พระใบฎีกาวอลเทอร์ อุตฺตมปญฺโญ น.ธ.โท วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม ราชบุรี

ท่านเป็นอดีตนักเปียโน ชาวเดนมาร์ค เคยมาบรรพชาอุปสมบทที่วัดหลวงพ่อสดฯ เมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่แล้ว  แต่จำต้องลาสิกขาไปก่อนเพื่อแสดงดนตรีให้ครบตามสัญญาทางธุรกิจ    เมื่อเสร็จสิ้นภาระผูกพันทางโลกแล้ว ท่านก็ได้กลับมาประเทศไทยเพื่อเรียนภาษาไทยที่ AUA จนจบชั้นประถม ๖   และได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดหลวงพ่อสดฯ อีกครั้งหนึ่ง



  ท่านได้ทำประโยชน์ให้แก่พระศาสนาและแก่วัดหลวงพ่อสดฯ เป็นอย่างมาก เพราะได้ช่วยเหลือในกิจหลายอย่างที่สำคัญคือ  ดูแลต้อนรับชาวต่างประเทศทั้งหมดที่มาเยี่ยมเยียน หรือมาอยู่ปฏิบัติธรรม หรือบรรพชาอุปสมบทที่วัด  



และยังได้ช่วยเผยแพร่พระศาสนา ด้วยการจัดทำเวบไซต์ของวัดในภาคภาษาอังกฤษ (www.concentration.org)
ซึ่งทำได้อย่างสวยงาม และเต็มไปด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์



  ปัจจุบันนี้ ท่านจบการศึกษาพระปริยัติธรรม ชั้นนักธรรมเอกแล้ว   สำหรับชาวต่างประเทศ  การเรียนนักธรรม ต้องใช้ความอดทนพยายามมากเป็น ๒-๓ เท่า ของนักเรียนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเนื้อหาธรรมะ เรื่องภาษา, ศัพท์ธรรมะ, ศัพท์วิชาการ ราชาศัพท์ต่างๆ อีกทั้งสำนวนภาษาในหนังสือเรียนส่วนใหญ่ก็ใช้สำนวนเก่าเมื่อร้อยปีมาแล้ว



  ด้านภาษาบาลี ท่านกำลังศึกษาอยู่ในชั้นประโยค ๑-๒ อย่างขมักเขม้น ในอนาคตเราอาจจะมีพระชาวต่างประเทศเป็นพระมหาเปรียญเกิดขึ้นในวัดหลวงพ่อสดฯ สักรูปหนึ่งก็เป็นได้…



๑. นิมนต์แนะนำตัวครับ.

อาตมาชื่อพระใบฎีกาวอลเทอร์ อุตฺตมปญฺโญ (วอลเทอร์ โทรเอลเซน).    งานที่อาตมาทำมาตลอดชีวิตคือเป็นนักแต่งเพลง/นักร้อง/นักเปียโน, ตระเวนแสดงไปทั่วโลก.    หลังจากได้พบพระพุทธศาสนา อาตมาได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะบวชเป็นพระ.    อาตมาหยุดอาชีพศิลปินในปี ๒๕๓๙ และย้ายมาอยู่ประเทศไทยเพื่อศึกษาภาษาไทยที่ เอ.ยู.เอ..    ในปี ๒๕๔๑ อาตมาก็ได้รับวุฒิบัตรประถมศึกษาปีที่ ๖ จากรัฐบาลไทย.    แล้วอาตมาก็ได้เดินทางไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดีย,   และหลังจากกลับมาถึงประเทศไทยก็ได้บวชเป็นพระที่วัดหลวงพ่อสดฯ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๔๑.



๒. ท่านรู้จักวัดนี้ได้อย่างไร ?

เมื่อเป็นคฤหัสถ์ ทุกที่ทั่วโลกที่อาตมาไปเปิดการแสดง อาตมาจะไปเข้าวัดด้วยบ่อยๆ.    วันหนึ่ง อาตมาได้พบพระภิกษุจากวัดสระเกศ.    ท่านพักอยู่ที่วัดไทยในสวีเดน. อาตมาได้เรียนท่านถึงแผนการของอาตมาที่จะมาบวชเป็นพระ.    ท่านได้แนะนำอาตมาให้ติดต่อกับหลวงป๋า (หลวงพ่อพระภาวนาวิสุทธิคุณ) ที่วัดหลวงพ่อสดฯ, เพราะหลวงป๋าพูดอังกฤษได้ดีมาก.    อาตมาจึงเขียนจดหมายไปเรียนหลวงป๋า, แล้วท่านก็ได้บอกให้อาตมามาบวชที่ประเทศไทย.



๓. ท่านฝึกภาวนามานานเท่าไรแล้ว ?

อาตมาได้ฝึกวิชชาธรรมกายมาประมาณ ๙ ปี.



๔. ท่านคิดว่าวิธีใดดีที่สุดในการเรียนรู้การปฏิบัติภาวนา ?

หนทางที่ดีที่สุดคือ โดยการมาที่วัดหลวงพ่อสดฯ และรับการสอนโดยตรงจากหลวงป๋า.    ท่านสอนธรรมะทุกระดับแก่ทุกคน.    หนังสือที่ท่านเขียนคือ “The Heart of Dhammakaya meditation” ยังเป็นคำแนะนำที่ดีที่สุดอีกด้วย.    หนังสือนี้อธิบายธรรมปฏิบัติทุกระดับและมีรายละเอียดให้มาก.    การฝึกภาวนาด้วยตนเองเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง, ตราบใดที่คุณสามารถติดต่อกับครูเป็นการส่วนตัวอย่างสม่ำเสมอ.



๕. ท่านมีคำแนะนำอย่างไรสำหรับคนอื่นๆ ที่ต้องการศึกษายิ่งขึ้นไปเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนา ?

ควรมาฝึกภาวนาที่วัดในเดือนพฤษภาคมและธันวาคม, และมาวัดทุกๆ วันอาทิตย์.    หลวงป๋าสอนทุกวันอาทิตย์ เวลา 9:30 น. ที่ศาลาสมเด็จพระพุฒาจารย์.    หากมีชาวต่างประเทศมาฝึกภาวนา, ท่านจะสอนเป็นภาษาอังกฤษด้วย.    ถ้าคุณอาศัยอยู่ห่างไกล, คุณสามารถศึกษาวิธีปฏิบัติภาวนาในเวบไซต์ของวัด (ไทย/อังกฤษ), และถามคำถามโดยอีเมล์ (หรือ ฟอร์มเมล์).    ที่ศาลาอเนกประสงค์ที่วัดหลวงพ่อสดฯ ยังมีหนังสือและเทปเกี่ยวกับการปฏิบัติภาวนาด้วย.



๖. “การฝึกภาวนาเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการทำให้คุณมีสมาธิกับทุกสิ่ง” จากประสบการณ์ของท่าน, โปรดยกตัวอย่างที่จะพิสูจน์คำพูดนี้.

อาตมาได้สังเกตว่า อาตมาได้มีสมาธิดีขึ้นมากในการเรียนพระปริยัติธรรม.    ก่อนที่จะสอบนักธรรมโทปีที่แล้ว อาตมาจะนั่งภาวนาขณะที่การสอบจะเริ่ม.    เมื่อถึงเวลาแจกข้อสอบ จิตใจของอาตมาสงบเย็นลง, และอาตมาพบว่ามันง่ายขึ้นในการนึกคำตอบของปัญหานั้นๆ.



๗. “การฝึกภาวนาเป็นวิธีที่ดีมากในการสร้างบุญกุศล” ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ?

แน่นอน.    แต่โชคไม่ดีที่ผู้คนมากมายในประเทศไทยคิดว่า การทำบุญคือการบริจาคเงินให้วัด [เท่านั้น] .    มันเร็วและง่ายดี.    อย่างไรก็ตาม, ไม่มีบุญอะไรยิ่งใหญ่ไปกว่าการพยายามทำใจของตนให้สงบและบริสุทธิ์ด้วยการฝึกภาวนา.    บุคคลที่รักษาศีลอย่างน้อยศีล ๕, จะมีกายและวาจา สะอาดบริสุทธิ์, ซึ่งจำเป็นในการฝึกภาวนาอันเป็นปฏิบัติธรรมขั้นสูงขึ้นต่อไป.    เมื่อใจสงบหยุดนิ่งเป็นจุดเดียว (เอกัคคตารมณ์) เขา/เธอจะสามารถเข้าถึงระดับของฌานที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป, และในไม่ช้า ปัญญาจะเริ่มพัฒนา.    ปัญญาจะทำให้บุคคลสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริง, ตัดสังโยชน์ (กิเลสเครื่องผูกให้ติดอยู่กับโลก) ได้, และถึงพระนิพพาน…  และจะมีอะไรเป็นบุญกุศลมากกว่านี้อีกเล่า ?



๘. ขอความเห็นสำหรับชาวต่างประเทศที่จะมาฝึกภาวนาในประเทศไทย.

ถ้าคนนั้นสามารถพูดไทยได้, โอกาสนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน.    ทุกวัดในประเทศไทยจะรับผู้คนที่สนใจในพระพุทธศาสนาและการฝึกภาวนา.    ถ้าเขาไม่ได้พูดภาษาไทย, เขาสามารถติดต่อวัดฯ ได้ทางอีเมล์ที่ right@concentration.org และติดต่อวางกำหนดการที่จะมาที่วัด.    นี้เป็นเรื่องสำคัญ, เพราะพระภิกษุที่พูดภาษาอังกฤษได้ดีอาจไม่อยู่วัดในช่วงนั้น.

๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๔

พระใบฎีกาวอลเทอร์ อุตฺตมปญฺโญ น.ธ.โท

Phra Baitika Walter Uttamapanyo
Friday, May 18, 2001

1. Introduce yourself:
I am Phra Baitika Walter Uttamapanyo (lay name: Walter Troelsen). I had a life long career as composer/song writer/singer/pianist, performing all over the world. After discovering Buddhism I started considering the possibility of becoming a monk. I finished my career in 2539 and moved to Thailand in order to study Thai language at the AUA. In 2541 I received the government P6 diploma. I then went on a pilgrimage to the holy Buddhist places in India, and after returning to Thailand I ordained as a monk at Wat Luang Phor Sodh on May 30, 2541.

2. How did you come to know about this temple?
As a layman I often went to Buddhist temples, wherever in the world I was performing. One day I met with a monk from Wat Saket. He was staying at the Thai temple in Sweden. I told him about my plans of becoming a monk. He recommended me to contact Luang Pa, the abbot at Wat Luang Phor Sodh, because Luang Pa speaks English very well. I wrote a letter to Luang Pa, who then invited me to come to Thailand to ordain.

3. How long have you been practicing meditation?
I have practiced Vijja Dhammakaya for about 9 years.

4. What is the good way for you to learn how to meditate?
The best way is by coming to Wat Luang Phor Sodh and being taught straight from Luang Pa. He is teaching all levels to everyone. Luang Pa’s book “The heart of Dhammakaya meditation” is also a good guideline. It explains all levels and is very detailed. Meditating on you own is very good, too, as long as you also have personal contact with the teacher at a regular basis.

5. What is your recommendation for others who wish to learn more about meditation?
Come to the retreats in May and December, and come to the wat on Sundays. Luang Pa is always teaching on Sundays at 9:30 at the new dining/meditation hall. If there are foreigners present, he will also teach in English. If you live far away, you can always study the meditation section on our website, and ask questions by email. Our information center at the wat also sells books and tapes with meditation instructions.

6. “Meditation is one of the best ways to make your mind concentrate on everything.” – From your experiences, please give some samples that prove that statement.
I have noticed that I have much higher concentration when studying. Before taking the final Nak Tham 2 exam last year I would sit and meditate while waiting for the exam to begin. By the time they distributed the questions my mind was already calm and peaceful, and I found it easier to remember the answers to the questions.  

7. “Meditation is a very good way for earning merit.” Do you agree?
Definitely. Unfortunately a lot of people in Thailand think that making merit has something to do with making donations at the wat. It is quick and easy. However, there is nothing more meritorious than making an effort to purify one’s mind through meditation. A person who keeps at least 5 precepts, will already have pure body and speech, which is needed in order to go on to the next step, concentration of mind. When the mind is one-pointed he/she will be able to reach higher and higher absorption level, and soon Wisdom will start to develop. Wisdom will make a person capable of understanding the way things are, cutting all fetters, reaching Nirvana….. and what can be meritorious than that?

8. Any ideas for foreigners to come to learn in Thailand?
If they can speak Thai, the possibilities are countless. All temples in Thailand will receive people interested in Buddhism and meditation. If they don’t speak Thai, they can always contact us by email at right@concentration.org  and schedule a visit. This is important, because the English-speaking monks at the wat are not always in residence.

แชร์เลย

Comments

comments

Share: