บันทึกเรื่องแก้วจักรพรรดิ์กายสิทธิ์ จากเว็บพลังจิต

(จากหนังสือมรรค ผลพิสดาร เล่ม ๑ หน้า ๖๒
ของหลวงพ่อวัดปากน้ำกล่าวไว้อีกว่า…….)

ส่วนของกายสิทธิ์นั้นเหมือนเปลือกหุ้มอยู่ชั้นนอกของศูนย์สิ่ง
นั้น ๆ คือ ในศูนย์ของศูนย์ภพของศูนย์นิพพาน ในศูนย์ของ
ภพ ๓ ในศูนย์ของโลกันต์ ในศูนย์ของกายนั้นนี่ดูส่วนของ
กายสิทธิ์ แต่คงมีคู่กันไปทุกอย่าง ส่วนนอกเป็นของมนุษย์
ส่วนในซ้อนอยู่ข้างในเป็นของกายสิทธิ์ เช่นภพนอกเป็นภพ
ของมนุษย์ ภพที่ซ้อนอยู่ชั้นในเป็นภพของกายสิทธิ์
มีเปลือกส่วนหนึ่ง มีเนื้อส่วนหนึ่งหุ้มซ้อนกันอยู่มีคู่กันไปเช่นนี้
ทุกสิ่งทุกอย่างคู่กันตลอดไปจนสุดหยาบสุดละเอียดเหมือน
ของกายมนุษย์มีสิ่งไร ไปมากเท่าใดของกายสิทธิ์ซึ่งเรียกว่า
ผู้เลี้ยงมนุษย์ ก็มีไปเท่าจำนวนของมนุษย์คู่กันไปเท่านั้น
เหมือนกัน

เพราะกายสิทธิ์เลี้ยงรักษา, ที่กายสิทธิ์นั้นคือได้แก่ จักรแก้ว
๓ จำพวก

๑) จุลจักร มีฤทธิ์และมีอำนาจเดชาศักดานุภาพอย่างต่ำ
มีแก้วกายสิทธ์เป็นบริวารอเนกอนันตัง เป็นคนรับใช้
สอยของแก้วมหาจักรและบรมจักร ซึ่งมีอำนาจเหนือขึ้นไป
มีหน้าที่ดูแล เลี้ยง และรักษามนุษย์ให้สมบัติเกิด และให้ความ
สุขความเจริญแก่หมู่มนุษย์ ป้องกันสรรพสัตว์อันตรายต่าง ๆ
บันดาลให้อาหารเครื่องบริโภค และเครื่องอุปโภค เครื่องใช้
สอยต่าง ๆ ให้บังเกิดขึ้น เป็นความสุขแก่หมู่มนุษย์ และคอย
พิทักษ์ป้องกันรักษา และทรัพย์สมบัติของของหมู่มนุษย์ไม่
ให้เป็นอันตราย

๒) มหาจักร มีฤทธิ์อำนาจมีเดชานุภาพมากกว่า สูงกว่าจุล
จักร มีแก้วกายสิทธิ์ชั้นนี้เป็นบริวารอเนก อนันตัง
อปริมาณัง เหลือที่จะนับจะประมาณได้ มีอำนาจเหนือจุลจักร
แต่เป็นผู้รับใช้สอยของแก้วบรมจักร และมีอำนาจใช้สอยแก้ว
จุลจักร พร้อมทั้งบริวารของแก้วจุลจักร เป็นผู้มีหน้าที่เลี้ยง
และรักษาดูแล ให้สมบัติและความสุขความเจริญพร้อม
อาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค และเครื่องใช้สอย เครื่อง
อุปกรณ์ต่าง ๆ นานาแก่มนุษย์ ป้องกันภัยอันตราย โรคภัยไข้
เจ็บต่าง ๆ นานา ไม่ให้เบียดเบียนแก่หมู่มนุษย์ คอยพิทักษ์
รักษาแก่หมู่มนุษย์ และทรัพย์สมบัติของหมู่มนุษย์ไม่ให้เป็น
อันตรายเช่นเดียวกันกับแก้วจุลจักร แต่ว่าทำหน้าที่ประณีต
กว่า ละเอียดกว่า สูงกว่า ดียิ่งขึ้นไปกว่า ประเสริฐกว่าแก้ว
จุลจักร

๓) บรมจักร มีพระบรมเดชาศักดานุภาพและมีฤทธิ์มีอำนาจ
ใหญ่ยิ่งสูงสุดกว่า จุลจักรและมหาจักร มีแก้วกายสิทธิ์ชั้น
บรมจักรนี้เป็นบริวารอเนกอนันตัง ปริมาณังเหลือที่จะนับจะ
ประมาณได้ มีอำนาจเหนือ และเป็นผู้บังคับบัญชาใช้สอยจุล
จักร,มหาจักรพร้อมทั้งบริวารจุลจักร มหาจักรด้วย เป็นผู้มีหน้า
ทีเลี้ยงและรักษาดูแล ให้สมบัติและความสุขความเจริญ พร้อม
ด้วยอาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค เครื่องใช้สอย เครื่อง
อุปกรณ์ความสุขต่าง ๆ นานา ไม่ให้เบียดเบียนหมู่มนุษย์ คอย
พิทักษ์รักษาดูแลหมู่มนุษย์ และทรัพย์สมบัติของมนุษย์ไม่ให้
เป็นอันตราย คอยให้ความสุข ป้องกันความทุกข์ต่าง ๆ ของ
มนุษย์เช่นเดียวกันกับแก้วจุลจักรและมหาจักร แต่ทว่าทำหน้าที่
ประณีตกว่า อุดมกว่า สูงสุดกว่าละเอียดกว่าเลิศประเสริฐกว่า
ยิ่งใหญ่กว่าแก้วจุลจักรและแก้วมหาจักรทั้ง ๒ ประการนั้น

จักรทั้ง ๓ ประการนี้เป็นผู้มีหน้าที่เลี้ยงและคอยรักษา
มนุษย์เฉพาะภพหนึ่ง ๆ ถ้ามนุษย์ก็จักรทั้ง ๓ นี้เลี้ยงดูด้วย
สมบัติมนุษย์ ถ้ากายทิพย์ กายปฐมวิญญาณหยาบ-ละเอียดก็
มีจักรกายละ ๓ จักรรักษา เลี้ยงด้วยสมบัติละเอียดอันเป็นส่วน
สมบัติทิพย์ สรุปความว่า กายสุดหยาบสุดละเอียดของกาย
ทุก ๆ กาย มีจักรรักษาอยู่กายละ ๓ จักรเหมือนกันหมด

แก้ว ๓ ประการนี้เป็นผู้เลี้ยงรักษาด้วยสมบัติหยาบละเอียดตาม
ขั้นของกายทั่วไปทุกกายไม่เว้นเลย เรียกว่าสมบัติมนุษย์และ
สมบัติทิพย์ ก็คือแก้ว ๓ ประการนี้เองเป็นผู้ให้สมบัติ ส่วนสม
บัตินิพพานนั้นก็มี แก้วกายสิทธิ์อย่างละเอียดเป็นผู้แต่งสมบัติ
ในนิพานอีกเหมือนกันคือ

๑) แก้วจุลพุทธจักร
๒) แก้วมหาพุทธจักร
๓) แก้วบรมพุทธจักร

จักร ๓ ประการนี้ เป็นผู้แต่งสมบัติอันประณีตในส่วนนิพพาน
ให้พระพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพทั้งหลายเป็นบรมสุขอยู่
ด้วยทิพยโอชารสาหารอันประณีต สุขุมซึมซาบเอิบอาบปนอยู่
ในไส้ และเป็นบรมสุขอันสุขุมประณีตอยู่ด้วยคุณสมบัติใน
นิพพาน ซึมซาบเอิบอาบปนเป็น อยู่ในพระองค์ละเอียดสุขุม
ยิ่งนัก เป็นบรมสุข แสนสุขชั่วนิรันดร ไม่มีกาล ไม่มีระหว่าง
เพราะพุทธจักร แก้วทั้ง ๓ ประการนั้นเป็นผู้แต่งสมบัติ
ในนิพพานให้เป็นบรมแสนสุข

จักรทั้ง ๑๕ ประการเหล่านี้ คือ

๑) จุลจักร สำหรับกาย ๔ กาย คือ มนุษย์ ทิพย์
ปฐมวิญญาณหยาบ ปฐมวิญญาณละเอียด

๒) มหาจักร สำหรับกาย ๔ กายคือ มนุษย์ ทิพย์
ปฐมวิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด

๓) บรมจักร สำหรับ ๔กายคือ มนุษย์ ทิพย์
ปฐมวิญญาณหยาบ ปฐมวิญญาณละเอียด

รวมเป็น ๑๒ จักรด้วยกันกับอีก ๓ พุทธจักร คือ

๑) จุลพุทธจักร สำหรับพระนิพพาน
๒) มหาพุทธจักร สำหรับพระนิพพาน
๓) บรมพุทธจักร สำหรับพระนิพพาน

รวมเป็น ๑๕ จักร ภพหนึ่งก็มีจักร ๑๕ ประการนี้

แชร์เลย

Comments

comments

Share: