ปุปผชาดก

อิมินา ตุยฺหนฺติ อิทํ สตฺถา สาวตฺถึ อุปนิสฺสาย เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺสาราเม วิหรนฺโต อตฺตโน ทานปารมี อารพฺภ กเถสิ

สตฺถา สมเด็จพระบรมศาสดา เสด็จสำราญพระพุทธอิริยาบถอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ซึ่งเป็นอารามของเศรษฐีชื่ออนาถบิณฑิก อาศัยพระนครสาวัตถีเป็นที่เสด็จโคจรภิกขาจารทรงพระปรารภทานบารมีของพระองค์ให้เป็นเหตุ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิมินา ตุยฺหํ เป็นต้น

ครั้งนั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลบรมกษัตริย์ มีกษัตริย์และพราหมณ์คฤหบดีมหาศาลแวดล้อมเป็นบริวาร ให้ราชบุรุษเชิญเครื่องสักการบูชา มีธูปเทียนและดอกไม้ของหอมเป็นต้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับโดยที่ใด ก็เสด็จเข้าไปโดยที่นั้น ถวายนมัสการพระผู้มีพระภาคทรงบูชาแล้วเสด็จประทับอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง

ลำดับนั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลบรมกษัตริย์จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี นางพราหมณีก็ดี คฤหบดีก็ดี เวสชนก็ดี สูทชาติก็ดี มีจิตเลื่อมใสนิมนต์พระสงฆ์ให้สรงน้ำแล้วกระทำสักการบูชาจักได้ผลอย่างไร

ลำดับนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงเผยพระโอษฐ์ ดุจผ้ากัมพลแดง เปล่งพระสุรเสียงพรหมตรัสแก่บรมกษัตริย์ว่า ดูกรมหาราชบัณฑิต แต่ปางก่อนได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ให้สรงน้ำกระทำสักการบูชาแล้ว ตรัสดังนี้แล้วก็ทรงนิ่งอยู่ ครั้ั้นบรมกษัตริย์กราบทูลวิงวอน พระองค์จึงนำอดีตนิทานมาประทานพระธรรมเทศนาดังต่อไปนี้ว่า

อตีเต วิสาเล นาม มคเร วิชโย นาม ราชา ธมฺเมน รชฺชํ กาเรสิ ในอดีตกาลล่วงแล้ว มีบรมกษัตริย์ทรงพระนามพระเจ้าวิชัยราช ผ่านสิริราชสมบัติโดยราชธรรมอยู่ในวิสาลนคร พระเจ้าวิชัยราชนั้นเสวยพระกระยาหารมีรสอันเลิศในเวลาบุพพัณหสมัยแล้ว ประดับพระบวรกายด้วยสรรพอลังการแล้ว เสด็จไปยังมณฑลที่ประชุมเจรจาธรรม ครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงพระนามพระสรณังกรบังเกิดขึ้นในโลก ในกาลนั้นมีพระภิกษุนามว่าพระอสุภะ ท่านได้พร้อมกับด้วยบริวารของท่านไปถึงวิสาลนคร พระเจ้าวิชัยราชทรงเลื่อมใสเสด็จไปต้อนรับพระเถรเจ้ากับทั้งบริวารทั้งสิ้น ด้วยความที่พระองค์มีพระทัยเลื่อมใสเป็นอันมาก ถวายนมัสการแล้วจึงนิมนต์พระเถรเจ้า เพื่อจะให้สรงน้ำแล้วสรงพระเถรเจ้าด้วยน้ำหอมสี่หม้อ ครั้นพระเถรเจ้าสรงน้ำแล้ว บรมกษัตริย์ทรงชำระเท้าพระเถรเจ้าแล้ว ถวายผ้าคู่มีเนื้ออันเลิศแล้วถวายเครื่องสักการบูชาทั้งปวง ทรงนิมนต์ให้พระเถรเจ้านั่งเหนือปัญญัตตาอาสน์ แล้วบูชาด้วยเครื่องสักการบูชาแล้วมอบพระกายถวายตนแล้ว กระทำความปรารถนาว่า ข้าแต่พระเถรเจ้าผู้เจริญ ด้วยเดชบุญนี้ขอให้สรรพสัตว์ที่มีชีวิตทั้งหลายในสรรพภพ ได้เห็นข้าพเจ้าแล้วจงมีจิตเลื่อมใสมอบกายถวายชีวิต ตั้งอยู่ในโอวาทของข้าพเจ้า แล้วตรัสพระคาถาแป็นปฐมว่า

อิมินา ตุยฺหํ นหาเปตฺวาอภิเสกา จ เม กตา
ยตฺถ ยตฺถ ภเว ชาโตวณฺณวา พลวา อหํ
สพฺพปริกฺขารทานาปุปฺผปูชา จ เม กตา
เตน สพฺพภเว โหมิสกฺกโต ปูชิโต สทา
ลาภิโน เสฏฺลาภานํสกฺกาเรเหว สกฺกโต
ปณฺณาการสหสฺสานิอาคจฺฉนฺตุ มม สนฺติเก
อิมินา เม ภนฺเต ปุฺกมฺเมเนจ อนาคเต
สพฺพสตฺตุตฺตโม พุทฺโธภเวยฺยํ อหุ โส ชิโน
ภเวยฺยํ อุตฺตเม ชาเตภเวยฺยํ อุตฺตเม กุเล
พลรูปคุณูเปโตปฺวา จ นรุตฺตโม
ปจฺจามิตฺตา นรา นามมา โหนฺตุ มม สมฺมุขา
สพฺพเวรภยาตีตํลเภยฺยํ ปรมํ สุขํ
ขุชฺชติณฺโณ อยํ โลโกสํสาเร วินิมุตฺตโต
ธมฺมนาวํ ปาปุณิตฺวาอุทฺธริสฺสํ สเทวกํ

​แปลว่า การอภิเษกโสรจสรงพระเถรเจ้า ข้าพเจ้าได้กระทำแล้ว ด้วยเดชแห่งบุญนี้ ข้าพเจ้าเกิดแล้วในภพใดๆ ขอให้ข้าพเจ้ามีพรรณสีกายผ่องใสและมีกำลังเรี่ยวแรงเป็นอันมาก อนึ่งขอถวายบริขารทั้งสิ้น และการบูชาด้วยดอกไม้ข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ด้วยเดชบุญแห่งนั้น ข้าพเจ้าเกิดในภพทั้งปวง ขอจงเป็นผู้มีบุคคลสักการบูชาอยู่เป็นนิตย์ และเป็นผู้มีลาภมากกว่าบุคคลที่มีลาภอันประเสริฐทั้งหลาย จงเป็นผู้มีคนสักการบูชาเป็นอันมาก เครื่องบรรณาการตั้งพันจงมาถึงสำนักข้าพเจ้า ข้าแต่พระเถรเจ้าผู้เจริญด้วยกรรมเป็นบุญนี้ของข้าพเจ้า ขอให้ข้าพเจ้าไปเป็นพระพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสรรพสัตว์ในอนาคตกาล ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระชินสีห์เจ้าบังเกิดในชาติและตระกูลอันสูงสุด มีรูปงามประกอบไปด้วยคุณเป็นอันมาก มีปัญญาอุดมกว่านรชน ขออย่าได้มีข้าศึกศัตรูหมู่ปัจจามิตร ขอให้ข้าพเจ้าได้ความสุขอย่างยิ่ง ล่วงเสียซึ่งเวรและภัยทั้งปวง

สัตว์โลกนี้จะข้ามพ้นไปได้น้อยนัก เพราะจมลงเสียในสังสารวัฏมากนัก ข้าพเจ้าจะรื้อขนหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาขึ้นยังนาวา กล่าวคือพระธรรมนำไปให้ถึงพระนิพพาน

ครั้งนั้นพระธรรมเสนาบดีอุสภเถรเจ้า เมื่อจะกระทำอนุโมทนา จึงกล่าวพระคาถาว่า

สทฺธาปุพฺพงฺคมํ ทานํอปิ กิฺจิปิ เย กตํ
เย กตา ปสนฺนา ตีสุกาเล ลภนฺติ ติวิธํ
สุขํ มานุสิยํ เทติสคฺเคสุ ปรมํ สุขํ
ตโต จ นิพฺพานสุขํสพฺพทาเนปิ ลพฺภติ

แปลว่า ทานการให้มีศรัทธาเป็นของถึงก่อน อันบุคคลใดทำไว้บ้างแล้ว อนึ่งความเลื่อมใสในรัตนะสามประการ อันบุคคลใดทำไว้แล้ว บุคคลนั้นย่อมได้สุขสามประการตามกาล คือย่อมได้ความสุขเป็นของมนุษย์ ย่อมได้ความสุขคือพระนิพพานพ้นจากความสุขในมนุษย์และความสุขในสวรรค์นั้น เพราะทานการให้วัตถุทั้งปวง

พระเถรเจ้ากระทำอนุโมทนาแล้วจึงกล่าวคาถาสำแดงด้วยธรรมจริยาสิบประการเหล่านี้ถวายบรมกษัตริย์ ซึ่งมีพระประสงค์จะเสวยทิพย์สมบัติอันใหญ่ต่อไปอีกว่า

ธมฺมฺจร มหาราชมาตาปิตูสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชปุตฺตทาเรสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชสมณพฺราหฺมเณสุ จ
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชมิคปกฺขีสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชมิตฺตามจฺเจสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชรฏฺเสุ ชนปเทสุ จ
อิธ ธมฺมํ จริตวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชอินฺทา เทวา สพฺรหฺมกา
สุจิณฺเณน ทิวปฺปตฺตามา ธมฺมํ ราช ปมาทยิ

ความว่า ขัตติยมหาราชเจ้า พระองค์จงประพฤติธรรมในพระชนกชนนีทั้งสองด้วย ในพระโอรสและพระชายาทั้งหลายด้วย ในสมณะและพราหมณ์ทั้งหลายด้วย ในมฤคชาติและปักษีชาติทั้งหลายด้วย ในมิตรและอำมาตย์ทั้งหลายด้วย ในแว่นแคว้นและชนบททั้งหลายด้วย พระองค์ประพฤติธรรมในสถานทั้งสิบประการนี้แล้ว จักได้ไปบังเกิดในสวรรค์ พระองค์จงประพฤติธรรม ธรรมที่พระองค์ประพฤติดีแล้ว จะนำความสุขมาให้พระองค์ สัตว์ทั้งหลายจะได้เป็นพระอินทร์เป็นเทวดาเป็นพรหมได้เสวยทิพยสมบัติอันไพศาลก็เพราะธรรมที่ตนประพฤติดีแล้ว พระองค์อย่าได้ประมาทธรรมเลย

พระเจ้าวิชัยราชได้สดับธรรมสิบประการของพระธรรมเสนาบดีอุสภเถรเจ้าแล้วก็เกิดพระปิติโสมนัส ถวายนมัสการพระเถรเจ้าแล้วมีพระทัยมากไปด้วยความยินดีปรีดา ครั้นส่งพระเถรเจ้าไปแล้ว ก็เสวยสิริรัชสมบัติอยู่เป็นสุขสำราญตลอดพระชนมายุแล้วก็ไป​บังเกิดในวิมานทองอันกว้างใหญ่ถึงสิบสองโยชน์ อันกึกก้องไปด้วยนางเทพอัปสรนับด้วยแสน เสวยทิพยสมบัติอยู่ในดาวดึงสเทวโลก ครั้นจุติจากเทวโลก ลงมาถือเอาปฏิสนธิในพระครรภ์พระนางสิริพันธี พระมเหสีของพระเจ้าสิริพันธราชในสิริพันธนคร เทพยเจ้าทั้งหลายก็น้อมนำเอาน้ำสำหรับสนานเป็นของทิพย์สี่หม้อเข้าไปถวายพระราชเทวีเจ้าด้วยบุญญานุภาพของพระโพธิสัตว์เจ้าที่ได้สรงน้ำพระภิกษุสงฆ์ บรรดากษัตริย์ร้อยเอ็ดพระนครก็ส่งราชบรรณาการมาถวายพระเจ้าสิริพันธราช ครั้นถ้วนทศมาสพระราชเทวีเจ้าก็ประสูติพระราชบุตร เทพยดาเจ้าทั้งหลายก็ถวายสาธุการสักการบูชาพระโพธิสัตว์เจ้า ด้วยทิพสุคนธวารีและทิพสุคนธวารีและทิพบุปผากับทิพภูษาและพวงทองพวงแก้วเจ็ดประการ ด้วยบุญญานุภาพของพระโพสิสัตว์เจ้าที่ได้กระทำการบูชาไว้แต่ปางก่อน พระประยูรญาติทั้งหลายจึงถวายพระนามพระโพธิสัตว์เจ้าในวันนามคหณมงคลว่า บุปผากุมารดังนี้ พระเจ้าสิริพันธผู้พระชนกนาถก็พระราชทานนางนมทั้งหลายที่ปราศจากโทษถึง ๖๔ นางแก่พระโพธิสัตว์เจ้า ครั้นพระโพธิสัตว์เจ้าทรงพระเจริญแล้วก็ทรงศึกษารอบรู้ในศิลปศาสตรทั้งปวง พระเจ้าสิริพันธราชจึงตรัสให้หาชัยเสนาบดีมาเฝ้าแล้วตรัสว่า ดูกรชัยเสนาบดี เราชราแล้ว เราปรารถนาจะกระทำการอภิเษกบุปผกุมารผู้เป็นโอรสของเราแล้วจะมอบราชสมบัติให้ ชัยเสนาบดีถวายบังคมพระเจ้าสิริพันธราชแล้วก็ให้ตกแต่งพระนครกระทำให้งดงามด้วยเครื่องอุปกรณ์ทั้งปวง แล้วจึงผูกพระยาช้างชื่อชัยมาศด้วยพวนทองคำ ตกแต่งด้วยรัตนะเจ็ดประการ นำมาถวายพระโพธิสัตว์เจ้า เพื่อจะให้ทรงในการอภิเษก

สมเด็จพระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า

ตโต จ โส ปุปฺผราชาอภิเสกํ ลภิตฺวาน
หตฺถิยานํ อภิรุยฺหิสุริเยว ปุรกฺขิโต
สงฺฆณฺหาเตน ปุฺเนฉทฺทนฺตรตนนาโค
อากาเสนาปิ ลอาคฺนฺตวาปุปฺผราชศสฺสุปนยิ
สงฺมอตฺตนิยฺยาเทนนารีรตนฺจ โสภนํ
อุตฺตรกุรุโต อาคตํปุปฺผราชมุปฏฺหิ
เสนาปติรตนฺจชมฺพุทีปโต อาคตํ
พลวนฺตํ จ สุรูปํปุปฺผราชมุปฏฺิตํ
สงฺฆปวารเณเนวปูชฺจ ภตฺตทาเนน
นฺหาเปตุํ อุทกคนฺธํวตฺถเสนฺจนปฺปกํ
หตฺถิรตหนาภิรุยฺหานํฉตฺตึสโยชนมณฺฑเล
โยธา จ ปุริสา สูโรปุปฺผราชานํ ปริวารยึสุ
นครปทกฺขิณฺจสห ปริวาเรหิ จ
อากาเสน คจฺฉนฺโต โสชมฺพุทีปปทกฺขิณํ
สงฺฆปจฺจุศคจฺณนฺเตนสลาทรานุภาเวน
เอกสตราชาโน จปริวาเรนฺติ สพฺพโส
ตโต โยธา พลวนฺตาสุรูปา จารุทสฺสนา
สมนฺตา ปริกรึสุนนฺทยนฺตา รเถสภํ
หตฺถาโรหา อนีกฏฺารถิกา ปตฺติการกา
สมนฺตา ปริกรึสุนนฺทยนฺตา รเถสภํ
กโรฏิยา จมฺมธราอินฺทิหตฺถา สุวมฺมิกา
ปุรโต ปฏิปชฺชึสุเทวปุตฺโตว นนฺทเน
ชมฺพูทีปปทกฺขิณํปุนาคนฺตวา ปุรํ รมฺมํ

ความว่า ก็แหละในกาลนั้น พระเจ้าบุปผราชได้ราชาภิเษก แล้วก็เสด็จขึ้นทรงช้างพระที่นั่งดูงดงามปานประหนึ่งว่าสุริยเทพบุตรฉะนั้นแวดล้อมไปด้วยบริวารเป็นอันมาก หัตถีรัตนะซึ่งเคิดโนฉันทันตตระกูลก็เหาะมาโดยอากาศแล้วน้อมเศียรเข้าไปถวายพระองค์ ด้วยพระกุศลที่พระองค์ได้สรงน้ำพระสงฆ์ อีกประการหนึ่ง นางนารีรัตนะมีสรีรกายอันงามก็มาจากอุตตรกุรุทวีป มาบำรุงบำเรอพระองค์ ด้วยพระกุศลที่พระองค์ได้มอบกายถวายพระสงฆ์ ใช่แต่เท่านั้น เสนาบดีรัตนะมีกำลังมากมีรูปงามก็มาจากชมพูทวีป มาบำรุงบำเรอพระองค์ ด้วยพระกุศลที่พระองค์ได้ปวารณาแก่พระสงฆ์ และทำการสักการบูชาและถวายภัตตหารและถวายน้ำหอมให้สรงน้ำและถวายผ้านุ่งห่มและเสนาสนะแก่พระสงฆ์มีประการเป็นอันมาก ใช่เท่านั้น เมื่อเสด็จขึ้นทรงหัตถีรัตนะบรรดาโยธาทวยหาญที่แกล้วกล้าก็มาแวดล้อมพระองค์ เต็มไปในสถานที่มีปริมณฑลได้หกสิบโยชน์ เมื่อพระองค์จะเสด็จปทักษิณพระนครหรือเสด็จปทักษิณชมพูทวีป ก็เสด็จไปทางอากาศ กับด้วยบริวารกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดพระนครก็พากันมาแวดล้อม ด้วยอำนาจกุศลที่พระองค์ได้เสด็จไปต้อนรับพระสงฆ์โดยเคารพ ลำดับนั้นโยธาที่มีกำลังมากมีร่างกายงดงามควรที่จะทัศนาก็มาแวดล้อมอยู่โดยรอบ ทั้งพลช้างม้ารถพลเดินเท้าทั้งหลายก็มาแวดล้อมอยู่โดยรอบ เป็นที่รื่นเริงบันเทิงพระทัย เหล่าทหารอาสาทั้งหลายก็สวมเกราะมือถือดาบโล่นำเสด็จไปในเบื้องหน้า พระเจ้าบุปผราชเสด็จเลียบชมพูทวีป ดูงดงามประดุจดังเทพยดาทั้งหลายอันเสด็จไปชมสวนนันทวันฉะนั้น แล้วเสด็จกลับยังพระนคร เสด็จขึ้นประทับบนปรางค์ปราสาท ในลำดับนั้นพระโพธิสัตว์เจ้าเมื่อจะประทานโอวาทแก่กษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดพระนคร จึงตรัสว่า

ตุเมฺห ยาวายุกํ ิตามา สตฺตานํ อหึสถ
มา หึสถ ปเรสฺจปรทารํ น เสวถ
มา ภณาถ มุสาวาทํสุราปานํ น ปีวถ
ปฺจสีเลสุ ติฏฺถทานํ ทเทล สพฺพทา
นตฺถิ ทานสโม มาตานตฺถิ ทานสโม ปิตา
นตฺถิ ทานสโม าตินตฺถิ ทานสโม นิธิ
ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโสทานํ ทเทยฺย สพฺพทา
มาตาเปติภรํ ชนฺตุํกุเล เชฏฺาปจายินํ
สณฺหํ วาจํ ภณตฺถํ จเปสุเณยฺยปหายินํ
มจฺเฉรวินเย ยุตฺตํสจฺจํ โกธวิธํ นรํ
ตํเว เทวา ตาวตึสาอาหุ สปฺปุริโส อิติ
ปรทารํ ชเนตฺตีวเลณฺฑุํว ปรภณฺฑกํ
อตฺตานํ สพฺพภูตานิโส ปณฺฑิโต ติ วุจฺจติ
สีตวาโจ พหุมิตฺโตผรุโส จ อมิตฺตโก
ปทุมํ เอตฺถ าตพฺพํจนฺโท นกฺขตฺตราชโก
สุริโย อุตฺตโม โลเกอุณฺโห ชาโตติ เอกโก
จนฺทฺจ สีตลํ ชาตํตารกา ปริวาริตา

​ความว่า ท่านทั้งหลายยังมีอายุดำรงอยู่เพียงใด อย่าได้เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายเพียงนั้น อนึ่งอย่าเบียดเบียนทรัพย์สิ่งของของผู้อื่น อย่าคบหาภรรยาผู้อื่น อย่าเจรจาคำเท็จ อย่าดื่มสุราบาน จงดำรงอยู่ในศีลห้าประการ จงจำแนกแจกทานตลอดกาลทั้งปวง มารดาก็ดีบิดาก็ดีญาติก็ดี ทรัพย์ที่จะพึงฝังไว้ก็ดี บรรดาสิ่งเหล่านี้ซึ่งจะเสมอเหมือนด้วยทานย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นบุรุษผู้ประกอบด้วยปัญญาพึงจำแนกแจกทานตลอดกาลทั้งปวง เทพยเจ้าชาวดาวดึงส์ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญบุรุษที่เลี้ยงมารดาบิดาและประพฤติถ่อมตนในบุคคลผู้เจริญกว่าในตระกูล มีวาจาละเอียดอ่อนหวาน กล่าวถ้อยคำนำมาซึ่งประโยชน์ ละเสียชี่งวาจาส่อเสียด ปราศจากความตระหนี่ มีวาจาสัจจริงกำจัดความโกรธเสียได้ว่าเป็นสัตบุรุษ อนึ่งบุคคลผู้ใดมาทำในใจว่า ภรรยาของผู้อื่นเหมือนดังมารดาของตน พัสดุสิ่งของผู้อื่นเหมือนดังก้อนดิน คนอื่นเหมือนตนของตน ดังนี้ นักปราชญ์ย่อมกล่าวสรรเสริญบุคคลผู้นั้นว่าเป็นบัณฑิต อนึ่งผู้ที่วาจาเยือกเย็นเป็นเหตุให้มีมิตรสหายมาก ผู้ที่มีวาจาหยาบคายเป็นเหตุให้ปราศจากมิตรสหาย ในอุปมานี้ บัณฑิตพึงรู้ว่าเหมือนดอกปทุมชาติหรือเหมือนดังพระจันทร์อันเป็นพระราชาของหมู่ดาวฤกษ์ ส่วนพระอาทิตย์เป็นผู้อุดมในโลกก็จริง แต่พระอาทิตย์เป็นสิ่งที่เร่าร้อน เพราะเหตุนั้นพระอาทิตย์จึงเป็นผู้เดียว ส่วนพระจันทร์เป็นของเย็นจึงมีหมู่ดาวแวดล้อม ด้วยประการดังนี้ ครั้งนั้นกษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดพระนคร รับพระโอวาทด้วยเศียรเกล้ากระทำสาธุการแล้วถวายรัชสมบัติของตน เพื่อจะบูชาพระโอวาทแล้วถวายบังคมลาพระมหาสัตว์กลับไปสู่พระนครของตน เพราะเหตุนั้นสมเด็จพระผู้มีพระภาค จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

อปฺปกาปิ กตา ปูชาสีลวนฺเตสุ เทนฺติ เย
อภิรูปา สทา โหนฺติปริวารา สุขํ สิยุํ
สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโนยโสโภคสมปฺปิโต
ยํ ยํ ปเทสํ คจฺฉติตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต
องฺคปจฺจงฺคสมฺปนฺโนอาโรหปริวาหตา
โย โส โภเคน สมฺปนฺโนสุวณฺณวณฺณรุจิโร
วิสาลวิภเว สาเลชายนฺติ สมิทฺธกุเล
กุลํ วา ยสํ วา ปฺาสงฺฆณฺหาตสุสิทํ ผลํ
อสีติกฺขตฺตุํ เทวินโททิพฺพรชฺชมการยิ
สตฺตกฺขตฺตุํ จกฺกวตฺติจตุทีเปสุ อิสฺสโร
ปเทสรชฺชํ วิปลํคณนาโต อสงฺเขยฺโย
อนุโภติ สพฺพสมฺปตฺตึสงฺฆณฺหาตสุสิทํ ผลํ
ภวาภเว สพฺพชาตีสุปฺวา สุวิสารโท
สพฺพทา สุขสมฺปนฺโนสงฺฆณุหาตสฺสิทํ ผลํ
เทฺว กุเล อุปฺปชฺชติขตฺติเย จาปิ พฺราหฺมเณ
หีเน กุเล น ชายติสงฺฆณฺหาตสุสิทํ ผลํ
สุวณฺณตา สุสรตาสุสณฺานํ สุรูปตา
อธิปจฺจํ ปริวาโรสงฺฆณฺหาตสฺสิทํ ผลํ
สตหตฺถิสหสฺสานิสพฺพาลงฺการภูสิตา
ปริวาเรนฺติ ตํ นิจฺจํสงฺฆณฺหาตสุสิทํ ผลํ
ปฺาชวนสมฺปนฺโนสพฺพสตฺถวิสารโท
สพฺพชนปิโย สูโรสงฺฆณฺหาตสุสิทํ ผลํ
ปเทสรชฺชํ อิสฺสริยํจกฺกวตฺติ มหิทฺธิโก
สตฺตรตนสมฺปนฺโนยโสโภคสมปฺปิโต
ยํ ยํ ปเทสํ คจฺฉติตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต
จตุราสีติสหสฺสานิชาติยา จ สตานิ จ
ทุคฺคตึ นาภิชานาติสงฺฆณฺหาตสฺสิทํ ผลํ
ปฏิสมฺภิทา วิโมกฺขา จยา จ สาวกปารมี
ปจฺเจกพุทฺธภูมิสพฺพเมเตน ลพฺภติ
สงฺฆณฺหาเต ปโมเทตาปีติจิตฺเตน สพฺพทา
มหนฺตํ ทิพฺพสมฺปตฺตึเทวโลเก จ มานุเส
ยํ ยํ อิจฺฉติ ปฏฺิยํตํ ตํ สพฺพํ ลภนฺติ เต
ภวาภเว สํสรนฺตาปจฺฉา ปปฺโปนฺติ นิพฺพุตึ
กุฏํ คณฺโท กิลาโส จกาโส สาโส น ชายติ
เสทา รโชชลฺลํ นตฺถิกาโย จ ปริสุทฺธโก
ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโสปฏฺเนฺโต สุขมตฺตโน
พุทฺธปุตฺตาภิเสจนํกโรถ พุทฺธสาสเน
ทุลฺลภํ จ มนุสฺสตฺตํสทฺธา จ ทุลฺลภตรา
ทุลฺลโภ ชินสทฺธมฺโมเทสโก จาปิ ทุลฺลโภ
ลภิตฺวาทานิ ตํ สพฺพํยุฺชถ พุทฺธสาสเน

ความว่า การบูชาที่บุคคลกระทำไว้แล้ว ถึงเป็นการเล็กน้อยก็มีผลมาก ชนทั้งหลายใดได้ให้ทานในท่านผู้มีศีลทั้งหลาย ชนทั้งหลายนั้นย่อมเป็นผู้มีรูปงาม มีบริวารมีความสุขเสมอ บุคคลที่มีศรัทธาบริบูรณ์ไปด้วยศีลแล้ว ย่อมเป็นผู้เอิบอิ่มไปด้วยยศและโภคสมบัติ ผู้นั้นจะไปยังประเทศถิ่นฐานตำบลใดๆ ย่อมมีผู้นับถือบูชาในประเทศถิ่นฐานนั้น ย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ไปด้วยอวัยวะน้อยใหญ่ จะลุกขึ้นและเยื้องกรายก็ดูงดงาม และเป็นผู้สมบูรณ์ไปด้วยยศและโภคสมบัติ มีสีสรรพ์วรรณงดงามดุจสีทอง ย่อมบังเกิดในตระกูลอันมีทรัพย์สมบัติบริบูรณ์ไพศาล ความที่ได้เกิดในตระกูลดีมียศมีปัญญานี้ เป็นผลอานิสงส์ที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์ ผู้ที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์ จะได้เป็นพระอินทร์เสวยสมบัติทิพย์ถึงแปดสิบครั้ง จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช เป็นอิสระในทวีปทั้งสี่ถึงเจ็ดครั้ง จะได้เป็นพระเจ้าประเทศราชเสวยสิริรัชสมบัติอันไพบูลย์จะคณนามิได้ อันนี้เป็นผลอานิสงส์ที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์ ผู้ที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์นั้นจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีฤทธานุภาพใหญ่หลวง สมบูรณ์ไปด้วยรัตนะเจ็ดประการ อิ่มเอิบไปด้วยยศและโภคสมบัติ จะไปยังประเทศถิ่นฐานตำบลใด ๆ ย่อมมีผู้นับถือบูชาในประเทศถิ่นฐานตำบลนั้น ๆ ย่อมไม่รู้ไปบังเกิดยังทุคคติสถานนับด้วยร้อยชาติ ถึงแปดหมื่นสี่พันหน อันนี้เป็นผลอานิสงส์ที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์ ผู้ที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์นั้น จะได้ถึงปฏิสัมภิทาญาณปัญญาแตกฉานในห้องพระปฏิสัมภิทาญาณสี่ประการ และวิโมกขธรรมแปดประการและสาวกบารมีญาณปัจเจกโพธิญาณพุทธภูมิ ผลอานิสงส์ทั้งปวงนี้สาธุชนย่อมได้ด้วยกุศลที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์ สาธุชนทั้งหลายเป็นผู้รื่นเริงบันเทิงอยู่ในการที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์ด้วยจิตปีติยินดีอยู่เสมอแล้ว ย่อมได้สมบัติทรัพย์อันใหญ่หลวงในเทวโลกและมนุษย์โลก ผู้ที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์นั้น เมื่อท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ จะปรารถนาสิ่งที่ตนปรารถนาใด ๆ ย่อมได้สิ่งที่ตนปรารถนานั้น ๆ ทุกประการ จะได้ถึงพระนิพพานในชาติหลัง อีกประการหนึ่ง บรรดาโรคทั้งปวงมีต้นว่า โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคไอ โรคหืดเหล่านี้ ย่อมไม่บังเกิดมีแก่ผู้นั้น เหงื่อไคลของผู้นั้นก็ไม่มี กายของผู้นั้นเป็นกายบริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้นบุรุษผู้ประกอบไปด้วยปัญญา เมื่อปรารถนาจะให้ความสุขสำราญเกิดมีแก่ตน จงกระทำการอภิเษกโสรจสรงพระพุทธบุตรในพระพุทธศาสนา อนึ่งความเป็นมนุษย์ก็เป็นของหาได้โดยยาก ศรัทธาความเชื่อในคำสั่งสอนของพระชินเจ้าก็เป็นของหาได้โดยยากยิ่งนัก พระสัทธรรมคำสั่งสอนของพระชินเจ้าก็เป็นของหาได้โดยยาก ผู้ที่จะแสดงธรรมคำสั่งสอนก็หาได้โดยยาก บัดนี้สาธุชนมาได้ประสบพบปะของที่หาได้ด้วยยากนั้นทุกประการแล้ว ควรจะตั้งตนไว้ในคำสั่งสอนของพระชินเจ้านั้น ด้วยประการดังนี้

พระมหาสัตว์เจ้าทรงเลี้ยงมารดาบิดา ประพฤติถ่อมตนในบุคคลผู้เจริญกว่า กระทำการบูชาพระรัตนตรัย ประทานโอวาทสั่งสอนมหาชนทั้งหลายทรงกระทำกองการกุศลมีจำแนกแจกทานเป็นต้น เป็นนิจนิรันดร์มา ครั้นสิ้นพระชนมายุแล้วก็ไปบังเกิดในเทวโลก กษัตริย์ทั้งร้อยเอ็ดพระนครได้ตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ ครั้นสิ้นพระชนมายุแล้วก็ไปบังเกิดในเทวโลก

สตฺถา อิมํ ธมฺมเทสนํ อาหริตฺวา สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว เมื่อจะประมวลชาดก จึงตรัสพระคาถาในที่สุด

มาตา อาสิ มหามายาปิตา สุทฺโธทโน อหุ
เชยฺยเสโน สาริปุตฺโตโมคฺคลฺลาโน จ สารถิ
ปุปฺผราชา โพธิสตฺโตอหเมว ตถาคโต
สงฺฆณฺหาตานุภาเวนจกฺกวตฺติ มหิทฺธิโก
ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโสปฏฺเนฺโต สุขมตฺตโน
สงฺฆปูชํ วรํ กตฺวามหาธมฺมเสนาปติ

ความว่า พระมารดาพระโพธิสัตว์ในครั้งนั้น ครั้นประวัติกลับชาติมาเป็นพระนางมหามายา พระบิดาเป็นท้าวสุทโธทนมหาราช ไชยเสนาบดีเป็นพระสาริบุตรเถร สารถีเป็นพระมหาโมคคัลลานเถร พระโพธิสัตว์ทรงพระนามเจ้าปุปผราช ซึ่งเป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช มีฤทธานุภาพเป็นอันมาก ด้วยอานุภาพพระกุศลที่ได้สรงน้ำพระสงฆ์ในครั้งนั้น ครั้นประวัติขันธ์กลับชาติมาเป็นเราผู้ตถาคตนี้แล เพราะเหตุนั้นบุรุษผู้ประกอบไปด้วยปัญญา เมื่อปรารถนาความสุขแก่ตนควรจะกระทำการสักการบูชาพระสงฆ์ให้เป็นการสักการบูชาอย่างประเสริฐ ดังนี้ ทันใดนั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลบรมกษัตริย์จึงกราบทูลพระบรมศาสดาว่า ข้าพระบาทปรารถนาจะกระทำนามกรว่าสาริบุตรเถระดังนี้ ให้เป็นนามกรของพระมหาธรรมเสนาบดี การที่กระทำนามกรดังนี้นั้นจะเป็นการสมควรยิ่งนัก พระพุทธองค์จึงตรัสว่า สาธุ สาธุ พระมหาราชเจ้า การที่ทรงพระดำรินั้นเป็นการที่ทำประโยชน์ให้สำเร็จแท้ การที่กระทำนามกรว่าพระสาริบุตรเถระให้เป็นนามกรของพระมหาธรรมเสนาบดีนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและแก่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขเป็นทิฏฐานุคติตัวอย่างแบบแผน และเป็นทางที่จะให้บรรถุถึงสวรรค์และนิพพานแก่มนุษย์ทั้งหลายที่จะมาเกิดต่อไปข้างหน้าในกาลยังไม่มาถึง ดังนี้แล้ว ทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายต่อไปว่า

​พระเจ้าปัสเสนทิโกศลบรมกษัตริย์ ได้สดับพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว ก็มีพระทัยผ่องใส จึงนิมนต์พระเถรเจ้าให้เข้าไปยังปราสาทของพระองค์แล้ว ให้พระเถรเจ้านั่งบนปัญญัติตาอาสน์ที่ปูลาดตกแต่งไว้ดีแล้ว ทรงอังคาสพระเถรเจ้าด้วยขาทนิยโภชนิยาหารอันประณีตแล้ว จึงสรงน้ำชำระล้างเท้าพระเถรเจ้าด้วยน้ำหอมแล้วทรงบูชาพระเถรเจ้าด้วยสรรพบริขารเป็นอันมาก และสรรพบุปผามาลาประทีปธูปเทียนมีพรรณต่าง ๆ เป็นมเหาฬารสักการ แล้วทรงขนานนามาภิธัยพระเถรเจ้าว่าพระมหาธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ ดังนี้ แล้วเสด็จไปส่งพระเถรเจ้ายังพระอารามด้วยบริวารหมู่ใหญ่ แล้วเสด็จกลับยังพระนครของพระองค์ จำเดิมแต่นั้นมาพระเถรเจ้าจึงมีนามบังเกิดปรากฏว่าพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถรดังนี้ ตลอดชมพูทวีปทั้งสิ้น

พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย จึงบังเกิดเป็นพระธรรมเทศนาประกอบไปด้วยประโยชน์เป็นอันมาก ด้วยความตามระลึกถึงธรรมนั้น จำเดิมแต่กาลนั้นมา มนุษย์ทั้งหลายจึงได้กระทำกรรมที่เป็นบุญกุศลแล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลกด้วยประการดังนี้แล

จบปุปผชาดก

แชร์เลย

Comments

comments

Share: