ภาพวิธีการภาวนาหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ครูบาอาจารย์ผมวัดปากน้ำ (คุณแม่อาจารย์หวานใจ) เป็นคนบ้านเดียวกับหลวงปู่โต๊ะ รู้จักกัน ท่านเคยบอกผมว่าเวลาหลวงปู่โต๊ะท่านมีปัญหาอะไร ท่านจะมาปรึกษากับหลวงพ่อสดในวัดปากน้ำเสมอ ๆ ท่านจะเรียกหลวงพ่อสดว่า “พี่สด…”
(สังเกตตรงจุดกลางกั๊กตามภาพ)
ที่มา : สไตล์ ตัวโคตรพ่อ__________________
การนั่งกรรมฐานของหลวงปู่โต๊ะเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งตัวให้ตรง แล้วมองดูพระประธาน ผิวพรรณวรรณะ สัณฐาน ท่านเป็นอย่างไร หลับตาบ้าง ลืมตาบ้าง ลืมตาเห็นผิวพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร แม้หลับตาก็เห็นผิวพรรณวรรณะท่านเหมือนอย่างกับลืมตา ทำอย่างนั้นไปน้อมพระที่เราจำได้ มาตั้งไว้บนไหล่ขวา น้อมพระจากไหล่ขวามาตั้งไว้บนไหล่ซ้าย น้อมพระจากไหล่ซ้ายมาตั้งไว้บนกระหม่อม น้อมพระจากกระหม่อมมาตั้งไว้ที่ทรวงอก น้อมพระจากทรวงอกมาตั้งไว้ที่ศูนย์จุดสะดือ ยกพระพ้นศูนย์ ๒ นิ้ว ภาวนาว่า “พุทโธ” (หลวงพ่อสดใช้ “สัมมาอรหัง”) ร้อยครั้ง พันครั้ง หมื่นครั้ง แสนครั้ง…• เกร็ดความรู้ •การน้อมองค์พระไปตามฐานต่าง ๆ ในร่างกายนั้น คล้ายกับการเดินจิตของกรรมฐานมัชฌิมาที่นิยมปฏิบัติสืบกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เนื่องในตำราพิชัยสงครามของอยุธยามีการกำหนดให้แม่ทัพนายกองของกรุงศรีอยุธยาจะต้องประพฤติปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมานี้ประวัติการนั่งสมาธิแบบมัชฌิมาในสมัยอยุธยา สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงสมัยสุโขทัย สมัยทวารวดี (สุพรรณภูมิ, ละโว้) โดยเป็นของเก่าเล่าเรียนปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานตั้งแต่ครั้งพุทธกาลโดยมีท่านพระราหุลเถระ (โอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ) เป็นต้นสาย