พระคาถา พระอาการวัตตาสูตร

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงบทพระอาการวัตตาสูตรว่า อานิสงส์ดังนี้

พระอาการะวัตตาสูตรนี้ ผู้ใดท่องได้ใช้สวดมนต์ปฏิบัติได้เสมอ มีอานิสงส์มากยิ่งนักหนา แม้ปรารถนา พระพุทธภูมิ พระปัจเจกภูมิ พระอัครสาวกภูมิ พระสาวิกาภูมิ จะปรารถนามนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ ก็ส่งผลให้ได้สำเร็จสมความปรารถนาทั้งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้เป็นพระพุทธเจ้า มีปัญญามากเพราะเจริญพุทธมนต์บทนี้ ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้ เจริญได้ทุกๆวัน จะเห็นผลความสุขเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องมีผู้อื่นบอกอานิสงส์ แสดงว่าผู้ที่เจริญพระสูตรนี้ครั้งหนึ่ง จะคุ้มครองภัยอันตราย 30 ประการ ได้ 4 เดือน ( คือภัยอันเกิดแต่ งูพิษ สุนัขป่า สุนัขบ้าน โคบ้าน และโคป่ากระบือบ้าน และกระบือเถื่อนพยัคฆะ หมู เสือ สิงห์และ ภัยอันเกิดแต่คชสารอัสดรพาชี จตุรงคชาติของพระราชาผู้เป็นจอมของนรชนภัยอันเกิดแต่น้ำ และเพลิง เกิดแต่มนุษย์ และอมนุษย์ ภูตผีปิศาจ เกิดแต่อาชญาของแผ่นดิน เกิดแต่ยักษ์กุมภัณฑ์และคนธรรพ์อารักขเทวดา เกิดแต่มาร ๕ ประการที่ผลาญให้วิการต่าง ๆเกิดแต่วิชาธรผู้ทรงคุณวิทยากร และภัยที่จะเกิดแต่มเหศวรเทวราชผู้เป็นใหญ่ในเทวโลกรวมเป็นภัย ๓๐ ประการ)

ผู้ใดเจริญพระสูตรนี้อยู่เป็นนิจ บาปกรรมทั้งปวงก็จะไม่ได้ช่องหยั่งลงสู่สันดานเว้นแต ่กรรมเก่าตามมาทันเท่านั้น ผู้ใดอุตสาหะตั้งจิตตั้งใจเล่าเรียน ได้ใช้สวดมนต์ก็ดี บอกเล่าให้ผู้อื่นเลื่อมใสก็ดี เขียนเองก็ดี กระทำสักการะบูชา เคารพนับถือพร้อมทั้ง ไตรทวารก็ดี ผู้นั้นจะปรารถนาสิ่งใดก็จะสำเร็จทุกประการ ท่านผู้มีปรีชาศรัทธาความเลื่อมใส จะกระทำซึ่งอาการะวัตตาสูตร อันจะเป็นที่พักผ่อนพึ่งพาอาศัยในวัฎฎะกันดาร ดุจเกาะแลฝั่งเป็นที่อาศัยแห่งชนทั้งหลายผู้สัญจรไปม าในชลสาครสมุทรทะเลใหญ่ฉะนั้น อาการวัตตาสูตรนี้ พระพุทธเจ้า28 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้วก็ดี พระตถาคตพุทธเจ้าของเราปัจจุบันนี้ก็ดี มิได้สละละวางทิ้งร้างให้ห่างเลยสักพระองค์เดียว ได้ทรงเจริญรอยตามพระสูตรนี้มาทุกๆพระองค์ จึงมีคุณานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสูตรอื่น ไม่มีธรรมอื่นจะเปรียบให้เท่าถึง เป็นธรรมอันระงับได้โดยแท้

ในอนาคตกาล ถ้าบุคคลใดทำปาณาติบาต คือ ปลงชีวิตสัตว์ให้ตกถ่วงไป เป็นวัชชกรรมที่ชักนำให้ไปปฏิสนธิในนรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม คือ สัญชีพนรก กาฬสุตตนรก สังฆาฏนรก โรรุวนรก มหาโรรุวนรก ตาปนรก มหาตาปนรก อเวจีนรก เปรต อสุรกาย เดรัจฉานกำเนิดไซร้ ถ้าได้ท่องบ่นจำจนคล่องก็จะปิดบังห้ามกันไว้ไม่ให้ไป สู่ทุคติกำเนิดก่อนโดยกาลนาน 90 แสนกัลป์ ผู้นั้นระลึกตามเนื่องๆก็จะสำเร็จ ไตรวิชชา และ อภิญญา 6 ประการ ยังทิพจักษุญานให้บริสุทธิ์ ดุจองค์มเหสักกเทวราช

มีอาการรีบร้อนออกจากบ้านไป จะไม่อดอาหารในระหว่างทางที่ผ่านไป จะเป็นที่พึ่งพาอาศัยแห่งชนทั้งหลายในเรื่องเสบียงอา หาร ภัยอันตราย ศัตรูหมู่ปัจจามิตร ไม่อาจจะมาครอบงำย่ำยีได้ นี่เป็นทิฏฐธรรมเวทนียานิสงส์ปัจจุบันทันตา

ในสัมปรายิกานิสงส์ที่จะเกื้อหนุนในภพเบื้องหน้านั้น แสดงว่าผู้ใดได้พระสูตรนี้ เมื่อสืบขันธะประวัติในภพเบื้องหน้า จะบริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ หิรัญรัตนมณีเหลือล้น ขนขึ้นรักษาไว้ที่เรือน และที่คลังเป็นต้นประกอบด้วยเครื่องอลังการวิภูษิตพร รณต่างๆ จะมีกำลังมากแรงขยันต่ออยุทธนาข้าศึก ศัตรูหมู่ไพรีไม่ย่อท้อ ทั้งจะมีฉวีวรรณผ่องใสบริสุทธิ์ดุจทองธรรมชาติ มีจักษุประสาทรุ่งเรืองงามไม่วิปริตแลเห็นทั่วทิศซึ่ งสรรพรูปทั้งปวง และจะได้เป็นพระอินทร์ปิ่นพิภพดาวดึงส์อยู่ 36 กัลป์ โดยประมาณ และจะได้เป็น บรมจักรพรรดิราชผู้เป็นอิสระในทวีปใหญ่ 4 ทวีปน้อย 2000 เป็นบริวาร นานถึง 36 กัลป์ จะถึงพร้อมด้วยประสาทอันแล้วไปด้วยทองควรจะปรีดา บริบูรณ์ด้วยแก้ว 7 ประการ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว ขุนคลังแก้ว ขุนพลแก้ว อันเป็นของเกิดสำหรับบุญแห่งจักรพรรดิราช จะตั้งอยู่ในสุขสมบัติโดยกำหนดกาลนาน

ยังเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏสงสาร อานิสงส์คงอภิบาล ตามประคองไป ให้มีปัญญาเฉียบแหลมว่องไวสุขุมละเอียดลึกซึ้ง อาจรู้ทั่วถึงอรรถธรรมด้วยกำลังปรีชาญาน อวสานที่สุดชาติก็จะได้บรรลุพระนิพาน อนึ่ง ถ้ายังไม่ถึง พระนิพานก็จะไม่ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 มี นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉานกำเนิดและมหานรกใหญ่ทั้ง 8 ขุม ช้านานถึง 90 แสนกัลป์ และจะไม่ไปเกิดในตระกูลหญิงจัณฑาลเข็ญใจ จะไม่ไปเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ จะไม่ไปเกิดเป็นหญิง จะไม่ไปเกิดเป็นอุภโตพยัญชนกอันมีเพศเป็น 2 ฝ่าย จะไม่ไปเกิดเป็นบัณเฑาะก์ เป็นกระเทย ที่เป็นอภัพพบุคคล บุคคลผู้นั้นเกิดในภพใดๆ จะมีอวัยวะน้อยใหญ่บริบูรณ์ จะมีรูปทรงสัณฐานงามดีดุจทองธรรมชาติ เป็นที่เลื่อมใสแก่มหาชน ผู้ใดทัศนาไม่เบื่อหน่าย จะเป็นผู้มีอายุคงทนจนถึงอายุขัยถึงตาย จะเป็นคนมีศีล ศรัทธาธิคุณบริบูรณ์ ในการบริจาคทานไม่เบื่อหน่าย จะเป็นคนไม่มีโรคาพยาธิเบียดเบียน สรรพอันตรายความจัญไรภัยพิบัติ สรรพอาพาธที่บังเกิดเบียดเบียนกาย ก็จะสงบระงับดับคลายลงด้วยคุณานิสงส์ ผลที่ได้สวดมนต์ ได้สดับฟังพระสูตรนี้ ด้วยประสาทจิตผ่องใส เวลามรณสมัยใกล้จะตายจะไม่หลงสติ จะดำรงไว้ในทางสุคติ เสวยสุขสมบัติตามใจประสงค์ นรชนผู้ใดเห็นตามโดยชอบ ซึ่งพระสูตรอันเจือปนด้วยพระวินัยปรมัตถ์ มีนามบัญญัติชื่อว่า อาการวัตตาสูตร มีข้อความดังได้แสดงมาด้วยประการฉะนี้ จบอานิสงส์สังเขป>>

เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ราชะคะเห วิหะระติ คิชฌะกูเฎ ปัพพะเต เตนะ โข ปะนะ สะมะเยนะ สัพพะสัตตานัง พุทธะคุโณ ธัมมะคุโณ สังฆะคุโณ อายัสมา อานันโท อะนุรุทโธ สารีปุตโต โมคคัลลาโน มะหิทธิโก มะหานุภาเวนะ สัตตานัง เอตะทะโวจะฯ

<<พระคาถาอาการวัตตาสูตร>>
1. อิติปิโสภะคะวา อะระหัง
อิติปิโสภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ
อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุคะโต
อิติปิโสภะคะวา โลกะวิทู
อิติปิโสภะคะวา อะนุตตะโรปุริสะธัมมะสาระถิ
อิติปิโสภะคะวา สัตถาเทวะมะนุสสานัง
อิติปิโสภะคะวา พุทโธ
อิติปิโสภะคะวา ภะคะวาติ
(พุทธะคุณะวัคโค ปะฐะโม)
คำแปล พระพุทธคุณวรรคที่1 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงครอบงำความทุกข์ได้ ทรงไม่มีความลับ ทรงบริสุทธิ์ หมดจดดี เป็นผู้ไกลจากกิเลส ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงฝึกฝนจิตจนรู้ชอบ ทรงปฏิบัติจิตจนเห็นแจ้งด้วยตนเอง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ทรงสมบูรณ์พร้อมด้วยวิชชา การแสดงคุณค่าของจิตให้ปรากฎจรณะ เครื่องอาศัยให้วิชชาได้ปรากฎ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ทรงดำเนินไปในทางดี คือ อริยมรรค-ปฏิปทา เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ทรงบังคับยานขึ้นจากหล่มได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้ฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ทรงนำเวไนยนิกร ออกจากแดนมนุษย์และแดนเทพ เป็นครูผู้สอนของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงฝึกฝนจิตจนถึงแก่น ทรงปฏิบัติจิตจนรู้แจ้งจิต ทรงพลังการฝึกปรืออันถูกชอบเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม พระผู้ทรงธรรมเป็นผู้จำเริญจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์

2. อิติปิโสภะคะวา อะภินิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุฬารัชฌาสะยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะนิธานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหากะรุณา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะโยคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชุติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะโอกกันติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะฐิติ ปาระมิสัมปันโน
(อะภินิหาระวัคโค ทุติโย)
คำแปลอภินิหารวรรคที่2 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมีคือ พระบารมีเกี่ยวกับอภินิหาร พระบารมีเกี่ยวกับอัชฌาสัยอันโอฬาร พระบารมีเกี่ยวกับพระปณิธาน พระบารมีเกี่ยวกับพระมหากรุณา พระบารมีเกี่ยวกับพระญาณ พระบารมีเกี่ยวกับการประกอบความเพียร พระบารมีเกี่ยวกับข้อยุติของข้องใจ พระบารมีเกี่ยวกับจิตใจ โชติช่วงชัชวาลย์ พระบารมีลงสู่พระครรภ์ พระบารมีดำรงอยู่ในพระครรภ์

3.อิติปิโสภะคะวา คัพภะวุฏฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คัพภะมะละวิระหิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุตตะมะชาติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิรูปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุวัณณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาสิริ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาโรหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะรินาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สุนิฏฐะ ปาระมิสัมปันโน
(คัพภะวุฏฐานะวัคโค ตะติโย)
คำแปล คัพภวุฏฐานวรรคที่3 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีอยู่รอดจากพระครรภ์ พระบารมีปราศจากมลทินในการคลอด พระบารมี มีพระชาติอันอุดม พระบารมีที่ทรงดำเนินไป พระบารมีทรงพระรูปอันยิ่งใหญ่ พระบารมีทรงมีผิวพรรณงาม พระบารมีทรงมิ่งขวัญอันยิ่งใหญ่หลวง พระบารมีเจริญวัยขึ้น พระบารมีผันแปร พระบารมีในการคลอดสำเร็จ

4. อิติปิโสภะคะวา อะภิสัมโพธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญาขันธะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะวัตติงสะมะหาปุริสะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(อะภิสัมโพธิวัคโค จะตุฏโฐ)
คำแปล อภิสัมโพธิวรรคที่4 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการตรัสรู้เองยิ่ง พระบารมีในกองศีล พระบารมีในกองสมาธิ พระบารมีในกองปัญญา พระบารมีในมหาปุริสลักขณะสามสิบสอง

5. อิติปิโสภะคะวา มะหาปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุถุปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา หาสะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ชะวะนะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติกขะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะพุทธะกะระ ปาระมิสัมปันโน
(มะหาปัญญาวัคโค ปัญจะโม)

คำแปล มะหาปัญญาวรรคที่5 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในมหาปัญญา พระบารมีในปัญญาอันหนาแน่น พระบารมีในปัญญาอันร่าเริง พระบารมีในปัญญาอันแล่นเร็ว พระบารมีในปัญญาอันกล้าแข็ง พระบารมีในดวงตาทั้งห้า คือ ตาเนื้อ ทิพพจักษุ ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ พระบารมีในการทำพุทธอัฏฐารส

6. อิติปิโสภะคะวา ทานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เนกขัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ขันตี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะธิษฐานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา เมตตา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุเปกขา ปาระมิสัมปันโน
(ปาระมิวัคโค ฉัฏโฐ)
คำแปล ปาระมิวรรคที่6 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในการให้ปัน พระบารมีในการรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นปกติ พระบารมีในการเว้น ขาดจากความประพฤติแบบประชาชนผู้ครองเรือน พระบารมีกำกับศรัทธาคือปัญญา พระบารมีในความกล้าผจญทุกสิ่งด้วยความมีสติความพากเพียร พระบารมีในความต้องการเป็นพุทธะด้วยความมีสัจจะ ความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่น พระบารมีในการตั้งจิตไว้ในฐานอันยิ่ง พระบารมีในความเมตตา พระบารมีในความอดทน พระบารมีในความวางใจตนได้

7. อิติปิโสภะคะวา ทะสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะอุปะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทะสะปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมะติงสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ตังตังฌานะฌานังคะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะภิญญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะมาธิ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิมุตติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะปาระมิวัคโค สัตตะโม)
คำแปล ทศบารมีวรรคที่7 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีสิบขั้นต้นบำเพ็ญด้วยวัตถุสิ่งของ พระบารมีสิบขั้นกลางบำเพ็ญด้วยอวัยวะร่างกาย พระบารมีปรมัตถ์สิบขั้นสูงบำเพ็ญด้วยชีวิต พระบารมีสามสิบทัศสมบูรณ์ พระบารมีในฌาน และองค์ฌานนั้นๆ พระบารมีทรงญาณอภิญญายิ่ง พระบารมี มีสติรักษาจิต พระบารมีทรงสมาธิมั่นคง พระบารมีในวิมุตติความหลุดพ้น พระบารมีที่รู้เห็นความหลุดพ้นของจิต

8. อิติปิโสภะคะวา วิชชาจะระณะวิปัสสะนาวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะโนมะยิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิวิทธิวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะโสตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะระจิตตะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ทิพพะจักขุวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะระณะธัมมะวิชชา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนุปุพพะวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
(วิชชาวัคโค อัฏฐะโม)
คำแปล วิชชาวรรคที่8 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในวิปัสสนา วิชชาในวิชชา3 และจระณะ15 พระบารมีในวิชชามโนมยิทธิ พระบารมีในอิทธิวิชชา พระบารมีในทิพพโสตวิชชา พระบารมีในปรจิตตวิชชา พระบารมีในปุพพนิวาสานุสสติวิชชา พระบารมีในทิพพจักขุวิชชา พระบารมีในจรณวิชชา พระบารมีในวิชชาจรณธรรมวิชชา พระบารมีในอนุปุพพวิหารเก้า

9. อิติปิโสภะคะวา ปะริญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะหานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะริญญาปะหานะสัจฉิกิริยาภาวะนา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุธัมมะสัจจะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปะฏิสัมภิทาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ปะริญญานะวัคโค นะวะโม)
คำแปล ปริญญาณวรรคที่9 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมในพระบารมี คือ พระบารมีกำหนดรู้ทุกข์ พระบารมีละเหตุให้เกิดทุกข์ คือ ตัณหา พระบารมีทำจิตให้แจ่มแจ้ง คือ นิโรธ พระบารมีอันเป็นมรรคภาวนา พระบารมีในการกำหนดรู้การละการทำให้แจ้งและการอบรมให้มีให้เป็น พระบารมีในธรรมสัจจะทั้งสี่ พระบารมีในปฏิสัมภิทาญาณ

10. อิติปิโสภะคะวา โพธิปักขิยะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สะติปัฏฐานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัมมัปปะทานะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อิทธิปาทะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทรียะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โพชฌังคะปัญญา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐังคิกะมัคคะธัมมะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา มะหาปุริสะสัจฉิกิริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะวิโมกขะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะระหัตตะพะละวิมุตติ ปาระมิสัมปันโน
(โพธิปักขิยะวัคโค ทะสะโม)

คำแปล โพธิปักขิยะวรรคที่10 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในโพธิปักขิยธรรม พระบารมี มีพระปัญญาในสติปัฏ-ฐาน พระบารมี มีพระปัญญาในสัมมัปปธาน พระบารมี มีพระปัญญาในอิทธิบาท พระบารมี มีพระปัญญาในอินทรีย์หก พระบารมี มีพระปัญญาในพละห้า พระบารมี มีพระปัญญาในโพชฌงค์เจ็ด พระบารมี มีพระปัญญาในมรรคแปด พระบารมีในการทำแจ้งในมหาบุรุษ พระบารมีในอนาวรณวิโมกข์ พระบารมีในวิมุตติอรหัตตผล

11. อิติปิโสภะคะวา ทะสะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ฐานาฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปากะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัตถะคามินีปะฏิปะทา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธาตุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นานาธิมุตติกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อินทริยะปะโรปะริยัตตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา นิโรธะวุฏฐานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุพเพนิวาสานุสสะติญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จุตูปะปาตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อาสะวักขะยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ทะสะพะละญาณะวัคโค ทะสะโม)
คำแปล ทศพลญาณวรรคที่11 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระทศพลญาณบารมีอันได้แก่ พระบารมีรู้ฐานะและอฐานะ พระบารมีรู้วิบากโดยฐานะโดยเหตุ พระบารมีรู้ปฏิปทายังสัตว์ไปสู่ภูมิทั้งปวง รู้โลกมีธาตุอย่างเดียวและมากอย่าง พระบารมีรู้อธิมุตของสัตว์ทั้งหลาย พระบารมีรู้อินทรีย์ยิ่งและหย่อนของสัตว์ พระบารมีรู้ความเศร้าหมองและความผ่องแผ้วเป็นต้น แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น พระบารมีรู้ระลึกชาติได้ พระบารมีรู้จุติและอุบัติของสัตว์ พระบารมีรู้การกระทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้

12 . อิติปิโสภะคะวา โกฏิสะหัสสานังปะกะติสะหัสสานังหัตถีนังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะโกฏิทะสะสะหัสสานังพะละธะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจะจักขุญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมักกะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สีละคุณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คุณะปาระมิสะมาปัตติ ปาระมิสัมปันโน
(กายะพะละวัคโค ทะวาทะสะโม)
คำแปล กายพลวรรคที่12 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีทรงกำลังช้างทั้งหลายตั้งพันโกฏิพันปโกฏิ พระบารมีทรงพลังแห่งบุรุษตั้งหมื่นคน พระบารมีหยั่งรู้จักขุห้า คือ ตาเนื้อ ตาทิพย์ ตาญาณ ตาปัญญา ตาธรรม พระบารมีรู้การทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีในสีลคุณ พระบารมีแห่งคุณค่าและสมาบัติ

13. อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ถามะพะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พะละญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปุริสะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะตุละยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อุสาหะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะเวสิญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(ถามะพะละวัคโค เตระสะโม)
คำแปล ถามพลวรรคที่13 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่เป็นกำลังเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีกำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีเรี่ยวแรงแห่งจิต พระบารมีรู้กำลังเรี่ยวแรง พระบารมีที่เป็นพลังภายใน พระบารมีรู้กำลังภายใน พระบารมีไม่มีเครื่องชั่ง พระบารมีญาณ พระบารมีอุตสาหะ พระบารมีการแสวงหาทางตรัสรู้

14. อิติปิโสภะคะวา จะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา โลกัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ญาณัตถะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะจะริยาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ติวิธะจะริยา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปาระมิอุปะปาระมิปะระมัตถะ ปาระมิสัมปันโน
(จะริยาวัคโค จะตุระสะโม)
คำแปล จริยาวรรคที่14 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีที่ทรงประพฤติ พระบารมีรู้การที่ทรงประพฤติ พระบารมีที่ทรงประทานให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก(สังคมโลก) พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติแก่ชาวโลก พระบารมีที่ควรประพฤติแก่ญาติวงศ์ พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่พระญาติพระวงศ์ พระบารมีที่เป็นพุทธ-จริยา พระบารมีรู้สิ่งที่ควรประพฤติโดยฐานเป็นพระพุทธเจ้า พระบารมีครบทั้งสามอย่าง พระบารมีครบทั้งบารมีอุปบารมีและปรมัตถบารมี

15. อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนิจจะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุทุกขะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ปัญจุปาทานักขันเธสุอะนัตตะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อายัตตะเนสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อัฏฐาระสะธาตุสุติลักขะณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วิปะรินามะลักขะณะ ปาระมิสัมปันโน
(ลักขะณะวัคโค ปัณณะระสะโม)
คำแปล ลักขณวรรคที่15 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีเห็นอนิจจลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นทุกขลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีเห็นอนัตตลักขณะในการยึดติดขันธ์ห้า พระบารมีรู้ลักษณะสามในอายตนะทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะสามในธาตุสิบแปดทั้งหลาย พระบารมีรู้ลักษณะอันแปรปรวนไป

16. อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา คะตัตถานะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา วะสิตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขา ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สิกขาญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สังวะระญาณะ ปาระมิสัมปันโน
(คะตัตถานะวัคโค โสฬะสะโม)
คำแปล คตัฏฐานวรรคที่16 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในสถานที่ไปแล้ว พระบารมีหยั่งรู้สถานที่ไป พระบารมีอยู่จบพรหมจรรย์ แล้วพระบารมีหยั่งรู้ว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว พระบารมีในการตระหนัก พระบารมีรู้ในการตระหนัก พระบารมีสำรวมระวังอินทรีย์ พระบารมีรู้ในการสำรวมระวังอินทรีย์

17. อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณี ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา พุทธะปะเวณีญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา ยะมะกะปาฏิหาริยะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุพรหมวิหาระ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะนาวะระณะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา อะปะริยันตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา สัพพัญญุตะญาณะ ปาระมิสัมปันโน
อิติปิโสภะคะวา จะตุวีสะติโกฏิสะตะวัชชิระ ปาระมิสัมปันโน
(ปะเวณีวัคโค สัตตะระสะโม)
คำแปล ปเวณิวรรคที่17 แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทรงเพียบพร้อมด้วยพระบารมี คือ พระบารมีในพุทธประเวณี พระบารมีรู้ถึงพุทธประเวณี พระบารมีในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีรู้ในการทำยมกปาฏิหาริย์ พระบารมีการอยู่อย่างประเสริฐ พระบารมีรู้อย่างไม่มีอะไรกั้นกาง พระบารมีรู้อย่างไม่มีขอบเขต พระบารมีรู้สรรพสิ่งทั้งปวง พระบารมีวชิรญาณประมาณยี่สิบสี่โกฏิกัปหนึ่งร้อย

(พระคาถาสุนทรีวาณี)(หัวใจพระอาการวัตตาสูตร)
มุนินทะ วะทะนัมพุชะคัพภะ สัมภะวะสุนทะรี ปาณีนัง สะระณัง วาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง

………………………………………….
#เพิ่มเติม

พระคาถาอาการะวัตตาสูตรนี้ เป็นสูตรโบราณนับถือกันมาว่าศักดิ์สิทธิ์มาก แต่ไม่ปรากฏมีอยู่ในพระไตรปิฎก เนื้อเรื่องก็เป็นทำนองพระพุทธภาษิต ตรัสแสดงแก่พระสารีบุตร ณ ภูเขาคิชฌกูฎ แขวงเมืองราชคฤห์ พระเถรเจ้าได้เล็งญาณเห็นส่ำสัตว์ผู้หนาด้วยกิเลส ได้ประกอบอกุศลกรรมต้องไปอบาย จึงมีความปริวิตก กรุณาในส่ำสัตว์ทั้งหลายยิ่งนัก เห็นอยู่แต่พระบารมี ๓๐ ทัศ ซึ่งพระบรมศาสดาบำเพ็ญมาเท่านั้นจะช่วยป้องกันสัตว์เหล่านั้นได้ จึงกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค พรรณนาความปริวิตกของท่านให้ทรงทราบ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรง แสดงพระอาการวัตตาสูตร กำหนดด้วยวรรค ๑๗ วรรค คือ อรหาทิคุณ ๑ อภินิหารวรรค ๑ คัพภวุฏฐานวรรค ๑ อภิสัมโพธิวรรค ๑ มหาปัญญาวรรค ๑ ปารมิวรรค ๑ ทสปารมิวรรค ๑ วิชชาวรรค ๑ ปริญญาณวรรค ๑ โพธิปักขิยวรรค ๑ ทสพลญาณวรรค ๑ กายพลวรรค ๑ ถามพลวรรค ๑ จริยาวรรค ๑ ลักขณวรรค ๑ คตัฏฐานวรรค ๑ ปเวณีวรรค ๑ รวม ๑๗ วรรค มีข้อความพิสดาร แต่ล้วนเป็นคำสรรเสริญพระพุทธคุณว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงบริบูรณ์ด้วยพระคุณอย่างนี้ ๆ เช่น ในอรหาทิคุณวรรค มีข้อความดังนี้

“อิติปิ โส ภควา อรหํ อิติปิ โส ภควา
สมฺมาสมฺพุทฺโธ อิติปิ โส ภควา วิชฺชาจรณสมฺ-
ปนฺโน อิติปิ โส ภควา สุคโต อิติปิ โส ภควา
โลกวิทู อิติปิ โส ภควา อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ
อิติปิ โส ภควา สตถา เทวมนุสฺสานํ อิติปิ โส
ภควา พุทฺโธ อิติปิ โส ภควา ภควาติ”

ในอภิสัมโพธิวรรค มีข้อความดังนี้

“อิติปิ โส ภควา อภิสมฺโพธิปารมิสมฺปนฺโน
สิลขนฺธปารมิสมฺปนฺโน สมาธิขนฺธปารมิสมฺปนฺ-
โน ปญฺญขนฺธปารมิสมฺปนฺโน ทฺวตฺตึสมหาปุริส
ลกฺขณปารมิสมฺปนฺโน อภิสมฺโพธิวคฺโค จตุตฺโถ”

พระบรมศาสดา ได้ตรัสพรรณนาคุณานิสงส์ของพระสูตรนี้ว่า “ดูก่อนสารีบุตร ครั้งเมื่ออาการวัตตาสูตรนี้ ชนทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งได้กล่าวอยู่เป็นอัตราแล้ว บาปกรรมทั้งหมด ก็จะไม่ได้ช่องที่จะหยั่งลงไปในสันดาน แม้ถึงผู้นั้นกล่าวอยู่สักครั้งหนึ่งก็ดี ได้บอกกล่าวก็ดี หรือได้เขียนเองก็ดี และได้ให้ผู้อื่นเขียนก็ดี หรือได้ทรงจำไว้ได้ก็ดี หรือได้กระทำสักการบูชานับถือก็ดี หรือได้ระลึกเนือง ๆ โดยเคารพพร้อมด้วยไตรประณามก็ดี จะปรารถนาสิ่งใด ๆ ก็จะสำเร็จแก่บุคคลผู้นั้น ตามประสงค์พร้อมทุกสิ่งสรรพ์ ฯลฯ ก็ถ้าหากว่าบุคคลผู้ใดมีศรัทธาจะระลึกตามอาการวัตตาสูตรนี้เนือง ๆ บุคคลผู้นั้นเมื่อละเสียซึ่งอัตภาพร่างกายในปัจจุบันชาตินี้แล้ว จะปฏิสนธิในภพเบื้องหน้าในภพใดภพหนึ่ง ก็จักไม่เกิดในเดรัจฉาน ในเปตวิสัย จักไม่เกิดในชีพนรก ในอุสุทะนรก ในสังฆาฏะนรก ในโรรุวะนรก ในมหาโรรุวะนรก ในดาบนรก ในมหาดาบนรก ในอเวจีนรก ฯลฯ และไม่ไปเกิดเป็นอสุรกาย กำหนดนับถึง ๙๐ แสนกัปป์เป็นประมาณ ฯลฯ จะได้ไปเกิดในสุคติภพ บริบูรณ์ด้วยสุขารมณ์ต่ำ ๆ มีอินทรีย์ผ่องใสสมบูรณ์ มีปัญญาเป็นสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ จะได้เกิดเป็นพระอินทร์กำหนดถึง ๓๖ กัปป์โดยประมาณ จะได้สมบัติจักรพรรดิราช เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ มีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร กำหนดนานถึง ๓๖ กัปป์ ฯลฯ ในปัจจุบันภพ ก็จะเป็นผู้ปราศจากภัยเวรต่าง ๆ ปราศจากโรคาพยาธิเบียดเบียน มีอายุมั่นขวัญยืนอยู่เย็นเป็นสุข ฯลฯ” เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสประกาศคุณเดชานุภาพ และอานิสงส์ผลของพระสูตรนี้จบลง ธรรมาภิสมัยก็บังเกิดแก่หมู่ชนที่ได้สดับ ประมาณแปดหมื่นโกฏิ ด้วยประการฉะนี้

แชร์เลย

Comments

comments

Share: