มักน้อย,สันโดษ,ชอบสงัด ,ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ,ปรารภความเพียรเพื่อความหลุดพ้นจากกิเลส
เพื่อขัดเกลากิเลส
อันนั้นแหละถือว่าเป็นเรื่องที่นักปฏิบัติธรรมจะต้องแสวงหา จะต้องหาให้ได้โดยสรุปแล้วก็คือว่า นักปฏิบัติธรรมนั้นจะต้องมีในสิ่ง ๕ ประการนี้
เป็นเบื้องต้น ๆ คือเป็นคล้าย ๆ ว่าเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติธรรมให้สูงขึ้นไปนั้นเอง ถ้าหากว่ามีไม่ได้แสดงว่าฐานไม่ดีเมื่อฐานไม่ดีมีช่องโหว่ช่องว่าง
การปฏิบัติธรรมนั้น ก็ไม่ค่อยจะบรรลุผลเท่าไรนัก
ยกตัวอย่างเช่น เป็นผู้มีกิจมากมีเรื่องหยุมหยิมมากชอบคลุกคลีกัน อะไรกัน ชอบคุยหรือว่าชอบโอ้เอ้อืดอาดยืดยาด เล่นในเวลาที่ไม่ควรเล่น
อืดอาดยืดยาดในเวลาที่ไม่ควรอืดอาดยืดยาด
ไม่เร่งในเวลาที่ควรเร่ง
ไม่ช้าในเวลาที่ควรช้า คือไม่รู้จักกาลเวลานั้นเอง
หรือไม่อย่างนั้นไม่รู้เรื่องอะไร
ไม่ได้อาจารย์ที่ดีไม่ได้แนวทางในการปฏิบัติธรรมที่ดี
รู้หรือได้แต่สิ่งที่เพิ่มพูนกิเลส
ได้ยินได้ฟังแต่เรื่องที่ทำให้เกิดกิเลสอย่างนี้ก็เป็นอันตราย
โดยเฉพาะข้อสุดท้ายเช่นเวลาเขาปฏิบัติธรรม
ยังฟังวิทยุอยู่ ยังอ่านหนังสืออยู่หรือยังคุยกันเรื่องบ้านเรื่องเมืองอยู่ อะไรอยู่ ใจก็ฟุ้งซ่านเกิดกิเลสขึ้นมาบางทีเกิดราคะ บางทีเกิดโลภะ
บางทีเกิดโทสะบางทีเกิดโมหะ ถ้าหากว่ารู้เรื่องเข้าใจในเรื่องที่เราชอบในเรื่องที่เรารู้เรื่องอยู่แล้ว
หรือว่าเกี่ยวกับเรื่องของตัวเองบ้างอะไรบ้างเกี่ยวกับบุคคลที่เราชอบอยู่แล้วก็เกิดความพอใจขึ้นมา
เมื่อเกิดความพอใจขึ้นมา
โลภะก็เกิดขึ้น ราคะก็เกิดขึ้นตามมา แต่ถ้าหากว่าเป็นเรื่องที่เราไม่ชอบใจเป็นเรื่องที่เราไม่ต้องการให้เกิดให้มีขึ้น โทสะก็เกิดขึ้นอีก
แทนที่จะมาปฏิบัติธรรมเพื่อละกิเลส กลับกลายเป็นว่ามาปฏิบัติแล้วเพิ่มพูนกิเลส เกิดราคะเกิดโทสะเกิดโมหะขึ้นเพิ่มขึ้นนี้ถือว่าขาดทุน เสียเวลาไปโดยใช่เหตุ
ท่านทั้งหลายนักปฏิบัติธรรม เมื่อเป็นนักปฏิบัติธรรมแล้ว สิ่งใดที่เป็นไปเพื่อความเจริญพอกพูนเมื่อทำจิตยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้ ก็ควรจะได้ปฏิบัติทางนั้น
หลวงป๋า