กิจของมหาโพธิสัตว์ทั้งสามนี้ เป็นส่วนที่จะทําให้การสังคายนาครั้งที่ ๕ เต็มบริบูรณ์ อันจะมีผลให้พระพุทธศาสนาดํารงอยู่ได้ครบ ๕,๐๐๐ ปี

ในนาทีที่ กาย วาจา ใจ หมครองด้วยผ้ากาสาวพัสตร์ ในนาทีที่ กาย วาจา ใจ สํารวมอยู่ในศีล ๒๒๗ ข้อ

ในนาทีที่ กาย วาจา ใจ กําหนดเป็นหนึ่ง เพื่อเข้าให้ถึง พุทธิปัญญานาทีนั้น คือการก้าวเดินไปบนเส้นทางแห่งมรรค ผล นิพพาน

กาลเวลาได้ล่วงไป ๓๓ ปี (ขณะเมื่อท่านมีอายุได้ ๘๔ ปี) นับตั้งแต่ ท่านอาจารย์เสริมชัย ได้อธิษฐานจิตเข้าสู่พุทธภูมิ (เมื่อ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๖) มาถึงปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๙ ปัจจุบันท่านดํารงสมณศักดิ์เป็นที่ พระราชญาณวิสิฐ ครั้นท่านได้พบกับอาจารย์อนุสรณ์ ภูริภิวัฒนกุล (อุบาสก) ที่ท่านได้เชิญมาสอนบาลีไวยากรณ์ใหญ่แก่พระภิกษุสามเณร วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม อาจารย์อนุสรณ์ ได้ปรารภ ถึงความปรารถนาที่จะทําพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎกให้สมบูรณ์ โดยจะให้ รศ.ดร.ธีระ เกรอต ข้าราชการบํานาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ได้เรียนภาษา มคธมาดีพอสมควร ช่วยจัดพิมพ์ต้นฉบับให้ และท่านอาจารย์ อนุสรณ์ จะขอให้พระเดชพระคุณ พระราชญาณวิสิฐ เป็นองค์อุปถัมภ์ แต่งานนี้เป็นงานใหญ่ ต้องใช้เงินทุนในการ จัดพิมพ์ต้นฉบับและจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มถาวร จํานวนมากถึง หมื่นๆ เล่ม และต้องใช้ระยะเวลาในการทําและจัดพิมพ์นาน ถึงประมาณ ๒๐ ปี จึงจะแล้วเสร็จ

พระเดชพระคุณพระราชญาณวิสิฐ พิจารณาเห็นว่า จะได้มีโอกาสบําเพ็ญบุญบารมีสําคัญในการช่วยสืบ บวรพระพุทธศาสนาให้เจริญและมั่นคงไปได้นาน ครบ ๕,๐๐๐ ปี และเห็นว่าจะมีโอกาสให้พระภิกษุ สามเณร และ ญาติโยมสาธุชนผู้มาศึกษาสัมมาปฏิบัติพระสัทธรรมของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และผู้ได้มาอุปถัมภ์บํารุง พระภิกษุ สามเณร และผู้ปฏิบัติธรรม ณ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จะมีโอกาสได้บําเพ็ญบุญกุศลเพื่อเพิ่มพูน บุญบารมีในภพชาตินี้ได้มาก จึงยินดีรับอุปถัมภ์โดยตลอด และได้เริ่มเตรียมสถานที่จัดทํา ณ สํานักปฏิบัติธรรม บนพื้น ที่ดินของ รศ.ดร.ธีระ เกรอต ที่อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๙ และได้เริ่มดําเนินโครงการ กระทําสังคายนาพระไตรปิฎกนี้มา ตั้งแต่ต้นปี (เดือนมกราคม) พ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นต้นมา

เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ท่านได้รับการ เลือกตั้งจากคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ ให้เป็น ประธาน คณะกรรมการบริหาร “สหภูมิชาวบุรีรัมย์” และต่อมาเมื่อ วันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ท่านได้รับอนุมัติให้ปริญญา พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการ เชิงพุทธ จากสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ยังความปีติยินดีจากศิษยานุศิษย์และสาธุชนพุทธบริษัทเป็นอย่างยิ่ง

และในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ นี้เอง ที่ท่านอาจารย์ อนุสรณ์ ได้นําคําแปล (ปริวรรตภาษาพม่า มาเป็นภาษาบาลี ไทย) คําจารึกประวัติการทําสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๕ (พ.ศ. ๔๗๔) ที่ท่านพระมหามหินทเถระ และพระมหาคุตตเถระ ได้บันทึกไว้เป็นภาษาสิงหล เมื่อครั้งทําสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๕ (ประมาณร่วม ๒,๐๐๐ ปี มาแล้ว) นั้น ที่พระมหา เถระพม่าผู้ได้ไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ประเทศศรีลังกา ได้ ปริวรรตมาเป็นภาษาพม่า แล้วท่านอาจารย์พระมหาแสวง โชติปาโล วัดศรีประวัติ อําเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ผู้ได้ไปเรียนพระไตรปิฎกจนจบจากพม่า ได้นําคัมภีร์ภาษา พม่านั้นกลับมาประเทศไทยด้วย และได้ปริวรรต (แปล)

เป็นภาษาบาลี-ไทย ประมาณ ๑๐๐ กว่าหน้า ก็อาพาธ และ ท่านอาจารย์อนุสรณ์ ผู้ได้เข้าศึกษาพระไตรปิฎกในสํานัก พระอาจารย์มหาแสวง จนจบแล้ว จึงได้ปริวรรต (แปล) เป็น ภาษาบาลี-ไทย ต่อได้อีกประมาณ ๕๐ หน้า ก็เป็นเวลาที่ท่าน อาจารย์พระมหาแสวงมรณภาพ จึงจําต้องส่งหนังสือต้นฉบับ เล่มนี้คืนแก่สามเณรผู้อุปัฏฐากท่าน คัมภีร์เก่าแก่ทั้งหลาย ของวัดศรีประวัติ รวมทั้งคัมภีร์ประวัติสังคายนานี้ด้วย ก็กระจัดกระจายไปอยู่ตามศิษยานุศิษย์ต่างๆ จนยากแก่การ ติดตามถามหาไปหมดแล้ว ท่านอาจารย์อนุสรณ์ ได้สันนิษฐาน ว่า คัมภีร์ประวัติสังคายนาพระไตรปิฎกน่าจะมีอยู่ที่วัด ศาลาแดง (วัดมอญ) จังหวัดปทุมธานี ด้วยว่าวัดนี้เป็นที่ รวบรวมคัมภีร์และวัตถุโบราณของมอญเก่าแก่เอาไว้มาก

ในคัมภีร์ประวัติสังคายนาพระไตรปิฎก (สงคีติชินวสปกรณ์) นี้ ที่เมื่อพระมหามหินทเถระ ได้ทําสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ ๕ เสร็จแล้ว ได้จารึกไว้ มีเนื้อความตอนหนึ่งว่า

อถโข เถรา ภิกขู อตฺตโน ปตตาสเน นิสีทิตวา ยถา มหา กสุสปตุเถโร จ ยสตุเถโร จ ติสสตุเถโร จ ธมมวินย์ มหา มหินทตุเถโร จ สงคายมานา ปิฏกวเสน จ นิกายวเสน จ องควเสนจ ธมุมขนุธวเสนจ เปยุยานสงเขปวเสน จ สงขยา ขุททกาขุททกเปยุยานสงเขปวเสน จ คาถา สงเขปวเสน จ ธมมวินยญจ สงคาย

ในกาลครั้งนั้นแล พระภิกษุเถระทั้งหลาย เข้าไปนั่ง บนอาสนะของตนๆ แล้วก็ทําสังคายนาพระธรรม พระวินัย โดยการจําแนกออกเป็น ปิฏก นิกาย นวังคะ ธัมมขันธ์ ด้วย การย่อไว้ด้วย เปยยาล วรรค, ด้วยการย่อไว้ด้วยจํานวน สังขยา, และย่อไว้ด้วย เปยยาลเล็ก เปยยาลใหญ่ เหมือน พระมหากัสสปะเถระ พระยสเถระ พระติสสะ และ พระมหามหินทเถระ ได้สังคายนากันมาอย่างนี้

ตตุร สุท์ มหามหินทตุเถโร จ มหาคุคุตตเถโร จ ชยมงคโล จ มหาธีโรจ อนุสรโณ จาติ ตโย มหาโพธิสตุตา สมุโมทนติ, ตตฺถ วิตถาร์ กโรนุติ สาฏฐกถ์ สพุพพุทธวจน์ สตถุปรินิพพานโต ปญญาสาธิกานิ ปญจวสสสตานี เทวสหสุสาน

ได้ยินมาว่า ในการทําสังคายนา ที่ ๕ ท่านพระมหา มหินทเถระ และพระมหาคุตตเถระ ได้กล่าวไว้ว่า มหาโพธิสัตว์ ทั้ง ๓ ท่าน คือ พระชยมังคลเถระ และอุบาสก ๒ คือ ท่านมหาธีระ และท่านอนุสรณะ จะได้มารวมกัน แล้ว จักทําพุทธวจนะ ที่ย่อเอาไว้ให้พิสดาร พร้อมด้วย อรรถกถา หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จปรินิพพานไป แล้ว ๒๕๕๐ ปี**

———-

**กิจของมหาโพธิสัตว์ทั้งสามนี้ เป็นส่วนที่จะทําให้การสังคายนาครั้งที่ ๕ เต็มบริบูรณ์ อันจะมีผลให้พระพุทธศาสนาดํารงอยู่ได้ครบ ๕,๐๐๐ ปี

————

เอวเมว ภิกขุส์โฆ ธมมวินยญจ มุขปาฐโต โปฏฐเกส ลิกขาปยมาโน ปิฏกวเสน จ นิกายวเสน จ ธมมวินยสขาติ เตปิฏกพุทธวจน์ สาฏฐกถญจ โปฏฐเกส ลิกขาปยิตวา ปญจวสุสสหสุสาน สาสนสุส จรฏฐิติก กตวา ปญจม์ ธมุมสงคีติสทิสเมว อกาส

การทําสังคายนาครั้งที่ ๕ นี้ พระภิกษุสงฆ์ เมื่อจะจารึก จารพระธรรมวินัย ออกจากปากที่ทรงจําพระธรรมวินัย เอาลงในใบลาน ให้จารพระพุทธวจนะคือ พระไตรปิฎก และนิกาย แล้วให้จารพระพุทธวจนะที่เป็นฝ่ายอธิบายลง ในใบลาน เรียกว่า อรรถกถา ได้กระทําพระพุทธศาสนา ให้ดํารงอยู่ได้นานถึง ๕,๐๐๐ ปี การทําการจารึกพระธรรม วินัยลงในใบลานครั้งที่ ๕ นี้ เรียกว่า สังคายนาครั้งที่ ๕ เหมือนกับที่ได้ทํามาแล้วในกาลก่อนแล

แปลโดย อาจารย์อนุสรณ์ ภูริภิวัฒนกุล

ด้วยหลักฐานพยานที่พระมหามหินทเถระ ผู้เป็น พระอรหันต์ ผู้ทรงคุณวิเศษแตกฉานในจตุปฏิสัมภิทา อภิญญา ๖ และวิชชาต่างๆ มีเตวิชชาเป็นต้น ได้จารึกไว้มา เป็นเวลาร่วม ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว และเพิ่งปรากฏแก่ท่าน เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๕๐ นี้ (ขณะที่ท่านจะมีอายุครบ ๗๔ ปีเต็ม ในวันที่ 5 มีนาคม นี้) ย่อมเป็นเครื่องยืนยันการบําเพ็ญบารมี เข้าสู่พุทธภูมิของท่าน พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงคโล) อย่างมั่นคงว่า ท่านได้ดําเนินชีวิตมาถูกทางแล้ว ยังความปลื้มปิติปราโมทย์ทั้งแก่ตัวท่านเอง ทั้งแก่ ศิษยานุศิษย์และญาติมิตรผู้ทราบความนี้โดยทั่วหน้ากัน

คัดลอกมาจาก หนังสือพระบูชาและอานุภาพธรรมกาย

แชร์เลย

Comments

comments

Share: