ศูนย์กลางกายของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย

#ศูนย์กลางกายของมนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลาย
มีอะไรที่ศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือของสัตว์โลกทั้งหลาย คือ มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม นั้น เป็นที่ตั้งของ
ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ซึ่งประกอบด้วย ธาตุละเอียดทั้ง 6ใจ (ธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)ธรรมชาติ 3 ฝ่าย คือ
๑.ฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา)
๒.ฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) และ
๓.ฝ่ายกลางๆ (อัพยากตาธัมมา)ภพซ้อนภพ และยังเป็นที่ไปเกิดมาเกิดของสัตว์ ฯลฯ
ธรรมชาติเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่เองตามธรรมดา เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิ ย่อมสามารถรู้เห็นสิ่งเหล่านี้ได้ ดังพุทธดำรัสที่ว่า “เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง – สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ”
#ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
สัตว์โลก ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ ทิพย์ (เทวดา) พรหม อรูปพรหม นั้น มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอยู่ มีลักษณะขาวใสบริสุทธิ์ ตามระดับความบริสุทธิ์ของจิตใจ
ขนาดของดวงธรรม
เนื่องจากดวงธรรมของสัตว์โลกในระดับโลกิยะ ยังถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่ ดวงธรรมจึงยังไม่ขยายโตเต็มส่วน เต็มที่ ซึ่งตรงกันข้ามกับธรรมกาย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายของธรรมกายนั้นขยายโตเต็มส่วน ปรากฏเห็นอยู่โดยรอบองค์ธรรมกาย เหมือนองค์ธรรมกายประทับนั่งอยู่ในดวงแก้วดวงใหญ่
ธาตุละเอียดทั้ง 6
ธาตุละเอียดทั้ง 6 นั้นก็ตั้งอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
ธาตุละเอียดทั้ง 6 ได้แก่ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ
ธาตุน้ำอยู่ด้านหน้า ธาตุดินอยู่ด้านขวา ธาตุไฟอยู่ด้านหลัง ธาตุลมอยู่ด้านซ้าย อากาศธาตุอยู่ตรงกลาง วิญญาณธาตุอยู่ตรงศูนย์กลางอากาศอีกทีหนึ่งที่ศูนย์กลางของวิญญาณธาตุนั้น ก็ยังมีธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 และธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด และ ธาตุรู้ ก็ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางซึ่งกันและกันเป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างในอีกและขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิดและ ดวงรู้ อันเป็นธรรมชาติรวม (4 อย่าง) ของ “ใจ”
ธรรมชาติ 4 อย่างคือ เห็น จำ คิด รู้ นี้แหละที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนา(ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) และ วิญญาณ (ความรู้อารมณ์)
ก็หมายความว่า กายในกาย ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดกายหยาบกายละเอียดนั้น ต่างก็เป็นกายที่มีชีวิตจิตใจ อีกด้วยนั่นเอง
ธรรมชาติ 3 ฝ่าย
ธาตุทั้ง 6 นั้น ยังเป็นที่ตั้งของ “ธรรม” คือ ธรรมชาติ 3 ฝ่าย ได้แก่
ธรรมชาติฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) หรือ ฝ่ายดี ฝ่ายพระ หรือธรรมขาว ซึ่งเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส ดลจิตใจของสัตว์โลกให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบทางกาย วาจาและใจ และให้ผลที่เป็นความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุขธรรมชาติ
ฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) หรือฝ่ายชั่ว ฝ่ายมาร หรือธรรมดำ ซึ่งเป็นธรรมชาติที่มัวหมอง ดลจิตใจของสัตว์โลกให้ประพฤติผิด รู้ผิด คิดผิด เห็นผิด ด้วยกาย วาจา และใจ และให้ผลเป็นความทุกข์เดือดร้อนธรรมชาติ
ฝ่ายกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว (อัพยากตาธัมมา)
ธรรมชาติทั้ง 3 ฝ่ายนี้ต่างคอยเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ฯลฯ อยู่ในธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้ ของสัตว์ ให้ปฏิบัติตามอำนาจของแต่ละฝ่ายนั้น และปรุงแต่งสัตว์นั้นให้ดี เลว ประณีต หยาบ ละเอียด เป็นสุข เป็นทุกข์ ต่างๆ กันไปตามกรรม ตามธรรมชาติแต่ละฝ่ายดังกล่าว ที่ทำหน้าที่เป็นเหตุนำ เหตุหนุน อยู่ในธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ของสัตว์นั้นๆ
ภพซ้อนภพกายในกาย และธรรมในธรรม ณ ภายใน ที่มีศูนย์กลางกายตรงกัน ซ้อนอยู่เป็นชั้นๆ เข้าไปจนสุดละเอียดนั้น จัดเป็น ภพเป็น ซึ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย ตามสายปฏิจจสมุปบาทธรรม เป็นปัจจุบันธรรมส่วนมนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก อันเป็นที่อยู่ ที่รองรับของ มนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน สัตว์นรก เทวดา พรหม ที่ประกอบด้วยพื้นดิน หิน บ้าง เป็นสถานที่มีวิมานอันเป็นทิพย์บ้าง เป็นต้นนั้น เป็นภพหยาบ เรียกว่า ภพตาย
พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล
เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
แชร์เลย

Comments

comments

Share: