วิธีเจริญภาวนาเบื้องต้นในขั้นสมถภาวนา

วิธีเจริญภาวนาเบื้องต้นในขั้นสมถภาวนา

ต่อแต่นี้ไปขอทุกท่านตั้งใจ เจริญภาวนาเลย

ทุกท่านโปรดดูดวงแก้วนี้ ใสอย่างนี้ ดูให้จำได้

การนั่งเจริญภาวนาสมาธิโดยปกติ ที่เหมาะสมที่ได้ผลดีที่สุดคือนั่งใน ท่าขัดสมาธิ แต่ว่าขณะนี้เรานั่งบน เก้าอี้ ก็ใช้ได้เหมือนกัน เพียงแต่ ให้มือขวาวางอยู่บนมือซ้ายที่หน้าตัก ให้นิ้วชี้ขวาจรดพอดีหัวแม่มือซ้าย วางไว้บนตักพอดี ๆ ไม่กางออกจน เกินไป ไม่หุบเข้ามาจนเกินไป ตั้ง กายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นคง ไม่เผลอสติ

คือว่า คอยเฝ้าดูใจของ เรา ให้รู้สึกตัวพร้อมตลอดเวลา และรู้เท่าทันในกิเลสนิวรณ์ อุปสรรคของสมาธิที่อาจจะเกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่ง

เพราะนิวรณ์กิเลส หรือนิวรณูปกิเลสนี้ หากมีอยู่ใน ใจของผู้ใดแม้แต่อย่างใดอย่าง หนึ่ง เช่น

มีถีนมิทธะ จิตใจมี ความหดหู่ หรือมีความง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปรี้กระเปร่าก็ดี หรือ ว่ามี

อุทธัจจกุกกุจจะ คือความ ฟุ้งซ่านแห่งจิตใจไปในเรื่องอื่นก็ดี หรือว่ามี “วิจิกิจฉา” ความลังเล สงสัยว่าวิธีปฏิบัตินี้จะถูกต้องหรือ ไม่ก็ดี เพียงเท่านี้เกิดขึ้นในใจแล้ว สมาธิจะไม่ตั้งมั่นจิตใจจะไม่ผ่องใส

การเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็น แจ้งรู้จริงก็จะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร กล่าวคือปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมนั้นเป็นไปไม่ได้

เพราะฉะนั้น ให้ตั้งสติให้ มั่นคงว่า เราจะเฝ้าดูใจของเราไม่ ให้เกิดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญา

อย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏมีในใจของ เรา ตั้งใจแน่วแน่ดีแล้ว ดูดวงแก้ว ให้จำได้ หลับตาลงเบา ๆ ไม่ต้อง เม้มเปลือกตาให้แน่น หายใจลึก ๆ พอสบาย แล้วปล่อยกายตามสบาย ตั้งกายให้ตรง ตรึกนึกให้เห็น ดวงแก้วกลมใส ให้ปรากฏขึ้นที่ช่อง จมูก

หญิงให้เข้าทางปากช่องจมูก ซ้าย

แต่ชายให้เข้าทางช่องจมูก ขวา

ดวงขนาดเล็กที่สุดประมาณเท่า ดวงตาดำ

แต่ให้ใสเหมือนเพชร ลูกที่เจียรไนแล้วไม่มีขนแมว คือ ใสบริสุทธิ์ หรือขนาดเท่าตัวอย่าง ที่ตั้งไว้นี่ก็ได้ นึกให้เห็นปรากฏขึ้น ที่ปากช่องจมูก นี้เป็นอุบายวิธีที่จะ นำ “ใจ” อันประกอบด้วยความ เห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ ๔ อย่างนี้ ให้มารวมอยู่ ที่องค์บริกรรมนิมิต คือนึกให้เห็นด้วยใจ

เป็นดวงแก้วกลมใส แล้วให้ ใจอยู่ในกลางของกลางจุดเล็กใส ที่ศูนย์กลางดวงแก้ว

ให้ใจเข้าไปอยู่อย่างนั้นได้อย่างไร ? มีข้อพึงทราบว่า เห็นอะไรด้วยใจที่ไหน ใจอยู่ที่นั่น

เพราะฉะนั้นที่จะให้ใจ อยู่ในศูนย์กลางดวงแก้ว ก็ต้อง นึกให้เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้ว กลมใส ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์ เมล็ดไทร หรือขนาดอย่างโตเท่า เมล็ดพริกไทย เป็นศูนย์กลางดวง แก้ว นึกให้เห็นศูนย์กลางดวงแก้ว ไว้ให้ชัดทีเดียว ตั้งอยู่ตรงกลาง จมูก สำหรับผู้ชายก็ปากช่องจมูก ขวา นี้เป็นฐานที่ตั้งของใจ

ฐานที่ บริกรรมภาวนา ท่องในใจกำกับไว้ เพื่อประคอง นิมิตไว้ว่าสัมมาอะระหังๆๆ พึง เข้าใจว่าคำว่า “สัมมา” นั้น ย่อมา จากสัมมาสัมพุทโธ แปลว่า พระ ผู้ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ หมายเอา พระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้า

ส่วนคำว่า “อะระหัง” แปลว่าพระ ผู้ไกลจากกิเลส และบาปธรรมทั้งปวง หมายเอา พระวิสุทธิคุณของ

พระพุทธเจ้า เมื่อเรากล่าวหรือ ท่องในใจว่า

สัมมาอะระหังๆๆอยู่ นั้น พึงน้อมพระพุทธคุณเข้ามาสู่ใจ เราเป็นพุทธานุสติอีกโสดหนึ่ง แต่การท่องในใจนั้น ให้ท่องที่กลาง ของกลางจุดเล็กใส ศูนย์กลางดวง ตรงปากช่องจมูกเป็นฐานที่ ๑ ทั้งนี้ เพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียว กันที่ศูนย์กลางดวงแก้ว (นึกเห็น เท่าไรเอาเท่านั้น) ขณะที่เราสูด ลมหายใจเข้าออกอยู่นั้น เราค่อยๆ นึกประคองเข้าไปตามลมหายใจเข้า ออกช้า ๆ แล้วซ้อนขึ้นข้างบนไป หยุดนิ่งที่หัวตาด้านใน หญิงทาง ซ้าย ชายให้เห็นทางหัวตาด้านขวา ณ ภายใน ไม่ใช่อยู่ภายนอกให้ เห็นอยู่ภายใน บริกรรมภาวนา กำกับไว้ สัมมาอะระหังๆๆ ประคองใจให้หยุดให้นิ่งตรงฐาน ที่ตั้งของใจ

ฐานที่ ๒ (เห็นเท่าไรเอาเท่า นั้น) ค่อย ๆ ประคองเลื่อนดวงแก้วกลมใสพร้อมกับใจยังอยู่ที่ กลางของกลางจุดเล็กใสเข้าไปข้าง ในตรง ๆ ช้า ๆ ไปหยุดนิ่งตรง กลางกั๊กศีรษะเสมือนหนึ่งศีรษะ ของเรานั้นเป็นที่ว่างโล่ง แล้วดวง แก้วกลมใสก็เคลื่อนจากหัวตาด้าน ในไปหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกั๊ก ศีรษะ ใจก็หยุดในหยุดกลางของ กลาง กลางของกลางจุดเล็กใส ศูนย์กลางดวงแก้วกลมใสตรงนั้น บริกรรมภาวนากำกับไว้ว่า สัมมา อะระหังๆๆ ให้ใจหยุดนิ่งตรงกลาง ของกลางจุดเล็กใสศูนย์กลางดวง แก้วเป็นสำคัญนี่เป็นฐานที่ตั้งของใจ

ฐานที่ ๓ เราน้อมใจรวมลง ณ ภายใน แต่ใจนั้นมักจะออก ภายนอก ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน น้อมเข้าไปยาก และมีสภาพเบา แต่ มีอุบาย พระเดชพระคุณหลวงพ่อ แนะนำไว้ คือให้เหลือกตากลับ นิด ๆ

ในขณะที่ปิดเปลือกตาอยู่ เราเหลือกตากลับนิด ๆ เหมือนเด็กทารกที่นอนหลับสนิท ลูกตาของ เธอเหลือกกลับริบ ๆ นั่นใจหยุด ลง ณ ภายใน อาศัยอุบายนี้ เรา เหลือกตากลับนิด ๆ เพื่อให้ “ใจ” คือ ความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ กลับไปข้างหลัง แล้วรวมลงไว้ ณ ภายในได้ง่าย ขณะเดียวกันเราก็นึกเลื่อนดวงแก้ว กลมใส ใจอยู่ในกลางของกลาง จุดเล็กใสลงไปตรง ๆ ช้า ๆ ไป หยุดนิ่งที่เพดานปากอันเป็นฐานที่ ตั้งของใจฐานที่ ๔ หยุดในหยุดกลาง ของหยุด กลางของกลาง กลางของ กลางจุดเล็กใสศูนย์กลางดวงแก้ว กลมใสตรงเพดานปาก บริกรรม ภาวนา คือ ท่องในใจกำกับไว้ ประคองใจไว้ สัมมาอะระหังๆๆ ให้ใจหยุดใจนิ่ง เมื่อใจหยุดนิ่งดี แล้ว เราค่อยนึกเลื่อนดวงแก้ว กลมใส ขณะที่ใจอยู่ในกลางของ กลางจุดเล็กใสนั้นไปตรง ๆ ช้า ๆ ไปหยุดนิ่งที่ปากช่องลำคออันเป็น ฐานที่ตั้งของใจ ฐานที่ ๕ ให้เห็นเหมือนหนึ่ง ดวงแก้วตั้งอยู่บนปากขวดอย่างนั้น หยุดนิ่งตรงนั้นทีเดียว บริกรรม ภาวนากำกับไว้ สัมมาอะระหังๆๆ ขณะเดียวกัน เราก็สังเกตลม หายใจเข้าออกของเราเป็นช่องว่าง โล่งลงไป ไปสุดตรงกลางกาย ระดับสะดือพอดี เราก็นึกเลื่อน ดวงแก้วกลมใส ใจอยู่ในกลางของ กลางจุดเล็กใสกลางดวงแก้ว กลมใสนั้นแหละ ลงไปตรง ๆ ช้าๆ ตามเส้นทางลมหายใจเข้าออก ไป หยุดนิ่งตรงกลางกายระดับสะดือ พอดี นั้นเป็นฐานที่ตั้งของใจ

ฐานที่ ๖ ให้ใจหยุดนิ่งตรง นั้นโดยตรึกนึกให้เห็นดวงแก้ว กลมใส ใจอยู่ในกลางของกลาง จุดเล็กใส กลางดวงแก้วกลมใส แล้วบริกรรมภาวนากำกับไว้ สัมมาอะระหังๆๆ กลางของกลาง จุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกายระดับ สะดือพอดี ศูนย์กลางกายระดับ สะดือนี้ ถ้าจะเปรียบเหมือนมะนาว ตัดครึ่ง หงายครึ่งหนึ่งของมะนาว ขึ้น กลางไส้มะนาวนั้นแหละ เปรียบ ได้ดั่งศูนย์กลางกายระดับสะดือ พอดี เอาศูนย์กลางดวงแก้วไปตั้ง ตรงนั้น บริกรรมภาวนากำกับไว้

เห็นเท่าไรเอาเท่านั้น ค่อย ๆ เลื่อนดวงแก้วกลมใสพร้อมกับใจ อยู่ในกลางของกลางจุดเล็กใส ศูนย์กลางดวงศูนย์กลางกายนั้น ถอยกลับขึ้นตรง ๆ ตามเส้นทาง ลมหายใจเข้าออก ประมาณ ๒ องคุลีมือ หยุดนิ่งตรงนั้นทีเดียว ตรงนี้เรียกว่าศูนย์กลางกาย

ฐาน ที่ ๗ ต่อแต่นี้ไปไม่ต้องเลื่อนดวง แก้วกลมใสไปที่ไหนอีก ให้ใจ หยุดนิ่งกลางของกลาง กลางของ กลางจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางดวง ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือนี้ แต่เพียงแห่งเดียว ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน ไม่ไปทั้งนั้น ให้ใจหยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ ศูนย์กลางดวงศูนย์กลางกายฐาน ที่ ๗ นี้แต่แห่งเดียว

ตรงนี้เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือเป็นที่ที่เปลี่ยนวาระจิตตลอด เวลา ไม่ว่าจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น เปลี่ยนกันตรงนี้ และ เป็น ที่ตั้งของกายในกาย เวทนาใน เวทนา จิตในจิต และ ธรรมใน ธรรม เป็นทั้ง ณ ภายนอก คือ ส่วนหยาบ และ ณ ภายใน คือ ส่วนละเอียดต่อ ๆ ไป จนสุด ละเอียดถึงธรรมกาย ถึงพระ นิพพานก็ตรงนี้ เพราะฉะนั้น ตรงนี้สำคัญนักทีเดียว

ต่อแต่นี้ไปให้ทุกท่าน นึกให้ เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส ตรงนี้ ไม่ใส่ใจเรื่องอื่นใดทั้งสิ้น ถ้าว่าเห็นไม่ชัดให้สังเกตลมหายใจ เข้าออกของเรา ที่ไปสุดตรงศูนย์ กลางกายและไปเริ่มต้นตรงศูนย์ กลางกายระดับสะดือนั้นแหละ มีสติเห็นลมหายใจเข้าออกผ่านและกระทบดวงแก้ว จะได้เห็นดวงแก้ว ชัดขึ้น แต่อย่าตามลม เพราะจะ ทำให้ใจหยาบ ให้มีสติสัมปชัญญะ เห็นจุดเล็กใสกลางดวงแก้วกลมใส ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้ แห่งเดียว บริกรรมภาวนากำกับไว้ สัมมาอะระหังๆๆ กลางของกลาง จุดเล็กใสอย่างนี้เรื่อยไปสิบครั้ง ร้อยครั้ง พันครั้งก็แล้วแต่ จน กว่าจะถวายคำแนะนำต่อไป ทั้งนี้ เพื่อประคองใจหยุดในหยุด กลาง ของหยุด กลางของกลาง ตรง กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้แหละ เมื่อใจหยุดนิ่งถูกส่วน และถือเอา ปฏิภาคนิมิตได้ตรงนี้ แล้วศูนย์ กลางกายก็จะขยายว่างออกไป ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย หรือดวงปฐมมรรค หนทางเบื้อง ต้นไปสู่มรรคผลนิพพาน ปรากฏ ใสแจ่มขึ้นมา ใจก็จะละปฏิภาค- นิมิตไปเองโดยอัตโนมัติ แล้วให้

หยุดนิ่งกลางของกลางจุดเล็กใส ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายนั้น หยุดในหยุดกลางของ หยุด กลางของกลางดวงนั้นให้ เห็นใสแจ่มอยู่เสมอ ดำเนินไป ทุกท่านครับ

เมื่อเห็นดวงธรรมหรือดวง ปฐมมรรคใสแจ่มปรากฏขึ้น เห็น แล้วก็อย่าตื่นเต้น ไม่ยินดียินร้าย ไม่ต้องว่าสัมมาอะระหังอีก เพียง รวมใจหยุด หยุดในหยุดกลางของ หยุด กลางของกลางดวงธรรมนั้น ให้ใสสว่างไว้ จะเห็นภายในดวง ประกอบด้วยธาตุละเอียดของ มหาภูตรูป ๔ คือธาตุละเอียดของ ธาตุน้ำอยู่ส่วนหน้าเป็นดวงกลมใส ขวาธาตุดิน หลังธาตุไฟ ซ้ายธาตุ ลม อยู่ภายในดวงธรรมนั้นแหละ ตรงกลางเป็นอากาศธาตุ กลาง อากาศธาตุเป็นวิญญาณธาตุเป็น จุดเล็กใส

ใจของท่านก็หยุดในหยุดกลางของกลางจุดเล็กใส กลาง วิญญาณธาตุนั้น ถ้าธาตุทั้ง ๖ ไม่ ประชุมรวมกันปฐมมรรคก็จะไม่ เกิด ปฐมมรรคนี้เป็นคนละดวง จากปฏิภาคนิมิต ซึ่งเมื่อใจหยุดนิ่ง ตรงนี้ก็ละปฏิภาคนิมิตไปแล้วหยุด นิ่งถูกส่วนจึงปรากฏดวงปฐมมรรค ใจหยุดในหยุดกลางของกลางจุด เล็กใส ศูนย์กลางวิญญาณธาตุหยุด นิ่งถูกส่วนศูนย์กลางขยายว่างออก ไป ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็น “ศีล” คือ ศีลบริสุทธิ์ในกัมมัฏฐาน ชื่อว่า “สีลานุสสติ” หรือ ศีลวิสุทธิ์ เมื่อใครประคองดวงศีลนี้ไว้ใสแจ่ม ได้อยู่เสมอ เจตนาความคิดอ่าน ก็ไม่พิรุธเสียหาย กายและวาจาก็ บริสุทธิ์เป็นอันศีลบริสุทธิ์ เพราะ ใจบริสุทธิ์ ด้วยประการฉะนี้

ใจก็หยุดในหยุด กลางของ หยุด กลางของกลางดวงศีลจะเห็น ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ต่อ ๆ ไปทีละดวง ๆ บางคนเห็นเร็ว บาง คนเห็นช้า ใสสว่างยิ่งกว่ากันตาม ลำดับ ก็ให้หยุดในหยุด กลางของ หยุด กลางของกลางดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ วิมุติญาณ ทัสสนะ หยุดในหยุดกลางของ หยุดถึงดวงวิมุติญาณทัสสนะใส แจ่มที่สุด ละเอียดที่สุดหยุดนิ่ง

ถูกส่วนเข้าศูนย์กลางกายจะ ขยายว่างออกไป แล้วจะปรากฏ กายในกาย ณ ภายในซึ่งประกอบ พร้อมด้วยจิตในจิต และธรรม ในธรรม เริ่มตั้งแต่ “กายมนุษย์ ละเอียด” หน้าตาเหมือนผู้ปฏิบัติ ทุกประการ แต่โปร่งใสสวยงาม กว่ากายเนื้อ เห็นแล้วอย่าลังเล สงสัย ให้นึกดับหยาบไปหาละเอียด ทำความรู้สึก สวมความรู้สึกเข้าไป เป็นกายละเอียดนั้นละอุปาทาน ความรู้สึกทั้งปวงเกี่ยวกับกาย มนุษย์หยาบ เข้าไปเป็นกายมนุษย์ ละเอียดเรียกว่า “ดับหยาบไปหาละเอียด” ใจของกายมนุษย์ ละเอียดก็หยุดนิ่ง กลางของกลาง ศูนย์กลางกายก็จะเห็นดวงธรรม หยุดในหยุดกลางของหยุด กลาง ของกลางดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุต วิมุติญาณทัสสนะ ของกายมนุษย์ละเอียดให้ใส ละเอียด ทั้งดวงทั้งกาย และองค์ ฌาน “องค์ฌาน” นั้นจะปรากฏขึ้น เมื่อสมาธิจิตถึงระดับปฐมฌานขึ้น ไปประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา อันเป็นเบื้อง ต้นของปฐมฌาน และเป็นธรรม เครื่องกำจัดกิเลสนิวรณ์ เครื่องกั้น ปัญญาให้หมดไปโดยพลัน จิตใจ ผ่องใสบริสุทธิ์ จึงปรากฏองค์ฌาน เหมือนอาสนะรองรับกายมนุษย์ ละเอียด และยังจะมีประจำกายใน กายทุกกายต่อ ๆ ไปจนสุดละเอียด กลมใสรอบตัว หนาประมาณ ๑ ฝ่ามือของกายละเอียดนั้น ๆ

ใจหยุดนิ่งกลางของกลาง กลางของกลางวิมุติญาณทัสสนะของ กายมนุษย์ละเอียดให้ใสละเอียดทั้ง ดวงทั้งกายและองค์ฌานนั้นแล้ว ถูกส่วนเข้าศูนย์กลางจะขยายว่าง ออกไปและจะปรากฏกายในกาย ที่ละเอียดยิ่ง ๆ กว่า โตใหญ่ใส สว่างกว่ากายมนุษย์ละเอียด อัน เป็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ที่ *ละเอียด ๆ ยิ่งกว่ากันไปตามลำดับ ตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด จะเห็น กายทิพย์หยาบ แล้วก็กายทิพย์ ละเอียดขยายโตเป็น ๒ เท่าของ กายมนุษย์ต่อไป ก็จะถึงและเห็น กายรูปพรหมหยาบ รูปพรหม- ละเอียดนี้โตเป็น ๒ เท่าของกาย ทิพย์ ต่อไปก็จะถึงกายอรูปพรหม หยาบ อรูปพรหมละเอียดนี้โต เป็น ๒ เท่าของรูปพรหม

สุดละเอียดของกายอรูปพรหม ก็จะถึง “ธรรมกาย” เกตุดอกบัว ตูมใสสว่างปรากฏขึ้นขนาดหน้าตักและความสูงและเส้นผ่าศูนย์กลาง ดวงธรรม ๔ วาครึ่งขึ้นไป ไม่ว่า ท่านจะเห็นกายใดปรากฏขึ้น ทีละ กาย ๆ นั้นก็ให้ดำเนินไปแบบเดียว กัน คือดับหยาบไปหาละเอียด ใจของกายละเอียดนั้นจึงหยุดนิ่ง กลางของกลาง ๆ ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติวิมุติญาณทัสสนะ ให้ ใสสว่างทั้งดวงทั้งกายและองค์ฌาน ศูนย์กลางขยายว่างออกไป จะ ปรากฏกายที่ละเอียดต่อ ๆ ไปจน ถึงธรรมกายก็ให้ดำเนินไปแบบ เดียวกัน

ถึงธรรมกายแล้วก็ดับหยาบ ไปหาละเอียด เป็นธรรมกายที่ ละเอียด ๆ ใจของธรรมกายที่ ละเอียด ๆ หยุดในหยุดกลางของ หยุด กลางของกลางดวง กลาง ของกลางกายให้ใสสว่างทั้งดวงทั้ง กายและองค์ฌาน

เมื่อถึงธรรมกายบริสุทธิ์อย่าง นี้แล้ว ตาและญาณของธรรมกายนั้นแหละ สามารถพิจารณาสภาวะ ธรรมให้เห็นแจ้งแทงตลอดใน สังขารธรรมทั้งปวง และเมื่อดับ หยาบไปหาละเอียดแล้วจะละกิเลส ได้ชั่วคราวในเบื้องต้น ชื่อว่า “วิกขัมภนวิมุติ” ธรรมกายที่สุด ละเอียดก็จะเข้าถึง “อายตน-นิพพาน” เห็น “พระนิพพาน” คือ ธรรมกายที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และ พระอรหันตขีณาสพที่ละ เบญจขันธ์ หรือ ดับขันธ์เข้าสู่ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุแล้ว เป็น นิพพานธาตุล้วน ๆ คือ ธรรมกาย ที่บรรลุอรหัตผลของท่าน ปรากฏสถิตอยู่ในอายตนนิพพาน เป็น บรมสุข เที่ยง และ เป็นสภาพ ที่ยั่งยืนตลอดไป ตามเอกสาร หลักฐานทั้งในพระไตรปิฎกและ คัมภีร์อรรถกถาต่าง ๆ ซึ่งจะได้ แสดงต่อไป

เมื่อท่านหยุดในหยุด กลาง ของหยุด กลางของกลางดวง กลาง ของกลางกายใสสะอาดดีแล้ว จะยก ธรรมชาติคือสังขารนิมิตใด ๆ ขึ้น พิจารณาให้เห็นแจ้งในสังขารก็ทำ ได้อย่างชัดเจนและสามารถให้รู้แจ้ง แทงตลอดขึ้นไปถึงอริยสัจทั้ง ๔ อันเป็นไปในญาณ ๓ คือ สัจจ ญาณ กำหนดรู้ว่าอริยสัจ ๔ ว่ามี จริงอย่างไร “กิจจญาณ” รู้ว่าทุกข์ ควรกำจัด “สมุทัย” ควรละ “นิโรธ” ควรทำให้แจ้ง “มรรค” ควรทำให้ เกิดและเจริญขึ้นแล้วจะถึง “กต- ญาณ” เมื่อกำจัดทุกข์ได้ ละสมุทัย ได้ ทำนิโรธให้แจ้งได้ มรรคเกิด และเจริญแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติ ได้ ด้วยอาการอย่างนี้ นี้คือการ เจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรม กายของพระพุทธเจ้า

ก่อนจะหยุดพัก ทุกท่านหยุด ในหยุด กลางของหยุด กลางของ กลางดวง กลางของกลางกายให้ใส สว่าง ตั้งจิตอธิษฐานถึงบุญกุศลที่ เคยได้สร้างสมอบรมมา ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันบูชาแด่พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า ถึง พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ และบูรพาจารย์ทุกท่าน ถึงพระ พุทธเจ้าต้นธาตุ ต้นธรรม ทุกพระ องค์ แล้วแผ่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พรหมวิหารไปยังสรรพ สัตว์โลกทั้งหลายไม่มีประมาณ ด้วยอธิษฐานจิตตรงกลางของกลาง จุดเล็กใสศูนย์กลางดวง ศูนย์กลาง กาย ว่า “ขอสรรพสัตว์โลกทั้งหลาย กับทั้งตัวเราเองด้วย จงเป็นสุขเป็น สุขเถิด อย่าได้ทุกข์กายทุกข์ใจ

อย่าได้มีเวรมีภัยเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหลาย เถิด และอุทิศส่วนกุศลผลบุญในการฟังธรรมและเจริญภาวนาธรรม นี้แก่คุณมารดา บิดา คุณครูพระ อุปัชฌาย์อาจารย์ ญาติมิตรและ สัมพันธชนและผู้มีพระคุณทุกท่าน ตลอดทั้งมนุษย์เพื่อนร่วมชาติร่วม ประเทศ ร่วมโลก และอมนุษย์อื่น ทั้งหลายมีเทพยดา พรหม อรูป พรหม และสัตว์โลกในทุคคติภูมิ

ขอกุศลผลบุญนี้จงถึงแก่ท่านทั้ง หลายเหล่านั้น เป็นพลวปัจจัยให้ แก่ท่านทั้งหลายให้พ้นจากไตร วัฏฏะ คือกิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ วิปากวัฏฏะ ได้แก่ความมีกิเลสและ สร้างกรรมชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ และได้รับผลกรรมเป็น ความทุกข์เดือดร้อน เวียนว่ายตาย เกิดอยู่ในสังสารจักรนั้น ขอจงให้ พ้นจากวัฏฏะสามนี้ไป ด้วยการละชั่วด้วยกาย วาจา ใจ ประกอบ แต่กรรมดีด้วยกาย วาจา ใจ ชำระ จิตใจให้ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ เครื่องกั้นปัญญา ชำระปัญญาให้ บริสุทธิ์จากกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย จงเจริญรุ่งเรืองในพระสัทธรรมของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทุกท่านทุกคนตลอดกาลนาน เทอญ

นิพพาน ปัจจโย โหตุ

หลวงป๋า

แชร์เลย

Comments

comments

Share: