เทวรุกขกุมารชาดก

อิมินา จ ปน ภนฺเตติ อิทํ สตฺถา เชตวเน วิหรนฺโต อตตฺโน ทานปารมึ อารพฺภ กเถสิ ฯ

สตฺถา สมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวัน ทรงพระปรารภทานบารมีของพระองค์เป็นมูลเหตุตรัสธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มว่า อิมินา จ ปน ภนฺเต เป็นอาทิเบื้องต้น อนุสนธิในนิทานวจนะมีดังนี้ว่า

มีบุรุษคนหนึ่งถือเอาดอกไม้กับธงและภัตตาหาร ออกจากบ้านไปสู่พระเชตวัน ถวายอภิวาทพระศาสดาแล้ว นั่งบูชาพระธรรมอยู่ด้วยดอกไม้กับธงและภัตต์ คราวนั้น ดอกไม้กับธงและภัตต์ก็แตกกระจายออกไปตั้งพัน เกิดขึ้นบูชาพระธรรมตรงพระพักตรพระศาสดา ด้วยกำลังอานุภาพแห่งการบูชา บุรุษคนนั้นเห็นอัศจรรย์แล้วก็เกิดโสมนัส สรรพรัตนะก็ปรากฏมีขึ้นที่บ้านเรือนของบุรุษนั้น ๆ ก็เลื่อมใสถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิต

วันหนึ่ง พระภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกัน ณ โรงธรรมสภาพรรณนาคุณรัตนตรัยว่า ชื่อว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงไว้ซึ่งกำลังคุณมากมาย สรรพสัตว์ทั้งหลาย คือ เทวดา มนุษย์ นาค ครุฑ คนธรรพ์ และกินนรเป็นอาทิ พากันเลื่อมใสทำบูชารัตนตรัยด้วยกำลังศรัทธา สมบัติทั้งหลายได้ปรากฏมีเห็นประจักษ์ต่อตาอย่างนี้

พระนราสภมุนีทรงสดับด้วยทิพยโสตแล้ว จึงเสด็จมายังที่ประชุมสงฆ์ตรัสถามทราบความแล้วมีพุทธดำรัสว่า ชื่อว่าทานอันบุคคลให้แล้วด้วยศรัทธาจิต ผลอันอุกฤษฎ์ย่อมเกิดปรากฏเห็นประจักษ์ในปัจจุบัน ผลทานเป็นของอัศจรรย์หนักหนา นักปราชญ์แต่ปางก่อนมีปัญญายังอ่อนอยู่ ได้ทำบูชาพระพุทธรูปคราวเดียวเท่านั้น ย่อมได้สมบัติในปัจจุบันด้วยกำลังแห่งผลบูชา พระบรมศาสดาตรัสดังนี้แล้วก็นิ่งไป พระภิกษุทั้งหลายจะใคร่รู้เรื่องราว จึงกราบทูลอาราธนาขอให้พระศาสดาตรัสเทศนา พระบรมศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาอ้างดังปรากฏต่อไปนี้ว่า

อตีเต กิร ปุรินฺทนคเร ปุรินฺทราชา นาม รชฺชํ กาเรสิ ได้ยินเล่ากันมาว่า ในกาลล่วงมาแล้วนาน มีพระราชาทรงพระนามว่า ปุรินท ดำรงราชสมบัติอยู่ ณ ปุรินทนคร คราวครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ได้เกิดในตระกูลเข็ญใจ นามว่าเทวรุกขกุมาร พระโพธิสัตว์เจ้าลุกขึ้นแต่เช้า ๆ เข้าไปสู่ป่าเกี่ยวหญ้าและหาฟืนมาขาย ได้ทรัพย์มาเลี้ยงขีพของตนและอุตส่าห์รักษาปัญจศีลและอุโบสถตามกาลตามสมัย

วันหนึ่งพระโพธิสัตว์ไปสู่พนมไพร ได้เห็นต้นรังส่งรัศมีงามดังแสงสุริโยทัย แล้วนึกไปว่า ไม้รังตันนี้สีงามนัก ชะรอยอะไรจักมีอยู่ที่นั่น คิดแล้วเดินเข้าไปใกล้ได้เห็นพระพุทธองค์หนึ่งอยู่ที่โคนต้นรัง ก็ตกใจยกหัตถ์นมัสการไหว้แล้วเก็บดอกไม้มาบูชาเปลื้องผ้าห่มออกทำเป็นวิชนี ปัดกวาดภายใต้สาลพฤกษ์แล้ว ฉีกผ้าสาฏออกทำเป็นแผ่นธงบูชาพระพุทธรูปโดยสักกัจเคารพ เมื่อจะความปรารถนาจึงกล่าวพระคาถานี้ว่า

อิมินา จ ปน ภนฺเตปุฺกมฺเมน อนาคเต
สพฺพสตฺตุตฺตโม พุทฺโธภเวยฺยํ อตฺโล ชิโน
สํสรนฺโต จ สํสาเรภเวยฺยํ อุตฺตเม กุเล
พลรูปคุณุเปโตปฺวา จ นรุตฺตโม
ปจฺจามิตฺตา โจราทโยมา โหนฺติ มม สมฺมุขา
สพฺพเวรภยาตีโตภเวยฺยํ ปรมํ สุขนฺติ

ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยบุญกรรมอันนี้ ขอข้าพเจ้าได้เป็นพระพุทธอดุลชิน ผู้ประเสริฐสุดกว่าสรรพสัตว์ในกาลภายหน้า ก็เมื่อยังเที่ยวอยู่ในสงสารวัฏต่อไป ขอพึงไปเกิดในอุดมตระกูล บริบูรณ์ด้วยคุณคือกำลังและรูปงาม และให้มีปัญญาประเสริฐสุดกว่ามุนษย์ชน พวกปัจจามิตรมีโจรเป็นต้น ขออย่าได้มีมาเฉพาะหน้า ขอให้ข้าล่วงพ้นเวรภัยทั้งมวล เป็นบรมสุขทุกทิวาราตรี แล้วพระโพธิสัตว์ก็เดินนึกนั่งนึกถึงบุญอยู่ ณ สถานที่นั้น

​คราวนั้น มีหญิงหม้ายคนจนผู้หนึ่งเป็นหญิงดีมีศีล เที่ยวเกี่ยวหญ้าหาฟืนขายได้ทรัพย์มาเลี้ยงมารดา หญิงนั้นกลับแต่ป่าเดินมาพบพระพุทธรูปองค์นั้น แล้วเข้าไปนมัสการฉีกผ้าที่โพกศีรษะออกท่อนหนึ่งทำบูชา นึกอยากจะให้ได้เป็นภรรยาแห่งพระโพธิสัตว์ เมื่อจะทำความปรารถนาจึงกล่าวคาถานี้ว่า

อิมินา วตฺถปูเชนวณฺณวา รูปวา โหตุ
สุวณฺณาทิอลงฺการาเทวกฺาว รูปวา
อคฺคมเหสิ จ ตสฺสยตฺถ ชาเต กุเล สิยา
โส อิสฺสโร จ สามิโกอชฺฌาสยํ ตเถว จ
ชาติสตสหสฺเสสุมา ทลิทฺที ภวามิหํ
หีเน กุเล น ชายามิขตฺติเย จาปิ พฺราหฺมเณ
สพฺพอิสฺสรา ภวามิหํนรเทเวหิ ปูชิตา
กปฺปาสิกฺจ โกเสยฺยํโขมโกทุมฺพรานิ จ
สพฺพานิ ปาตุภเวยฺยุํยาว นิพฺพานปาปุณา
ตโต โขมฺจ กายุรํองฺคทํ มณิเมขลํ
สพฺพานิ ปาตุภเวยฺยุํยาว อรหตฺตปาปุณา
ตโต โขมฺจ กายุรํคิเวยฺยํ รตนามยํ
สพฺพานิ ปาตุภเวยฺยุํยาว นิพฺพานอชฺฌคา
อุณฺณตํ มุขผุลฺลฺจนานารตฺเต จ มาณิเย
สพฺพานิ ปาตุภเวยฺยุํยาว นิพฺพานปาปุณา
อุคฺคตฺถนํ คิงฺคมกํเมขลํ ปติปาทุกํ
สพฺพานิ ปาตุภเวยฺยุํยาว นิพฺพานนครา

