สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ช่วง วรปุญฺโญ

สมเด็จช่วง

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ นามเดิม ช่วง สุดประเสริฐ ฉายา วรปุญฺโญ เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (พระอารามหลวง) ประธานสมัชชามหาคณิสสร และอดีตผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช


ประวัติ

ชาติภูมิ
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ มีนามเดิมว่า ช่วง สุดประเสริฐเกิดเมื่อวันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2468 ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 ปีฉลู บ้านเลขที่ 32 ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โยมบิดาและโยมมารดาชื่อนายมิ่งและนางสำเภา สุดประเสริฐ

อุปสมบท
บรรพชาเมื่ออายุได้ 14 ปี จึงได้บรรพชาเมื่อวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2482 ณ วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยมีพระครูศีลาภิรัต (ทอง) วัดลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร เป็นอุปัชฌาย์

อุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ณ พัทธสีมาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระครูบริหารบรมธาตุ (ป่วน เกสโร) วัดนางชี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสมณธรรมสมาทาน เป็นกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายานามว่า “วรปุญฺโญ”

การศึกษา
พ.ศ. 2480 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนประชาบาล วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2484 นักธรรมชั้นโท วัดสังฆราชา เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2490 นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียนวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพ-มหานคร
พ.ศ. 2492 เปรียญธรรม 7 ประโยค สำนักเรียนวัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2497 เปรียญธรรม 9 ประโยค สำนักเรียนวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
งานเผยแผ่ในต่างประเทศ
พ.ศ. 2527 ได้เริ่มสร้างวัดไทยในสหรัฐอเมริกา ตั้งชื่อวัดว่า “วัดมงคลเทพมุนี” เมืองฟิลาเดลเฟีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่เผยแผ่และปฏิบัติธรรมของชาวไทยและชาวต่างชาติมาถึงปัจจุบัน สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 50 ล้านบาท
พ.ศ. 2540 ได้ริเริ่มก่อสร้างวัดไทยแห่งแรกในประเทศญี่ปุ่นตั้งชื่อว่า “วัดปากน้ำญี่ปุ่น” เมืองชิบะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเป็นที่เผยแผ่และปฏิบัติธรรมของชาวไทยและชาวญี่ปุ่นภายในวัดมีเสนาสนะบริบูรณ์ และได้สร้างอุโบสถสถาปัตยกรรมไทย ประกอบพิธีผูกสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ 9-10 เมษายน พ.ศ. 2548 สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 300 ล้านบาท
พ.ศ. 2545 ได้ริเริ่มก่อสร้างวัดไทยในประเทศนิวซีแลนด์ ตั้งชื่อว่า “วัดปากน้ำนิวซีแลนด์” เมืองทัวรังง่า ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อเป็นที่เผยแผ่และปฏิบัติธรรมของชาวไทยและชาวนิวซีแลนด์ ปัจจุบันกำลังดำเนินการสร้างอุโบสถ และเสนาสนะ สิ้นค่าก่อสร้าง ประมาณ 60 ล้านบาท
งานสาธารณูปการ
พ.ศ. 2508 เป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ได้ดำเนินการที่เป็นประโยชน์แก่พระภิกษุ สามเณร แม่ชี ผู้อาศัยอยู่ในวัด และเป็นการอำนวยความสะดวกแก่สาธุชนที่มาทำบุญที่วัดปากน้ำ ตราบถึงปัจจุบันนี้ ในเรื่องหลัก 6 ประการ คือ
1. บูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะเก่า
2. ก่อสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุใหม่
3. อนุรักษ์โบราณวัตถุ รักษาให้อยู่ในสภาพดี
4. จัดซื้อที่ดินเพื่อขยายอาณาเขตของวัด
5. สร้างถนนกึ่งสะพานเป็นทางเข้าวัด
6. จัดทำระบบไฟฟ้าและน้ำประปาทั่วทั้งวัด
รวมค่าก่อสร้างภายในวัดเป็นจำนวนเงินประมาณทั้งสิ้น 400,000,000 บาท (สี่ร้อยล้านบาทถ้วน)

งานบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
พ.ศ. 2524 ได้ก่อตั้ง “มูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ” เพื่อนำดอกผลของมูลนิธิใช้ในการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ และได้ชักชวนสาธุชนร่วมสมทบทุนในโอกาสต่าง ๆ มาถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) รวมค่าบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์นอกวัด เป็นเงินจำนวนประมาณทั้งสิ้น 230,000,000 บาท (สองร้อยสามสิบล้านบาทถ้วน)
ประมวลค่าก่อสร้างทั้งสิ้นมีดังนี้ ค่าก่อสร้างภายในวัด เป็นเงินจำนวน 400,000,000 บาท ค่าก่อสร้างภายนอกวัด เป็นเงินจำนวน 230,000,000 บาท รวมทั้งสิ้นประมาณ เป็นเงินจำนวน 630,000,000 บาท (หกร้อยสามสิบล้านบาทถ้วน) พ.ศ. 2529 ได้จัดถวายทุนแก่สำนักศาสนศึกษา 72 แห่งทั่วประเทศ สำนักละ 1 แสนบาท เพื่อนำไปตั้งเป็นทุนมูลนิธิเพื่อการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในนามพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ) รวมปัจจัยทั้งสิ้น 7,200,000 บาท (เจ็ดล้านสองแสนบาทถ้วน)

งานประวัติศาสตร์
พ.ศ. 2532 ได้ดำเนินการก่อสร้างมหาวิหารประดิษฐานพระไตรปิฎกหินอ่อนและพระเจดีย์ถวายเป็นธรรมานุสรณ์ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 และรัชมังคลาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ค่าก่อสร้าง จำนวน 200,000,000 บาท (สองร้อยล้านบาทถ้วน)
พ.ศ. 2534 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสมุดพระพุทธศาสนา มหาสิรินาถ ในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ณ พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ค่าก่อสร้าง 200,000,000 บาท (สองร้อยล้านบาทถ้วน)
พ.ศ. 2542 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสำนักหอสมุดและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนแล้วเสร็จเรียบร้อย และมอบให้มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2548 ค่าก่อสร้าง จำนวน 75,000,000 บาท (เจ็ดสิบห้าล้านบาทถ้วน)
27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ได้เริ่มก่อสร้างพระเจดีย์มหารัชมงคล ขนาดความสูง 80 เมตร กว้าง 50 เมตร ยาว 50 เมตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ณ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร งบประมาณ 300,000,000 บาท (สามร้อยล้านบาทถ้วน)

ตำแหน่งพิเศษ

พ.ศ. 2498 เป็นองค์สังคีติการกคณะสงฆ์ไทย ไปร่วมประชุมปฏิบัติงานสังคายนาพระไตรปิฎกภาษาบาลี
พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน เป็นประธานมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำ ม.ส.จ.
พ.ศ. 2534 – ประธานคณะอนุกรรมการจัดหาทุนสร้างพุทธมณฑลฝ่าย สงฆ์
– เป็นกรรมาธิการแห่งสังคีติการกสงฆ์ในการสังคายนาพระธรรมวินัยตรวจชำระพระไตรปิฎก ฉบับเฉลิมพระเกียรติ
– เป็นกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสงฆ์ ฝ่ายบรรพชิต
– เป็นคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาฝ่ายจัดหาทุนก่อสร้างวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล
เป็นประธานในพิธีมอบสัญญาบัตรพัดยศแก่พระครูสัญญาบัตรที่ได้รับพระราชทานตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์
เป็นประธานในพิธีทรงตั้งเปรียญธรรม 3 ประโยค
เป็นประธานในพิธีประสาทปริญญาบัตร แก่มหาวิทยาลัยของคณะสงฆ์ไทย ทั้ง 2 แห่ง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สมณศักดิ์

สมณศักดิ์ไทย
พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิโมลี[3]
พ.ศ. 2505 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที ตรีปิฎกภูสิต ธรรมบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
พ.ศ. 2510 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพวรเวที นรสีห์ธรรมานุนายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
พ.ศ. 2516 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมธีรราชมหามุนี ตรีปิฎกโกศล วิมลคัมภีรญาณ วิศาลปริยัติกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระธรรมปัญญาบดี ศรีวิสุทธิคุณ สุนทรวรนายก ดิลกธรรมนุสิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[7]
พ.ศ. 2538 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ไพศาลหิตานุหิตวิธาน ปฏิภาณสุธรรมภาณี ศรีสังฆโสภณ วิมลศีลาจารย์นิวิฐ ตรีปิฏกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[8]
สมณศักดิ์ต่างประเทศ
พ.ศ. 2520 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศบังกลาเทศ ที่ พระศาสนธชมหาปัญญาสาระ
พ.ศ. 2524 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา ฝ่ายอมรปุรนิกาย ที่ พระชินวรสาสนโสภณเตปิฏกวิสารทคณะปาโมกขาจริยะ
พ.ศ. 2525 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา สยามนิกาย ฝ่ายอัสสคิริยะ ที่ พระสาสนโชติกสัทธัมมวิสารทวิมลกิตติสิริ
พ.ศ. 2525 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา สยามนิกาย ฝ่ายมัลลวัตตะ ที่ พระธรรมกิตติสิรเตปิฏกวิสารโท
พ.ศ. 2526 ได้รับสรณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา ฝ่ายรามัญวงศ์ ที่ พระติปิฏกปัณฑิตธัมมกิติสสิริยติสังฆปติ
พ.ศ. 2526 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ของประเทศศรีลังกา สยามวงศ์ ฝ่ายโกฎเฏ ที่ พระอุบาลีวังสาลังการะอุปัชฌายะธรรมธีรมหามุนีเถระ
พ.ศ. 2538 ได้รับสมณศักดิ์จากประเทศศรีลังกา ฝ่ายอมรปุรนิกาย ที่ พระเถรวาทะวังสาลังการะสยามเทสะสาสนธชะ
พ.ศ. 2557 ได้รับสมณศักดิ์จากรัฐบาลประเทศพม่า ที่ พระอัคคมหาสัทธัมมโชติกธชะ[9]
พ.ศ. 2558 ได้รับสมณศักดิ์จากรัฐบาลประเทศพม่า ที่ อัครมหาบัณฑิต[10]
เกียรติคุณ

พ.ศ. 2532 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2543 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย ประเทศศรีลังกา
พ.ศ. 2546 ได้รับถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสังฆสภาอินเดีย ประเทศอินเดีย

แชร์เลย

Comments

comments

Share: