สมัยที่หลวงป๋าท่านอยู่และอาตมายังไม่ได้บวชนั้น อาตมาก็มักจะได้ยินหลวงป๋าท่านเล่าให้ฟังบ่อยๆ ว่าหลวงป๋าท่านไปเกณฑ์ฝนให้ตกที่จังหวัดโน้นจังหวัดนี้ คือท่านจะคอยฟังข่าวการพยากรณ์อากาศจากวิทยุบ้างอ่านจากหนังสือพิมพ์บ้างว่าที่ไหนฝนแล้ง ชาวบ้านไม่มีน้ำทำนาท่านก็จะสงเคราะห์ช่วยทันที แล้วฝนก็จะตกภายในวันนั้นหรือวันรุ่งขึ้นเลย การสงเคราะห์สัตว์โลกนี้คงจะเป็นงานหนึ่งของพวกพระโพธิสัตว์ท่านทำกัน
หรือช่วงไหนกรมอุตุเตือนภัยว่าจะมีพายุมรสุมเข้ามาที่ประเทศไทย หลวงป๋าท่านก็จะทำการหยุด (เก็บ) พายุนั้นไม่ให้เข้ามา ให้พายุมันวนวิ่งอยู่ในทะเลนั่นแหละ ให้มันวิ่งเล่นในทะเลแล้วก็สลายตัวไป หลวงป๋าท่านจะเล่าให้อาตมาฟังบ่อยๆ อาตมาก็จะชินกับเรื่องการเก็บฝนและเกณฑ์ฝนจนถือเป็นเรื่องปกติของท่าน ดูแล้วก็รู้สึกว่าท่านทำแบบง่ายๆ ไม่ได้ยุ่งยากลำบากอะไร
ยิ่งโดยเฉพาะตอนที่หลวงป๋าท่านยังแข็งแรง ถ้าวัดหลวงพ่อสดจัดงานบุญอะไรก็ตามหลวงป๋าท่านจะไม่ยอมให้ฝนตกในระหว่างงานเลย ท่านจะยอมให้ตกก็ต่อเมื่องานได้เสร็จสิ้นผ่านไปเรียบร้อยแล้วเท่านั้น หรือท่านก็จะขีดกำหนดเขตเป็นเส้นรอบวงโดยเอาวัดหลวงพ่อสดเป็นจุดศูนย์กลาง โดยมีรัศมีภายในเขตรอบวัด 1 กิโลเมตร ห้ามไม่ให้ฝนตก ฝนก็จะไปตกนอกเขตที่เลยออกไป ถ้าเราขับรถกลับกรุงเทพก็จะเห็นบ่อยๆ ว่าพอออกจากวัดไปราว 1 กิโล สองข้างทางริมถนนจะเจิ่งนองไปด้วยน้ำฝน
อาตมาเคยถามท่านว่าทำไมต้องตีรอบวงเขตวัดด้วย ท่านบอกว่า “ชาวบ้านแถบนี้เขาเป็นชาวสวนชาวไร่ เขาต้องการฝนกัน ถ้าเราไปเก็บฝนไม่ให้ตกเลยทั่วทั้งจังหวัดเขาก็จะเดือนร้อนกัน เธอเข้าใจไหมอู๋”
v2
การเก็บฝนและการเกณฑ์ฝนในวิชชาธรรมกาย โดย หลวงตาอู๋
ในสมัยโบราณเราต้องพึ่งพิงฝนฟ้าอากาศมาก เพราะการชลประทานยังไม่ทั่วถึง ถ้าฝนไม่ตกเราก็ปลูกข้าวไม่ได้ ถ้าไม่มีข้าวกินเพียงพอก็เป็นเรื่องใหญ่ระดับประเทศทีเดียว เมื่อฝนไม่ตกตามเวลาก็ถึงกับจะต้องตั้งพิธีบวงสรวงขอให้ฟ้าดินสิ่งศักดิ์สิทธิ์เมตตามาช่วยให้ฝนตก ครูบาอาจารย์สมัยก่อนจึงต้องรู้จักวิชาเกณฑ์ฝนและเก็บฝน เพื่อเอาไว้ช่วยชาวบ้าน
สมัยนี้คนพูดเรื่องการเก็บฝนและเกณฑ์ฝนน้อยลง แต่ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชาวนาชาวสวน ตั้งแต่หลวงพ่อสดเผยแพร่วิชชาธรรมกายออกไป การเกณฑ์ฝนและเก็บฝนก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติไปเลย แต่ก็ไม่เคยได้ยินว่ามีการสอนในวิชชาอื่น
อาตมายังนั่งสมาธิไม่เก่งแต่ก็อยู่ในแวดวงของคนเก่งๆ หลายคน ตอนหนุ่มๆ อาตมาเคยอยู่ในเหตุการณ์หนึ่ง วันนั้นอาตมา (ยังไม่ได้ออกบวช) ไปกับหมู่คณะที่มีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งที่ได้ธรรมกายชั้นสูงอยู่ด้วย คณะของเราเดินทางไปดูความก้าวหน้าของการปั้นพระที่โรงงานแห่งหนึ่งแถวฝั่งธน ระหว่างตรวจงานอยู่ๆ ฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก ฝนตกหนักขนาดคุยกันแทบไม่รู้เรื่อง เพราะเม็ดฝนขนาดใหญ่ตกกระทบหลังคาโรงงานเสียงดังจนพูดกันแทบไม่ได้ยิน
เมื่อเสร็จธุระ พระหนุ่มท่านนั้นจึงกระซิบกับอาตมาว่า “ฝนตกหนักขนาดนี้เราคงกลับวัดไม่ได้แน่ ขอเวลาอาตมาสัก 3 นาทีนะ” ท่านพูดเสร็จก็ยืนนิ่งหลับตาอึดใจเดียวเท่านั้น (ไม่ถึง 3 นาที) ฝนก็หยุดตกทันที จากที่ตกจนดังซ่าๆ ฝนขาดเม็ดกลายเป็นเงียบกริบ…. อะไรมันจะขนาดนั้น เก็บปุ๊บหยุดปั๊บ วิชชาธรรมกายศักดิ์สิทธิ์มากขนาดนี้เลยหรือ
แล้วพระหนุ่มท่านนั้นก็พูดขึ้นเพื่อให้ได้ยินทั่วกันว่า “รีบกลับวัดกันเถอะ มีเวลาแค่ 30 นาทีเท่านั้นนะ อั้นได้แค่นี้” พวกเราเลยรีบเดินทางกลับวัด พอถึงหน้าวัดเท่านั้นฝนก็ตกกระหน่ำอย่างไม่ลืมหูลืมตา สมดังคำที่ท่านพูดเอาไว้เลย สรุปวันนั้นน้ำท่วมพื้นวัดสูงขนาดครึ่งแข้ง ต้องเดินลุยน้ำกันออกมาเพื่อกลับบ้าน
สมัยที่หลวงป๋าวัดหลวงพ่อสดยังอยู่ ท่านช่วยเหลือชาวอีสานอย่างมาก เพราะสมัยก่อนภาคอีสานถือว่าเป็นภาคที่แห้งแล้งที่สุด แล้งขนาดพื้นแตก พอมาถึงยุคหลวงป๋าท่านก็เกณฑ์ฝนช่วยภาคอีสานเป็นพิเศษ ดังนั้นในรอบ 30-40 ปีที่ผ่านมาจนถึงทุกวันนี้ ข่าวเรื่องอีสานแล้งจึงลดน้อยลงไปมาก อาตมาได้เห็นหลวงป๋าทำวิชชาเกณฑ์ฝนช่วยภาคอีสาน (บ้านเกิดของท่าน) จนถือเป็นเรื่องปกติ
อาตมา “หลวงป๋าครับ หลวงป๋าเกณฑ์ฝนอย่างไรครับ”
หลวงป๋า “เราก็ต้องเดินวิชชาเข้าไปในสุดละเอียด เข้าไปให้ถึงสุดเหตุที่ฝนไม่ตก แล้วเข้าไปเก็บเหตุเหล่านั้นให้หมดทั้งในสุดละเอียดและสุดหยาบ ตั้งผังความศักดิ์สิทธิ์ให้ฝนตก กำหนดเขตที่จะให้ฝนตก ระยะเวลาที่จะให้ฝนตก ตกหนักหรือตกเบา แล้วเดินวิชชาเป็นให้ใสทั้งสุดหยาบสุดละเอียด”
อ๋อ หลักการก็คือ ทุกอย่างเกิดแต่เหตุ ทำเหตุอย่างไรก็ได้ผลอย่างนั้นนั่นเอง แต่ในช่วงท้ายของชีวิต หลวงป๋าท่านทำได้ง่ายกว่านั้น หลวงป๋าเคยบอกอาตมาว่า “ตอนนี้แค่แจ้งเรื่องไปให้ท้าววิรูปักษ์ทราบเท่านั้น แล้วขอให้ท่านทำให้เลย หลวงป๋าไม่ต้องเดินวิชชาเองแล้ว จะเกณฑ์ฝนหรือเก็บฝนท่านท้าววิรูปักษ์รับทำถวายให้เอง…. หลวงป๋าไม่อยู่แล้วเล่าได้