ความว่า ด้วยการบูชาผ้านี้ ข้าพเจ้าจะเกิดในชาติกุศลใด ขอให้มีรูปทรงผิวพรรณงามประดับล้วนด้วยทองคำ งามดังเทวกัญญา จงได้เป็นอัครชายาของชายคนนั้น ชายคนนั้นขอได้เป็นสามีข้า มีอิสรภาพเต็มตามอัธยาศัย และขออย่าให้ข้าเป็นคนเข็ญใจ นับได้แสนแห่งชาติ และขออย่าให้ไปเกิดในสกุลเลวทราม ให้ได้ไปเกิดในสกุลพราหมณ์และกษัตริย์ เป็นอิสรภาพกว่านรชนทั้งมวล อันมนุษย์และเทพยดาทั้งหลายบูชาแล้ว (เป็นนิตย์)

​ผ้ากับปาสิกพัตถ์ (ผ้าทอด้วยฝ้าย) โกไสยพัตถ์ (ผ้าทอด้วยไหม) โขมพัตถ์ (ผ้าเปลือกไม้) โกทุมพรพัตถ์ (ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด) ทั้งมวลหมด พึงให้เกิดมีร่ำไป กว่าข้าพเจ้าจะได้ถึงพระนิพพาน เครื่องประดับคอล้วนแล้วด้วยทองคำก็ดี เครื่องประดับต้นแขนก็ดี สร้อยสังวาลก็ดี ของเหล่านี้ทั้งหมดมวล พึงเกิดปรากฏเสมอไป กว่าข้าพเจ้าจะได้ถึงพระอรหัตต์ ต่อแต่นั้นธำมรงค์และเครื่องประดับสำหรับสวมคอแล้วด้วยแก้วทั้งหลาย พึงเกิดปรากฏเรื่อยไป กว่าข้าพเจ้าจะได้ถึงพระนิพพาน ต่อแต่นั้นเครื่องประดับสำหรับรัดอกให้ผึ่ง และประดับไกรเกศด้วยพวงมาลัย แก้วมณีสีต่างๆ ทั้งมวลหมดจงเกิดปรากฏเสมอไป กว่าข้าพเจ้าจะได้ถึงพระนิพพาน อนึ่งอาภรณ์สองอย่างคือเครื่องประดับทรวงให้ถันช้อยตั้ง และเครื่องประดับไหล่ก็ดี อีกเครื่องประดับเอวสตรีและเครื่องประดับเท้างาม (รองเท้างาม) เหล่านี้ทั้งมวลหมดพึงเกิดปรากฏเรื่อยไป กว่าข้าจะได้ถึงพระนิพพาน ด้วยประการฉะนี้ สตรีเข็ญใจครั้นทำความปรารถนาแล้ว ลุกออกมานั่งนึกถึงการบุญอยู่ใกล้ ๆ ชนทั้งสองต่างนั่งนึกถึงการบุญของตน ๆ อยู่พร้อมกัน

