และในหนังสือ มรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑ หน้า๕๓ ได้กล่าวไว้
ในลำดับที่ ๓๑ ว่า
สมบัติ ๓ ประการ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ
นิพพานสมบัติ
สมบัติ ๓ ประการนี้เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็อยากได้ยิ่งนัก
เพราะอำนวยความสุขให้สมใจหวังทุกอย่าง ฉะนั้น มนุษย์เรา
ทำบุญกุศลต่าง ๆ จึงได้ตั้งปณิธานความปรารถนากันนักว่า
ขอให้ได้สมบัติ ๓ ประการนี้คือ
สมบัติมนุษย์
สมบัติสวรรค์
สมบัตินิพพาน
สมบัติมนุษย์คืออะไร ? ก็คือ
๑. แก้วจุลจักร ๒. แก้วมหาจักร ๓. แก้วบรมจักร
สมบัติสวรรค์คืออะไร ? ก็คือ
๑. แก้วจุลทิพย์จักร ๒. แก้วมหาทิพย์จักร
๓. แก้วบรมทิพย์จักร
สมบัตินิพพานคืออะไร ?
ก็คือ ๑. แก้วจุลพุทธจักร ๒. แก้วมหาพุทธจักร
๓. แก้วบรมพุทธจักร
สมบัติทั้ง ๓ ประการนี้แหละ เป็นยอดสมบัติทั้งปวง
ในหนังสือ คู่มือสมภาร ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัด
ปากน้ำ สั่งให้เรียบเรียงขึ้นเป็นคู่มือแก่ผู้ปฏิบัติธรรม วิชชา
ธรรมกาย ได้กล่าวไว้ในลำดับที่ ๑๔ ว่า………..
“ดูกายสิทธิ์ในดวงแก้ว”
ให้เอาดวงแก้วที่ถืออยู่ในมือนั้น เข้าไปไว้ในสุดละเอียด
(ศูนย์กลางกาย) หยุดนิ่งอยู่ในกลางดวงแก้ว ขยายให้ดวงแก้ว
นั้นโตขึ้น ก็จะแลเห็นกายที่อยู่ในดวงแก้วนั้นได้ถนัด เมื่อต้อง
การจะรู้ด้วยเรื่องอะไร ก็ถามได้จากกายที่อยู่ในนั้นได้ กายนี้
เองที่เรียกว่า “กายสิทธิ์”
กายสิทธิ์มีคุณค่าหรือความสำคัญต่อวิชชาธรรมกายอย่างไร
คำตอบ มีคุณค่ามีคุณประโยชน์มหาศาล อเนกอนันตัง
นับแต่เริ่มปฏิบัติธรรมโดยใช้ดวงแก้วกายสิทธิ์กลมใสมาเป็น
นิมิต เจริญภาวนาจนได้บรรลุธรรมถึงธรรมกายและเมื่อถึง
ธรรมกายแล้ว ก็ต้องเจริญวิชชาธรรมกายขั้นสูง ๆ และใช้
กายสิทธิ์ร่วมทำวิชชาขั้นสูง
ดังจะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ ….
(จากหนังสือมรรคผลพิสดาร เล่ม ๒ ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ)
“สิทธิและอำนาจ”
สิทธิและอำนาจทั้งสองอย่างนี้ต่างกัน สิทธิหมายถึงได้สิทธิ
ในสิ่งนั้น ๆ บริบูรณ์เต็มที่ เช่นได้สิทธิเป็นกษัตริย์ ได้สิทธิเป็น
จักรพรรดิ ได้สิทธิเป็นพ่อบ้านแม่เรือน เป็นผู้มีสิทธิในเรือก
สวนไร่นาของตน มีสิทธิปกครองสิทธิ์ขาดแต่ไรอำนาจของ
ตนก็มีสิทธิไปแค่นั้น
วิธีแสวงหาสิทธิทางโลก
ต้องใช้วิธีต่าง ๆ นา ๆ ตลอดจนถึงเบียดเบียนรบราฆ่าฟันกัน
เป็นพวก ๆ ใช้ศัสตราวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เข้าประหัตประหาร
กัน เพื่อแย่งสิทธิกันนั่นเอง เพราะชาติใดพวกใดได้สิทธิขยาย
เขตออกไปมากแค่ไร อำนาจการปกครองขยายส่วนไปแค่นั้น
ตามสิทธิ
ส่วนการแสวงหาสิทธิในทางธรรมนั้น
ไม่ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ประหัตประหารกันเช่นนั้น ใช้สมาธิจิต
หรือจิตตานุภาพที่หยุดนิ่งจนละเอียดไม่มีที่สิ้นสุดที่เรียก
ว่า “อนัตตญาโน” นับเป็นเครื่องหาสิทธิของเขามา คือ เอา
กายทั้งหมดทุกกายตลอดวงศ์สายขาว, วงศ์สายกลาง, วงศ์
สายดำ ทั้งเถาชุดชั้นตอนภาคพืด มาซ้อนสับทับทวี
เข้าในกายมนุษย์ กลั่นให้ใสสะอาดดี แล้วเอาจุลจักรกับพวก
บริวารพร้อมด้วยสมบัติรัตนะ ๗ ประการ และมหาจักรกับพวก
บริวารพร้อมด้วยสมบัติรัตนะ ๗ ประการ ของทุก ๆ กาย
ตลอดวงศ์สายขาว สายกลาง ทั้งกายเถาชุดชั้นตอนภาคพืด
ลงมาซ้อนในรัตนะ ๗ ประการ นั้นทั้ง ๗ อย่าง หรือเฉพาะ
อย่างเดียวก็ได้ คือเมื่อเอารัตนะอย่างหนึ่ง อีก ๖ อย่างก็รวม
ในจักรแก้วหมดนั้นทุกอย่าง หรือจะไม่รวมเฉพาะอย่างให้คง
อยู่เป็นสัตตรัตนะอยู่ครบทั้ง ๗ก็ได้ สุดแท้แต่จะต้องการ
แล้วกลั่นให้ใสสะอาดทั้ง ๗
แล้วเอามือขวาของกายมนุษย์ถือจักร
มือซ้ายถือดวงแก้ว
ส่วนรัตนะอีก ๕ อย่างนั้น เอาเข้าในกายมนุษย์ กลั่นให้กาย
ใสเป็นแก้ว นี้เป็นการยืนพื้นไว้มูลเดิม แล้วพิสดารรัตนะ ๗
ออกไปตามแต่ต้องการจะใช้
เมื่อกายมนุษย์นี้ มือขวาถือจักรแก้ว มือซ้ายถือดวงแก้วมณี
โชติ และแก้วอีก ๕ นั้น กลั่นเข้าในกายมนุษย์จนใสสะอาด
บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงเดินเครื่องเข้าไปในหัวใจเครื่องของสิทธิ
ร้อยไส้ หัวใจ เครื่องสิทธิเข้าไป เป็นลำดับ ๆ ไม่ถอยหลัง
กลับ ละเอียดเข้าไป แก่เข้าไปทุกที เข้าไป ในหัวใจเครื่อง
ของทะเลสิทธิ ของเหตุทะเล ในเหตุทะเลสิทธิ ละเอียดหนัก
เข้าไปไม่ถอยหลังกลับ แก่เข้าไปเท่าไร ละเอียดเข้าไปเท่าไร
ร้อยไส้เครื่องสิทธิเข้าไปได้เท่าไร ก็ชื่อว่าได้ธาตุธรรมเป็น
สิทธิเท่านั้น ๆ และได้อำนาจปกครองบังคับธาตุธรรมได้
แค่นั้น ๆ เหมือนพระมหากษัตริย์รบได้อาณาเขตออกไป
เท่าไรก็ได้อำนาจปกครองเท่านั้น ๆ ทำไปเช่นนี้เป็นลำดับ ๆ
จนกว่าจะยึดสิทธิในธาตุธรรมได้ทั้งหมด
ถ้ายึดสิทธิธาตุธรรมได้ทั้งหมดแล้ว ก็เอาแก้วบรมพุทธจักร
สูงสุดมาใช้ได้ เมื่อใช้บรมพุทธจักรสูงสุดมาใช้ได้ เมื่อใช้
บรมพุทธจักรสูงสุดได้แล้ว ก็มีอำนาจบังคับให้เกิดบุญ
ศักดิ์สิทธิ์ และบังคับบาปศักดิ์สิทธิ์ได้สมใจนึก
เพราะฉะนั้น วิชชา (วิชชาการสะสางธาตุธรรม) นี้
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ) อุตส่าห์พยายามยิ่งนักทุกคืนวันเป็นเวลา ๑๑ ปี
เศษ เพื่อจะยึดสิทธิมาสร้างความสุขให้แก่สัตว์โลกทั่วไป
ตลอดทั้งแสนโกฏิจักรวาลอนันตจักรวาล ทั้งสิ้นโดยไม่ถอย
หลังกลับ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตขีณาสพ ทั้ง
หลาย สร้างบารมีองค์ละมาก ๆ นับด้วยอสงไขยก็เพื่อจะยึด
สิทธินี้เอง เพราะสิทธิเป็นตัวสำเร็จ สิทธิทางโลกยึดได้ด้วย
กำลัง ศัสตราวุธ
ส่วนสิทธิทางธรรมยึดได้ด้วยบารมีเท่านั้น
นอกจากบารมีแล้วยึดไม่ได้
บารมีนั้นมี ๓๐ ประการคือ
ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี
ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และ
อุเบกขาบารมี รวมเป็น ๑๐
เมื่อบารมีแก่กล้าขึ้นเต็มส่วน ก็จะกลั่นตัวเองเป็นอุปบารมี
อีก ๑๐ และเมื่ออุปบารมีแก่กล้าขึ้นเต็มส่วนก็จะกลั่นตัวเอง
เป็นปรมัตถบารมีอีก ๑๐ รวมเป็น ๓๐ ประการ
รัศมีนั้นก็มาจากบารมี ๓๐ นั่นเอง แต่กลั่นเป็นแสงสว่าง
รุ่งโรจน์โชติช่วงขึ้นเป็นรัศมีสว่าง
กำลัง คือ ความแรง และความแก่กล้าของบารมี ๓๐ นั้น
แรงกล้าขึ้น
ฤทธิ์ คือ สำเร็จผลของบารมี ๓๐ นั้น คือตัวยึดสิทธินั่นเอง
ทั้งบารมี, รัศมี, กำลัง, ฤทธิ์, เหล่านี้ พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตขีณาสพเจ้าทั้งหลาย ตลอด
จนถึงพระอริยสาวก และปุถุชนทั้งสิ้น ได้ก่อสร้างบำเพ็ญมา
นับชาติไม่ถ้วน เป้าหมายแห่งจุดประสงค์นี้ ก็เพื่อจะเป็น
กำลังให้มากจนกว่าจะพอการยึดสิทธิได้สำเร็จผลนั่นเอง
เหมือนชาวโลกตระเตรียมกำลังพลรบบ้าง อาหารบ้าง
ศัสตราวุธบ้าง เพื่อรบเอาดินแดนเป็นสิทธิของพวกตนจน
สำเร็จผลนั้นเอง ฯลฯ