ป่ามงคลธรรม อ.สีคิ้ว 25 มกราคม เวลา 06:09 น. ·
เพราะธรรมกายเป็นกายนอกภพสาม
เป็นธรรมขันธ์ที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอวิชชา เมื่อดวงรู้ปราศจากอวิชชาหุ้มซ้อนอยู่ จึงขยายโตเต็มส่วนและ กลับเป็นดวงญาณ ซึ่งหยั่งรู้สภาวะจริงของธรรมชาติที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งทั้งหลาย ในภพสามโดยละเอียดลึกซึ้ง และชัดแจ้งดังที่ ได้กล่าวมาแล้ว
เมื่อเจริญภาวนามาถึงขั้นนี้ จึงจะหลุด จากเวทนาอันเจือด้วยอวิชชา หรือมิจฉาทิฏฐิ อย่างชาวโลก
แล้วกลับเสวยอุเบกขาเวทนา ด้วยสัมมาทิฏฐิคือ ปัญญาอันเห็นชอบดังกล่าว
เพราะการเจริญภาวนาตามแนวนี้ เป็นการ ปฏิบัติทางจิตล้วน ๆ โดยรวมใจ หยุดในหยุด ผ่านกาย เวทนา จิต และธรรม จากหยาบไปหา ละเอียด อันมีลักษณะเป็นการถอนขันธ์ของ กายโลกียะ ไปสู่ธรรมขันธ์ของกายโลกุตตระ คือ ธรรมกาย เมื่อผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกาย พระอรหัตที่สุดละเอียดแล้ว ก็จะประจักษ์ในผล ของการปฏิบัติภาวนาตามแนวนี้ด้วยตนเอง และ เมื่อถึงธรรมกายที่ละเอียด ๆ แล้ว ก็จะพบว่า เวทนาสักแต่เป็นเวทนาอันเกิดกับกาย
แต่หาได้กระทบกระเทือนถึงใจด้วยไม่ และจะพบว่า ใจ กับ กาย หรือ นาม กับ รูป แยกจากกันเป็นคนละส่วนจริงๆ และจะพบความจริงเมื่อเจริญฌานสมาบัติ
ปล่อยกายตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพานอีกว่าเมื่อพ้นจากกายโลกียะที่ประกอบด้วยปัจจัย ปรุงแต่ง ซึ่งจะต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระ ไตรลักษณ์ คือ เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา แล้ว ก็จะถึงกายธรรม
หรือธรรมกาย ซึ่ง เป็น กายโลกุตตระ เป็นธรรมขันธ์อันไม่ประกอบ ด้วยปัจจัยปรุงแต่ง และ เป็นกายนิจจัง สุขัง และอัตตาโดยแท้
โดยเหตุนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำ จึงได้ย้ำนัก ย้ำหนาว่า
“ใจหยุดนั้นแหละเป็นตัวสำเร็จ” หยุดลง ไปในกลางของหยุดในหยุด ตรงศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗ นั้นเรื่อยไป ก็จะผ่านกาย เวทนา จิต ธรรม จากกายหยาบไปสู่กายละเอียด จากขันธ์ของโลกียะ ไปสู่ธรรมขันธ์ของกายโลกุตตระ คือ ธรรมกาย
การเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนั้น มีอุบายทำให้ใจหยุดใจนิ่ง อยู่ในอารมณ์เดียว แนบสนิท ตรงศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม
ซึ่งให้ผลทั้งในด้านสมถะ อันช่วยให้จิตใจใสสะอาด บริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ทั้งหลาย จึงสามารถเห็น อรรถเห็นธรรมได้ชัดแจ้ง และทั้งสามารถเจริญ วิปัสสนาปัญญา และ โลกุตตรปัญญา จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็นสภาวะจริงของธรรมชาติ ตามที่เป็นจริง และเห็นแจ้งในสัจธรรมทั้งหลายได้โดยละเอียด
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะพบว่า กลางของกลางตรงศูนย์กลางกาย อันเป็นที่ตั้ง ของดวงธรรมที่ทําให้เป็นกายของแต่ละกาย ซึ่งซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปข้างในนั้นเอง คือ เอกายนมรรค ทางสายเอกไปสู่อายตน นิพพาน ผู้ถึงธรรมกายย่อมประจักษ์ความจริงข้อนี้ด้วยกันทุกคน
ดังนี้ จึงเป็นธรรมาวุธอันคมกล้าที่จะใช้ ปหานอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุ แห่งทุกข์ทั้งหลายให้หมดสิ้นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
พระราชพรหมเถร