กายสิทธิ์คืออะไร
กายสิทธ์ คืออะไร?
มีความสำคัญต่อการเจริญวิชชาธรรมกายอย่างไร?
กายสิทธิ์ในวิชชาธรรมกาย เรียกว่า ภาคผู้เลี้ยงมนุษย์
ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงมนุษย์ มีหน้าที่เลี้ยงดูพิทักษ์รักษาพวกกาย
มนุษย์ พวกกายสิทธิ์มีรูปร่างคล้ายพระ พุทธรูปทรงเครื่อง
มีดวงแก้วเป็นเรือนอาศัย กล่าวโดยย่อ มี ๓ ขั้น คือ
๑. จุลจักร พร้อมทั้งบริวารมีหนาที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์
ที่มีบารมีอย่างต่ำ
๒. มหาจักร พร้อมทั้งบริวารมีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์
ที่มีบารมีชั้นกลาง
๓. บรมจักร พร้อมทั้งบริวารมีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์
ที่มีบารมีชั้น สูง
มนุษย์คนหนึ่ง ๆ มีจักรพรรดิทั้ง ๓ พร้อมบริวารชุดหนึ่ง ๆ
เป็นผู้เลี้ยง และอาจผลัดเปลี่ยนกันรักษาไปตามคราว ๆ เป็น
ต้นว่า…
คราวใดจุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษาก็มีทรัพย์สมบัติ
และความสุขน้อย
คราวใดมหาจักรกับบริวารเลี้ยงรักษาก็มีทรัพย์สมบัติ
และความสุขมัชฌิมา
คราวใดบรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา ก็มีสมบัติ
และความสุขบริบูรณ์ทุกประการ
ไม่เลี้ยงรักษาแต่เฉพาะกายมนุษย์เท่านั้น สิ่งไม่มีวิญญาณก็
สมบูรณ์เหมือนกัน ถึงแม้สมัยยุคของโลกก็เลี้ยงทั่วไปเป็น
สาธารณะเหมือนกัน
ถ้ายุคใดสมัยใด จุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษาโลกก็มีความสุข
น้อย สมบัติและอาชีพต่าง ๆ ก็อัตคัดกันดารไม่สมบูรณ์
ถ้ายุคใดสมัยใด มหาจักร กับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็มี
ความสุข เป็นมัชฌิมาทรัพย์สมบัติและเครื่องกินเครื่องใช้
ก็พอปานกลาง ไม่ฟุ่มเฟือยนัก และ ไม่กันดารนัก พอ
ปานกลาง
ถ้ายุคสมัยใด บรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็บริบูรณ์
ไปด้วยความ สุขทุกประการ ทรัพย์สมบัติ วิญญาณกทรัพย์
และอวิญญาณกทรัพย์ก็หาได้ง่าย มั่งคั่งสมบูรณ์ไปตาม ๆ
กัน ไม่เบียดเบียนกัน
จักรทั้ง ๓ กับบริวารที่กล่าวมานี้ เฉพาะกายมนุษย์
ส่วนกายอื่น ๆ ก็มีจักรทั้ง ๓ กับบริวารเลี้ยงรักษามีประจำ
สำหรับทุกกายไปตลอดจนกายสุดหยาบ สุดละเอียดเท่ากัน
เหมือนกัน ถ้าเลี้ยงกายไหน รูปพรรณสัณฐาน ร่างกายก็
เหมือนกายนั้น เช่นจักรเลี้ยงกายมนุษย์และกายทิพย์
เลี้ยงกายปฐมวิญญาณหยาบ เลี้ยง กายปฐมวิญญาณ
ละเอียด เลี้ยงกายธรรมเป็นต้นก็มีรูปพรรณสัณฐานเหมือน
กับกายนั้น ๆ แต่ทว่าดีกว่า ใสกว่ากายนั้น ๆ ส่วนรูปร่าง
เหมือนกับกายที่เลี้ยงนั้น ตลอดจนกายสุดหยาบสุดละเอียด
จักรทั้ง ๓ นั้น เหตุใดจึงเรียกนามว่า จักร คือ กายสิทธิ์มีตัวอยู่
ในดวงแก้ว ดวงแก้วนั้นเป็นบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัยของเขา
เหมือนมนุษย์อาศัยอยู่บ้านเรือน
ภายในดวงแก้วนั้นมีรัตนะเจ็ด คือ แก้ว ๗ ประการ ดังต่อไปนี้
จักรแก้ว ๑
ช้างแก้ว ๑
ม้าแก้ว ๑
ดวงแก้วมณี ๑
นางแก้ว ๑
คฤหบดี (ขุนคลัง) แก้ว ๑
ขุนพลแก้ว ๑
ในแก้ว ๗ ประการนี้ จักรแก้วเป็นใหญ่ เป็นประธานในแก้ว ๗
ประการ ทั้งหลายเหล่านั้น ในแก้ว ๗ ประการ เป็นตัวอำนาจ
มีสิทธิให้สำเร็จ อำนาจและเกิดการน้อยใหญ่ ดุจดังมหา
อำมาตย์ผู้ใหญ่ เป็นผู้สำเร็จราชการทั้งปวง เพราะเหตุนี้
แหละ จักรทั้ง ๓ นั้นจึงได้นามว่า “จักร”
ความแตกต่างกันของจักรทั้ง ๓ นั้นคือ
จุลจักร เป็นดวงแก้วกลมใส สะอาด บริสุทธิ์
ประณีต มีฤทธิ์อำนาจและบริวารน้อยกว่าแก้วมหาจักร
มหาจักร เป็นดวงแก้วกลมใส สะอาดบริสุทธิ์
ประณีตกว่าจุลจักร มีฤทธิ์อำนาจบริวารมากกว่าจุลจักร
บรมจักร เป็นดวงแก้วกลมใส ขาวสะอาด
บริสุทธิ์ประณีตกว่าแก้วมหาจักร มีฤทธิ์อำนาจและบริวาร
มากกว่าจุลจักรและมหาจักร
กายหนึ่ง ๆ ก็มีจุลจักร มหาจักร บรมจักร พร้อมทั้งบริวาร
เป็นผู้เลี้ยง มีประจำไปเช่นนี้ทุกกาย กายละพวก ๆ จนสุด
หยาบสุดละเอียด ผู้เลี้ยงก็มีไปจนสุดหยาบสุดละเอียดของ
กายผู้เลี้ยงเหมือนกัน
ขนาดของจักรทั้ง ๓ กับแก้วบริวาร คือ
๑) แก้วจุลจักร และบริวาร ขนาดตั้งแต่เล็กเท่าแววตาดำ
ขึ้นไป จนถึงโตเท่าผลมะตูม หรือผลมะขวิด
๒) แก้วมหาจักร และบริวาร ขนาดผลตาลขึ้นไปจนถึงผล
มะพร้าวแห้ง
๓) แก้วบรมจักร และบริวาร ขนาดตั้งแต่เท่าบาตรขึ้นไปจน
ถึงโตเท่าตะแกรงหรือเท่ากระด้ง
พวกผู้เลี้ยงหรือที่เรียกว่า พวกกายสิทธิ์นี้ ก็มีธาตุตายธรรม
ตาย เป็นต้นว่า ภพเป็นที่อยู่เหมือนกับพวกมนุษย์เช่นเดียวกัน
ธาตุเป็น ธรรมเป็น ก็มีเหมือนกายมนุษย์ คือ มีกาย ใจ จิต
วิญญาณ รวมเป็น ๔ อันเป็นที่ตั้งของเห็นจำคิดรู้ มีธาตุคือ
ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ รวมเป็น ๔ และมีดวงคือ ดวง
เห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ อีก ๔ รวมเป็น ธาตุ ๑๒
ธรรม ๑๒ (ที่กล่าวมานี้ ปรากฏอยู่ใน หนังสือวิชชามรรค
ผลพิสดาร เล่ม ๒ ของหลวงพ่อวัดปากน้ำซึ่งเป็นตำรา
วิชชาธรรมกายขั้นสูง)
และยังมีกล่าวถึงเรื่อง แก้วกายสิทธิ์ ในหนังสือมรรคผล
พิสดาร วิชชาธรรมกายชั้นสูง เล่ม ๑ ของหลวงพ่อมงคล
เทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) หน้า ๕๖ ลำดับที่ ๓๓ ดังนี้…..
นิพพานปรุงแต่งขึ้นด้วยธาตุธรรม แก้วกายสิทธิ์ใสสว่างไป
ด้วย แก้วกายสิทธิ์ พื้นและอากาศเบื้องบน และข้างขวา
ซ้าย ภายในนิพพานนั้นสำเร็จไปด้วยแก้วกายสิทธิ์ทั้งนั้น
นิพพานมีลักษณะสัณฐานกลมดังลูกกระสุน (หรือดวงแก้ว)
รอบนอกก้อนกลมนั้นเป็นอากาศว่างสะอาดและละเอียด
บริสุทธิ์ ก้อนกลมนั้น ลอยอยู่กับอากาศมีอากาศที่ละเอียด
สะอาดรองรับอยู่ ภายในก้อนกลมนั้นเป็นเมืองนิพพาน
เป็นที่เสด็จอยู่ของพระพุทธเจ้า และพระอรหันตขีณาสพ
ทั้งหลาย มากกว่าเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรทั้ง ๔ พื้น
ว่าง และอากาศเป็นพื้นเบื้องบนและอากาศที่เป็นพื้นข้าง
ขวา ข้างซ้าย ภายในก้อนกลมนั้นสำเร็จไปด้วยแก้วกายสิทธิ์
ทั้งนั้น มีพระพุทธเจ้านั่งเป็นแถวเรียงกันไปสุดหู สุดตาจะนับ
จะประมาณมิได้ มีขนาดองศาเท่า ๆ กัน เกตุดอกบัวตูม
เป็นแก้วขาวใส หน้าตักกว้าง ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เท่ากันที่
เป็นพระพุทธเจ้า เนื้อแก้วก็ใสสะอาด เนื้อแก้วละเอียดก็มี
น้ำดี เป็นเพชรชั้นที่หนึ่ง มีแก้วอ่อนกว่ากันเป็นชั้น ๆ ที่เป็น
พระสาวกและพระสาวิกา เนื้อแก้วก็ใสละเอียดลงมากกว่า
พระพุทธเจ้า เป็นเพชรน้ำที่รอง ๆ กันลงมา และมีแก่อ่อนกว่า
กันเป็นชั้น ๆ ตามบารมีแก่อ่อนกว่ากัน หรือตามธาตุอ่อนธาตุ
แก่กว่ากัน
ดูภพ ๓ คือ อรูปพรหมนั้นเป็นรูปอยู่ภายในดวงแก้ว
หน้าตักกว่า ๑ คืบ สูง ๑ ศอก นั่งอยู่ภายในดวงแก้วกลม ๆ หุ้ม
ห่ออยู่ ตั้งเป็นแถวเป็นแนว เรียงรายไปสุดหูสุดตาเต็มไปหมด
ภพทั้ง ๓ คือ อรูปพรหม รูปพรหม กามภพ มีอรูปพรหมเป็นสุด
เบื้องบน มีอเวจีนรกเป็นที่สุดเบื้องล่างของภพทั้ง ๓
อรูปพรหมนั้นตั้งลอยอยู่บนอากาศปรุงแต่งขึ้นด้วยธาตุธรรม
เป็นแก้วกายสิทธิ์เหมือนกันแต่หยาบกว่าชั้นนิพพานลงมาตาม
ชั้น พื้นเบื้องล่าง และอากาศเบื้องบน เบื้องขวา เบื้องซ้าย
ของอรูปพรหมนั้น สำเร็จด้วยแก้วกายสิทธิ์ แต่หยาบกว่าชั้น
นิพพานมาก อรูปพรหมอีก ๓ ชั้น ต่ำลงมากเช่นเดียวกัน แต่
หยาบลงมาเป็นชั้น ๆ ทุกทีตลอดลงมาถึงชั้นรูปพรหม ๑๖ ชั้น
ไปจนถึงสวรรค์ ๖ ชั้น และชั้นมนุษย์ ฯลฯ
(จากหนังสือมรรค ผลพิสดาร เล่ม ๑ หน้า ๖๒
ของหลวงพ่อวัดปากน้ำกล่าวไว้อีกว่า…….)
ส่วนของกายสิทธิ์นั้นเหมือนเปลือกหุ้มอยู่ชั้นนอกของศูนย์สิ่ง
นั้น ๆ คือ ในศูนย์ของศูนย์ภพของศูนย์นิพพาน ในศูนย์ของ
ภพ ๓ ในศูนย์ของโลกันต์ ในศูนย์ของกายนั้นนี่ดูส่วนของ
กายสิทธิ์ แต่คงมีคู่กันไปทุกอย่าง ส่วนนอกเป็นของมนุษย์
ส่วนในซ้อนอยู่ข้างในเป็นของกายสิทธิ์ เช่นภพนอกเป็นภพ
ของมนุษย์ ภพที่ซ้อนอยู่ชั้นในเป็นภพของกายสิทธิ์
มีเปลือกส่วนหนึ่ง มีเนื้อส่วนหนึ่งหุ้มซ้อนกันอยู่มีคู่กันไปเช่นนี้
ทุกสิ่งทุกอย่างคู่กันตลอดไปจนสุดหยาบสุดละเอียดเหมือน
ของกายมนุษย์มีสิ่งไร ไปมากเท่าใดของกายสิทธิ์ซึ่งเรียกว่า
ผู้เลี้ยงมนุษย์ ก็มีไปเท่าจำนวนของมนุษย์คู่กันไปเท่านั้น
เหมือนกัน
เพราะกายสิทธิ์เลี้ยงรักษา, ที่กายสิทธิ์นั้นคือได้แก่ จักรแก้ว
๓ จำพวก
๑) จุลจักร มีฤทธิ์และมีอำนาจเดชาศักดานุภาพอย่างต่ำ
มีแก้วกายสิทธ์เป็นบริวารอเนกอนันตัง เป็นคนรับใช้
สอยของแก้วมหาจักรและบรมจักร ซึ่งมีอำนาจเหนือขึ้นไป
มีหน้าที่ดูแล เลี้ยง และรักษามนุษย์ให้สมบัติเกิด และให้ความ
สุขความเจริญแก่หมู่มนุษย์ ป้องกันสรรพสัตว์อันตรายต่าง ๆ
บันดาลให้อาหารเครื่องบริโภค และเครื่องอุปโภค เครื่องใช้
สอยต่าง ๆ ให้บังเกิดขึ้น เป็นความสุขแก่หมู่มนุษย์ และคอย
พิทักษ์ป้องกันรักษา และทรัพย์สมบัติของของหมู่มนุษย์ไม่
ให้เป็นอันตราย
๒) มหาจักร มีฤทธิ์อำนาจมีเดชานุภาพมากกว่า สูงกว่าจุล
จักร มีแก้วกายสิทธิ์ชั้นนี้เป็นบริวารอเนก อนันตัง
อปริมาณัง เหลือที่จะนับจะประมาณได้ มีอำนาจเหนือจุลจักร
แต่เป็นผู้รับใช้สอยของแก้วบรมจักร และมีอำนาจใช้สอยแก้ว
จุลจักร พร้อมทั้งบริวารของแก้วจุลจักร เป็นผู้มีหน้าที่เลี้ยง
และรักษาดูแล ให้สมบัติและความสุขความเจริญพร้อม
อาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค และเครื่องใช้สอย เครื่อง
อุปกรณ์ต่าง ๆ นานาแก่มนุษย์ ป้องกันภัยอันตราย โรคภัยไข้
เจ็บต่าง ๆ นานา ไม่ให้เบียดเบียนแก่หมู่มนุษย์ คอยพิทักษ์
รักษาแก่หมู่มนุษย์ และทรัพย์สมบัติของหมู่มนุษย์ไม่ให้เป็น
อันตรายเช่นเดียวกันกับแก้วจุลจักร แต่ว่าทำหน้าที่ประณีต
กว่า ละเอียดกว่า สูงกว่า ดียิ่งขึ้นไปกว่า ประเสริฐกว่าแก้ว
จุลจักร
๓) บรมจักร มีพระบรมเดชาศักดานุภาพและมีฤทธิ์มีอำนาจ
ใหญ่ยิ่งสูงสุดกว่า จุลจักรและมหาจักร มีแก้วกายสิทธิ์ชั้น
บรมจักรนี้เป็นบริวารอเนกอนันตัง ปริมาณังเหลือที่จะนับจะ
ประมาณได้ มีอำนาจเหนือ และเป็นผู้บังคับบัญชาใช้สอยจุล
จักร,มหาจักรพร้อมทั้งบริวารจุลจักร มหาจักรด้วย เป็นผู้มีหน้า
ทีเลี้ยงและรักษาดูแล ให้สมบัติและความสุขความเจริญ พร้อม
ด้วยอาหาร เครื่องอุปโภค บริโภค เครื่องใช้สอย เครื่อง
อุปกรณ์ความสุขต่าง ๆ นานา ไม่ให้เบียดเบียนหมู่มนุษย์ คอย
พิทักษ์รักษาดูแลหมู่มนุษย์ และทรัพย์สมบัติของมนุษย์ไม่ให้
เป็นอันตราย คอยให้ความสุข ป้องกันความทุกข์ต่าง ๆ ของ
มนุษย์เช่นเดียวกันกับแก้วจุลจักรและมหาจักร แต่ทว่าทำหน้าที่
ประณีตกว่า อุดมกว่า สูงสุดกว่าละเอียดกว่าเลิศประเสริฐกว่า
ยิ่งใหญ่กว่าแก้วจุลจักรและแก้วมหาจักรทั้ง ๒ ประการนั้น
จักรทั้ง ๓ ประการนี้เป็นผู้มีหน้าที่เลี้ยงและคอยรักษา
มนุษย์เฉพาะภพหนึ่ง ๆ ถ้ามนุษย์ก็จักรทั้ง ๓ นี้เลี้ยงดูด้วย
สมบัติมนุษย์ ถ้ากายทิพย์ กายปฐมวิญญาณหยาบ-ละเอียดก็
มีจักรกายละ ๓ จักรรักษา เลี้ยงด้วยสมบัติละเอียดอันเป็นส่วน
สมบัติทิพย์ สรุปความว่า กายสุดหยาบสุดละเอียดของกาย
ทุก ๆ กาย มีจักรรักษาอยู่กายละ ๓ จักรเหมือนกันหมด
แก้ว ๓ ประการนี้เป็นผู้เลี้ยงรักษาด้วยสมบัติหยาบละเอียดตาม
ขั้นของกายทั่วไปทุกกายไม่เว้นเลย เรียกว่าสมบัติมนุษย์และ
สมบัติทิพย์ ก็คือแก้ว ๓ ประการนี้เองเป็นผู้ให้สมบัติ ส่วนสม
บัตินิพพานนั้นก็มี แก้วกายสิทธิ์อย่างละเอียดเป็นผู้แต่งสมบัติ
ในนิพานอีกเหมือนกันคือ
๑) แก้วจุลพุทธจักร
๒) แก้วมหาพุทธจักร
๓) แก้วบรมพุทธจักร
จักร ๓ ประการนี้ เป็นผู้แต่งสมบัติอันประณีตในส่วนนิพพาน
ให้พระพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพทั้งหลายเป็นบรมสุขอยู่
ด้วยทิพยโอชารสาหารอันประณีต สุขุมซึมซาบเอิบอาบปนอยู่
ในไส้ และเป็นบรมสุขอันสุขุมประณีตอยู่ด้วยคุณสมบัติใน
นิพพาน ซึมซาบเอิบอาบปนเป็น อยู่ในพระองค์ละเอียดสุขุม
ยิ่งนัก เป็นบรมสุข แสนสุขชั่วนิรันดร ไม่มีกาล ไม่มีระหว่าง
เพราะพุทธจักร แก้วทั้ง ๓ ประการนั้นเป็นผู้แต่งสมบัติ
ในนิพพานให้เป็นบรมแสนสุข
จักรทั้ง ๑๕ ประการเหล่านี้ คือ
๑) จุลจักร สำหรับกาย ๔ กาย คือ มนุษย์ ทิพย์
ปฐมวิญญาณหยาบ ปฐมวิญญาณละเอียด
๒) มหาจักร สำหรับกาย ๔ กายคือ มนุษย์ ทิพย์
ปฐมวิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด
๓) บรมจักร สำหรับ ๔กายคือ มนุษย์ ทิพย์
ปฐมวิญญาณหยาบ ปฐมวิญญาณละเอียด
รวมเป็น ๑๒ จักรด้วยกันกับอีก ๓ พุทธจักร คือ
๑) จุลพุทธจักร สำหรับพระนิพพาน
๒) มหาพุทธจักร สำหรับพระนิพพาน
๓) บรมพุทธจักร สำหรับพระนิพพาน
รวมเป็น ๑๕ จักร ภพหนึ่งก็มีจักร ๑๕ ประการนี้
……………………..
และในหนังสือ มรรคผลพิสดาร เล่มที่ ๑ หน้า๕๓ ได้กล่าวไว้
ในลำดับที่ ๓๑ ว่า
สมบัติ ๓ ประการ คือ มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ
นิพพานสมบัติ
สมบัติ ๓ ประการนี้เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็อยากได้ยิ่งนัก
เพราะอำนวยความสุขให้สมใจหวังทุกอย่าง ฉะนั้น มนุษย์เรา
ทำบุญกุศลต่าง ๆ จึงได้ตั้งปณิธานความปรารถนากันนักว่า
ขอให้ได้สมบัติ ๓ ประการนี้คือ
สมบัติมนุษย์
สมบัติสวรรค์
สมบัตินิพพาน
สมบัติมนุษย์คืออะไร ? ก็คือ
๑. แก้วจุลจักร ๒. แก้วมหาจักร ๓. แก้วบรมจักร
สมบัติสวรรค์คืออะไร ? ก็คือ
๑. แก้วจุลทิพย์จักร ๒. แก้วมหาทิพย์จักร
๓. แก้วบรมทิพย์จักร
สมบัตินิพพานคืออะไร ?
ก็คือ ๑. แก้วจุลพุทธจักร ๒. แก้วมหาพุทธจักร
๓. แก้วบรมพุทธจักร
สมบัติทั้ง ๓ ประการนี้แหละ เป็นยอดสมบัติทั้งปวง
ในหนังสือ คู่มือสมภาร ซึ่งพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัด
ปากน้ำ สั่งให้เรียบเรียงขึ้นเป็นคู่มือแก่ผู้ปฏิบัติธรรม วิชชา
ธรรมกาย ได้กล่าวไว้ในลำดับที่ ๑๔ ว่า………..
“ดูกายสิทธิ์ในดวงแก้ว”
ให้เอาดวงแก้วที่ถืออยู่ในมือนั้น เข้าไปไว้ในสุดละเอียด
(ศูนย์กลางกาย) หยุดนิ่งอยู่ในกลางดวงแก้ว ขยายให้ดวงแก้ว
นั้นโตขึ้น ก็จะแลเห็นกายที่อยู่ในดวงแก้วนั้นได้ถนัด เมื่อต้อง
การจะรู้ด้วยเรื่องอะไร ก็ถามได้จากกายที่อยู่ในนั้นได้ กายนี้
เองที่เรียกว่า “กายสิทธิ์”
กายสิทธิ์มีคุณค่าหรือความสำคัญต่อวิชชาธรรมกายอย่างไร
คำตอบ มีคุณค่ามีคุณประโยชน์มหาศาล อเนกอนันตัง
นับแต่เริ่มปฏิบัติธรรมโดยใช้ดวงแก้วกายสิทธิ์กลมใสมาเป็น
นิมิต เจริญภาวนาจนได้บรรลุธรรมถึงธรรมกายและเมื่อถึง
ธรรมกายแล้ว ก็ต้องเจริญวิชชาธรรมกายขั้นสูง ๆ และใช้
กายสิทธิ์ร่วมทำวิชชาขั้นสูง
ดังจะขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ ….
(จากหนังสือมรรคผลพิสดาร เล่ม ๒ ของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ)
“สิทธิและอำนาจ”
สิทธิและอำนาจทั้งสองอย่างนี้ต่างกัน สิทธิหมายถึงได้สิทธิ
ในสิ่งนั้น ๆ บริบูรณ์เต็มที่ เช่นได้สิทธิเป็นกษัตริย์ ได้สิทธิเป็น
จักรพรรดิ ได้สิทธิเป็นพ่อบ้านแม่เรือน เป็นผู้มีสิทธิในเรือก
สวนไร่นาของตน มีสิทธิปกครองสิทธิ์ขาดแต่ไรอำนาจของ
ตนก็มีสิทธิไปแค่นั้น
วิธีแสวงหาสิทธิทางโลก
ต้องใช้วิธีต่าง ๆ นา ๆ ตลอดจนถึงเบียดเบียนรบราฆ่าฟันกัน
เป็นพวก ๆ ใช้ศัสตราวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ เข้าประหัตประหาร
กัน เพื่อแย่งสิทธิกันนั่นเอง เพราะชาติใดพวกใดได้สิทธิขยาย
เขตออกไปมากแค่ไร อำนาจการปกครองขยายส่วนไปแค่นั้น
ตามสิทธิ
ส่วนการแสวงหาสิทธิในทางธรรมนั้น
ไม่ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ประหัตประหารกันเช่นนั้น ใช้สมาธิจิต
หรือจิตตานุภาพที่หยุดนิ่งจนละเอียดไม่มีที่สิ้นสุดที่เรียก
ว่า “อนัตตญาโน” นับเป็นเครื่องหาสิทธิของเขามา คือ เอา
กายทั้งหมดทุกกายตลอดวงศ์สายขาว, วงศ์สายกลาง, วงศ์
สายดำ ทั้งเถาชุดชั้นตอนภาคพืด มาซ้อนสับทับทวี
เข้าในกายมนุษย์ กลั่นให้ใสสะอาดดี แล้วเอาจุลจักรกับพวก
บริวารพร้อมด้วยสมบัติรัตนะ ๗ ประการ และมหาจักรกับพวก
บริวารพร้อมด้วยสมบัติรัตนะ ๗ ประการ ของทุก ๆ กาย
ตลอดวงศ์สายขาว สายกลาง ทั้งกายเถาชุดชั้นตอนภาคพืด
ลงมาซ้อนในรัตนะ ๗ ประการ นั้นทั้ง ๗ อย่าง หรือเฉพาะ
อย่างเดียวก็ได้ คือเมื่อเอารัตนะอย่างหนึ่ง อีก ๖ อย่างก็รวม
ในจักรแก้วหมดนั้นทุกอย่าง หรือจะไม่รวมเฉพาะอย่างให้คง
อยู่เป็นสัตตรัตนะอยู่ครบทั้ง ๗ก็ได้ สุดแท้แต่จะต้องการ
แล้วกลั่นให้ใสสะอาดทั้ง ๗
แล้วเอามือขวาของกายมนุษย์ถือจักร
มือซ้ายถือดวงแก้ว
ส่วนรัตนะอีก ๕ อย่างนั้น เอาเข้าในกายมนุษย์ กลั่นให้กาย
ใสเป็นแก้ว นี้เป็นการยืนพื้นไว้มูลเดิม แล้วพิสดารรัตนะ ๗
ออกไปตามแต่ต้องการจะใช้
เมื่อกายมนุษย์นี้ มือขวาถือจักรแก้ว มือซ้ายถือดวงแก้วมณี
โชติ และแก้วอีก ๕ นั้น กลั่นเข้าในกายมนุษย์จนใสสะอาด
บริสุทธิ์ดีแล้ว จึงเดินเครื่องเข้าไปในหัวใจเครื่องของสิทธิ
ร้อยไส้ หัวใจ เครื่องสิทธิเข้าไป เป็นลำดับ ๆ ไม่ถอยหลัง
กลับ ละเอียดเข้าไป แก่เข้าไปทุกที เข้าไป ในหัวใจเครื่อง
ของทะเลสิทธิ ของเหตุทะเล ในเหตุทะเลสิทธิ ละเอียดหนัก
เข้าไปไม่ถอยหลังกลับ แก่เข้าไปเท่าไร ละเอียดเข้าไปเท่าไร
ร้อยไส้เครื่องสิทธิเข้าไปได้เท่าไร ก็ชื่อว่าได้ธาตุธรรมเป็น
สิทธิเท่านั้น ๆ และได้อำนาจปกครองบังคับธาตุธรรมได้
แค่นั้น ๆ เหมือนพระมหากษัตริย์รบได้อาณาเขตออกไป
เท่าไรก็ได้อำนาจปกครองเท่านั้น ๆ ทำไปเช่นนี้เป็นลำดับ ๆ
จนกว่าจะยึดสิทธิในธาตุธรรมได้ทั้งหมด
ถ้ายึดสิทธิธาตุธรรมได้ทั้งหมดแล้ว ก็เอาแก้วบรมพุทธจักร
สูงสุดมาใช้ได้ เมื่อใช้บรมพุทธจักรสูงสุดมาใช้ได้ เมื่อใช้
บรมพุทธจักรสูงสุดได้แล้ว ก็มีอำนาจบังคับให้เกิดบุญ
ศักดิ์สิทธิ์ และบังคับบาปศักดิ์สิทธิ์ได้สมใจนึก
เพราะฉะนั้น วิชชา (วิชชาการสะสางธาตุธรรม) นี้
พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ) อุตส่าห์พยายามยิ่งนักทุกคืนวันเป็นเวลา ๑๑ ปี
เศษ เพื่อจะยึดสิทธิมาสร้างความสุขให้แก่สัตว์โลกทั่วไป
ตลอดทั้งแสนโกฏิจักรวาลอนันตจักรวาล ทั้งสิ้นโดยไม่ถอย
หลังกลับ
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตขีณาสพ ทั้ง
หลาย สร้างบารมีองค์ละมาก ๆ นับด้วยอสงไขยก็เพื่อจะยึด
สิทธินี้เอง เพราะสิทธิเป็นตัวสำเร็จ สิทธิทางโลกยึดได้ด้วย
กำลัง ศัสตราวุธ
ส่วนสิทธิทางธรรมยึดได้ด้วยบารมีเท่านั้น
นอกจากบารมีแล้วยึดไม่ได้
บารมีนั้นมี ๓๐ ประการคือ
ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมบารมี ปัญญาบารมี วิริยะบารมี
ขันติบารมี สัจจะบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และ
อุเบกขาบารมี รวมเป็น ๑๐
เมื่อบารมีแก่กล้าขึ้นเต็มส่วน ก็จะกลั่นตัวเองเป็นอุปบารมี
อีก ๑๐ และเมื่ออุปบารมีแก่กล้าขึ้นเต็มส่วนก็จะกลั่นตัวเอง
เป็นปรมัตถบารมีอีก ๑๐ รวมเป็น ๓๐ ประการ
รัศมีนั้นก็มาจากบารมี ๓๐ นั่นเอง แต่กลั่นเป็นแสงสว่าง
รุ่งโรจน์โชติช่วงขึ้นเป็นรัศมีสว่าง
กำลัง คือ ความแรง และความแก่กล้าของบารมี ๓๐ นั้น
แรงกล้าขึ้น
ฤทธิ์ คือ สำเร็จผลของบารมี ๓๐ นั้น คือตัวยึดสิทธินั่นเอง
ทั้งบารมี, รัศมี, กำลัง, ฤทธิ์, เหล่านี้ พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตขีณาสพเจ้าทั้งหลาย ตลอด
จนถึงพระอริยสาวก และปุถุชนทั้งสิ้น ได้ก่อสร้างบำเพ็ญมา
นับชาติไม่ถ้วน เป้าหมายแห่งจุดประสงค์นี้ ก็เพื่อจะเป็น
กำลังให้มากจนกว่าจะพอการยึดสิทธิได้สำเร็จผลนั่นเอง
เหมือนชาวโลกตระเตรียมกำลังพลรบบ้าง อาหารบ้าง
ศัสตราวุธบ้าง เพื่อรบเอาดินแดนเป็นสิทธิของพวกตนจน
สำเร็จผลนั้นเอง ฯลฯ