- เพื่อสลัดตนออกจากทุกข์ทั้งปวง และเพื่อทำนิพพานให้แจ้ง (สพฺพทุกฺขนิสฺสรณนิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย)
- เพื่อฝึกฝนตนเองและหมู่คณะ คือ พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ คือ คุณความดีหรือคุณธรรม และความรู้ความสามารถ เหมาะแก่ตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบ กล่าวคือ
- เพื่อให้รับรู้ เรียนรู้ และรอบรู้ พระปริยัตติสัทธรรม พระปฏิบัติสัทธรรม เพื่อให้ได้รับผลเป็นพระปฏิเวธสัทธรรม หรืออย่างน้อยให้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติพระสัทธรรมตามสมควร
- เพื่อให้มีศีลาจารวัตรที่งดงาม เป็นแบบอย่าง (ทิฏฐานุคติ) ที่ดีแก่ผู้อื่น
- เพื่อให้เป็นที่ตั้งความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชน สามารถเป็นที่พึ่งทางใจแก่ประชาชนได้
- เพื่อให้ช่วยกันสืบบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ยืนยาว และมั่นคงยิ่งๆ ขึ้นไป
- เพื่อให้วัดเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลคุณความดี เพื่อประโยชน์และความสันติสุขของสาธุชนหมู่ใหญ่ กล่าวคือ
- เป็นสถานที่ให้การศึกษาอบรมศีลธรรม และภาวนาธรรม เพื่อให้ได้แสงสว่างแห่งธรรมเป็นประทีปส่องทางดำเนินชีวิตไปสู่ความเจริญและสันติสุข ด้วยความสงบกาย วาจา ใจ ด้วยสติสัมปชัญญะ และด้วยปัญญาอันเห็นชอบ
- เพื่อให้เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธี ได้แก่ กุศลพิธี ทานพิธี บุญพิธี เป็นต้น
- เพื่อให้เป็นอุทยานการศึกษา คือ ศูนย์กลางการศึกษาหาความรู้ทั้งคดีโลกและคดีธรรม ที่จะยังความสว่างคือปัญญา และประโยชน์แก่สาธุชนโดยทั่วไป
โดยการจัดการให้วัดเป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะแก่การบำเพ็ญคุณความดี (ดังกล่าว) และให้เป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใสของประชาชน คือ ให้มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ให้มีความสงบ สะอาด เรียบร้อย ร่มรื่น และจัดการ รักษา ใช้ ศาสนสมบัติต่างๆ ของวัด ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยดี กล่าวคือ ให้ใช้ประโยชน์ได้นาน อย่างคุ้มค่าที่ประชาชนเขาถวายให้ด้วยใจศรัทธาในพระรัตนตรัย มิให้เสียหาย หรือเกิดการรั่วไหล