ลำดับนั้น ด้วยอำนาจบุญแห่งชนทั้งสองที่ได้ทำไว้แล้วในปางก่อน และด้วยอานุภาพกุศลที่ชนทั้งสองได้ก่อสร้างในปัจจุบันอำนวยผล อาสนะแห่งท้าวสักกเทวราช ก็แสดงอาการรุ่มร้อนผิดปรกติท้าวโกลีย์เมื่อใคร่ครวญดูก็รู้เหตุนั้นแล้วจึงรับสั่งให้วิษณุกรรมว่า ท่านจงไปยังมนุษย์โลกแล้ว นฤมิตปราสาทและสรรพรัตนะให้แก่ชนทั้งสอง ณ บัดนี้ วิษณุกรรมเทพบุตรรับเทวบัญชา ลงมาทำตามท้าวเทวราชสั่งเสร็จก็กลับไปยังที่ของตนเคยอยู่ ด้วยอำนาจบุญนั้นหากอำนวยผล ชนทั้งสองก็ได้เป็นสามีภรรยากัน เสวยทิพยสมบัติอยู่ในปราสาทนั้น

ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะประกาศการบุญ และจะอุดหนุนสองสามีภรรยา ให้ถือกุศลเจตนาด้วยอำนาจศรัทธา จึงเสด็จมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าปราสาท พระโพธิสัตว์เห็นแล้ว ยังมิได้รู้จักแจ้งจิต จึงภาษิตคาถานี้ว่า

โก นุ ตฺวํ ปลฺลงฺกมาภุเชน ชานามิ ตว โคตฺตํ
เทวตา นุสิ คนฺธพฺโพอาทู สกฺโก ปุรินฺทโท

​ความว่า ดังข้าพเจ้าถาม ท่านเป็นใครมาคู้บัลลังก์นั่งอยู่ ข้าพเจ้ายังไม่รู้จักโคตรของท่าน ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นปุรินททอินทราประการใด

ท้าวสหัสสนัยจึงตอบว่า ข้าพเจ้าคือท้าวเทวินทร์อินทรามาสู่สำนักของท่าน ข้าพเจ้าขอนอบน้อมท่านผู้ประเสริฐ ตัวท่านจักได้เป็นพระสัมพุทธโลกนาถในอนาคตกาลเที่ยงแท้ เทพยดาทั้งมวลเขาชวนกันสรรเสริญโพธิญาณของท่าน เชื่อว่ากาลข้างหน้าต่อไปตัวท่านจักได้เป็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดกว่ามนุษย์จะเปลื้องปลดสัตว์ให้พ้นจากเวรภัยได้ดังนี้

ครั้นเมื่อท้าวโกสีย์ภาษิตอย่างนี้แล้ว พระโพธิสัตว์เมื่อจะถามต่อไปจึงกล่าวพระคาถานี้ว่า

เทวราช มยํ ปุจฺฉามกึ ปุฺํ ปติลภติ
สุโข วิปาโก ปุฺสฺสกาธิปฺปาโย สมิชฺฌติ

ความว่า ข้าแต่เทวราช ข้าพเจ้าขอถามท่าน บุคคลเฉพาะได้ทำบุญสิ่งใดไว้ ผลแห่งการบุญนั้นจึงนำสุขมาให้ ความประสงค์จำนงหวังของบุคคลจะสำเร็จไปด้วยอย่างไร ท้าวสหัสสนัยเมื่อจะบอกความแก่พระโพธิสัตว์ จึงตรัสคาถานี้ว่า

ตฺวํ ว กโรสิ ตํ ปุฺํธชปูชฺจ ปูเชสิ
เตน ปุฺเตเชนปาสาทํ รตนํ ลภิ

ความว่า ท่านเทียวแหละ บูชาธงถวายพระพุทธรูปไว้แล้ว ท่านทำบูชาธงนั่นแหละคือบุญ ด้วยอำนาจบุญนั้นท่านจึงได้ปราสาทและสมบัติเครื่องปลื้มใจ

ท้าวสหัสสนัยเพื่อจะทำความชมเชยพระโพธิสัตว์และภรรยาจึงกล่าวว่า น้ำนมและสังข์ทั้งสองสีขาวเสมอกันฉันใด ท่านก็ดีนารีคือภรรยาก็ดี มีน้ำใจใสเสมอกันฉันนั้น ท่านพึงทำเถิดซึ่งบุญทั้งหลาย ท่านพึงเป็นผู้ให้อยู่เนืองๆเถิด บุคคลจะมีโภคะก็เพราะทาน ผู้จะมีสุขสำราญก็เพราะศีล เพราะฉะนั้น วิญญูท่านผู้รู้พึงบำเพ็ญทานและศีลไว้เป็นนิตย์เถิด ท้าวโกสีย์ให้โอวาทแก่พระโพธิสัตว์เจ้าแล้ว ก็เสด็จไปยังสถานที่อยู่ของพระองค์

​คราวนั้น สรรพสุวรรณหิรัญโคมหึสา ทาสทาสีบริวารนับตั้งแสนเกิดเนื่องแน่นกันไป พระโพธิสัตว์เห็นอัศจรรย์ดังนั้น ก็ปรีดิ์เปรมปลื้มในใจ ครั้นรุ่งราตรีแล้ว มหาชนเกลื่อนกล่นกันมาดูแล้วก็ไปกราบทูลพระราชา พระราชาทรงฟังแล้วก็กริ้วใหญ่ รับสั่งให้เกณฑ์พลโยธานับตั้งแสน แล้วพระองค์เสด็จเป็นประธานยกออกไปทำยุทธกับพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์อธิษฐานสมาธิคู้บัลลังก์อยู่ในปราสาท ด้วยเดชอำนาจพระโพธิสัตว์ พลนิกายทั้งหลายก็แตกกระจายหนีไป

พระราชาทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์ ก็สยดสยองร้องประกาศว่า อานุภาพบุญน่าอัศจรรย์เทียวหนอ พระองค์ก็ทรงโสมนัสตรัสสั่งอำมาตย์ว่า อำมาตย์ทั้งหลาย จงช่วยกันประดับประดาปราสาทนี้ ด้วยเครื่องอลังการมีธงและผ้าเป็นอาทิ ให้ตลอดไปถึงปราสาทของเรา ครั้นอำมาตย์จัดการตามรับสั่งเสร็จ พระราชาก็เสด็จพร้อมด้วยอำมาตย์ทั้งมวล ให้นำบรรณาการไปบูชาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์เทวรุกขกุมารจึงถวายบังคมพระราชา แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

อฺชลึ เต ปคฺคยฺหามิตํว เสฏฺํ นมามิหํ
อนุกมฺปํ อุปาทายเทว เสนา อนูปมา

ความว่า ข้าแต่สมมติเทวา ข้าพระบาทน้อมหัตถอัญชลีถวายบังคมแก่พระองค์ อาศัยพระองค์ทรงพระกรุณา พวกเสนามากมายจึงทำอันตรายมิได้ ด้วยประการฉะนี้

พระราชาทรงฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะปฏิสัณฐารตอบกลับพระโพธิสัตว์ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

กจฺจิ นุ โภโต กุสลํกจฺจิ นุ เทเวหิ ทินฺนํ
สนฺโต สตฺเถน วา ปนเกน เต อีถิสํ ลทฺธํ

ความว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านอยู่เป็นสุขสบายหรือประการใด เราถามท่าน สมบัติเทพยดาให้ท่านหรือ หรือว่าพวกสัตบุรุษให้แก่ท่าน หรือท่านได้ด้วยคุณวิเศษอย่างไร

​เทวรุกขกุมารพระโพธิสัตว์เมื่อจะประกาศการบุญของตนจึงกล่าวนิพนธ์คาถานี้ว่า

โย จ ปุพฺเพกตปุฺโอิทานิ มหทฺธโน ภเว
สเจ ปุฺํ ขีณํ โหติทลิทฺโท โหติ จ นโร
วิปากํ ชานิตฺวา ปนปุพฺเพ จ อุปจีนตา
สพฺพปุฺานิ กริตฺวาทานสีลาทิกมฺปิ จ
ตสฺเสว ปุฺานุภาเวนอธิปฺปาโย สมิชฺฌติ
ปาปํวา อกุสลํ เจวสุขทุกฺขํ ตเถว จ
อินฺทเหวาทิสมฺปตฺตินิพฺพานฺจ วรํ วรํ
น มาตาปิตาหิ ทินฺนํอฺเ วา ปน าตโย
สยํ กตานิ ปุฺานิปาปกมฺมานิ ตเถว จ
สพฺเพ เต อุปเสวนฺติเอวํ ชานาติ ขตฺติย

ความว่า ก็ผู้ใดมีการบุญได้ทำไว้ในกาลก่อนแล้ว ผู้นั้นมาเดี๋ยวนี้พึงเป็นผู้มั่งมี ถ้าหากบุญสิ้นไปแล้ว ผู้นั้นก็จะเป็นผู้ยากจน เพราะเหตุว่าบุญอันบุคคลก่อสร้างไว้ในก่อน เพราะทราบผลอย่างนี้ ผู้ใดทำบุญทั้งปวง มีทานศีลเป็นต้นไว้ ความปรารถนาของผู้นั้น ย่อมสำเร็จด้วยอานุภาพบุญเทียวแล แม้บาปอกุศลก็ดีหรือความสุขทุกข์ก็ดี สมบัติแห่งพระอินทร์และเทวดาก็ดี พระนิพพานประเสริฐสุดกว่าสมบัติอื่นก็ดี มารดาบิดาก็ให้ไม่ได้ หรือผู้อื่นและญาติก็ให้ไม่ได้เหมือนกัน บุญกุศลก็ดี บาปกรรมก็ดี อันบุคคลผู้ใดทำด้วยตนเอง ข้าแต่พระขัตติยวงศ์ พระองค์จงทรงทราบด้วยอาการอย่างนี้

พระราชาทรงสดับธรรมเทศนาของพระโพธิสัตว์แล้ว มีพระหฤทัยโสมนัส พระโพธิสัตว์ทราบพระราชาธิบายแล้ว เมื่อจะแสดงธรรมให้ยิ่งต่อไป จึงกล่าวนัยคาถานี้ว่า

ธมฺมฺจร มหาราชมาตาปิตูสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชปุตฺตหาเรสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชพเลสุ พาหเนสุ จ
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชนิคเม ชนปเทสุ จ
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชมิคปกฺขีสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชมิตฺตามจฺเจสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชสมณพฺราหฺมเณสุ จ
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชอุทเกสุ ถเลสุ จ
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชยาจเก จ วณิพฺพเก
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ
ธมฺมฺจร มหาราชทานสีเลสุ ขตฺติย
อิธ ธมฺมํ จริตฺวานราช สคฺคํ คมิสฺสสิ

ความว่า ข้าแต่จอมขัตติยมหาราช พระองค์จงประพฤติธรรมสุจริต ในชนกชนนีทั้งหลาย ในโอรสและมเหสีทั้งหลาย ในพลพาหนะทั้งหลาย ในชาวนิคมและขนบทั้งหลาย ในหมู่เนื้อและนกทั้งหลาย ในมิตรและอำมาตย์ทั้งหลาย ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ในสัตว์ทั่วไปในน้ำและบนบก ในพวกยาจกและวณิพกทั้งหลาย และในทานและศีลด้วย พระองค์ทรงประพฤติในธรรมไว้ในโลกนี้แล้ว (เบื้องหน้าแต่ทิวงคต) ก็จักเสด็จไปสู่โลกสวรรค์

พระราชาทรงฟังธรรมเทศนา ดุจดังว่าพระพุทธภาษิต มีพระกมลจิตโสมนัส จึงประทานราชสมบัติกึ่งหนึ่งบูชาธรรมพระโพธิสัตว์ ๆ ดำรงตำแหน่งอุปราชาแล้ว ทรงสั่งสอนอรรถธรรมแก่ประชาชน บำเพ็ญกุศลมีทานเป็นต้น สิ้นพระชนมายุแล้วจึงอุบัติเป็นเทวบุตร ดุจหลับแล้วและตื่นขึ้นในกนกรัตนพิมานเมืองสวรรค์

​เพราะเหตุดังนั้น พระบรมศาสดาเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้วเล็งเอาความเรื่องนี้ตรัสสอนพุทธบริษัทดังนี้ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด แม้จะเป็นเด็กหนุ่มเจริญวัยสูงอายุกาล หรือคนพาลไร้ปรีชาและบัณฑิตผู้มีปัญญาก็ดี ผู้มั่งมีและยากจนทั้งมวลหมดย่อมมีมัจจุราชคือความตายเป็นที่ไปเสมอกันสิ้น นรชนผู้ใดได้ความสังเวชสลดใจฉะนี้แล้ว สมาทานปัญจศีลและอุโบสถศีล ทำพุทธบูชาถวายผ้าทำเพดานพระพุทธเจดีย์เป็นต้น ด้วยผลแห่งบุญที่บำเพ็ญแล้วนั้น นรชนนั้นๆย่อมจะได้รื่นรมย์ในเทววิมานสวรรค์

อนึ่ง ผู้ใดได้บำเพ็ญทสทาน คือข้าวน้ำผ้าระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องยานพาหนะที่นั่งที่นอนประทีปสิบอย่างนี้ หรือบริจาคแต่อย่างหนึ่งก็ดี ผู้นั้นครั้นทำลายขันธ์แล้ว ก็จะได้ไปรื่นรมย์อยู่ในเทวโลก จะได้เป็นพระอินทร์เจ็ดชาติ จะได้เป็นจักรพรรดิราชและประเทศราชถึงพันชาติ จะไม่เกิดในอบายภูมิสี่ จะเกิดในมนุษย์โลกก็จะไม่เกิดในตระกูลต่ำมีทาสทาสีเป็นต้น ย่อมจะเกิดในตระกูลกษัตริย์และพราหมณ์ ด้วยอำนาจบุญนั้นติดตามสนอง ถ้าสัตว์เดียรัจฉานปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าไซร้ เมื่อได้อัตตภาพเป็นมนุษย์แล้ว จะบริบูรณ์ด้วยทวัตตึสวรลักษณ์ กอร์ปด้วยวิสารทญาณเฉียบแหลม ถ้าว่าบุญนั้นบกพร่องขาดไป ก็จะได้ผลติดต่อก่อขึ้นใหม่ในปัจจุบัน บุญเก่านั้นยังไม่สิ้นไป อาจจะยังอันตรายให้วินาศ ฉันวุตติกโรคภายในมีวรรณโรคเป็นต้นก็จักพินาศไป ภัยร้อยแปดมีราชภัยเป็นต้น ก็จักไม่มีมาพ้องพาน จะเป็นอิสรภาพทั่วทุกสถาน มนุษย์และเทพยดาจะบูชาเป็นนิย์ จะมีความสุขกายสบายจิตทุก ๆ อิริยาบถ ด้วยวิบากบุญนั้น ๆ อำนวยผล

สตฺถา อิมํ ชาตกํ อาหริตฺวา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงนำชาดกนี้มาแล้ว จึงประชุมชาดกว่า ท้าวสักกเทวราชในกาลครั้งนั้นกลับชาติมาคือ พระอนุรุทธเถระ กุมาริกาหม้ายได้เป็นชายาของอุปราชในครั้งนั้น กลับชาติมาคือ ยโสธรามารดาพระราหุล บริษัทนอกจากนั้นครั้นกลับชาติมาคือ พุทธบริษัททั้งปวงบ้าง คือพุทธสาวกและพุทธโอรสบ้าง คือพระพุทธบิดาและพุทธมารดาบ้างเทา รุกขกุมารในกาลครั้งนั้น กลับชาติมาคือพระตถาคต มีพุทธพจน์ให้จบลงดังนี้แล

จบเทวรุกขกุมารชาดก

แชร์เลย

Comments

comments

Share: