชิญเสวยราชย์อยู่ในพระนครนี้เถิด ข้าพระบาททั้งหลายจะได้พึ่งพระบารมี ขอกได้โปรดเป็นที่พึ่งแก่ประชาชนทั้งหลาย

พระนางเจ้าตรัสตอบว่า ท่านอัยยกะ ฉันเข้าใจว่าจักตายอยู่ในมหาสมุทร ไม่อาจพบเห็นหน้าท่านอีกเลย บัดนี้เราได้รอดชีวิตมาได้ด้วยบุญญานุภาพของท่าน ครั้นตรัสปราศรัยอย่างนี้แล้วพระนางเจ้าก็ทรงรับคำเชื้อเชิญ

​ครั้งนั้น ฝ่ายชาวพระนครมีอำมาตย์และพราหมณ์เป็นต้นต่างถวายประทีปธูปเทียนดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ต่าง ๆ แด่พระกุมารทั้งพระมารดา ฝ่ายอัยยกะพราหมณ์ได้อุ้มพระกุมารขึ้นจากเรือ และอัญเชิญพระเทวีขึ้นทรงวอทอง นำเสด็จโดยราชมรรคากระทั่งถึงปราสาท แล้วอัญเชิญขึ้นประทับ ณ ภายใต้เศวตฉัตร ขณะนั้นมหาชนได้พร้อมกันประโคมดนตรีขึ้นทันที

ฝ่ายอัยยกะพราหมณ์ได้โปรดให้หาช่างทองมาเฝ้า ตรัสให้ทำถาดทองใบหนึ่ง ถาดใบนั้นหนักร้อยตำถึง ประดับด้วยรัตนะ ๗ ประกอบด้วยลวดลายถึงพัน เสร็จใน ๗ วัน แล้วให้ตั้งถาดใบนั้นไว้บนบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร เชิญให้พระโพธิสัตว์ประทับในถาดนั้น แล้วทรงอธิษฐานว่า ถ้าพระลูกเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้กอร์ปด้วยบุญญาภินิหาร เป็นหน่อพระพุทธองค์ จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้ว ขอจงให้สุคนธวารีทิพย์ตกลงจากอากาศ โสรจสรงพระเศียรเกล้าของพระราชกุมารในกาลบัดนี้ อีกประการ ๑ ขอให้สุคนธวารีทิพย์นั้นฟุ้งไปถึงพระนครแห่งพระราชบิดา และขอให้พระราชบิดากับชาวพระนครทราบเหตุ ๒ ประการ คือให้ทราบว่า พระราชกุมารนี้ได้เสด็จถึงพระนครข้าพเจ้า และเป็นหน่อพระพุทธองค์

ครั้นอธิษฐานแล้วออกจากที่นั่ง จับพวงดอกไม้โยนไปในทิศต่าง ๆ กระทำสักการบูชาแล้วกล่าวอวยชัยมงคลว่า ขอพระราชกุมารเจ้าองค์นี้จงทรงพระสำราญปราศจากโรคาพาธ หาเสี้ยนหนามศัตรูมิได้ และขออย่าเสด็จไปที่อื่น จงเสวยราชย์อยู่ในพระนครนี้เถิด

ครั้งนั้น เหล่าเทพเจ้าที่สิงสถิตอยู่ ณ ภาคพื้นอากาศวิมาน ต่างก็หลั่งทิพยสุคนธวารีลงโสรจสรงพระเศียรเกล้าของพระราชกุมารและสรงมหาชนในที่นั้นด้วย ก็ชนเหล่าใดมีศีล ปัญญา ศรัทธา ทิพยสุคนธ์ที่ศีรษะของชนเหล่านั้นย่อมส่งกลิ่นฟุ้งไป ฝ่ายชนเหล่าใดเป็นคนบาป เป็นมิจฉาทิฐิ ชนเหล่านั้นเกิดเร่าร้อนขึ้นทั่วตัว ต้องหนีเข้าไปซ่อนอยู่ในเรือน

ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงบันดาลให้ฝนทิพยสุคนธ์ตกลง ฝนนั้นมีนามว่าโบกขรพรรษ เพราะว่าคนเหล่าใดเป็นผู้มีบุญ เมื่อถูกฝนชนิดนั้น ย่อมรู้สึกชุ่มชื่นในใจ ใคร่จะให้เปียกก็เปียก ไม่ใคร่จะให้เปียกก็ไม่เปียก คนเหล่าใดเป็นผู้ไม่มีบุญ พอถูกฝนนั้นแล้วย่อมเกิดความร้อนรนขึ้นไม่อาจทนได้ต้องหลบเข้าไปซ่อนอยู่ในเรือนเพราะฉะนั้นฝนนั้นจึงเรียกว่าฝนโบกขรพรรษ อีกอย่างหนึ่ง บรรดาต้นไม้ทั้งหลายมีต้นตาลเป็นต้น เมื่อถูกฝนนั้น ย่อมมีดอกผลและใบเกิดขึ้นทันที ทั้งเหล่าสัตว์เลี้ยงมีกระบือ โค แพะ แกะ เป็นต้น เมื่อถูกฝนนั้นต่างก็ย่อมชื่นอกชื่นใจ

​คราวนั้นสุคนธวารีทิพย์ที่กล่าวมานี้ ย่อมฟุ้งไปทั่วทุกประเทศ ตลอดถึงพระนครของพระราชบิดา ชาวพระนครบุปผวดีได้สูดดมทิพยสุคนธ์ต่างก็โจษกันว่า เป็นกลิ่นของใคร ฝ่ายพระเจ้าบุปผวดี ตรัสถามว่า กลิ่นที่หอมฟุ้งชนิดนี้เป็นกลิ่นของใคร อยู่ที่ไหน มาจากไหน แล้วตรัสสั่งพวกอำมาตย์ว่า ท่านทั้งหลายจงสืบสวนดูในทิศทั้ง ๔ กลิ่นนี้มาจากทิศไหน

พวกอำมาตย์รับพระราชโองการแล้วแยกกันออกพิสูจน์ในทิศทั้ง ๔ ก็ไม่รู้ว่ากลิ่นมาจากทิศไหน คราวนั้นมีลูกม้าสินธพอยู่อยู่ม้า ๑ เป็นม้าที่ดุร้าย ฝีเท้าเร็ว กำลังมาก มีเรี่ยวแรงมาก คนอื่นนอกจากกามเทพกุมารแล้วไม่สามารถขี่ม้านั้นได้ พระราชารับสั่งให้หากามเทพกุมารมาเฝ้า ตรัสว่า พ่อ ผู้อื่นนอกจากพ่อแล้วไม่อาจสืบรู้ต้นเค้าแห่งสุคนธ์นี้ได้ เพราะฉะนั้นขอให้พ่อขี่ม้าตัวที่มีกำลังฝีเท้าดีออกสืบที่มาแห่งสุคนธ์นี้ให้ได้

กามเทพกุมารทูลรับพระราชบัญชาแล้วเสด็จไปโรงม้าทรงลูบหลังสินธพอาชาไนย ทรงผูกเครื่องอานเสร็จแล้วเสด็จขึ้นทรง มีม้าอำมาตย์อื่น ๆ ตามเสด็จออกจากพระนคร เทพเจ้าดลใจให้บ่ายพระพักตร์สู่ทิศอุดร เสด็จเดินทางวันเดียวสิ้นระยะทาง ๓๐ โยชน์ ก็บรรลุถึงพระนครแห่งอัยยกะพราหมณ์ เมื่อเสด็จเข้านคร ได้ทอดพระเนตรเห็นมหาชนพากันเที่ยวดูมหรสพ และได้กลิ่นทิพยสุคนธ์ ทั้งทรงเห็นเครื่องบูชาต่าง ๆ มีเสาประทีปเป็นต้น ทรงดำริว่า นี่เขามีงานอะไรกัน จึงตรัสถามมหาชน พอทรงสดับว่าสิรสากุมารกับพระมารดาเสด็จมาประทับในเมืองนี้ ก็รู้สึกยินดีพระทัยอย่างยิ่ง รีบเสด็จเข้าในนิเวศน์ขึ้นยังปราสาท ถวายบังคมพระมารดาและทรงอุ้มพระสิรสากุมารแล้วทรงพระกรรแสง พระมารดาตรัสว่า พ่อ แม่คิดว่าจะไม่ได้เห็นหน้าเจ้าอีก แต่ท่านอัยยกะกับชาวนครได้พร้อมกันทำบุญอุทิศผลให้ จึงได้รอดชีวิตคืนมา ไฉนพ่อจึงมาเมืองนี้ พระกุมารก็กราบทูลเรื่องที่รับ ๆ สั่งของพระราชบิดาถวายให้ทรงทราบ ส่วนอัยยกะพราหมณ์ก็กราบทูลกิจการที่ตนกระทำเริ่มแต่สั่งให้ทำถาดทองเป็นต้นไป แล้วทูลกามเทพกุมารว่าขอฝ่าพระบาทจงเสด็จกลับไปกราบทูลพระราชบิดาว่าจะได้อภิเษกพระสิรสากุมารในวันที่ ๗ เริ่มต้นวันนี้ ถ้ามีพระราชประสงค์จะชมบุญบารมีของพระมเหสีและพระราชโอรส ก็ขอเชิญเสด็จ ถ้าไม่อย่างนั้นก็ขออย่าเสด็จ

กามเทพราชกุมารรับคำสั่งของอัยยกะพราหมณ์ แล้วก็เสด็จกลับไปกราบทูลเรื่องราวตามที่ไปทรงรู้เห็นถวายแด่พระราชบิดา พระราชบิดาปลื้มพระราชหฤทัยมาก ตรัสสั่งให้เตรียมจตุรงคเสนาโดยเร็ว แม้พระราชกุมารทั้ง ๖ ต่างก็ดีพระทัยยิ่ง พอถึงวันที่ ๗ พระราชาพร้อมด้วยพระราชโอรสทั้ง ๖ พระองค์ต่างก็ขึ้นทรงช้างพระที่นั่งองค์ละเชือก ​ห้อมล้อมด้วยจตุรงคเสนาเสด็จออกจากพระพาราแต่เพลาเช้า เสด็จถึงนครของอัยยกะพราหมณ์โดยลำดับ เข้าไปประทับในนครพักพลโยธาไว้แล้ว ส่วนพระองค์ทรงถือเครื่องสักการะของหอมเป็นต้น เสด็จขึ้นปราสาทบูชาสิรสากุมาร แล้วทรงอุ้มพระกุมารลงประทับในถาดทอง ทรงสรงพระกุมารด้วยทิพยสุคนธวารี และตรัสอวยชัยว่า ขอพ่อจงปราศจากโรค จงเป็นสุขพ้นทุกข์ทั้งปวงเถิด ครั้งนั้น อำมาตย์ราชเสนาพฤฒาจารย์ทั้งหลายได้พร้อมกันโสรจสรงพระกุมารและอวยชัยมงคลถวาย

ฝ่ายพราหมณ์ที่ชั่วช้า ๗๐๐ คน มีมัชชหายกะเป็นต้นก็ถือพระเต้าน้ำเข้าไปปรารภจะสรงพระกุมาร ของต่าง ๆ มีสังข์และคณโฑน้ำเป็นต้นได้แตกกระเด็นไปถูกพราหมณ์เหล่านั้น ๆ ไม่อาจสรงพระกุมารได้

ครั้งนั้นอัยยกะพราหมณ์สั่งพวกอำมาตย์ของตนว่า ท่านทั้งหลายจงจับตีฆ่าพราหมณีที่ชั่วช้าเหล่านี้ จงขับไล่ออกจากเมืองเรา พราหมณ์เหล่านั้นต่างก็มีความกลัวพากันแตกหนีไป ในขณะนั้น เทพเจ้าเหล่าดาวดึงส์ยามาจาตุมมหาราชได้พร้อมกันโสรจสรงพระกุมารแล้วอวยชัยมงคล มนุษย์ทั้งหลายได้ยินเสียงเทพเจ้าเหล่านั้นทั่วถึงกัน อัศจรรย์ทั้งปวงมีขนชูชันเป็นต้นก็เกิดขึ้น คนทั้งหลายพากันยกมือถวายบังคมอยู่สลอน

จำเดิมแต่วันประสูติมา สิรสากุมารมิได้ตรัสกับใครเลย พึ่งตรัสกะพระชนกชนนีในวันนี้ เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่อัยยกะพราหมณ์ได้ตรัสคาถาดังต่อไปนี้ว่า

สุโณหิ จวนํ มมอยฺยกาหํ พุทฺธงฺกุโร
น โย โส สตฺโต ปาโปปุพฺพกมฺเมนีธ ชาโต
สมุทฺเท ปวุยฺหโตตานิปุพฺเพโสหํ รชฺชํ การยึ
ปุปฺผารามํ กริตฺวานนานา ปุปฺผานิ คเหตฺวา
สตฺตสเต นาเว ปกฺขิปึสห ปทีเปน วุยฺห
อิมินา รตนตฺตยํพุทฺธํ เสฏฺํ ธมฺมํ ปูเชมิ
สสงฺฆฺจ ทิเว ทิเวเทวานาคสุปณฺณานํ
เทวสุราทา นรานํนิรยเปตานฺจ เทมิ
อถานํ ปุฺํ กตฺวานอธิฏฺานํ กโรมิ
อิมินาหํ ราชปุตฺโตอิธ รชฺชํ กาเรมิ จ

​แปลว่า ท่านอัยยกะ ขอท่านจงฟังถ้อยคำของเรา เราเป็นหน่อเป็นพระพุทธเจ้า ไม่ใช่คนต่ำช้า เราได้เกิดในที่นี้และได้ถูกปล่อยในมหาสมุทรด้วยบุพพกรรมของเรา เมื่อชาติก่อนเราได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน สร้างสวนดอกไม้ไว้ เก็บดอกไม้ไส่ในเรือ ๐๐ ลำ ทั้งตามประทีปลอยน้บูชาพระรัตนตรัยทุกวัน แล้วให้ส่วนบุญแก่เทพดา นาค ครุฑ สัตว์นรกทั้งหลาย คราวนั้นเราได้อธิษฐานว่า ด้วยบุญนี้ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระราชโอรส เสวยราชย์อยู่ในที่นี้

เมื่อพระโพธิสัตว์จะทรงยกอุทาหรณ์มาอีกจึงตรัสว่า ครั้งนั้นมีนกตัวหนึ่งบินเข้ามาในสวน จิกดอกไม้ต่าง ๆ เราจับนกตัวนั้นได้ แล้วเอาใส่แพท่อนกล้วยลอยน้ำ ด้วยกรรมอันนั้นมัชชหายกะพราหมณ์จึงเอาเราใส่ลอยในมหาสมุทร ท่านทั้งหลายอย่าดูหมิ่นว่ากรรมที่ทำไว้มีประมาณน้อยหรือมาก

ฝ่ายมหาชนมีพระราชาเป็นต้น สดับธรรมเทศนาแล้วมีความโสมนัส ได้ซร้องสาธุการตลอดถึงเทพยดานาคครุฑ เมื่อพระโพธิสัตว์จะแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้น จึงตรัสคาถาต่อไปว่า

น ภเช ปาปเก ธมฺเมน ภเช ปุริสาธมฺเม
ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณภเชถ ปุริสุตฺตเม
โย จ ปาปก เสวโนยถา อตฺตานํ อุยฺหติ
เนว วิรุฬฺหึ คจฺฉติวินสฺสํ ปาปุณิสฺสติ
โย สปฺปุริส ภเชติโส จ วิรุฬฺหึ วุฑฺฒิตฺวา
ตสฺส ปฺาภิวฑฺฒติปุฺสมฺปตฺตึ ลภติ
กตฺุตา สปฺบุริโสอตฺตโน หิตํ กโรติ
ปรสฺส จ อตฺถํ ชเนติสคฺคํ โส อุปปชฺชติ
อกตฺุตา จ พาโลอตฺตโน อหิตกฺกโร
ปรสฺส อนตฺถํ ชเนตินิรยํ โส อุปปชฺชติ
ทุจินฺติตจินฺตี พาโลทุพฺภาสิตภาสี เจว
ทุกฺกฏฺจ กมฺมการีนิรยมคฺคํ คณฺเหยฺย
สุจินฺติตจินฺตี ธีโรสุภาสิตภาสี เจว
นิรยมคฺคํ ปริวชฺเช 
ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถโย อตฺโถ สมฺปรายิโก
อตฺถาภิสมยา ธีโรคุณาคุณํ ชานนโก
เย เทฺว อตฺเถ ปฏิลภนฺติอตฺตานฺจ ปเรสฺจ
ตทตฺถํ ปฏิลาภายปฏิปชฺชนฺติ ปณฺฑิตา
เย เทฺว อตฺเถ ฉินฺทนฺติ จเทฺว อนตฺเถ อาทิยนฺติ
สยํ นิรยํ คจฺเฉยฺยอฺเ อนุคามึ กโรนฺติ

แปลว่า บุคคลไม่ควรเสพธรรมต่ำช้า ไม่ควรคบหาคนอาธรรม์ ควรคแต่คนดี ควรตบแต่คนมีภูมิธรรมสูง ผู้ใดคบคนเลย่อมทำตนให้เดือดร้อน ย่อมไม่ถึงความเจริญ มีแต่จักถึงขึ่งความฉิบหาย ผู้ดคบสัปปุรุษ ผู้นั้นย่อมถึงความเจริญ เจริญด้วยปัญญาและด้วยบุญ สัปปุรุษผู้มีกตัญญู ย่อมทำประโยชน์แก่คนอื่น ตายแล้วย่อมเกิดในสวรรค์ ส่วนคนพาลที่อกตัญญู ย่อมไม่ทำประโยชน์ตนและประโยชน์คนอื่น ตายแล้วย่อมเกิดในนรก คนพาลคิดแต่ทางชั่ว พูดแต่ทางชั่ว ทำแต่สิ่งที่ชั่ว ถือเอาแต่ทางนรก นักปราชญ์คิดแต่ทางดี พูดแต่ทางดี ทำแต่สิ่งที่ดี ย่อมงดเว้นางนรกได้ นักปราชญ์ผู้รู้จักคุณและโทษ ผ่อมได้ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต นักปราชญ์ย่อมปฏิบัติเพื่อให้ได้ประโยชน์ตนและผู้อื่น คนพาลย่อมตัดประโยชน์ทั้งสองถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ต้องไปสู่นรกทั้งตนเองและคนอื่นที่ทำตามถ้อยคำของตนด้วย

เมื่อจะถวายโอวาหแด่พระราชา ได้ตรัสคาถานี้ว่า

ยํ ยฺหิ ราช ภชติสนฺตํ วา ยทิวา อสํ
สีลวนฺตํํ วิสีลํ วาวสํ ตสฺเสว คจฺฉติ
ยาทิสํ กุรุเต มิตฺตํยาทิสฺจูปเสวติ
สเว ตาทิสโก โหติสหวาโส หิ ตาหิโส
เสวมาโน เสวมานํสมฺผุฏฺโ สมฺผุฏฺํ นรํ
สโร ทุฏฺโ กลาปํวอลิตฺตมูปลิมฺปติ
อุปเลปภยา ธีโรเนว ปาปสขา สิยา
ปูติมจฺฉํ กุสคฺเคนอุปนยฺหติ โย นโร
กุสานิ ปูติ วายนฺติเอวํ พาลุปเสวนา
อติวิย วายนฺติ จอกุสลทุคฺคนฺเธน
ตครฺจ ปลาเสนโย นโร อุปนยฺหติ
ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติเอวํ ธีรุปเสวนา
ตสฺมา ปตฺตปูตสฺสเสวฺจฺตวา สมฺปากมตฺตโน
อสนฺเย นุปเสเวยฺยสนฺเต เสเวยฺย ปณฺฑิโต
อสนฺโต นิรยํ เนติสนฺโต สคฺคปรายโน
ตสฺมา ปาปมิตฺตํ ปหายกลฺยาณมิตฺเต เสเวยฺย

แปลว่า ข้าแต่พระราชา บุคคลคบคนด จะเป็นคนดีหรือคนเวก็ตาม ย่อมตกอยู่ในอำนาจของคนนั้น บุคคลทำคนชนิดดให้เป็นมิตร คบมิตรชนิดใดย่อมเป็นเช่นคนนั้นเพราะการอยู่ร่วมกันเป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น อาจารย์ที่เลวคบศิษย์ที่ดี ศิษย์ที่ดีคบอาจารย์ที่เลวย่อมเป็นเหมือนลูกศรที่ซึมาบยาพิษ ย่อมติดแหล่งฉะนั้น นักปราชญ์กลัวการแปดเปื้อน อย่าคบเพื่อนที่เลว คนห่อปลาเน่าด้วยใบไม้ บไม้ย่อมมีกลิ่นเหม็นฉันด การบคนพาลก็ย่อมมีกลิ่นเหม็นด้วยกลิ่นคืออกุศลฉันนั้น คนห่อกฤษณาด้วยใบไม้ ใบไม้ย่อมมีกลิ่นหอมฉันใด การคบปราชญ์ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อรู้จักความแปรของใบไม้ที่ห่อปลาเน่า กับความแปรของตนแล้ว นักปราชญ์อย่าคบคนไม่ดี ควรคบแต่คนดี คนไม่ดีย่อมไปสู่นรก คนดีย่อมไปสู่สวรรค์ เพราะฉะนั้นจงละมิตรเลว คบแต่มิตรดี

ครั้นพระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมอย่างนี้แล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับตรงไปหาพระมารดา ถวายบังคมแล้วเสวยพระถัญญรส ครั้งนั้นอำมาตย์ราชเสวกและประชาชนทั้งหลายพร้อมกันซร้องสรรเสริญ ฝ่ายเทพเจ้ามีสมเด็จอมรินทรเป็นต้นก็ให้สาธุการ และโปรยทิพย์บุปผามาลาและกระทำสักการบูชาเป็นน่าอัศจรรย์ยิ่ง ยังมีเทพธิดาสององค์ เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดุสิตทั้งวิมาน มาหยุดอยู่บนอากาศ ออกจากช่องแกลวิมาน แสตงตนให้ปรากฏครึ่งหนึ่ง ประณมมือขึ้นรองเชิญพระกุมารว่า ข้าแต่พระกุมารผู้ประเสริฐ ขอท่านจงละกายมนุษย์ถือเอากายทิพย์ จงละโลกมนุษย์ไปสู่โลกสวรรค์ จงละทุกข์ของมนุษยเสวยสุขทิพย์ จงละเรือนหญ้า เสด็จอยู่ในวิมานทิพย์เถิด

​พระกุมารทรงสดับแล้วทูลลาพระมารดา ยกพระหัตถ์ขึ้นประณม แล้วตรัสพระคาถาว่า

อิทํ อมฺม ทิพฺพพยมฺหํสตฺตรตเนหิ รุจิรํ
นานาตุริเยหิ สงฺฆุฏฺํตุสิตโตว อาคตํ
มมํ อาเนตุ ติฏฺนฺติอหํ มาตรํ อาปุจฺฉึ
จุโตทานิ สคฺคํ อุคโค 

ทิพย์วิมานนี้ รุ่งเรืองด้วยรัตนะเจ็ด กึกก้องด้วยเสียงดนตรีต่างอย่าง มาจากชั้นดุสิตเทวโลก เพื่อจะมารับหม่อมฉัน หม่อมฉันขอทูลลาพระมารดาจุติไปเกิดในสวรรค์ในกาลนี้

พระมารดาทรงสดับแล้วมีพระหฤทัยไหวหวาด เมื่อจะตรัสถามพระกุมาร จึงตรัสว่า ดูก่อนพระลูกรักดังหฤทัยนัยน์เนตร เมื่อพ่อจะไปสู่สวรรค์จะพาแม่ไปด้วยหรือ

พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ยังมีวิมานหลังหนึ่งสำเร็จด้วยทอง ประดับด้วยรัตนะเจ็ด กึกก้องด้วยทิพย์สังคีตร่าเริงด้วยเหล่าสาวสวรรค์ตั้งพัน เป็นที่อยู่ของพระแม่เจ้า เป็นเครื่องหมายอันเกิดด้วยบุญ พระมารดาตรัสว่า พ่อ ขอพ่อจงพาแม่ไปสู่เมืองสวรรค์ด้วย พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าจะไปบัดนี้ยังไปไม่ได้ คนที่จะเดินทางไกลหนทางตั้งพันโยชน์ จะไปให้ถึงวันเดียวย่อมไม่ได้ฉันใด พระแม่เจ้าจะเสด็จสู่เมืองสวรรค์ในวันนี้ย่อมไม่ได้ฉันนั้น ขอพระแม่เจ้าจงให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาอยู่จนตลอดพระชนม์ก่อนจึงจะเสด็จไปได้

มหาชนมีพระราชา อัครมเหสี สนม อำมาตย์ ราชบปุโรหิต เป็นต้น พร้อมกันหมอบลงถวายบังคมสิรสากุมาร ครั้งนั้นสิรสากุมารเชิญให้พระบิดามารดา อัยยกะพราหมณ์นั่งเป็นลำดับกันแล้วถวายบังคม แล้วหายวับไปต่อหน้าคนทั้งหลายนั้น ไปเกิดในวิมานที่มาจากดุสิต เสด็จไปสู่ดุสิตบุรีพร้อมด้วยเทพธิดาทั้งหลาย

คนทั้งหมดมีพระมารดาเป็นต้น ครั้นไม่เห็นพระกุมารต่างก็ร่ำร้องรำพันกลิ้งเกลือกคล้ายกับมือเท้าทั้งสองขาดกระเด็นไป พระมารดาทรงพร่ำตรัสเป็นคาถาว่า

ตาต ปิยปุตฺตกตฺวํ กสฺมา มมํ โอหายสิ
เทวโลกํ เอกคจฺฉทูรํ เทวาโลกํ คโต
อหเมว กถํ นุคโตกถํ มยํ ปสฺสิสฺสามิ
จิรํ ปิยวิโยคาหํกถํ ตุวํ อนุคจฺฉามิ
หทยํ มม ฉินฺทติตมฺเมว ทุกฺขตรํ สิยา

แปลว่า พ่อผู้เป็นบุตรน้อยอันสุดที่รักองมารดา เหตุไร พ่อจึงละมารดาไว้ไปสู่สวรรค์แต่คนเดียว ไฉนมารดาจึงจะตามไปเห็นหน้าเจ้าได้ มารดาต้องพรากจากพ่อผู้เป็นที่รักตลอดกาลนาน ไฉนมารดาจึงจะตามพ่อไปได้ มีผู้เด็ดดวงใจของมารดาไป กยังไม่เป็นทุกข์สู้พลัดพ่อได้

พระนางเจ้าทรงพระพิลาปด้วยประการต่าง ๆ ไม่ช้าก็สงบลง ทรงพระสติไว้ไม่ได้ คนทั้งปวงพากันสลดใจยิ่ง ส่วนพระราชบิดาเล่าก็ไม่สามารถดำรงพระองค์อยู่ได้ ได้ล้มสลบไปในที่นั้นเอง ปวงชนมีอัยยกะพราหมณ์เป็นต้น ล้วนเต็มไปด้วยความโศกถึงซึ่งอันสิ้นสติ สลบลงเป็นระนาว

หมู่เทพเจ้าซึ่งแลเห็นคนทั้งหลายพากันสลบ ก็รู้สึกเอ็นดู จึงชวนกันขึ้นไปเฝ้าพระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่มหาวีระ บัดนี้พระมารดาของพระองค์ไม่เห็นพระองค์เสด็จกลับได้ถึงวิสัญญีเสียแล้ว ถ้าพระองค์ไม่เสด็จแน่ พระหฤทัยของพระมารดาจักต้องแตกทำลาย จักถึงซึ่งชีพตักษัยโดยไม่ได้พระสติ คนทั้งหลายที่สลบตายเพราะคิดถึงพระองค์ก็จักต้องตกนรก ด้วยตายโดยไม่มีสติ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเพื่อความสวัสดีแก่พระชนกชนนีและมหาชนเถิด

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงสดับถ้อยคำแห่งเทพดาเหล่านั้นแล้วมีพระหฤทัยกรุณาพระมารดาจึงเสด็จเข้าไปสู่วิมาน ประทับ ณ ที่บรรทมแล้วทรงตั้งพระหฤทัยนึกว่า ขอให้ข้าพเจ้าเป็นเหมือนกับเด็กอ่อนไปนั่งอยู่บนพระเพลาของพระมารดาเถิด ด้วยผลแห่งการตั้งพระหทัยนึกนั้น บันดาลให้พระองค์เสด็จไปปรากฏบนพระเพลาของพระมารดา ทอดพระเนตรเห็นพระมารดากำลังสลบ จึงลูบพระทรวงของพระมารดาด้วยฝ่าพระหัตถ์ ตรัสเรียกพระมารดาว่าข้าแต่พระมารดา ลูกมาแล้ว ขอเชิญลุกขึ้นเถิด หม่อมฉันเป็นสิรสากุมาร ลูกรักของพระมารดา ได้กลับมาเช็ดน้ำพระเนตรของพระมารดาแล้วพระเจ้าข้า

พระนางเจ้าฟื้นขึ้น ทรงโอบอุ้มจุมพิตพระโอรสทันที มีพระหฤทัยยินดีอย่างยิ่งใหญ่ คนทั้งหลายมีพระบิดาเป็นต้นก็ได้สติทุกคน พอแลเห็นพระโพธิสัตว์ต่างก็พากันนั่งดีใจ ​คราวนั้น เทพอัปสรสาวสวรรค์แสนหนึ่ง ซึ่งเป็นบริวารของพระโพธิสัตว์ ได้พากันนำเอาวิมานลงมาจากเทวโลก หยุดอยู่ ณ อากาศ มีรถล้อมอยู่แสนหนึ่ง รัศมีแห่งเทพบุตรและเทพธิดารัตนวิมานทิพย์ได้สว่างไปตลอดที่มีประมาณแสนโยชน์ เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระยาราชสีห์และพระยาฉัททันต์แวดล้อมด้วยนางราชสีห์และนางฉัททันต์ คือดอกบัวหลวงและบัวขาบ มีกลีบล้อมชั้นนอก ย่อมดูงามในที่ทั้งปวงฉันใด วิมานแก้วของพระโพธิสัตว์อันมีรถแวดล้อมตั้งพันก็ย่อมดูงามฉันนั้น

คราวนั้น เทพธิดาสององค์ชื่อว่า นันทสิริและสิตตา ได้พากันยืนอยู่ข้างบัลลังก์ของพระโพธิสัตว์ข้างละองค์ เทพธิดาสององค์นี้เป็นใหญ่กว่าเทพธิดาแสนหนึ่ง เธอทั้งสองได้พากันไปอุ้มพระโพธิสัตว์ขึ้นประทับ ณ บัลลังก์ที่ตั้งอยู่ในรัตนวิมาน แล้วพากันล้อมอยู่

ก็พระโพธิสัตว์ ได้เสด็จมาจากเทวโลก ประทับบนพระเพลาของพระมารดาด้วยรูปทารก เทพธิดาจึงแลเห็นเป็นเทพบุตรหนุ่ม มีพระฉวีเหมือนกับทองหรือเหมือนแสงพระอาทิตย์แรกขึ้นมา ดูสง่าด้วยนางอัปสรแสนหนึ่ง ดวงรัตนะทั้ง ๕๐๐ ย่อมรุ่งเรืองงามบนยอดเขาฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ดูงามในท่ามกลางหมู่อัปสรฉันนั้น เกษรในดอกไม้ทองย่อมแลอร่ามฉันใด พระโพธิสัตว์ก็ย่อมดูงามเลิศในท่ามกลางนางเทพอัปสร ฉะนั้น

คนทั้งหลาย มีพระราชาและอำมาตย์อัยยกะพราหมณาจารย์ เป็นต้น พร้อมกันถวายเครื่องสักการะและซร้องสรรเสริญพระโพธิสัตว์เป็นโกลาหล

ในหมู่เทพธิดาทั้งหลายนั้น เทพธิดาที่อยู่ข้างขวาประดับด้วยเครื่องประดับสีเหลืองซึ่งล้วนแล้วด้วยทอง ฝ่ายเทพธิดาที่อยู่ข้างซ้ายประดับด้วยเครื่องขาว อันสำเร็จด้วยเงินอัยยกะพราหมณ์จึงทูลถามพระโพธิสัตว์ว่า เทพธิดาเหล่านี้มีเครื่องประดับไม่เหมือนกันเมื่อเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำกรรมอะไรไว้ ตรัสตอบว่า พวกที่มีเครื่องประดับเหลือง เป็นเพราะได้บูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้สีเหลือง พวกที่มีเครื่องประดับขาว เป็นเพราะได้บูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้สีขาว และมีรูปร่างผิวพรรณอันงาม เป็นเพราะได้รักษาศีลไว้ในชาติก่อน

ในเวลาจบการแสดงบุพพกรรมของเทพธิดาเหล่านั้น เทพดา มนุษย์ทั้งหลาย พร้อมกันสักการบูชาและประโคมดนตรีถวาย พระราชาพร้อมทั้งอำมาตย์ราชเสวกและชาวพระนครได้พากันประณมมือสลอนยืนไหว้พระโพธิสัตว์

​ครั้งนั้น พระราชาและพระมารดาพอทอดพระเนตรแลเห็นวิมานของพระโพธิสัตว์ลอยขึ้นไปสู่อากาศ ได้พร้อมกันประณมพระหัตถ์ขึ้นตรัสว่า ดูก่อนโอรส ไฉนพ่อจึงทำให้บิดามารดาอนาทร ไฉนพ่อจึงละทิ้งบิดามารดาไปแต่ผู้เดียว ขอพ่อจงด่วนกลับมา

พระโพธิสัตว์ทรงสดับพระสุรเสียงสั่งเช่นนี้ จึงทรงดำริว่า เมื่อเราเกิดในมนุษยโลกยังไม่ได้ให้ทานบำเพ็ญเนกขัมมบารมี เราจักต้องบำเพ็ญบารมี พอทรงพระดำริอย่างนี้แล้วก็จุติในทันใด แล้วลงมาเกิดเป็นอุปปาติกกำเนิด มีร่างกายเท่ากับบุรุษอายุ ๒๐ ปี เทพธิดาอันเป็นเทวีซ้ายขวาก็จุติลงเกิดโดยทำนองเดียวกัน

ครั้งนั้นมีจักรแก้วผุดขึ้นมาจากมหาสมุทร รองรับพระโพธิสัตว์ ฉลองพระบาทแก้วมณีโชติทั้งคู่ก็ลอยจากเขาวิบุลบรรพต สวมพระบาทของพระโพธิสัตว์ และมีช้างแก้วมาจากตระกูลช้างฉัททันต์ ม้าแก้วมาจากตระกูลม้าพลาหก เข้าอยู่ในโรงช้างโรงม้า ส่วนนางแก้วก็คือเทพธิดาทั้งสององค์ซึ่งเกิดเป็นอุปปาติกบุคคลนั้น มีขุนคลังแก้วคนหนึ่ง ซึ่งมีตาทิพย์แลลงไปในพื้นดินได้โยชน์หนึ่ง อาจรู้ได้ว่าขุมทรัพย์นี้เป็นของมีเจ้าของหรือไม่ มีขุนพลแก้วคนหนึ่งซึ่งมีหูทิพย์ ได้ยินเสียงที่ไกลได้ถึงร้อยโยชน์ ใครจะติเตียนหรือสรรเสริญพระราชาอย่างไรได้ยินหมด ใครจะคิดร้ายต่อพระราชาอย่างไรก็รู้ได้

พระโพธิสัตว์ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามพระเจ้าสิรสา พระองค์ทรงเสวยสิริราชสมบัติโดยธรรมทรงแนะนำมหาชนโดยชอบ มิได้ลงพระราชอาญาฆ่าตี มหาชนตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ ได้พากันบำเพ็ญกุศลมีทานเป็นต้น เมื่อทำลายขันธ์ก็ขึ้นไปเกิดในเทวโลก

ฝ่ายพระชนกชนนีของพระองค์ก็เสด็จกลับยังพระนคร โปรดให้จับพวกพราหมณ์ที่ชั่วช้าทั้ง ๗๐๐ มีมัชชหายกพราหมณ์ เป็นต้นลงใส่ลงแพลอยน้ำ เหมือนอย่างเขาทำแก่พระโพธิสัตว์ พอแพลอยไปในไม่ช้าก็แตกด้วยอำนาจคลื่นลม พราหมณ์เหล่านั้นได้ตายไปเกิดในนรก

ท่านกล่าวคำอุปมาไว้ในที่นี้ว่า พระจันทร์ในวันเพ็ญย่อมดูงามกว่าดาวทั้งหลาย พระยาราชสีห์ย่อมมีสง่ากว่าสัตว์ ๔ เท้าทั้งหมด พระยาหงส์อันมีนามว่า ธตรถ ย่อมหมดจดสะอาดกว่าหงส์ทั้งมวล พระยาครุฑย่อมผ่าเผยกว่าหมู่นก มหาสมุทรย่อมใหญ่กว่าแม่น้ำทุกขอบเขต เขาสุเมรุย่อมวิเศษกว่าเขาสัตตบริภัณฑ์ทั้ง ๗ สมเด็จอมรินทรย่อม​ประเสริฐกว่าเทพดาทั้งหลาย มหาพรหมย่อมเป็นใหญ่กว่าพรหมทั้งปวง ข้ออุปมาเหล่านี้ฉันใด ข้ออุปมัยที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็ฉันนั้น คือรัตนวิมานของพระเจ้าสิรสาจักรพรรดิ ซึ่งประดิษฐานในอัยยกนครก็ประเสริฐกว่าปราสาททั้งหลาย ส่วนพระเจ้าสิรสาจักรพรรดิเล่ายิ่งสูงสุดกว่ากษัตริย์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระกายของพระองค์เป็นดังตวงจินดามณี เมื่อมีพระประสงค์จะให้เป็นกายทิพย์หรือกายมนุษย์ก็สำเร็จดังพระหฤทัยหมาย

จำเดิมแต่ได้เสวยจักรพรรดิราชแล้วโปรดให้สร้างโรงทาน ๑๐ แห่ง คือ โรงทานภาชนะทอง ๑ โรงทานภาชนะเงิน ๑ โรงทานภาชนะแก้วมณี ๑ โรงทานภาชนะทองแดง ๑ โรงทานภาชนะทองขาว ๑ โรงทานภาชนะดีบุก ๑ โรงทานผ้าเครื่องแต่งตัวต่าง ๆ ๑ โรงทานเครื่องไม้ ๑ โรงทานเครื่องยานพาหนะ ๑ โรงทานอาหาร ๑ เมื่อมีผู้ต้องการสิ่งใด ๆ ย่อมได้สิ่งนั้น ๆ สมประสงค์

พระโพธิสัตว์เจ้าทรงบำเพ็ญหานรักษาศีลเจริญภาวนาอยู่เป็นนิตย์ ครั้นทรงพระชราภาพก็พิจารณาเห็นโทษแห่งเพศคฤหัสถ์เห็นอานิสงส์แห่งบรรพชิต จึงทรงมอบราชสมบัติแก่พระโอรสแล้วเสด็จออกทรงผนวชเป็นฤษี ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีจนได้ฌานสมาบัติ เมื่อทำลายขันธ์ก็ได้อุบัติในพรหมโลก

พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาแสดงอย่างพรรณนามาจบลง แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตมิใช่จะคิดร้ายต่อเราแต่ในบัดนี้ก็หามิได้ แม้เมื่อก่อนก็ได้คิดร้ายแล้วเหมือนกัน ตรัสดังนี้แล้วทรงประกาศอริยสัจ ๔ แล้ว ประชุมชาดกว่า มัชชหายกะพราหมณ์คราวขึ้นคือพระเทวทัต บริษัทของมัชชหายกพราหมณ์เป็นบริษัทของพระเทวทัต อัยยกะเสนาบดีเป็นพระสารีบุตร พระราชกุมารที่เป็นชายทั้ง ๖ องค์แรก คือสุนักขัตตกุมาร มาเป็นพระอุบาลี องค์ที่ ๒ คือจันทกุมาร มาเป็นนันทะ องค์ที่ ๓ คือสุริยกุมาร มาเป็น ภัคคุเถระ องค์ที่ ๔ คือ สุธนกุมาร มาเป็นภัททิยเถระ องค์ที่ ๕ คือ สิงหเทพกุมาร มาเป็นกบิลเถระ องค์ที่ ๖ คือกามเทพกุมาร มาเป็นอานนทเถระ นางนันทสิริเทวีมาเป็นนางชนปทกัลยาณี สีดาเทวีมาเป็นพิมพายโสธรา พระชนกชนนีมาเป็นราชตระกูลใหญ่ บริษัทของพระเจ้าสิรสามาเป็นพุทธบริษัท พระเจ้าสิรสาคือตัวเราตถาคตในบัดนี้ ท่านทั้งหลายจงจำทรงชาดกไว้ด้วยประการฉะนี้

จบสิรสาชาดก

  1. ๑. คาถาเหล่านี้เพี้ยนจากที่มีในวุธรชาดกเป็นอันมาก
แชร์เลย

Comments

comments

Share: