พระเจ้าจักรพรรดิ

หลายๆครั้งที่เราได้ยินครูบาอาจารย์กล่าวถึงพระจักรพรรดิ หรือพระพุทธเจ้าปางจักรพรรดิ พระปางจักรพรรดิ หรือ กำลังจักรพรรดิ แต่มีหลายๆคนที่ยังไม่เข้าใจความหมายของคำว่าจักรพรรดิ จึงขอสรุปมาย่อๆ ดังต่อไปนี้

พระเจ้าจักรพรรดิ (ภาษาบาลี: จกฺกวตฺติ) คือจักรพรรดิผู้ปกครองทวีปทั้ง 4 ในความเชื่อของพระพุทธศาสนา เป็นผู้รักษาศีล เป็นธรรมราชา ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม มีพระโอรสนับพัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรารถนาสงคราม ไม่ประสงค์เครื่องบรรณาการ พระเจ้าจักรพรรดิมีแต่ผู้เคารพนับถือ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก พระเจ้าจักรพรรดิมีลักษณะของมหาบุรุษเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ทรงเลือกปกครองแผ่นดิน ยามใดที่มีพระพุทธศาสนา พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงบำรุงอุปัฎฐากพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ช่วยเผยแพร่พระธรรม แต่ยามใดที่ไม่มีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงรวบรวมผืนแผ่นดิน ผู้คนให้เป็นปึกแผ่น ทรงปกครองโดยธรรม สั่งสอนประชาชนทั้งมวล พระเจ้าจักรพรรดิทรงขยันในการสร้างบารมีมาก ถึงแม้จะเป็นพระมหาจักรพรรดิก็ยังทรงสร้างพระบารมีไม่หยุดหย่อน

ความพิเศษของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระเจ้าจักรพรรดิมีพระวรกายงดงามยิ่งกว่ามนุษย์ใดๆ
พระเจ้าจักรพรรดิมีอายุยืนกว่ามนุษย์ใดๆ
มีอาพาธน้อย เจ็บป่วยได้ยากกว่าคนทั่วไป
พระเจ้าจักรพรรดิเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา
แม้แต่เทวดาก็ยังเกรงใจ

ประเภทของพระเจ้าจักรพรรดิ

พระเจ้าจักรพรรดินั้นยังแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทอีก ได้แก่

จักรพรรดิทองคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครองทั้ง 4 ทวีป ตั้งแต่ประสูติ โดยมิต้องทำการรบพุ่งแย่งชิงมา

จักรพรรดิเงินคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครอง 3 ทวีป ตั้งแต่ประสูติ โดยมิต้องทำการรบพุ่งแย่งชิงมา

จักรพรรดิทองแดงคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครอง 2 ทวีป แต่มิได้ครอบครองเช่นนี้มาตั้งแต่ประสูติ ต้องทำสงครามรบพุ่งแย่งชิงมา

จักรพรรดิเหล็กคือ พระเจ้าจักรพรรดิที่ครอบครองได้เฉพาะชมพูทวีป โดยทำสงครามรบพุ่งแย่งชิงมา ซึ่งพระจักรพรรดิเหล็กนี้เป็นสถานะพระจักรพรรดิที่เป็นไปได้ในโลกปัจจุบัน ซึ่งคติความเชื่อในเรื่องจักรพรรดิเหล็กนั้น ได้ปลูกฝังในระบอบคิดของกษัตริย์ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเป็นหลักมาแต่ครั้งโบราณกาล

แก้ว 7 ประการ

พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ครอบครองแก้ว 7 ประการ อันได้แก่

จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ) เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากโลหะมีค่า ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง 4 ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการพระเจ้าจักรพรรดิก็ไม่ยอมรับแต่พระราชทานโอวาทศีล 5 ให้

ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ) ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ)
ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไง ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่เช้ารุ่ง และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า

มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ) มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง 1 โยชน์ คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างให้บังเกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีปโดยไม่ต้องทำมาหากิน เมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณีไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสว ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน

นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ) นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างน่าดูชม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาไพเราะ ไม่โกหก มีกลิ่นดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยฟังรับสั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ

ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ) คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำทรัพย์สินมาให้แด่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหน ขุนคลังแก้วเห็นหมด

ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ) ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ

อานิสงส์ผลบุญที่ทำให้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ทำบุญทำทานด้วยจิตใจงดงาม เป็นเจ้าในงานทอดกฐิน หรือเป็นเจ้าภาพในการสร้างวัด พระอุโบสถ พระวิหาร พระพุทธรูป ฯลฯ เป็นประธานในการเทศนาธรรม การสังคายนาพระไตรปิฏก ฯลฯ บูชาเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในยุคพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน แม้นไม่มีพระเจ้าจักรพรรดิมาอุบัติเกิดขึ้นเหมือนในยุคอื่นๆที่ผ่านมาและในอณาคต เช่นในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย พระพุทธเจ้าพระองค์หน้าที่จะมีพระสังขจักรพรรดิเกิดขึ้นมาอุปัฐฐากพระพุทธเจ้าศรีอริยเมตไตรย แต่ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวถึงตอนที่พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เนรมิตองค์ท่านเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพื่อปราบทิฐิมานะของท้าวพญาชมพูบดี ซึ่งมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก รวมถึงในส่วนของเนื้อหาพระเจ้าจักรพรรดิก็มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกเช่นกัน . . .

๓๖.เรื่องของพระเจ้าจักรพรรดิ

                 พระเจ้าจักรพรรดิคือใคร?

    พระเจ้าจักรพรรดิ  คือผู้ดำเนินชีวิตด้วยแก้ว ๗ ประการ  ปกครองทวีปทั้ง ๔ ด้วยความเป็นธรรม  เป็นผู้รักษาศีล ๕, ศีล ๘, และกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ อย่างสมบูรณ์ เป็นธรรมราชา ผู้ปกครองด้วยทศพิธราชธรรม มีพระโอรสนับพัน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่ปรารถนาสงคราม ไม่ประสงค์เครื่องบรรณาการ พระเจ้าจักรพรรดิมีแต่ผู้เคารพนับถือ พระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก พระเจ้าจักรพรรดิมีลักษณะของมหาบุรุษเช่น เดียวกับพระพุทธเจ้า แต่ทรงเลือกปกครองแผ่นดิน  ยามใดที่มีพระพุทธศาสนา พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงบำรุงอุปัฎฐากพระพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก ช่วยเผยแพร่พระธรรม แต่ยามใดที่ไม่มีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงรวบรวมผืนแผ่นดิน ผู้คนให้เป็นปึกแผ่น ทรงปกครองโดยธรรม สั่งสอนประชาชนทั้งมวลให้รักษาศีล ๕ ด้วยชีวิต   พระเจ้าจักรพรรดิทรงขยันในการสร้างบารมีมาก ถึงแม้จะเป็นพระมหาจักรพรรดิก็ยังทรงสร้างพระบารมีไม่หยุดหย่อน

           ทวีปทั้ง ๔  ที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงครอบครอง

    ๑.อุตตรกุรุทวีป

    ๒.ปุพพวิเทหะทวีป

    ๓.ชมพูทวีป

    ๔.อมรโคยานทวีป

    ถาม: ทำไมถึงเรียกว่า “ทวีป” 

    ตอบ: ก็เพราะว่า “ทวีป  คือเกาะหรือแผ่นดินที่ลอยอยู่เหนือน้ำ”  แต่คนในสมัยปัจจุบันนี้เขาเรียกกันว่า “โลก”

                     อุตตรกุรุทวีป

     ๐อุตตรกุรุทวีป  คือ “เกาะหรือแผ่นดินที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของจักรวาล”  ถ้าใครอยากรู้รายละเอียดของทวีปทั้ง ๔ ให้คลิกดูข้อที่ ๔  วิชาพุทธศาสตร์  ที่เมนูข้างบนของหน้านี้

    อุตตรกุรุทวีป   คือเกาะหรือแผ่นดินที่อยู่ทางด้านทิศเหนือของจักรวาล   อุตตรกุรุทวีปมีสัณฐานเป็น ๔ เหลี่ยม  กว้างและยาวเท่ากัน  ๘๐๐๐  โยชน์   ตั้งอยู่ในมหาสมุทรที่มีชื่อว่า “ปีตสาคร” มีทวีปน้อยเป็นบริวาร  ๕๐๐  ทวีป  ทวีปที่เป็นบริวารทั้งหลายเหล่านี้ก็ตั้งอยู่ในปีตสาครเหมือนกัน

       มนุษย์ในอุตตรกุรุทวีปมีคุณลักษณะพิเศษดีกว่าเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดีงส์และมนุษย์ในชมพูทวีปอยู่ ๓  ประการ  คือ:-
    ๑.มีตัณหาคือความอยากน้อย  มนุษย์ในทวีปนี้จะไม่หวงแหนสรรพสิ่งของต่างๆไม่ว่าจะเป็นสิ่งของใดๆก็ตาม
    ๒.มีอายุยืน ๑๐๐๐ ปีอย่างเที่ยงแท้  คือมนุษย์ในทวีปนี้จะไม่ตายตอนเป็นเด็กและตอนเป็นหนุ่มเป็สาว จะตายเมื่อสิ้นอายุขัยคือ มีอายุได้ ๑๐๐๐ ปีเท่านั้น  และจะไม่ตายด้วยอุบัติเหตุและการป้องร้ายของสัตว์และมนุษย์ทั้งหลาย    มนุษย์ในโลกนี้มีข้อแตกต่างกันดังนี้   ผู้หญิงเกิดมาแล้วก็เจริญเติบโตมาถึงอายุได้  ๑๘ ปี รูปร่างก็จะคงอยู่แค่นั้นไม่แก่ไม่เฒ่า จนอายุได้  ๑๐๐๐  ปีจึงจะตาย   ส่วนผู้ชายก็เจริญเติบโตมาจนอายุได้  ๒๐  ปี  รูปร่างก็จะคงอยู่แค่นั้นไม่แก่ไม่เฒ่าพูดง่ายๆก็คือเป็นหนุ่มสาวอยู่ตลอดเวลาจนอายุได้  ๑๐๐๐  ปีจึงจะตาย   ทำไมมนุษย์ในโลกนี้ถึงไม่แก่ไม่เฒ่าและมีอายุยืนเช่นนี้   คำตอบก็คือมนุษย์ในโลกนี้ตั้งแต่เกิดจนตายทั้งหญิงและชายไม่เคยผิดศีล ๕ ข้อเลย  คือรักษาศีล ๕ ได้ครบทุกข้อไม่เคยล่วงละเมิดศีลทั้ง ๕ ข้อเลย
    ๓.เมื่อตายแล้วจะไปเกิดในเทวโลกคือเมืองสวรรค์อย่างเดียวจะไม่ไปเกิดในโลกอื่น

    **นางแก้ว  ที่เป็นพระมเหสี หรือเป็นภรรยาของพระเจ้ามหาจักรพรรดิมาจากทวีปนี้หรือโลกนี้ก็ได้

                   ปุพพวิเทหะทวีป

         
    ๐ปุพพวิเทหะทวีป   คือ “เกาะหรือแผ่นดินที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของจักรวาล”

   ปุพพวิเทหทวีป   ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของภูเขาพระสุเมรุ  มีเนื้อที่กว้าง ๘๐๐๐ โยชน์  มีเกาะที่เป็นบริวารอีก ๕๐๐ เกาะ  มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้มีรูปใบหน้ากลมเหมือนพระจันทร์เต็มดวงมีลักษณะตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตรพระ มีรูปร่างสูง ๙ ศอก  มีอายุยืนได้  ๗๐๐  ปี จึงจะตาย รักษาศีล ๕ ได้ครบทุกข้อ  แผ่นดินของเนื้อที่ทวีปนี้เป็นสีขาวเหมือนน้ำนม  ท้องฟ้าในทวีปนี้ก็เป็นสีเหมือนเงิน  มหาสมุทรในทวีปนี้ชื่อว่า
“ขีรสาคร”   น้ำในมาสมุทรมีสีขาวเหมือนน้ำนม    เด็กที่เกิดในทวีปนี้เพียงชั่วครู่จะโตเท่ากับเด็กในชมพูทวีปอายุได้ ๕ ปี   มนุษย์ในทวีปนี้มีผิวกายหลายสีคือ  สีขาวก็มี  สีเหลืองก็มี  สีดำก็มี  สองสีผสมกันก็มี  สีด่างพร้อยเหมือนกับมนุษย์ในชมพูทวีปก็มี

                     ชมพูทวีป

     ๐ชมพูทวีป   คือ “เกาะหรือแผ่นดินที่อยู่ทางด้านทิศใต้ของจักรวาล”   

 ชมพูทวีป  คือเกาะใหญ่ที่มีต้นไม้หว้าใหญ่เป็นสัญญาลัษณ์ของทวีปมีเนื้อที่ ๑๐๐๐๐ โยชน์  และมีทวีปน้อยเป็นบริวารอีก ๕๐๐ ทวีป ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์  มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้มีใบหน้ารูปไข่  มึอายุยืนได้ตังแต่ ๑๐ ปี  ถึง ๑ อสงไข   พระพุทธเจ้าทุกพระองค์และพระสาวกจะต้องลงมาตรัสรู้ในชมพูทวีปนี้เท่านั้นจะไม่เสด็จไปตรัสรู้ที่ทวีปอื่น   ในเนื้อที่ ๑๐๐๐๐ โยชน์นี้  เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ๓๐๐๐ โยชน์   เป็นป่าหิมวัน
ต์ ๓๐๐๐ โยชน์   และเป็นน้ำทะเล ๔๐๐๐ โยชน์  ชมพูทวีปและทวีปน้อย ๕๐๐ ทวีปล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่บนนีลสาคร คือทะเลที่มีน้ำเป็นสีเขียว  ประเทศของเราอยู่ในทวีปนี้

                  อมรโคยานทวีป

     ๐อมรโคยานทวีป    คือ “เกาะหรือแผ่นดินที่ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของจักรวาล”

     อมรโคยานทวีป   คือเกาะใหญ่ทีมีต้นไม้กระทุ่มเป็นสัญญลักษณ์ของทวีป  ต้นไม้กระทุ่มมีรูปลักษณะเท่ากันกับต้นไม้หว้าทุกประการ มีอายุยืนได้หนึ่งวิวัฏฏัฏฐายีกัปป์เท่ากัน มีเนื้อที่วัดได้ ๗๐๐๐ โยชน์  มนุษย์ในทวีปนี้มีใบหน้าเหมือนพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว มีอายุยืนได้ ๕๐๐ ปีเป็นกำหนด ถ้าอายุยังไม่ถึง ๕๐๐ ปีจะไม่ตาย  มนุษย์ในทวีปนี้เดินเหิรเคลื่อนไหวไปมาโดยเท้าไม่ติดดินเลย  คล้ายๆเหาะแต่ไม่ใช่เหาะคือเดินตัวลอยอยู่เหนือพื้นดินแปลกมากๆ

    คุณสมบัติพิเศษของพระเจ้าจักรพรรดิ
  ๑.พระเจ้าจักรพรรดิมีพระวรกายงดงามยิ่งกว่ามนุษย์ใดๆ
  ๒.พระเจ้าจักรพรรดิมีอายุยืนกว่ามนุษย์ใดๆ
  ๓.พระเจ้าจักรพรรดิมีอาพาธน้อย และเจ็บป่วยได้ยากกว่าคนทั่วไป
  ๔.พระเจ้าจักรพรรดิเป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา แม้แต่เทวดาก็ยังเกรงใจ
สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิคือ ๗ ประการ ได้แก่
    ๑.จักรแก้ว (จกฺกรตฺตนํ)
  เมื่อผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ พระองค์ทรงรักษาศีลอุโบสถ ชำระจิตให้สะอาดแล้วทรงทำสมาธิ จักรแก้วก็บังเกิดขึ้น ทำจากแก้วอันมีค่ามาก ส่องแสงสว่างไสว แล้วพาพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมเหล่าเสนาบดีลอยไปยังทวีปและประเทศต่างๆ ในทวีปทั้ง ๔ ประเทศต่างๆ ก็ยอมสวามิภักดิ์ ไม่มีการสู้รบกัน เมื่อจะถวายเครื่องบรรณาการ  พระเจ้าจักรพรรดิก็จะไม่ทรงรับ แต่ได้พระราชทานโอวาทคือศีล ๕   ให้นำไปนับถือและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
   ๒.ช้างแก้ว (หตฺถีรตฺตนํ)
  ช้างแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้าง มีชื่อว่า อุโบสถ สีขาวเผือก สง่างาม มีฤทธิ์เดชสามารถเหาะไปในอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบมหาสมุทร ได้ตั้งแต่รุ้งเช้า และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า
   ๓.ม้าแก้ว (อสฺสรตฺตนํ)
  ม้าแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้า มีชื่อว่า วลาหกะ เป็นอัศวราชผู้สง่างาม ขนงาม มีหางเป็นพวง ตรงปลายคล้ายดอกบัวตูม มีฤทธิ์เดชเหาะเหินเดินบนอากาศได้ คล่องแคล่วว่องไว ฝึกหัดได้เอง สามารถพาพระเจ้าจักรพรรดิไปรอบชมพูทวีป จรดขอบ
มหาสมุทร ได้ตั้งแต่รุ้งเช้า และกลับมาทันเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า
   ๔.มณีแก้ว (มณิรตฺตนํ)
  มณีแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วมณีเปล่งแสงสุกสกาว ใสแวววาวยิ่งกว่าเพชร เปล่งรังสีแสงสว่างไสวโดยรอบถึง ๑ โยชน์ คือ ๑๖ กิโลเมตร คอยบันดาลความอุดมสมบูรณ์ทุกอย่างให้เกิดขึ้น ดึงดูดสมบัติทั้งหลายมาให้ สามารถเลี้ยงคนได้ทั้งชมพูทวีปโดยไม่ต้องทำมาหากินเมื่อพระมหาจักรพรรดิทรงทดลองแก้วมณีกับกองทัพ โดยติดแก้วมณีไว้บนยอดธงนำทัพ แก้วมณีก็เปล่งแสงสว่างไสวในเวลากลางคืน ทำให้กองทัพเดินทางได้สะดวกสบาย เหมือนเดินทัพในเวลากลางวัน
   ๕.นางแก้ว (อิตถรตฺตนํ)
  นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นหญิงที่มีบุญญาธิการ รูปร่างสวยงามน่าดูชม ผิวพรรณเปล่งปลั่งผ่องใส สวยงามกว่ามนุษย์ทั่วไป พูดจาสุภาพ ไม่โกหก มีกลิ่นหอมดังดอกบัวหอมฟุ้งออกจากปาก มีกลิ่นจันทน์หอมฟุ้งรอบกาย นางแก้วเป็นผู้คอยปรนนิบัติพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไม่ขาดสาย ตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่งของพระเจ้าจักรพรรดิ ประพฤติชอบต่อพระเจ้าจักรพรรดิเสมอ
   ๖.ขุนคลังแก้ว (คหปติรตฺตนํ)
  คฤหบดีแก้ว หรือขุนคลังแก้ว สามารถนำเอาทรัพย์สินมาให้แก่พระเจ้าจักรพรรดิได้ ขุมทรัพย์อยู่ที่ไหนก็เห็นไปหมด
   ๗.ขุนพลแก้ว (ปริณายกรตฺตนํ)
  ปริณายกแก้ว หรือขุนพลแก้ว คือพระราชโอรสองค์โตของพระเจ้าจักรพรรดิ เป็นขุนศึกคู่ใจ เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ มีความฉลาดเฉลียว รู้สิ่งใดควรไม่ควร คอยให้คำแนะนำปรึกษาแด่พระเจ้าจักรพรรดิอยู่เสมอ

    ผู้ที่จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้จะต้องมีสมบัคิคือแก้ว  ๗  ประการ  ถ้าไม่มีแก้ว  ๗  การเป็นสมบัติไม่เรียกว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ    อย่างที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีนเรียกพระราชาของเขาว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราต้องศึกษาประวัติดูก่อนว่าพระราชาของเขามีแก้ว  ๗  ประการเป็นสมบัติหรือไม่  ถ้าไม่มีไม่เรียกว่าพระเจ้าจักรพรรดิ แต่เป็นแค่พระราชาเท่านั้นเรียกพระเจ้าจักรพรรดิไม่ได้  เขาเอาชื่อพระเจ้าจักรพรรดิมาตั้งก็เพราะเขาต้องการสร้างความยิ่งใหญ่ให้แก่พระราชาของตนเองเท่านั้น
  อานิสงส์ผลบุญที่ทำให้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิมี  ๕  อย่าง  คือ:-
   ๑.ทำบุญทำทานด้วยจิตใจงดงาม
   ๒.เป็นเจ้าภาพในงานทอดกฐิน หรือเป็นเจ้าภาพในการสร้างวัด พระอุโบสถ พระวิหาร พระพุทธรูป ฯลฯ
   ๓.เป็นประธานในการเทศนาธรรม การสังคายนาพระไตรปิฏก ฯลฯ
   ๔.บูชาพระเจดีย์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่เสมอ
   ๕.เจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปี
   -พระเจ้าจักรพรรดิมีกี่ประเภท ?
   -พระเจ้าจักรพรรดิแบ่งออกเป็น ๗ ประเภท  คือ:-
      ๑.พระเจ้าจุลจักรพรรดิ               เช่น  พระเจ้าทัฬหเนมิ
      ๒.พระเจ้ามหาจักรพรรดิ             เช่น   พระเจ้ามหามันธาตุ
      ๓.พระเจ้าบรมจักรพรรดิ             เช่น   พระเจ้าสังขะ

      ๔.พระอุดมบรมจักรพรรดิ

      ๕.พระเดชอุดมบรมจักรพรรดิ

      ๖.พระไพบูลย์จักรพรรดิ

      ๗.พระไพศาลจักรพรรดิ
        พระเจ้าจักรพรรดิ
   -พระเจ้าจักรพรรดิ, พระเจ้ามหาจักรพรรดิ, และเจ้าบรมจักรพรรดิ  จะต้องมีพระจักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ  
    จักรวรรดิวัตร ๑๒ คือ ธรรม อันเป็นพระราชจริยานุวัตร สำหรับพระมหาจักรพรรดิ และพระราชาเอกในโลก ทั้งนี้ โดยพระมหากษัตริย์ ผู้ปกครองประชาชน ทรงถือ และอาศัยธรรมข้อนี้เป็นธงชัย สำหรับ การดำเนินกุศโลบายและวิเทโศบาย ดัง   พระราชกรณียกิจที่ปรากฎ ๑๒ ประการคือ:-
    ๑.ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนัก และคนภายนอก ให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย
    ๒.ควรผูกไมตรีกับประเทศอื่น
    ๓.ควรอนุเคราะห์พระราชวงศานุวงศ์
    ๔.ควรเกื้อกูลสมณพราหมณ์ คหบดี และคฤหบดีชน คือเกื้อกูลพราหมณ์และผู้ที่อยู่ในเมือง
    ๕.ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท
    ๖.ควรอนุเคราะห์สมณพราหมณ์ผู้มีศีล
    ๗ ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์
    ๘.ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำด้วยตัวอย่างให้อยู่ในกุศลสุจริต
    ๙.ควรเลี้ยงดูคนจน เพื่อมิให้ประกอบการทุจริต และอกุศลกรรมต่อสังคม
    ๑๐.ควรเข้าใกล้สมณพราหมณ์ เพื่อศึกษาบุญและบาป กุศล และอกุศลให้แจ้งชัด
    ๑๑.ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ที่พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ
    ๑๒. ควรระงับความโลภมิให้ปรารถนาในลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้

         ความรู้เกี่ยวกับ “พระเจ้าจักรพรรดิ”
  พระเจ้าจักรพรรดิ คือ มนุษย์ผู้มีบุญ เพราะได้ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ หรือได้บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอะระหันต์ พระภิกษุสงฆ์ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือได้ทำประโยชน์แก่สาธารณะชนด้วยกำลังศรัทธาที่แรงกล้า.
  พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาโดยธรรมะ ไม่ต้องแย่งชิงอำนาจจากใครด้วยอุบายหรือการทำสงคราม ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรที่มั่นคง ทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในโลกแต่ผู้เดียว ทรงมีพระปัญญาอันประเสริฐ ฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาการ ทรงบำรุงพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญสูงสุด พระองค์มีแก้ว ๗ ประการ มีพระราชบุตรมากกว่าพันล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีระกษัตริย์ สามารถย่ำยีกองกำลังของข้าศึกได้ไม่ยาก ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์ของพระองค์ และอานุภาพแห่งแก้ว ๗ ประการ ทำให้พระองค์ทรงบริหารและปกครองราษฎรโดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่ต้องใช้อาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารใดๆ ไม่ต้องลงโทษ ไม่ต้องลงอาชญา.
  สมัยใดโลกมีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สมัยใดโลกว่างเปล่าจากจากพระพุทธศาสนาและพระปัจเจกพุทธเจ้า สมัยนั้นได้ชื่อว่าโลกมืด โลกจะแบ่งแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยอย่างมากมาย มีเชื้อชาติมากมาย ภาษามากมาย
ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย มีลัทธิศาสนาอันไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากมาย แล้วมวลมนุษย์ในโลกก็เกิดความขัดแย้งกันทะเลาะไม่สามัคคีกัน ด่ากัน แล้วลงท้ายด้วยการจับก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง อาวุธอันมีคมบ้าง ประหัตประหารกัน รบกัน ทำสงคราม
กัน แล้วเกิดการจองเวรด้วยการลอบทำร้ายกัน ลอบสังหารกันและก่อวินาศกรรม กลายเป็นลัทธิก่อการร้ายล้างผลาญกันไป ล้างผลาญกันมาไม่จบสิ้น พระองค์ทรงเห็นโทษเห็นความลามกของความแตกแยกและความแตกต่าง พระองค์จึงทรงรวบรวมมนุษย์
ทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้มนุษย์โลกมีเพียงชาติเดียว เผ่าพันธุ์เดียว ภาษาเดียว ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียว ใช้สกุลเงินเดียว แล้วพระองค์ทรงสอนศีล ๕ แก่มวลมนุษย์ในโลก เป็นหลักคำสอนเดียวศาสนาเดียว ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้นจึงมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระประมุขของชาวโลก และเป็นศาสดาของชาวโลก.
  เมื่อประมุขของโลกและมนุษย์โลกต่างมีศีล ๕ มีธรรมะอันงาม ไม่มีแหล่งอบายมุขใดๆในแผ่นดิน ไม่แตกแยกไม่ขัดแย้งกันดังนี้มวลมนุษย์ย่อมเห็นความสุขความเจริญในปัจจุบัน เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมปลื้มปีติยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ทั้งหลายก็มีสุขภาพจิตสุขภาพกายดี อายุยืน จำนวนมนุษย์ก็มากขึ้นแต่ไม่ขาดแคลน มวลมนุษย์ทั้งปวงต่างมองหน้ากันด้วยแววตาแห่งความรักความเมตตา เมื่อนั้นได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประทานแสงสว่างให้แก่โลก ประทานความร่มเย็นให้แก่โลก.
   ฤทธิ์ ๔ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ
 ๑.พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
 ๒.พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระชนมายุยืนนานกว่ามนุษย์ทั่วไป
 ๓.พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อยกว่ามนุษย์ทั่วไป
 ๔.พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นที่รักที่ชอบใจของพระเจ้าจักรพรรดิ ดุจบุตรเป็นที่รักที่ชอบใจของบิดาทีเดียว เมื่อถึงคราวพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเลียบพระนครออกเยี่ยมราษฎร ราษฎรทั้งหลายไปเฝ้า พระองค์พลางกราบทูลว่า “ขอเดชะ… ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระองค์จะได้เฝ้าพระองค์นานๆ”แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงตรัสกับนายสารถีว่า “นายสารถี เธออย่าด่วนขับรถไปเร็วนัก เราจะได้เห็นราษฎรนานๆ”
   ลักษณะ ๓๒ ประการของมหาบุรุษ
  มหาบุรุษผู้มีลักษณะ ๓๒ ประการนี้ ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรือเป็นพระพุทธเจ้าเท่านั้น คือ….
  ๑. มีพระบาทเรียบเสมอ
  ๒. ที่ฝ่าพระบาททั้งสองมีลายรูปจักร อันมีซี่พันหนึ่ง มีกง มีดุมบริบูรณ์
  ๓. ส้นพระบาทยาว
  ๔. มีพระองคุลี (นิ้ว) ยาว
  ๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
  ๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาท มีลายดุจตาข่าย
  ๗. มีพระบาทนูนสูงดุจสังข์คว่ำ
  ๘. มีพระชงฆ์ (แข้ง) เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
  ๙. เมื่อประทับยืนมิได้ก้ม พระหัตถ์ทั้งสองลูบพระชานุ (เข่า) ทั้งสองได้
  ๑๐. มีพระคุยหะ (องคชาติ) เร้นอยู่ในฝัก
  ๑๑. พระฉวีวรรณดุจสีทอง
  ๑๒. พระฉวีวรรณละเอียดฝุ่นไม่เกาะ
  ๑๓. พระโลมา (ขน) เกิดขึ้นขุมละเส้น
  ๑๔. พระโลมาทุกเส้นชี้ขึ้นข้างบน
  ๑๕. พระวรกายตรงดุจกายพระพรหม
  ๑๖. พระมังสะเต็มในที่ ๗ แห่ง คือ หลังพระหัตถ์ทั้งสอง, หลังพระบาททั้งสอง, พระอังสะ (บ่า) ทั้งสอง และพระศอ (คอ)
  ๑๗. พระวรกายท่อนบนดุจกายท่อนหน้าของราชสีห์
  ๑๘. แผ่นหลังมีพระมังสะเต็ม
  ๑๙. พระวรกายดุจต้นไทร มีพระวรกายเท่ากับวา
  ๒๐. ลำพระศอกลม
  ๒๑. เส้นประสาทรับรู้รสได้ดี
  ๒๒. พระหนุ (คาง) ดุจคางของราชสีห์
  ๒๓. พระทนต์ (ฟัน) ๔๐ ซี่
  ๒๔. พระทนต์เรียบเสมอ
  ๒๕. พระทนต์ไม่ห่าง
  ๒๖. พระเขี้ยวแก้วขาวงาม
  ๒๗. พระชิวหา (ลิ้น) ใหญ่
  ๒๘. พระสุรเสียงก้องกังวานดุจเสียงของพระพรหม ไพเราะดุจเสียงของนกการเวก
  ๒๙. พระเนตรดำสนิท
  ๓๐. ดวงพระเนตรดุจตาของลูกโค
  ๓๑. พระอุณาโลม (ขนระหว่างคิ้ว) ขาวอ่อนนุ่มดุจสำลี
  ๓๒. พระเศียรดุจสวมมงกุฎ
  คุณธรรมของพระราชาผู้จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
  ๑. อาศัยธรรมะ สักการะเคารพธรรมะ นับถือธรรมะ บูชาธรรมะ ยำเกรงธรรมะ มีธรรมะเป็นธงชัย มีธรรมะเป็นใหญ่
  ๒. รักษาคุ้มครอง ป้องกันอย่างเป็นธรรมะในราชนิกุล ในกองพล ในกษัตริย์เมืองขึ้น ในชาวเมือง ชาวชนบท สมณะ พราหมณ์
  ๓. รักษาคุ้มครองป้องกันอย่างเป็นธรรมะในเหล่าสัตว์เดรัจฉาน ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
  ๔. ไม่ให้มีสิ่งผิดศีลธรรมในแผ่นดิน
  ๕. ให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์
  ๖. เข้าไปหาสมณะพราหมณ์ผู้มีความอดทน มีความสงบระงับ ฝึกตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสอยู่ผู้เดียว ล้วถามว่า“ท่านขอรับ…กุศลคือ อะไร อกุศลคืออะไร กรรมใดไม่มีโทษ กรรมใดมีโทษ กรรมใดควรเสพ กรรมใดไม่ควรเสพ กรรมใดทำแล้วเป็นประโยชน์ กรรมใดทำแล้วไม่เป็นประโยชน์”
  ๗. เมื่อฟังคำของสมณะพราหมณ์นั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศลจงเว้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลจงถือมั่นประพฤติปฏิบัติ
   จักรแก้ว
  พระราชาผู้ที่จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงศีล ๕ อยู่เป็นนิตย์ ในวันอุโบสถ ๘ ค่ำ ๑๔ – ๑๕ ค่ำ พระองค์จะทรงจัดการงานแผ่นดินทั้งหลายให้เสร็จแต่เช้าตรู่ แล้วทรงถวายมหาทาน ทรงสรงน้ำชำระพระเศียรแล้วฉลองพระองค์ด้วยชุดขาว เสวยพระกระยาหารประทับนั่งสมาธิอยู่บนปราสาทสมาทานศีล ๘ ทรงลำลึกถึงเหตุแห่งบุญที่สำเร็จด้วย ทาน ศีล การข่มใจ และการฝึกตนของพระองค์ จนกระทั่งวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง คืนหนึ่งขณะที่พระองค์ทรงถือศีล ๘ และเจริญสมาธิอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ก็ปรากฏแก่พระองค์ จักรแก้วอันเป็นทิพย์นั้นบริบูรณ์ด้วย ดุม กง และซี่พันซี่ ล้วนสำเร็จด้วยทองและเงิน ประดับด้วยรัตนะชาติ ๙ ประการ ที่ได้รับการสลักลวดลายอย่างวิจิตรงดงาม มีแสงรัศมีซ่านออกโดยรอบดุจดวงอาทิตย์ จักรแก้วเมื่อต้องลมแล้วมีเสียงไพเราะยวนใจ ชวนให้ฟัง ชวนให้เคลิบเคลิ้ม เหมือนเสียงดนตรีทั้ง ๕ ที่บรรเลงโดยนักดนตรีผู้ชำนาญดีแล้วจักรแก้วนั้นลอยมาจากทิศตะวันออกเปล่งแสงสุกสว่างดุจพระจันทร์ดวงที่ ๒ มาวนเวียนรอบพระนครแล้วหยุดอยู่ที่สีหะบัญชรด้านทิศเหนือของปราสาท มหาชนเห็นแล้วแตกตื่นพากันวิ่งตามมาดูและสักการบูชา พระราชาทรงทอดพระเนตรเห็นจักรแก้วแล้วทรงดำริว่า “เราเคยได้ฟังมาว่า พระราชาผู้ได้รับการราชาภิเษ แล้วองค์ใด ทรงสรงน้ำชำระพระวรกาย สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถศีลอยู่บนปราสาทในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ จักรแก้วอันเป็นทิพย์จะปรากฏแก่พระราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิ เราเห็นจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้วหรือ?” จึงทรงออกจากสมาธิลุกขึ้นมาทรงผ้าสไบเฉวียงบ่า พระหัตถ์ซ้ายจับพระเต้าทองหลั่งน้ำทักษิโณทก พระหัตถ์ขวาชูจักรขึ้น แล้วตรัสว่า “โอ… จักรแก้วอันเจริญ จงหมุนไปพิชิตจักรวรรดิเถิด” ทันใด
นั้นจักรแก้วก็หมุนลอยนำไปทางทิศตะวันออก พระราชาพร้อมด้วยกองทัพ ๔ เหล่า คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้าอีกทั้งมหาชนทั้งหลายก็ติดตามไป ด้วยอานุภาพของจักรแก้วพาให้พระราชาและผู้ติดตามทั้งหมดเหาะลอยไปได้ในอากาศ ข้ามภูเขา
ข้ามแม่น้ำ ข้ามทะเล จักรแก้วนำพาไปสู่อาณาจักรของประเทศใด ก็หยุดลงที่หน้าพระราชนิเวศของพระราชาประเทศนั้น พระองค์พร้อมผู้ติดตามก็หยุด ณ ที่นั้น พระราชาของประเทศนั้นๆก็นำเครื่องบรรณาการเสด็จเข้ามาเฝ้าพระองค์ แล้วน้อมพระเศียรอันทรงมหามงกุฎซบพระบาทของพระองค์ กราบทูลด้วยวจนะว่า “ข้าแต่มหาราช… ขอพระองค์ทรงเสด็จมาเถิด การเสด็จมาของพระองค์เป็นความดี ข้าพระองค์ขอถวายการต้อนรับพระองค์ด้วยราชสมบัติของหม่อมฉันขอยกถวายแก่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดประทานพระราชโอวาทแก่หม่อมฉันเถิด”.
  พระองค์ไม่ทรงตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงนำเครื่องราชพลีมาให้เรา” พระองค์ไม่ทรงเอาโภคทรัพย์ของพระราชาองค์ใดไป แต่ทรงตรัสด้วยพระปัญญาอันสมควรที่พระองค์เป็นธรรมราชา ทรงแสดงธรรมะด้วยพระวจนะอันเป็นที่รัก อันละเอียดอ่อนว่า “ดูก่อนพ่อทั้งหลาย…. การฆ่าสัตว์ก็ดี การลักทรัพย์ก็ดี การประพฤติผิดในกามก็ดี การพูดโกหกก็ดี การเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติดก็ดี บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทุกข์ในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่นรก การไม่เสพกรรมทั้ง ๕ อย่างเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อสุขในโลกนี้ เมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ดังนั้นพ่อทั้งหลายไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงลักทรัพย์ ไม่พึงประพฤติผิดในกาม ไม่พึงพูดโกหก ไม่พึงเสพสุราเมรัยและสิ่งเสพติด แล้วพ่อทั้งหลายจงเสวยราชสมบัติตามเดิมเถิด”.
  จักรแก้วนำพาพระราชาพิชิตประเทศต่างๆทางทิศตะวันออก… พระราชาของประเทศเหล่านั้นก็ออกมาสวามิภักดิ์โดยดี ทรงเป็นบริวารของพระองค์โดยทั่วแล้ว จักรแก้วก็นำเสด็จสู่ทิศใต้… พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศใต้ก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้ว
นำเสด็จสู่ทิศตะวันตก… พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศตะวันตกก็ออกมาสวามิภักดิ์ จักรแก้วนำเสด็จสู่ทิศเหนือ… พระราชาแห่งประเทศทั้งหลายทางทิศเหนือก็ออกมาสวามิภักดิ์ พระราชาทั้งหลายที่จะประชุมกองกำลังเตรียมรบหรือพยายามยกอาวุธขึ้นต่อ
กรไม่มีเลยพระราชาของประเทศทั้งหลายย่อมเข้าถึงการฝึกอบรมแล้วด้วยอานุภาพของจักรแก้ว พระองค์ก็บรรลุความเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งปฐพี โดยมีมหาสมุทรทั้งหมดเป็นขอบเขต ถึงซึ่งความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกด้วยประการฉะนี้ เมื่อจักรแก้วนำ
พิชิตทั่วพื้นปฐพีนี้แล้ว ก็นำเสด็จกลับสู่ราชธานีตั้งประดิษฐานอยู่ในประตูเมืองให้สง่างาม มหาชนทั้งหลายก็นำเครื่องสักการะบูชาอันมีดอกไม้และของหอมเป็นต้นมาสักการะบูชา กิจที่จะต้องทำด้วยการจุดคบเพลิง ด้วยการจุดตะเกียงในราชธานีไม่มี แสงสว่าง
แห่งจักรแก้วย่อมกำจัดความมือแห่งราตรี บุคคลใดต้องการแสงสว่าง แสงสว่างก็เกิดแก่บุคคลนั้น บุคคลใดต้องการความมืด ความมืดก็เกิดแก่บุคคลนั้น.
  ช้างแก้ว
  ช้างแก้วได้ปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาช้างชื่อ อุโบสะถะ ตระกูลอุโบสถ เป็นช้างเผือกขาวปลอด มีลักษณะถูกต้องตามตำราคชลักษณ์ทั้งปวง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ… ผู้เจริญ ช้างเชือกนี้ถ้าได้รับ
การฝึกหัดก็จะดี” ช้างแก้วก็เป็นช้างแสนรู้ในทันทีเหมือนช้างที่ได้รับการฝึกอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองช้างแก้วด้วยการเสด็จขึ้นคอแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยา หารเช้า.
  ม้าแก้ว
  ม้าแก้วได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพญาม้าชื่อ วลาหะกะ ตระกูลสินธพ มีสีขาวล้วน ศีรษะดำเหมือนกา มีผมเป็นพวงเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ พระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรด้วยความเลื่อมใสตรัสว่า “โอ… ผู้เจริญ ม้าตัวนี้ถ้าได้รับการฝึก
หัดก็จะดี” ม้าแก้วก็เป็นม้าแสนรู้ในทันที เหมือนม้าที่ได้รับการฝึกหัดอย่างดีมาเป็นเวลานาน ในเวลาเช้าพระองค์ทรงทดลองม้าแก้วด้วยการเสด็จขึ้นขี่หลังแล้วให้พาเที่ยวไปทั่วแผ่นดินจนสุดราชอาณาจักร เหาะไปรอบโลกแล้วกลับสู่ราชธานีทันเสวยพระกระยาหารเช้า.
  แก้วมณี
  แก้วมณีได้ปรากฏขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นแก้วไพฑูรย์น้ำงามโดยกำเนิด แปดเหลี่ยมเจียรนัยดีแล้ว กว้างยาว ๔ ศอก ลักษณะงามพร้อมทุกประการ มีแสงสุกใสแวววาว มีรัศมีส่องแสงแผ่ออกไปไกล ๑ โยชน์ ถ้าติดไว้ที่ปลายยอดธงในเวลากลางคืนที่
มืดมิด จะมีแสงสว่างดุจกลางวัน ชาวบ้านพากันประกอบการงานนึกว่าเป็นกลางวัน.
  นางแก้ว
  นางแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นสตรีรูปร่างสวยงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก เอวเล็กและบาง สะโพกผาย ทรวดทรงงามระหงอรชรได้สัดส่วน ผิวพรรณเปล่งปลั่งเกินมนุษย์ มีรัศมีสว่างไสวแผ่ไปไกล ๑๒ ศอก มีร่างกายอ่อนนุ่มเหมือนนุ่นหรือปุยฝ้าย เมื่ออากาศเย็นเนื้อตัวจะอุ่น เมื่ออากาศร้อนเนื้อตัวจะเย็น มีกลิ่นจันทร์ฟุ้งออกจากกาย กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก นางแก้วย่อมตื่นก่อนนอนทีหลังพระเจ้าจักรพรรดิ คอยรับฟังคำสั่ง คอยขับกล่อมพัดวี ประพฤติปฏิบัติเป็นที่พอพระราชหฤทัย พูดจาไพเราะอ่อนหวานด้วยคำที่น่ารัก ใจของนางไม่นอกพระหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทางกายจะประพฤติชั่วแต่ที่ไหน นางมีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสไม่บูดบึ้ง ชวนทัศนา.
  คฤหบดีแก้ว
  คฤหบดีแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นคนมีตาทิพย์ สามารถเห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของ ทั้งบนดินใต้ดิน ทั้งบนน้ำใต้น้ำ ได้ไกล ๑ โยชน์ เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ… พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วงเรื่องทรัพย์ ข้าพระองค์
จะกระทำหน้าที่จัดหาจัดการพระราชทรัพย์แก่พระองค์” พระเจ้าจักรพรรดิทรงทดลองคฤหบดีแก้ว ด้วยการเสด็จพาประทับบนเรือลอยสู่กลางแม่น้ำคงคา แล้วทรงรับสั่งคฤหบดีแก้ว “ดูก่อน… ท่านคฤหบดี ฉันต้องการเงินทอง”
  คฤหบดี “มหาราชเจ้า… ถ้ากระนั้นขอพระองค์จงทรงให้เทียบเรือที่ริมตลิ่งเถิด”
  พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี… ฉันต้องการเงินทองตรงกลางแม่น้ำนี้แหละ”
ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วก็เอามือทั้งสองจุ่มลงไปใต้น้ำ แล้วยกเอาหม้อที่เต็มไปด้วยเงินทองขึ้นมาพลางกราบทูลว่า “มหาราชเจ้า… เท่านี้พอหรือยังพระเจ้าข้า?”
  พระเจ้าจักรพรรดิ “ท่านคฤหบดี… เท่านี้พอแล้ว ทำเพียงเท่านี้เถิด เท่านี้ก็เป็นอันท่านบูชาฉันแล้ว”
  ปริณายกแก้ว
  ปริณายกแก้วปรากฏแก่พระเจ้าจักรพรรดิ เป้นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระองค์เอง เป็นบัณฑิต เป็นนักปราชญ์ มีวิชาความรู้ทุกด้าน เฉลียวฉลาดสามารถรู้ว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่น เข้มแข็ง สามารถชี้แนะ
ให้พระเจ้าจักรพรรดิเสด็จไปยังที่ๆควรไป ให้หลีกในที่ๆควรหลีก ให้ยับยั้งในที่ๆควรยับยั้ง เขากราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิว่า “ขอเดชะ… พระองค์ไม่ต้องทรงเป็นห่วง ข้าพระองค์จะทำหน้าที่จัดการปกครองและบริหารราชการแผ่นดินแทนพระองค์ พระองค์จะวางนโยบายอย่างไร ขอพระองค์จงทรงตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า” แก้วเจ็ดประการเห็นป่านนี้ปรากฏแล้วปรากฏแล้วแก่พระเจ้าจักรพรรดิ
  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้ ย่อมมีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือน จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรมเป็น พระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะ แล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้าง แก้ว ม้าแก้ว แก้วมณีนางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญมีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม โดยเสมอ มิต้องใช้ ศัสตรา มิต้องใช้อาชญา มิได้มีเสนียด ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็น ขอบเขต มิได้มีเสาเขื่อน มิได้มีนิมิต ไม่มีเสี้ยนหนาม สำเร็จ แพร่หลาย มีความเกษม สำราญ ถ้าเสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะได้เป็นพระอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคา คือ กิเลสอันเปิดแล้วในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการนั้น เป็นไฉน ซึ่งพระมหาบุรุษประกอบแล้วย่อม มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฯลฯ อนึ่ง ถ้าพระมหาบุรุษนั้น เสด็จออกผนวชเป็นบรรพชิต จะ ได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลส
อันเปิดแล้วในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษในโลกนี้
  ๑.มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี ภิกษุทั้งหลาย การที่พระมหาบุรุษ มีพระบาทประดิษฐานเป็นอันดี นี้เป็นมหาปุริสลักษณะของมหาบุรุษ ฯ
  ๒.ณ พื้นภายใต้ฝ่าพระบาท ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำ ข้างละพันมีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พื้นภายใต้ฝ่าพระบาททั้ง ๒ ของพระมหาบุรุษ มีจักรเกิดขึ้น มีซี่กำข้างละพัน มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง นี้ก็
       มหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษ ฯ
  ๓. มีส้นพระบาทยาว ฯ
  ๔. มีพระองคุลียาว ฯ
  ๕. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ฯ
  ๖. มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ฯ
  ๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ ฯ
  ๘. มีพระชงฆ์รีเรียวดุจแข้งเนื้อทราย ฯ
  ๙. เสด็จสถิตยืนอยู่มิได้น้อมลง เอาฝ่าพระหัตถ์ทั้งสองลูบคลำได้ถึง พระชาณุทั้งสอง ฯ
  ๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ฯ
  ๑๑. มีพระฉวีวรรณดุจวรรณะแห่งทองคำ คือ มีพระตจะ ประดุจหุ้ม ด้วยทอง ฯ
  ๑๒. มีพระฉวีละเอียด เพราะพระฉวีละเอียด ธุลีละอองจึงมิติดอยู่ใน พระกายได้ ฯ
  ๑๓. มีพระโลมชาติเส้นหนึ่งๆ เกิดในขุมละเส้นๆ ฯ
  ๑๔. มีพระโลมชาติมีปลายขึ้นช้อยขึ้นข้างบน มีสีเขียว มีสีเหมือนดอก อัญชัญ ขดเป็นกุณฑลทักษิณาวัฏ ฯ
  ๑๕. มีพระกายตรงเหมือนกายพรหม ฯ
  ๑๖. มีพระมังสะเต็มในที่ ๗ สถาน ฯ
  ๑๗. มีกึ่งพระกายท่อนบนเหมือนกึ่งกายท่อนหน้าของสีหะ ฯ
  ๑๘. มีระหว่างพระอังสะเต็ม ฯ
  ๑๙. มีปริมณฑลดุจไม้นิโครธ วาของพระองค์เท่ากับพระกายของพระองค์ พระกายของพระองค์ก็เท่ากับวาของพระองค์ ฯ
  ๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากัน ฯ
  ๒๑. มีปลายเส้นประสาทสำหรับนำรสอาหารอันดี ฯ
  ๒๒. มีพระหนุดุจคางราชสีห์ ฯ
  ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ ฯ
  ๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน ฯ
  ๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่าง ฯ
  ๒๖. มีพระทาฐะขาวงาม ฯ
  ๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ ฯ
  ๒๘. มีพระสุรเสียงดุจเสียงแห่งพรหม ตรัสมีสำเนียงดังนกกรวิก ฯ
  ๒๙. มีพระเนตรดำสนิท [ดำคม] ฯ
  ๓๐. มีดวงพระเนตรดุจตาแห่งโค ฯ
  ๓๑. มีพระอุณณาโลมบังเกิด ณ ระหว่างพระขนง มีสีขาวอ่อน ควร เปรียบด้วยนุ่น ฯ
  ๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้การที่พระมหาบุรุษ มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์นี้ก็เป็นมหาปุริสลักษณะของพระมหาบุรุษนั้น ฯ
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเหล่านี้แล ที่มหาบุรุษ ประกอบแล้ว
ย่อมเป็นเหตุให้มีคติเป็นสองเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น คือ ถ้าครอง เรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ฯลฯ

  อนึ่งถ้าพระมหาบุรุษนั้นออกจากเรือนทรง ผนวชเป็นบรรพชิต จะเป็นพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า มีหลังคาคือกิเลสอัน เปิดแล้วในโลก ภิกษุทั้งหลาย พวกฤาษีแม้เป็นภายนอก
ย่อมทรงจำมหาปุริส ลักษณะของพระมหาบุรุษ ๓๒ เหล่านี้ได้ แต่ฤาษีทั้งหลายนั้น ย่อมไม่ทราบว่าเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก สัตว์ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะกรรมนี้อันตนทำสั่งสมพอกพูนไพบูลย์ สัตว์ที่บำเพ็ญกุศลกรรมนั้น ย่อมครอบงำเทวดา ทั้งหลายอื่นในโลกสวรรค์ โดยสถาน ๑๐ คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุข ทิพย์ ยศทิพย์ ความเป็นอธิบดีทิพย์ รูปทิพย์เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ และโผฏฐัพพทิพย์ ครั้นจุติจากโลกสวรรค์นั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ย่อมได้เฉพาะ ซึ่งมหาปุริสลักษณะนี้ ฯ
   คำว่า “จักรพรรดิ” ที่ได้กำหนด และเลือกสืบค้น พบว่า ปรากฏในพระไตรปิฎกทั้งหมด ๒๕ เล่ม ตำแหน่งที่พบมีจำนวน ๕๙๔ แห่ง เมื่อเปิดศึกษาแล้ว ได้เลือกพระสูตรเล่มที่ ๑๑ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ซึ่งเป็นเนื้อหาในจักกวัตติสูตร พระสูตรที่ว่าด้วย จักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ หลังจากที่พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องการปฏิบัติที่ต้องยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ทำตัวเองให้เป็น ประทีปแก่ตัวเอง อย่าพึงยึดถือ พึ่งพาสิ่งอื่น ก่อนตนเอง ทรงสอนเรื่องการพิจารณาตัวเองด้วยแนวสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทรงยกเรื่องราวของพระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า ทัฬหเนมิ มาเล่าให้ภิกษุทั้งหลายฟัง ซึ่งพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นี้ ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม มีพระราชอาณาเขตกว้างขวางมีมหาสมุทร ทั้ง ๔ เป็นขอบเขต พร้อมพรั่งสมบูรณ์ ด้วยสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๗ ประการ ได้แก่

   ๑. จักรแก้ว
   ๒. ช้างแก้ว

   ๓. ม้าแก้ว

   ๔. แก้วมณี

   ๕. นางแก้ว

   ๖. ขุนคลังแก้ว

   ๗. ขุนพลแก้ว

  แต่สมบัติทั้ง ๗ ประการนี้ก็ยังไม่ยิ่งใหญ่ หรือยืนยาวเท่ากับการได้ประพฤติอยู่ใน จักรวรรดิวัตร ๑๒ ประการ ภิกษุทั้งหลายจึงพากันทูลถามว่า แล้วจักรวรรดิวัตร นั้นเป็นอย่างไร ?  ควรประพฤติอย่างไร ?
พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยสรุปเป็นใจความว่า จักรวรรดิวัตรทั้ง ๑๒ ข้อนั้น มีดังนี้ คือ:-
   ๑. คุ้มครองสงเคราะห์แก่ ชนในพระราชฐานและพยุหเสนา
   ๒. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่กษัตริย์เมืองขึ้นหรือผู้ครองนครภายใต้พระบรมเดชานุภาพ
   ๓. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่กษัตริย์ที่ตามเสด็จคือเหล่าเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นข้าราชบริพาร
   ๔. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย
   ๕. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่ชาวนิคมและชาวชนบทคือราษฎรพื้นเมืองทั้งหลาย
   ๖. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่เหล่าสมณพราหมณ์
   ๗. คุ้มครองสงเคราะห์ แก่เหล่าเนื้อนกอันพึงบำรุงไว้ให้มีสืบพันธุ์
   ๘. ห้ามปรามมิให้มีความประพฤติการอันไม่เป็นธรรม
   ๙. เจือจานทรัพย์ทำนุบำรุงแก่ผู้ขัดสนไร้ทรัพย์
   ๑๐.เข้าไปไต่ถามสนทนาอรรถปริศนากับสมณพราหมณ์
   ๑๑.เว้นความกำหนัดในกามโดยอาการไม่เป็นธรรม
   ๑๒.เว้นโลภกล้า ไม่เลือกควรไม่ควร
  พุทธพจน์ที่ทรงกล่าวถึงเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าจักรพรรดิ
  [๔๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแลประพฤติสุจริตทางกาย ทางวาจา ทางใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสุคติซึ่งเขาพูดหมายถึงสวรรค์นั้นแลโดยชอบ พึงกล่าวได้ว่า เป็นสถานที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ส่วนเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพียงเท่านี้แม้จะเปรียบอุปมาจนถึงสวรรค์เป็นสุข ก็ไม่ใช่ง่ายนัก ฯ
  [๔๘๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสแล้วอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาจเปรียบอุปมาได้หรือไม่ พระผู้ มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ อาจเปรียบได้ แล้วตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความ สัมฤทธิผล ๔ อย่างจึงเสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ พระเจ้า- จักรพรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการเป็นไฉน ฯ
  [๔๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชามหากษัตริย์ในโลกนี้ผู้ทรงได้มุรธาภิเษก แล้ว ทรงสรงสนานพระเศียรทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวันนั้นเป็น วันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพมีกำตั้งพัน พร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ครั้นทอดพระเนตร แล้วได้มีพระราชดำริดังนี้ว่า ก็เราได้สดับมา
ดังนี้แล พระราชาพระองค์ใด ผู้ทรง ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงสรงสนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถในดิถีที่ ๑๕ ซึ่งวัน นั้นเป็นวันอุโบสถ เมื่อประทับอยู่ในพระมหาปราสาทชั้นบน ย่อมปรากฏจักรแก้วทิพ มีกำตั้งพันพร้อมด้วยกงและดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พระราชานั้นย่อมเป็น พระเจ้าจักรพรรดิ เราเป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือหนอ ฯ
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อนั้น พระองค์เสด็จลุกจากราชอาสน์ ทรงจับพระเต้าน้ำ ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหลั่งรดจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา รับสั่งว่า จงพัดผันไปเถิด จักรแก้วผู้เจริญ จักรแก้วผู้เจริญจงพิชิตให้ยิ่งเถิด ลำดับนั้นจักรแก้วนั้นก็พัดผันไป ทางทิศตะวันออก พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จตามไป จักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศ นั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออก เข้า มาเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จ มาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จง สั่งการเถิด พระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควร ลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดา พระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศตะวันออกเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้า จักรพรรดิ ต่อนั้น จักรแก้วนั้นได้พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันออก แล้วกลับขึ้น พัดผันไปทิศใต้ ฯลฯ พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศใต้แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศ- ตะวันตก ฯลฯ  พัดผันไปจดสมุทรด้านทิศตะวันตก แล้วกลับขึ้นพัดผันไปทิศเหนือ พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จตามไป จักรแก้วประดิษฐาน อยู่ ณ ประเทศใด พระเจ้าจักรพรรดิก็เสด็จเข้าประทับ ณ ประเทศนั้น พร้อม ด้วยจตุรงคินีเสนา บรรดาพระราชาที่เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเข้ามาเฝ้าพระเจ้า จักรพรรดิ แล้วทูลอย่างนี้ว่า เชิญเสด็จเถิด มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราช ข้าแต่มหาราช แผ่นดินนี้เป็นของพระองค์ ขอพระองค์จงสั่งการเถิดพระเจ้าจักรพรรดิรับสั่งอย่างนี้ว่า ท่านทุกคนไม่ควรฆ่าสัตว์ ไม่ควรลักทรัพย์ที่ เจ้าของมิได้ให้ ไม่ควรประพฤติผิดในกาม ไม่ควรพูดเท็จ ไม่ควรดื่มน้ำเมา และ ท่านทั้งหลายจงครอบครองบ้านเมืองกันตามสภาพที่เป็นจริงเถิด บรรดาพระราชาที่ เป็นปฏิปักษ์ในทิศเหนือเหล่านั้นแล ได้กลายเป็นผู้สนับสนุนพระเจ้าจักรพรรดิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแลจักรแก้วนั้นพิชิตยิ่งตลอดแผ่นดินมีสมุทรเป็น ขอบเขต แล้วกลับมาสู่ราชธานีเดิม ประดิษฐานอยู่เป็นเสมือนลิ่มสลักพระทวาร ภายในพระราชวังของพระเจ้าจักรพรรดิ ทำให้งดงามอย่างมั่นคงอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ย่อมปรากฏจักรแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ
  [๔๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏช้างแก้ว เป็นช้างหลวงชื่ออุโบสถเผือกทั่วสรรพางค์กาย มีที่ตั้งอวัยวะ ทั้งเจ็ดถูกต้องดี มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้วย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า จะเป็นยานช้างที่เจริญหนอ พ่อมหาจำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้นช้างแก้วนั้นจึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนช้างอาชาไนย ตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีเป็นเวลานาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้า จักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองช้างแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จเวียน รอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระ- ยาหารเช้าได้ทันเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏช้างแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้า จักรพรรดิ ฯ
  [๔๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏม้าแก้ว เป็นอัสวราชชื่อวลาหกขาวปลอด ศีรษะดำเหมือนกา เส้นผม สลวยเหมือนหญ้าปล้อง มีฤทธิ์เหาะได้ ครั้นพระเจ้าจักรพรรดิทอดพระเนตรเห็นแล้ว ย่อมมีพระราชหฤทัยโปรดปรานว่า จะเป็นยานม้าที่เจริญหนอ พ่อมหา- จำเริญ ถ้าสำเร็จการฝึกหัด ต่อนั้นม้าแก้วนั้นจึงสำเร็จการฝึกหัดเหมือนม้า อาชาไนยตัวเจริญ ที่ฝึกปรือดีแล้วเป็นเวลานาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองม้าแก้วนั้น จึงเสด็จขึ้นทรงในเวลาเช้า เสด็จ เวียนรอบปฐพีมีสมุทรเป็นขอบเขต เสด็จกลับมาราชธานีเดิม ทรงเสวยพระกระ- ยาหารเช้าได้ทันเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏม้าแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้า จักรพรรดิ ฯ
  [๔๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏมณีแก้ว เป็นแก้วไพฑูรย์ งามโชติช่วง แปดเหลี่ยม อันเจียระไนไว้ อย่างดี มีแสงสว่างแผ่ไปโยชน์หนึ่งโดยรอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองมณีแก้วนั้น จึงสั่งให้จตุรงคินีเสนา ยกมณีขึ้นเป็นยอดธง แล้วให้เคลื่อนพลไปในความมืดทึบของราตรี ชาวบ้าน ที่อยู่รอบๆ พากันประกอบการงานด้วยแสงสว่างนั้น สำคัญว่าเป็นกลางวัน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏมณีแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ
  [๔๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏนางแก้วรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณ อย่างยิ่ง ไม่สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนักล่วงผิว
พรรณของมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงผิวพรรณทิพ มีสัมผัสทางกายปานประหนึ่ง สัมผัสปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย นางแก้วนั้นมีตัวอุ่นในคราวหนาว มีตัวเย็นในคราวร้อน มีกลิ่นดังกลิ่นจันทรฟุ้งไปแต่กาย มีกลิ่นดังกลิ่นอุบลฟุ้งไปแต่ปาก นางแก้วนั้นมีปรกติตื่นก่อนนอนทีหลัง คอยฟังบรรหารใช้ ประพฤติถูกพระทัย ทูลปราศรัย เป็นที่โปรดปรานต่อพระเจ้าจักรพรรดิ
และไม่ประพฤติล่วงพระเจ้าจักรพรรดิแม้ ทางใจ ไฉนเล่า จะมีประพฤติล่วงทางกายได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏนางแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ
  [๔๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏคฤหบดีแก้ว ผู้มีจักษุเพียงดังทิพเกิดแต่วิบากของกรรมปรากฏ ซึ่งเป็นเหตุ ให้มองเห็นทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของ ทั้งที่ไม่มีเจ้าของได้ เขาเข้าเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ พระองค์จงทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักทำหน้าที่การคลังให้
พระองค์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อจะทรงทดลองคฤหบดีแก้วนั้น จึงเสด็จลงเรือพระที่นั่งให้ ลอยล่องกระแสน้ำกลางแม่น้ำคงคา แล้วรับสั่งกะคฤหบดีแก้วดังนี้ว่า ดูกรคฤหบดี ฉันต้องการเงินและทอง
คฤหบดีแก้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าเช่นนั้น โปรดเทียบเรือเข้าฝั่งข้างหนึ่งเถิด พระเจ้าจักรพรรดิตรัสว่า ดูกรคฤหบดี ฉันต้อง การเงินและทองตรงนี้แหละ ทันใดนั้น คฤหบดีแก้วจึงเอามือทั้ง ๒ หย่อนลง ในน้ำ ยกหม้อเต็มด้วยเงินและทองขึ้นมา แล้วกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิดังนี้ว่า ข้าแต่มหาราช พอหรือยังเพียงเท่านี้ ใช้ได้หรือยังเพียงเท่านี้ บูชาได้หรือยัง เพียงเท่านี้ พระเจ้าจักรพรรดิจึงรับสั่งอย่างนี้ว่า ดูกรคฤหบดี พอละ ใช้ได้แล้ว บูชาได้แล้วเพียงเท่านี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏคฤหบดีแก้วเห็นปานนี้ แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ
  [๔๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ปรากฏปริณายกแก้ว ปริณายกนั้นเป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา สามารถถวาย ข้อแนะนำให้พระองค์ทรงบำรุงผู้ที่ควรบำรุง ทรงถอดถอนผู้ที่ควรถอดถอน ทรง แต่งตั้งผู้ที่ควรแต่งตั้ง เขาเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอ เดชะขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ข้าพระองค์จักสั่งการถวาย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ย่อมปรากฏปริณายกแก้วเห็นปานนี้แก่พระเจ้าจักรพรรดิ ฯ
  ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการ นี้ พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างเป็นไฉน ฯ
  [๔๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ย่อมทรงพระสิริ โฉมงดงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งพระฉวีวรรณอย่างยิ่ง เกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อแรกดังนี้ ฯ
  [๔๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ทรงพระชนมายุยืน ทรงดำรงอยู่นานเกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้า จักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๒ ดังนี้ ฯ
  [๔๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม เป็นผู้มีพระโรคาพาธน้อย ไม่ทรงลำบากทรงประกอบด้วยพระเตโชธาตุย่อย พระกระยาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เกินมนุษย์อื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผลข้อที่ ๓ ดังนี้ ฯ
  [๕๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ประการอื่นยังมีอีก พระเจ้าจักรพรรดิย่อม ทรงเป็นที่รักใคร่ พอใจ ของพราหมณ์และคฤหบดีเหมือนบิดาเป็นที่รักใคร่พอใจ ของบุตรฉะนั้น พราหมณ์และคฤหบดีก็เป็นที่ทรงโปรดปราน พอพระราชหฤทัยของพระเจ้าจักรพรรดิเหมือนบุตรเป็นที่รักใคร่พอใจของบิดาฉะนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาออก ประพาสพระราชอุทยาน ทันทีนั้น พราหมณ์และคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ขอพระองค์อย่ารีบด่วน โปรดเสด็จโดยอาการที่ พวกข้าพระองค์ได้ชมพระบารมีนานๆ เถิด แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงสั่งสารถีว่า ดูกรสารถี ท่านอย่ารีบด่วน จงขับไปโดยอาการที่ฉันได้ชมบรรดาพราหมณ์และ คฤหบดีนานๆ เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความ สัมฤทธิผลข้อที่ ๔ ดังนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยความสัมฤทธิผล ๔ อย่างนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระเจ้าจักร- พรรดิทรงประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่างดังนี้ พึง เสวยสุขโสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุบ้างไหมหนอ ฯ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าจักรพรรดิทรง ประกอบด้วยแก้วแม้ประการหนึ่งๆก็ทรงเสวยสุขโสมนัสอันมีแก้วประการนั้น เป็นเหตุได้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงแก้วทั้ง ๗ ประการ และความสัมฤทธิผล ทั้ง ๔ อย่าง ฯ
  [๕๐๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงหยิบแผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่า ฝ่ามือ แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความ ข้อนั้นเป็นไฉน แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่เราถือนี้กับภูเขาหลวงหิมพานต์ อย่างไหนหนอแลใหญ่กว่ากัน ฯ
  ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นหินย่อมๆ ขนาดเท่าฝ่ามือที่ทรงถือนี้มี ประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบภูเขาหลวงหิมพานต์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้ความนับ ย่อมไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ
  พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล พระเจ้าจักรพรรดินี้ ทรง ประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการและความสัมฤทธิผล ๔ อย่าง ย่อมทรงเสวยสุข โสมนัสอันมีสิ่งประกอบนั้นเป็นเหตุได้ สุขโสมนัสนั้นเปรียบเทียบสุขอันเป็น ทิพย์แล้ว ย่อมไม่ถึงแม้การนับย่อมไม่เข้าถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ย่อมไม่ถึงแม้การเทียบกันได้ ฯ
  [๕๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตนั้นนั่นแล ถ้ามาสู่ความเป็นมนุษย์ ในบางครั้งบางคราวไม่ว่ากาลไหนๆโดยล่วงระยะกาลนาน ก็ย่อมเกิดในสกุล สูง คือ สกุลกษัตริย์มหาศาล หรือสกุลพราหมณ์มหาศาล หรือสกุลคฤหบดี มหาศาล เห็นปานนั้นในบั้นปลาย อันเป็นสกุลมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจและทรัพย์ธัญญาหารอย่างเพียงพอ และเขา จะเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความงามแห่งผิวพรรณอย่างยิ่ง มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ อาศัย และเครื่องตามประทีปเขาจะประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ครั้นแล้วเมื่อตายไปจะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ
  [๕๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนนักเลงการพนัน เพราะฉวยเอา ชัยชนะได้ประการแรกเท่านั้น จึงบรรลุโภคสมบัติมากมาย การฉวยเอาชัยชนะ ของนักเลงการพนันที่บรรลุโภคสมบัติมากมายได้นั้นแล เพียงเล็กน้อย ที่แท้แลการฉวยเอาชัยชนะใหญ่หลวงกว่านั้น คือ การฉวยเอาชัยชนะที่บัณฑิตนั้น ประ- พฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต แล้วตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นั่นเอง ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้ภูมิของบัณฑิตครบถ้วนบริบูรณ์ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
  เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิไม่อุบัติร่วมกัน(เมื่ออุบัติขึ้นก็อุบัติขึ้นทีละองค์ไม่ซ้อนกัน)
บทว่า เอกิสฺสา โลกธาตุยา ได้แก่ ในจักรวาลเดียว ก็หมื่นจักรวาลแม้จะถือเอาด้วยบทนี้ในตอนต้น ก็ควรที่จะกำหนดเอาจักรวาลเดียวเท่านั้น เพราะว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเมื่อจะอุบัติขึ้นย่อมอุบัติขึ้นในจักรวาลนี้เท่านั้น ก็เมื่อห้ามสถานที่ที่เสด็จอุบัติย่อมเป็นอันห้ามเด็ดขาดว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่เสด็จอุบัติในจักรวาลอื่นนอกจากจักรวาลนี้.
  ในบทว่า อปุพฺพํ อจริมํ นี้ มีความหมายว่า ไม่ก่อน (คือ) ไม่ก่อนแต่ความปรากฏขึ้นแห่งจักรรัตนะ ไม่หลัง (คือ) ไม่หลังจากจักรรัตนะนั้นอันตรธาน ในข้อที่ว่าไม่ก่อน ไม่หลังนั้น จักรรัตนะย่อมอันตรธานไปโดยส่วน ๒ คือ โดยพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จสวรรคต หรือโดยเสด็จออกทรงผนวช ก็แหละจักรรัตนะนั้น เมื่อจะอันตรธาน ย่อมอันตรธานไปในวันที่ ๗ แต่การเสด็จสวรรคต หรือแต่การเสด็จออกทรงผนวช ต่อแต่นั้นไม่ห้ามการปรากฏขึ้นแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ
  ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์จึงไม่ทรงอุบัติขึ้นในจักรวาลเดียวกัน.
  ตอบว่า เพราะจะตัดการวิวาท เพราะจะให้เป็นความอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก.
   ก็เมื่อ พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ องค์ อุบัติขึ้น การวิวาทก็จะพึงเกิดขึ้นว่า พระราชาของพวกเราใหญ่ พระราชาของพวกเราก็ใหญ่. ในทวีปหนึ่งมี พระเจ้าจักรพรรดิ (อีก) ทวีปหนึ่งก็มี พระเจ้าจักรพรรดิ ดังนั้นจะพึงไม่เป็นของอัศจรรย์ และอานุภาพอันยิ่งใหญ่ของจักรรัตนะอันสามารถมอบให้ซึ่งความเป็นใหญ่ในทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวารก็จะหมดคุณค่า พระเจ้าจักรพรรดิ ๒ พระองค์ ก็ย่อมไม่อุบัติขึ้นในจักร-วาลเดียวกัน ก็เพราะจะตัดการวิวาทกัน เพราะไม่เป็นความอัศจรรย์ และเพราะจักรรัตนะมีอานุภาพมาก ด้วยประการดังนี้. 

   พระพุทธเจ้าทรงปราบทิฏฐิมานะของพระเจ้ามหาชมพูบดี

   ในสมัยพุทธกาล มีพระมหากษัตริย์ผู้เรืองอำนาจพระองค์หนึ่ง ซึ่งปกครองเมืองปัญจาลราษฐ พระนามว่า “พญาชมพูบดี” กล่าวกันว่า ขุมทองคำเกิดพร้อม ๆ กับการประสูติของพญาชมพูบดี ขุมทองในที่ต่างๆ ก็ผุดขึ้นมากมายอันแสดงถึงบุญญาธิการของพระองค์ ประชาชนในเมืองนี้จึงมีฐานะความเป็นอยู่ที่มั่งคั่งสมบูรณ์ พญาชมพูบดี

   พระองค์ทรงมีอาวุธวิเศษ ๒ อย่าง คือ:-

    ๑.ฉลองพระบาทแก้ว ซึ่งเมื่อสวมเข้าไปแล้วก็จะพาพระองค์เหาะไปในที่ต่างๆ ได้ ทั้งยังใช้อธิษฐานแปลงเป็นนาคราชเข้าประหัตประหารศัตรูได้อีกด้วย

    ๒.อาวุธวิเศษอย่างที่สอง คือ วิษศร ซึ่งเป็นศรวิเศษใช้ต่างราชทูต หากกษัตริย์เมืองใดไม่มาอ่อนน้อมขึ้นต่อพระองค์ วิษศรนี้ก็จะไปร้อยพระกรรณพาตัวเข้าเฝ้าพระองค์จนได้ ทำให้กษัตริย์ทั้งหลายพากันยำเกรงในพระเดชานุภาพแห่งพญาชมพูบดี ด้วยอาวุธคู่พระวรกาย

   พญาชมพูบดีได้ขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง กระทั้งถึงกรุงราชคฤห์ของพระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นอุบาสกแห่งสมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า พญาชมพูบดีส่งอาวุธวิเศษของพระองค์ ไปทำอันตรายต่อพระเจ้าพิมพิสาร แต่ไม่อาจทำอันตรายแก่พระเจ้าพิมพิสารได้ ด้วยอาศัยพระพุทธานุภาพ ทำให้พญาชมพูบดีแค้นพระทัยมาก แม้ส่งอาวุธวิเศษอย่างใดไป ก็พ่ายแพ้แก่พระพุทธานุภาพแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นว่า พญาชมพูบดีประสบความพ่ายแพ้ และมีทิฏฐิมานะเบาบางลง ประกอบด้วยกับทรงเล็งเห็นวาสนาปัญญาของพญาชมพูบดีว่าสามารถสำเร็จมรรคผลได้ จึงมีพุทธฎีกาตรัสใช้ให้พระอินทร์แปลงเป็นราชทูตพาพญาชมพูบดี มาเข้าเฝ้า

       ส่วนพระองค์ทรงเนรมิตองค์เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงมงกุฎ พร้อมเครื่องราชาภรณ์ ล้วนแล้วแต่งดงามยิ่งนัก ส่วนพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระเจ้า พร้อมด้วยเหล่าภิกษุสงฆ์สาวก ก็เนรมิตกายเป็นเสนาอำมาตย์ใหญ่น้อย ล้วนแล้วแต่น่าเกรงขาม ทั้งเนรมิตเวฬุวัน (ป่าไผ่) ให้เป็นพระนครใหญ่ประกอบด้วยกำแพงถึง 7 ชั้น และมีพุทธฎีกาตรัสสั่งให้เทวดา พรหม ทั้งหลายร่วมเนรมิตเป็นตลาดน้ำ ตลาดบก เมื่อพระอินทร์ซึ่งเนรมิตกายเป็นราชทูต ไปถึงเมืองปัญจาลราษฐ เห็นพญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ยังถือดี จึงแสดงฤทธานุภาพเป็นที่ประจักษ์ พญาชมพูบดีไม่อาจแข็งขืนจำยอม ต้องยกพลเดินทัพเพื่อเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้า เมื่อพญาชมพูบดี เดินทางเข้าเขตพระนคร ก็ตกตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการแห่งพระนครที่พระพุทธองค์ทรงเนรมิต แม้แต่เหล่าแม่ค้าริมทาง ก็ยังงดงามกว่าพระอัครมเหสีของพญาชมพู จนชวนให้รู้สึกขวยเขินก้าวเดินไม่ตรงทาง และเมื่อผ่านทางยังกำแพงพระนครแต่ละชั้น ทอดพระเนตรเห็นเหล่าเสนาอำมาตย์ที่รักษาพระนคร พระทัยก็ประหวั่นพรั่นกลัวพระเสโทไหลโทรมทั่วพระสกลกาย ถึงกำแพงชั้นในซึ่งเป็นแก้ว ก็ทำท่าจูงกระเบนเหน็บรั้ง ด้วยเข้าพระทัยผิดคิดว่ามีเสียงนางในร้องเย้ยเยาะว่ากษัตริย์ บ้านนอก กระทำเชยๆ พญาชมพูบดีก็รู้สึกได้รับความอัปยศอย่างยิ่ง เมื่อพญาชมพูบดีมาถึงต่อหน้าพระพักตร์แห่งพระบรมศาสดา ซึ่งเนรมิตกายเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่หมดทิฏฐิมานะ พระพุทธองค์ทรงเชื้อเชิญให้แสดงฤทธิ์เดชอำนาจและของวิเศษทุกสิ่งทุกอย่างออกมา เมื่อพญาชมพูบดีทรงแสดงแล้ว ก็ต้องได้รับความอัปยศยิ่งขึ้นไปอีก ด้วยไม่อาจทำอันตรายพระพุทธองค์ได้เลยแม้แต่น้อย
   เมื่อพระพุทธองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าพญาชมพูบดีคลายทิฏฐิมานะลงมากแล้ว จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพญาชมพูบดี และเหล่าเสนาอำมาตย์ที่ติดตามมาด้วยจำนวนมากมายให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระและมิใช่สาระ ให้เห็นโทษแห่งการเวียนเกิด เวียนตาย ในวัฏสงสาร ทั้งให้เห็นคุณแห่งพระนิพพาน พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ต่างรู้สึกปีติ โสมนัส จึงปลดมงกุฎและเครื่องประดับของตนวางแทบพระบาทแห่งองค์พระสัมพัญญูบรมศาสนา เพื่อสักการะด้วยความรู้สึกเทิดทูน จากนั้นจึงทูลขออุปสมบทต่อพระพุทธองค์ จากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสมพุทธเจ้าบรมครู พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สาวก เทวดา พรหม ก็คล้ายฤทธานุภาพกลับสู่สภาพเดิม (เป็นป่าไผ่และสภาพทั้งหลายตามความเป็นจริง) สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานอุปสมบถแก่พญาชมพูบดี พร้อมด้วย
เสนาอำมาตย์ และทรงแสดงพระธรรมเทศนาให้คลายความลุ่มหลงในเบญจขันธ์ มีรูป เป็นต้นว่า อุปมาดั่งพยับแดด หาสาระตัวตนที่เที่ยงแท้อันใดมิได้ และแสดงเทศนาต่างๆ เป็นอเนกปริยาย พญาชมพูบดีและเหล่าเสนาอำมาตย์ ก็ดื่มดำในพระอมตธรรมสลัด
เสียซึ่ง ตัณหา อุปาทาน จิตของท่านก็เข้าอรหันตผล สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลในพระบวรพุทธศาสนา
  พระเจ้าสังขจักรบรมพรรดิราช
  พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็นเทวบุตรนามว่า นะฬะการเทพบุตร เสวยทิพยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์เป็นเวลาช้านาน ในกาลสมัยแห่ง สมเด็จพระสิริมัตตะพุทธเจ้านั้น นฬการเทพบุตร ได้จุติจากฉกามาพจรสวรรค์มาบังเกิดเป็น พระเจ้าสังขจักรพรรดิราช ครองอินทปัตนคร ทรงถึงพร้อมด้วย แก้ว ๗ ประการ และมหาปราสาท ๗ ชั้น พระเจ้าสังขจักรพรรดิราชซึ่งเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูร ได้ทรงตั้งสัจจาธิษฐานว่า “ เราจักมอบราชสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์แก่ผู้ที่แจ้งข่าว พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ แก่เรา แล้วจักไปสู่สำนักพุทธเจ้า “
  ในกาลนั้น สามเณรในพระศาสนาของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสิริมัตตะ ได้เดินทางผ่านมาพระนคร ชาวเมืองเห็นเข้าด้วยไม่รู้จึงนึกว่าเป็นยักษ์ จึงหมายจะเข้าไปทำร้ายสามเณร ด้วยความสะดุ้งกลัวอันตรายสามเณรจึงวิ่งไปสู่พระบรมราชวังแห่งพระเจ้า
จักรพรรดิ์ พระเจ้าสังขจักรบรมโพธิสัตว์ ได้ตรัสถามความเป็นมาของสามเณร จึงทรงทราบว่าขณะนี้ ได้มีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “สิริมัตตะ” บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว จึงตรัสถามสามเณรว่า “ ข้าแต่สามเณรผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด”
สามเณรกล่าวตอบว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในบุพพารามไกล ๑๖ โยชน์ ทางทิศอุดรจากมหานครนี้”
  ด้วยสัจจาธิษฐานที่ทรงตั้งไว้ จึงสละจักรพรรดิ์สมบัติอันประเสริฐแก่สามเณร และทรงผินพระพักตร์ไปสู่ทิศอุดรเสด็จไปสู่ที่ประทับของพระพุทธเจ้า ด้วยทรงเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ เสด็จพระราชดำเนินด้วยการก้าวย่างพระบาทเพียงวันเดียว พระบาททั้ง ๒ ก็แตก
พระโลหิตไหลออกจากฝ่าพระบาททั้ง ๒ เมื่อพระบาททั้ง ๒ แตกแล้ว พระบรมโพธิสัตว์จึงเสด็จคลานด้วยพระชงฆ์ทั้ง ๒ กับทั้งพระหัตถ์ทั้ง ๒ เป็นเวลา ๓ วัน ในวันที่ ๔ พระโลหิตจึงไหลออกจากพระหัตถ์ และพระชงฆ์ทั้ง ๒ ข้างในกาลนั้น พระบรมโพธิสัตว์ ทรงตัดสินใจว่าจะดำเนินไปด้วยพระอุระ ครั้นแล้วพระบรมโพธิสัตว์จึงทรงกระเถิบไปด้วยพระอุระ
ด้วยมุ่งหมายเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสำคัญ จึงทรงอดกลั้นความลำบากได้
   ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเล็งข่ายพระพุทธญาณตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นกำลังพระวิริยะบารมีของพระบรมโพธิสัตว์ จึงทรงใช้อำนาจพระพุทธบารมีแปลงเพศเป็นคน เนรมิตรถแล้ว เสด็จไปประทับอยู่ตรงหน้าพระพักตร์ของพระเจ้าสังขจักรพรรดิ์
บรมโพธิสัตว์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ ดูก่อนท่านผู้เจริญ จงหลีกทาง เราจักขับรถไป “
   พระบรมโพธิสัตว์เมื่อทรงสดับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงตรัสว่า
“ ดูก่อนนายสารถีผู้เจริญ เมื่อเราเดินทางไปด้วยหน้าที่ที่ต้องทำ ทำไมจึงต้องถอยหลีก เรายึดถือพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ยึดถือพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ขอท่านจงบังคับรถของท่านให้วิ่งทับร่างของเราไปได้ เราจะไม่ยอมหลีกทางให้ท่าน “
  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ดูก่อนมาณพผู้เจริญ ถ้าท่านจะไปสู่สำนักพระพุทธเจ้าแล้วไซร้ ขอจงขึ้นรถเถิด เราจักนำไปสู่สำนักพระพุทธเจ้า “
   ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จถึงสำนักบุพพารามแล้วจึงทรงแปลงพระวรกายจากเพศคน แล้วประทับนั่งพุทธอาสน์เมื่อพระบรมโพธิสัตว์แล้ว ทอดพระเนตรแสงพระพุทธฉัพพรรณรังสีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นถึงกับสลบไป
เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงฟื้นแล้ว เสด็จเข้าไปใกล้พระบรมศาสดา ทรงประคองอัญชลีได้กราบทูลขอฟังธรรมอันสูงสุดจากพระผู้มีพระภาคเจ้า
   เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมบทหนึ่งแล้ว พระราชาทูลขอร้องให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพักการแสดงธรรมไว้ก่อน เหตุเพราะเกรงว่า ถ้าพระพุทธเจ้าแสดงธรรมมากแล้วไซร้ จะไม่มีไทยธรรมที่ควรแก่การบูชาพระธรรม พระบรมโพธิสัตว์ กราบทูลต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ทรงแสดงพระนิพพานอันเป็นธรรมเอก เป็นธรรมที่สุดในสรรพธรรม แม้ข้าพระองค์ตัดศีรษะอันเป็นอวัยวะสูงสุดในอวัยวะทั้งปวงของข้าพระองค์ บูชาพระธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน “ ครั้นตรัสแล้ว จึงทรงใช้พระนขะ(เล็บ)ตัดพระเศียร ทรงวางพระเศียรไว้บนฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสว่า
“ ข้าแต่พระสิริมัตตะพุทธเจ้า ขอพระองค์ทรงบรรลุอมตธรรมก่อนเถิด ด้วยการถวายศีรษะนี้ ข้าพระองค์ขอบรรลุนิพพาน ในภายหลัง “ ดังนี้ฯ
   พระเจ้าจักรพรรดิ คือ มนุษย์ผู้มีบุญ เพราะได้ทำบุญมาดีแล้วแต่ชาติก่อน ด้วยการให้ทาน รักษาศีล ๕ และศีล ๘ หรือได้บำรุงบำเรอพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอะระหันต์ พระภิกษุสงฆ์ ได้บำรุงพระพุทธศาสนา ได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนา
หรือได้ทำประโยชน์แก่สาธารณะชนด้วยกำลังศรัทธาที่แรงกล้า. พระเจ้าจักรพรรดิ เป็นพระราชาโดยธรรมะ ไม่ต้องแย่งชิงอำนาจจากใครด้วยอุบายหรือการทำสงคราม ทรงชนะแล้ว มีอาณาจักรที่มั่นคง ทรงมีพระราชอำนาจสิทธิ์ขาดในโลกแต่ผู้เดียว ทรงมีพระปัญญาอันประเสริฐ ฉลาดรอบรู้ในสรรพวิชาการ ทรงบำรุงพัฒนาบ้านเมืองจนเจริญสูงสุด พระองค์มีแก้ว ๗ ประการ มีพระราชบุตรมากกว่าพันล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีระกษัตริย์ สามารถย่ำยีกองกำลังของข้าศึกได้ไม่ยาก ด้วยอานุภาพบุญฤทธิ์ของพระองค์ และอานุภาพแห่งแก้ว ๗ ประการ ทำให้พระองค์ทรงบริหารและปกครองราษฎรโดยไม่ต้องใช้ศาสตรา ไม่ต้องใช้อาวุธหรือเครื่องมือประหัตประหารใดๆ ไม่ต้องลงโทษ ไม่ต้องลงอาชญา.
  สมัยใดโลกมีพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา สมัยใดโลกว่างเปล่าจากจากพระพุทธศาสนาและพระปัจเจกพุทธเจ้า สมัยนั้นได้ชื่อว่าโลกมืด โลกจะแบ่งแยกเป็นประเทศเล็กประเทศน้อยอย่างมากมาย มีเชื้อชาติมากมาย ภาษามากมาย
ขนบธรรมเนียมประเพณีมากมาย มีลัทธิศาสนาอันไม่ได้ช่วยให้พ้นทุกข์ได้มากมาย แล้วมวลมนุษย์ในโลกก็เกิดความขัดแย้งกันทะเลาะไม่สามัคคีกัน ด่ากัน แล้วลงท้ายด้วยการจับก้อนดินบ้าง ท่อนไม้บ้าง อาวุธอันมีคมบ้าง ประหัตประหารกัน รบกัน ทำสงคราม
กัน แล้วเกิดการจองเวรด้วยการลอบทำร้ายกัน ลอบสังหารกันและก่อวินาศกรรม กลายเป็นลัทธิก่อการร้ายล้างผลาญกันไป ล้างผลาญกันมาไม่จบสิ้น พระองค์ทรงเห็นโทษเห็นความลามกของความแตกแยกและความแตกต่าง พระองค์จึงทรงรวบรวมมนุษย์ทุก
ชาติทุกเผ่าพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้มนุษย์โลกมีเพียงชาติเดียว เผ่าพันธุ์เดียว ภาษาเดียว ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียว ใช้สกุลเงินเดียว แล้วพระองค์ทรงสอนศีล ๕ แก่มวลมนุษย์ในโลก เป็นหลักคำสอนเดียวศาสนาเดียว ดังนั้นมนุษย์ในยุคนั้น
จึงมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นพระประมุขของชาวโลก และเป็นศาสดาของชาวโลก.
เมื่อประมุขของโลกและมนุษย์โลกต่างมีศีล ๕ มีธรรมะอันงาม ไม่มีแหล่งอบายมุขใดๆในแผ่นดิน ไม่แตกแยกไม่ขัดแย้งกันดังนี้
  มวลมนุษย์ย่อมเห็นความสุขความเจริญในปัจจุบัน เหล่าเทวดาทั้งหลายย่อมปลื้มปีติยินดี ร่าเริงบันเทิงใจ ฝนฟ้าก็ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารก็อุดมสมบูรณ์ มนุษย์ทั้งหลายก็มีสุขภาพจิตสุขภาพกายดี อายุยืน จำนวนมนุษย์ก็มากขึ้นแต่ไม่ขาดแคลน มวลมนุษย์ทั้งปวงต่างมองหน้ากันด้วยแววตาแห่งความรักความเมตตา เมื่อนั้นได้ชื่อว่าพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ประทานแสงสว่างให้แก่โลก ประทานความร่มเย็นให้แก่โลก.
  ฤทธิ์ ๔ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ
 ๑. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปงาม น่าดู น่าชม น่าเลื่อมใส ทรงมีพระฉวีวรรณผ่องใสยิ่งกว่ามนุษย์ทั่วไป
 ๒.พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระชนมายุยืนนานกว่ามนุษย์ทั่วไป

 ๓. พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีอาพาธน้อย มีพระโรคน้อยกว่ามนุษย์ทั่วไป
 ๔.พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นที่รักที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลายก็เป็นที่รักที่ชอบใจของพระเจ้าจักรพรรดิดุจบุตรเป็นที่รักที่ชอบใจของบิดาทีเดียว เมื่อถึงคราวพระเจ้าจักรพรรดิเสด็จเลียบพระนครออกเยี่ยมราษฎร ราษฎรทั้งหลายไปเฝ้า พระองค์พลางกราบทูลว่า “ขอเดชะ… ขอพระองค์อย่าด่วนเสด็จไป พวกข้าพระองค์จะได้เฝ้าพระองค์นานๆ”แม้พระเจ้าจักรพรรดิก็ทรงตรัสกับนายสารถีว่า “นายสารถี เธออย่าด่วนขับรถไป เราจะได้เห็นราษฎรนานๆ” 

      ตัวอย่างของพระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๓ ประเภท

  ๑.พระเจ้าจักรพรรดิ  คือจักรพรรดิที่บำเพ็ญบุญบารีมาน้อยและมีอานุภาพน้อย     เช่น:-

      -พระเจ้าทัลหเนมิ จุลจักรพรรดิ

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ นครมาตุลา แคว้นมคธ ตรัสสอนภิกษุทั้งหลายให้พึ่งตนพึ่งธรรมและเจริญสติปัฏฐาน ๔  แล้วตรัสเล่าเรื่องรัตนะ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระนามว่า ทัฬหเนมิ คือ?-
   ๑. จักร   ( ลูกล้อรถ ) แก้ว    ( จักกรัตนะ )      ๒. ช้างแก้ว     ( หัตถิรัตนะ )
   ๓. ม้าแก้ว     ( อัสสรัตนะ )      ๔. แก้วมณี     ( มณีณัรัตนะ )
   ๕. นางแก้ว     ( อิตถีรัตนะ )      ๖. ขุนคลังแก้ว     ( คฤหปติรัตนะ)
   ๗. ขุนพลแก้ว    ( ปริณายกรัตนะ )
   พระเจ้าทัฬหเนมิตรัสสั่งราชบุรุษให้คอยดูว่า จักรแก้วเคลื่อนจากฐานเมื่อไรให้บอก จำเนียรกาลผ่านมา เมื่อจักรแก้วเคลื่อนจากที่แล้ว ราชบุรุษนั้นก็ไปกราบทูล พระองค์จึงตรัสเรียกพระราชบุตรองค์ใหญ่มอบราชสมบัติให้แล้วปลงพระเกสาพระมัสสุ ทรงผ้ากาสยะ ( ผ้าย้อมฝาด ) ออกผนวชเป็นบรรพชิต. เมื่อออกผนวชเป็นฤษีได้ ๗ วัน จักรแก้วก็อันตรธานหายไป.
   พระราชา ( พระองค์ใหม่ ) ก็ทรงเสียพระราชหฤทัย เล่าความถวาย. พระราชฤษีก็ตรัสปลอบว่า จักรแก้วเป็นของให้กันไม่ได้ และทรงแนะนำให้บำเพ็ญจักกวัตติวัตร คือข้อปฏิบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ์ มีฐานะอยู่ที่เมื่อปฏิบัติแล้ว จักรแก้วอันเป็นทิพย์ ก็กำตั้งพัน , มีกง , ดุมสมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง จักปรากฏขึ้นแก่พระราชาผู้รักษาอุโบสถในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ผู้ขึ้นสู่ชั้นบนปราสาท. กราบทูลถามว่า วัตรอันประเสริฐของพระเจ้าจักรพรรดิ์เป็นอย่างไร. ตรัสตอบว่า “

   ๑. จงอาศัยธรรมสักการะเคารพนับถือธรรมให้ความคุ้มครองอันเป็นธรรมแก่มนุษย์และสัตว์ ไม่ยอมให้ผู้ทำการอันเป็นอธรรมเป็นไปได้ในแว่นแคว้นของพระองค์       

   ๒. ผู้ใดไม่มีทรัพย์ก็มอบทรัพย์ให้   

   ๓. เข้าไปหาสมณพราหมณ์ผู้เว้นจากความเมา ประมาท ตั้งอยู่ในขันติ ( ความอดทน ) โสรัจจะ ( ความสงบเสงี่ยม ) และถามถึงสิ่งเป็นกุศล, อกุศล , มีโทษ , ไม่มีโทษ, ควรเสพ, ไม่ควรเสพ, อะไรทำเข้าเป็นไปเพื่อเสียประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน , อะไรทำเข้าเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุขตลอดกาลนาน. เมื่อฟังแล้ว ก็รับเอาสิ่งที่เป็นกุศลมาประพฤติ. นี้แลคือวัตรอันประเสริฐของพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้น.”
   หมายเหตุ :-   ข้าพเจ้าย่อวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ์ได้ ๓ อย่าง แต่ในอรรถกถาแจกไปตามพยัญชนะได้ถึง ๑๐ อย่าง คือ ให้อารักขาอันเป็นธรรมแก่  

   ๑ . พลกาย หรือกองทหารที่อยู่ใกล้ชิด ที่เป็นบริวาร   

   ๒. กษัตริย์ (น่าจะหมายถึงพระราชวงศ์และกษัตริย์เมืองขึ้น )  

   ๓. ผู้ติดตาม  

   ๔. คฤหบดี  

   ๕. ชาวนิคมชนบท   

   ๖. สมณพราหมณ์  

   ๗. เนื้อและนก  

   ๘. ขัดขวางผู้กระทำการที่ไม่เป็นธรรม 

   ๙. เพิ่มให้ทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทัรพย์   

   ๑๐. เข้าไปหาสมณะพราหมณ์แล้วถามปัญหา. และแล้วอธิบายต่อไป
ว่า แยกเป็น ๑๒ ข้อก็ได้ คือแยก คฤหบดีออกจากพราหมณ์และแยกนกออกจากเนื้อ. แต่ที่ข้าพเจ้าย่อเหลือเพียง ๓ ก็เพราะประเด็นแรกมุ่งในทางเคารพธรรม ให้ความคุ้มครองอันเป็นธรรม และปราบอธรรม จักเป็นข้อที่ ๑ – ผู้จัดทำ
   เมื่อพระราชา ( ผู้เป็นราชบุตร ) กระทำตาม จักรแก้วก็ปรากฏขึ้นตามที่พระราชฤาษีทรงกล่าวไว้ พระราชาจึงทรงถือเต้าน้ำด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงหมุนจักแก้วไปด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา รับสั่งว่า จักรแก้วอันเจริญจงหมุนเถิด จงมีชัยเถิด แล้วยกกองทัพมีองค์ ๔ ติดตามไปทั้งสิ้นจนจดสมุทร สั่งสอนพระราชาในทิศนั้น ๆ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ แล้วมอบให้ครอบครองสมบัติต่อไปตามเดิม ( เพียงให้ยอมแพ้เท่านั้น). เมื่อได้ชัยชนะทั้งสี่ทิศแล้ว ก็เสด็จกลับสู่ราชธานีตามเดิม.
    พระเจ้าจักรพรรดิ์ พระองค์ที่ ๒ – ๓ – ๔ – ๕ – ๖ และที่ ๗ ก็เป็นอย่างนี้ พระเจ้าจักรพรรดิ์ที่ ๗ เมื่อออกผนวชและมอบราชสมบัติแก่พระราชโอรสแล้ว จักแก้วก็อันตรธานหายไป พวกอำมาตย์ราชบริพารก็ถวายคำแนะนำเรื่องวัตรของพระเจ้าจักรพรรดิ์.
  ความผิดพลาดในพระราชาองค์ที่ ๘
    พระราชาสดับแล้ว ก็ทรงจัดการรักษาคุ้มครองอันเป็นธรรม แต่ไม่พระราชทานทรัพย์แก่ผู้ไม่มีทรัพย์ ( ในข้อนี้เมื่อเทียบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันก็คือ ไม่จัดการด้านสังคมสงเคราะห์ ไม่มีการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก ) ความยากจนไพบูล เมื่อความยกจนไพบูลคนก็ลักทรัพย์ของผู้อื่น. ราชบุรุษจับได้ก็นำไปปถวายให้ทรงจัดการ เมื่อทรงไต่ส่วนได้ความเป็นสัตย์ และทรบว่าเพราะไม่มีอาชีพ ก็พระราชทานทรัพย์ให้ไปเลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตรภรรยาประกอบการงานและบำรุงสมณพราหมณ์ . ต่อมามีคนลักทรัพย์ของผู้อื่นและถูกจับได้อีก ทรงไต่สวนได้ความเป็นสัตย์อย่างเดิม ก็พระราชทานทรัพย์อีก . ข่าวก็ลือกันไปว่า ถ้าใครลักทรัพย์ก็จะได้พระราชทานทรัพย์ คนก็ลักทรัพย์กันมากขึ้น
   ต่อมา ราชบุรุษจับคนลักทรัพย์ได้อีก แต่คราวขึ้นพระราชาทรงเกรงว่า ถ้าพระราชทานทรัพย์ การลักทรัพย์อีกก็จักเพิ่มยิ่งขึ้น จึงตรัสสั่งให้มัด โกนศีรษะ พาตระเวนไปตามถนนหนทาง ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว    นำออกทางประตูพระนครใต้ ปราบกันอย่างถอนราก ตัดศีรษะเสีย.
   เมื่อมนุษย์ได้ข่าว ก็พากันสร้างศัสตราอันคมขึ้น และคิดว่า ถ้าลักทรัยพ์ใครก็ต้องตัดษีรษะเจ้าทรัพย์บ้าง จึงเกิดการปล้นหมู่บ้านนิคมนครและการปล้นในหนทาง   อายุลดลง อธรรมเพิ่ม
   จากการที่ไม่ให้ทรัพย์แก่ผู้ไร้ทรัพย์ ก็มากด้วยด้วยความยกจน มากด้วยการลักทรัพย์ มากด้วยการใช้ศัสตรา มากด้วยการฆ่า มากด้วยการพูดปด อายุผิวพรรณของสัตว์ทั้งหลายก็เสื่อมลง คือมนุษย์มีอายุ   ๘ หมื่นปี บุตรมีอายุเพียง  ๔ หมื่นปี และลดลงเรื่อย ๆ ในเมื่อความชั่วเกิดมากขึ้น เช่น การพูดเท็จอย่างจงใจ, การพูดส่อเสียด, การประพฤติผิดในกาม  เมื่ออายุลดลงเหลือ   ๕ พันปี มากไปด้วยธรรม  ๒ อย่าง คือการพูดหยาบ และการพูดเพ้อเจ้อ. เมื่ออายุลดลงมาถึง   ๒,๕๐๐ ปี มากไปด้วยธรรม   ๒ อย่าง โลภอยาก ได้ของเขา และพยาบาทปองร้ายเขา. เมื่ออายุลดลงมาถึง  ๑ พันปี มากไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดคลองธรรม เมื่ออายุลดลงมาถึง   ๕๐๐ ปี มากไปด้วยธรรม  ๓ อย่าง คือ  ๑. ความกำหนัดที่ผิดธรรม ๔ .  ( อธมฺมราค)   ๒. ความโลภรุนแรง (วิสมโลภ )  
๓. ธรรมะที่ผิด ( อรรถกถาอธิบายว่า ความกำหนัดพอใจผิดปกฏิ เช่น ชายในชาย หญิงในหญิง ). เมื่ออายุลดลงมาถึง ๒๕๐ ปี มากไป ด้วยธรรม คือการไม่ปฏิบัติชอบในมารดา , บิดา , ในสมณะ, ในพราหมณ์ , การไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล . เมื่อเสื่อมลงอย่างนี้
ทั้งอายุและผิวพรรณ มนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี บุตรก็มีอายุเพียง ๑๐๐ ปี.
  เหลืออายุ ๑๐ ปี เกิดมิคสัญญี
    จักมีสมัยหนึ่งที่บุตรของมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญิงสาวอายุ ๕ ปี ก็มีสามีได้ ? รสเหล่านี้จะอันตรธานไป คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย รสเค็ม ? เมล็ดพืช ชื่อกุทรุสกะ ไทยแปลกันว่าข้าวหญ้ากับแก้) จะเป็นโภชนะอันเลิศ เสมือนหนึ่งข้าวสุกแห้งข้าวสาลีและเนื้อสัตว์เป็นโภชนะอันเลิศในสมัยนี้    ( คือของเลวสมัยนี้กลายเป็นของดีในสมัยเสื่อม ) ? กุสลกัมบถ ( ทางแห่งกุศล ) ประการ จะอันตรธาน อกุศลกัมบถ ( ทางแห่งอกุศล ) ๑๐ประการ จะรุ่งเรืองยิ่ง? แม้คำว่า กุศล ก็ไม่มี ผู้ทำกุศลจะมีที่ไหน ? การไม่ปฏิบัติชอบในมารดาบิดา ในสมณะ ในพราหมณ์ การไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุล จะได้รับการบูชาสรรเสริญ ซึ่งตรงกันข้ามกับสมัยปัจจุบันนี้? จะไม่มีคำว่า มารดา,น้า , บิดา , ป้า , อา , ภริยาของอาจารย์ , ภริยาของครู . โลกจะเจือปนกันเหมือนสัตว์ เช่น แพะ ไก่ สุกร? จักมีอาฆาต, พยาบาท, มุ่งร้ายกัน, คิดฆ่ากันอย่างรุนแรง , แม่คิดต่อลูก ลูกคิดต่อแม่ , ต่อคิดต่อลูก ลูกคิดต่อพ่อ , พี่ชายคิดต่อน้องหญิง น้องหญิงคิดต่อพี่ชาย.
  จะเกิดมีสัตถันตรกัปป์ ๕ .   คือกัปป์ที่อยู่ในระหว่างศัสตรา ๗ วัน คนทั้งหลายจะมีความสำคัญในกันและกันว่าเป็นเนื้อ ( มิคสัญญา ๖ .  ) จะมีศัสตรา อันคมเกิดขึ้นในมือ ฆ่ากันและกันด้วยสำคัญว่าเนื้อ.กลับเจริญขึ้นอีก
   มีบุคคลบางคนหลบไปอยู่ในป่าดง พงชัฏ กินเหง้าไม้ ผลไม้ในป่า เมื่อพ้น   ๗ วันแล้ว ออกมา. ก็ดีใจร่าเริงที่รอดชีวิต จึงตั้งใจทำกุศลกรรม ละเว้นการฆ่าสัตว์ และบำเพ็ญกุศลกรรม ละเว้นอกุศลกรรม เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อายุก็ยืนขึ้นเรื่อย ๆ จนถึง    ๘ หมื่นปี.
  พระเจ้าจักรพรรดิ์อีกพระองค์หนึ่ง
   เมื่อมนุษย์มีอายุยืน    ๘ หมื่นปีนั้น หญิงสาวอายุ  ๕ พันปีจึงมีสามีได้. มนุษย์จะมีโรคเพียง   ๓ อย่าง คือ   ๑ . ความปรารถนา ( อยากอาหาร)   ๒. ความไม่อยากกินอาหาร ( เกียจคร้านอยากจะนอน )   ๓ . ความแก่. ชุมพูทวีปนี้จะมั่งคั่งรุ่งเรือง มีคามนิคม
ราชธานีแบบไก่บินถึง ( ใกล้เคียงกัน ) ยัดเยียดไปด้วยมนุษย์. กรุงพาราณสีจะเป็นราชธาณีนามว่า เกตุมตี อันมั่งคั่ง มีคนมาก อาหารหาง่าย. จักมีพระเจ้าจักรพรรดิ์พระนามว่า สังขะ เป็นพระราชาผู้ปกครองโดยธรรม มีชัยชนะจบ  ๔ ทิศ ปกครองชนบทถาวรสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้งเจ็ด.
   พระเมตตรัยพุทธจ้า
   เมื่อมนุษย์อายุ ๘ หมื่นปีนั้น พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย จักบังเกิดในโลกเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชา ( ความรู้ ) จรณะ ( ความประพฤติ ) เป็นต้น แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย พร้อมทั้งอรรถะพยัญชนะ บริหารภิกษุสงฆ์มีพันเป็นอเนกเช่นเดียวกับที่เราบริหารภิกษุสงฆ์มีร้อยเป็นอเนก  พระเจ้าสังขจักรพรรดิ์จักให้ยกปราสาทที่พระเจ้ามหาปนาทะให้สร้างขึ้น ครอบครอง แจกจ่ายทาน และออกผนวชในสำนักพระเมตไตรยพุทธเจ้า ในไม่ช้าก็จะทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมด้วยความรู้ยิ่งด้วยพระองค์เอง ( คือสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ).
  ครั้นแล้วตรัสสอนให้ภิกษุทั้งหลายพึ่งตน พึ่งธรรม เจริญสติปัฏฐาน ๔ และสอนให้ท่องเที่ยวไปในโคจรของบิดา ( ดำเนินตามพระองค์ ) ก็จักเจริญด้วยอายุ วรรณะ ( ผิวพรรณ ) สุข โภคะ ( ทรัพย์สมบัติ ) และพละ ( กำลัง ).
   ๑. ทรงแสดงการเจริญอิทธิบาท ( คุณให้บรรลุความสำเร็จ ) ๔ ประการ ว่าเป็นเหตุให้ดำรงอยู่ได้ตลอดกัปป์หรือกว่ากัปป์.
   ๒. ทรงแสดงการมีศีล สำรวมในปาฏิโมกข์ ( ศีลที่เป็นประธาน ) ว่าเป็นเหตุให้มีวรรณะ.
   ๓. ทรงแสดงการเจริญฌาณทั้งสี่ ว่าเป็นเหตุให้มีสุข.
   ๔. ทรงแสดงพรหมวิหาร ๔ ว่าเป็นเหตุให้มีโภคะ ( ทรัพย์สมบัติ ).
   ๕. ทรงแสดงการทำให้แจ้งเจโตวิมุต ( ความหลุดพ้นเพราะสมาธิ ) ปัญญาวิมุติ ( ความหลุดพ้นเพราะปัญญา ) อันไม่มีอาสวะอยู่ในปัจจุบัน ว่าเป็นเหตุให้มีพละ ( กำลัง ).
   ตรัสในที่สุดว่า ไม่ทรงเห็นกำลังอย่างอื่นสักอย่างหนึ่งที่ครอบงำได้ยากเท่ากำลังของมาร. เพราะสมาทานกุศลธรรม บุญก็จะเจริญยิ่ง.

     ตัวอย่างของพระเจ้ามหาจักรพรรดิ

  -พระเจ้ามหาจักรพรรดิ   คือจักรพรรดิที่บำเพ็ญบุญบารมีมาพอปานกลางแต่มีอานุภาพมาก   เช่น พระเจ้ามหาจักรพรรดิทรงพระนาม ว่า”มหามันธาตุ”

   เรื่องในอดีตของพระเจ้ามหามันธาตุ มหาจักรพรรดิ  พระเจ้ามหามันธาตุพระองค์เป็นคนยากจนรับจ้างชุนผ้ามาก่อน  พระองค์รับจ้างชุนผ้าเลี้ยงชีวิต อาศัยจิตที่เป็นกุศลพระองค์ได้ถวายทานแก่ภิกษุรูปหนึ่งด้วยค่าจ้างจากการรับจ้างชุนผ้านั้นตลอดไป  ทานที่สำคัญที่ทำให้พระองค์กลายเป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิมีประวัติความเป็นมาดังนี้

   นับถอยหลังจากภัทรกัปป์นี้ไป ๑๙ กัปป์  พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า “วิปัสสี”  เสด็จอุบัติขึ้นในนครพันธุมดี  เขาก็เกิดในนครพันธุมดีนั้นเหมือนกัน

   วันหนึ่งชาวนครพันธุมดีได้ร่วมกันถวายทานแก่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี  เขาก็มีกุศลจิตไปรับจ้างชุนผ้าเอาเงินมาซื้อถั่วราชมาสไปถวายทานกับพวกเขาด้วย แต่ก็ไม่ได้โอกาสที่จะถวายเพราะคนมาทำบุญเป็นจำนวนมาก เขาจึงโปยถั่วราชสามเหล่านั้นขึ้นไปในอากาศ ด้วยอำนาจของพุทธานุภาพและเทวานุภาพถั่วราชมาสเหล่านั้นไปตกลงที่บาตรของพระพุทธเจ้าและพระสงห์จนหมดสิ้น  เขาเห็นความอัศจรรย์นี้แล้วจึงมีจิตเลื่อมใสในพุทธคุณเป็นล้นพ้น  เขาจึงยืนยกมือขึ้นเหนือศีรษะแล้วตั้งความปราถนาว่า “ด้วยวิธีการอันวิเศษและความเลื่อมใสในพระสงฆ์ผู้เป็นอิสระนี้ ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้เลิศกว่าผู้บริโภคกามทั้งหลายในสถานที่ข้าพเจ้าเกิดบังเกิดแล้ว  คราวใดที่ข้าพเจ้าตบมือมองไปในท้องฟ้า ขอให้ฝนอันสมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ  จงตกลงมาในคราวนั้นจงทุกเมื่อเถิด

   ในเบื้องต้นของภัทรกัปป์นี้พระองค์ได้บังเกิดเป็นพระโอรสของพระเจ้าอุโบสถะทรงพระนามว่า “มันธาตา” ซึ่งเป็นลูกหลานของพระเจ้ามหาสมมต    พระเจ้ามันธาตาสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ  และมีพระมหเสี ๔ คน  เมื่อใดพระองค์เหยียดพระหัตถ์ซ้ายออกไปแล้วตบด้วยพระหัตถ์ขวา  ฝนแก้ว ๗ ประการ จะตกลงมาจากอากาศสูงเพียงเข่า

   พระองค์ทรงเล่นเป็นเด็กอยู่ ๘๔๐๐๐ ปี  ทรงเป็นมหาอุปราชอยู่ ๘๔๐๐๐ ปี  และทรงเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิอยู่ ๘๔๐๐๐ ปี  พระองค์มีอายุยืนได้ ๑ อสงไขปี พระองค์เป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิที่มีอานุภาพมาก  พระองค์เสวยราชสมบับัติในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาโดยการยินยอมของท้าวมหาราชทั้ง ๔ และพระองค์ยังได้เสวยราชสมบัติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ครึ่งหนึ่งโดยการยินยอมของท้าวสักกเทวราช  พระองค์เสวยราชสมบัติในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่หลายล้านปี  จนท้าวสักกเทวราชจุติคือตายไปตั้ง ๓๖ องค์  ท้าวสักกเทวราชแต่ละองค์จะมีอายุยืนได้ ๓๖ ล้านปี 

   เหตุที่ทำให้พระเจ้ามหามันธาตุเคลื่อนจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก็เพราะความโลภอยากเป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์คนเดียวโดยการคิดกำจัดท้าวสักกเทวราชให้ออกไปจากราชสมบัติกึ่งหนึ่งนั้นเสีย พระองค์จะเป็นใหญ่แต่เพียงผู้เดียว  เพราะเหตุนี้นี่แหละ เมื่อพระองค์ถูกความมักมากครอบงำจิต  อายุสังขารก็เสื่อมลง ความชราก็ประหารร่างกายของพระ องค์ ร่างกายของมนุษย์จึงแตกดับจากจากเทวโลกตกหล่นลงไปในอุทยานในเมืองธุมดี  ในที่สุดพระองค์ก็เสด็จสวรรคตในตอนนั้นแล

   แก้วมณึของพระเจ้าจักรพรรดิสถิตย์อยู่ที่ระหว่างภูเขาเวปุลละบรรพต ในกรุงราชคฤห์ พวกยักข์ทั้งหลาย ๑๐๐๐๐๐ ตนรักษาไว้อยู่

     มีจักรแก้วอัน ๑ ชื่อว่า จักรรัตนะ ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ มีกำ(ซี่ล้อรอบดุม) จำนวน ๑๐๐๐ อยู่รอบๆ ดุมนั้น งดงามยิ่ง จมอยู่ในท้องมหาสมุทรลึก ๘๔๐๐ โยชน์ ตัวจักรนั้นเป็นแก้ว ดุมนั้นเป็นแก้วอินทนิล หัวกำซึ่งฝังเข้าไปในดุมนั้น เป็นเงินและทองดูสวยสดงดงามยิ่ง เมื่อได้เห็นเหมือนกับดุมนั้นยิ้มให้ และมองเห็นเป็นสีขาวงามยิ่งนัก ที่ขอบดุมนั้นหุ้มด้วยแผ่นเงิน งามดุจดังพระจันทร์วันเพ็ญ ตรงกลางนั้นเป็นรูโดยตลอด โดยรอบหัวกำนั้นประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ แต่ละซี่ดูสุกใสงดงามเหมือนกับสายฟ้าแลบ มีรัศมีเหมือนแสงพระอาทิตย์ เมื่อพิจารณา ดูใสงามเลื่อมพรายดังฟ้าแลบไขว้ไปมา วาววับวาวแววดูงามไปทั่วทุกแห่ง มีชื่อว่า นาภีสรรพการบริบูรณ์ กำจำนวน ๑๐๐๐ นั้น ประดับไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ดูเลื่อมพรายแวววาวดังสายฟ้าแลบ รุ่งเรืองด้วยรัศมีดังแสงพระอาทิตย์ ตีประดับด้วยตะปูแก้วดูงดงาม และมีรัศมีฉวัดเฉวียนไปมา ดั่งเทพยดาชื่อว่า พระวิศณุกรรมเทพบุตร
    กงนั้นประดับด้วยแก้วดูเกลี้ยงเกลาดุจดังบรรจงสร้างไว้ มีรัศมีเหมือน พระอาทิตย์เมื่อยามรุ่งอรุณ ดูเต็มงามไม่มีปม ไม่มีรอยแตก ไม่เบี้ยว ไม่มีบกพร่อง เมื่อแลดูในหน้ากล้องนั้น รูปล่องตลอดไปมา ดั่งกล้องอันชื่อว่า พังกา ที่เทพยดาเป่าในเมืองสวรรค์ชั้นฟ้า
กล้องแก้วนั้นเวลาเป่าจะมีเสียงกังวาลไพเราะยิ่งนัก เสียงดัง ผาดโผน เสียงหึ่งๆ น่าฟังอย่างยิ่ง แก้วร้อยหนึ่งอยู่เหนือลำกล้องแก้วหมู่นั้น กล้องแก้วหมู่นั้นรองอยู่ใต้ต้นกลดขาวร้อยหนึ่ง และมีหอกดาบแห่งละร้อยอยู่รอบกลดนั้นด้วย เหนือกลดตรงกลางนั้น มียอด
ทองเรืองรองงามดังแสงฟ้า เหนือฉัตรแก้วนั้น มีราชสีห์ทองสองตัวประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ มีแสงทองงามนักหนา เมื่อจักรแก้วนั้นหมุนไปบนอากาศ แลดูพรายงามดั่งสีหะไกรสรสองตัวจะเหาะบิน และยื่นหน้าออกมาจากชายกงจักรแก้วนั้น ดุจดังจะเข้าขบขยํ้า
ฝูงข้าศึก
   เมื่อคนทั้งหลายแลเห็นเช่นนั้นจึงคิดว่า เจ้านายของเราผู้เป็นพระยามหาจักรพรรดิราช เป็นผู้มีบุญมากยิ่งนัก แม้พระยาราชสีห์สองตัว ซึ่งมีกำลังและมีชัยชนะแก่ศัตรูทั้งหลาย ยังอดอยู่มิได้ต้องมานอบน้อมถวายบังคม มาสวามิภักดิ์ แก่พระยามหาจักรพรรดิราช
เจ้าผู้เป็นนายแห่งพวกเรา หมู่ชนทั้งหลาย ต่างพากันยกมือขึ้นเพียงศีรษะแล้วไหว้วันทนาการ กล่าวว่า ชาวเราทั้งหลายปากราชสีห์ ๒ ตัวนั้น มิใช่ไม่มีอะไรอยู่ แต่มีสร้อยมุกดา ๒ สาย ใหญ่เท่าลำตาล ดูรุ่งเรืองงามดั่งรัศมีพระจันทร์เมื่อวันเพ็ญ และปากราชสีห์นั้น ก็คาบสร้อยมุกดานั้นห้อยลงมา แก้วซึ่งอยู่ในชายมุกดานั้น ดูเลื่อมแดง ดุจแสงพระอาทิตย์เมื่อแรกขึ้นฉะนั้น เมื่อกงจักรแก้วนั้นลอยอยู่บนอากาศ แลดูเหมือนไม่ไหวตามสร้อยมุกดาซึ่งพรายงามดั่งนํ้าชื่อว่า อากาศคงคา ที่ไหลลงมาฉะนั้น ขณะที่กงจักรแก้วยัง
ลอยอยู่นั้น กลุ่มมุกดาก็กระจายออกรอบกงจักรแก้วนั้น ดุมกงจักรแก้ว ๓ อัน หมุนพัดผันไปในทางเดียวกัน กงจักรแก้วนั้น พระอินทร์ พระพรหม หรือเทพยดาผู้มีฤทธานุภาพ เป็นผู้กระทำกงจักรแก้วนั้นก็หามิได้ หากแต่กงจักรแก้วนั้นเกิดขึ้นเอง และเกิดมาเพื่อบุญของท่านผู้เป็นพระยามหาจักรพรรดิราชเจ้านั้น
  ผิว่า เมื่อกัลป์ใดไม่มีพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า จึงมีพระยา มหาจักรพรรดิราชแทน ในกัลป์นั้น ครั้นไฟเผาไหม้แผ่นดินแล้ว ด้วยบุญท่าน ซึ่งจะมาเป็นพระยามหาจักรพรรดิราชนั้น กงจักรแก้วนั้นจะเกิดก่อน และจมอยู่ในท้องมหาสมุทร รอท่านผู้จะมา
เป็นจักรพรรดิราชนั้น และเครื่องประดับสำหรับท่านผู้มีบุญนี้ ก็ไม่มีสิ่งใดเสมอด้วยกงจักรแก้วนั้น ซึ่งเกิดมาเพื่อให้รู้จักคนผู้มีบุญกว่าคนทั้งหลาย และจะให้หมู่คนทั้งหลายใน ๔ แผ่นดินรักสามัคคีกัน มีดวงใจเป็นอันเดียวกัน ด้วยบุญท่านผู้เป็นพระยามหาจักรพรรดิราชนั้น
   กงจักรแก้วนั้นมีศักดานุภาพยิ่งนัก เมื่อมีผู้ใดไปไหว้นอบนบเคารพบูชา แก่กงจักรแก้วนั้นด้วยข้าวตอกดอกไม้ กงจักรแก้วนั้น ย่อมช่วยบำบัดความเจ็บไข้ ให้ประสบความสุขความเจริญ มั่งมีด้วยทรัพย์สินเงินทองมากมาย กงจักรแก้วนี้ ประเสริฐกว่าแก้วอัน
ชื่อว่าสรรพกามททะ (แก้วสารพัดนึก) นั้นตั้งแสนเท่า และกงจักรแก้วนั้น ไม่มีชีวิตจิตใจ แต่มีสภาพดุจดังมีชีวิต เมื่อกงจักรแก้วนั้นลอยขึ้นมา ยังมิทันที่จะพ้นท้องมหาสมุทร และนํ้ามหาสมุทรนั้นแยกแตกออก ให้กงจักรแก้วนั้นลอยขึ้นมากลางอากาศ แลเห็นดุจ
ดังกงจักรแก้วนั้นเป็นเครื่องประดับท้องฟ้า ดูเลื่อมพรายงามดั่งพระจันทร์ในวันเพ็ญ
   เมื่อถึงวันเพ็ญ ชนทั้งหลายต่างแต่งเนื้อแต่งตัวให้สวยงาม แล้วนั่งเล่น เจรจากันอยู่ทั้งหนุ่มและสาว เด็กเล็กหญิงชายทั้งหลายต่างประดับตกแต่งกาย แล้วออกไปเล่นด้วยกัน บางพวกก็พากันไปเล่นในป่า บางพวกก็ไปเล่นในกลางแม่น้ำ กลางท้องนาและในถนน
หนทาง วันนั้นคนทั้งหลายที่อยู่ในเมืองของพระยามหาจักรพรรดิราชนั้น เมื่อกงจักรแก้วนั้นพุ่งขึ้นเทียมพระจันทร์ และเป็นเวลายามคํ่าแล้ว จะดูเท่ากับดวงจันทร์ จึงเป็นเหมือนมีพระจันทร์ขึ้นมาในวันนั้นเป็น ๒ ดวง ครั้นกงจักรแก้วมาใกล้ได้ ๑๒ โยชน์แล้ว
คนทั้งหลายได้ยินเสียงของกงจักรแก้ว อันผันต้องลม เสียงนั้นไพเราะยิ่งนัก ไพเราะยิ่งกว่าเสียงพาทย์และพิณ ฆ้อง แตรสังข์ กังสดาลดุริยดนตรีทั้งหลาย
   คนทั้งหลายเมื่อได้ยินเสียงไพเราะนั้นแล้ว รู้สึกถูกใจและยินดีปรีดากัน ทุกคน ชวนกันกล่าวว่า ช่างประหลาดหนอ แต่กาลก่อนเราทั้งหลายไม่เคยมีเรื่องอัศจรรย์ให้ปรากฏเห็นเหมือนวันนี้ พระจันทร์เจ้าได้ขึ้นมาเป็นสองดวง เต็มงาม บริบูรณ์เสมอกันทั้งสองดวง ขึ้นมาเทียมกันดุจพระยาหงส์ทองสองตัว ทะยานเทียมขึ้นมาบนอากาศ จึงร้องเรียกกันให้มาดู บางคนพูดว่า พระจันทร์ขึ้นสองดวง บางคนร้องว่า ท่านนี้เป็นบ้า ชั่วปู่ชั่วย่าไม่เคยมีใครกล่าวว่ามีพระจันทร์เป็น ๒ ดวง อีกดวงหนึ่งนั้นเป็นดวงตะวัน เพราะว่าหากพ้นที่ๆ จะร้อนแล้ว มันก็จะไม่ร้อน อีกจำพวก ๑ ก็ร้องมาดังนี้ว่า ชาวเราทั้งหลาย เขาเหล่านั้นเป็นบ้าไปเสียแล้ว ไม่ใช่ข้อความที่จะกล่าวกลับเอามากล่าว มาเข้าใจกันว่าพระจันทร์ขึ้นมา เป็น ๒ ดวง บางแห่งก็ว่าการที่คิดว่าอีกดวงหนึ่งนั้นเป็นดวงตะวันน่าหัวเราะนัก เขาเหล่านั้นเป็นบ้าไปแล้ว ตะวันเพิ่งจะตกไปเดี่ยวนี้ แล้วจะมาขึ้นพร้อมพระจันทร์ทันทีได้อย่างไร ดวงที่ขึ้นมานี้มิใช่อะไรอื่นเลย มันคือปราสาททองของเทพยดา จึงดูรุ่งเรืองสุกใส เพราะแก้วแหวนเงินทองที่ประดับประดาปราสาทนั่นเอง คนอีกจำพวกหนึ่งพากันหัวเราะพูดว่า เจ้าทั้งหลายอย่าได้โจทเถียงกันไปมาเลย สิ่งนี้มิใช่เดือนมิใช่ตะวัน และมิใช่ปราสาททองของเทพยดาที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่าเดือนก็ดี ตะวันก็ดี ปราสาททองของเทพยดาก็ดีนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เคยมีเสียง อึกทึกกึกก้อง และมีเสียงดังกังวานอย่างนี้สักทีเลย สิ่งนี้ต้องเป็นกงจักรแก้ว ซึ่งมีชื่อว่า จักรรัตนะ ดังที่ท่านกล่าวมาแต่กาลก่อน กงจักรแก้วนั้นย่อมเกิดมาด้วยบุญของท่านผู้มีบุญ และจะได้เป็นพระยามหาจักรพรรดิราชนั่นเอง
   คนทั้งหลายต่างก็ถกเถียงกันไปมาอยู่อย่างนั้น พวกเขามิได้เชื่อถ้อยคำ ของกันและกันเลย เมื่อกงจักรแก้วนั้นลอยออกมาจากดวงจันทร์เข้ามาใกล้กว่าเก่าอีกประมาณ ๑ โยชน์ จึงจะถึงเมืองนั้น ชนทั้งหลายจึงแลเห็นชัดเจนงามยิ่งนัก และมีใจรักทุกๆ คน เสียงกง
จักรแก้วนั้นดังกึกก้องมาก ดังจะเปล่งเสียงว่า พระยาองค์นั้น พระองค์จะได้เป็นพระยาบรมมหาจักรพรรดิราชเจ้า จึงลอยมาถึงพระนครที่พระยาผู้มีบุญอาศัยอยู่ เมื่อเป็นดังนั้นคนทั้งหลายจึงกล่าวว่า กงจักรแก้วดวงนี้ จะลอยไปสู่พระยาองค์ใดหนอ คนอีกจำนวนหนึ่งจึงกล่าวว่า กงจักรแก้วดวงนี้ มิได้เกิดมาด้วยบุญของพระยาองค์อื่นเลย คงลอยมาเพื่อพระยาผู้เป็นเจ้านายของเรานี้เอง ท่านเป็นผู้มีบุญจะได้เป็นพระยามหาจักรพรรดิราชแล พระองค์ทรงคำนึงถึงกงจักรแก้วอยู่ กงจักรแก้วดวงนี้ จึงลอยมาหาพระองค์ กงจักรแก้วก็ลอยมาถึงเมืองนั้น แล้วร่อนลงที่ประตูเมืองของพระองค์ แล้วทำประทักษิณรอบๆ เมือง ๗ รอบ แล้วลอยอยู่บนอากาศไปตามหนทางหลวง แล้วเข้ามาสู่พระราชมนเทียรของพระยาและทำประทักษิณ พระยานั้น ๓ รอบ และพระราชมนเทียรของพระยานั้น ๗ รอบ แล้วก็ลอยเข้าหาพระยานั้น ดุจดังมีชีวิต จิตใจ จะมานอบน้อมแด่พระยานั้น แล้วเข้ามาสู่แทบพระบาทตรงที่ทรงบรรทม ไม่ว่าจะเป็นที่แห่งใดก็ตาม กงจักรแก้วก็ลอยอยู่ในที่นั้น แล้วคนทั้งหลายก็เอาข้าวตอกดอกไม้บุปผชาติและธูปเทียนชวาลา รวมทั้งกระแจะจันทน์ นํ้ามันหอม มาไหว้ มานอบนบเคารพบูชาสักการะแก่กงจักรแก้วนั้น เมื่อกงจักรแก้วสถิต ตั้งอยู่ในที่อันสมควรแล้ว ก็เปล่งรัศมีรุ่งเรืองรอบๆ ทั่วทั้งพระราชมนเทียรนั้น ทุกแห่งดุจดังยอดเขายุคันธร ในวันพระจันทร์เต็มดวง และเมื่อพระจันทร์ลอยขึ้นมาเหนือยอดเขานั้น มีแสงรุ่งเรืองงดงามยิ่งนัก
   เมื่อนั้นพระยาจึงเสด็จออกมาจากปราสาท เพื่อทอดพระเนตรกงจักรแก้วนั้น อำมาตย์จึงทูลแด่พระองค์ว่า ขออัญเชิญพระองค์เจ้าทอดพระเนตรกงจักรแก้ว อันมีรัศมีรุ่งเรืองงาม งามทั้งพระราชมนเทียรของพระองค์ พระยาองค์นั้นจึงเสด็จมาประทับนั่งบนแท่นทองอันประดับด้วยแก้วอันตั้งอยู่แทบพระบัญชรนั้น พระมหากษัตริย์เจ้าก็ทรงทอดพระเนตรกงจักรแก้วอันรุ่งเรืองด้วยแก้ว ๗ ประการ อันงามตระการตา หาที่จะเปรียบมิได้ พระยาองค์นั้นจึงมีพระราชโองการแก่อำมาตย์ราชมนตรีทั้งหลายว่า
   อาจารย์ทั้งหลายในอดีตกาลกล่าวว่า พระยาพระองค์ใดมีบุญ และจะได้เป็นพระยามหาจักรพรรดิราช สามารถปราบได้ทั่วทั้งจักรวาล กงจักรแก้วอันมีชื่อว่า จักรรัตนะ จักรรัตนะนั้นย่อมมาสู่บุญสมภารของพระยาองค์นั้น เราได้กระทำบุญมาแต่ก่อนและบุญนั้นมาถึงเราจริง กงจักรแก้วนั้นจึงลอยมาหาเราในบัดนี้ อีกทั้งวันนั้น ก็เป็นวันเพ็ญอุโบสถ และพระยาองค์นั้นให้ทานรักษาศีล ๘ แล้ว ทรงบำเพ็ญเมตตาภาวนาอยู่ เมื่อทรงรำพึงถึงทานศีลและภาวนาอยู่ กงจักรแก้วนั้น ก็ลอยมาหาในคืนนั้นแล พระยาองค์นั้นจึงเอาผ้าขาวเนื้อละเอียดพาดเหนือพระอังสาทั้งสอง กราบไหว้ด้วยผ้าผืนเล็ก ผ้าสำลี และมีบางพวกห่มผ้าสีชมพู ผ้าหนัง ผ้าเกราะ แล้วถือเครื่องประหาร ถือหน้าไม้ ธนู หอก ดาบ แหลน หลาว สวมหมวกเงิน ทอง และถม ถือกลดชุบสายหลายคัน พากันไปชมหมู่ ไม้ในกลางป่าดง มีบางพวกถือธงเล็ก ธงใหญ่ ธงขนาดกลาง ธงแดง ธงขาว ดูงามพิสดาร มีสีขาว สีดำ สีแดง สีเหลืองเรืองรอง พรายงามดังแสงตะวัน สว่างไสวทั่วทั้งแผ่นดิน เหาะไปในอากาศตามเสด็จพระยามหาจักรพรรดิราช เมื่อนั้น เสนาบดีผู้ใหญ่จึงสั่งให้เจ้าเมืองทั้งหลายเอากลองงดงามมีสายเป็นทอง และมีแสงเป็นสีแดงดุจแสงไฟ ไปตีป่าวร้องแก่หมู่ราษฎรทั้งหลายว่า ถ้าผู้เป็นพระยาเจ้านายของเรานี้ พระองค์จะได้เป็นพระยามหาจักรพรรดิราช และบัดนี้ พระองค์ปราบได้ทั่วทั้ง ๔ ทวีปแล้ว ผู้ใดใคร่อยากชมบุญบารมีของพระองค์ ก็ให้เร่งชักชวนกันมาไหว้มาชม บัดนี้พระองค์ได้เสด็จไปปราบทวีปทั้ง ๔ ท่านทั้งหลายจงเร่งแต่งตัวแล้วพากัน หอบ ถือข้าวตอกดอกไม้ไปบูชากงจักรแก้วนั้น
   เมื่อคนทั้งหลายได้ยินเสียงกงจักรแก้วนั้น เสียงดังไพเราะลอยไปทาง อากาศเบื้องหน้าพระยามหาจักรพรรดิราช คนทั้งหลายต่างก็หยุดทำงานของตนที่ค้างไว้ แล้วชักชวนกันประดับตกแต่งกายให้สวยงามทากระแจะจันทน์น้ำมันหอม ถือข้าวตอกดอกไม้ไปบูชากงจักรแก้วนั้น
   ครั้งนั้น คนทั้งหลายต่างมีใจชื่นชมยินดียิ่งนัก เพียงนึกว่าจะตามเสด็จ ไปก็สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ทุกคน ด้วยบุญอำนาจแห่งกงจักรแก้วนั้น บรรดาสมณพราหมณ์ บรมวงศานุวงศ์ ลูกขุน มนตรี ข้าราชบริพาร เศรษฐี คฤหบดี พ่อค้า ประชาชน พวกแพศย์ พวกศูทร เหล่านี้ต่างมีร่างกายงามสะอาดทุกคน ไม่มีสกปรกเลย แม้ความสกปรกด้วยเหตุใดๆ ก็ดีที่เขามีในกาลก่อน ก็พลันมลายหายไปสิ้นด้วยอำนาจอิทธิฤทธิ์แห่งกงจักรแก้วนั้น ซึ่งสามารถขจัดความสกปรกมลทินทั้งผองในกายมนุษย์ จะกล่าวให้รู้ว่ากำลังรี้พลของพระยามหาจักรพรรดิราช ว่ามีจำนวน มากเท่าใด ถ้าอยากรู้ก็ให้คิดถึงที่แห่งหนึ่งกว้าง ๑๒ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๓๖ โยชน์ แล้วให้ไพร่พลทั้งหลายนั่งในบริเวณนั้น กงจักรแก้วนั้นก็สามารถอยู่ในบริเวณเท่านั้นได้ พระยามหาจักรพรรดิราชก็ดี และไพร่พลทั้งหลายก็ดี ย่อมเหาะไปในอากาศเหมือนวิทยาธรผู้มีฤทธิ์ ผู้มีอาวุธวิเศษ พระยามหาจักรพรรดิราช และรี้พลไปในอากาศด้วยอำนาจของกงจักรแก้วนั้น พระยามหาจักรพรรดิราช รุ่งเรืองงามเหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ และพสกนิกรผู้ตามเสด็จก็รุ่งเรืองงามสง่าเหมือนดั่งดวงดาราห้อมล้อมเป็นบริวารพระจันทร์ ฉะนั้นซนทั้งหลายต่างมีใจแช่มชื่นรื่นเริงยิ่งนัก มีการแต่งตัวมาชมกงจักรแก้ว นั้น แล้วขับร้อง และมีเสียงพาทย์ เสียงพิณ แตร สังข์ กลองใหญ่น้อย ฉิ่งฉาบ บัณเฑาะก์ ทั้งไพเราะและวังเวง บางคนตีกลอง ตีพาทย์ ตีฆ้อง ตีกรับ บางพวก ดีดพิณ สีซอ ตีฉิ่ง จับระบำรำเต้น เสียงสรรพดนตรีดังครื้นเครง กึกก้องดัง แผ่นดินจะถล่ม
ทลาย คนทั้งหลายผู้เป็นบริวารตามเสด็จพระยามหาจักรพรรดิราช ไปในกลางอากาศนั้น งามนักหนาดังเทวดาทั้งหลายผู้เป็นบริวารของพระอินทร์
   เมื่อพระราชาเสด็จไปทางอากาศครั้งใด กงจักรแก้วจะนำเสด็จไปก่อน ถัดมาเป็นพระราชาและต่อมาเป็นไพร่พลทั้งหลาย พฤกษชาติไม้ดอกไม้ผลนานาชนิดตามข้างทางที่เสด็จผ่านก็ลอยละลิ่วปลิวตามไปด้วย ถ้าใครอยากจะกินผลไม้ชนิดใดก็ได้กินสมตาม
ใจนึก ถ้าอยากทัดดอกไม้ชนิดใดก็ได้สมใจ หรือถ้าใครอยากจะเข้าไปอยู่ในร่มเงาก็ได้เข้าไปอยู่ในร่มเงาสมใจนึกเช่นกัน ประชาชนผู้อยู่เบื้องล่าง เมื่อเห็นรี้พลบริวารของพระยานั้น อยากจะรู้จักชื่อเขาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นบรมวงศานุวงศ์ก็ดี ขุนนางก็ดี หรือข้าราชบริพารอื่นๆ ก็ดี อำนาจของกงจักร แก้วจะบอกชื่อคนทั้งหลายเหล่านั้นแก่ผู้อยากรู้ถ้วนทุกคน
   ผู้ใดนึกอยากตามเสด็จไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะอาการยืน เดิน นั่ง นอน ก็จะลอยขึ้นไปในอากาศ ด้วยลักษณะอาการนั้นๆ ไม่ต้องก้าว ไม่ต้องเดิน ทั้งเสื่อสาดอาสนะ ที่นั่ง ที่นอนอยู่ ถ้านึกอยากจะนำไปด้วย มันก็จะลอยไปด้วย ถ้าใครนึกอยากจะยืนไป เดินไป นั่งไป นอนไป ทำการงานไป ก็จะเป็นไปตามความประสงค์ทุกประการ ถ้าใครกำลังทำงานอยู่ และไม่อยากทำงานไปด้วย งานทั้งหมดก็จะไม่ไปด้วย ใครอยากทำงานไปด้วย ก็จะทำงานไปด้วย ไม่เสียงาน
   ทิศตะวันออกเขาพระสุเมร และด้านซ้ายเขาสัตตบริภัณฑ์ ข้ามมหาสมุทร ด้านทิศตะวันออก จะถึงแผ่นดินชื่อบุรพวิเทหะ กว้าง ๗,๐๐๐ โยชน์ เมื่อพระยามหาจักรพรรดิราชไปถึงสถานที่หนึ่งราบเรียบมาก มีนํ้าใสงาม ท่านํ้าก็ไม่ลึก ที่นั้นเหมือนคนถากไว้ด้วยพร้าด้วยขวาน กว้าง ๑๒ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๓๖ โยชน์ ที่นั้นเคยเป็นที่ตั้งทัพหลวงของพระยา มหาจักรพรรดิราชแต่โบราณ ในเวลาที่พระองค์เสด็จประพาส กงจักรแก้วจึงหยุดอยู่ในอากาศเหมือนถูกขัดเพลาไว้ ไม่เคลื่อน และไม่มีผู้ใดหมุนไปได้ เมื่อกงจักรแก้วหยุดอยู่ดังนั้น พระยามหาจักรพรรดิราชและไพร่พลทั้งหลายจึงลงมาจากอากาศมายังพื้นดินที่ดูรุ่งเรืองงาม เหมือนดาวหรือเหมือนฟ้าแลบ หรือเหมือนแสงธนูของพระอินทร์ ทุกคนสนุก ใครอยากจะอาบนํ้าก็ได้อาบ ใครอยากจะกินข้าวและนํ้าก็ได้กิน ผู้ใดปรารถนาสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นทุกอย่าง
   เมื่อพระยามหาจักรพรรดิราชเสด็จไปถึงทวีปนั้น บรรดาพระราชาและ เจ้าเมืองต่างๆ ในทวีปนั้น ก็ไม่อาจตระเตรียมอาวุธมาสู้รบกับพระยามหาจักรพรรดิราชนั้นได้เลย เขาทั้งหลายต่างมีใจรักใคร่นิยมบูชาพระยานั้น จึงชักชวนกันมาถวายบังคมมาเฝ้าแหน พระยา มหาจักรพรรดิราชอยู่ บรรดาปีศาจ ผีสาง และสัตว์ทั้งหลายที่ฆ่ามนุษย์ก็ไม่มีใจคิดร้ายต่อพระยามหาจักรพรรดิราชเลย เพราะเกรงบุญอำนาจของพระยามหาจักรพรรดิราชนั้น
   เมื่อกงจักรแก้วมาจากมหาสมุทรมีชื่อว่า จักรรัตนะ แต่เมื่อพระยามหา- จักรพรรดิราชปราบทวีปทั้ง ๔ ได้แล้ว กงจักรแก้วนั้นจึงมีชื่อว่า อรินทมะ (ผู้ปราบข้าศึก)  บรรดาพระราชาทั้งหลายในบุรพวีเทหทวีป ต่างแต่งเครื่องบรรณาการมี เทียน ธูป และเครื่อง
หอมนานาชนิดที่ตกแต่งอย่างประณีตงดงาม แล้วชวนกันมาไหว้และมาถวายตัวเป็นข้าแห่งพระยามหาจักรพรรดิราชนั้น ขณะที่พระราชาทั้งหลายมาเฝ้าพระยามหาจักรพรรดิราชอยู่นั้น ดูรุ่งเรืองงามด้วยด้วยเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และเครื่องประดับและอาภรณ์
ของพระราชาเหล่านั้น พวกเขาประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ ดูรุ่งเรืองงามตา เปรียบดังฟองน้ำไหลออกจากคนโททองมาล้างพระบาทพระยามหาจักรพรรดิราชนั้น เมื่อพระราชาทั้งหลายถวายบังคมแล้วก็ถวายตัวและถวายบังคมทูลว่าดังนี้ ข้าแต่มหาราชเจ้า ตั้งแต่นี้
ไป ข้าทั้งหลายขอถวายตัวเป็นข้าของพระองค์ผู้เป็นเจ้า หากพระองค์ปรารถนาสิ่งใด ข้าทั้งหลายจะทำการงานสิ่งนั้นถวายพระองค์ ขอถวายบ้านเมืองของข้าทั้งหลาย แด่พระองค์ ขอพระองค์ได้โปรดข้าทั้งหลายเถิด แล้วพระราชาทั้งหลายก็ถวายบังคมแสดงความ
เคารพยำเกรงพระยามหาจักรพรรดิราชนั้น พระยามหาจักรพรรดิราชจึงตรัสตอบพระราชาทั้งหลายว่า เราไม่ต้องการทรัพย์สมบัติหรือส่วยสาอากรจากพระราชาองค์ใดเลย เพราะพระยามหาจักรพรรดิราชมีสมบัติทิพย์อยู่แล้วด้วยเดชอำนาจของกงจักรแก้วนั้น
เอง
   พระยามหาจักรพรรดิราชไม่ได้ทรงมีพระดำรัสสั่งการใดๆ ให้พระราชาทั้งหลายต้องพลัดพรากจากที่อยู่หรือเกิดความน้อยเนื้อตํ่าใจเลย พระองค์อนุเคราะห์เขาเหล่านั้นให้มีความสุข มีความสบาย ไม่ให้มีอันตรายเกิดแก่เขา พระยามหาจักรพรรดิราชรู้บุญรู้
ธรรมและสั่งสอนธรรมคนทั้งหลายเหมือนเป็นพระพุทธเจ้ามาเกิด พระองค์สอนธรรมแก่โลกทั้งหลาย พระองค์สอนธรรมแก่พระราชาทั้งหลายว่าให้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ตลอดเวลา ให้รักไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลายเสมอกัน อย่าลำเอียง การเกิดเป็นคนเป็นสิ่งยาก เมื่อได้เกิดเป็นพระราชา แสดงว่ามีบุญมาก จึงควรรู้จักบุญรู้จักธรรม รู้จักละอายแก่บาป ให้ตัดสินความด้วยความสัตย์สุจริตเป็นธรรม และรวดเร็ว กระทำได้ดังนี้ เมื่อเกิดเมื่อใด เพราะบุญกุศลที่ได้ทำมาแต่ครั้งก่อน จะทำให้เกิดเป็นพระราชาให้รู้จักคุณของแก้ว ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้ปฏิบัติตามธรรมคำสั่งสอนที่อาจารย์แต่โบราณ เช่นพระพุทธเจ้า และปราชญ์ผู้รู้ทั้งหลายได้สั่งสอนไว้ และควรเว้นสิ่งที่ไม่ชอบธรรม
   บาป ๕ ประการที่ควรเว้น
   ๑. ไม่ควรฆ่าสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต ไม่ว่าจะมดตัวหนึ่งก็ดี หรือปลวก ตัวหนึ่งก็ดี ถ้าผู้ใดจะทำร้ายตน ก็ไม่ควรฆ่าผู้นั้น ควรว่ากล่าวสั่งสอนโดยธรรม การฆ่าสัตว์มีชีวิตเป็นบาปหนัก ผู้ใดทำบาปนั้นจะไปเกิดในนรกทนทุกข์เวทนา เดือดร้อนเป็นเวลานานมาก เมื่อพ้นจากนรกแล้วมาเกิดเป็นคนจะมีความทุกข์โศก จะถูกทำร้ายได้รับความเดือดร้อนไม่มีความสุขใจเลยเป็นเวลา ๑๐๐ ชาติ ๑,๐๐๐ ชาติ ต้องพลัดพรากจากคนที่รักทั้งหลาย ถ้าใครไม่กลัวบาปนั้นและยังทำบาปนั้นซํ้าอีก ก็จะเป็นการต่อบาปนั้นไปไม่มี
ที่สิ้นสุด
   ๒. ไม่ถือเอาทรัพย์สิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ และไม่ใช่ให้คนอื่นไปถือเอา ถ้าผู้ใดโลภเอาทรัพย์สินของคนอื่นที่เจ้าของไม่ให้ จะไปเกิดในนรกทนทุกข์ทรมานมาก เมื่อพ้นจากนรกนั้นมาเกิดเป็นคน จะเป็นคนโง่มาก เดือดร้อนลำบากมาก จนไม่อาจพรรณนาได้ทั้งหมด หากมีทรัพย์ใดๆ แม้เพียงนิดเดียวก็จะถูกช่วงชิงไป แม้ใส่พกไว้ก็จะตกหาย หรือมิฉะนั้นจะถูกไฟโทษ หรือมิฉะนั้นจะถูกนํ้าพัดไป จะเป็นคนเข็ญใจเช่นนี้ถึง ๑,๐๐๐ ชาติ จึงจะหมดบาป แม้ผู้ใดไม่รู้จักกลัวบาปนี้ และยังกระทำอีก ก็จะต่อบาปนั้นไปไม่สิ้นสุด
   ๓. การเป็นชู้กับภรรยาผู้อื่น ไม่ควรกระทำแม้แต่น้อย ผู้ใดกระทำบาป นั้นจะตกนรกสิมพลี มีไม้งิ้วมีหนามเป็นเหล็กยาวแหลมคมมาก มีเปลวไฟลุกโพลงตลอดเวลา มีฝูงยมบาลถือหอกทิ่มแทงคอยขับให้สัตว์นรกปีนขึ้นลง มีความทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน
เมื่อพ้นจากนรกนั้นจะมาเกิดคนมีศัตรูมาก จะเกิดเป็นกะเทยเป็นเวลา ๑,๐๐๐ ชาติ ถ้าเกิดเป็นผู้ชายจะมีบาปสืบไปตลอดชาติ
   ๔. การพูดปด เจ้าทั้งหลายไม่ควรกล่าว ถ้าผู้ใดกล่าวคำเท็จ ผู้นั้นจะตกนรก มีฝูงยมบาลทรมานให้ได้รับความทุกข์ทรมานเป็นเวลานานมาก เมื่อพ้นจากนรกนั้นมาเกิดเป็นคน ร่างกายจะมีกลิ่นอาจม มีกลิ่นเหม็นหืนมาก ถ้าไปทำผิดต่อผู้ใด เวลาผู้นั้นจะทำร้ายจะ
หนีไม่พ้น และจะถูกทำร้ายไปทุกชาติ ผ้านุ่งห่มก็เหม็นสาบเหม็นสาง ต้องเกิดเป็นเช่นนี้ ๑,๐๐๐ ชาติจึงจะหมดบาป หากผู้ใดไม่รู้จักกลัวบาปนี้ยังพูดปดอีก บาปนั้นจะเพิ่มมากขึ้น และจะพ้นจากบาปนั้นได้ยาก
   ๕. ไม่ควรชวนกันกินเหล้า บาปนั้นจะทำให้ตกนรก มียมบาลทรมาน ให้ได้รับความทุกข์ทรมานเป็นเวลานาน เมื่อพ้นจากนรกนั้นจะมาเกิดเป็นผีเสื้อ ๕๐๐ ชาติ และเป็นสุนัขบ้า ๕๐๐ ชาติ ถ้ามาเกิดเป็นคนจะเป็นบ้า มีรูปร่างน่าเกลียด ใจเป็นพาลไม่รู้จักผิดชอบ เป็นคนใจคอโหดเหี้ยม หากไม่รู้จักบาปนั้นยังคงกระทำต่อไป บาปนั้นจะเพิ่มมากขึ้น และยากที่จะพ้นจากบาปนั้นได้บาปกรรมที่มีควรกระทำ ที่เจ้าทั้งหลายควรเว้น ที่เราได้กล่าวมาแล้วนี้ ชื่อว่า เบญจศีล เจ้าทั้งหลายจงจำไว้ให้มั่น และจงสั่งสอนไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลาย ในอาณา จักรของตนให้รู้ให้ปฏิบัติชอบ จะได้เจริญและมีความสวัสดีทุกๆ คน
   ท้าวพระยาทั้งหลาย ไพร่ฟ้าข้าไทราษฎรทำไร่ไถนาเลี้ยงชีวิตในแผ่นดิน ของเรานี้ เมื่อข้าวออกรวง ผู้ทำนาไม่ว่าจะเป็นผู้ดีหรือเข็ญใจ ให้เขาแบ่งข้าวเปลือก เป็น ๑๐ ส่วน เป็นของหลวง ส่วนหนึ่ง อีก ๙ ส่วนเป็นของเขาผู้นั้น หากเห็นว่า เขาทำนาไม่ได้ข้าว ก็ไม่ควรเอาของเขา อนึ่ง ควรแจกข้าวแก่ไพร่พลและทหารทั้งหลาย เดือนละ ๖ ครั้ง เขาจึงจะพอกินอย่าให้เขาอดอยาก ถ้าจะให้เขาทำสิ่งใดก็ตาม ควรใช้แต่พอควร อย่าใช้งานมากเกินไป ไม่ควรใช้คนมีอายุมาก ควรปล่อยเขาไปเป็นอิสระ ให้เก็บส่วยจากราษฎร ตามแบบที่ท้าวพระยาแต่โบราณกระทำ มา ถ้าทำได้เช่นนั้นผู้เฒ่าผู้แก่ทั้งหลายจะสรรเสริญว่ากระทำชอบ ไม่ควรเก็บส่วยจากราษฎรมากเกินไป ถ้าทำเช่นนั้น ท้าวพระยาผู้จะมาเสวยราชย์ต่อจากเราในภายหน้าจะถือเป็นตัวอย่าง เป็นธรรมเนียมสืบต่อๆ กันไป บาปจะเกิดแก่เรา เพราะเรากระทำความไม่ชอบธรรมนี้ไว้ในแผ่นดิน
  อนึ่ง หากไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลายในแผ่นดินเรา จะไปค้าขายแต่ไม่มีทุน และได้มาหาและมาขอกู้เงินทองเป็นทุนจากเราผู้เป็นนาย เราควรเอาเงินจากท้องพระคลังให้เขา และให้จดบัญชีไว้แต่ต้นปีว่าเขากู้ไปเท่าใด เราผู้เป็นนายไม่ควรคิดดอกเบี้ยเขาเลย ควรเรียกแต่ต้นทุนคืนเท่านั้น ไม่ควรเรียกเก็บภาษีหรือดอกเบี้ยจากเขาเลย  ท้าวพระยาทั้งหลายควรให้ทรัพย์สินแก่ลูกและเมียของเสนามนตรี และ ไพร่พลทั้งหลาย เพื่อเป็นเบี้ยเลี้ยงเสบียงสำหรับเขา เป็นเครื่องแต่งตัว ควรให้ทรัพย์สินแก่เขา เขาจะได้เต็มใจทำงาน เราผู้เป็นท้าวพระยาไม่ควรคิดเสียดายทรัพย์
   ขณะที่เสนามนตรีทั้งปวงเข้าเฝ้า พระราชาไม่ควรพูดมาก ไม่ควรยิ้มมาก ควรพูดและแย้มยิ้มพอประมาณ อย่าลืมตัว เมื่อจะตัดสินคดีความทั้งหลาย อย่าพูดนอกเรื่องหรือทะเลาะกัน ต้องตัดสินคดีความอย่างยุติธรรม พิจารณาความให้ตลอดถี่ถ้วน แล้วจึงตัดสิน
ความอย่างซื่อตรง ให้เลี้ยงดูบำรุงสมณพราหมคณาจารย์และนักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้รู้ ธรรมยกย่องให้นั่งในที่สูง แล้วจึงสนทนาซักถามธรรมอันประเสริฐ ไพร่ฟ้าข้าราชบริพารผู้ใดทำความดีความชอบเป็นประโยชน์แก่ท้าวพระยาต้องให้รางวัลผู้นั้นมากน้อยตาม
ความดีที่เขาทำ
   ถ้าพระราชาองค์ใด เมื่อเสวยราชย์แล้วทรงปกครองโดยชอบธรรม ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์จะอยู่เย็นเป็นสุข เพราะพระบุญญาบารมีของพระราชา ผู้เป็นนาย มีข้าวปลาอาหาร แก้วแหวนเงินทอง ผ้าผ่อนแพรพรรณบริบูรณ์ ฝนตกปริมาณพอดีตกตามฤดูกาล ข้าว
ในนาปลาในน้ำก็ไม่หมดไปเพราะฝน ไม่แล้ง  อนึ่ง วันคืน เดือนปี ทั้งหลายย่อมเป็นไปโดยปรกติ เทวดาอารักษ์ประจำเมืองก็รักษาเมือง เพราะเกรงบุญบารมีของพระราชาผู้ปกครองโดยธรรม ถ้าพระราชาองค์ใดไม่ปกครองโดยธรรม ฝนจะวิปริต การทำไร่ไถนาจะเสียหาย เพราะฝนแล้ง โอชารสที่อร่อยในดินจะจมหายไปได้แผ่นดินทั้งสิ้น ผลไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ จะไม่งอกงาม แดด ลม ฝน เดือนและดาวจะไม่เป็นไปตามฤดูกาลดังแต่ก่อน ทั้งนี้เพราะพระราชาไม่อยู่ในธรรม เทวดาทั้งหลายเกลียดพระราชาอธรรม ไม่ชอบมองหน้าพระราชานั้น จะมองด้วยหางตาเท่านั้น พระราชาทั้งหลาย จงจำคำที่เราสอนไว้นั้นตราบเท่ามีชีวิตอยู่ และจงเร่งกระทำความชอบธรรมนี้เถิด จะได้มีความสุขความเจริญทั้งในชาตินี้และชาติหน้า เมื่อสิ้นชีวิตไป แล้วจะได้ไปเกิดใน ๖ ชั้นฟ้า ถ้ามาเกิดในเมืองมนุษย์ จะได้เกิดในตระกูลดีมียศศักดิ์มีบุญทุกประการ
   ถ้ามีผู้ถามว่า เมื่อพระยามหาจักรพรรดิราชสั่งสอนพระราชาทั้งหลาย นั้น พระราชาเหล่านั้นสนใจฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอนนั้นหรือไม่ ตอบว่า แม้พระพุทธเจ้าผู้ได้สะสมสร้างบารมีมามากจนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และได้สั่งสอนชาวโลกนั้น ยังมีบางคนผู้
มีบุญเต็มใจปฏิบัติตามคำสั่งสอน บางคนมีบุญน้อยไม่นิยมปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามยังมีจำนวนมาก ส่วนพระยามหาจักรพรรดิราชไม่อาจเทียบกับพระพุทธเจ้าได้ ยังห่างไกลกันมาก ดังนั้น ไม่ใช่พระราชาทั้งหมดจะปฏิบัติตามคำสั่ง
สอน บางคนฟังคำสั่งสอนและทำตาม บางคนไม่เชื่อและไม่ทำตาม
   พระธรรมเทศนาที่พระยามหาจักรพรรดิราชทรงแสดงแก่พระราชาทั้ง หลายในบุรพวิเทหทวีป ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของแผ่นดินนี้ ชื่อว่า ชัยวาทสาสน์ แล้วพระองค์จึงเลี้ยงอำลาพระราชาทั้งหลายพร้อมด้วยข้าราชบริพารทั้งปวงด้วยอาหารอันมีรสเลิศทั้งหลาย แล้วกงจักรแก้วก็เหาะขึ้นไปในอากาศ นำพระยามหาจักรพรรดิราชพร้อมด้วยรี้พลไปทางทิศตะวันออก มุ่งไปทางกำแพงจักรวาล ด้านตะวันออก เมื่อมาถึงฝั่งมหาสมุทรด้านตะวันออก กงจักรแก้วก็ผันลงสู่มหาสมุทร น้ำมหาสมุทรกลัวบุญบารมีกงจักรแก้วจึงไม่ตีฟองเป็นละลอก เปรียบ เหมือนพระยานาคซึ่งกำลังแผ่พังพานอยู่ ต้องก้มสยบหัวลงแอบซ่อนเพราะความกลัวอาญาเมืองกงจักรแก้วนั้นผันไปถึงพระมหาสมุทรแล้ว นํ้าในมหาสมุทรก็แยกออกเป็นทาง กว้าง ๑ โยชน์ หรือ ๘,๐๐๐ วา นํ้าสองข้างงามเหมือนกำแพงแก้วไพฑูรย์ เมื่อกงจักรแก้วไปถึงพื้นมหาสมุทร นํ้าแยกออกเป็นเนื้อที่ ๘,๐๐๐ วา แก้ว ๗ ประการที่อยู่ในพื้นมหาสมุทรและแก้วประเภทต่างๆ ก็มาอยู่ตรงทางที่พระยามหาจักร    พรรดิราชเสด็จด้วยรี้พล ตั้งยังมหาสมุทรนี้ไปจนถึงฝังโน้น ตลอดไปจนถึงเชิงกำแพงจักรวาล ทั้งนี้เพราะอำนาจของกงจักรแก้วนั้น
  ฝูงคนทั้งหลายที่ตามเสด็จพระยามหาจักรพรรดิราชในวันนั้นต่างเห็น แก้วแหวนเงินทอง ต่างก็เลือกเอาตามใจตน บางคนกวาดเอาใส่พก บางคนกวาดใส่ห่อผ้า คนทั้งหลายชื่นชมยินดีมาก ทุกคนร้องชมว่า แต่ก่อนเราไม่เคยพบเห็น อย่างนี้ บัดนี้เราได้เห็นได้พบ ทั้งนี้เป็นเพราะบุญบารมีเจ้านายเรา
   กงจักรแก้วนั้นก็นำเสด็จพระยาไปถึงฝั่งมหาสมุทรอีกด้านหนึ่ง จนถึง กำแพงจักรวาลฝั่งตะวันออก พระยามหาจักรพรรดิราชจึงหลั่งนํ้าหอมจากหม้อทองลงสู่พื้นดินและประกาศว่า ดินแดนฝั่งตะวันออกนั้นเป็นของเรา อาณาประชาราษฎร์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนตะวันออกนี้เป็นของเรา แล้วพระยามหาจักรพรรดิราชก็เสด็จกลับทางเก่า คนทั้งหลายก็กลับตาม ข้าราชบริพารและไพร่พลบางคนนำเสด็จ บางคนตามเสด็จ ส่วนกงจักรแก้วนั้นตามหลังคนทั้งหลาย เพราะคอยกันไม่ให้นํ้าในมหาสมุทรท่วมกลบหนทางของคนทั้งหลาย ส่วนนํ้าในมหาสมุทร รักกงจักรแก้วมาก ไม่อยากให้จากไป เปรียบเหมือนนางรูปงาม มีสามีที่ตนรัก และสามีได้จากไปเป็นเวลานาน เมื่อกลับคืนมาหาและจะจากไปอีก นางรักสามีมากไม่อยากให้จากไป จึงกล่าวถ้อยคำเล้าโลมสามี เพราะไม่อยากให้จากไป ฉันใดก็ดี น้ำในมหาสมุทรก็ฉันนั้น นํ้าในมหาสมุทรมีใจรักกงจักรแก้วยิ่งนัก  จึงตามมาส่ง นํ้านั้นคอยท่วมทางตามกงจักรแก้วมา แต่ไม่ถูกกงจักรแก้วเลย แก้วแหวนเงินทองทั้งหลายก็มีใจรักกงจักรแก้วมาก จึงชวนกันมาส่งกงจักรแก้ว ถึงฝั่งมหาสมุทร เมื่อกงจักรแก้วขึ้นมาจากมหาสมุทรแล้ว นํ้ามหาสมุทรก็เต็มดังเดิม
  เมื่อพระยามหาจักรพรรดิราช ปราบบุรพวิเทหทวีป ซึ่งอยู่ทางทิศตะวัน ออก ได้เอามหาสมุทรและเชิงเขากำแพงจักรวาลเป็นเขตแดนเบื้องตะวันออก และประสงค์จะมาปราบชมพูทวีป ซึ่งมีมหาสมุทรกั้นอยู่ จึงเสด็จทางอากาศ กงจักรแก้วนำพระองค์มาทางอากาศ ดังได้ปฏิบัติมาแต่ก่อน แล้วจึงมาทางแผ่นดินชมพูทวีปที่เราอาศัยอยู่นี้  พระราชาทั้งหลายในชมพูทวีปต่างก็มาถวายบังคมและถวายเครื่อง ราชบรรณาการแด่พระยามหาจักรพรรดิราช พระยามหาจักรพรรดิราชก็ทรงสั่งสอนพระราชาทั้งหลายด้วยธรรมชื่อ ชัยวาทสาสน์ แล้วเสด็จไปยังมหาสมุทร นํ้าในมหาสมุทรก็แยกออกเป็นทางดังกล่าวมาแล้ว รี้พลทั้งหลายก็เก็บแก้วแหวนเงินทองในมหาสมุทรตามต้องการ เมื่อเก็บได้เต็มที่แล้วก็ไปถึงกำแพงจักรวาลด้านใต้ พระยามหาจักรพรรดิราชจึงหลลั่งนํ้าจากหม้อทอง ประกาศว่าดินแดนนี้ และอาณาประชาราษฎร์ในดินแดนนี้เป็นของเรา แล้วจึงเสด็จกลับตามทางเดินในมหาสมุทรนั้น เมื่อเสด็จขึ้นจากนํ้า นํ้ามหาสมุทรก็เต็มดังเดิม
   เมื่อพระยามหาจักรพรรดิราช ปราบดินแดนทางด้านทิศตะวันออกและ ชมพูทวีปอันกว้างได้ ๑๐,๐๐๐ โยชน์แล้ว ก็ประสงค์จะไปปราบดินแดนทางทิศตะวันตก ซึ่งกว้างได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ ชื่อ อมรโคยานี ซึ่งมีมหาสมุทรเป็นเขตแดนกั้นอยู่ พระองค์ซึ่งเสด็จไป
ยังมหาสมุทรทางทิศตะวันตก ปราบแผ่นดินอมรโคยานี และสั่งสอนพระราชาทั้งหลายในทวีปนั้นดังกล่าวมาแล้ว แล้วข้ามมหาสมุทรไปถึงเขตกำแพงจักรวาลทิศตะวันตก พระยามหาจักรพรรดิราชจึงหลั่งนํ้าจากหม้อทอง แล้วประกาศว่า ดินแดนนี้และอาณาประชาราษฎร์ในดินแดนนี้เป็นของเรา แล้ว จึงเสด็จกลับ พระยามหาจักรพรรดิราชประสงค์จะปราบแผ่นดินอุตรกุรุ ซึ่งกว้าง ๘,๐๐๐ โยชน์ บรรดาพระราชาทั้งหลายได้มาถวายบังคมพระยามหาจักรพรรดิราช พระองค์ได้สั่งสอนพระราชาทั้งหลายแล้วข้ามมหาสมุทรไปถึงกำแพงจักรวาลทางทิศเหนือ แล้วจึงหลั่งนํ้าจากหม้อทอง และประกาศว่าตั้งแต่นี้ไป ดินแดนนี้ อาณาประชาราษฎร์ในเมืองนี้ เป็นของเรา แล้วเสด็จกลับตามทางเดิมในมหาสมุทร ดังกล่าวมาแล้ว เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นจากมหาสมุทรแล้ว น้ำในมหาสมุทรก็เต็ม ดังเดิม
   บรรดาพระราชาทั้งหลายในแผ่นดินน้อยใหญ่จำนวน ๒,๐๐๐ ซึ่งรวม บริวารของทวีปทั้ง ๔ ทวีปละ ๕๐๐ ก็ได้มาเฝ้ามาถวายบังคมพระยามหาจักรพรรดิราชเอง พระยามหาจักร พรรดิราชไม่ต้องเสด็จไปปราบ ทรัพย์สมบัติทั้งหลายในแผ่นดิน ในจักรวาลและในมหาสมุทรทั้ง ๔ ในส่วนที่รัศมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ส่องไปถึง ย่อมเป็นพระราชทรัพย์ของพระยามหาจักรพรรดิราชทั้งสิ้น มีจำนวนมากมายยิ่ง เหมือนดังกงจักรราชรถของพระอินทร์ผู้เป็นเจ้าครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อพระยามหาจักรพรรดิราชปราบได้ทั่วทุกทวีปและจักรวาลแล้วประสงค์จะทอดพระเนตรมหาสมบัติของพระองค์ กงจักรแก้วเหมือนจะรู้พระทัย จึงหมุนเหาะ ขึ้นไปในอากาศ มีรัศมีดั่งดวงจันทร์ หมุนรอบเขาพระสุเมรุนั้นสว่างดังพระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกัน ๒ ดวง คนทั้งหลายเห็นแสงสว่างรุ่งเรืองดังนั้นคิดว่าเป็นพระอาทิตย์ ๒ ดวง เมื่อพระยามหาจักรพรรดิราชและรี้พลทั้งหลายที่ตามเสด็จลอยขึ้นไปในอากาศด้วยอำนาจของกงจักรแก้วนั้น ก็แลเห็นทั่วทุกแห่ง เห็นเขาพระสุเมรุอยู่ตรงกลาง เห็นแผ่นดินใหญ่อยู่รอบเขาพระสุเมรุ ๔ ทิศ เห็นแผ่นดินน้อยซึ่งเป็นบริวารของแผ่นดินใหญ่จำนวน ๒,๐๐๐ เห็นพระมหาสมุทรทั้ง ๔ ซึ่ง เป็นเขตแดนขวางกั้นอยู่ เห็นแม่นํ้า
ใหญ่น้อยทั้งหลาย เห็นยอดเขาใหญ่ เห็นป่า ใหญ่บนทั้ง ๔ ทวีป เห็นเมืองน้อยใหญ่ เห็นถิ่นฐานชนบทนับไม่ถ้วน
   คนทั้งหลายเห็น ห้วย หนอง คลอง บึง และสระที่มีดอกบัวนานาพรรณ มีดอกและรากเหง้างามตระการ กงจักรแก้วนั้นบันดาลให้พระยามหาจักรพรรดิราชเห็นถ้วนทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว จึงนำเสด็จลงสู่แผ่นดินและเมืองที่พระยามหาจักรพรรดิราชประทับอยู่ เมื่อ
กงจักรแก้วมาถึงประตูพระราชวังของพระยามหาจักรพรรดิราช ก็ลอยอยู่กลางอากาศในระยะสูงพอสมควร คนทั้งหลายนำข้าวตอกดอกไม้มากราบไหว้บูชา เมื่อพระยามหาจักรพรรดิราชมาถึงเรือนหลวงแล้ว จึงสั่งให้ปลูกมณฑปแก้วขึ้น มีแก้ว ๗ ประการเป็น
เครื่องประดับมณฑปเขาแก้วนั้นมีประตูทำด้วยแก้วและทองดูรุ่งเรืองงามมาก แล้วจึงให้กงจักรแก้ว มาอยู่ที่มณฑปนั้น คนทั้งหลายจึงนำข้าวตอกดอกไม้มาเคารพบูชา ขณะที่กงจักรแก้วอยู่ในมณฑปแก้วนั้น ปราสาทของพระยามหาจักรพรรดิราชไม่ต้องจุดประทีป
โคมไฟเลย เพราะรัศมีกงจักรแก้วนั้นส่องไปให้รุ่งเรืองทั่วทุกแห่งกลางคืนก็เหมือนกลางวัน แต่ถ้าใครต้องการให้มืด ก็จะรู้สึกมืดด้วยใจของผู้นั้น

       ตัวอย่างของพระเจ้าบรมจักรพรรดิ

   -พระเจ้าบรมจักรพรรดิ   คือจักรพรรดิที่บำเพ็ญบุญบารมีมามากมีอานุภาพมากกว่าพระเจ้าจักรพรรดิทั้ง ๒ ประเภท และบั้นปลายชีวิตในการครองราชจะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์   เช่น  พระเจ้าสังขจักรบรมจักรพรรดิ  จะบังเกิดในสมัยของพระศรีอริยเมตตรัยสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงมาตรัสรู้ 

       พระเจ้าสังขะบรมจักรพรรดิ
    ในช่วงที่พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จลงมาบังเกิดบนโลกนั้น จะตรงกับสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิ พระนามว่า “สังขจักร”-แห่งเกตุมดีนคร    พระเจ้าสังขจักรบรมจักรพรรดิทรงสำเร็จศิลปศาสตร์ทุกเแขนงเมื่อมีพระชนมายุ ๗ พรรษา
    เรื่องราวของพระองค์ก็มีอยู่ว่า ในคราวที่พระเจ้าสังขจักรทรงมีพระชนมายุเพียงแค่เจ็ดพรรษา พระองค์ทรงเป็นพระราชกุมารที่ทรงมีพระปรีชาสามารถเป็นอย่างมาก เพราะพระองค์สามารถเล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกแขนงจนจบทั้งหมด เมื่อพระเจ้าสังขจักรบรมจักร พรรดิจะทรงราชาภิเษก ได้มีปราสาททองประดับด้วยรัตนชาติ ผุดขึ้นมาจากมหาสมุทร
    เมื่อถึงคราวที่พระเจ้าสังขะจะทรงราชาภิเษกครองราชสมบัติต่อจะพระราชบิดา ก็ได้มีปราสาททองประดับด้วยรัตนชาติ ผุดขึ้นมาจากมหาสมุทรเพื่อรองรับพระราชพิธีราชาภิเษกของพระองค์ ครั้นปราสาททองผุดขึ้นมาแล้ว พระองค์ก็ทรงจัดพระราช
พิธีราชาภิเษกในปราสาททองหลังนี้
   พระเจ้าสังขจักรบรมจักรพรรดิ  นอกจากจะใช้ปราสาททองหลังนี้เป็นสถานที่จัดพระราชพิธีราชาภิเษกแล้ว พระเจ้าสังขจักรยังทรงใช้ปราสาททองหลังนี้เป็นที่บำเพ็ญจักรวรรดิวัตรและรักษาอุโบสถศีลอีกด้วย การบำเพ็ญจักรวรรดิวัตรและการรักษาอุโบสถศีล ถือเป็นสิ่งสำ คัญที่พระเจ้าจักรพรรดิทุกๆพระองค์จะต้องทรงกระทำ เพราะถ้าไม่ทำก็ไม่สามารถเข้าถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิได้

    ในสมัยนั้น  กรุงพาราณสีจะเปลี่ยนชื่อเป็น “เกตุมดี”   เกตุมมดีนคร  โดยส่วนยาววัดได้ ๑๖ โยชน์ โดยส่วนกว้างวัดได้ ๑ โยชน์ มีต้นไม้กัลปพฤกษ์เกิดขึ้นทั้ง ๔ ประตูเมือง มีแก้ว ๗ ประการ มีกำแพงแก้ว ๗ ชั้นโดยรอบพระนคร ครั้งนั้น มหานฬกาลเทวบุตร ก็จุติลงมาเกิดเป็นพระเจ้าบรมจักรพรรดิราช ทรงพระนามว่า “พระเจ้าสังขจักร” เสวยศิริราชสมบัติในเกตุมดีมหานคร ในท่ามกลางเมืองนั้นมีปรางค์ปราสาททองอันสำเร็จไปด้วยแก้ว ๗ ประการ ผุดขึ้นมาจากมหาสมุทร ลอยขึ้นมายังอากาศ มาตั้งอยู่ในท่ามกลางเกตุมดีมหานคร ปรางค์ปราสาทนี้ แต่กาลก่อนเป็นปรางค์ปราสาทแห่งสมเด็จพระเจ้ามหาปะนาท ครั้นสิ้นบุญพระเจ้ามหาปะนาทแล้ว ปรางค์ปราสาทนั้นก็จมลงไปในมหาสุทร เมื่อสมเด็จบรมจักรจอมทวีปผู้ทรงพระนามว่า “พระเจ้าสังขจักร” ได้เสวยราชสมบัติในเกตุมดีนครนั้น ปรางค์ปราสาทก็ผุดขึ้นมาแต่มหาสมุทรด้วยอานุภาพของพระเจ้าบรมจักรพรรดิ ประดับไปด้วยหมู่พระสนมแสนสาวสุรางค์ทั้งหลายประมาณ ๘ หมื่น ๔ พันคน พระองค์มีพระราชโอรส ๑๐๐๐พระองค์ พระราชโอรสผู้ใหญ่นั้น ทรงพระนามว่า “อชิตราชกุมาร” เจ้าอชิตราชกุมารนั้น เป็นปรินายกคือผู้นำแก้ว แห่งสมเด็จพระราชบิดาผู้เป็นพระเจ้าบรมจักรพรรดิสังขจักร อันบริบูรณ์ไป ด้วยแก้ว ๗ ประการ

       แก้ว 7 ประการ ของพระเจ้ามหาจักรพรรดิ์
ผู้ที่จะเป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิได้นั้นจักต้องมีบุญญาธิการ บำเพ็ญพระบารมีมามากแล้ว (อย่างน้อยต้องเต็ม ๑๐ ทัศ ) และเมื่อได้เป็นพระเจ้ามหาจักรพรรดิ ซึ่งมีอยู่ ๒ ประเภท คือ:-
   ๑. มหาปนาทจักรพรรดิ
   ๒. มหาสังขจักรพรรดิ
  ในกาลนั้นจะมีแก้ว ๗ ประการ ปรากฏขึ้นเป็นของคู่พระบารมี ดังนี้ มหาปนาทจักรพรรดิ นั้น เป็นเนรมิตนาม ของพระจักรพรรดิราชาธิราช ทุกพระองค์ที่ทรงมี สัตตรัตนสมบัติ ๗ ประการ กับมี คทาใหญ่ อันเป็นนิมิตสมบัติจักรพรรดิชุดบก หรือชุดแผ่นดิน เช่นเดียวกัน มหาสังขจักรพรรดิ ก็ทรงมี สัตตรัตนสมบัติ ๗ ประการ กับมี สังข์ใหญ่ หรือมหาสังข์ อันเป็นนิรมิตสมบัติจักรพรรดิชุดน้ำ หรือชุดทะเล สัตตรัตนสมบัติ ๗ ประการนั้น คือ:-
   ๑. จักรรัตนะ คือจักรแก้ว

        
      ๐จักรรัตนะ หรือ จักรแก้ว จมอยู่ในท้องมหาสมุทรลึกได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ดุมเป็นแก้วอินทนิล ประกอบไปด้วยแก้วทั้ง ๗ ประการ มีพันซี่ หัวกำอันฝังเข้าไปในดุมเป็นเงิน และทองอันงาม มีรัศมีดุจพระอาทิตย์ ครั้นพระมหาจักรพรรดิปรากฏขึ้น จักรแก้วนี้ก็จะทะยานขึ้นจากท้องมหาสมุทร ร่อนลงที่ประตูเมือง แล้วกระทำทักษิณาวัตรรอบเมือง จากนั้น จะเข้าไปสู่พระราชมณเฑียรของมหาจักรพรรดิ กระทำทักษิณาวัตรรอบมณเฑียร แล้วเข้ามานบนอบที่เบื้องบาทแห่งองค์ พระมหาจักรพรรดิ ซึ่งจักรแก้วนี้มีฤทธิ์สามารถปราบได้หมดทุกทวีป ไม่อาจที่จะหามนุษย์ผู้ใดต่อต้านได้ เมื่อพระมหาจักรพรรดิยกทัพ จักรแก้วสามารถทำให้ ทั้งกองทัพเดินทางไปในอากาศเหมือนกองทับของเหล่าเทพยดา
  ๒.หัตถีรัตนะ  คือช้างแก้ว

     
     ๐หัตถีรัตนะ หรือ ช้างแก้ว ครั้นพระมหาจักรพรรดิปราบได้ทุกทวีปแล้ว จะทำการสร้างโรงช้างประดับด้วยเงิน และทอง และแก้ว ๗ ประการ จากนั้นจึงปูลาดด้วยผ้าหลายชั้น เอาข้าวตอกดอกไม้โปรยทั่วโรงช้าง แล้วพระมหาจักรพรรดิ จะทำทานรักษาศีล ๗ วัน แล้วคำนึงถึงช้างแก้ว ช้างแก้วตระกูลฉัตรทันต์ หรือตระกูลอุโบสถ ก็จะเหาะมาลงที่โรงช้าง ช้างแก้วนี้จะเป็นช้างเผือก มีงวงแดงงามดั่งดอกบัวแดง สามารถเดินทางไปในอากาศได้
ด้วยความรวดเร็ว มีพละกำลังอันมหาศาล
  ๓.อัสสรัตนะ  ตือม้าแก้ว

    
     ๐อัสสรัตนะ หรือ ม้าแก้ว พระมหาจักรพรรดิ จะทำการสร้างโรงม้าประดับด้วยเงิน และทอง และแก้ว ๗ ประการ จากนั้น จึงปูลาดด้วยผ้าหลายชั้น เอาข้าวตอกดอกไม้โปรยทั่วโรงม้า แล้วพระมหาจักรพรรดิจะทำทานรักษาศีล ๗ วัน แล้วคำนึงถึงม้าแก้ว ม้าแก้วอันงามดังสีเมฆหมอกขาว และมีลายเขียวดังสายฟ้าแลบ มีกีบเท้าทั้งสี่ และหน้าผากแดงดังน้ำครั่ง กำยำล่ำสัน ขนหัวนั้นดำเลื่อมงามดังดำกา เรืองงามดังแก้วอินทนิล ก็จะเหาะมาลงที่โรงม้า ม้าแก้วสามารถเดินทางทางไปในอากาศได้อย่างรวดเร็วกว่าจรวดหลายแสนเท่า
  ๔.มณีรัตนะ  คือแก้วมณี

     
     ๐มณีรัตนะ หรือ แก้วมณี พระมหาจักรพรรดิจะต้องทำทานรักษาศีล ๘ แล้วคำนึงถึงแก้วรัตนะ มณีรัตนะ อันอยู่ที่วิบูลบรรพต ก็จะลอยมาหามณีรัตนะนี้สามารถทำให้เวลากลางคืนสว่างดุจกลางวัน
  ๕. อิตถีรัตนะ  คือนางแก้ว

     
     ๐อิตถีรัตนะ หรือ นางแก้ว พระมหาจักรพรรดิจะต้องทำทานรักษาศีล ๘ แล้วคำนึงถึงนางแก้ว นางแก้วก็จะเหาะมาหา นางแก้วนี้มีฉวีวรรณเกลี้ยงเกลาสดใส ธุลีมิอาจเกาะติดกายนางสรีระ มีลักษณะอัน อุดมถ้วนทุกแห่ง มีรัศมีแผ่ออกรอบกายนาง ๑๐ ศอก มีพระพักตร์งดงาม เนื้อหนังอ่อนนุ่ม มีกลิ่นกายหอม ดั่งแก่นจันทน์กฤษณา กลิ่นปากหอมดังดอกบัวนิลุบล เมื่อร่างกายพระมหาจักรพรรดิหนาว ตัวนางแก้วจะอุ่น เมื่อร่างกาย
จักรพรรดิร้อนตัวนางแก้วจะเย็น และนางแก้ว จะมีรสสัมผัสอันเป็นทิพย์
  ๖.คหบดีรัตนะ  คือขุนคลังแก้ว

     
     ๐คหบดีรัตนะ หรือ ขุนคลังแก้ว พระมหาจักรพรรดิจะต้องทำทานรักษาศีล ๘ แล้วคำนึงถึงขุนคลังแก้ว มหาเศรษฐีผู้ประเสริฐ ก็จะเหาะมาหาพระองค์ ขุนคลังแก้วนี้ จะสามารถทำให้ มหาจักรพรรดิพอพระทัย ทุกประการ มีคุณวิเศษคือ มีตาทิพย์ หูทิพย์ และสามารถนำทรัพย์สมบัติมาได้แม้จะอยู่ที่ใดก็ตาม
  ๗. ปรินายกรัตนะ  คือขุนพลแก้ว

     
     ๐ปริณายกรัตนะ หรือ ขุนพลแก้ว พระมหาจักรพรรดิจะมีโอรสพันกว่าองค์ ล้วนเป็นผู้แกล้วกล้า แต่ลูกคนโตจะ ประเสริฐกว่าน้องทั้งหลาย ได้เป็นลูกแก้ว
    การที่พระเจ้าจักรพรรดิจะได้สมบัติทั้ง ๗ ประการนี้  ก็ด้วยการประพฤติธรรมคือจักกวัตติวัตร  มีการปกครองประเทศโดยธรรม เป็นต้น  แม้คนทั่วไปก็เช่นกัน  ถ้าจะให้สมบัติเกิดขึ้นแก่ตนก็ต้องประพฤติธรรม   ไม่ว่าจะเป็นมนุษยสมบัติ  สวรรค์สมบัติ  และนิพพานสมบัติ  บุคคลจะได้รับก็ด้วยการประพฤติธรรมทั้งสิ้น 

     จงคลิกลิ้งค์ข้างล่างเหล่านี้ขึ้นมาศึกษาประกอบ

http://www.kalyanamitra.org/vdo/index_vdo_track_yt.php?id=55

        สามเณรอายุ ๗ ปีบรรลุพระอรหันต์

              
               กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ
โดย ผู้ทรงคุณวุฒิ และ พิทยา ทิศุธิวงศ์
www.meditation101.org
  [1] กายสิทธิ์ มีหลายระดับ ได้แก่:-
   (1) กายสิทธิ์ที่มีรูปลักษณ์เหมือนพระดาบส-ฤาษี แต่กายสิทธิ์ก็ไม่ใช่วิญญาณของพระดาบส-ฤาษี นั้นๆ
   (2) กายสิทธิ์ที่มีรูปลักษณ์คล้ายกายทิพย์หรือกายพรหม แต่กายสิทธิ์ก็ไม่ใช่เทวดาและไม่ใช่พรหม และ
   (3) กายสิทธิ์ที่มีรูปลักษณ์เป็นกายพระจักรพรรดิ คือพระพุทธรูปทรงเครื่อง (เครื่องประดับของพระจักรพรรดิมีไว้ประกอบการ “เดินวิชชา” หรือ “เข้าวิชชา” และส่งพลังฤทธิ์ต่างๆ) แต่กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ ไม่ใช่ “พระเจ้าจักรพรรดิ” ซึ่งเป็นจอมราชาของมนุษย์ แต่ก็มีส่วนสัมพันธ์กันอย่างมีนัยยะสำคัญ กายสิทธิ์พระจักรพรรดิเป็นของ “ทิพย์ธรรม” แต่ที่เรียกจักรพรรดิเหมือนกัน เพราะมี “รัตนะ 7” ได้แก่
   ๑.จักรแก้ว (ก่อให้เกิดอำนาจ)
   ๒.แก้วมณี (ก่อให้เกิดสะอาดสว่างรอบรู้)
   ๓.ขุนพลแก้ว (มีกำลังพลสนับสนุน)
   ๔.ขุนคลังแก้ว (มีกำลังทรัพย์สมบัติ)
   ๕.นางแก้ว (ก่อให้เกิดความสวยงามและสุขสบายใจ)
   ๖.ช้างแก้ว (ก่อให้เกิดความสะดวกเอื้ออำนวยต่องานการ)
   ๗.ม้าแก้ว (ความรวดเร็วว่องไว) เป็นทีมงานบริวารช่วยงาน และเป็นเครื่องมือในการทรงอยู่และทำงาน พระเจ้าจักรพรรดิกายมนุษย์ มีรัตนะ 7 ของหยาบที่จับต้องได้ ส่วน กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ มีรัตนะ 7 ของละเอียดที่เป็น “ทิพย์ธรรม” ส่วนมนุษย์ที่เป็น “พระจักรฯ” หรือ “พระจักรพรรดิ” ก็คือมนุษย์ที่มี “ต้นสายธาตุสายธรรม” หรือ “ต้นขั้วแห่งตัวตน” เป็น “กายต้นกายสิทธิ์” หรือ “กายพระจักรพรรดิ” คอยควบคุมดูแลมนุษย์แต่ละคนนั้นๆ ซึ่งต้นสายธาตุสายธรรมของมนุษย์แต่ละคน ก็ไม่ใช่พระจักรพรรดิเสมอไป บางคนมีต้นสายธาตุสายธรรมเป็น “พระธรรมกาย” เป็น “พระพุทธเจ้า” แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น “กายสิทธิ์” ที่คล้ายๆ กายทิพย์ของเทวดา หรือกายพรหม ซึ่งมีอ่อนมีแก่แตกต่างกันไป ซึ่งมนุษย์คนใดที่เป็น   “ภาคพระ” (ฝ่ายดี) หรือ “ภาคมาร” (ฝ่ายชั่ว) ก็ดูกันตรงนี้ ว่า “กายต้นขั้ว” เป็น พระพุทธเจ้า พระธรรมกาย พระจักรพรรดิ หรือ กายสิทธิ์ ฝ่ายพระ หรือฝ่ายมาร ถ้าเป็นฝ่ายพระก็จะเป็นกายขาวใสสะอาด สว่างมากบ้างน้อยบ้างตามกำลังบารมี แต่ถ้าเป็นฝ่ายมาร ก็จะเป็นกายสีดำ ยกเว้นกรณีที่มนุษย์ผู้นั้นเป็นคนของภาคอื่นๆ เช่นภาคทอง, ภาคเงิน (ทองคำขาว), ภาคทองแดง (ทองชมพู) ภาคเทา (อัพยากฤต)  หรือ เป็นจักรพรรดิ และ/หรือ กายสิทธิ์ สีต่างๆ ตามสายธาตุสายธรรม เช่น สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน สีเหลือง สีชมพู สีม่วง สีส้ม และสีอื่นๆ ก็จะมีกายต้นขั้วเป็นสีนั้นๆ ตามภาคที่มาแห่งตน ซึ่งต้นสายธาตุสายธรรม ส่งมนุษย์ท่านนั้นๆ มาทำงานภารกิจของธาตุธรรม มาสร้างบารมี และเพื่อปลดเปลื้องทุกข์ให้สรรพสัตว์
เป็นต้น ดังเช่นพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลาย จะอยู่ในกรณีนี้เป็นส่วนมาก
  [2] กายสิทธิ์มีทั้งแบบที่บำเพ็ญพัฒนาตนขึ้นไปเป็นพระจักรพรรดิ โดยมักจะเริ่มจากรูปลักษณ์เหมือนฤาษีชีไพร ซึ่งฤาษีชีไพรท่านมีวิชาอัดตัวเองเข้าไปเป็น “กายสิทธิ์” หรือ “กายจำลอง” ของตน สถิตอยู่ในวัตถุ เช่นคดหินต่างๆ เพราะต้องการบำเพ็ญบารมีต่อ หรือเพื่อให้ตนสามารถอยู่ต่อไปยืดยาวได้อีก ในสภาพนั้น จนกว่าจะพบอมตธรรม และ/หรือ ได้ทำงานที่แท้จริง และ/หรือ พบผู้ทรงคุณที่มีวาสนาบารมีแก่กล้า เป็นการเปิดโอกาสให้
   กายสิทธิ์มีส่วนช่วยงานการ ที่จะนำไปสู่การสิ้นสุดสังสารวัฏ ฤาษีชีไพรที่มีญาณแก่กล้า บ้างก็ทราบว่า ธรรมเบื้องต้นนั้น ยังไม่เป็นที่สุดอย่างแท้จริง นี่คือการบำเพ็ญจาก “ล่างขึ้นบน” ซึ่งมีส่วนดีที่ความแก่กล้าจากการส่งสมอบรมอินทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฌานที่แก่เข้มข้น โดยมากแล้ว ฤาษีชีไพรที่ใช้วิชาอัดตัวเองเข้าไปเป็นกายสิทธิ์สถิตอยู่ในวัตถุแล้ว หรือเมื่อหมดอายุขัยแล้ว จิตวิญญาณของท่านก็ไปเกิดใหม่ โดยส่วนใหญ่จะไปอยู่พรหมโลกกัน เหลือเพียงกายสิทธิ์ที่สถิตอยู่ในวัตถุทิ้งเอาไว้ในโลกมนุษย์ สามารถทำงานแทนตนเองได้ต่อไป โดยฤาษีชีไพรที่สำเร็จเป็นพรหมนั้น จะควบคุมดูแลกายสิทธิ์ของตน ที่ฝากเอาไว้ในโลกมนุษย์ เพื่อให้ทำงานจนบรรลุเป้าหมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็คือการ “หมดสิ้นสังสารวัฏ” นั่นเอง ซึ่งเจ้าของกายสิทธิ์ประเภทนี้สามารถที่จะเรียกกายสิทธิ์ของตน กลับคืนมารวมกับตนเองได้ในภายหลังจากที่งานสำเร็จแล้ว ซึ่งพระดาบสและฤาษีชีไพร รวมถึงผู้รู้วิชชาบางท่าน นิยมทำกายจำลอง อัดเป็นกายสิทธิ์ไว้ในวัตถุต่างๆ อย่างเช่น คดหิน มีให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก ฝากเอาไว้แด่ชนรุ่นหลังได้พึ่งพาอาศัยใช้ประโยชน์ และเพื่อทำภารกิจของธาตุธรรมคือการทำที่สิ้นสุดแห่งวัฏสงสาร คล้ายๆ กับพระเกจิอาจารย์ในปัจจุบัน ที่นิยมสร้างพระเครื่อง และเครื่องราง ของขลัง ในวาระโอกาสต่างๆ เพื่อให้ลูกศิษย์และผู้ที่นับถือ ได้พึ่งพาอาศัยใช้ประโยชน์ โดยกายสิทธิ์จะมีวิชชายืนพื้นตามเดิมของผู้จำลอง และมีพลังหรือกำลังมากน้อยตามกำลังของผู้จำลองที่เติมเอาไว้ รวมถึงมีความสามารถ ความชำนาญ ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะ ตามอย่างของผู้จำลองด้วย เช่นกายสิทธิ์บางชนิด เก่งเรื่องคุ้มครองป้องกันภัย บางชนิดเก่งเรื่องรักษาโรค บางชนิดเก่งเรื่องโภคทรัพย์สมบัติ ฯลฯ
  [3] กายสิทธิ์อีกชนิดคือ กายสิทธิ์ที่ผลิตขึ้นจากภพศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีพระจักรพรรดิผู้ใหญ่ (กายทิพย์ธรรม) เป็นผู้ปกครอง ซึ่งภพศักดิ์สิทธิ์นี้ มีเครื่องผลิตกายสิทธิ์ อุปมาได้กับโรงงานผลิต “แอนดรอยด์” ในเมืองมนุษย์ โดยอาศัยบุญศักดิ์สิทธิ์ในการผลิต และตั้งยนตร์กลไกขึ้น เมื่อผลิตแล้ว ก็กระจายส่งไปอยู่ตามที่ต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาและให้ความสุขแก่มนุษย์ ซึ่งภพมารเขาก็มีการผลิตกายสิทธิ์ในทำนองเดียวกันนี้ เพื่อให้กายสิทธิ์
มารก่อให้เกิดทุกข์เกิดโทษแก่เหล่าสัตว์ ซึ่งกายสิทธิ์ที่ผลิตขึ้นจากภพศักดิ์สิทธิ์นี้ ปกติแล้วจะ “เบา” กว่ากายสิทธิ์ที่บำเพ็ญตนขึ้นมาตามลำดับ
  กายสิทธิ์ที่บำเพ็ญหรือแก่กล้าขึ้นจนเป็น “กายสิทธิ์พระจักรพรรดิ” แล้ว มีลำดับขั้นดังนี้
   (1) พระจุลจักรพรรดิ
   (2) พระมหาจักรพรรดิ
   (3) พระบรมจักรพรรดิ
   (4) พระอุดมบรมจักรพรรดิ
   (5) พระเดชอุดมบรมจักรพรรดิ หรือ พระอเนกอุดมบรมจักรพรรดิ
   (6) พระไพบูลย์จักรพรรดิ
   (7) พระไพศาลจักรพรรดิ
   ซึ่งกายสิทธิ์จะอบรมบ่มบารมีในตัวเรื่อยมา หรือเมื่อมาอยู่กับผู้ทรงวิชชา หรือมนุษย์ผู้ทรงคุณ ที่สั่งสมบุญสร้างบารมี หรือทำกิจการงานอันเป็นภารกิจของธาตุธรรม กายสิทธิ์ก็มีส่วนช่วยเอื้ออำนวยให้เจ้าของอยู่ดีมีสุข มีความปลอดภัย บำเพ็ญภาวนาได้ดีขึ้น และกายสิทธิ์ก็จะได้บุญบารมีเพิ่มเติม ไปพร้อมๆ กับเจ้าของ หรือถ้าเจ้าของเจริญภาวนา เข้าญาณ เข้าวิชชา ศึกษาวิชชา กายสิทธิ์ก็จะได้วิชชาเพิ่มเติมตามเจ้าของไปด้วย ถ้าหากทำวิชชาร่วมกัน เมื่องานสำเร็จตามลำดับขั้น หรืองานสร้างบารมี เจริญภาวนา ก้าวหน้า กายสิทธิ์ก็เลื่อนขั้นสูงขึ้นไปตามลำดับ มีความเก่งกล้า มีความแก่กล้า มากยิ่งขึ้นไปด้วย เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ทรงวิชชา หรือเจ้าของกายสิทธิ์ด้วยกันยิ่งๆ ขึ้นไปอีก  ซึ่งจักร    พรรดิยังแบ่งเป็นชนิดต่างๆ ตามภพภูมิ คือ:-
  (ก) จักรพรรดิของมนุษย์
  (ข) ทิพยจักรพรรดิ กายสิทธิ์พระจักรพรรดิที่ดูแลภพเทวดา
  (ค) พรหมจักรพรรดิ กายสิทธิ์พระจักรพรรดิที่ดูแลภพของพรหม/อรูปพรหม 
  (ง) พุทธจักรพรรดิ กายสิทธิ์พระจักรพรรดิที่ดูแลเมืองพระนิพพาน
  (จ) ประเภทอื่นๆ
   มีกายสิทธิ์อีกประเภทหนึ่ง ซึ่ง “ภพศักดิ์สิทธิ์” ส่งลงมาอยู่ในโลกมนุษย์แล้วหล่อเลี้ยงไว้มาเรื่อยๆ พร้อมทั้งปลูกเรือนหยาบ บ่มจนเติบโตเป็นกายสิทธิ์แก่กล้าขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หินแร่ ควอทซ์ และแก้วโป่งข่ามและผลึกต่างๆ ทั้งนี้ เพราะทางธาตุธรรมเจ้าของกายสิทธิ์ ต้องการลองหลายๆวิธี เพื่อทำงานการที่จะนำไปสู้การหมดสิ้นวัฏสงสารได้ โดยกายสิทธิ์ประเภทนี้ จะมาเป็นกำลังให้กับผู้ทรงวิชชาท่านต่างๆ ในการประกอบวิชชา ให้มีกำลังและสรรพคุณต่างๆ พร้อมพรั่งขึ้น
  [4] ผู้ทรงวิชชาสามารถ   ได้แก่:-
    (1) เชิญกายสิทธิ์จากที่อื่นหรือของตนมาซ้อนในวัตถุ อย่างเช่นลูกแก้วหลอม หรือพระของขวัญ
    (2) ใช้วิชชาของตนสร้างกายสิทธิ์แล้วอัดลงไปในวัตถุ อย่างเช่นลูกแก้วหลอม หรือพระของขวัญ ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ทรงวิชชาจะต้องมีวิชชาแก่กล้าพอ
สมควร แต่ส่วนใหญ่แล้ว กายสิทธิ์ที่ผู้ทรงวิชชาสร้างขึ้นได้ มักจะเป็นกายสิทธิ์อ่อนแก่ตามกำลังของผู้ทรงวิชชา หรือเป็นพระจักรพรรดิชั้นต้นๆ
   (3) หากวัตถุมีกายสิทธิ์สถิตอยู่แล้ว ผู้ทรงวิชชาก็กลั่นกายสิทธิ์ให้สะอาดบริสุทธิ์ และสอนวิชชาให้กับกายสิทธิ์เพื่อทำงานต่างๆ มีการคุ้มครอง
ป้องกันภัย, ตามสมบัติ, รักษาโรค เป็นต้น รวมถึงเติมบุญบารมีให้กายสิทธิ์นั้นๆ ซึ่งกาย สิทธิ์มักจะก่อให้เกิดลางสังหรณ์กับเจ้าของ เมื่อจะมีเหตุสำคัญประการหนึ่งประการใดเกิดขึ้น ในกรณีที่เจ้าของยังไม่มีวิชชาหรือไม่มีรู้มีญาณ แต่ถ้ามีแล้ว ก็จะมาแจ้งให้ทราบโดยตรง
  [5] กายสิทธิ์ มีทั้งที่อยู่ในวัตถุ และที่อยู่ในตัวมนุษย์ และสัตว์ เมื่อมีกายสิทธิ์อยู่มาก วัตถุนั้นก็มีกำลังมาก ถ้ามนุษย์ หรือสัตว์ มีกายสิทธิ์สถิตอยู่ในตัวมาก ก็จะมีกำลังความสามารถต่างๆ มากขึ้นไปตามลำดับ บางคนมีกายสิทธิ์มาแต่เดิมไม่มาก แต่เมื่อมีวิชชา หรือรู้จักผู้ทรงวิชชา ก็ “ทับทวี” กายสิทธิ์ในตัวให้มากขึ้นเป็นทวีคูณ ซึ่งปริมาณกายสิทธิ์จะมากขึ้นจริง แต่ว่า “เบา” หรือกำลังไม่แรงมากเท่ากายสิทธิ์ที่มีขึ้นจากการสั่งสมเอง ซึ่ง
กายสิทธิ์ที่สั่งสมเอง ก็เกิดจาก การใช้สติปัญญาความสามารถทำการต่างๆ ภพศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละภาคก็จะส่งกายสิทธิ์มาเติมเก็บไว้ที่ศูนย์กลางกาย (ทำดี หรือการงานที่ชอบ ก็ได้กายสิทธิ์ฝ่ายดี ทำชั่ว หรือการงานที่มิชอบ ก็ได้กายสิทธิ์ฝ่ายชั่ว) ถ้าหากคนเรามีกายสิทธิ์ฝ่ายดีสถิตอยู่มาก ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้เป็นคนดีมีศีลมีธรรม เป็นผู้ทรงคุณ มีคุณธรรม แต่ถ้าหากคนเรามีกายสิทธิ์ฝ่ายไม่ดี สถิตอยู่มาก ก็มักจะมีแนวโน้มที่ทำให้เป็นคนทุศีล นิสัยใจคอเป็นพาลเสียส่วนใหญ่
  [6] ท่านผู้ทรงภูมิได้กล่าวเอาไว้ว่า อันว่าปางกายของพระพุทธเจ้านั้น ยิ่งเรียบง่ายยิ่งดี ส่วนปางกายของพระจักรพรรดิและกายสิทธิ์ในสายพระจักรพรรดินั้น ยิ่งวิจิตรประดับประดาก็ยิ่งประเสริฐ ซึ่งเครื่องประดับของกายสิทธิ์และพระจักรพรรดินั้น ไม่ได้มีไว้เพื่ออวดกันเปล่าๆ แต่มีไว้ประกอบวิชชา ประกอบฤทธิ์ ให้คุณให้โทษต่างๆ นาๆ ได้ อีกทั้งยังเป็นเครื่องแสดงลำดับขั้น และความโดดเด่นในด้านต่างๆ ของพระจักรพรรดิและกายสิทธิ์
นั้นๆ อีกด้วย
   คณะผู้รจนาบทความนี้ ขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ กายสิทธิ์ (กายจำลอง) แห่งพระจักรพรรดิ โดยคร่าวแต่เพียงเท่านี้ ส่วนรายละเอียด เพิ่มเติม ขอให้ท่านผู้ทรงวิชชา และผู้มีรู้มีญาณ ได้ตรวจสอบดูด้วยญาณทัสนะ เพื่อให้เกิดความชัดแจ้งด้วยตนเอง ประดับสติปัญญา และเพื่อประโยชน์ในการขยายความ สั่งสอนศิษย์ และกัลยาณชนทั้งหลายให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงสืบต่อไป
   อนึ่ง ถ้าหากท่านมีข้อสงสัยแต่ประการใด กรุณาติดต่อ www.dhammakaya.org
หากท่านสงสัยว่า ความรู้ที่คณะผู้รจนานำมาเผยแพร่นี้ อยู่นอกคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ ผู้รจนาขออ้างอิงคำสอนของพระพุทธองค์ที่ทรงตรัสว่าธรรมที่พระองค์นำมาสั่งสอนนั้นเป็นประดุจใบไม้ในกำมือ เมื่อเทียบกับธรรมทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งเป็นประดุจใบไม้ในป่า อย่างไรก็ตามแม้ข้อมูลข้างต้นจะไม่ใช่คำสอนของพระพุทธองค์ทั้งหมด แต่ก็เป็นองค์ความรู้ ที่สามารถพิสูจน์ทราบได้ว่าเป็นความจริง ไม่ใช่เรื่องตกแต่งขึ้นเพื่อ
หลอกลวง ซึ่งบางท่านอาจจะได้ประโยชน์เป็นอย่างยิ่งจากองค์ความรู้นี้ ไม่มาก ก็น้อย และถ้าหากมีข้อผิดพลาดแต่ประการใด ผู้รจนาขอน้อมรับไว้ด้วยดี ขอขอบพระคุณครับฯ
   หมายเหตุ: หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาสอบถามได้จากลูกแก้วจักรพรรดิหลากสี ซึ่งแสดงภาพไว้ด้านบนของหน้าเว็บนี้ และถ้าหากท่านต้องการทำความรู้จักกับคดหินกายสิทธิ์-จักรพรรดิ ในรูปลักษณ์ต่างๆ สามารถดูได้ในเว็บไซท์ดังต่อไปนี้:
http://www.bezoarmustikapearls.com/
https://www.manizone.co.uk
http://kingtalisman.com/
http://www.indotalisman.com
https://www.occulttreasurres.com
   จบบรรพ์
   อย่างไรชื่อว่า “จักรพรรดิ” ???
    โดย ครู & Pittaya Wong
    20 พฤษภาคม 2561
https://www.meditation101.org/16645493/10-เรื่องกายสิทธิ์พระจักรพรรดิ

แชร์เลย

Comments

comments

Share: