พระกริ่งกลางเที่ยง พิมพ์พระชัยวรมัน

โฆสิต รัตนโสภณ 6 ชั่วโมง  ·

พระกริ่งกลางเที่ยงองค์นี้เป็นพิมพ์พิเศษต่างจากพระกริ่งกลางเที่ยงหรือพระประจำตัว ซึ่งเป็นพิมพ์พระชัยวรมัน พิธีนี้เป็นครั้งสุดท้ายที่ผู้รับพระล้วงบาตรเอง ณ กุฏิ ๙ ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยผู้รับพระทั้งหมดมีบรรพชิตและฆราวาสอยู่ในวงสายสิญจ์จำนวน ๓๖ รูป/คน ความอัศจรรย์บังเกิดขณะที่พระเดชพระคุณหลวงป๋าสาธยายมนต์คาถามหาปัตตาหมื่น พระอาทิตย์ทรงกลดเป็นวงซ้อนกันหลายชั้น ยิ่งกว่านั้นผู้อยู่ในพิธีสามารถแลเห็นวัตถุธาตุลอยปลิววิบวับสะท้อนแสงแดดออกจากดวงอาทิตย์ตรงลงมายังกุฏิ ๙ ในลานพิธีข้างหน้ากุฏิ แรกเริ่มพิธีผู้รับพระแต่งกายชุดขาวเตรียมตัวเวลาเพลก่อนเที่ยงวัน ใกล้เที่ยงพระเดชพระคุณหลวงป๋ามายังลานพิธี โดยมีพิมพ์พระขี้ผึ้งเป็นช่อ ๓๖ องค์ ใส่ลงในบาตรใบใหญ่ แล้วปิดบาตรด้วยผ้ายันต์สีแดง เมื่อพระเดชพระคุณหลวงป๋าสาธยายมนต์เสร็จก็จุดไฟเผาผ้ายันต์ลงในบาตร เอาน้ำใส่บาตร ใส่น้ำผิ้งแท้ลงในบาตร พระเลขาในพิธีเรียกขานชื่อเข้าล้วงพระในบาตรตามลำดับจากบรรพชิตก่อน ขณะล้วงมือในบาตร ไม่ต้องควานมือมีความรู้สึกว่าพระลอยเข้ามาในมือเอง หลังจากครั้งนี้ก็มีพิธีใหญ่เชิญธาตุกายสิทธิ์พระร่วงนั่งสีเมฆพัด (เปลี่ยนแปลงจากเดิมพระร่วงรางปืน) บนอาคารสมเด็จพุฒาจารย์(หอฉัน) ชั้น ๓ จำนวนที่เชิญ ๕๐๐ องค์ และเป็นครั้งสุดท้ายในการร่วมพิธีเชิญพระธาตุกายสิทธิ์ประการแรกพิธีเรียกพระนี้ทำในเวลาเที่ยงวันจึงเรียกว่า”พระกลางเที่ยง” ประการที่สองรูปลักษณ์ของพระจะเหมือนกับเจ้าของพระจึงเรียกว่า”พระประจำตัว” จากนั้นในพิธีจะเตรียมผ้าดิบไว้ให้เช็ดขี้ผึ้งที่เริ่มแข็งตัวออกจากองค์พระ จะเห็นเป็นสีเมฆพัด แวววาวเหมือนสีปีกแมลงทับ กล่าวกันว่าต้นกำเนิดพระพิมพ์ห่มจีวรคลุมนี้มาจากการที่หลังจากพระเดชพระคุณหลวงป๋าไปกราบนมัสการสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย-เนปาล และได้นิมิตเห็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ โพธิบัลลังก์ พุทธคยา

ประมาณปี พ.ศ.๒๕๔๐ มีพิธีเชิญพระกลางเที่ยง ณ กุฏิ ๙ เปิดโอกาสให้ผู้รับพระเข้าร่วมพิธีได้ รุ่นนี้เป็นพระชัยวรมันที่ ๗ ปางมารวิชัยฐานกลีบบัวคว่ำบัวหงาย จำนวน ๓๖ องค์ พญาเหล็กสีเงินยวงองค์ใหญ่มากรูปลักษณะดังเช่นเจ้าของพระ รุ่นองค์เล็กๆ พระเดชพระคุณหลวงป๋ากล่าวว่า เล็กพริกขี้หนู

แชร์เลย

Comments

comments

Share: