ป่ามงคลธรรม อ.สีคิ้ว 15 ชั่วโมง ·
ถาม:
ทำอย่างไรเมื่อผู้ปฏิบัติธรรมได้องค์พระใหม่ๆ จะรักษาองค์ธรรมกาย ให้ชัดอยู่ได้นาน ๆ
ตอบ:
ธรรมกายนั้นอุบัติขึ้นเพราะความบริสุทธิ์กายวาจาและใจ จากธรรมปฏิบัติคือศีลสมาธิ และปัญญาวิมุตติวิมุตติญาณทัสสนะ จะรักษาธรรมกาย
จึงต้องรักษากาย วาจาและใจของตน ให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ โดย
(๑) เว้นจากกายทุจริตวจีทุจริตและมโนทุจริตประพฤติ แต่กายสุจริตวจีสุจริตและมโนสุจริตกล่าวคือ
ไม่เจตนาฆ่าสัตว์-ลักฉ้อ-ประพฤติผิดในกามไม่ติดอบายมุข เช่นนักเลงสุรานักเลงผู้หญิง นักเลงการพนัน และไม่หมกมุ่นอยู่ แต่กับพัสดุกาม
เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนมนุษย์และสัตว์ร่วมโลก รู้จักแบ่งปันทรัพย์และความสุขส่วนตนแก่ผู้อื่น
มีสันโดษในคู่ครองของตน และไม่เสพติดสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งปวงไม่มักพูดจาโป้ปดมดเท็จ หลอกลวงผู้อื่นพูดคําหยาบ-สาบถสาบานพูดยุแยกให้เขาแตกสามัคคีกันและไม่พูดจาเหลวไหลไร้สาระ จนเป็นอาจินต์
จงพูด แต่คำพูดที่จริงพูด แต่คำพูดที่สุภาพไพเราะอ่อนหวานพูด แต่คำพูดที่เป็นสิริมงคลแก่นสารมีสารประโยชน์เป็นปกติไม่เป็นคนมักโกรธพยาบาทปองร้ายผู้อื่น
เป็นผู้ไม่ลุแก่โทสะ ตัณหาราคะ ไม่โลภ
และเห็นแก่ตัวจัด ไม่หลงมัวเมาในเรื่องหรือสิ่งที่เป็นโทษ ที่มิใช่พระธรรมวินัยให้เป็นผู้ดำรงอยู่แต่ในพระธรรมพระวินัย
เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะและมีเมตตากรุณามุทิตาและอุเบกขาต่อกัน
(๒) หมั่นมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันจิต ที่มักใฝ่ชั่วด้วยอำนาจของกิเลสอวิชชาตัณหาอุปาทาน
และมิจฉาทิฏฐิ มีความสำรวมระวังตาหู จมูกลิ้นกายและใจ เมื่อกระทบเข้ากับรูปเสียงกลิ่นรสและสิ่งสัมผัสทางกาย มิให้หลงเคลิบเคลิ้มสยบอยู่ในอารมณ์ที่น่ารัก และมิให้หลงเคียดแค้นชิงชังในอารมณ์ที่ไม่น่ารักอันเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้กิเลสฟังและให้ตัณหาอุปาทานเข้าครอบงำได้
(๓) เพียรละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้วในสันดานโดยมีสติสัมปชัญญะรู้เท่าทันกิเลสตัณหาอุปาทานที่เกิดขึ้นในจิตใจอยู่เสมอ
และเพียรระวังป้องกันมิให้กิเลสเกิดขึ้นใหม่อีก
เพียรยังกุศลให้เกิดขึ้นในสันดานและรักษากุศลที่ เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อมด้วยธรรมปฏิบัติมีทานกุศลศีลกุศลและภาวนากุศลให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งยามว่างจากธุรกิจหน้าที่การงานก็ให้หมั่นเจริญภาวนาท่านิโรธดับสมุทัย (ปหานอกุศลจิต)พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียดเพื่อชำระและรักษาธาตุธรรม เห็นจำคิดรู้ให้ใสสะอาดอยู่เสมอ
อย่างน้อยที่สุดก็ให้หมั่นจรดใจสักเสี้ยวหนึ่งของใจไว้ ณ ศูนย์กลางธรรมกาย หรือพระนิพพานหรือต้นธาตุ ต้นธรรมที่สุดละเอียด ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้อยู่เสมอ
(๔) ควรหมั่นพบครูอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในวิชชาธรรมกายเพื่อฝึกวิชชาชั้นสูงต่อ ๆ ไป ก็จะช่วยให้ธรรมเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไปไม่รู้เสื่อมถอย
หลวงป๋า